LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2559

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยและได้ทําสัญญาว่าจ้างนายจอห์นโซในขณะที่อยู่ในประเทศไทย ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้ทําสัญญาจ้างฉบับใหม่กับสํานักงานสาขาของ บริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ประเทศสิงคโปร์ และตกลงให้นายจอห์นโซรับตําแหน่งผู้จัดการประจํา สํานักงานสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาฯ ดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นาย จอห์นโซทั้งหมด เดือนละ 200,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน โดยที่สํานักงานสาขาฯ ไม่บันทึกค่าจ้าง เป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และเดือนต่อมา นายจอห์นโซได้เดินทางกลับเข้ามาทํางานให้แก่บริษัทฯ ในประเทศไทยจนสิ้นปี พ.ศ. 2559 และนายจอห์นโซเสียชีวิตในค่ําคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2559 นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า นายจอห์นโซเป็นผู้มีสัญชาติสิงคโปร์ และมีภูมิลําเนาที่ประเทศ สิงคโปร์ และเงินค่าจ้างทุก ๆ เดือนในปี พ.ศ. 2559 นายจอห์นโซได้รับโอนเงินเข้าทางบัญชีธนาคารที่ ประเทศสิงคโปร์ของนายเอห์นโซทุกเดือน และนายจอห์นโซได้ใช้จ่ายเงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าวเข้ามาประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปีภาษี 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 56 วรรคหนึ่ง “ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา พร้อมทั้ง ข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง”

มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง “ถ้าผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตาย เสียก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณีปฏิบัติแทน…”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปี พ.ศ. 2559 ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็น เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่า นายจอห์นโซจะเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และไม่ได้นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเลยก็ตาม

2 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะ ถึงแม้ว่านายจอห์นโซจะอยู่ในประเทศครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 แต่นายจอห์นโซได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับ ในขณะที่ตนทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย จึงไม่เข้า เงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง เพราะกรณีนี้เป็น เงินได้จากกิจการของนายจ้างนอกประเทศไทย เนื่องจากนายจอห์นโซรับตําแหน่งงานประจําที่ประเทศสิงคโปร์ และเนื่องจากสํานักงานสาขาในประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นายจอห์นโซทั้งหมด โดยไม่บันทึกค่าจ้าง เป็นรายจ่ายของบริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยเลย

3 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่า นายจอห์นโซจะเป็นคนสัญชาติสิงคโปร์ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ และไม่ได้นําเงินเดือนค่าจ้างดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทยเลยก็ตาม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจอห์นโซซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินได้ถึงแก่ความตายในค่ำคืนวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ก่อนที่นายจอห์นโซจะได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง คือ ก่อนที่จะได้ยื่น รายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา ดังนั้น จึงให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดก หรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีแทนนายจอห์นโซตาม มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง

สรุป รายการเงินเดือนที่นายจอห์นโซได้รับในปี พ.ศ. 2559 ที่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา คือ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 และที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวม 7 เดือน โดยให้ เป็นหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหรือทายาทหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วแต่กรณี เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีแทนนายจอห์นโซ ภายในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

 

ข้อ 2 ปีภาษี 2560 นางหนูนาเป็นแม่ม่าย มีบุตรคือเด็กชายช้าง อายุ 10 ขวบ และเด็กหญิงร้อง อายุ 8 ขวบ ทั้งสองศึกษาอยู่ชั้นประถมที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย นางหนูนาเปิดร้านขายส่งเครื่องสําอางที่ประตูน้ำ มีรายได้ต่อเดือน ๆ ละ 2 ล้านบาท และเป็นเจ้าของเพจดังจึงมีเงินได้จากการรับรีวิวสินค้าผ่าน เฟซบุ๊กร้าน ครั้งละ 50,000 บาท เดือนมกราคมที่ผ่านมา นางหนูนาถูกสลากออมสินได้รับรางวัล มูลค่า 10 ล้านบาท จึงนําฝากธนาคารออมสินแบบฝากเผื่อเรียกจะได้ดอกเบี้ย 100,000 บาทต่อปี ปีภาษีนี้ นางหนูนาจึงรับอุปการะเด็กหญิงชมพูอายุ 4 ขวบ มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยจดทะเบียน รับบุตรบุญธรรมถูกต้อง และเดือนกุมภาพันธ์ เด็กชายข้างและเด็กหญิงร้องได้เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับ นมผงยี่ห้อหนึ่งได้ค่าตอบแทนคนละ 200,000 บาท และได้ทําการบริจาคเงินจํานวน 100,000 บาท ให้กับบ้านพักคนชราบางแค กรณีดังกล่าวข้างต้น ปีภาษี 2560 นี้ ก. นางหนูนามีเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้าง และต้องนํามาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ข นางหนูนาจะสามารถหักลดหย่อนตนเอง บุตรและบุตรบุญธรรมทั้ง 3 คน รวมถึงหักลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่ง งานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจํา หรือชั่วคราว

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(8) ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้

(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาล เฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสิน ของรัฐบาล…”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนให้สําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท

(ค) บุตร

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้ หรือบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท

(2) บุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคนในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรทั้ง (1) และ (2) การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้นําบุตรตาม (1) ทั้งหมด มาหักก่อน แล้วจึงนําบุตรตาม (2) มาหัก เว้นแต่ในกรณีผู้มีเงินได้มีบุตรตาม (1) ที่มีชีวิตอยู่ รวมเป็นจํานวนตั้งแต่ สามคนขึ้นไป จะนําบุตรตาม (2) มาหักไม่ได้ แต่ถ้าบุตรตาม (1) มีจํานวนไม่ถึงสามคน ให้นําบุตรตาม (2) มาหักได้ โดยเมื่อรวมบุตรตาม (1) แล้ว ต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี และยังศึกษาอยู่ใน มหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา หรือซึ่งเป็นผู้เยาว์…แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

การหักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ ตลอดปีภาษีหรือไม่

(7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แล้วเหลือเท่าใด ให้หักลดหย่อนได้อีก สําหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่าจํานวนที่บริจาค แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น

(ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล…”

วินิจฉัย

ก นางหนูนามีเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามาคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือไม่ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 เงินได้จากการเปิดร้ายขายส่งเครื่องสําอางเดือนละ 2 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้จากการธุรกิจ ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 เงินได้จากการรับรีวิวสินค้าผ่านเฟซบุ๊กร้านครั้งละ 50,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2) เพราะเป็นเงินได้จากการรับทํางานให้ ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา

3 เงินได้จากการถูกสลากออมสิน 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตาม มาตรา 40 (8) ไม่ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตาม มาตรา 42 (11)

4 เงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสินแบบฝากเผื่อเรียกจํานวน 100,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) ไม่ต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (8) (ก)

ข นางหนูนาสามารถหักลดหย่อนได้ดังนี้ คือ

1 นางหนูนาหักลดหย่อนในฐานะผู้มีเงินได้ 50,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก)

2 เด็กหญิงชมพูในฐานะบุตรบุญธรรม 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) (2)

ส่วนเด็กชายช้างและเด็กหญิงซ้องแม้จะเป็นบุตรผู้เยาว์และเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของนางหนูนา ก็ไม่สามารถนํามาหักลดหย่อนได้ เพราะบุตรทั้งสองมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วถึง 30,000 บาท (คนละ 200,000 บาท) โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

3 เงินบริจาคจํานวน 100,000 บาท ที่บริจาคให้แก่บ้านพักคนชราบางแค สามารถนํามา หักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47 (7) (ข) โดยหักได้เท่าจํานวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือ

สรุป

ก เงินได้พึงประเมินของนางหนูนา คือ เงินได้จากการเปิดร้านขายเครื่องสําอาง และเงินได้จากการรับรีวิวสินค้าต้องนํามาคํานวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินรางวัลสลากออมสินและ ดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวไม่ต้องนํามาคํานวณภาษี

ข นางหนูนาสามารถหักลดหย่อนตนเองและบุตรเพียง 1 คน คือหักได้เฉพาะ เด็กหญิงชมพูเท่านั้น และยังสามารถหักลดหย่อนเงินบริจาคได้ด้วย

หมายเหตุ บทบัญญัติตามมาตรา 47 ดังกล่าวข้างต้น เป็นบทบัญญัติที่ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

 

ข้อ 3 บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด เป็นบริษัทผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2559 ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียง 180 วันก็ได้ไปสร้างสํานักงานและ โรงงานผลิตในประเทศโอมาน โดยมีเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “Siam” ในประเทศต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และแอฟริการวม 5,000 ล้านบาท ซึ่งได้ส่งเงินจํานวนดังกล่าวเข้ามาฝากใน ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรในเงินจํานวนดังกล่าวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2559 บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด จะตั้งอยู่ในประเทศไทยเพียง 180 วัน และได้ไปสร้างสํานักงานและโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศโอมานก็ตาม แต่เมื่อบริษัท สยามยานยนต์ จํากัด เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังนั้น บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด จึงต้องนําเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ยี่ห้อ “Siam” ในประเทศต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และ แอฟริกา รวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ประเทศไทย

สรุป

บริษัท สยามยานยนต์ จํากัด ต้องนําเงินได้จากการจําหน่ายรถยนต์ทั้งหมดจํานวน 5,000 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2559

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายโอลิ้งเป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559นายโอลิ้งได้เดินทางเข้ามาประเทศไทย ในการเดินทางมาครั้งนี้นายโอลิ้งได้นําเงินที่เก็บสะสมได้ ของปี พ.ศ. 2558 เนื่องจากการทํางานที่ประเทศอังกฤษเข้ามาด้วย จํานวน 5 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย และได้ทํา สัญญาว่าจ้างนายโอลิ้งในขณะที่อยู่ในประเทศไทย ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ทําสัญญาจ้างใหม่นายโอลิ้งรับตําแหน่งผู้ตรวจการ ดําเนินงานประจําสํานักงานสาขาในประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานสาขาดังกล่าวเป็นผู้ชําระค่าจ้าง ให้แก่นายโอลิ้งทั้งหมดโดยไม่บันทึกค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ และส่งนายโอลิ้งไปประจําสาขาฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 5 เดือน ต่อมานายโอลิ้งได้เดินทางกลับมาทํางานให้แก่บริษัทฯ ใน ประเทศไทยจนสิ้นปี พ.ศ. 2559 ทั้งนี้ เงินค่าจ้างทุก ๆ เดือน ในปี พ.ศ. 2559 นายโอลิ้งจะได้รับโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายโอลิ้ง ในประเทศสิงคโปร์ทุกเดือน อย่างไรก็ตามนายโอลิ้งได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ตนทํางาน อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าวนายโอลิ้งต้องยื่นแบบแสดงรายการชําระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคหนึ่ง)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ เงินได้รายการต่าง ๆ ดังกล่าวของนายโอลิ้งต้องยื่นแบบแสดงรายการชําระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินจํานวน 5 ล้านบาท นายโอลิ้งไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะถึงแม้ว่านายโอลิ้งจะอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 และได้นําเงินได้จํานวน 5 ล้านบาท ที่ได้จากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีเดียวกับที่ อยู่ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามเงินได้ที่นําเข้ามานั้นมิใช่เป็นเงินได้ที่ได้รับในปีเดียวกับที่อยู่ในประเทศไทย แต่เป็นเงินสะสมที่ได้รับในปี พ.ศ. 2558 จึงไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร

2 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่านายโอลิ้ง เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษก็ตาม

3 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะ ถึงแม้ว่านายโอลิ้งจะอยู่ในประเทศครบ 180 วัน ในปีภาษี 2559 แต่นายโอลิ้งได้ใช้เงินเดือนส่วนที่ได้รับในขณะที่ตน ทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งหมด โดยไม่นําเงินเดือนค่าจ้างเข้าประเทศไทยเลย จึงไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ใช่กรณีตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง เพราะกรณีนี้เป็นเงินได้จากกิจการของ นายจ้างนอกประเทศไทย เนื่องจากนายโอลิ้งรับตําแหน่งงานประจําที่ประเทศสิงคโปร์ และเนื่องจากสํานักงานสาขา ในประเทศสิงคโปร์เป็นผู้ชําระค่าจ้างให้แก่นายโอลิ้งทั้งหมด โดยไม่บันทึกค่าจ้างเป็นรายจ่ายของบริษัท ยางสยาม จํากัด ที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทยเลย

4 ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย เข้าเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ว่านายโอลิ้ง เป็นคนสัญชาติอังกฤษ มีภูมิลําเนาอยู่ที่ประเทศอังกฤษก็ตาม

สรุป เงินได้ที่นายโอลิ้งจะต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปี พ.ศ. 2560 คือ ค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 และที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

ส่วนเงินจํานวน 5 ล้านบาท และค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559 ไม่ต้องนํามายื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 นายรักไทยพ่อหม้าย เป็นที่ปรึกษากฎหมาย ภาษีอิสระ มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 2 คน คือนางสาวน้ำฟ้า อายุ 22 ปี เรียนอยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในชั้นปีสุดท้าย และนายเพียงดินอายุ 16 ปี เรียนโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปีภาษี 2559 นี้ นายรักไทยมีรายได้จากปันผล ของการลงทุนในหุ้น 10 ล้านบาท จากการรับวางแผนภาษีให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติคนหนึ่ง ได้รับค่าปรึกษาจํานวน 10 ล้านบาท มีคอนโดมิเนียมให้เช่าจํานวน 10 ห้อง ได้ค่าเช่าตกเดือนละ 200,000 บาท และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานายรักไทยได้รับมรดกเป็นรถยนต์โบราณหนึ่งคัน ราคาหนึ่งล้านบาท จากพินัยกรรมของลุงของนายรักไทยซึ่งเสียชีวิตมูลค่า 10 ล้านบาท เดือนเมษายน นางสาวน้ําฟ้าได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดร้องเพลงจากรายการโทรทัศน์แห่งหนึ่งจํานวน 50,000 บาท และนายเพียงดินได้รับว่าจ้างให้เป็นนายแบบโฆษณาได้รับค่าจ้างเป็นนายแบบครั้งนี้ จํานวน 10,000 บาท อยากทราบว่าปีภาษี 2559 นี้ นายรักไทยได้รับเงินพึงประเมินประเภทใดบ้าง และต้องนําเงินได้พึงประเมินทั้งหมดคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด และหากจะหักลดหย่อนบุตรทั้งสองของนายรักไทยจะสามารถทําได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วน…

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(9) การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทาง การค้าหรือหากําไร”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนสําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย… คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ใน สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชนหรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่นายรักไทยได้รับในปีภาษี 2559 เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 รายได้จากปันผลของการลงทุนในหุ้น 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ข) และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 รายได้จากการรับวางแผนภาษีให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติโดยได้รับค่าปรึกษาจํานวน 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40 (6) เพราะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ และต้อง นํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 รายได้จากการให้เช่าคอนโดมิเนียม จํานวน 10 ห้อง ตกเดือนละ 200,000 บาท เป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน และต้องนํามา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

4 รายได้จากการรับมรดกเป็นรถยนต์โบราณหนึ่งคันราคา 1 ล้านบาท จากพินัยกรรม ของลุงของนายรักไทยซึ่งเสียชีวิตมูลค่า 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) แต่ ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (9)

และเมื่อนายรักไทยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี นายรักไทยจะนําบุตรทั้งสองมาหัก ลดหย่อนได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 กรณีของนางสาวน้ําฟ้า แม้จะมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในปีภาษีนั้น นางสาวน้ําฟ้าได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดร้องเพลง 50,000 บาท ซึ่งถือว่า มีเงินได้พึงประเมินเกิน 15,000 บาท และเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ดังนั้น นายรักไทยจะนําบุตรคนนี้มาหักลดหย่อนไม่ได้

2 กรณีของนายเพียงดิน ซึ่งเป็นผู้เยาว์มีอายุ 16 ปีนั้น นายรักไทยสามารถนําบุตรคนนี้ มาหักลดหย่อนได้ 17,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) และ (ฉ) และแม้นายเพียงดินจะมีเงินได้พึงประเมินและเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 ก็ตาม แต่เป็นเงินได้ที่มีจํานวนเพียง 10,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 15,000 บาท แต่อย่างใด

สรุป รายได้ที่นายรักไทยได้รับในปีภาษี 2559 เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด และต้องนํามา เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่เป็นไปตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

ส่วนการหักลดหย่อนบุตรนั้น นายรักไทยสามารถนํานายเพียงดินมาหักลดหย่อนได้ เพียงคนเดียว โดยหักได้จํานวน 17,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทจํากัด ค.ศ. 2006 ของประเทศสหราชอาณาจักร (โดยไม่ต้องคํานึงถึงสนธิสัญญาภาษีซ้อน) ในปี พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ส่งฟิล์มภาพยนตร์ทางพัสดุไปรษณีย์ทางอากาศมาให้บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ซึ่งเป็นบริษัท จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย เช่าฉายในประเทศไทย โดยบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ได้ส่งค่าเช่าฟิล์มภาพยนตร์ดังกล่าวไปให้บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด ที่ประเทศ สหราชอาณาจักร คิดเป็นเงินไทยจํานวน 10 ล้านบาท และปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี 2559 บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด มีกําไรสุทธิที่ได้รับจากการประกอบกิจการฉายภาพยนตร์ในประเทศไทย จํานวน 5 ล้านบาท ทั้งนี้อยากทราบว่าบริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด และบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัดมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชําระอย่างไร

ธงตําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ประเทศสหราชอาณาจักร มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่มีเงินได้จากค่าเช่าฟิล์มภาพยนตร์ที่บริษัทฯ ได้ ส่งมาให้บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ในประเทศไทยเช่าฉายในประเทศไทย และได้รับเงินค่าเช่า ซึ่งถือเป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ดังนั้น บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้จ่ายคือบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด หักภาษีเงินได้พึงประเมินที่จ่ายคือ 10 ล้านบาท ในอัตราร้อยละ 15 แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่น แบบแสดงรายการภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น

ส่วนบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เมื่อบริษัทฯ มีกําไรสุทธิ ที่ได้รับจากการประกอบกิจการฉายภาพยนตร์ในประเทศไทยจํานวน 5 ล้านบาท บริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด จึง ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเสียจากฐานกําไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัทฯ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง

สรุป บริษัท ลอนดอนฟิล์ม จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง และบริษัท บางกอกฟิล์ม จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2558

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 บริษัท ยางสยาม จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายไทย บริษัทฯได้ทําสัญญาว่าจ้างนายไกรซึ่งมีสัญชาติไทยในตําแหน่งเป็นผู้ตรวจงานของบริษัทฯ เงินเดือน 200,000 บาท นายไกรเป็นคนเชื้อสายไทย สัญชาติสิงคโปร์และมีภูมิลําเนาอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี โดยตลอด ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 บริษัทฯ ได้ส่งนายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของ บริษัทฯ ในประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 180 วัน จึงเดินทางกลับ ทั้งนี้สํานักงานสาขาดังกล่าวได้ทํา หน้าที่ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 200,000 บาท ให้แก่นายไกรโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายไกร ในประเทศสิงคโปร์ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรนําเงินเดือนที่ได้รับในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่นําเงินเดือนเข้าประเทศไทยเลย และในขณะเดียวกันนายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและมีทะเบียนบ้าน อยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน โดยนายไกรได้ชําระเงินค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท ให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนางฟาโอร่าที่ประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยว่า ปีภาษี 2559 เงินได้รายการดังกล่าว ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีของนายไกร เงินเดือนของนายไกรที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่บริษัท ยางสยาม จํากัด จ่ายให้แก่นายไกรในประเทศไทย เป็นเวลา 6 เดือน จํานวน 1,200,000 บาท นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนั้น นายไกรจะต้องนําเงินได้จํานวน 1,200,000 บาท ดังกล่าว มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง

2 เงินเดือน ๆ ละ 200,000 บาท ที่สํานักงานสาขาของบริษัท ยางสยาม จํากัด ใน ประเทศสิงคโปร์ จ่ายให้แก่นายไกรในขณะที่นายไกรไปตรวจงาน ณ สาขาของบริษัทฯ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารของนายไกรในประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายไกรน้ําเงินเดือนที่ได้รับ ในขณะอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ใช้จ่ายไปทั้งหมดโดยไม่ได้นําเงินเดือนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยเลย ดังนั้นแม้ว่า นายไกรจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันก็ตาม แต่เมื่อนายไกรไม่ได้เอาเงินได้ดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ นายไกรจึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

กรณีของนางฟาโอร่า การที่นายไกรได้ทําสัญญาว่าจ้างนางฟาโอร่าซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียและ มีทะเบียนบ้านอยู่ที่ประเทศมาเลเซียให้ทําหน้าที่เป็นเลขานุการส่วนตัวทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 2 เดือน ค่าจ้างเดือนละ 190,000 บาท โดยนายไกรได้ชําระเงินให้แก่นางฟาโอร่าโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนางฟาโอร่า ที่ประเทศไทยนั้น เงินได้ที่นางฟาโอร่าได้รับจากนายไกรดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทํา ในต่างประเทศ และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์แม้จะถือได้ว่า นางฟาโอร่าได้นําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่เมื่อนางฟาโอร่ามิใช่เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คือไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีครบ 180 วัน นางฟาโอร่าจึงไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป นายไกรจะต้องนําเงินเดือนที่ได้รับในประเทศไทยจํานวน 1,200,000 บาท มาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินเดือนที่ได้รับในต่างประเทศไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นางฟาโอร่าไม่ต้องนําเงินเดือนที่ได้รับจํานวน 380,000 บาท มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ให้ท่านอธิบายหลักกฎหมายเรื่อง “สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรอย่างน้อย 11 รายการ พร้อมยกตัวอย่างโดยละเอียด

ธงคําตอบ

“สิทธิหักค่าลดหย่อน” ในการคํานวณหาค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น หมายถึง สิทธิของ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในการนํารายการต่าง ๆ ที่กฎหมายได้กําหนดไว้มาหักเพิ่มได้อีกหลังจาก ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ก่อนนําเงินได้ที่เหลือซึ่งเรียกว่า “เงินได้สุทธิ” ไปคํานวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามประมวลรัษฎากร ได้กําหนดรายการต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธินําไปหักเป็นค่า ลดหย่อนไว้หลายรายการ เช่น

1 หักลดหย่อนสําหรับตัวผู้มีเงินได้ โดยหักได้ 30,000 บาท

2 หักลดหย่อนสําหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ในกรณีที่สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ไม่มีเงินได้พึงประเมิน หรือมีแต่ไม่ได้แยกคํานวณภาษี โดยหักได้ 30,000 บาท

3 หักลดหย่อนสําหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้ง บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ โดยหักได้คนละ 15,000 บาท (ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ในมาตรา 47) รวมทั้งมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่กําลังศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

4 เบี้ยประกันชีวิต ที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายไปในปีภาษีสําหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ (รวมทั้งสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้) โดยหักได้ส่วนแรก 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกําหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป

5 เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพ สามารถหักลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยน้ํา จํานวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจํานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท

6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (สําหรับการกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย….) ตาม จํานวนเงินที่ได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

7 เงินสมทบทุนที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งกรณีที่สามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม) โดยหักได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง

8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดานั้นต้องมี อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ

9 เงินที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง (ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2559) โดยหักได้ไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์

10 หักลดหย่อนเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา โดยสามารถหักได้ 2 เท่าของจํานวนเงินที่ ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

11 หักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาค โดยผู้มีเงินได้มีสิทธิหักลดหย่อนสําหรับเงินบริจาคได้ เท่าจํานวนที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และให้หักค่าลดหย่อนได้เฉพาะ

(1) เงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของรัฐ

(2) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่สถานที่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา

 

ข้อ 3 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอาหารทะเลภายในประเทศอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงาน ขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ต ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้ส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อ ไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเลเป็นเหตุ ให้ได้รับเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้ว ในปี พ.ศ. 2560 แต่ยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2560 และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และ มีรายจ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาว จํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี..

การคํานวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นํารายได้ที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคํานวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น…”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ เเยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีรายได้จากการส่งลูกจ้าง ผู้ทําการแทน ผู้ทําการติดต่อไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยและประเทศลาว เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเล โดยได้รับเป็นเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และมีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระแล้วในปี พ.ศ. 2560 นั้น แม้ว่าบริษัทฯ จะยังมิได้รับชําระเงิน 250 ล้านบาท ดังกล่าวจนกระทั่งสิ้น ปี พ.ศ. 2560 ก็ตาม บริษัทฯ ก็จะต้องนํารายได้ที่ยังไม่ได้รับชําระจํานวน 250 ล้านบาท มารวมกับรายได้ที่ ได้รับชําระเป็นเงินสดแล้วจํานวน 150 ล้านบาท รวมเป็นเงินจํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ตามหลักของการคํานวณรายได้และรายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สิทธิ

2 กรณีของบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด

การที่บริษัท มาร์คดีลยเอส จํากัด ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ชื่อ บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ซึ่งมีสํานักงานขนาดใหญ่ที่จังหวัดภูเก็ตนั้น ย่อมไม่ถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัท เดียวกันกับ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด เพราะบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่แยก ออกมาจากบริษัทเดิม มิใช่สาขาของบริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด แต่อย่างใด

และเมื่อถือว่าบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด เป็นนิติบุคคลที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ตาม กฎหมายไทยการที่ บริษัท มาร์คดีลยูเอส จํากัด ได้จ่ายค่าขนส่งอาหารทะเลไปยังจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย จํานวน 50 ล้านบาท และค่าขนส่งอาหารทะเลจากประเทศไทยไปยังประเทศลาวจํานวน 60 ล้านบาท ให้แก่บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ย่อมถือว่าเงินจํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว เป็นรายได้ของบริษัท มาร์คยูเอสโก จํากัด ดังนั้น บริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด จึงต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาทดังกล่าว มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 65 วรรคหนึ่ง

สรุป

บริษัท มาร์คติลยูเอส จํากัด จะต้องนํารายได้จํานวน 400 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร และบริษัท มาร์คดีลยูเอสโก จํากัด ต้องนํารายได้จํานวน 110 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2558

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ห้างหุ้นส่วนสามสหาย มีนายไรวิน นางสาวสีนวล และนางสาวแพรไหม เป็นหุ้นส่วน โดยมีนายไรวินเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ปีภาษี 2558 ห้างหุ้นส่วนสามสหายมีรายได้จากการขายสินค้าภูมิปัญญา ชาวบ้านจํานวน 20 ล้านบาท ในประเทศไทย รายได้ทั้งหมดเก็บไว้ในประเทศไทย และรายได้จากการ ส่งของไปขายยังต่างประเทศอีก 50 ล้านบาท รายได้ส่วนนี้ทั้งหมดถูกส่งไปเก็บไว้ที่เขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง อยากทราบว่า ห้างหุ้นส่วนสามสหายจะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร จากรายได้ทั้งสองจํานวน และหากจะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ผู้ใดจะเป็นผู้ทําหน้าที่ยื่นแบบ แสดงรายการเพื่อเสียภาษีประจําปีภาษี 2558

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 วรรคหนึ่ง “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจาก หน้าที่งานหรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สิน ที่อยู่ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ”

มาตรา 56 “ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือน ไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ถ้าบุคคลนั้น

(1) ไม่มีสามีหรือภริยา และมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 30,000 บาท

ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะนิติบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ล่วงมาแล้วเกินจํานวนตาม (1) ให้ผู้อํานวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกําหนดเวลาและตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน…”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่ห้างหุ้นส่วนสามสหาย มีรายได้จากการขายสินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน จํานวน 20 ล้านบาท ในประเทศไทย และรายได้จากการส่งของไปขายยังต่างประเทศอีก 50 ล้านบาทนั้น รายได้ ทั้งสองจํานวนรวม 70 ล้านบาท ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามสหาย จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับ ประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคหนึ่ง แม้เงินได้ส่วนหนึ่งจะเก็บไว้ที่ต่างประเทศก็ตาม

และเมื่อห้างหุ้นส่วนสามสหายมีหน้าที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนายไรวินซึ่งเป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ จะต้องยืนรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนที่ได้รับในระหว่างปีภาษี 2558 ในฐานะตัวแทนของห้างหุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง

สรุป ห้างหุ้นส่วนสามสหาย จะต้องนํารายได้ทั้งสองจํานวนมาเสียภาษีให้กับประเทศไทย โดยให้นายไรวินซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ทําหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี

 

ข้อ 2 ปีภาษี 2559 นายติณชาติมีรายได้จากการให้เช่าวังเก่าโดยจ่ายค่าเช่ากันเป็นรายปีจํานวน 2 ล้านบาท รายได้จากค่าออกแบบสถาปัตยกรรมซึ่งรับงานเองจํานวน 10 ล้านบาท และดอกเบี้ยเงินกู้ที่นางสาววิ ได้กู้ยืมเงินจากนายติณชาติไปจํานวน 2 แสนบาท ซึ่งจ่ายกันเป็นรายปี รวมถึงมีรายได้จากการถูก สลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 1 หมื่นบาท และย่าของนายติณชาติได้เช็คเงินสดเนื่องในวันเกิด จํานวน 1 แสนบาท โดยในปีภาษีนี้นายติณชาติได้จดทะเบียนรับเด็กหญิงล้อมเพ็ชรอายุ 10 ขวบ ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง มาเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากนี้ ยังอุปการะเลี้ยงดูยาข้าราชการบํานาญอายุ 70 ปีด้วย เมื่อเดือนมกราคม 2559 นายติณชาติได้ทํา ประกันชีวิตกรมธรรม์ 8 ปี กับบริษัทเอไอเอประเทศไทยจํากัด มีเบี้ยประกันที่จ่ายไปจํานวน 1 แสนบาท หากปีภาษี 2559 นี้ หากนายติณชาติมีรายได้ดังกล่าวมาข้างต้น อยากทราบว่านายติณชาติมีรายได้ อันเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดบ้าง และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมด หรือไม่ อย่างไร และสามารถหักลดหย่อนบุตรบุญธรรมและย่าของนายติณชาติได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ย เงินกู้ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม..

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(11) รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่งหรือสลากออมสิน ของรัฐบาล…

(27) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือ คู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

1 (1) ลดหย่อนสําหรับ

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย… คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะ มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่…

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ใน สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชนหรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท

(ญ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยา ของผู้มีเงินได้คนละสามหมื่นบาท โดยบุคคลดังกล่าวต้องมีอายุหกสิบปีขึ้นไป มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ และ อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่นายติณชาติได้รับในปีภาษี 2559 เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทใด และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร แยกพิจารณาได้ดังนี้

1 รายได้จากการให้เช่าวังเก่าจํานวน 2 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) (ก) เพราะเป็นเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2 รายได้จากค่าออกแบบสถาปัตยกรรมจํานวน 10 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภท ที่ 6 ตามมาตรา 40 (6) เพราะเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3 รายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจํานวน 2 แสนบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

4 รายได้จากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลจํานวน 1 หมื่นบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภท ที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตาม มาตรา 42 (11)

5 รายได้จากการได้รับเช็คเงินสดเนื่องในวันเกิดจากย่าของนายติณชาติจํานวน 1 แสนบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเป็นเงิน ได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (27)

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น นายติณชาติสามารถนําเด็กหญิงล้อมเพ็ชรซึ่งเป็น บุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47 (1) (ค) แม้จะจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมในปีภาษี 2559 ก็ตาม (มาตรา 47 (1) (ค) วรรคท้าย) จํานวน 15,000 บาท และหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีก 2,000 บาท ตาม มาตรา 47 (1) (2)

ส่วนย่าของนายติณชาตินั้น แม้จะอายุ 70 ปี และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของนายติณชาติ แต่จะนํามาหักลดหย่อนไม่ได้ เพราะมิใช่การอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ตามมาตรา 47 (1) (ญ)

สรุป รายได้ที่นายติณชาติจะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้จากการ ให้เช่าวัง เงินได้จากค่าออกแบบ และเงินได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืม โดยนายติณชาติสามารถนําเด็กหญิงล้อมเพ็ชร มาหักลดหย่อนได้ แต่จะหักลดหย่อนย่าของนายติณชาติไม่ได้

หมายเหตุ มาตรา 42 (27) เป็นบทบัญญัติใหม่ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558

 

ข้อ 3 บริษัท ยูเอสคิล จํากัด มีหนังสือรับรองความเป็นนิติบุคคลซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้า อาหารทะเลภายในประเทศอเมริกาและประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย บริษัทฯ มีสาขา ขนาดใหญ่ที่ประเทศอินเดียเป็นฐานการค้า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 สาขาดังกล่าว ได้ส่ง ลูกจ้าง ผู้ทําการแทน และผู้ทําการติดต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศอินเดียและ ประเทศอิรัก เพื่อทําสัญญาซื้อขายอาหารทะเล เป็นเหตุให้ได้รับเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และ มีสิทธิได้รับเงินอีก 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระในปี พ.ศ. 2560 แต่เงินจํานวน 250 ล้านบาท ยังมิได้รับชําระจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2560 ให้ท่านวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 เงินได้ รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคหนึ่ง “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือ เนื่องจากกิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศ ายหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้น ทั้งหมดมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

และในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 นั้น ให้ใช้ “เกณฑ์สิทธิ” กล่าวคือ ให้นํารายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ๆ มารวมคํานวณเป็นรายได้ทั้งหมด แม้ว่ารายได้บางประเภทเป็นรายได้ที่ยังไม่ได้รับชําระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นและ สามารถที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้ชําระหนี้ได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น

ตามอุทาหรณ์ แม้ว่าบริษัท ยูเอสคิล จํากัด จะประกอบกิจการในประเทศอเมริกาและประเทศ อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง คือ จะต้องนํารายได้จากการทําสัญญา ซื้อขายอาหารทะเลที่ได้รับเป็นเงินสดจํานวน 150 ล้านบาท และที่มีสิทธิจะได้รับอีก 250 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 400 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย แม้ว่าเงินจํานวน 250 ล้านบาท ซึ่งถึงกําหนดชําระในปี พ.ศ. 2560 นั้น จะยังไม่ได้รับชําระจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2560 ก็ตาม

สรุป บริษัท ยูเอสติล จํากัด ต้องนํารายได้ที่ได้รับแล้ว 150 ล้านบาท และที่ยังไม่ได้รับ ชําระอีก 250 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 2560 มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2558

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ปีภาษี 2558 ตั้งแต่เดือนมกราคม บริษัท เทียนเทียน จํากัด เป็นบริษัทจัดจําหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ได้จ้างนายวินคนพม่าเป็นผู้จัดการสาขาที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เงินเดือนของนายวินได้ส่ง เข้าบัญชีธนาคารที่ประเทศพม่า และได้จ้างนางสาววันหนึ่งไปเป็นผู้จัดการสาขาประจําที่ประเทศลาว เงินเดือนของนางสาววันหนึ่ง บริษัทฯ จัดส่งเข้าบัญชีนางสาววันหนึ่งที่ประเทศลาวทุกเดือน และที่ประเทศเวียดนาม บริษัทฯ ได้จ้างนางสาวเมย์คนเวียดนามอาศัยอยู่ที่ประเทศเวียดนามเป็นนายหน้า หาลูกค้าในประเทศเวียดนามให้กับบริษัทฯ โดยหากหาลูกค้าให้บริษัทฯ ได้ นางสาวเมย์จะได้รับ ค่านายหน้าจากบริษัทฯ เป็นครั้ง ๆ ไป อยากทราบว่า เงินเดือนของนายวินและนางสาววันหนึ่ง เงินค่านายหน้าของนางสาวเมย์ ตลอดปีภาษี 2558 นี้ จะต้องนํามาเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

1 การที่บริษัทฯ ได้จ้างนายวินคนพม่าเป็นผู้จัดการสาขาที่ อ.แม่สอด จ.ตากนั้น เงินเดือน ที่นายวินได้รับ ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย แม้เงินได้ดังกล่าวบริษัทจะได้ส่งเข้าบัญชีที่ประเทศพม่าก็ตาม นายวินก็จะต้อง นําเงินได้ดังกล่าวเสียภาษีให้กับประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคแรก

2 การที่บริษัทฯ ได้จ้างนางสาววันหนึ่งไปเป็นผู้จัดการสาขาที่ประเทศลาว และบริษัทจัดส่ง เงินเดือนเข้าบัญชีของนางสาววันหนึ่งที่ประเทศลาวทุกเดือนนั้น เงินเดือนที่นางสาววันหนึ่งได้รับถือเป็นเงินได้ พึงประเมินที่เกิดจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย นางสาววันหนึ่งจึงต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคแรก

3 การที่บริษัทฯ จ้างนางสาวเมย์คนเวียดนามและได้อาศัยอยู่ในประเทศเวียดนามเป็น นายหน้าหาลูกค้าให้กับบริษัทฯ ที่ประเทศเวียดนาม เมื่อหาลูกค้าได้ก็จะได้รับค่านายหน้านั้น เงินค่านายหน้าที่ นางสาวเมย์ได้รับ ถือว่าเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ เพราะเป็นเงินได้จากหน้าที่การงานที่ทําใน ต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อนางสาวเมย์ไม่ได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันและมิได้อาศัยอยู่ใน ประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี นางสาวเมย์จึงไม่ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสองและสาม

สรุป เงินเดือนของนายวินและของนางสาววันหนึ่ง ต้องนํามาเสียภาษีให้กับประเทศไทย

ส่วนเงินค่านายหน้าของนางสาวเมย์ไม่ต้องนํามาเสียภาษีให้กับประเทศไทย

 

ข้อ 2 นายอดัมนักการเงินคนอังกฤษได้วีซ่าทํางานในประเทศไทยกับบริษัทแห่งหนึ่งตลอดปีภาษี 2558 นายอดัมมีบุตรชาย 1 คน อายุ 10 ปี ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในประเทศไทย และภริยาเป็นแม่บ้านไม่ได้ทํางาน นายอดัมได้รับเงินเดือนเดือนละ 5 แสนบาท ไปเป็นอาจารย์บรรยายพิเศษ ให้กับมหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาติแห่งหนึ่ง ได้ค่าตอบแทน 5 หมื่นบาท ไปเป็นวิทยากรหลักสูตร ระยะสั้นได้ค่าตอบแทน 1 แสนบาท ปีภาษี 2558 นี้ นายอดัมได้รับเงินปันผลจากการเล่นหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์จํานวน 7 ล้านบาท และบุตรชายของนายอดัมได้รับการติดต่อให้ไปถ่ายโฆษณา เครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งได้รับค่าตอบแทนจํานวน 1 แสนบาท อยากทราบว่า เงินได้พึงประเมินที่นายอดัม ได้รับ เป็นเงินได้ประเภทใดบ้าง และนายอดัมสามารถหักค่าลดหย่อนในกรณีใดได้บ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลดเงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจําหรือชั่วคราว

(4) เงินได้ที่เป็น

(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกําไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล…”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนสําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย… คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้พึงประเมินที่นายอดัมได้รับในปีภาษี 2558 ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทดังต่อไปนี้

1 เงินเดือนที่นายอดัมได้รับจากบริษัทเดือนละ 5 แสนบาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภท ที่ 1 ตามมาตรา 40 (1) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

2 เงินที่ได้รับเป็นค่าตอบแทน 5 หมื่นบาท จากการไปเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยฯ และค่าตอบแทนอีก 1 แสนบาท จากการเป็นวิทยากรหลักสูตรระยะสั้น เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตาม มาตรา 40 (2) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทํางานให้

3 เงินปันผลจากการเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จํานวน 7 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ข) เพราะเป็นเงินได้ที่เป็นเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัท

ส่วนการหักลดหย่อนนั้น นายอดัมสามารถหักลดหย่อนสําหรับตนเองในฐานะผู้มีเงินได้ตาม มาตรา 47 (1) (ก) จํานวน 30,000 บาท และหักลดหย่อนสําหรับภริยาตามมาตรา 47 (1) (ข) ได้อีกจํานวน 30,000 บาท ส่วนบุตรชายอายุ 10 ปี ไม่สามารถนํามาหักลดหย่อนได้เนื่องจากบุตรผู้เยาว์มีเงินได้ในปีภาษีถึง 15,000 บาท และเงินได้จากค่าถ่ายโฆษณานั้นไม่ใช่เงินได้พึงประเมินที่จะได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42

 

ข้อ 3 บริษัท เรือบินไทย จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศจีน มีวัตถุประสงค์กระทํากิจการขนส่งทางอากาศในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในรอบระยะ เวลาบัญชี 2558 บริษัท เรือบินไทย จํากัด ทําการขนสินค้าและคนโดยสาร ต้นทางจากประเทศจีน ผ่านเข้าประเทศไทยและออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอินเดียปลายทาง โดยได้รับเงิน 50 ล้านบาท เป็นค่าขนส่งสินค้า และส่วนอีก 30 ล้านบาท เป็นค่าขนผู้โดยสาร โดยได้ชําระเงิน ทั้งสองจํานวนที่ประเทศต้นทางให้แก่นายอํานวยพนักงานสัญชาติไทยของบริษัทฯ ให้วินิจฉัยว่า เงินได้รายการดังกล่าว บริษัท เรือบินไทย จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 66 “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทํากิจการในที่อื่น รวมทั้งในประเทศไทย ให้เสียภาษีในกําไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําในประเทศไทย”

มาตรา 67 “การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ ให้เสียตามอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษี เงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง กระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสารค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น

(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น”

วินิจฉัย

โดยหลัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย และกิจการที่กระทําเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ในกรณีรับขนคนโดยสาร ต้องเป็นการเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดในประเทศไทย ส่วนกรณีรับขนของ ต้องเป็น การขนของออกนอกประเทศเท่านั้นจึงจะมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อบริษัท เรือบินไทย จํากัด เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายของประเทศจีน โดยมีวัตถุประสงค์กระทํากิจการขนส่งทางอากาศในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ รวมทั้ง ประเทศไทย การที่บริษัท เรือบินไทย จํากัด ได้รับเงิน 50 ล้านบาท เป็นค่าขนส่งสินค้า และจํานวน 30 ล้านบาท เป็นค่าขนส่งผู้โดยสารในรอบระยะเวลาบัญชี 2558 นั้น เงินได้ทั้ง 2 รายการดังกล่าวนั้น บริษัท เรือบินไทย จํากัด ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคแรก เพราะบริษัท เรือบินไทย จํากัด มิได้เป็นนิติบุคคลที่ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง เพราะแม้ บริษัท เรือบินไทย จํากัด จะได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ แต่เงินได้ทั้ง 2 รายการ ดังกล่าวมิได้เกิดจากกิจการที่กระทําในที่อื่น ๆ รวมทั้งในประเทศไทย

และนอกจากนั้นเงินได้จํานวน 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าขนส่งสินค้านั้น เป็นรายได้จากการรับ ขนสินค้าจากประเทศจีนผ่านเข้าประเทศไทยและออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอินเดีย มิใช่เป็นการขนส่ง สินค้าออกจากประเทศไทย จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 (2) และเงินได้จํานวน 30 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าขนส่งผู้โดยสารนั้น เป็นรายได้จากการเรียกเก็บค่าโดยสารที่ประเทศจีนมิได้เรียกเก็บในประเทศไทย จึงไม่ต้องนํารายได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเช่นกัน เพราะกรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 67 (1)

สรุป เงินได้ทั้งสองจํานวนดังกล่าว บริษัท เรือบินไทย จํากัด ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ S/2557

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. ธนาคาร สยาม จํากัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและได้เปิดสาขาในกลุ่มประเทศอาเซียนหลายประเทศ ในปี พ.ศ. 2557 ได้ให้นายสมชายซึ่งเป็นลูกจ้างไปปฏิบัติหน้าที่ (Job Description) ผู้จัดการสาขาของธนาคารฯ ประจําที่ประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 และนายสมชายจะกลับมาประเทศไทยในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2557 เพื่อฉลองปีใหม่กับครอบครัว โดยนายสมชายได้รับเงินเดือน ๆ ละ 400,000 บาท และธนาคารฯ จะจ่ายเงินเดือนจํานวน 100,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากของนายสมชายในประเทศไทย ส่วนเงินเดือนที่เหลืออีกจํานวน 300,000 บาท ธนาคารฯ จะโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของนายสมชายที่ประเทศสิงคโปร์ทุก ๆ เดือน ให้ท่านวินิจฉัยว่า เงินเดือนของนายสมชายที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์จะต้อง นํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ตามประมวลรัษฎากรให้แก่ประเทศไทย หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินเดือนของนายสมชายที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์ จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(1) เงินเดือนจํานวน 100,000 บาท ที่ธนาคารจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากของนายสมชายใน ประเทศไทยทุก ๆ เดือน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ และถือว่านายสมชายได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปี 2557 แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสมชายมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เพราะมิได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้น นายสมชายจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

(2) เงินเดือนจํานวน 300,000 บาท ที่ธนาคารโอนเข้าบัญชีเงินฝากของนายสมชายที่ ประเทศสิงคโปร์ทุก ๆ เดือน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่ที่ทําในต่างประเทศ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสมชายมิได้นําเงินได้จํานวนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทย อีกทั้งนายสมชายก็มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เพราะมิได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้น นายสมชายจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม เช่นเดียวกัน

สรุป นายสมชายไม่ต้องนําเงินเดือนที่ได้รับทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มาเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรให้แก่ประเทศไทย

 

ข้อ 2 เมื่อกลางปี พ.ศ. 2557 นายขาวเริ่มทํางานเป็นพ่อครัวที่ภัตตาคารของตัวเองบริเวณถนนรามคําแหงได้รับเงินได้ต่อเดือน 50,000 บาท ต่อมาหลังจากนั้น 10 เดือน นายขาวเดินทางจากประเทศไทย ไปทํางานตามสัญญาจ้างให้เป็นพ่อครัวร้านอาหารไทยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2558 นายขาวได้รับเงินเดือนรวม 700,000 บาท โดยนายขาวได้แบ่งเงิน 200,000 บาท ที่ได้รับนั้น ให้แก่นายแดงลูกชายอายุ 17 ปี ที่กําลังเรียนอยู่ในประเทศไทย ให้ท่านวินิจฉัยว่าในปีภาษี 2558 นายขาวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ และหักค่าลดหย่อนกรณีใดบ้าง เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงิน นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 11 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนสําหรับ

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย…คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและ ยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือชั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือน ไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ใน สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชนหรือโรงเรียนราษฎร์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปีภาษี 2558 การที่นายขาวเป็นพ่อครัวที่ภัตตาคารของตัวเองได้รับเงินได้ต่อเดือน 50,000 บาท เป็นเวลา 4 เดือน รวมเป็นจํานวนเงิน 200,000 บาท นั้น เงินดังกล่าวถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 (8) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากธุรกิจภัตตาคารของตัวเอง และ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการที่ทําในประเทศไทยตามเงื่อนไขมาตรา 41 วรรคแรก ดังนั้นเงินได้รายการนี้ นายขาวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคแรก ประกอบมาตรา 39 และมาตรา 40 (8)

ส่วนการที่นายขาวเดินทางจากประเทศไทยไปทํางานตามสัญญาจ้างให้เป็นพ่อครัวร้านอาหารไทย ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับเงินเดือนรวม 700,000 บาทนั้น เงินจํานวนนี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 ประกอบมาตรา 40 (1) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่งาน ที่ทําในต่างประเทศ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายรัษฎากรก็ต่อเมื่อนายขาวเป็นผู้อยู่ ในประเทศไทย และนําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม เมื่อ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายขาวอยู่ในประเทศไทยเพียง 4 เดือน (ประมาณ 120 วัน) ซึ่งไม่ถึง 180 วัน จึงถือว่า นายขาวมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษี 2558 อีกทั้งไม่ปรากฏว่านายขาวได้กลับเข้ามาประเทศไทยภายหลัง ไปทํางานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแต่อย่างใด ดังนั้น เงินรายการนี้นายขาวจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม ประกอบมาตรา 39 และมาตรา 40 (1)

และกรณีการหักค่าลดหย่อนนั้น เมื่อนายแดงลูกชายของนายขาวมีอายุ 17 ปี และกําลังเรียนอยู่ในประเทศไทย นายขาวจึงสามารถนํานายแดงมาหักลดหย่อนได้ 17,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) (2)

สรุป ในปีภาษี 2558 นายขาวจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเฉพาะเงินได้จํานวน 200,000 บาท และสามารถนํานายแดงมาหักค่าลดหย่อนได้ 17,000 บาท

 

ข้อ 3 บริษัท สยามขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยโดยประกอบกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และได้เปิดสาขา (Branch) ในหลายประเทศ ในรอบ ระยะเวลาบัญชี 2557 บริษัทฯ มีรายได้จากการขนส่งสินค้าเข้าประเทศไทย จํานวน 800 ล้านบาท และขนสินค้าออกจากประเทศไทยจํานวน 500 ล้านบาท จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ต้องมีภาระการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) ตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี..”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าบริษัท สยามขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะประกอบกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และได้เปิดสาขาในหลายประเทศ แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียน จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก คือ จะต้องนํารายได้จากการขนส่งสินค้าเข้าประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาท และ ขนส่งสินค้าออกจากประเทศไทยจํานวน 500 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 1,300 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ประเทศไทย

สรุป บริษัท สยามขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะต้องนํารายได้ทั้งหมด จํานวน 1,300 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2557

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายพรชัย เป็นเจ้าของโรงเรียนนานาชาติตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2557 ได้ว่าจ้างนางเจนนี่ ซึ่งเป็นคนอังกฤษแต่อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนของตนเป็นเวลา 2 ปี โดยได้รับเงินค่าสอนเดือนละ 80,000 บาท นางเจนนี่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 และได้เริ่มสอนหนังสือทันที พอเดือนกันยายน 2557 เป็นเวลาที่โรงเรียนปิดเทอม นางเจนนี่ได้เดินทางกลับไปประเทศ สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2557 โรงเรียนเปิดเทอม นางเจนนี่ได้เดินทางกลับมา ประเทศไทยเพื่อสอนหนังสือตามปกติ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางเจนนี่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ การที่นายพรชัยซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนนานาชาติที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ว่าจ้าง นางเจนนี้ ซึ่งเป็นคนอังกฤษแต่อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนของตน เป็นเวลา 2 ปี โดยได้รับเงินค่าสอนเดือนละ 80,000 บาท นั้น จะเห็นได้ว่าเงินเดือนที่นางเจนนี้ได้รับถือเป็นเงินได้ พึงประเมินที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย ดังนั้น นางเจนนี่จะต้องนําเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ (เงินเดือน) จากการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษใน ปี 2557 ทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก โดยไม่ต้องพิจารณา ว่านางเจนนี่จะได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน ในปีภาษีหรือไม่

สรุป

นางเจนนี่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคแรก

 

ข้อ 2 บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน และได้เปิดสาขา (Branch) จําหน่ายตั๋วในหลาย ๆ ประเทศ บริษัทฯ มีเครื่องบินจํานวน 30 ลํา ปรากฏว่า บริษัทฯ มีรายได้ จากการขายตั๋วเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านจํานวน 200 ล้านบาท และรายได้ จากการขายตัวในสาขาต่าง ๆ ที่ต่างประเทศเพื่อเดินทางเข้ามาประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาท จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ต้องมีภาระเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ทั้งหมดดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าบริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะประกอบ กิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้า เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก คือจะต้องนําราย จากการขายตั๋วในประเทศไทย จํานวน 200 ล้านบาท และในต่างประเทศจํานวน 100 ล้านบาท รวมเป็นเป็น 300 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

สรุป

บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะต้องนํารายได้ทั้งหมดจํานวน 300 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

 

ข้อ 3 บริษัท มาเลเซียทรานสปอร์ต จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศมาเลเซียดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมถึงประเทศไทย ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 นี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขนสินค้าจากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท และรายได้จาก การส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษมาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาท อยากทราบว่าบริษัทฯ จะต้อง นํารายได้ทั้งสองจํานวนนั้นมาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 67 “การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ ให้เสียตามอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษี เงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง กระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสารค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น

(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น”

วินิจฉัย

โดยหลัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย และกิจการที่กระทําเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ในกรณีรับขนคนโดยสาร ต้องเป็นการเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดในประเทศไทย ส่วนกรณีรับขนของ ต้องเป็น การขนของออกนอกประเทศเท่านั้นจึงจะมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท มาเลเซียทรานสปอร์ต จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมาย ประเทศมาเลเซียดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมถึงประเทศไทย มีรายได้จากการขนสินค้า จากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 นั้น บริษัทฯ จะต้องนํารายได้ จํานวนดังกล่าวมาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) เพราะเป็นรายได้ ที่เรียกเก็บเนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทย

ส่วนรายได้จากการส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษ มาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาทนั้น บริษัทฯ ไม่ต้องนํามาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย เพราะมิใช่การขนสินค้าออกไปจากประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2)

สรุป บริษัทฯ จะต้องนํารายได้จากการขนสินค้าจากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท มาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย ส่วนรายได้จากการส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษ มาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาท บริษัทฯ ไม่ต้องนํามาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคล

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 1/2557

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายบัวขาวนักชกมวยแชมป์แห่งประเทศไทย ได้ชกมวยชิงแชมป์ทั้งในไทยและต่างประเทศ ปีภาษี 2557 นี้ นายบัวขาวได้ชกมวยและชนะน็อคจํานวน 3 ครั้งในประเทศไทย ได้รับเงินรางวัล 15 ล้านบาท เงินทั้งหมดฝากธนาคารไว้ที่ประเทศสิงคโปร์ และปีภาษีเดียวกันนี้นายบัวขาวยังเดินทางไปชกชิงแชมป์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เยอรมัน และฝรั่งเศส ได้รับเงินรางวัลจํานวน 30 ล้านบาทในจํานวน 20 ล้านบาทฝาก เอาไว้ที่ธนาคารประเทศสิงคโปร์อีกเช่นกัน และได้นําติดตัวเข้ามาในไทยในเดือนมิถุนายน 2557 จํานวน 10 ล้านบาท ปีภาษี 2557 นายบัวขาวมีโปรแกรมอยู่ในประเทศไทย คือเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มิถุนายน พฤศจิกายน ธันวาคม นอกจากนั้นจะเดินทางไปแข่งขันที่ต่างประเทศทั้งหมด อยากทราบว่า เงินได้ทั้ง 3 จํานวน อันได้แก่ 15 ล้านบาท 20 ล้านบาท และ 10 ล้านบาทตามลําดับที่นายบัวขาวได้รับตลอดปีภาษี 2557 นี้ ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาระ เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ เงินได้ทั้ง 3 จํานวนที่นายบัวขาวได้รับตลอดปีภาษี 2557 ต้องนํามาเสีย ราษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยหรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

(1) เงินได้จากเงินรางวัลการชกมวยจํานวน 15 ล้านบาทที่ได้รับในประเทศไทย ถือเป็น ได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศ แม้เงินได้ทั้งหมดนายบัวขาวจะฝากธนาคารไว้ที่ประเทศสิงคโปร์ นายบัวขาวก็จะต้องนําเงินได้จํานวน 15 ล้านบ ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก

(2) เงินได้จากเงินรางวัลการชกมวยที่ต่างประเทศของนายบัวขาวจํานวน 30 ล้านบาท ใน จํานวน 20 ล้านบาทที่นายบัวขาวได้ฝากไว้ที่ธนาคารประเทศสิงคโปร์นั้น ถือเป็นเงินได้ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในต่างประเทศ เมื่อนายบัวขาว ไม่ได้เอาเงินได้จํานวนดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้และในปีภาษีนายบัวขาว ก็อยู่ในประเทศไทยไม่ครบ 180 วัน ดังนั้น นายบัวขาวจึงไม่ต้องนําเงินได้จํานวน 20 ล้านบาทดังกล่าวมาเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

ส่วนเงินได้จากเงินรางวัลการชกมวยที่ต่างประเทศอีกจํานวน 10 ล้านบาทนั้น แม้นายบัวขาว จะได้นําติดตัวกลับเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่านายบัวขาว มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเพราะอยู่ในประเทศไทยไม่ครบ 180 วัน ดังนั้น นายบัวขาวจึงไม่ต้องนําเงินได้ จํานวน 10 ล้านบาทดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป

นายบัวขาวจะต้องนําเงินได้จํานวน 15 ล้านบาทที่ได้รับจากการชกมวยในประเทศไทย มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย ส่วนเงินได้จํานวน 30 ล้านบาทที่ได้รับจากการชกมวยใน ต่างประเทศนั้นไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย

 

ข้อ 2 นายโชกุนกับนางดอกไม้เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ทั้งสองมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือเด็กชายโอ อายุ 13 ปี กําลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง ซึ่งนายโชกุนได้จดทะเบียนรับรอง เด็กชายโอเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว และได้อุปการะเลี้ยงดูตลอดมา นายโชกุนทํางานอยู่ บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557 นายโชกุนได้จดทะเบียนสมรสกับนางบางโพ ซึ่งนางบางโพทํางานอยู่บริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง ในปีภาษี 2558 นายโชกุนและนางบางโพได้ แยกยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.91) สําหรับเงินเดือนที่แต่ละคนได้รับ โดย นายโชกุนได้นําเด็กชายโอบุตรของตนมาหักค่าลดหย่อน 17,000 บาท ตามที่เคยยื่น ในปีภาษี 2557 ซึ่งนางบางโพมีความประสงค์จะนําเด็กชายโอบุตรของนายโชกุนสามีมาหักลดหย่อนด้วย ดังนี้ ให้ ท่านวินิจฉัยว่า นายโชกุนนําบุตรของตนมาหักลดหย่อน 17,000 บาทชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่

และนางบางโพจะนําบุตรของนายโชกุนมาหักลดหย่อนในส่วนของตนได้หรือไม่ เพียงใดเพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทดังต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน”

มาตรา 47 “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้

(1) ลดหย่อนสําหรับ

(ก) ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

(ค) บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วย กฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกินสามคน

การหักลดหย่อนสําหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีและยัง ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือขั้นอุดมศึกษาหรือซึ่งเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือน ไร้ความสามารถ อันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสําหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปี ภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้พึงประเมินนั้นไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 42

(ฉ) บุตรของผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนตามเงื่อนไขใน (ค) และยังศึกษาอยู่ใน สถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันศึกษาเอกชนหรือโรงเรียนราษฏร์ตาม กฎหมายว่าด้วยโรงเรียนราษฎร์ ให้หักลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท”

มาตรา 57 ฉ วรรคสาม “สามีและภริยาจะตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกันโดยให้ ถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ หรือจะแยกยื่นรายการและเสียภาษี เฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) โดยมิให้ถือเอาเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่นายโชกุนสามีและนางบางโพภริยาได้ทํางานอยู่บริษัทเอกชนและมีเงินได้ คือเงินเดือนนั้น ถือว่าทั้งสองมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) เพราะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน และเมื่อทั้งสองต่างฝ่ายต่างมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และมีความประสงค์จะแยกยื่นแบบแสดง รายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2558 สําหรับเงินเดือนที่แต่ละคนได้รับย่อมสามารถทําได้ ตามมาตรา 57 ฉ วรรคสาม และทั้งสองสามารถนําเด็กชายโอซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโชกุน มาหักลดหย่อนได้ตามมาตรา 47 (1) (ค)

ในการหักลดหย่อนนั้น เมื่อเด็กชายโอมีอายุ 13 ปี และกําลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง นายโชกุนย่อมสามารถนําเด็กชายโอมาหักลดหย่อนได้ 17,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) ดังนั้น การที่ นายโชกุนนําบุตรของตนมาหักลดหย่อน 17,000 บาท จึงขอบด้วยประมวลรัษฎากร

ส่วนนางบางโพเมื่อได้แยกยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีจากนายโชกุนตามมาตรา 57 ฉ วรรคสาม ก็ย่อมสามารถนําเด็กชายโอซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายโชกุนสามีมาหักลดหย่อนใน ส่วนของตนได้ตามมาตรา 47 (1) (ค) (ฉ) โดยหักได้เต็มจํานวนคือ 17,000 บาท เช่นเดียวกัน

สรุป

การที่นายโชกุนนําบุตรของตนมาหักลดหย่อน 17,000 บาทนั้น ชอบด้วยประมวลรัษฎากร

นางบางโพสามารถนําบุตรของนายโชกุนมาหักลดหย่อนในส่วนของตนได้ และหักได้เต็มจํานวนคือ 17,000 บาท

*** หมายเหตุ 1 เดิมประมวลรัษฎากรมาตรา 57 เบญจ ได้บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ สามีและภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และสามีภริยาต่างฝ่ายต่างแยกยื่นรายการและเสียภาษีเงิน ได้พึงประเมินดังกล่าว ในการหักลดหย่อนสําหรับบุตรตามมาตรา 47 (1) (ค) และ (2) นั้นให้หักคนละกึ่งหนึ่ง แต่ ในปัจจุบันมาตรา 57 เบญจได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2556

และมีผลใช้บังคับสําหรับเงินได้ในปีภาษี 2555 เป็นต้นไป (ทําให้สามีและภริยาที่แยกยื่นรายการและเสียภาษี สามารถหักลดหย่อนบุตรได้เต็มจํานวนคือหักได้คนละ 15,000 บาทหรือ 17,000 บาทแล้วแต่กรณี)

2 ประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ฉ เป็นบทบัญญัติใหม่ตามพระราชกําหนด แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2556 ใช้บังคับสําหรับเงินได้ในปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

 

ข้อ 3 ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีสาขา (Branch) ในประเทศไทย ได้ส่งลูกจ้างเข้ามาในประเทศไทย เป็นตัวแทนทําสัญญากับบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด เพื่อสร้างเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ มูลค่า 3,000 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาระบุให้บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ฯ ทําการผลิต เครื่องจักรดังกล่าวด้วยวัตถุดิบของบริษัทให้แล้วเสร็จ ณ โรงงานของบริษัท หลังจากนั้นให้ส่งมอบ เครื่องจักรฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ส่วนการจ่ายเงินบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด จะชําระเงินโดยวิธี เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ไปยังบริษัทอเมริกันฮาร์ดแวร์ฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง จงวินิจฉัย ว่าเงินค่าจ้างที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาจะถือเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทยและต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือ เงินได้ประเภทดังต่อไปนี้รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสําคัญ นอกจากเครื่องมือ”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย และให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้น มีหน้าที่และความรับผิดในการยืนรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไร ที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีสาขา ในประเทศไทย หากมีลักษณะตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก กําหนดไว้ให้ถือว่าบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่

1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2 มีลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทย

3 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย สําหรับตาม เงื่อนไขประการที่ 3 นี้ต้องพิจารณา ตามลักษณะของสัญญาด้วย เช่น สัญญาจ้างทําของหรือให้บริการ ให้ถือเอา สถานที่ให้บริการเป็นสําคัญ หากรับจ้างทําของหรือให้บริการนั้นได้ทําในต่างประเทศ ทั้งหมดก็ไม่ถือว่าบริษัทต่างประเทศนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย แม้สัญญานั้นจะได้ทําในประเทศไทยก็ตาม

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของประเทศสหรัฐอเมริกา และไม่มีสาขาในประเทศไทย ได้ส่งลูกจ้างเข้ามาในประเทศไทยเป็นตัวแทนทําสัญญา กับบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด เพื่อสร้างเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาระบุให้บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ทําการผลิตเครื่องจักรดังกล่าวด้วยวัตถุดิบของบริษัทให้แล้วเสร็จ ณ โรงงานของบริษัท และหลังจากนั้นให้ส่งมอบเครื่องจักรฯ ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น จะเห็นได้ว่า แม้จะได้มีการทําสัญญากันในประเทศไทย ก็ตาม แต่การผลิตเครื่องจักรอันถือเป็นสาระสําคัญของสัญญาจ้างทําของนั้นได้กระทําที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือไม่ได้ว่า บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือ ผลกําไรในประเทศไทยแต่อย่างใด ดังนั้นเงินค่าบริการที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาจึงไม่ถือว่า เป็นเงินได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก กําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคแรก และมาตรา 76 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

และเงินได้ดังกล่าวเมื่อเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) มิใช่เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 วรรคแรก บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด จึงไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินได้จํานวนดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเงินได้ที่ จ่ายจากประเทศไทยก็ตาม

สรุป

เงินค่าจ้างที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาไม่ถือว่าเป็นเงินได้จาก การประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

 

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ s/2556

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายไกรมีบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 ได้เดินทางไปทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างที่ทํางานอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ นายไกรขายสวนทุเรียนข้างบ้านได้เงิน 3 ล้านบาท นายไกร ได้ส่งเงินที่ได้จากการทํางานที่ประเทศสิงคโปร์ให้แก่นางพลอยใสมารดา 2 หมื่นบาททุกเดือน และนายไกรได้นําเงินที่ทํางานนั้นซื้อนาฬิกาข้อมือราคา 3 แสนบาท เป็นของฝากนางสาวเหมือนฝัน ต่อมานายไกรได้เดินทางกลับเข้าประเทศไทยในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 พร้อมทั้งนํานาฬิกาดังกล่าว และเงินกลับมาด้วยจํานวน 5 แสนบาท ให้ท่านวินิจฉัยว่า ปีภาษี 2557 เงินได้รายการดังกล่าวต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 39 “ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่าเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้เงินได้ที่กล่าวนี้ ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคํานวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีอากรที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิด้วย”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้

(10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทํา ในประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ เงินได้รายการต่าง ๆ จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2557 หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีของนายไกร

1 เงินได้จากการขายสวนทุเรียน จํานวน 3 ล้านบาท เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย นายไกรจะต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2557 ตามมาตรา 41 วรรคแรก

2 เงินได้เนื่องจากการทํางานในต่างประเทศคือที่ประเทศสิงคโปร์ ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ที่ นายไกรได้รับและส่งให้นางพลอยใสมารดาเดือนละ 20,000 บาท เงินที่ใช้ซื้อนาฬิกา 3 แสนบาท และเงิน 5 แสนบาท ที่นายไกรนําเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี 2557 นั้น นายไกรไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 41 วรรคแรก เพราะมิใช่เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย และไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง เพราะแม้จะเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําใน ต่างประเทศ และนายไกรได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในวันที่ 30 ธันวาคม 2557 ก็ตาม แต่เมื่อนายไกร มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เพราะมิได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี ดังนั้น นายไกรจึงไม่ต้องเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคสอง และวรรคสาม

กรณีของนางพลอยใส

การที่นางพลอยใสมีเงินได้พึงประเมินที่นายไกรส่งให้เดือนละ 2 หมื่นบาทนั้น นางพลอยใส ไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่นางพลอยใสได้รับ เนื่องจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาตามมาตรา 42 (10) จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

กรณีของนางสาวเหมือนฝัน

การที่นางสาวเหมือนฝันจะได้รับนาฬิกามูลค่า 3 แสนบาทจากนายไกรนั้น ถือว่าเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 39 เพราะนาฬิกาเป็นทรัพย์สินที่สามารถคิดคํานวณได้เป็นเงิน ถ้านางสาวเหมือนฝันได้รับ ในปีภาษี 2557 ก็ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 41 วรรคแรก และถือเป็นเงินได้สําหรับปี 2557 แต่ถ้าได้รับในปีภาษีอื่นใด ก็ต้องนําเงินได้ดังกล่าวไปเสียภาษีในปีนั้น

สรุป

นายไกรจะต้องนําเงินได้เฉพาะเงินได้จากการขายสวนทุเรียน จํานวน 3 ล้านบาท ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2557

นางพลอยใสไม่ต้องนําเงินได้ที่นายไกรส่งให้เดือนละ 2 หมื่นบาท ไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

นางสาวเหมือนฝันถ้าได้รับนาฬิกามูลค่า 3 แสนบาทจากนายไกร นางสาวเหมือนฝันก็จะต้อง นําเงินได้ดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 ในปีภาษี 2557 นายสมชายมีเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้

1 เงินค่าที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายแรงงาน จํานวน 100,000 บาท

2 เงินค่าลิขสิทธิ์จากการเขียนหนังสือ จํานวน 80,000 บาท

3 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารฯจํานวน 30,000 บาท

4 เงินได้จากการมีบ้านให้เช่าจํานวน 200,000 บาท

5 เงินได้จากการเปิดร้านขายอาหาร จํานวน 300,000 บาท

จงวินิจฉัยว่า เงินได้พึงประเมินของนายสมชายเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใดตามประมวลรัษฎากร และจะปฏิบัติในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี และสิ้นปีใน เงินได้พึงประเมินดังกล่าวอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลดเงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจําหรือชั่วคราว

(3) ค่าแห่งกู้ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปี อันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคําพิพากษาของศาล

(4) เงินได้ที่เป็น

(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้

(5) เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก

(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน

(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น นอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (7) แล้ว”

มาตรา 56 วรรคแรก “ให้บุคคลทุกคนเว้นแต่ผู้เยาว์ หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้ง ข้อความอื่น ๆ ภายในเดือนมีนาคมทุก ๆ ปี ตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่อเจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง”

มาตรา 56 ทวิ วรรคแรก “เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกําหนดเวลาตามมาตรา 56 ให้ผู้มีหน้าที่ยืนรายการตามมาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 57 ทวิ และมาตรา 57 ตรี ยื่นรายการตามแบบที่อธิบดี กําหนด แสดงรายการเงินได้เฉพาะตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วย หรือไม่ ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ภายในเดือนกันยายนของทุกปีภาษี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ในปีภาษี 2557 เงินได้พึงประเมินที่นายสมชายได้รับ ถือเป็นเงินได้ พึงประเมินประเภทดังต่อไปนี้

1 เงินค่าที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายแรงงาน จํานวน 100,000 บาท ถือเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40 (2)แห่งประมวลรัษฎากร

2 เงินค่าลิขสิทธิ์จากการเขียนหนังสือจํานวน 80,000 บาท เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากร

3 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารฯ จํานวน 30,000 เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

4 เงินได้จากการมีบ้านให้เช่าจํานวน 200,000 บาท เป็นเงินได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินจึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40 (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร

5 เงินได้จากการเปิดร้านขายอาหารจํานวน 300,000 บาท ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรเงินได้พึงประเมินที่นายสมชายได้รับในปีภาษี 2557 ดังกล่าวนั้น นายสมชายจะต้องปฏิบัติ ในการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีและสิ้นปี ดังนี้คือ

1 นายสมชายจะต้องนําเงินได้พึงประเมินตามข้อ 4 คือ เงินได้จากการมีบ้านให้เช่าตามมาตรา 40 (ก)

และเงินได้พึงประเมินตามข้อ 5 คือ เงินได้จากการเปิดร้านขายอาหาร ตามมาตรา 40 (8) ไปยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภายในเดือนกันยายนของปี 2557 ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

และ

2 นายสมชายจะต้องนําเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับในปีภาษี 2557 ไปยืนแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจําปี (สิ้นปี) ภายในเดือนมีนาคม ของปี 2558 ตามมาตรา 56 วรรคแรกแห่งประมวลรัษฎากร

 

ข้อ 3 ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่มีสาขา (Branch) ในประเทศไทยได้ส่งลูกจ้างเข้ามาในประเทศไทย เป็นตัวแทนทําสัญญากับบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด เพื่อสร้างเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ มูลค่า 3,000 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาระบุให้บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ฯ ทําการผลิต เครื่องจักรดังกล่าวด้วยวัตถุดิบของบริษัทให้แล้วเสร็จ ณ โรงงานของบริษัท หลังจากนั้นให้ส่งมอบ เครื่องจักรฯ ที่ประเทศสิงคโปร์ ส่วนการจ่ายเงินบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด จะชําระเงินโดยวิ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C) ไปยังบริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยตรง จงวินิจฉัยว่า เงินค่าจ้างที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาจะถือเป็นเงินได้จากการ ประกอบกิจการในประเทศไทย และต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือ เงินได้ประเภทดังต่อไปนี้รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสําคัญ นอกจากเครื่องมือ”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

มาตรา 70 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจาก หรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สําหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แล้วนําส่งอําเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการ ตามแบบที่อธิบดีกําหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ให้นํามาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของ ต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย ให้ถือว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย และให้ถือว่า บุคคลผู้เป็นลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อเช่นว่านั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิติบุคคล เป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้บุคคลนั้น มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกําไร ที่กล่าวแล้ว”

วินิจฉัย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และไม่มีสาขา ในประเทศไทย หากมีลักษณะตามที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคแรก กําหนดไว้ให้ถือว่าบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่

1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ

2 มีลูกจ้างหรือผู้ทําการแทน หรือผู้ทําการติดต่อในประเทศไทย

3 ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกําไรในประเทศไทย สําหรับตามเงื่อนไขประการที่ 3 นี้ต้องพิจารณา ตามลักษณะของสัญญาด้วย เช่น สัญญาจ้างทําของหรือให้บริการ ให้ถือเอา สถานที่ให้บริการเป็นสําคัญ หากรับจ้างทําของหรือให้บริการนั้นได้ทําในต่างประเทศ ทั้งหมดก็ไม่ถือว่าบริษัทต่างประเทศนั้นประกอบกิจการในประเทศไทย แม้สัญญานั้น จะได้ทําในประเทศไทยก็ตาม

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของประเทศสหรัฐอเมริกา และไม่มีสาขาในประเทศไทย ได้ส่งลูกจ้างเข้ามาในประเทศไทยเป็นตัวแทนทําสัญญา กับบริษัท สยามเทคโนโลยี จํากัด เพื่อสร้างเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขตามสัญญาระบุให้บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ทําการผลิตเครื่องจักรดังกล่าวด้วยวัตถุดิบของบริษัทให้แล้วเสร็จ ณ โรงงานของบริษัท และหลังจากนั้นให้ส่งมอบเครื่องจักรฯ ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น จะเห็นได้ว่า แม้จะได้มีการทําสัญญากันในประเทศไทย ก็ตาม แต่การผลิตเครื่องจักรอันถือเป็นสาระสําคัญของสัญญาจ้างทําของนั้นได้กระทําที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงถือไม่ได้ว่า บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือ ผลกําไรในประเทศไทยแต่อย่างใด ดังนั้นเงินค่าบริการที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาจึงไม่ถือว่าเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ต้องนําเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก กําไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 66 วรรคแรก และมาตรา 76 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร

และเงินได้ดังกล่าวเมื่อเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) มิใช่เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 70 วรรคแรก บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด จึงไม่ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากเงินได้จํานวนดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเงินได้ที่ จ่ายจากประเทศไทยก็ตาม

สรุป เงินค่าจ้างที่บริษัท อเมริกันฮาร์ดแวร์ จํากัด ได้รับตามสัญญาไม่ถือว่าเป็นเงินได้จากการประกอบกิจการในประเทศไทย และไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

LAW4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้ 2/2556

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ปีภาษี 2556 ตลอดทั้งปี บริษัท จิม ทอมสัน จํากัดประเทศไทย ได้ส่งนางสาวกะรัตผู้จัดการฝ่ายออกแบบลายผ้าไปประจําอยู่ที่ร้านลายไทย กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของบริษัทฯ โดยเงินเดือนแต่ละเดือนบริษัทฯ จะส่งเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาปารีสเดือนละ 200,000 บาท ใน ระหว่างที่อยู่ประเทศฝรั่งเศสนางสาวกะรัตได้รับค่าจ้างพิเศษค่าออกแบบลายผ้าเพื่อใช้ในคอลเล็คชัน ฤดูร้อนจากบริษัทวิเวียนกูตูร์ ประเทศฝรั่งเศสเป็นเงินจํานวน 500,000 บาท เงินค่าจ้างทั้งหมดนั้น นางสาวกะรัตส่งกลับประเทศไทยเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาบางรักเมื่อสิ้นเดือนเมษายน อยากทราบว่าหากนางสาวกะรัตเดินทางกลับประเทศไทย 2 มกราคม 2557 เงินได้ทั้ง 2 จํานวน ของนางสาวกะรัตจะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือ เงินได้ประเภทดังต่อไปนี้รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน

(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลดเงินอุดหนุนในงานที่ทํา เบี้ยประชุม บําเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่ คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตําแหน่งงานที่ทํา หรือจากการรับทํางานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตําแหน่งงาน หรืองานที่รับทําให้นั้นจะเป็นการประจําหรือชั่วคราว”

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้วในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับ ประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 4 วรรคสองและวรรคสาม)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท จิม ทอมสัน จํากัดประเทศไทย ได้ส่งนางสาวกะรัตผู้จัดการฝ่าย ออกแบบลายผ้าไปประจําอยู่ที่ร้านลายไทย กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของบริษัทฯ โดยจ่ายเงินเดือน ให้นางสาวกะรัตเดือนละ 200,000 บาทนั้นถือได้ว่าเงินเดือนที่นางสาวกะรัตได้รับเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทยเพราะเป็นเงินได้ที่นายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้ชาย ให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศโดยตรง จึงเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างใน ประเทศไทย ดังนั้นเงินเดือนที่นางสาวกะรัตได้รับทั้งหมด แม้บริษัทจะส่งเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาปารีส ก็จะต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคแรก

ส่วนการที่นางสาวกะรัตได้รับค่าจ้างพิเศษค่าออกแบบลายผ้าจากบริษัทวิเวียนกูตูร์ ประเทศ ฝรั่งเศสเป็นเงินจํานวน 500,000 บาทนั้น เงินได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) เพราะเป็น เงินได้จากการรับทํางานให้ และถือเป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้ที่เกิด จากกิจการที่ทําในต่างประเทศ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในปีภาษี 2556 นั้น นางสาวกะรัตมิได้เป็นผู้อยู่ใน ประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสาม ดังนั้นแม้นางสาวกะรัตจะได้นําเงินได้จํานวนดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยใน ปีภาษีก็ตาม นางสาวกะรัตก็ไม่ต้องนําเงินได้จํานวนดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศไทย ตามมาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม

สรุป นางสาวกะรัตจะต้องนําเงินได้เฉพาะที่เป็นเงินเดือนเท่านั้นมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนเงินได้ที่เป็นค่าจ้างพิเศษค่าออกแบบจํานวน 500,000 บาท ไม่ต้องนํามาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 2 นายใบเตยทํางานเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัท อุปกรณ์การแพทย์ จํากัด มีสํานักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานครได้รับเงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาท นายใบเตยได้นํารถยนต์ส่วนตัวของตนมาใช้ในกิจการของบริษัทฯ และบริษัทฯ ได้จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แบบเหมาจ่ายให้แก่นายใบเตยเดือนละ 5,000 บาท โดยมิได้คํานึงว่านายใบเตยจะได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้นหรือไม่ และไม่ต้องนําใบเสร็จ มาแสดงแก่บริษัทฯ แต่อย่างใด ในปีภาษี 2555 นายใบเตยได้รับเงินค่าน้ำมันจาก บริษัทฯ เป็นเงิน รวมตลอดทั้งปีจํานวน 60,000 บาท ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2555 รถยนต์ของนายใบเตย ถูกนายอ๊อฟขับชนโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของนายใบเตยได้รับความเสียหาย แต่นายใบ ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย นายใบเตยจึงเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการทําละเมิดของนายอ๊อฟ เพื่อเป็นค่าซ่อมรถยนต์และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจํานวน 80,000 บาท ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าปีภาษี 2555 นายใบเตยต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 40 “เงินได้พึงประเมินนั้น คือ เงินได้ประเภทดังต่อไปนี้รวมตลอดถึงเงินค่าภาษีอากร ที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สําหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าว ไม่ว่าในทอดใด

(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บําเหน็จ บํานาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คํานวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชําระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชําระ และเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน”

มาตรา 42 “เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษี เงินได้

(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรือผู้รับหน้าที่หรือตําแหน่งงานหรือผู้รับทํางานให้ ได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น

(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรือการฌาปนกิจสงเคราะห์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ โดยหลักแล้วเงินค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างได้รับจากนายจ้างอันจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1) จะต้องเป็นค่าพาหนะซึ่งลูกจ้างได้จ่ายไป โดยสุจริตตามความจําเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น แต่ตามข้อเท็จจริง ค่าพาหนะคือค่าน้ํามันรถยนต์ที่บริษัทฯ จ่ายให้นายใบเตยซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ ที่นํา รถยนต์ส่วนตัวของตนมาใช้ในกิจการของบริษัทฯ มีลักษณะเป็นการเหมาจ่าย โดยมิได้คํานึงว่าจะจ่ายไปทั้งหมด ในการนั้นหรือไม่ เงินค่าน้ํามันรถยนต์ที่บริษัทเหมาจ่ายให้แก่นายใบเตยจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

ดังนั้น นายใบเตยจึงต้องนําเงินค่าน้ํามันรถยนต์จํานวน 60,000 บาท ไปรวมคํานวณกับเงินเดือน เพื่อนําไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ส่วนเงินค่าสินไหมทดแทนจํานวน 80,000 บาท ที่นายใบเตยได้รับจากนายอ๊อฟเป็นค่าสินไหม ทดแทนเพื่อละเมิด จึงได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (13) ดังนั้น นายใบเตยจึงไม่ต้องนําเงินจํานวน ดังกล่าวมารวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สรุป

นายใบเตยต้องนําเงินค่าน้ำมันรถยนต์จํานวน 60,000 บาท ไปรวมคํานวณกับเงินเดือน เพื่อนําไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น ส่วนเงินค่าสินไหมทดแทนจํานวน 80,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้อง นํามาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

ข้อ 3. ในรอบระยะเวลาบัญชี 2556 บริษัท ไทยขนส่งสินค้าทางทะเล จํากัด เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้เปิดสาขา (Branch) ในประเทศเวียดนามและประเทศสิงคโปร์ โดยสํานักงานใหญ่ และสาขามีรายได้ ดังนี้

1) สํานักงานใหญ่ในประเทศไทย : มีรายได้จากการขนสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังประเทศจีนและอินเดีย จํานวน 200 ล้านบาท และจากประเทศปากีสถานและบังคลาเทศมาประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาท

2) สาขาประเทศเวียดนาม : มีรายได้จากการขนสินค้าจากประเทศเวียดนามไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาจํานวน 400 ล้านบาท และจากประเทศเม็กซิโกมาประเทศไทย จํานวน 80 ล้านบาท

3) สาขาประเทศสิงคโปร์ : มีรายได้จากการขนสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ไปยังประเทศเยอรมนีจํานวน 300 ล้านบาท และจากประเทศเยอรมนี้มาประเทศสิงคโปร์ จํานวน 100 ล้านบาท จงวินิจฉัยว่า ในรอบระยะเวลาบัญชี 2556 บริษัท ไทยขนส่งสินค้าทางทะเล จํากัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) ตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ทั้งหมดดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 บรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมดมาเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่า บริษัท ไทยขนส่งสินค้าทางทะเล จํากัด จะประกอบกิจการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศทางทะเล แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก คือจะต้องนํารายได้ทั้งหมด ทั้งของสํานักงานใหญ่ในประเทศไทยจํานวน 300 ล้านบาท รายได้ของสาขาประเทศเวียดนามจํานวน 480 ล้านบาท และรายได้ของสาขาประเทศสิงคโปร์จํานวน 400 ล้านบาท รวมเป็นรายได้ทั้งหมด 1,180 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

สรุป บริษัท ไทยขนส่งสินค้าทางทะเล จํากัด จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวล รัษฎากรจากรายได้ทั้งหมดจํานวน 1,180 ล้านบาท

WordPress Ads
error: Content is protected !!