LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015  กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ1 จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้บุคคลใด เป็นคนสาบสูญไว้ดังนี้คือ

1.         บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ ตลอดระยะเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา หรือ 2 ปี ในกรณีพิเศษ
ในกรณีธรรมดา การนับระยะเวลา 5 ปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือวันที่มีผู้พบเห็นหรือวันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้นเป็นครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี

ในกรณีพิเศษ การนับระยะเวลา 2 ปี ให้เริ่มนับดังนี้ คือ

1)         ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2)         ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือ สูญหายไป
3)         ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ไน 1) หรือ 2) ได้ฝาน พ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2.         ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

 

ข้อ 2. นาย ก. สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า นาย ก. ขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่ นาย ข. ในราคาสามแสนบาท โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์คันนั้นให้แก่นาย ข. แต่มีได้ มีการชำระราคากันแต่อย่างไร

ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดง

เจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคล ภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าว เป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้สมรู้กับนาย ข. แสดงเจตนากันหลอก ๆ ว่า ได้ทำนิติกรรมชื้อ ขายรถยนต์กัน โดยนาย ก. ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่นาย ข. แต่นาย ข. มิได้มีการชำระราคาให้แก่นาย ก. แต่ อย่างใดนั้น ถือว่านิติกรรมในรูปของสัญญาชื้อขายดังกล่าว มีผลเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดง เจตนาลวงของคู่กรณี คือ นาย ก. และ นาย ข.

สรุป สัญญาชื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรม ที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3  นายหนึ่งเห็นว่านายดำได้ซื้อนาฬิกาข้อมือเรือนใหม่มาสองเรือน ตัวเรือนสีแดงและสีเขียว นายหนึ่ง อยากได้นาฬิกาของนายดำสักเรือน จึงแจ้งแก่นายดำว่า นายหนึ่งขอซื้อนาฬิกาจากนายดำสักเรือน นายดำตกลงขายเรือนสีเขียวในราคาเรือนละ 5,000 บาท แต่นายหนึ่งไม่ได้นำเงินสดติดตัวมา จึงตกลงขอชำระราคาค่านาฬิกาโดยใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งนายหนึ่งเพิ่งซื้อมาชำระแทน นายดำตกลง เช่นนี้นักศึกษาจงพิจารณาว่าสัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาซื้อขายหรือไม่ และเป็นสัญญาซื้อขาย ประเภทใด เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ปัญญัติว่า

“อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จะเป็นสัญญาซื้อขายนั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่

1.         จะต้องเป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ผู้ขายและผู้ซื้อ

2.         ผู้ขายมีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ

3.         ผู้ซื้อตกลงที่จะใช้ราคาทรัพย์สินซึ่งเป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย

ตามปัญหา การที่นายหนึ่งได้ขอซื้อนาฬิกาหนึ่งเรือนจากนายดำ และนายดำได้ตกลงขายให้ในราคา 5,000 บาท แต่นายหนึ่งได้ชำระราคาค่านาฬิกาให้แก่นายดำโดยใช้โทรศัพท์มือถือชำระแทน ซึ่งนายดำ ตกลง ดังนี้สัญญาที่นายหนึ่งได้ทำกับนายดำนั้น แม้ทั้งสองจะได้ตกลงทำกันเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เมื่อพิจารณา หลักเกณฑ์ของสัญญาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นว่าสัญญาระหว่างนายหนึ่งกับนายดำนั้นมิใช่สัญญาชื้อขาย เพราะนายหนึ่งผู้ซื้อไม่ได้ชำระราคาที่เป็นเงินตราให้แก่ผู้ขาย แต่เป็นกรณีที่คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สินให้แก่กัน ซึ่งตามกฎหมายถือว่าเป็นสัญญาแลกเปลี่ยนมิใช่สัญญาซื้อขาย และเมื่อไม่ใช่สัญญาซื้อขาย จึงไม่ต้องพิจารณาว่าเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด

สรุป สัญญาที่ทำกันขึ้นระหว่างนายหนึ่งและนายดำไม่เป็นสัญญาซื้อขาย

 

ข้อ 4. แดงได้รับโอนตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งมาอย่างถูกต้อง มีความประสงค์จะโอนตั๋วฯ นี้ให้เหลือง แต่แดง ไม่รู้วิธีโอนตั๋ว จึงมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำแนะนำวิธีโอนตั๋วฯ แก่แดงอย่างไรบ้าง จงอธิบาย หลักกฎหมาย พอสังเขป

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตัวแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1.         ตั๋วแลกเงินนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรค 1)

2.         ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3.         การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของ ผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลัง ลอยก็ได้ (มาตรา 919)

4.         ในกรณีที่มีการสลักหลังลอย ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอยจะโอนตัวเงินนั้น

ต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบหรืออาจจะโอนตั๋วเงินนั้นโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

กรณีดังกล่าว ถ้าแดงมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง และมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำวิธีการโอนตั๋วฯ แก่แดง ดังนี้ คือ

กรณีที่ 1 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงให้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แดงสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เหลือง โดยไม่ต้องสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

กรณีที่ 2 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การที่แดงจะโอนตั๋ว ชนิดนี้ให้แก่เหลือง แดงจะต้องสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลือง ซึ่งการสลักหลังนั้น อาจจะเป็น การสลักหลังระบุชื่อเหลืองผู้รับโอน หรืออาจจะเป็นการสลักหลังลอยคือไม่ระบุชื่อเหลืองผู้รับโอนก็ได้ (มาตรา 917 วรรค 1 และมาตรา 919)

แต่ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมานั้น มีการสลักหลังลอยให้แก่แดง ดังนี้ถ้าแดงจะโอนตั๋วเงินนั้น ให้แก่เหลืองต่อไป แดงอาจจะโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะโอนโดยการส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เหลืองโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรค 2)

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบใส่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

การสอบใส่ภาค 2 ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ให้ทำทุกข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 32 วรรคแรก มีดังนี้คือ

1.         บุคคลนั้นจะต้องมีเหตุบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

(1)       กายพิการ

(2)       จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(3)       ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ

(4)       ติดสุรายาเมา

(5)       มีเหตุอื่นในทำนองเดียวกันกับ (1) – (4)

2.         บุคคลนั้นไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ เพราะเหตุบกพร่องนั้น หรือจัดทำ การงานได้ แต่จะจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว
3.         ได้มีบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล

4.         ศาลได้มีคำสั่งแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

 

ข้อ 2. กลฉ้อฉลโดยการนิ่งมีองค์ประกอบตามกฎหมายอย่างไร อธิบาย

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง” ซึ่งจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้คือ

1.         จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในนิติกรรมสองฝ่ายที่เรียกว่า สัญญา เท่านั้น

2.         คู่กรณีฝายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งซึ่งคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ คือคู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นได้จงใจหรือตั้งใจที่จะปกปิดข้อความจริงหรือ ข้อคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่ตนมีหน้าที่ที่จะต้อง บอกความจริงนั้น

3.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย

ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาประกันชีวิต ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย โรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษา และอาจตายได้ภายใน 7 วัน 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี ซึ่งผู้เอาประกันชีวิต มีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อนี้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ได้ปกปิดความจริงไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยได้ทราบ ความจริงนั้น เช่นนี้ ถือว่าผู้เอาประกันชีวิตได้ใช้กลฉ้อฉลแก่ผู้รับประกันภัยแล้ว โดยเป็นการใช้กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง

 

ข้อ 3. นายจันทร์ได้ตกลงด้วยวาจากับนายพุธเจ้าของที่ดินว่า ตกลงจะซื้อขายที่ดินของนายพุธหนึ่งแปลง ในราคา 500,000 บาท และกำหนดจะไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานที่ดินอีกครั้ง ในอีก 15 วันข้างหน้า ปรากฏว่า เมื่อครบกำหนด 15 วัน นายพุธกลับไม่ยอมไปทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เช่นนี้ สัญญาจะซื้อขายด้วยวาจาดังกล่าวนี้ มีความสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และจะสามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้กำหนดแบบของสัญญาซื้อขายไว้ว่า “สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก)

แบบของสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น หมายความถึง เฉพาะการทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ที่กฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ดังนั้นถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จึงไม่ต้องกระทำตามแบบแต่อย่างใด คู่สัญญาอาจจะตกลงทำ สัญญาจะซื้อขายกันด้วยวาจาหรือจะทำเป็นหนังสือสัญญากันก็ได้ สัญญาจะซื้อขายนั้นก็จะมีผลสมบูรณ์ตาม กฎหมายเสมอ

แต่อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาจะซื้อขายนั้น ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจะฟ้องร้องบังคับคดีกัน ได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน”

ดังนั้น การที่นายจันทร์กับนายพุธได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันด้วยวาจา สัญญาจะซื้อขาย ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อครบกำหนด 15 วันตามที่ตกลงกันนั้น นายพุธกลับไม่ยอม ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่นายจันทร์ ดังนี้นายจันทร์ก็ไม่สามารถนำสัญญาจะซื้อขายนั้น ไปฟ้องร้องบังคับคดีได้ เพราะสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายจันทร์กับนายพุธ แม้จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่มีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อที่จะนำไปใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกัน

สรุป สัญญาจะซื้อขายด้วยวาจาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. ป.พ.พ. มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลา ถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อย ไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง” ท่านเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย หลักกฎหมาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลาใช้เงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มีการ โอนตัวแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครอง ของเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้นแดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2551

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ ให้ทำทุกข้อ ข้อละ 25 คะแนน
ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ของการเป็นคนไร้ความสามารถมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 บัญญัติว่า “บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ฆ่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดไห้อยู่ในความอนุบาล  ’’

จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่า การเป็นคนไร้ความสามารถนั้นจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.         เป็นคนวิกลจริต หมายถึง เป็นบุคคลที่สมองพิการ คือ จิตไม่ปกติหรือบุคคลที่มี กิริยาอาการไม่ปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้ลึก และขาดความรับผิดชอบ หรืออาจจะ หมายความรวมถึง ความเจ็บป่วยที่มีกิริยาอาการผิดปกติ จนถึงขนาดที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้นด้วย และกรณีที่จะถือว่าเข้าหลักเกณฑ์ข้อนี้จะต้องเป็นอย่างมาก และต้องเป็นประจำด้วย
2.         มีผู้ร้องขอต่อศาล เพราะการที่ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถได้นั้น จะต้องมีผู้ร้องขอต่อศาลด้วย ซึ่งบุคคลที่มีสิทธิร้องขอต่อศาล ได้แก่ คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์ ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลวิกลจริต หรือพนักงานอัยการ

3.         ได้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เพราะถ้าหากไม่มีคำสั่งของศาลแล้วคนวิกลจริตนั้น ก็ยังไม่เป็นคนไร้ความสามารถ

และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว บุคคลนั้นต้องอยู่ในความอนุบาล หรืออยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล

 

ข้อ 2. กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติถึงองค์ประกอบอันเป็นลักษณะสำคัญ ไว้อย่างไร อธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 162 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ “กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง” ซึ่งจะมีลักษณะ อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1.         จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในนิติกรรมสองฝ่ายที่เรียกว่า สัญญา เท่านั้น

2.         คู่กรณีผ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงหรือข้อคุณสมบัติอันใดอันหนึ่งซึ่งคู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ คือคู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นได้จงใจหรือตั้งใจที่จะปกปิดข้อความจริงหรือ ข้อคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้ ทั้งๆ ที่ตนมีหน้าที่ที่จะต้อง บอกความจริงนั้น

3.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งพิสูจน์ได้ว่า ถ้ามิได้นึ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรมนั้นก็คงจะมิได้ทำขึ้นเลย

ตัวอย่าง เช่น ในสัญญาประกันชีวิต    ผู้เอาประกันชีวิตเคยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคมะเร็งในเม็ดโลหิตขาว ไม่มีทางรักษา และอาจตายได้ภายใน 7 วัน 6 เดือนหรืออย่างช้า 5 ปี ซึ่งผู้เอาประกันชีวิต มีหน้าที่ต้องเปิดเผยความจริงข้อนี้แก่ผู้รับประกันภัย แต่ได้ปกปิดความจริงไม่เปิดเผยให้ผู้รับประกันภัยได้ทราบ ความจริงนั้น

 

ข้อ3. จงอธิบายถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดในการรอนสิทธิ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดในการรอนสิทธิ ไว้ดังนี้คือ

1.         ความรับผิดในการรอนสิทธิจะเกิดขึ้นโดยผลแห่งกฎหมาย คือมีบุคคลภายนอกได้มา ก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อ ในการที่จะครอบครองทรัพย์สินโดยปกติสุข โดยอ้างว่าตนมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นดีกว่าผู้ซื้อ หรืออาจเป็นเพราะความผิดของผู้ขาย ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นได้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2.         ความรับผิดในการรอนสิทธิของผู้ขายนั้น มีได้ทั้งกรณีที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นมีการ รอนสิทธิไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน

3.         ผู้ขายจะต้องรับผิดต่อผู้ซื้อในกรณีที่มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้ขายจะได้รู้หรือไม่รู้ถึง เหตุแห่งการรอนสิทธิที่เกิดขึ้นนั้น

เช่น ก. ได้ขายรถยนต์คันหนึ่งให้ ข. ต่อมา ค. ได้มาเรียกรถยนต์คันดังกล่าวคืนจาก ข. โดยอ้างว่ารถยนต์คันนั้นเป็นของตนและถูกขโมยไป พร้อมแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่แท้จริง ท่าให้ ข. ต้องคืนรถยนต์ให้แก่ ค. ดังนี้ถือว่า ข. ผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ ซึ่ง ก. ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อ ข. แม้ ก. ผู้ขาย จะไม่ได้รู้มาก่อนว่ารถยนต์คันนั้นจะถูกขโมยมาจาก ค. ก็ตาม

4.         ในกรณีที่มีการรอนสิทธิเกิดขึ้น ผู้ขายอาจจะไม่ต้องรับผิดต่อผู้ซื้อก็ได้ ถ้าเข้าข้อยกเว้น ตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ เช่น

–           ถ้าผู้ซื้อได้รู้ถึงสิทธิของผู้ก่อการรบกวนนั้นแล้วในเวลาซื้อขาย หรือ

–           ถ้าเหตุแหงการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่เหตุแห่งการรอนสิทธินั้น จะได้เกิดขึ้นเพราะความผิด ของผู้ขาย

 

ข้อ 4. เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวางไว้ข้างด้านหน้าเช็คและมีข้อความว่า “และบริษัท” อยู่ในระหว่างเส้น ทั้งสองนั้น เป็นเช็คแบบใด และมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไรบ้าง

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 994 วรรคแรก บัญญัติว่า “ถ้าในเช็คมีเส้นขนานคู่ ขีดขวางไว้ด้านหน้า กับมีหรือไม่มีคำว่า “และบริษัท” หรือคำย่ออย่างใด ๆ แห่งข้อความนี้อยู่ในระหว่างเส้น ทั้งสองนั้นไซร้ เช็คนั้นซื่อว่าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และจะใช้เงินตามเช็คนั้นได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น”

ตามปัญหาดังกล่าวประกอบกับหลักกฎหมายข้างต้นวินิจฉัยได้ว่า เช็คที่มีเส้นขนานคู่ขีดขวาง ไว้ข้างด้านหน้าเช็ค และมีข้อความว่า “และบริษัท” อยู่ในระหว่างเส้นทั้งสอง เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป และจะมีผล ในทางกฎหมายคือ เช็คขีดคร่อมทั่วไปนี้ ผู้ทรงเช็คจะนำไปยื่นให้ธนาคารจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้ จะต้องนำเช็คไปเข้า บัญชีเพื่อให้ธนาคารเป็นผู้ไปเบิกเงินให้ โดยผู้ทรงเช็คจะนำเช็คไปเข้าบัญชีกับธนาคารใดก็ได้ เพราะเช็คชนิดนี้ จะใช้เงินตามเช็คได้แต่เฉพาะให้แก่ธนาคารเท่านั้น

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นางแววเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว วันหนึ่งนางแววมีจิตปกติไม่มี อาการวิกลจริตแต่อย่างใด นางแววได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดของตนเองให้บุตรชายของนางแววคือนายวัน หลังจากนั้นนางแววไปซื้อแหวนเพชร 1 วงจากนางแก้ว โดยในขณะซื้อ นางแววพูดจารู้เรื่องไม่มีอาการวิกลจริต อีกทั้งนางแก้วไม่รู้ว่านางแววเป็นคนไร้ความสามารถ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าพินัยกรรมและนิติกรรมการซื้อแหวนเพชรของนางแววมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักในการทำนิติกรรมและหลักในการทำพินัยกรรม ของคนไร้ความสามารถไว้ดังนี้คือ

1)         นิติกรรมใด ๆ ซึ่งบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง นิติกรรมนั้น ตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 29)

2)         พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ (มาตรา 1704 วรรคแรก)
ตามปัญหา การที่นางแววซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมด ของตนให้แก่นายวันซึ่งเป็นบุตรชายของตนนั้น แม้นางแววจะได้ทำพินัยกรรมในขณะจิตปกติไม่มีอาการวิกลจริต แต่อย่างใดก็ตาม พินัยกรรมนั้นก็มีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 1704 วรรคแรก
ส่วนนิติกรรมอื่น ๆ นอกจากพินัยกรรมนั้น กฎหมายห้ามมิให้คนไร้ความสามารถกระทำ ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำ ไม่ว่านิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นนั้น จะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้หรือไม่ว่าผู้กระทำนิติกรรมเป็นคนไร้ความสามารถ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาล จะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ดังนั้นการที่นางแววคนไร้ความสามารถได้ไปทำนิติกรรมโดยได้ซื้อแหวนเพชร 1 วงจากนางแก้ว แม้นิติกรรมการซื้อขายดังกล่าว นางแววจะได้ทำในขณะไม่มี อาการวิกลจริต อีกทั้งนางแก้วจะไม่รู้ว่านางแววเป็นคนไร้ความสามารถก็ตาม นิติกรรมการซื้อขายแหวนเพชรของ นางแววก็มีผลเป็นโมฆียะตามมาตรา 29

สรุป พินัยกรรมของนางแววตกเป็นโมฆะ ส่วนนิติกรรมการซื้อขายแหวนเพชรของนางแวว ตกเป็นโมฆียะ ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2. ให้นักศึกษาตอบคำถามดังต่อไปนี้

1. วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคืออะไร   (10 คะแนน)

2. วัตถุประสงค์ของนิติกรรมลักษณะใดมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ อธิบายและยกตัวอย่าง ประกอบ (15 คะแนน)

ธงคำตอบ

1.         “วัตถุประสงค์ของนิติกรรม คือประโยชน์สุดท้ายที่คู่กรที่ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรม มุ่งประสงค์จะให้เกิดให้มีขึ้นเนื่องจากการทำนิติกรรมนั้น

2.         ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“นิติกรรมใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ถ้าวัตถุประสงค์ของนิติกรรมมีลักษณะอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ จะมีผลทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ

(1)       วัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หมายถึง วัตถุประสงค์ที่เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งมิให้กระทำการนั้น เช่น การทำสัญญาจ้างให้ไปฆ่าคน เป็นต้น

(2)       วัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย หมายถึง วัตถุประสงค์ที่เป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่การกระทำนั้นไม่อาจเป็นไปได้หรือไม่สามารถที่จะทำได้ เช่น การทำสัญญาจ้างให้ไปเก็บดาวหางบนท้องฟ้า เป็นต้น และให้หมายความรวมถึงนิติกรรมที่มุ่งถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่งนั้นไม่มี ตัวตนอยู่ในขณะทำนิติกรรมนั้น เช่น การทำสัญญาซื้อขายรถยนต์กันคันหนึ่ง แต่ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันนั้น รถยนต์คันดังกล่าวได้ถูกไพ่ไหม้เสียหายไปหมดทั้งคันแล้ว เป็นต้น

(3)       วัตถุประสงค์ของนิติกรรมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน หมายถึง วัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุข ความมั่นคง ความปลอดภัย และจริยธรรม หรือศีลธรรมอันดีของคนในสังคม เช่น การทำความตกลงกันให้ถอนฟ้องคดี อาญาแผ่นดิน โดยมีการให้ทรัพย์สินเป็นการตอบแทน หรือการที่ชายซึ่งมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ได้ ตกลงกับหญิงอื่นให้อยู่กินกับตนเป็นสามีภริยากันอีกโดยการให้ทรัพย์สินเป็นการตอบแทน เป็นต้น

 

ข้อ 3. นายนพและนายกรตกลงทำสัญญาเอขายที่ดินของนายกรหนึ่งแปลง ราคาห้าแสนบาท โดยนายนพ และนายกรตกลงกันว่าจะไม่ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะไม่ต้องการเสียค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการโอน โดยนายนพได้ชำระเงินห้าแสนบาทให้นายกรแล้ว และนายกรได้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้กับนายนพ ดังนี้ จงวินิจฉัยว่ากัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายนพ และนายกรเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และใครมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าว เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลง ว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

และมาตรา 456 วรรคแรก ได้บัญญัติว่า “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไซร้ท่านว่าเป็นโมฆะ…”

ตามปัญหา การที่นายนพและนายกรได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินของนายกรหนึ่งแปลง ราคาห้าแสนบาทนั้น ข้อตกลงระหว่างนายนพและนายกรดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และ การที่ทั้งสองได้มีข้อตกลงกันว่าจะไม่ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือว่าทั้งสอง ได้ทำสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด (หรือสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และคู่กรณีไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำ ตามแบบพิธีใด ๆ ในภายหน้า

และแม้ว่าในการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น นายนพจะได้ชำระเงินห้าแสนบาทให้แก่นายกรแล้ว และนายกรจะได้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้กับนายนพแล้วก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์ แต่คู่กรณีไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ คือไม่ได้ทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อที่ดินระหว่างนายนพและนายกรจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก และกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวจึงยังคงเป็นของนายกร ไม่ตกเป็นของ นายนพแต่อย่างใด

สรุป สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายนพและนายกรเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวยังคงเป็นของนายกร ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 4. อ้วนได้รับตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งจากผอมผู้สั่งจ่ายตั๋ว อ้วนมาปรึกษาท่านว่าจะโอนตั๋วฯ นี้ให้นาย ก. จะโอนได้โดยวิธีใดบ้าง ท่านจะให้คำแนะนำวิธีโอนตั๋วฯ นี้อย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ด้งนี้ คือ

1. ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก)

2. ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3. การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของ ผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงิน ซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

กรณีดังกล่าว เมื่ออ้วนได้รับตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งจากผอมซึ่งเป็นผู้สั่งจ่าย และมีความประสงค์ จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้นาย ก. เมื่ออ้วนมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คำแนะนำวิธีการโอนตั๋วแลกเงินนี้แก่อ้วน ดังนี้คือ

กรณีที่ 1 ถ้าตั๋วแลกเงินที่อ้วนได้รับมาจากผอมนั้นเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ดังนี้อ้วนสามารถที่จะโอนตั๋วแลกเงินนี้ให้แก่นาย ก. ได้ โดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินให้แก่นาย ก. โดยไม่ต้องสลักหลัง คือไม่ต้องลงลายมือชื่อของอ้วนใด ๆ ทั้งสิ้นตามมาตรา 918

กรณีที่ 2 ถ้าตั๋วแลกเงินที่อ้วนได้รับมาจากผอมนั้นเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การที่ อ้วนจะโอนตั๋วแลกเงินชนิดนี้ให้แก่นาย ก. อ้วนจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 917 วรรคแรก และมาตรา 919 กล่าวคือ อ้วนจะต้องทำการสลักหลัง โดยเขียนข้อความว่า “จ่ายนาย ก.” หรือ “โอนให้นาย ก.” เป็นต้น และลงลายมือชื่อของอ้วนผู้สลักหลัง และส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่นาย ก. ไป ซึ่งการสลักหลังของอ้วนดังกล่าวนี้เรียกว่า “การสลักหลังระบุชื่อ” ซึ่งอ้วนจะทำที่ด้านหน้าหรือด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้นก็ได้

หรืออีกวิธีหนึ่ง อ้วนอาจจะลงแต่ลายมือชื่อของอ้วนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ต้อง เขียนข้อความใด ๆ และไม่ต้องระบุชื่อของนาย ก. ผู้รับโอน ซึ่งเรียกว่า “การสลักหลังลอย” แล้วส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่นาย ก. ไปก็ได้

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน
ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่บุคคลใดจะเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญไว้ด้งนี้ คือ

1.         บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ เป็นเวลา 5 ปีในกรณีธรรมดา โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีผู้ได้พบเห็น หรือนับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้จากภูมิลำเนาไป หรือนับแต่วันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้น ในครั้งหลังสุดเป็นต้นไป

1)         ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบ หรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2)         ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป
3)         ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน 1) หรือ 2) ได้ผ่าน พ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2.         ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ และ

3.         ศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้ว ก็ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61”

 

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2553 นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์คันหนึ่งของตนให้แก่นาย ข. ในราคา 300,000 บาท โดยตกลงว่านาย ก. จะส่งมอบรถยนต์นั้นให้นาย ข. ในวันที่ 7 มีนาคม 2553 แต่ปรากฏว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2553 รถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เสียหายไปหมดทั้งคัน ถามว่า สัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลในทางกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“นิติกรรมใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็น การขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ”

คำว่า “พ้นวิสัย” หมายถึง การใด ๆ ที่ไม่สามารถกระทำได้โดยแน่แท้ และให้หมายความรวมถึงการทำนิติกรรมที่มุ่งถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สิ่ง ๆ นั้นไม่มีตัวตนอยู่ในขณะทำนิติกรรม

ตามปัญหา การที่นาย ก. ได้ตกลงขายรถยนต์ของตนให้แก่นาย ข. ในวันที่ 1 มีนาคม 2553 และได้ตกลงว่านาย ก. จะส่งมอบรถยนต์ให้นาย ข. ในวันที่ 7 มีนาคม 2553 แต่ปรากฏว่ารถยนต์คันดังกล่าว ได้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้เสียหายไปหมดทั้งคันในวันที่ 3 มีนาคม 2553 นั้น จะเห็นได้ว่า ในการทำนิติกรรม ระหว่างนาย ก. และนาย ข. นั้น สิ่งที่นาย ก. และนาย ข. ได้มุ่งถึงโดยเฉพาะคือรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง และรถยนต์นั้นก็มีตัวตนอยู่ในขณะทำนิติกรรม ดังนั้นนิติกรรมซื้อขายรถยนต์ดังกล่าวระหว่างนาย ก. และนาย ข. จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ไม่เป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นจึงมีผลสมบูรณ์

สรุป นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. มีผลสมบูรณ์ เพราะ เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ไม่เป็นการพ้นวิสัย

 

ข้อ 3. นายเอกเสนอขายบ้านและที่ดินของตนให้กับนายทองในราคาหนึ่งล้านบาท นายทองตกลงซื้อบ้าน และที่ดินของนายเอกในราคาดังกล่าว โดยทั้งสองตกลงจะไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตกลงซื้อขายบ้านและ ที่ดินกัน โดยนายเอกได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายทองเข้าไปอาศัยก่อน เมื่อครบกำหนดที่ได้ ตกลงกันไว้ นายทองไม่ไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่และไม่ชำระราคาค่าบ้านและที่ดินแก่นายเอก ดังนี้ สัญญาซื้อขายระหว่างนายเอกและ นายทองเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และนายเอกจะฟ้องร้องบังคับให้นายทองทำสัญญาซื้อขาย เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และชำระราคาค่าบ้านและที่ดินแก่นายเอกได้ หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามปัญหา สัญญาซื้อขายระหว่างนายเอกและนายทองเป็นสัญญาซื้อขายประเภทสัญญาจะซื้อขาย (หรือสัญญาจะซื้อจะขาย) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่คู่กรณีได้มีข้อตกลงที่จะไปกระทำตามแบบพิธี คือจะไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหน้า

และสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายเอกและนายทอง แม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็มี ผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้เพราะสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด

ตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษจะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรค 2)

ตามปัญหา สัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างนายเอกและนายทองนั้น เมื่อปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า นายเอกได้ส่งมอบบ้านและที่ดินให้นายทองเข้าไปอาศัยก่อนแล้ว ซึ่งถือว่าได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อครบกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ นายทองไม่ไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธ์ต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่และไม่ชำระราคาค่าบ้านและที่ดินแก่นายเอก นายเอกย่อมสามารถฟ้องร้องบังคับให้นายทอง ไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และชำระราคาค่าบ้านและที่ดินให้แก่ตนได้ เพราะสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ คือได้มีการชำระหนี้กันบางส่วนแล้วนั่นเอง

สรุป สัญญาชื้อขายระหว่างนายเอกและนายทองเป็นสัญญาจะซื้อขาย และนายเอกสามารถ ฟ้องร้องบังคับไห้นายทองไปทำสัญญาชื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และชำระราคาค่าบ้าน และที่ดินให้แก่นายเอกได้

 

ข้อ 4. เหลืองเขียนเช็คฉบับหนึ่งสั่งธนาคารทหารไทย สาขารามคำแหงจ่ายเงินแก่เขียว เขียวรับเช็คมาแล้ว ขอให้เหลืองช่วยพาไปที่ธนาคารฯ ด้วย เมื่อถึงธนาคารฯ เขียวยื่นเช็คแก่ธนาคารฯ เพื่อให้จ่ายเงิน เหลืองยืนดูเป็นลมตายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคาร ด้งนี้ ธนาคารต้องจ่ายเงินตามเช็คให้แก่เขียวหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 ได้บัญญัติหลักไว้ว่า

“หน้าที่และอำนาจของธนาคารซึ่งจะต้องใช้เงินตามเช็คที่นำมาเบิกแก่ตนนั้น ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลง เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ด้งต่อไปนี้คือ

1.         มีคำบอกห้ามการใช้เงิน

2.         ธนาคารรู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย

3.         ธนาคารรู้ว่าศาลได้มีค่าสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือคำสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลาย หรือได้มีประกาศโฆษณาคำสั่งเช่นนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า โดยหลักแล้วธนาคารมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามเช็ค ที่ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คเพื่อนำมาเบิกแก่ตน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 992 ที่ธนาคาร จะต้องงดจ่ายเงินโดยเด็ดขาด ถ้าธนาคารได้จ่ายเงินไปก็ไม่มีอำนาจที่จะไปหักเงินในบัญชีผู้สั่งจ่ายได้

ตามปัญหา การที่เหลืองผู้สั่งจ่ายได้เขียนเช็คฉบับหนึ่งและสั่งให้ธนาคารฯ จ่ายเงินแก่เขียว และในขณะที่เขียวยื่นเช็คแก่ธนาคารฯ เพื่อให้จ่ายเงินนั้น เหลืองซึ่งได้ไปกับเขียวและยืนดูอยู่ด้วยเป็นลมตายต่อหน้า เจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ดังนี้เมื่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของธนาคารได้รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตาย ก็ถือว่าธนาคารฯ ได้รู้ว่าผู้สั่งจ่ายตายด้วย ดังนั้นธนาคารฯ จะต้องงดจ่ายเงินตามเช็คนั้น เพราะหน้าที่และอำนาจ ในการจ่ายเงินตามเช็คของธนาคารฯ ได้สิ้นสุดลงแล้วตามมาตรา 992(2)

สรุป ธนาคารฯ จะต้องงดจ่ายเงินตามเช็คให้แก่เขียว ตามเหตุผลและหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา law 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นาย ก. เป็นคนไร้ความสามารถ ซื้อโทรทัศน์เครื่องหนึ่งจากนาย ข. ราคา 5,000 บาท โดยที่ นาย ข. ไม่รู้ว่านาย ก. เป็นคนไร้ความสามารถ  ดังนี้ สัญญาซื้อขายนั้นมีผลตามกฎหมายอย่างไร เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นว่า คนไร้ความสามารถนั้น กฎหมายห้ามทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปทำนิติกรรม ไม่ว่าจะทำนิติกรรมในขณะที่มีอาการจริตวิกลหรือไม่ คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะ ได้รู้หรือไม่ว่าผู้กระทำนิติกรรมเป็นคนไร้ความสามารถ หรือจะได้ทำนิติกรรมโดยผู้อนุบาลยินยอมหรือไม่ก็ตาม นิติกรรมนั้นก็จะตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น
ตามปัญหา การที่นาย ก. ซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ ได้ทำสัญญาซื้อโทรทัศน์เครื่องหนึ่งจาก นาย ข. ดังนี้แม้ว่านาย ข. ผู้ขายจะไม่รู้ว่านาย ก. เป็นคนไร้ความสามารถก็ตาม สัญญาซื้อขายดังกล่าวก็มีผล เป็นโมฆียะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 29

สรุป สัญญาซื้อขายโทรทัศน์ระหว่างนาย ก. และนาย ข. เป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. นิติกรรมอำพรางมีลักษณะและผลตามกฎหมายอย่างไร อธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 บัญญัติว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ…

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่ง ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งในเรื่อง “นิติกรรมอำพราง” นั้น เป็นเรื่องที่ในระหว่างคู่กรณีได้มีการ ทำนิติกรรมขึ้นมา 2 ลักษณะ ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงอันหนึ่ง กับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ อีกอันหนึ่ง

1. นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง (นิติกรรมที่เปิดเผย) หมายถึง นิติกรรมที่คู่กรณี ได้ทำขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาให้มีผลใช้บังคับกัน แต่ได้ทำขึ้นมาเพื่อลวงให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทำนิติกรรม ลักษณะนี้กัน และเพื่อเป็นการอำพรางหรือปกปิดนิติกรรมที่แท้จริงนั่นเอง

2. นิติกรรมที่ถูกอำพราง หมายถึง นิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ได้ทำขึ้นมา และต้องการ ให้มีผลใช้บังคับกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ปกปิดอาพรางไว้ไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นรู้

ตามกฎหมายได้บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ มาใช้บังคับ หมายความว่า ให้คู่กรณีบังคับกันด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั่นเอง ส่วนนิติกรรมที่เกิดจากการ แสดงเจตนาลวงจะมีผลเป็นโมฆะ

ตัวอย่าง ปู่ได้ยกรถยนต์คันหนึ่งให้แก่หลานที่ชื่อ ก. โดยเสน่หา แต่เกรงว่าหลานคนอื่นรู้ จะหาว่าปู่ลำเอียง จึงได้ทำสัญญาชื้อขายกับ ก. ไว้เพื่อลวงหลานคนอื่น ดังนี้นิติกรรมที่จะมีผลใช้บังคับกันระหว่าง ปู่กับหลานที่ชื่อ ก. คือนิติกรรมให้ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง ส่วนนิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะเป็น นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3. นายดำมีที่ดิน 1 แปลง ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินนั้นกับนายแดงในราคา 1,000,000 บาท โดยมิได้ทำเป็นหนังลือสัญญา แต่นายแดงได้ให้เงินมัดจำแก่นายดำไปเพียง 1,000 บาท ต่อมา นายดำกลับไม่ยอมไปโอนที่ดินให้นายแดง เช่นนี้ จงพิจารณาว่า สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวมีผล สมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ และนายแดงจะฟ้องให้นายดำโอนที่ดินแปลงดังกล่าวแก่ตนได้หรือไม่

ธงคำตอบ

สัญญาชื้อขายที่ดินระหว่างนายดำและนายแดงเมื่อเป็นการทำในรูปของ “สัญญาจะซื้อขาย” แม้ว่าจะมิได้ทำเป็นหนังสือสัญญา กล่าวคือตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ ตามกฎหมาย เพราะการทำสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้น กฎหมายมิได้กำหนด แบบไว้แต่อย่างใด ดังนั้นคู่สัญญาจะทำสัญญาจะซื้อขายกันด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือสัญญากันไว้ก็ได้

และตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง)

ตามปัญหา เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างนายดำและนายแดง ซึ่งมิได้ทำเป็นหนังสือสัญญา กันไว้นั้น นายแดงผู้ซื้อได้ให้เงินมัดจำแก่นายดำผู้ขายไว้แล้ว 1,000 บาท ดังนั้นถ้าต่อมานายดำไม่ยอมไปโอนที่ดิน ให้นายแดง นายแดงย่อมสามารถฟ้องบังคับให้นายดำโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ตนได้ เพราะสัญญาจะซื้อขาย ดังกล่าวมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ คือ มีการวางมัดจำกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง

สรุป สัญญาจะซื้อขายดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย และนายแดงสามารถฟ้องให้นายดำ โอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ตนได้

 

ข้อ 4. ป.พ.พ. มาตรา 949 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนด ย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อย ไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

ท่านเข้าใจหลักกฎหมายว่าอย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินตามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตัวแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตัวเงินจะหลุดพ้น จากความรับผิดได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มี การโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครอง ของเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในการใช้เงินตามตั๋วเงินไปตามป.พ.พ. มาตรา 949

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ1. นายพรอายุ 40 ปี เป็นคนไร้ความสามารถ นายพรขายนาฬิกาของตนให้กับนายเอกในราคา 5,000 บาท ต่อมานายพรได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้กับนายพันธ์บิดา โดย ในขณะทำพินัยกรรม นายพรไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรม การขายนาฬิกาและพินัยกรรมของนายพรมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักในการทำนิติกรรมและหลักในการทำพินัยกรรม ของคนไร้ความสามารถไว้ดังนี้คือ

1)         นิติกรรมใด ๆ ซึ่งบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง นิติกรรมนั้น ตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 29)

2)         พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ (มาตรา 1704)
ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำนิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 29) ส่วนพินัยกรรมนั้น ถ้าคนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่มีอาการวิกลจริตหรือไม่ พินัยกรรมนั้น ก็จะตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1704)
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายพรซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถได้ขายนาฬิกาของตนให้ กับนายเอกนั้น นิติกรรมการขายนาฬิกาของนายพรย่อมตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 29

ส่วนการที่นายพรได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้กับนายพันธ์บิดานั้น แม้ว่า ในขณะทำพินัยกรรม นายพรไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใดก็ตาม พินัยกรรมที่นายพรได้ทำขึ้นนั้น ก็ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1704

สรุป นิติกรรมการขายนาฬิกาของนายพรมีผลเป็นโมฆียะ ส่วนพินัยกรรมมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 2. นาย ก. ได้เอาเข็มขัดทองแดงมาขายไห้นาย ข. โดยบอกว่าเป็นวัตถุที่มีทองคำเจือปน ข้อเท็จจริง ไม่มีทองคำดังที่นาย ก. อ้าง ถ้านาย ข. หลงเชื่อและซื้อไป ต่อมาได้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรค 1 และ 2 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น”

นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล และจะตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1.         มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง

2.         ได้กระทำโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น

3.         การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็น โมฆียะนั้น คงจะมิได้กระทำขึ้น

ตามปัญหา การที่นาย ข. ได้ซื้อเข็มขัดทองแดงจากนาย ก. นั้น นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขาย ดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งนาย ข. สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพราะเป็นนิติกรรมที่นาย ข. ได้แสดงเจตนาเนื่องจาก ถูกนาย ก. ใช้กลฉ้อฉลตามมาตรา 159 คือ การที่นาย ก. ได้หลอกลวงนาย ข. ว่าเข็มขัดเส้นนั้นเป็นวัตถุที่มี ทองคำเจือปน แต่ข้อเท็จจริงไม่มีทองคำตามที่นาย ก. อ้างแต่อย่างใด และการใช้อุบายหลอกลวงดังกล่าวถึงขนาด ทำให้นาย ข. หลงเชื่อและซื้อเข็มขัดเส้นนั้นจากนาย ก.

สรุป สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้

 

ข้อ 3. การรอนสิทธิคืออะไร เกิดขึ้นได้กี่กรณี และมีข้อยกเว้นใดที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 475 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกันความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ว่า

“หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ไนเวลาซื้ขาย หรือเพราะความผิดของผู้ขาย ผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว “การรอนสิทธิ” คือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ถูกบุคคลภายนอกเข้ามาก่อการรบกวนขัดสิทธิซองผู้ซื้อในอันที่จะครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข

การรอนสิทธิเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ

1.         มีบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ไนเวลาซื้อขายได้เข้ามาก่อการ รบกวนสิทธิของผู้ซื้อไนอันที่จะครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข หรือ

2.         เป็นเพราะความผิดของผู้ขาย ที่ให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นได้

และเมื่อผู้ซื้อถูกรอนสิทธิผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อไม่ว่าในการรอนสิทธินั้น ผู้ซื้อจะถูก รอนสิทธิทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม

ข้อยกเว้น ที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ได้แก่

1.         ถ้าสิทธิของผู้ก่อการรนกวนนั้น ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขาย (ป.พ.พ. มาตรา 476)

2.         ถ้าอสังหาริมทรัพย์ใดถูกศาลแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมาย ผู้ขาย ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์สินนั้นปลอดจากภาระจำยอม อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น หรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 480)

3.         ถ้าการรอนสิทธินั้น เป็นเพราะความผิดของผู้ซื้อเอง ซึ่งได้แก่ กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

1)         ถ้าไม่มีการพ้องคดีและผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิด ของผู้ซื้อเอง หรือ

2)         ถ้ามีการพ้องคดี แต่ผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่า ถ้าได้เรียกตนเข้ามาในคดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ หรือ

3)         ถ้ามีการพ้องคดี และผู้ขายได้เข้ามาในคดี แต่ศาลได้ยกคำเรียกร้องของผู้ซื้อเสีย

เพราะความผิดของผู้ซื้อเอง (ป.พ.พ. มาตรา 482)

4.         ถ้าการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นภายหลังการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ จะเป็นความผิดของผู้ขาย

5.         ถ้าคู่สัญญาได้ตกลงกันไวในสัญญาซื้อขายว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธินั้น แต่ ข้อตกลงนั้นไม่คุ้มครองผู้ขาย ถ้าผู้ขายได้ทราบความจริงแต่ปกปิดไม่บอกให้ผู้ซื้อทราบ หรือถ้าการรอนสิทธินั้นเป็นเพราะความผิดของผู้ขาย

 

ข้อ 4. ป.พ.พ. มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลา ถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกัน เรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

ท่านเข้าใจหลักกฎหมายว่าอย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดชอบตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินดามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ไซ้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้นจาก ความรับผิดชอบได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ไห้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง           ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มี

การโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครอง ของเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น  แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ      ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นายชัชอายุ 30 ปี มีอาการป่วยทางจิต โดยแพทย์ได้วินิจฉัยว่านายชัชเป็นคนวิกลจริต วันหนึ่ง นายชัชได้ให้แหวนเพชรของตนแก1นายพันธ์เพื่อนสนิท โดยในขณะที่นายชัชให้แหวนเพชร นายชัชมีจิตปกติ ไม่มีอาการวิกลจริต แต่นายพันธ์ทราบว่านายชัชเป็นคนวิกลจริต ต่อมานายซัชทะเลาะกับนายพันธ์อย่างรุนแรง นายชัชจึงต้องการเอาแหวนเพชรคืน ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายชัช สามารถบอกล้างนิติกรรมการให้แหวนเพชรแก่นายพันธ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 30 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการทำนิติกรรมของคนวิกลจริตไว้ว่า “คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อนิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝายหนึ่งได้รู้ อยู่แล้วว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต”
จากหลักกฎหมายดังกล่าว คนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น ทำนิติกรรมใด ๆ นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่จะเป็นโมฆียะก็ต่อเมื่อ

1.         นิติกรรมนั้นได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และ

2.         คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่แล้วว่าผู้กระทำนิติกรรมนั้นเป็นคนวิกลจริต
ตามปัญหา การที่นายชัชซึ่งเป็นคนวิกลจริตแต่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำ นิติกรรมโดยการให้แหวนเพชรของตนแก่นายพันธ์เพื่อนสนิท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในขณะที่นายชัชให้แหวน เพชรแก่นายพันธ์นั้น นายชัชมีจิตปกติไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนั้นแม้นายพันธ์จะได้ทราบอยู่แล้วว่า นายชัชเป็นคนวิกลจริต ก็ไม่ทำให้นิติกรรมการให้แหวนเพชรดังกล่าวตกเป็นโมฆียะแต่อย่างใด กล่าวคือนิติกรรม การให้แหวนเพชรนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้นนายชัชจะบอกล้างนิติกรรมนั้นเพี่อเอาแหวนเพชรคืนไม่ได้

สรุป นายชัชไม่สามารถบอกล้างนิติกรรมการให้แหวนเพชรแก่นายพันธ์ได้ เพราะนิติกรรม ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ ไม่ตกเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. นิติกรรมอำพรางมีลักษณะและผลตามกฎหมายอย่างไร อธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 บัญญัติว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ…

ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่ง ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น ให้นำบทบัญญัติของ กฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ”

ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งในเรื่อง “นิติกรรมอำพราง” นั้น เป็นเรื่องที่ในระหว่างคู่กรณีได้มีการ ทำนิติกรรมขึ้นมา 2 ลักษณะ ได้แก่ นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงอันหนึ่ง กับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้อีกอันหนึ่ง

1.         นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง (นิติกรรมที่เปิดเผย) หมายถึง นิติกรรมที่คู่กรณี ได้ทำขึ้นมาโดยไม่มีเจตนาให้มีผลใช้บังคับกัน แต่ได้ทำขึ้นมาเพื่อลวงให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าคู่กรณีได้ตกลงทำนิติกรรม ลักษณะนี้กัน และเพื่อเป็นการอำพรางหรือปกปิดนิติกรรมที่แท้จริงนั่นเอง

2.         นิติกรรมที่ลูกอ่าพราง หมายถึง นิติกรรมที่แท้จริงของคู่กรณีที่ได้ทำขึ้นมา และต้องการ ให้มีผลใช้บังคับกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ปกปิดอำพรางไว้ไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นรู้

ตามกฎหมายได้บัญญัติว่า ให้นำบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ มาใช้บังคับ หมายความว่า ให้คู่กรณีบังคับกันด้วยนิติกรรมที่ลูกอ่าพรางนั่นเอง ส่วนนิติกรรมที่เกิดจากการ แสดงเจตนาลวงจะมีผลเป็นโมฆะ

ตัวอย่าง ปู่ได้ยกรถยนต์คันหนึ่งให้แก่หลานที่ชื่อ ก. โดยเสน่หา แต่เกรงว่าหลานคนอื่นรู้ จะหาว่าปู่ลำเอียง จึงได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ก. ไว้เพื่อลวงหลานคนอื่น ดังนี้นิติกรรมที่จะมีผลใช้บังคับกันระหว่าง ปู่กับหลานที่ชื่อ ก. คือนิติกรรมให้ ซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพราง ส่วนนิติกรรมซื้อขายตกเป็นโมฆะเพราะเป็น นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

 

ข้อ 3. นางสาวกระต่ายต้องการซื้อมะพร้าวจากนางสาวเหมียว จำนวน 150 ลูก ราคา 750 บาท โดย ตกลงกันด้วยวาจามิได้มีการทำสัญญากันแต่อย่างใด ต่อมานางสาวเหมียวได้นำมะพร้าวไปส่งให้ นางสาวกระต่าย 50 ลูก และไม่ยอมนำมะพร้าวที่เหลือมาส่งมอบอีก ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า สัญญาซื้อขายระหว่างนางสาวกระต่ายและนางสาวเหมียวเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และนางสาวกระต่ายจะฟ้องให้นางสาวเหมียวส่งมอบมะพร้าวส่วนที่เหลือได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

“สัญญาชื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาชื้อขายสำเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาซื้อขายที่คู่กรณีคือผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงทำสัญญาชื้อขายกันเสร็จสินเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ซื้อ แสะผู้ซื้อก็ได้ตกลงที่จะชำระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย โดยไม่ต้องคำนึงว่าในขณะที่ ได้ตกลงทำสัญญาซื้อกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือมีการชำระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อจะขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทำสัญญาชื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทำตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในภายหน้า คือเมื่อ ได้ไปทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

ตามปัญหา สัญญาซื้อขายระหว่างนางสาวกระต่ายและนางสาวเหมียวเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันคือมะพร้าวนั้นเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์ธรรมดาไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ชนิดพิเศษจึงไม่อาจที่จะทำเป็นสัญญาจะซื้อขายกันได้ และสัญญาซื้อขายดังกล่าวแม้จะตกลงกันด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้แต่ อย่างใด

และตามกฎหมายมีหลักว่า “สัญญาชื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไป จะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม)

เมื่อตามปัญหาสัญญาซื้อขายมะพร้าวระหว่างนางสาวกระต่ายและนางสาวเหมียวเป็นสัญญา ซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาเพียง 750 บาท ซึ่งไม่ถึง 20,000 บาท ดังนั้นตามกฎหมายเมื่อนางสาวเหมียว ไม่ปฏิบัติตามสัญญาคือไม่ยอมนำมะพร้าวที่เหลือมาส่งมอบ นางสาวกระต่ายย่อมสามารถฟ้องให้นางสาวเหมียว ส่งมอบมะพร้าวส่วนที่เหลือให้แก่ตนได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แม้ว่าข้อเท็จจริงตามปัญหา จะมีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีกันคือได้มีการนำมะพร้าวไปส่งให้นางสาวกระต่ายแล้ว 50 ลูก ซึ่งถือว่าเป็นการชำระหนี้บางส่วนก็ตาม

สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนางสาวกระต่ายและนางสาวเหมียว เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และนางสาวกระต่ายสามารถฟ้องให้นางสาวเหมียวส่งมอบมะพร้าวส่วนที่เหลือให้แก่ตนได้

 

ข้อ.4. แดงได้รับโอนตั๋วแลกเงินจากเหลืองเป็นค่าซื้อขายข้าวสาร แดงต้องการโอนตั๋วฯ นี้ให้เขียว แดงจะโอนตั๋วฯ ได้โดยวิธีใดบ้าง จงอธิบายหลักกฎหมาย

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ด้งนี้ คือ

1.         ตั๋วแลกเงินสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก)

2.         ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3.         การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของ ผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงิน ซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

4.         ในกรณีที่มีการสลักหลังลอย ผู้ทรงที่ได้รับตั๋วเงินจากการสลักหลังลอยสามารถที่จะโอน ตั๋วเงินนั้นต่อไปโดยการสลักหลังและส่งมอบ หรืออาจจะโอนตั๋วเงินนั้นโดยการส่งมอบ แต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรคสอง)

ตามปัญหา การที่แดงได้รับโอนตั๋วแลกเงินมาจากเหลืองและต้องการโอนตั๋วแลกเงินนี้ให้แก่ เขียวนั้น ตามกฎหมายแดงสามารถโอนตั๋วแลกเงินได้โดยวิธีการดังนี้คือ

กรณีที่ 1 ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ แดงสามารถ ที่จะโอนตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เขียว โดยการส่งมอบตั๋วแลกเงินนั้นให้แก่เขียวเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องสลักหลัง ใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

กรณีที่ 2 ถ้าตัวแลกเงินที่แดงได้รับมาเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ การที่แดงจะโอน ตั๋วฯ ชนิดนี้ให้แก่เขียวนั้น แดงจะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เขียว ซึ่งการสลักหลังนั้น แดงอาจจะทำการสลักหลังโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้ คือ

(1)       สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) คือการที่แดงเขียนข้อความว่า “จ่ายเขียว” หรือข้อความอื่น ที่มีความหมายเดียวกัน เช่น สลักหลังให้เขียว เป็นต้น และลงลายมือชื่อของแดงผู้สลักหลังโดยอาจจะทำที่ด้านหน้า หรือด้านหลังตั๋วแลกเงินนั้นก็ได้

(2)       สลักหลังลอย คือการที่แดงลงแต่ลายมือชื่อของแดงไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่มีการระบุชื่อของเขียวผู้รับสลักหลัง (มาตรา 917 วรรคแรก และมาตรา 919)

แต่ถ้าตั๋วแลกเงินที่แดงได้รับมานั้น มีการสลักหลังลอยให้แก่แดง ดังนี้ถ้าแดงจะโอนตั๋วเงินนั้น ให้แก่เขียวต่อไป แดงอาจจะโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบตามวิธีการดังกล่าวข้างต้น หรืออาจจะโอนโดยการ ส่งมอบตั๋วเงินนั้นให้แก่เขียวโดยไม่ต้องสลักหลังก็ได้ (มาตรา 920 วรรคสอง)

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. (ก) ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้โดยทางใดบ้าง จงอธิบาย

(ข) จงอธิบายนิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวทีผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องขอความ ยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ธงคำตอบ

(ก) ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะได้โดยทางใดทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ

1.         บรรลุนิติภาวะโดยอายุ กล่าวคือ เมื่อบุคคลใดมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลนั้น ย่อมบรรลุนิติภาวะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”
2.         บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส กล่าวคือ ผู้เยาว์อาจจะบรรลุนิติภาวะได้ ถ้าหากชายและ หญิงได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ชายและหญิงนั้นมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรืออาจมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ได้ ถ้าหากได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 20 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448” และในมาตรา 1448 ก็ได้ บัญญัติไว้ว่า “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้”
(ข) นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝายเดียวที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจาก ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น มีบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 22 ว่า “ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียง เพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง”

ซึ่งจากบทบัญญัติลังกล่าว นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น มีได้ 2 กรณี คือ

1.         นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดย ไม่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2.         นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น ผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมรับ การปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ เป็นต้น

 

ข้อ 2. นาย ก. เป็นนักธุรกิจประสบปัญหาทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว นาย ก. จึงไปตกลงสมรู้กับนาย ข.ให้นาย ข. ชื้อรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งนาย ก. หวงมาก เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จาก รถยนต์คันนั้น แต่การชื้อขายกันนี้มิได้มีการชำระราคากันแต่อย่างใด ดังนี้ เจ้าหนี้ของนาย ก. ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้ปัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทำนิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทำนิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กำหนดให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นาย ก. ซึ่งเป็นนักธุรกิจที่ประสบปัญหาทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้ไปตกลง สมรู้กับนาย ข. ให้นาย ข. ซื้อรถยนต์ของตน เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันนั้น โดย การชื้อขายกันนั้นก็มิได้มีการชำระราคากันแต่อย่างใด จะเห็นได้ว่า นิติกรรมชื้อขายรถยนต์ระหว่างนาย ก. กับ นาย ข. นั้น เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาลวงของคู่กรณี ดังนั้นนิติกรรมดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับกันไม่ได้ และเมื่อนิติกรรมซื้อขายนั้นตกเป็นโมฆะ รถยนต์คันดังกล่าวจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ก. ดังนั้นเจ้าหนี้ของนาย ก. ย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้

สรุป เจ้าหนี้ของนาย ก. ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากรถยนต์คันดังกล่าวได้ ตามเหตุผล และหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 3. นายดำซื้อแอปเปิลจากนายแดงทั้งสวน ตกลงราคากัน 200,000 บาท โดยการซื้อขายแอปเปิลครั้งนี้ นายดำและนายแดงตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น ดังนี้ สัญญาชื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็น สัญญาชื้อขายประเภทใด และกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลโอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามปัญหา การที่นายดำซื้อแอปเปิลจากนายแดงนั้น สัญญาชื้อขายระหว่างนายดำและนายแดง เป็นสัญญาชื้อขายเสร็จเด็ดขาด เพราะทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกันนั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ธรรมดา ซึ่งโดยหลักแล้ว ไม่อาจทำเป็นสัญญาจะชื้อจะขายกันได้แต่อย่างใด และแม้ว่าในการชื้อขายแอปเปิลกันนั้น นายดำและนายแดง จะได้ตกลงกันด้วยวาจาเท่านั้น สัญญาชื้อขายดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาชื้อขาย สังหาริมทรัพย์ธรรมดานั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบได้แต่อย่างใด

สำหรับในเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น กฎหมายได้กำหนดหลักได้ดังนี้ คือ

1.         กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกัน ย่อมโอนไปเป็นของผู้ชื้อนับตั้งแต่ที่ได้ทำ สัญญาซื้อขายกัน (ป.พ.พ. มาตรา 458)

2.         ในการซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้ชื้อก็ต่อเมื่อ ทรัพย์สินที่ตกลงชื้อขายกันนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้กำหนดไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว หรือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งและได้รู้หรือ กำหนดราคาทรัพย์สินนั้นแน่นอนแล้ว (ป.พ.พ. มาตรา 460)

ตามปัญหา เมื่อสัญญาซื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็นการตกลงซื้อขายแอปเปิล ทั้งสวนในราคา 200,000 บาท จึงถือว่าเป็นการตกลงซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์สินเฉพาะสิ่งและทราบราคาของทรัพย์สินนั้นแล้ว ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลจึงโอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้ว ตาม ป.พ.พ. 3 มาตรา 458 และมาตรา 460

สรุป สัญญาซื้อขายระหว่างนายดำและนายแดงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และกรรมสิทธิ์ในแอปเปิลได้โอนไปเป็นของนายดำผู้ซื้อแล้ว

LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1 การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015กฎหมายธุรกิจ 1

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. นางสาวแก้วเป็นบุคคลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแล้ว นางสาวแก้วให้แหวนของตน แก่นางสาวเต๋าซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของนางสาวแก้วโดยนางต่อมารดาของนางสาวแก้วที่ศาลได้ตั้ง ให้เป็นผู้อนุบาลนางสาวแก้วให้ความยินยอมในการให้แหวนนั้น ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรมการ ให้แหวนของนางสาวแก้วแก่นางสาวเต๋ามีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์

มาตรา 29 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ”

ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำนิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ
วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางสาวแก้วซึ่งเป็นคนวิกลจริตที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ แล้ว ได้ทำนิติกรรมโดยการให้แหวนของตนแก่นางสาวเต๋านั้น แม้ว่าการทำนิติกรรมการให้ดังกล่าว นางต่อซึ่งเป็น มารดาของนางสาวแก้วที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาลนางสาวแก้วจะได้ให้ความยินยอมในการให้แหวนนั้นก็ตาม นิติกรรมการให้แหวนดังกล่าวก็มีผลเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 29
สรุป นิติกรรมการให้แหวนของนางสาวแก้วแก่นางสาวเต๋ามีผลเป็นโมฆียะ

 

ข้อ 2. การแสดงเจตนาโดยความสำคัญผิดมีผลเป็นโมฆะหรือโมฆียะเสมอไป หรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักไว้ดังนี้คือ

1.         การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของ นิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิด ในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น (ป.พ.พ. มาตรา 156)

2.         การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่า เป็นสาระสำคัญ เป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 157)

3.         ความสำคัญผิด ตามมาตรา 156 หรือมาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา 158)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดจะมีผลเป็นโมฆะ หรือ โมฆียะไม่เสมอไป ทั้งนี้เพราะการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซึ่งมีผลทำให้ การแสดงเจตนาเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 และการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล หรือทรัพย์สิน ซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 นั้น มีข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 158 กล่าวคือ ถ้าการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดตามมาตรา 156 หรือมาตรา 157 นั้น ได้เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้น มาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้ คือจะอ้างว่าตนได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดทำให้การแสดงเจตนา นั้นมีผลเป็นโมฆะ หรือโมฆียะไม่ได้นั่นเอง

 

ข้อ 3. นายเมฆอาศัยอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ประสบภาวะน้ำท่วม นายเมฆจึงเข้าทำสัญญาซื้อเรือจากนายฟ้า 2 ลำ เป็นเงินจำนวน 5,000 บาท โดยมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แต่นายเมฆได้ชำระราคาค่าเรือ แก่นายฟ้าแล้ว พอถึงวันส่งมอบเรือ นายฟ้าผิดนัดไม่นำเรือมาส่งมอบ

ดังนี้ (1) สัญญาชื้อขายระหว่างนายเมฆและนายฟ้าเป็นสัญญาชื้อขายประเภทใด

(2) นายเมฆจะฟ้องนายฟ้าที่ผิดนัดไม่นำเรือมาส่งมอบได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

“สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด” (หรือสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์) หมายถึง สัญญาชื้อขายที่ คู่กรณีคือผู้ชื้อและผู้ขายได้ตกลงทำสัญญาชื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ขายตกลงที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ชื้อ และผู้ชื้อได้ตกลงที่จะชำระราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขายแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าในขณะที่ ตกลงทำสัญญาชื้อขายกันนั้น ได้มีการส่งมอบทรัพย์สินหรือได้มีการชำระราคากันแล้วหรือไม่

“สัญญาจะซื้อขาย” คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษที่คู่กรณี ยังมิได้มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันในขณะที่ทำสัญญาชื้อขาย แต่มีข้อตกลงกันว่าจะมีการ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กันก็ต่อเมื่อได้ไปกระทำตามแบบพิธีที่กฎหมายได้กำหนดไว้ในภายหน้า คือเมื่อได้ ไปทำสัญญาชื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั่นเอง

และตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสามนั้น ได้บัญญัติหลักไว้ว่า “สัญญาชื้อขาย สังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่สองหมื่นบาทขึ้นไปจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ จะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้คือ

1.         มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ

2.         มีการวางประจำหรือมัดจำไว้ หรือ

3.         มีการชำระหนี้บางส่วน”

กรณีตามอุทาหรณ์

(1) สัญญาชื้อขายระหว่างนายเมฆและนายฟ้านั้นเมื่อเป็นการทำสัญญาชื้อขายเรือซึ่งเป็นเพียง สังหาริมทรัพย์ธรรมดาไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ สัญญาชื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด และ สัญญาชื้อขายดังกล่าวแม้จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะสัญญาชื้อขายเสร็จเด็ดขาด สังหาริมทรัพย์นั้นกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด

(2) เมื่อนายฟ้าผิดนัดไม่นำเรือมาส่งมอบให้แก่นายเมฆ ดังนี้นายเมฆย่อมสามารถฟ้องนายฟ้าได้ เพราะการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีราคาไม่ถึง 20,000 บาทนั้น แม้จะ มิได้ทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสือ ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

สรุป (1) สัญญาซื้อขายระหว่างนายเมฆและนายฟ้าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด

(2) นายเมฆสามารถฟ้องนายฟ้าที่ผิดนัดไม่นำเรือมาส่งมอบได้

 

ข้อ 4. การเขียนตั๋วแลกเงินมีหลักกฎหมายอย่างไรบ้าง จงอธิบายหลักกฎหมายและยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 909 และมาตรา 910 ได้บัญญัติหลักในการ เขียนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้คือ

ในการเขียนตั๋วแลกเงิน ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อผู้รับเงินหรือตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือนั้น ตั๋วแลกเงินจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ผู้เขียนตั๋วแลกเงินจะต้องเขียนให้มีข้อความหรือรายการที่สำคัญ 5 ประการ ให้ครบถ้วนเสมอ ได้แก่ข้อความดังต่อไปนี้คือ

1.         คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2.         คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนที่แน่นอน

3.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้จ่าย

4.         ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ

5.         ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

ถ้าหากผู้เขียนตั๋วแลกเงินได้เขียนโดยมีข้อความที่สำคัญดังกล่าวอันใดอันหนึ่งขาดตกบกพร่องไป เอกสารนั้นย่อมไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วแลกเงิน

ตัวอย่าง นายหนึ่งต้องการออกตั๋วแลกเงินเพื่อชำระหนี้แก่นายสาม 100,000 บาท นายหนึ่ง ก็จะต้องเขียนตั๋วแลกเงินให้มีข้อความที่สำคัญ 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยระบุให้ นายสองจ่ายเงินให้แก่นายสาม (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ) หรือนายหนึ่งอาจจะเขียนโดยสั่งให้นายสอง ผู้จ่ายจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วแลกเงินก็ได้ (ซึ่งถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดผู้ถือ)

WordPress Ads
error: Content is protected !!