การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MKT 2101 หลักการตลาด

Advertisement

คำสั่ง   ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 120 ข้อ)

1.         ปัจจุบันมีแนวโน้มการเปิดศูนย์การค้าที่เรียกว่า Community Mall มากขึ้น ซึ่งลักษณะของร้านค้าดังกล่าวจะประกอบด้วย ร้านอาหาร ร้านสรรพาหาร ธนาคาร เป็นต้น ศูนย์การค้า Community Mall จัดอยู่ในตลาดประเภทใด       

(1)       ตลาดผู้บริโภค            

(2)        ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม-

(3)       ตลาดผู้ขายตอ            

(4)        ตลาดรัฐบาล   

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 155 – 156, (คำบรรยาย) ศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) จัดอยู่ในตลาดผู้ขายต่อ ที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ร้านค้าปลีกแบบเปิดขนาดใหญ่ใกล้แหล่งชุมชน ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ ความสะดวกแก่ผู้บริโภคในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคหรือสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งนี้จะมีร้านค้าปลีกต่าง ๆ อยู่ภายในศูนย์การค้า เช่น ร้านอาหาร ร้านขายยา ร้านสรรพาหาร ธนาคาร เป็นต้น ส่วนใหญ่จะมีพื้นที่ประมาณ 3 – 5 ไร่ และสามารถรองรับผู้บริโภคได้ ประมาณ 2,500 – 40,000 คนต่อวัน

2.         ในกระบวนการตัดสินใจซื้อ ข้อใดถือเป็นข้อพิจารณาที่ควรเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก

(1)       การรับรู้ปัญหา 

(2)       การค้นหาผู้ขาย           

(3)       การทบทวนแนวทางปฏิบัติการ

(4)       การอธิบายความต้องการ        

(5)       การเลือกผู้ขาย

ตอบ 1 หน้า 155 กระบวนการซื้อในตลาดผู้ผลิต มี 8 ขั้นตอน ดังนี้     1. การรับรู้ปัญหา  2. การอธิบายลักษณะความต้องการ  3. การกำหนดลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์  4. การค้นหาผู้ขาย 5. การพัฒนาข้อเสนอของผู้ขาย 6. การเลือกผู้ขาย 7. การเลือกลักษณะเฉพาะของคำสั่งซื้อประจำ            8. การทบทวนแนวทางปฏิบัติการ

3.         หากโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการซื้อเครื่องจักร ซึ่งจะมีบุคคลหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องกับการซื้อ บุคคลที่ควรเข้ามาร่วมพิจารณาคือใคร          

(1) ผู้จัดการฝ่ายการเงิน

(2) ผู้จัดการฝ่ายบัญชี

(3) ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

(4) ผู้จัดการฝ่ายผลิต

(5) ผู้จัดการฝ่ายบุคคล

 ตอบ 4 หน้า 153, 602 การซื้อสินค้าอุตสาหกรรมจะใช้เหตุผลในการซื้อมากกว่าใช้อารมณ์ และ จะมีผู้บริหารจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น ประธาน ผู้จัดการฝ่ายผลิต วิศวกร ผู้ใช้ ฯลฯ เข้ามาช่วย ในการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรหลักที่มีราคาสูง เพราะจะมีผลต่อกำไร จากการดำเนินงานของธุรกิจ

 4.         ข้อใดผิด  

(1)       ผู้ขายต่อพิจารณาราคาและส่วนลดเป็นสำคัญ

(2)       ผู้ขายต่อพิจารณาคุณภาพและนโยบายผลิตภัณฑ์ตรายี่ห้อมากกว่าจำนวนสินค้าที่คาดว่าจะขายได้

(3)       ตลาดผู้ผลิตมีความต้องการต่อเนื่อง (Derived Demand)

(4)       ตลาดผู้ผลิตมีอุปสงค์ที่ยืดหยุ่น (Elastic Demand)

 (5)       กระบวนการจัดซื้อของตลาดรัฐบาลคือ การประกวดราคาและการทำสัญญาต่อรอง

ตอบ 4 หน้า 152. 157, 160 ตลาดผู้ผลิตมีลักษณะสำคัญ เช่น เป็นความต้องการต่อเนื่อง (Derived Demand) เป็นอุปสงค์ที่ไม่ยืดหยุ่น (Inelastic Demand) ฯลฯ ส่วนผู้ขายต่อจะพิจารณาราคา และส่วนลดเป็นสำคัญ พิจารณาคุณภาพและนโยบายผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อมากกว่าจำนวนสินค้า ที่คาดว่าจะขายได้ ในขณะที่กระบวนการจัดซื้อของตลาดรัฐบาลมี2วิธีคือการประกวดราคา และการทำสัญญาต่อรอง

5.         คุณสมบัติเด่นส่วนบุคคลที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการตัดสินใจซื้อคือข้อใด

(1) ความขยัน (2) ความกล้าเลี่ยง (3) ความขี้เกียจ (4) ความต้องการฉวยโอกาส (5) ความกล้าต่อสู้กับศัตรู

ตอบ 2 หน้า 153 – 154 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ผลิต มี 4 ประการ คือ

 1.         ปัจจัยจากสภาวะแวดล้อม เช่น ระดับความต้องการเบื้องต้น สภาวะทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเมืองและกฎหมาย คู่แข่งขัน ฯลฯ

2.         ปัจจัยทางด้านองค์กร เช่น จุดประสงค์ นโยบาย โครงสร้างการจัดองค์การ ฯลฯ

3.         ปัจจัยของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น อำนาจหน้าที่ สถานภาพ ความเห็นใจ ฯลฯ

4.         ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น รายได้ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงาน ความกล้าเสี่ยง ฯลฯ โดยความ กล้าเสี่ยงถือเป็นคุณสมบัติเด่นส่วนบุคคลที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในการตัดสินใจซื้อ

ข้อ 6. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ผู้ผลิต –ผู้บริโภค

(2) Selective Distribution

(3) Intensive Distribution

(4) Physical Distribution

(5) Exclusive Distribution

6.         สินค้าประเภทสมัยนิยม ควรเลือกใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใด

ตอบ 3 หน้า 214, 307, 312, 316 การจัดจำหน่ายผ่านคนกลางจำนวนมากราย (Intensive Distribution) หมายถึง ผู้ผลิตจะใช้คนกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าปลีกจำนวนมากรายเพื่อจัดจำหน่ายสินค้า ของกิจการให้ทั่วถึง ทั้งนี้เพราะสินค้านั้นมีการเลือกหาซื้อบ่อย หากผู้บริโภคมีความต้องการ ก็อาจจะหาซื้อได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพูสระผม ยาสีฟัน ฯลฯ รวมทั้งสินค้า ประเภทสมัยนิยมซึ่งล้าสมัยเร็วทำให้จำเป็นต้องขายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยรีบด่วน

7.         ผู้ผลิตยาคูลท์เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายลักษณะใด

ตอบ 1 หน้า 307 ช่องทางการจัดจำหน่ายจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง (Direct Distribution หรือ Door to Door Selling) ซึ่งไม่มีคนกลางเข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด เป็นช่องทางที่ใช้ จัดจำหน่ายสินค้าไม่มากชนิดนัก เพราะเป็นการยากที่จะจำหน่ายให้ถึงผู้บริโภคที่กระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคจำนวนมาก เช่น การขายเครื่องสำอาง AVON การขายยาคูลท์ เป็นต้น

8.         ยาสีฟันซอลท์ ควรเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ  

9.         ข้อใดมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการแจกจ่ายตัวสินค้า

ตอบ 4 หน้า 318 – 319 การแจกจ่ายตัวสินค้า (Physical Distribution) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ ใบกระบวนการเสริมสร้างความต้องการของธุรกิจตาง ๆ โดยกิจการจะพยายามจัดการตัวสินค้า เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคตามสถานที่ซึ่งมีความต้องการ และใช้วิธีการแจกจ่าย ตัวสินค้าเพื่อเข้ามาช่วยให้การจัดจำหน่ายสินค้าไปยังผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ โดยเสียคาใช้จ่าย น้อยที่สุด

10.       สินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง เช่น เครื่องจักร ผู้ผลิตควรเลือกใช้ช่องทางจำหน่ายแบบใด

 ตอบ 1 หน้า 310 – 312 สินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูง เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ ผู้ผลิตมักเลือกใช้ ช่องทางการจัดจำหน่ายทีสั้น นั่นคือ จากผู้ผลิตถึงผู้ใช้สินค้าโดยตรง (Direct Distribution) แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงก็ตาม ทั้งนี้เพราะสินค้าดังกล่าวจะมีผู้ผลิตน้อยราย และผู้ซื้อต้องการรับบริการพิเศษจากผู้ผลิต เช่น การติดตั้ง การแนะนำการใช้ การบำรุงรักษา เป็นต้น

11.       ข้อใดคือขั้นตอนแรกในการเข้าตลาดต่างประเทศ    

(1) การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศหรือไม่

(2) การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดแห่งใด          

(3) การตัดสินใจในการวางแผนการทางการตลาด

(4) การประเมินสภาวะแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศ

(5) การตัดสินใจการจัดองค์การทางการตลาด

ตอบ 4 หน้า 553 – 554 ขั้นตอนในการพิจารณาตัดสินใจเข้าตลาดต่างประเทศ มี 6 ประการ ดังนี้

1.         การประเมินสภาวะแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศ

2.         การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศหรือไม่

3.         การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศแห่งใด

4.         การตัดสินใจว่าจะเข้าตลาดต่างประเทศอย่างไร

5.         การตัดสินใจในการวางแผนการทางการตลาด

6.         การตัดสินใจการจัดองค์การทางการตลาด

12.       การร่วมลงทุนกับกิจการในตลาดต่างประเทศ (Joint Venture) เป็นการเข้าตลาดต่างประเทศ ยกเว้นข้อใด

(1) Licensing      

(2) Export         

(3)Contract Manufacturing

(4) Management Contracting 

(5) Joint-Ownership Venture

ตอบ 2 หน้า 562 – 563 การร่วมลงทุนกับกิจการในต่างประเทศ (Joint Venture) มี 4 วิธี ได้แก่

1.         การให้สิทธิการผลิตและจัดจำหน่ายแก่ผู้ผลิตในตลาดต่างประเทศ (Licensing)

2.         การจ้างโรงงานผลิตสินค้าให้ในตลาดต่างประเทศ (Contract Manufacturing)

3. การทำสัญญาร่วมลงทุนทางด้านการบริหาร (Management Contracting) เพื่อให้ส่งพนักงานระดับบริหารเข้ามาร่วมบริหารงานของกิจการ

4.         การเป็นเจ้าของร่วมลงทุนกับกิจการในตลาดต่างประเทศ (Joint-Ownership Venture)

13.       สินค้าที่จะส่งไปขายในตลาดต่างประเทศ อาจได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมของตลาดต่างประเทศข้อพิจารณาทางวัฒนธรรมคือข้อใด   

(1) อำนาจซื้อส่วนบุคคล  

(2) อัตราการว่างงาน     

(3) ลักษณะอาหารที่บริโภค

(4)ความมั่นคงของรัฐบาล       

(5) นโยบายการส่งออกของประเทศ

ตอบ 3 หน้า 558 – 559 ข้อพิจารณาทางด้านวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศ คือ มีผลต่อความพอใจของผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้า และมีผลต่อการเสนอขายสินค้าของ นักการตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เช่น ลักษณะอาหารที่บริโภค สภาพความเป็นอยู่ รสนิยมการแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น

14.       ข้อใดกล่าวถึงการตลาดระหว่างประเทศไม่ถูกต้อง

(1)       ทำให้รัฐบาลขาดรายได้จากภาษีส่งออกและนำเข้า

(2)       ทำให้การผลิตขยายตัว

(3)       ทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตไม่ได้ในประเทศ

(4)       ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความสัมพันธ์กันซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการเมือง

(5)       ทำให้คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น

ตอบ 1 หน้า 552 – 553 การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อประเทศ ดังนี้

1.         ทำให้การผลิตขยายตัว คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้เกิดการอยู่ดีกินดี

2.         สามารถเลือกซื้อสินค้าต่างประเทศที่ผลิตไม่ได้ในประเทศ

3.         ทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีการส่งออกและนำเข้ามากขึ้น

4.         ถ้าส่งสินค้าออกมากจะทำให้ได้เปรียบดุลการค้า

5.         ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

15.       ข้อใดมีใช่เหตุผลที่กิจการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

(1)       เพื่อปรับขนาดตลาดให้แคบลง           (2) เพื่อหวังผลกำไร

(3)       เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต จะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง

(4)       เพื่อสนองนโยบายของประเทศพัฒนาที่ลดอัตราภาษี

(5)       เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ต่อสู้การแข่งขัน

ตอบ 1 หน้า 553 เหตุผลที่กิจการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ได้แก่         1. ต้องการแสวงหาผลกำไร  2. เพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มที่           3. ช่วยขยายตลาดให้มีมากแห่งยิ่งขึ้น

4.         สนองนโยบายของประเทศที่ต้องการลดอัตราภาษี

5.         ต้องการลดต้นทุบการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

16.       หน้าที่สำคัญของการตลาดสินค้าเกษตรกรรม คือ

(1) การซื้อ    (2)           การเก็บรักษาสินค้า     (3) การกำหนดมาตรฐานสินค้า

(4) การขาย     (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 หน้า 593 – 596 หน้าที่สำคัญของการตลาดสินค้าเกษตรกรรม มีดังนี้ 1. การซื้อและการขาย โดยพิจารณาจากการหาความต้องการของการซื้อ แหล่งที่มาของสินค้าเกษตร เพราะแหล่งผลิต ที่ต่างกันคุณภาพสินค้าอาจไม่เหมือนกัน ความเหมาะสมของสินค้าเกษตร และเงื่อนไขในการซื้อ 2. การขนส่ง 3. การเก็บรักษาสินค้า 4. การเสี่ยงภัย            5. การกำหนดมาตรฐานสินค้าและการจัดขนาดของสินค้า 6. การเงิน 7. ข่าวสารทางการตลาด

17.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสินค้าเกษตร

(1) ปริมาณและคุณภาพต่างกันตามฤดูกาล

(2) ความต้องการสูญเสียได้ง่าย         (3) เน่าเปื่อยเสียหายง่าย

(4) มีน้ำหนัก กินเนื้อที่ (5) ต้องอาศัยสถานที่เก็บสินค้า

ตอบ 2 หน้า 589 ลักษณะสำคัญของสินค้าเกษตร มีดังนี้

1. เป็นการผลิตขนาดย่อม       2. แหล่งผลิตกระจายกันอยู่ทั่วไป

3.  ผลิตได้ตามฤดูกาล แต่การบริโภคมีต่อเนื่องตลอดปี ทำให้ต้องมีการจัดเก็บผลผลิตไว้ เพื่อบริโภคในอนาคต ส่งผลให้เกิดกิจกรรมการเก็บรักษาและการคลังสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง

4.ปริมาณและคุณภาพแตกต่างกันตามฤดูกาลและสภาพของดินฟ้าอากาศ

5.เน่าเปื่อยเสียหายได้ง่าย เกษตรกรจึงไม่สามารถเก็บสินค้าเกษตรเอาไว้ได้นาน ทำให้ต้อง อาศัยสถานที่เก็บสินค้าที่เหมาะสม

6.มีน้ำหนัก กินเนื้อที่ ทำให้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง การเคลื่อนย้าย การรวบรวม และการเก็บรักษาต้องเสียค่าใช้จ่ายสู

18.       สินค้าเกษตรชนิดใดของไทยที่ส่งออกขายยังตลาดต่างประเทศมากที่สุด

(1)       ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์      (2) ข้าว            (3) ชิ้นส่วนรถยนต์

(4) ยางพารา   (5) กุ้งแช่แข็ง

ตอบ 4 (ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) มูลค่าสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน (พ.ศ. 2556 – 2557) 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ข้าวและผลิตภัณฑ์ ปลาและ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากมันสำปะหลัง ผลไม้และผลิตภัณฑ์

19.       หากจะทำการส่งเสริมทางการตลาดกับสินค้าเกษตร ควรทำในช่วงใด        

(1) ผู้ผลิต        (2) ผู้บริโภคคนสุดท้าย            (3) ร้านขายปลีก (4) การขนส่ง           (5) เกษตรกร

ตอบ 3 หน้า 592 ปกติการส่งเสริมทางการตลาดจะไม่สามารถนำมาใช้กับตลาดสินค้าเกษตรได้โดยเฉพาะในระดับผู้ผลิตหรือระดับเกษตรกรแทบจะไม่มีเลย เพราะสินค้าของเกษตรกรทุกราย มีลักษณะเหมือนกัน แต่จะพบการส่งเสริมการตลาดบ้างในระดับของอุตสาหกรรมการเกษตร หรือคนกลางที่เป็นร้านค้าปลีกบางราย

20.       จากข้อความ สินค้าเกษตรต้องพิจารณาที่มาของสินค้า” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด

(1)       แหล่งผลิตที่ต่างกันคุณภาพสินค้าอาจไม่เหมือนกัน

(2)       แหล่งผลิตที่ต่างกัน ราคาสินค้าอาจไม่เหมือนกัน

(3)       สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ราคาสินค้าอาจไม่เหมือนกัน

(4)       สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ค่าขนส่งอาจไม่เหมือนกัน

(5)       สภาพภูมิอากาศที่ต่างกัน ต้องเผชิญกับการเสี่ยงภัยด้านการขนส่งที่ไม่เหมือนกัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

21.       การวางแผนผลิตภัณฑ์หมายถึงอะไร

(1) การกำหนดราคา           

(2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

(3) การโฆษณาผลิตภัณฑ์

(4) การส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์      

(5) การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์

ตอบ 2 หน้า 213 การวางแผนผลิตภัณฑ์ หมายถึง การตัดสินใจอย่างเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมทั้งหมดในการพัฒนาและการบริหารผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ ซึ่งการที่ธุรกิจมีกระบวนการวางแผน ผลิตภัณฑ์ที่ดี ย่อมทำให้ธุรกิจมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก กล่าวคือ ทำให้มีการพัฒนา แผนงานทางการตลาดได้อย่างเหมาะสม มีการประสาบงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สามารถ ประเมินตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ และทำให้มีการลดผลิตภัณฑ์ที่ไม่พึงปรารถนาได้ดีขึ้น

22.       สินค้าประเภทใดต่อไปนี้ที่ผู้บริโภคไม่ต้องมีการวางแผนซื้อ

(1)       ข้าวสาร           

(2) ยารักษาโรค           

(3) สินค้าทีซื้อเมื่อพบเห็น

(4) สินค้าทีซื้อเมื่อจำเป็น         

(5) ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 214 – 215 สินค้าซื้อฉับพลัน เป็นการซื้อที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้า แต่เป็นสินค้าที่ ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเมื่อได้มองเห็นสินค้าและเกิดความต้องการ เช่น ขณะที่เดินไปตามท้องถนน และได้เห็นไอศกรีมแท่งก็ซื้อทันที เป็นต้น

23.       ลักษณะสำคัญของสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่อะไร    

(1) ตลาดจะมีผู้ซื้อเป็นจำนวนมาก  (2) ความต้องการจะผันแปรตามราคา     (3) จะซื้อด้วยความมีเหตุผลเป็นหลัก

(4) จะตัดสินใจซื้อโดยคน ๆ เดียว       (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 152, 220 – 221, 602 – 605 ลักษณะสำคัญของสินค้าอุตสาหกรรม มีดังนี้

1.         มีผู้ซื้อจำนวนน้อยราย แต่ซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมาก

2.         มีความต้องการสินค้าหรืออุปสงค์ที่ไม่ยืดหยุ่น

3.         ความต้องการมีลักษณะผกผัน และเป็นความต้องการที่ต่อเนืองมาจากความต้องการ ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค

4.         เป็นสินค้าทีใช้เหตุผลในการซื้อมากกว่าใช้อารมณ์ ซึ่งจะมีผู้บริหารจากหลาย ๆ ฝ่าย เข้ามาช่วยพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ

5.         คุณสมบัติอื่น ๆ ได้แก่ ซื้อโดยตรงจกผู้ผลิต ซื้อแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย และขอเช่าแทนการซื้อ

24.       สินค้าในข้อใดที่จัดว่าเป็นกลุ่มสายผลิตภัณฑ์         

(1) ดินสอ เสื้อผ้า แชมพู        (2) โทรทัศน์ กระดาษ เสื้อผ้า     (3) แชมพู สบู่ กรรไกร

(4) เสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า       (5) ขนมหวาน กระดาษ ปากกา

ตอบ 4 หน้า 228 ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ

1.         สายผลิตภัณฑ์ (Product Line) คือ กลุ่มของรายการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับ เช่น สายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยเสื้อผ้า เข็มขัด รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น

2.         รายการผลิตภัณฑ์ (Product Item) คือ ตัวแบบ ตราสินค้า หรือขนาดของผลิตภัณฑ์ ที่ธุรกิจขายอยู่

25.       สินค้าประเภทใดต่อไปนี้ที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต     

(1) กล้องถ่ายรูปดิจิตอล          (2) สบู่ (3) ปากกา       (4) เสื้อผ้า        (5) โทรทัศน์

ตอบ 1 หน้า 236 – 237 ขั้นตอนในช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ แบ่งออกเป็น 4 ช่วงดังนี้

1.         ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction) เป็นขั้นที่นักการตลาดต้องการเข้าหาผู้บริโภค ที่ยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ในขั้นนี้ยอดขายจะเพิ่มขึ้นและยังไม่มีคู่แข่งขัน

2.         ขั้นเจริญเติบโต (Growth) เป็นขั้นที่ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลาดเริ่มมีลักษณะเป็น มวลชน และเริ่มมีคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดบ้างแล้ว เช่น สินค้าประเภทกล้องถ่ายรูปดิจิตอล โทรศัพท์ประเภท Smart Phone เป็นต้น

3.         ขั้นตลาดอิ่มตัว (Maturity) เป็นขั้นที่ยอดขายคงที่หรือเพิ่มขึ้นใบอัตราที่ลดลง คู่แข่งขัน มีจำนวนมาก และกำไรเริ่มลดลง

4.         ขั้นยอดขายลดลง (Decline) เป็นขั้นที่ยอดขายลดลง คู่แข่งขันลดลง และกำไรลดลงอย่างมาก

26.       เหตุใดนักการตลาดจึงต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่

(1)       เพื่อเพิ่มยอดขาย         (2) เพื่อลดความเสียง  (3) เพื่อสร้างจินตภาพ

(4) เพื่อเป็นการใช้วัสดุให้คุ้มค่า           (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 245 – 246 ความสำคัญของผลิตภัณฑ์ใหม่ มีดังนี้          1. ช่วยเพิ่มยอดขาย

2. ช่วยเพิ่มกำไร 3. ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ          4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้

กับช่องทางการจัดจำหน่ายเดิม 5. ช่วยให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ โดยการ นำวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ 6. ช่วยสร้างจินตภาพให้กับธุรกิจ

27.       เหตุผลสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ประสบความสำเร็จได้แก่ข้อใด

(1)       ขนาดค่อนข้างใหญ่    (2) อายุการใช้งานนานเกินไป

(3)       มีข้อบกพร่องในตัวผลิตภัณฑ์            (4) กำหนดราคาหลายระดับ   (5) ต้นทุนในการผลิตต่ำเกินไป

ตอบ 3 หน้า 247 สาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ล้มเหลว มีดังนี้ 1. การวิเคราะห์ตลาดไม่เพียงพอ  2. ผลิตภัณฑ์มีข้อบกพร่อง 3. มุ่งเน้นทางการผลิตมากเกินไป            4. ไม่มีการพัฒนา

ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีพอ  5. ต้นทุนในการพัฒนา การผลิต และการตลาดสูงเกินไป

6.         ขาดการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกกิจการ      7. ผลิตภัณฑ์มีช่วงชีวิตค่อนข้างสั้น      8. คู่แข่งขัน     9. ขาดความร่วมมือในช่องทางการจัดจำหน่าย เป็นต้น

28.       ทำไมนักการตลาดจึงต้องใช้การทดสอบตลาด         

(1) เพื่อความสมบูรณ์ของขั้นตอน

(2)       เพื่อศึกษาความเป็นไปในตลาด          (3) เพื่อเอาใจลูกค้า

(4)       เพื่อให้พนักงานขายปรับตัว    (5) เพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ตอบ 2 หน้า 252 – 253 เมื่อผลิตภัณฑ์ได้พัฒนาและผ่านการทดสอบจากผู้บริโภคแล้ว ก็มาถึง

ขั้นตอนของการทดสอบตลาด ซึ่งเป็นเรื่องของการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดที่คัดเลือกไว้ เพื่อต้องการทราบความเป็นไปของยอดขายและกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะทางด้าน กลยุทธ์ทางการตลาดก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดรวมทั้งหมด

29.       กรณีใดที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่อิ่มตัว     

(1) มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปได้

(2) ขนาดของตลาดค่อนข้างเล็ก         (3) คู่แข่งขันมีความเข้มแข็ง

(4) ผลิตภัณฑ์ไม่มีความจำเป็น           (5) กำไรค่อนข้างน้อย

ตอบ 1 หน้า 258 – 259 ปัจจัยที่ทำให้นักการตลาดตัดสินใจว่าควรมีการขยายช่วงชีวิตผลิตภัณฑ์ ในขั้นอิ่มตัว มีดังนี้ 1. ตลาดต้องมีขนาดใหญ่พอ 2. ผลิตภัณฑ์มีความจำเป็นต่อผู้บริโภค 3. มีส่วนแบ่งตลาดที่ยังเข้าไม่ถึง            4. คู่แข่งขันมีความเข้มแข็งน้อย

5. มีโอกาสที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไปได้ 6. ผลิตภัณฑ์มีกำไรขั้นต้นสูง

7.         คนกลางให้ความร่วมมือในการช่วยกระจายผลิตภัณฑ์

8.         ผลิตภัณฑ์มีจินตภาพดี          9. ธุรกิจมีความสามารถในการจัดการ

30.      ทำไมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในท้องตลาดจึงมีขนาดของบรรจุภัณฑ์เฉพาะของตัวเอง

(1) เป็นความพอใจของนักการตลาด   (2) ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยการบริโภค

(3)       ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร       (4) ขึ้นอยู่กับอัตราการขาย      (5) ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า

ตอบ 2 หน้า 266 การกำหนดขนาดของการหีบห่อ (บรรจุภัณฑ์) มีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงอยู่ 2 ประการ คือ 1. ขนาดของหน่วยที่ใช้บริโภค 2. อัตราการบริโภค

31.       ข้อใดที่เกี่ยวข้องกับการตลาดมากที่สุด         

(1) การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ

(2)       การลงทุนอย่างประหยัด        

(3) การขายสินค้าตามที่ลูกค้าพอใจ

(4)       การจัดการบุคลากรอย่างเหมาะสม    

(5) การบันทึกข้อมูลอย่างมีระบบ

ตอบ 3 หน้า 4-5 การตลาด หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าและหรือบริการจากผู้ผลิตไปยัง ผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยผ่านคนกลางหรือไม่ก็ได้ เพื่อมุ่งตอบสนองความพอใจและความ ต้องการของลูกค้า โดยอาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาด ในกรณีที่เป็นการผลิตสินค้านั้น จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือลักษณะของสินค้า ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ทางการตลาดแต่ประการใด แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการนำสินค้าออกสู่ตลาดโดยผ่านขั้นตอน ของกิจกรรมการตลาด ก็ถือว่าเป็นเรื่องของการตลาด

32.       บทบาทสำคัญของการตลาดที่มีต่อระบบธุรกิจได้แก่ข้อใด

(1) ช่วยให้ฝ่ายการตลาดเจริญเติบโต 

(2) ช่วยให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพ

(3)       ช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ          

(4) ช่วยให้สินค้าถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ

(5)       ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 4 หน้า 4-6, (ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ) ในปัจจุบันการตลาดจะทำให้เกิดการซื้อขาย แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตหรือผู้ขายกับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างแหล่งเสนอขายกับความต้องการ โดยจะผ่านคนกลางหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการตลาดจึงช่วยให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกิจกรรม ทางการตลาดซึ่งประกอบด้วยส่วนประสมทางการตลาด (การวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การกำหนดราคา ช่องทางการตลาด แสะการส่งเสริมการตลาด) การวิจัยตลาด และอื่น ๆ

33.       ข้อใดที่เป็นเรื่องของการตลาดที่มุ่งหรือให้ความสำคัญแก่สังคม

(1) การใช้ทรัพยากรในการผลิตอย่างประหยัด           (2) การให้เงินช่วยเหลือแก่สังคม

(3) การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพในการใช้          (4) การละเว้นการทำลายสภาพแวดล้อม

(5) ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 17 แนวความคิดการตลาดมุ่งสังคมมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.         เพื่อตอบสนองความพอใจของผู้บริโภค

2.         เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพของชีวิต

3.         เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย

4.         เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

5.         เพื่อตอบสนองความพอใจของสังคม

34.       การตลาดทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกได้แก่ข้อใด

(1) การจัดมาตรฐานของสินค้า            (2) การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน

(3) การลดขั้นตอนการทำงาน  (4) การเพิ่มคนกลางในอนาคต

(5) การวิจัยหาข้อมูลในตลาด

ตอบ 1 หน้า8-9, 11 หน้าที่ทางการตลาดในด้านการอำนวยความสะดวกประกอบด้วย หน้าที่ในการจัดมาตรฐานของสินค้า ข้อมูลข่าวสาร การเสี่ยงภัย และการเงิน

35.       แนวความคิดทางผลิตภัณฑ์จะมุ่งเน้นในประเด็นใด

(1) ความพอใจของผู้บริโภค

(2) ความต้องการของผู้บริโภค            (3) การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

(4) การขยายตัวของกิจการ     (5) การเก็บข้อมูลทางการผลิต

ตอบ 3 หน้า 14 แนวความคิดทางผลิตภัณฑ์จะมุ่งเน้นที่การบริหาร โดยสมมุติว่าผู้บริโภคพอใจ ผลิตภัณฑ์ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ดังนั้นธุรกิจจึงสนใจที่จะปรับปรุงคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก

36.       ลักษณะทางประชากรที่สำคัญของผู้บริโภคได้แก่ข้อใด

(1) สถานะการแต่งงาน           (2) อาชีพของผู้บริโภค (3) แหล่งที่อยู่อาศัย

(4) การศึกษาของผู้บริโภค      (5) ที่กล่าวมาทั้งหมด

ตอบ 5 หน้า 127, 129 – 131 ลักษณะทางประชากรของตลาดผู้บริโภคที่สำคัญ ได้แก่ จำนวน

ประชากร แหล่งที่พักอาลัย การเคลื่อนย้ายประชากร รายได้และรายจ่ายของผู้บริโภค อาชีพ การศึกษา และสถานะการแต่งงาน

37.       นักการตลาดมองการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคออกมาในลักษณะใด

(1) ความประหยัด       (2) ความพอใจ            (3) ความสวยงาม

(4) ราคาถูก     (5) ผิดทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 132 – 133 นักการตลาดได้ตั้งข้อสมมุติฐานว่าผู้บริโภคเป็นบุคคลที่คำนึงถึงความพอใจ โดยเลือกที่จะซื้อสินค้าในรูปของต้นทุนที่เสียไปและผลได้ที่ได้รับ เพื่อต้องการอรรถประโยชน์ หรือความพึงพอใจให้มากที่สุด ในขณะที่ได้ใช้จ่ายเงินและเวลาที่มีอย่างจำกัด ดังนั้นนักการตลาด จะเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ประชากรเมื่อต้องการคาดคะเนพฤติกรรมผู้บริโภค

38.       ปัญหาของผู้บริโภคที่จะต้องแก้ไขนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

(1) การเรียนรู้  (2) การยอมรับ            (3) ความเสี่ยง

(4) การตอบสนองความต้องการ         (5) สภาพแวดล้อม

ตอบ 4 หน้า 133 – 134 ผู้บริโภค คือ ผู้ที่แก้ปัญหาซึ่งได้รับการกระตุ้นจากความต้องการหรือ แรงขับ ซึ่งความต้องการที่ไม่สามารถตอบสนองความพอใจได้จะนำไปสู่ความตึงเครียด และปรารถนาที่จะแก้ปัญหาต่อไป ทั้งนี้ผู้บริโภคจะใช้กระบวนการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน เพื่อหาทางที่จะตอบสนองความต้องการของตน

39.       แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ในการซื้อรถยนต์ได้แก่ข้อใด

(1) การให้บริการหลังการขาย (2) การลดราคาสินค้า (3) การประหยัดน้ำมัน

(4) รูปแบบสวยงาม     (5) อายุการใช้งานนาน

ตอบ 4 หน้า 140 – 141 แรงจูงใจทางด้านอารมณ์ มีลักษณะดังนี้

1. การสร้างความพอใจให้กับความรู้สึกของประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การซื้อรถยนต์โดยพิจารณา จากรูปแบบ สี สไตล์ ฯลฯ     2. การรักษาสถานภาพ 3. ความกลัว

4. ความเพลิดเพลินหรือการพักผ่อน 5. ความภูมิใจ    6. การเลียนแบบผู้มีชื่อเสียง

7. การเข้าสังคม           8. การดิ้นรน    9. ความอยากรู้อยากเห็น

(ส่วนการให้บริการหลังการขาย อายุการใช้งาน การประหยัดน้ำมัน และราคา ถือว่าเป็นแรงจูงใจ ทางด้านเหตุผล)

40.       ข้อใดที่เป็นเรื่องของอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรม       

(1) การซื้อสินค้าราคาถูก

(2)       การซื้อสินค้าตามเพื่อน           (3) การซื้อสินค้าตามค่านิยม

(4) การซื้อสินค้าตามความพอใจ         (5) การซื้อสินค้าตามความสะดวก

ตอบ 3 หน้า 142 – 145 ปัจจัยทางสังคมที่มิอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้แก่

1.         ครอบครัว ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคมากที่สุด 2. กลุ่มอ้างอิง 3. ผู้นำทางความคิด   4. ชั้นสังคม 5.วัฒนธรรม ประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม และ

ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น อาคารบ้านเรือน รูปแบบของสินค้า ฯลๆ ส่วนวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม เช่น คาสนา ลัทธิต่าง ๆ ฯลฯ

41.       ข้อใดหมายถึงพ่อค้าคนกลาง

(1) Reseller Middlemen    

(2) Merchant Middlemen

(3)       Agent Middlemen  

(4) Direct Middlemen       

(5) Facilitators

ตอบ 2 หน้า 329 พ่อค้าคนกลาง (Merchant Middlemen) คือ ผู้ที่ดำเนินกิจการทางการค้าปลีก และการค้าส่ง ซึ่งพ่อค้าคนกลางจะทำหน้าที่ต่าง ๆ ทางการตลาดเพื่อให้สินค้าเคลื่อนย้ายจาก ผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคหรือสถาบันทางการผลิต

42.       Action-Oriented Framework หรือทีเรียกว่า AIDA Model เป็นโมเดลที่แสดงการตอบสนองของ ผู้ที่รับข่าวสาร มีลำดับขั้นตอนอย่างไร

(1)       การรับรู้ (Awareness), ความสนใจ (Interest), การตัดสินใจ (Decision), ความตั้งใจ (Attention)

(2)       การรับรู้ (Awareness), ความสนใจ (Interest), การตัดสินใจ (Decision), การรับรู้ (Awareness)

(3)       ความตั้งใจ (Attention), ความสนใจ (Interest), การตัดสินใจ (Decision), การปฏิบัติ (Action)

(4)       ความตั้งใจ (Attention), ความสนใจ (Interest), ความต้องการ (Desire), การรับรู้ (Awareness)

(5)       ความตั้งใจ (Attention), ความสนใจ (Interest), ความต้องการ (Desire), การปฏิบัติ (Action)

ตอบ 5 หน้า 360, 364 โครงสร้างของการกระทำ (Action-Oriented Framework) หรือที่เรียกวา “AIDA Model” เป็นโมเดลที่แสดงการตอบสนองของผู้รับข่าวสารซึ่งมีลำดับขั้นตอน อันได้แก่ ความตั้งใจ (Attention), ความสนใจ (Interest), ความต้องการ (Desire) และการปฏิบัติ (Action)

43.       รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้ากับขับเคลื่อนล้อหลัง จัดว่าเป็นการแข่งขันแบบใด

(1) การแข่งขันในตราสินค้า     

(2) การแข่งขันแบบทั่วไป

(3) การแข่งขันทางด้านคุณภาพ          

(4) การแข่งขันในรูปแบบของสินค้า

(5) การแข่งขันในรูปแบบกิจการ

ตอบ 4 หน้า 39, (คำบรรยาย) ลักษณะของการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.         การแข่งขันแบบทั่วไป (Generic Competition) เป็นการแข่งขันระหว่างผลิตภัณฑ์คนละชนิด ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เช่น กางเกงกับกระโปรง แก๊สกับน้ำมัน ฯลฯ

2.         การแข่งขันในรูปแบบของสินค้า (Product Form Competition) เป็นการแข่งขันระหว่าง สินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีรูปแบบของสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้ากับ ขับเคลื่อนล้อหลัง รถยนต์ 4 เกียร์กับรถยนต์ 5 เกียร์ ฯลฯ

3.         การแช่งขันในรูปแบบของกิจการ (Enterprise Competition) เป็นการแข่งขันในตราสินค้า ของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกับ เช่น น้ำอัดลมยี่ห้อโค้กกับเป็ปซี่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า กับไวไว ฯลฯ

44.       ขั้นตอนของวงจรชีวิตทีผลิตภัณฑ์นั้นกำลังเผชิญอยู่ในขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (เจ็บ) จะเลือกใช้กลยุทธ์ การส่งเสริมการตลาดเน้นที่จุดใด

(1)       ความคิดใหม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด    (2) ตราสินค้าของเราดีที่สุด

(3)       ตราสินค้าของเราดีกว่าจริง ๆ   (4) ค้นหาบุคคลที่ต้องการสินค้าของเรา

(5) เร่งเร้าให้เกิดความต้องการเลือกสรร

ตอบ 3 หน้า 371 – 372 การเลือกใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างกันในแต่ละขั้นตอน ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ มีดังนี้

1.         ขั้นแนะนำ (เกิด) จะเลือกใช้กลยุทธ์ ความคิดใหม่เป็นสิ่งที่ดี

2.         ขั้นเจริญเติบโต (แก) จะเลือกใช้กลยุทธ์ ตราสินค้าของเราดีที่สุด  

3.         ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่ (เจ็บ) จะเลือกใช้กลยุทธ์ ตราสินค้าของเราดีกว่าจริง ๆ

4.         ขั้นยอดขายลดลง (ตาย) จะเลือกใช้กลยุทธ์ ค้นหาบุคคลที่ต้องการสินค้าของเรา

 45.       ระยะแรกที่ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด เรียกว่าอะไร

(1) First Campaign     (2) Zone Campaign   (3) Lunching Period

(4)       Product Period         (5) First Product

ตอบ 3 หน้า 389 Launching Period หมายถึง ระยะแรกที่ผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด

46.       วิจัยเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ในการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัดสินใจโฆษณา อีกทั้งทำการประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ต้องใช้ในการโฆษณา คือวิธีใดดังต่อไปนี้

(1) The Task-Method Approach        (2) Competitive-Parity Approach

(3) Fixed-Sum-Per-Unit Approach    (4) Percentage of Sales Approach

(5)       Available-Funds Approach

ตอบ 1 หน้า 395 วิธีจัดทำงบประมาณการโฆษณาที่กำหนดจากงาน (The Task-Method Approach) มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.         วิจัยเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

2.         กำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการโฆษณาให้ชัดแจ้ง

3.         ตัดสินใจกำหนดงานการโฆษณาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

4.         ประมาณค่าใช้จ่ายและงบประมาณที่ต้องใช้ในการโฆษณา

47.       เกณฑ์การพิจารณาความสามารถเข้าถึงของผู้ชมเป้าหมายที่ไม่ซ้ำซ้อนกันและโอกาสในการรับชม หมายถึงข้อใด

(1)       The Cost-Per-Thousand Criterion (CPT) = RP – Reach X Frequency

(2)       The Cash-Per-Thousand Criterion (CPT) = RP = Reach X Frequency

(3)       The Cost-Per-Thousand (CPT) = RP = Reach X Frequency

(4)       Gross Rating Points Per-Thousand (GRF) = RP = Reach X Frequency

(5)       Gross Rating Points (GRP) – RP = Reach X Frequency

ตอบ 5 หน้า 413 Gross Rating Points (GRP) หมายถึง เกณฑ์พิจารณาความสามารถเข้าถึงของ ผู้ชมเป้าหมายที่ไม่ซ้ำช้อนกันและโอกาส (จำนวนครั้ง) ในการรับชม ซึ่งมีสูตรในการคำนวณ คือ Rating Points (RP) = Reach X Frequency

48.       วิธีการส่งเสริมการขายวิธีใดเหมาะสมสำหรับสินค้าที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และสินค้าถูกควบคุมราคา

(1)       การคืนเงิน       (2) แจกของแถม          (3) ลดราคาพิเศษ

(4) การให้ตัวอย่างสินค้า         (5) การให้บัตรส่งเสริมการขาย

ตอบ 2 หน้า 428 การแจกของแถม (Premium) คือ การให้สินค้าอีกอย่างหนึ่งเป็นของแถมแก่ผู้ซื้อ ผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อจูงใจให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของบริษัทเพิ่มขึ้น การส่งเสริมการขาย ด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับสินค้าที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เป็นสินค้าที่ถูกควบคุมราคา และ เป็นสินค้าที่มีชื่อเรียกติดปากผู้บริโภคดีอยู่แล้ว แต่ไม่ควรนำมาใช้กับสินค้าออกใหม่ที่เพิ่งวางขาย ในตลาด เพราะจะทำให้ผู้บริโภคมองข้ามคุณภาพที่แท้จริงของสินค้าได้

49.       วิธีการขายสินค้าควบคู่อย่างเช่น ยาสระผมและครีมนวดผมแพคเป็นหีบห่อเดียวกัน และทำการลดราคา เมื่อคิดราคาต่อชิ้นราคาจะลดลง หมายถึงการส่งเสริมการขายแบบใด

(1)       Buying Allowance  (2) Coupons      (3) Price Packs

(4) Trading Stamp     (5) Premium

ตอบ 3 หน้า 427 – 428 การลดราคาพิเศษด้วยการขายสินค้าควบคู่กันมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ สินค้า หลายชนิดบรรจุในหีบห่อเดียวกันสินค้าชนิดเดียวกันบรรจุในจำนวนมากขึ้น เพื่อการขายครั้งละ มาก ๆ หรือลดราคาพิเศษสำหรับสินค้าเดียวซึ่งเป็นการขายต่ำกว่าราคาจริง (Price Packs) เช่น ขายยาสีพันควบคู่กับแปรงสีฟัน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้ผลถ้านำไปใช้กับสินค้าออกใหม่ที่เพิ่งเริ่ม วางตลาด แต่มีข้อควรระวังคือ ไม่ควรลดราคาบ่อยและนานเกินไป เพราะอาจทำให้ภาพพจน์ ของตราสินค้าเสียไปได้

50.       จุดประสงค์ของการส่งเสริมการขาย คืออะไร

(1) Communication / Incentive / Invitation

(2)       Communication / Incentive / Selling     (3) Incentive / Invitation / Selling

(4) Distribution / Selling / Communication      (5) Distribution / Incentive / Invitation

ตอบ 1 หน้า 439 จุดประสงค์ของการส่งเสริมการขาย มี 3 ประเด็น คือ

1.         ใช้ติดต่อสื่อสาร (Communication)

2.         ใช้เป็นสิ่งจูงใจ (Incentive)

3. ใช้เป็นสิ่งเชื้อเชิญ (Invitation) ให้มีการแลกเปลี่ยนหรือทำให้ผู้บริโภครีบตัดสินใจซื้อ รวดเร็วขึ้น

51.       ส่วนประสมของการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) ได้แก่ข้อใด

(1)       การแจกของแถม ชิงโชค แจกคูปอง

(2)       การแสดงสินค้า หีบห่อ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย

(3)       การส่งเสริมการขายไปยังผู้บริโภค พ่อค้าคนกลาง และพนักงานขาย

(4)       การโฆษณา การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การเผยแพร่ข่าวสาร

(5)       การแสดงสินค้า ณ จุดขาย การส่งชิงโชค ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย

ตอบ 4 หน้า 370 ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotion Mix) หมายถึง การนำรูปแบบ ของการส่งเสริมการตลาด อันได้แก่ การโฆษณา การใช้พนักงานขาย การส่งเสริมการขาย และการเผยแพร่ข่าวสาร มาใช้ร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์อันเดียวกัน

52.       บริษัทมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคบของรัฐบาลอย่างไรบ้าง

(1)       เพิ่มนักลงทุนของบริษัท           

(2) เพิ่มนักกฎหมายของบริษัท

(3)       เพิ่มอัตราพนักงานภายในบริษัท          

(4) ต้องคำนึงถึงข้อเรียกร้องของรัฐบาล

(5) ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบมากขึ้น

ตอบ 2 หน้า 42 – 43 ในปัจจุบันรัฐบาลได้ออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อเข้ามาแทรกแซงนโยบาย ทางการตลาดของบริษัทต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ซึงบริษัทจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อมาตรการดังกล่าว ใน 3 ลักษณะ คือ

1.         เพิ่มนักกฎหมายของบริษัทเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

2.         จัดตั้งแผนกรัฐบาลสัมพันธ์เพื่อติดต่อกับรัฐบาล

3.         ร่วมมือกับบริษัทอื่นในสมาคมการค้าเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

53.       ข้อใดคือสาเหตุภายในที่ทำให้การสงเสริมการขายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

(1)       ภาวะที่เศรษฐกิจมีเงินเฟ้อและเงินผฝืด

(2)       คู่แข่งขันหันมาสนใจการส่งเสริมการขายมากขึ้น

(3)       แรงกดดันทางการค้าทำให้ผู้ผลิตพยายามเพิ่มคนกลางมากขึ้น

(4)       ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีตราสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสรรมากขึ้น

(5)       ผู้บริหารระดับสูงยอมรับว่าการส่งเสริมการขายช่วยเร่งเร้าให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิผล

ตอบ 5 หน้า 438 สาเหตุภายในที่ทำให้การส่งเสริมการขายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีดังนี้

1. ผู้บริหารระดับสูงยอมรับว่าการส่งเสริมการขายช่วยเร่งเร้าให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิผล  2. ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ต้องการใช้เครื่องมือการส่งเสริมการขายมากขึ้น 3. ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ได้รับแรงกดดันให้ขายสินค้าให้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

54.       สินค้าอุปโภคบริโภคควรมีการส่งเสริมการตลาดแบบใด

(1)       การใช้พนักงานขาย การติดต่อทางไปรษณีย์

(2)       การโฆษณา การใช้แค็ตตาล็อก

(3)       การใช้หีบห่อ การโฆษณา การติดต่อทางไปรษณีย์

(4)       การลดราคา การใช้ของแถม การแจกแสตมป์ทางการค้า

(5)       การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การใช้พนักงานขาย

ตอบ 5 หน้า 370, 374, 376 สินค้าอุปโภคบริโภคควรใช้การส่งเสริมการตลาดใน 3 รูปแบบร่วมกัน คือ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการใช้พนักงานขาย โดยการโฆษณาจะช่วยเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและกิจกรรมการส่งเสริมการขายของผู้ผลิตแต่ละรายไปยังมวลชน เป็นจำนวนมากได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และหากสินค้าบางชนิด เช่น เครื่องสำอาง ยา ฯลฯ ที่ต้องมีผู้แนะนำวิธีการใช้ ก็จำเป็นต้องอาศัยพนักงานขายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนั้น โดยเฉพาะเป็นผู้ให้ข้อมูล

 

ข้อ 55. – 60. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงาน    (2) สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการแข่งขัน

(3) สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกลุ่มสาธารณชน        (4) สิ่งแวดล้อมทางประชากรศาสตร์

(5) สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

 

55.       บริษัทผู้ผลิตนมกล่องออกผลิตภัณฑ์หลายชนิดและหลายชื่อ เพื่อขายให้แก่ตลาดกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ คนสูงอายุ และสำหรบคนท้อง โดยใช้ส่วนประสมการตลาดและการส่งเสริมการขายแตกต่างกัน การคำนึงถึง ตลาด” เป็นสิ่งแวดล้อมใด

ตอบ1 หน้า 34 – 37 สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับงาน ประกอบด้วยสถาบันตาง ๆ ที่สัมพันธ์กันเพื่อเพิ่มมูลค่า ทางการตลาด อันได้แก่ ผู้ขายวัตถุดิบ คนกลางทางการตลาด และตลาด

56.       ครั้งแรกของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ รับสิทธิประโยชน์เมื่อสมัครบัตรเดบิต ฟรี…ค่าธรรมเนียมจ่ายบิล 5 บิล/เดือน ฟรี…ถอนเงินสดจากเครื่อง ATM ทุกตู้ทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ฟรี…สอบถามยอดจาก เครื่อง ATM ทุกตู้ทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมใด

ตอบ 2 หน้า 37 – 39, 578 – 579 สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการแข่งขัน ประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ

ที่แข่งขันกับบริษัทเพื่อแย่งชิงลูกค้าและทรัพยากรที่หายาก ซึ่งหนทางที่ดีที่สุดที่จะเอาชนะ คู่แข่งขันได้ต้องมุ่งไปที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ธุรกิจยังต้องสร้าง ลักษณะพิเศษเฉพาะของตนให้ต่างจากคู่แข่งขัน และชี้ให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความแตกต่างนั้น ในใจของผู้บริโภคเช่นความแตกต่างในเรื่องของคุณภาพราคาการให้บริการต่างๆ ฯลฯ

57.ธุรกิจได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างชื่อเสียงและภาพพจน์ของธุรกิจในรูปแบบการแจกทุนการศึกษาการสร้างภาพยนตร์โฆษณาเพื่อรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อม การบริจาคสมทบทุนมูลนิธิต่าง ๆเพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีทัศนคติที่ดีต่อสินค้าและบริการของบริษัท การที่ธุรกิจดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเพราะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมใด

ตอบ 3 หน้า 40 ในปัจจุบันธุรกิจต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกลุ่มสาธารณชนมากขึ้น และพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเหล่านี้โดยได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างภาพพจน์และค่านิยมที่ดีของธุรกิจในสายตาของสาธารณชน เช่น การแจกทุนการศึกษาการสร้างภาพยนตร์โฆษณาเพื่อรณรงค์การรักษาความสะอาด การประหยัดพลังงานการบริจาคสมทบทุนมูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น

58.กลุ่มสถาบันการเงิน สื่อมวลชน รัฐบาล กลุ่มทีมีปฏิกิริยา กลุ่มชนในท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปจัดอยู่ในสิ่งแวดล้อมใด

ตอบ 3 หน้า 40 – 44 สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับกลุ่มสาธารณชน หมายถึง กลุ่มที่มีความสนใจเฝ้ามองและพยายามสร้างกฎข้อบังคับกิจกรรมขององค์การ กลุ่มนี้จึงมีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การเป็นอย่างยิ่ง โดยกลุ่มสาธารณชนประกอบด้วย กลุ่มสถาบันการเงิน สื่อมวลชนรัฐบาล กลุ่มทีมีปฏิกิริยา กลุ่มชนในท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป

59.บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เดิมผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก แต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยอัตราการเกิดลดลง เนื่องจากผลของการวางแผนครอบครัว ภาวะเศรษฐกิจทำให้ครอบครัวต่าง ๆนิยมมีบุตรน้อยลง จึงได้เปลี่ยนนโยบายที่จะมุ่งเฉพาะตลาดเด็กหันมาสนใจกลุ่มลูกค้าอื่น ๆ มากขึ้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแวดล้อมแบบใด

ตอบ 4 หน้า 44 – 48 สิ่งแวดล้อมทางประชากรศาสตร์ เป็นสิ่งแวดล้อมมหภาคที่นักการตลาดให้ความสนใจมาก เพราะประชากรจะก่อให้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยสิ่งที่นักการตลาดสนใจ เช่น ขนาดของประชากร การกระจายของประชากรตามเขตภูมิศาสตร์ ความหนาแน่นของประชากร การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ อัตราการเกิดและการตาย ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่มี ผลต่อการวางแผนการตลาด

60.       นักการตลาดจะต้องคำนึงถึงอัตราการเจริญเติบโตของระดับรายได้ที่แท้จริงลดลง แม้ว่ารายได้ที่เป็นตัวเงิน จะเพิ่มขึ้น แรงผลักดันของภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น รูปแบบการออมและการก่อหนี้เปลี่ยนแปลงไป มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภคและการใช้จ่ายของผู้บริโภคเมื่อประชากรมีรายได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมใด

ตอบ 5 หน้า 48 – 50 สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่นักการตลาดจะต้องสนใจ มีดังนี้

1.         อัตราการเจริญเติบโตของระดับรายได้ที่แท้จริงลดลง แม้ว่ารายได้ที่เป็นตัวเงินจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเกิดภาวะเงินเฟ้อ คนว่างงาน อัตราภาษีสูงขึ้น เป็นต้น

2.         แรงผลักดันของภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น

3.         รูปแบบของการออมและการก่อหนี้เปลี่ยนแปลงไป

4.         มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริโภคและการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ข้อ 61.-65. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม 

(1)ประชากรการวิจัย (2)ข้อมูลสำเร็จ (3)ตัวอย่าง (4) ตัวแปรการวิจัย (5) กรอบตัวอย่าง

61.       หน่วยทั้งหมดที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา

ตอบ 1 หน้า 121 ประชากรการวิจัย (Research Population) หมายถึง หน่วยทั้งหมดซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ที่ผู้วิจัยสนใจจะศึกษาวิจัย ซึ่งอาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่ผู้วิจัยต้องเก็บข้อมูลมาใช้ในการทำวิจัย

62.       รายขื่อ ตำบลที่อยู่ และแผนที่แสดงอาณาเขตของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการค้นคว้า

ตอบ 5 หน้า 122, (คำบรรยาย) กรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) หมายถึง รายชื่อหน่วยตัวอย่าง พร้อมตำบลที่อยู่ และแผนที่แสดงอาณาเขตของกลุ่มตัวอย่างในขอบข่ายที่ผู้วิจัยต้องการที่จะ ทำการศึกษาค้นคว้า ดังนั้นประโยชน์หลักของการกำหนดกรอบตัวอย่างก็คือ การป้องกัน ความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง

63.       ข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

ตอบ 2 หน้า 122, (คำบรรยาย) ข้อมูลที่ใช้สำหรับการวิจัยตลาด มี 2 ประเภท คือ

1.         ข้อมูลเบื้องต้นหรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจาก แหล่งกำเนิดของข้อมูลโดยตรง และเป็นข้อมูลที่ไม่เคยมีใครเคยเก็บรวบรวมมาก่อน ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การทดสอบ การทดลอง การสำมะโนและการสำรวจ

2.         ข้อมูลสำเร็จหรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้าได้จากเอกสารและตำราต่าง ๆ

64.       ลักษณะหรือคุณสมบัติ อาการกิริยาต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 122 ตัวแปรการวิจัย (Variable) หมายถึง ลักษณะ คุณสมบัติ หรืออาการกิริยา ของหน่วยตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน

65.       หน่วยของประชากรการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกเป็นตัวแทนของหน่วยประชากรทั้งหมด

ตอบ 3 หน้า 122 ตัวอย่าง (Sampling) หมายถึง หน่วยของประชากรการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือก มาเป็นตัวแทนของหน่วยประชากรทั้งหมด

66.       ข้อใดให้ความหมายของการค้าส่งที่ถูกต้องที่สุด

(1)       การขายสิบค้าหรือบริการในปริมาณมาก ๆ และราคาต่ำ

(2)       การขายสินค้าและบริการให้กับผู้ซื้อสินค้าเพื่อไว้ขายต่อ

(3)       การขายสินค้าและบริการให้กับคนกลางในการจัดจำหน่าย  

(4)       องค์การที่มีการขายสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายและจำนวนมาก

(5)       การรับซื้อสินค้าและบริการปริมาณมาก ๆ จากผู้ผลิตโดยตรง

ตอบ 2 หน้า 342, 345 การค้าส่ง หมายถึง กิจกรรมการขายสินค้าและบริการทุกชนิดให้กับผู้ที่ซื้อ สินค้าไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการขายต่อ หรือซื้อไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ดังนั้นผู้ค้าส่งอาจจะ เป็นผู้ที่ขายสินค้าให้กับพ่อค้าปลีก ซึ่งพอค้าปลีกจะซื้อไปเพื่อขายให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย อีกต่อหนึ่ง หรืออาจจะเป็นผู้ที่ขายสินค้าให้กับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ซื้อไปเพื่อใช้ ในการประกอบกิจการการผลิต

67.       ข้อใดคือลักษณะของผู้ค้าส่งที่ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าขายส่ง

(1)       เป็นผู้ค้าส่งกลุ่มใหญ่ที่สุดในระบบค้าส่งและมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า 

(2)       เป็นผู้ค้าส่งที่ทำหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ ให้กับลูกค้า เช่น ขนส่งสินค้า ให้เครดิตลูกค้า

(3)       เป็นผู้ค้าส่งที่ทำการขายสินค้าโดยไม่ได้เข้าไปครอบครองสินค้าที่ขาย เพียงซื้อมาขายไปเท่านั้น

(4)       เป็นผู้ค้าส่งที่ทำหน้าที่ในด้านบริการเกี่ยวกับการขายส่ง เข้าไปเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการซื้อและขาย

(5)       เป็นผู้ค้าส่งที่ได้รับค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทบในการขายสินค้าให้แก่ผู้ผลิต

ตอบ 2 หน้า 345 – 346 ผู้ค้าส่งที่ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าขายส่ง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.         ผู้ค้าส่งที่ไม่จำกัดการให้บริการลูกค้า (Full-service Wholesalers) จะทำหน้าที่ให้บริการ ด้านต่าง ๆ แก่ลูกค้าอย่างมากมาย/เต็มที่ เช่น เก็บรักษาสินค้า ขนส่งสินค้า ส่งมอบสินค้า ให้เครดิตลูกค้า ให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูล เป็นต้น

2.         ผู้ค้าส่งที่จำกัดการให้บริการแก่ลูกค้า (Limited-service Wholesalers) จะทำหน้าที่ ให้บริการแก่ลูกค้าของตนเพียง 1-2 อย่างตามที่ตนถนัดหรือสะดวกที่สุดเท่านั้น ซึ่ง ค่อนข้างจะจำกัดมาก

68.       ข้อใดคือประเภทของผู้ค้าปลีกโดยจำแนกตามลักษณะการประกอบธุรกิจ

(1) ร้านค้าในศูนย์กลางย่านธุรกิจ       (2) การขายปลีกทางไปรษณีย์

(3) ร้านค้าปลีกคลังสินค้า       (4) ร้านสรรพสินค้า

(5) ร้านสินค้าขายตามแค็ตตาล็อก

ตอบ 2 หน้า 331, 335 – 336 การจำแนกประเภทของผู้ค้าปลีกโดยพิจารณาจากลักษณะ การประกอบธุรกิจ เป็นการค้าปลีกที่ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้า (Non-store Retailing)

ซึ่งถือว่าเป็นการขายปลีกทางตรง (Direct Retailing) ประกอบด้วย

1.         การค้าปลีกทางไปรษณีย์และโทรศัพท์ (Telephone and Mail-order Retailing)

2.         การค้าปลีกสินค้าโดยเครื่อง (Automatic Vending)

3.         การค้าปลีกประเภทบริการผู้ซื้อ (Buying Service)

4.         การขายปลีกตามบ้าน (Door to Door Retailing)

69.       ข้อใดคือความสำคัญของการค้าปลีกที่มีต่อผู้ผลิต

(1)       การค้าปลีกช่วยทำหน้าที่แสวงหาสินค้าให้เป็นที่ต้องการของผู้ผลิตและขายให้ผู้บริโภค

(2)       การค้าปลีกช่วยทำหน้าที่ในการจัดแสดงสินค้า

(3)       การค้าปลีกทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างกิจการค้าส่งกับผู้บริโภค

(4)       การค้าปลีกทำหน้าที่แบ่งภาระการเก็บรักษาสินค้าให้แก่ผู้ผลิต

(5)       การค้าปลีกทำหน้าที่เปรียบเสมือนแหล่งรวมสินค้าให้แก่ผู้ผลิต

ตอบ 4 หน้า 330 ความสำคัญของการค้าปลีกต่อผู้ผลิต มีดังนี้

1.         ทำหน้าที่ขายสินค้าให้กับผู้ผลิต 2. ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคให้กับผู้ผลิต 3. ทำหน้าที่แบ่งภาระการเก็บรักษาสินค้าแก่ผู้ผลิต

70.       ข้อใดคือผลกระทบของการตลาดต่อสังคมส่วนรวม

(1)       ทำให้มีการแข่งขันกันซื้อสินค้าเพื่อเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม

(2)       การตลาดทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น

(3)       ทำให้เกิดการกีดกันการแข่งขันจากผู้ผลิตหรือธุรกิจรายอื่น ๆ

(4)       ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายตามความต้องการ

(5)       การตลาดมีผลทำให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น

ตอบ 1 หน้า 625 – 626 คำวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบของการตลาดต่อสังคมส่วนรวม มีดังนี้

1. ทำให้สังคมกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมมากขึ้น นั่นคือ ทำให้มีการแข่งขันกันซื้อสินค้าเพื่อเป็น เครื่องแสดงฐานะทางสังคม   2. ทำให้เกิดความต้องการที่ไม่ถูกต้อง 3. ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าเพื่อสังคมยังมีไม่เพียงพอ 4. ทำให้เกิดความเสื่อมเสียทางวัฒนธรรม

71.       คุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์บริการ คือ

(1) จับต้องไม่ไต้           

(2) แบ่งแยกไม่ได้        

(3) สูญหายได้ง่าย

(4) ถูกเฉพาะข้อ 1 และ 2        

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 หน้า 572 – 575 ลักษณะของบริการ มี 4 ประการ ดังนี้

1.ไม่สามารถจับต้องได้            2.ไม่สามารถแบ่งแยกได้

3. มีลักษณะแตกต่างกันไปไม่คงที่      4. มีลักษณะความต้องการที่สูญเสียได้ง่าย

72.       กิจการร้านค้าปลีกที่มีศูนย์กลางบริหารเพียงแห่งเดียว คือ

(1) Independent Store      

(2) Voluntary Chain Store         

(3) Corporate Chain

(4) Buying Service     

(5) Franchise Store

ตอบ 3 หน้า 337 ร้านค้าปลีกแบบลูกโซ่ (Chain Store หรือ Corporate Chain) เป็นร้านค้าปลีก ที่มีลักษณะดังนี้คือ

1.         มีร้านค้ามากกว่า 2 ร้านขึ้นไป

2.         ร้านค้าทุกร้านจะมีสินค้าไว้ขายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกัน

3.         มีศูนย์กลางการบริหารงานเพียงแห่งเดียว

4.         มีการจัดตกแต่งร้านเหมือนกันทั้งหมดเพื่อสร้างจุดเด่น

5.         การซื้อสินค้ามาเพื่อขาย การกำหนดราคาและนโยบายอื่น ๆ สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้ดำเนินการ

6.         เจ้าของและผู้ควบคุมกิจการเป็นคน ๆ เดียวกัน

73.       ในการทำวิจัยตลาด ถ้าแหล่งข้อมูลที่ท่านต้องเก็บมาเพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์คือร้านค้าปลีก สิ่งที่ท่านควรจะกำหนดเป็นประชากรการวิจัยของท่าน คืออะไร        

(1) ลูกค้า             

(2)   สินค้า   

(3) ร้านค้า        

(4) ผู้ผลิต        

(5) พนักงาน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

74.       ร้าน เซเว่นอีเลเว่น” เป็นร้านค้าปลีกขายสินค้าประเภทใด

(1) สินค้าเปรียบเทียบซื้อ        (2) สินค้าซื้อสะดวก     (3) สินค้าซื้อพิเศษ

(4) สินค้าซื้อแบบไม่คาดคิด     (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 334 ร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience Store) ส่วนใหญ่เป็นร้านค้าค่อนข้างเล็ก มีทำเลที่ตั้งใกล้ที่อยู่อาศัยของลูกค้า สินค้าที่ขายจะมีเฉพาะอย่างที่ขายได้ง่ายซื้อสะดวก แต่จะตั้งราคาขายไว้ค่อนข้างสูง เช่น สินค้าประเภทบุหรี่ เครื่องดื่ม กาแฟ ยาสีฟัน ฯลฯ ตัวอย่างของร้านค้าสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven, Family Mart ฯลฯ

75.       ถ้าท่านทำธุรกิจประเภทโรงแรมและการท่องเที่ยว ท่านควรจะต้องบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นในเรื่องใดให้มากที่สุด

(1) สินค้า         (2) บริการ        (3) ความเชื่อถือ

(4) ความไว้วางใจ        (5) ข้อ 3 และ 4 ถูก

ตอบ 5 หน้า 573 ผู้ประกอบธุรกิจประเภทโรงแรมและการท่องเที่ยวควรดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้น ในเรื่องของความเชื่อถือและความไว้วางใจในบริการที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจ โดยอาจจัดสิ่งบริการ ที่สามารถมองเห็นได้ เช่น มีห้องพักที่สะดวกสบาย ไม่มีเสียงรบกวน มีการจัดอาหารและ เครื่องดื่มที่ดี มีพนักงานต้อนรับสวย ๆ และมีอัธยาศัยดีไว้คอยให้บริการ เป็นต้น

76.       ผู้ค้าส่งที่ขายสินค้ามากประเภทในสายผลิตภัณฑ์เดียวกัน คือ

(1) Limited Function Wholesalers    (2) General Merchandise Wholesalers

(3)       General Line Wholesalers        (4) Service Wholesalers

(5) Specialty Wholesalers

ตอบ 2 หน้า 346, 352 ผู้ค้าส่งสินค้าทั่วไป (General Merchandise Wholesalers) จะขายสินค้า ให้กับผู้ค้าปลีก โดยมีสินค้าไว้ขายหลายประเภทภายในสายผลิตภัณฑ์เดียวกัน

77.       ประชากรการวิจัย (Research Population) คือ

(1) แหล่งข้อมูล            (2) หน่วยแปร  (3) ตัวแปร

(4)       ข้อ 1 และ 2 ถูก           (5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

 

78.       ประโยชน์หลักของการกำหนดกรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) คือ

(1) กำหนดจำนวนตัวอย่าง      (2) กำหนดวิธีการเลือกตัวอย่าง

(3) ป้องกันความคลาดเคลื่อน (4) กำหนดประชากรการวิจัย

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 122, (คำบรรยาย) กรอบตัวอย่าง (Sampling Frame) หมายถึง รายชื่อหน่วยตัวอย่าง พร้อมตำบลที่อยู่ และแผนที่แสดงอาณาเขตของกลุ่มตัวอย่างในขอบข่ายที่ผู้วิจัยต้องการที่จะ ทำการศึกษาค้นคว้า ดังนั้นประโยชน์หลักของการกำหนดกรอบตัวอย่างก็คือ การป้องกัน ความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง

 

79.       สิ่งต่อไปนี้ที่เป็นกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) คือ         

(1) เทสโก้โลตัส          (2) บิ๊กซี            (3) คาร์ฟูร์        (4) เซเว่นอีเลเว่น         (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คำบรรยาย) กิจการค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เป็นรูปแบบของร้านค้าปลีกที่นิยมกันทั่วโลกในปัจจุบัน โดยมีหลักการค้าที่สำคัญ เช่น คิดกำไรขั้นต้นต่ำ สินค้ามีการหมุนเวียนสูง ติดป้ายบอกราคาสินค้าทุกชิ้น จัดระบบร้านให้ลูกค้าเดินชมสินค้าได้โดยไม่มีการบังคับว่า จะต้องซื้อสินค้า ใช้ระบบให้ลูกค้าบริการตนเองและชำระเงินที่ทางออก เป็นต้น ตัวอย่าง ของร้านค้าประเภทนี้ เช่น เทสโก้โลตัสบิ๊กซีคาร์ฟูร์, 7-Eleven เป็นต้น

80.       แหล่งรวมข้อมูลภายในองค์กรธุรกิจ เช่น รายงานการปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ จัดเป็นระบบอะไร ในระบบข่าวสารทางการตลาด

(1) Internal Reports System

(2)       Marketing Research System   (3) Analytical Marketing System

(4)       Marketing Intelligence System        (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 114 – 115 ระบบข่าวสารทางการตลาด ประกอบด้วย 4 ระบบย่อย ได้แก่

1.         ระบบรายงานภายใน (Internal Reports System) เป็นรายงานผลการปฏิบัติงานของ ฝ่ายต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและเป็นประจำ เช่น รายงานเกี่ยวกับ ยอดขาย รายงานการเยี่ยมลูกค้า ฯลฯ

2.         ระบบความชาญฉลาดทางการตลาด (Marketing Intelligence System)

3.         ระบบการวิจัยตลาด (Marketing Research System)

4.         ระบบการวิเคราะห์การตลาด (Analytical Marketing System)

81.       หีบห่อแบบใดคือหีบห่อผู้บริโภค       

(1) หีบห่อทำจากกระดาษ       

(2) หีบห่อชนิดเติม

(3)       หีบห่อเพื่อการรวมสินค้าให้อยู่เป็นกลุ่ม          

(4) กระบะรวมสินค้า   

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2 หน้า 265 – 267 หีบห่อ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1.         หีบห่อผู้บริโภคหรือหีบห่อภายใน เป็นการหีบห่อที่ตัวสินค้า ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาหีบห่อ ให้มีลักษณะที่ดึงดูดใจผู้ซื้อ มีรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า มีสีสัน ลวดลาย และมีรูปร่างของหีบห่อที่สวยงาม สดใส และทำหน้าที่เป็นเสมือนพนักงานขายไปในตัวด้วย เช่น หีบห่อชนิดเติม กระป๋องน้ำอัดลม ขวดน้ำหอม ฯลฯ

2.         หีบห่ออุตสาหกรรมหรือหีบห่อภายนอก เป็นการหีบห่อที่เน้นถึงความสะดวกในการขนส่ง มากกว่าเน้นที่ความดึงดูดใจผู้ซื้อ โดยจะใช้ห่อหีบห่อประเภทแรกอีกทีหนึ่งและจะบรรจุ เป็นปริมาณมาก เช่น กล่องกระดาษแข็งที่ใช้บรรจุผลไม้กระป๋อง ฯลฯ

82.       ข้อใดคือวิธีการของการตลาดเพื่อสังคมโดยใช้การพัฒนาบรรจุหีบห่อเป็นเครื่องมือ

(1) การรีไซเคิลวัสดุนำกลับมาใช้ทำหีบห่อใหม่           

(2) การออกแบบบรรจุหีบห่อให้สวยงามดึงดูดใจ

(3) การโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลดการทิ้งขยะ         

(4) การใช้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าส่งขายต่างประเทศ

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 หน้า 267, (คำบรรยาย) แนวโน้มของการหีบห่อในปัจจุบันนับว่ามีการพัฒนารุดหน้าไป อย่างไม่หยุดยั้ง นับตั้งแต่กรรมวิธีในการผลิตอย่างรวดเร็ว ต้นทุนการผลิตที่ลดลง และการหีบห่อบางอย่างสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้หลังจากที่ใช้สินค้าในหีบห่อหมดแล้ว รวมทั้งการรีไซเคิลวัสดุนำกลับมาใช้ทำหีบห่อใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการของการตลาดเพื่อสังคมโดยใช้การพัฒนาบรรจุหีบห่อเป็นเครื่องมือ

83.       ข้อใดคือตัวอย่างของตราสินค้าร่วม (Family Brand)  

(1) ลีโอ              (2)บรีส          (3) ลีวายส์       (4) เดสินิวส์     (5) ซัมซุง

ตอบ 5 หน้า 271 ตราสินค้าร่วม (Family Brand) คือ ตราสินค้าที่มีสินค้าหลายประเภทเข้ามาใช้ตราเดียวกัน ซึ่งสินค้าหลายชนิดนี้ต่างก็อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียวกัน ทำให้สะดวกในการแนะนำสินค้าใหม่สู่ตลาด เช่น ตราสินค้าซัมซุง (SAMSUNG) จะมีทั้งโทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์มือถือ โน้ตบุ๊ก ฯลฯ

84.       ข้อใดไม่ถูกต้อง

(1)       ตราส่วนตัว (Private Brand) คือ ตราที่ผู้ขายปลีก หรือผู้ขายส่งกำหนดขึ้นเอง

(2)       ตราผู้ผลิต เช่น ปูนตราเสือ เบียร์ตราช้าง

(3)       การใช้ตราสินค้าร่วมทำให้สะดวกในการแนะน้าสินค้าใหม่สู่ตลาด

(4)       การใช้ตราเอกเทศทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริหาร

(5)       ความคุ้นเคยต่อตรามีความสำคัญต่อสินค้าสะดวกซื้ออย่างยิ่ง

ตอบ 4 หน้า 269 – 271 ตราสินค้าเอกเทศ (Individual Brand) เป็นตราสินค้าที่เกิดขึ้นจากการ ที่นักการตลาดไต้กำหนดตราสินค้าตราหนึ่งสำหรับสินค้าอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงทำให้มีตราอยู่ หลายตรา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการบริหารงาน เช่น อาจทำให้ต้นทุนในการส่งเสริม การตลาดสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ตราหลายตราจะช่วยให้เข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดี

85.       ข้อใดแสดงถึงการพัฒนาหีบห่อผู้บริโภค

(1)       การออกแบบสินค้าให้ถอดประกอบได้เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการขนส่ง

(2)       พัฒนาใช้ลังพลาสติกในการขนส่งสินค้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว

(3)       กระป๋องน้ำอัดลมลวดลายใหม่ สวยสดใส น่าสนใจมากขึ้น

(4)       การบรรจุสินค้าที่ขนส่งให้เต็มตู้คอนเทนเนอร์

(5)       การใช้วัสดุกันกระแทกชนิดใหม่ สินค้าปลอดภัยสูงขึ้น

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

86.       ส่วนลดแบบใดที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำกับผู้จำหน่ายรายเดิมได้ดี

(1) ส่วนลดการค้า        (2) ส่วนลดเงินสด        (3) ส่วนลดปริมาณแบบสะสม

(4) ส่วนลดตามฤดูกาล           (5) ส่วนยอมให้

ตอบ 3 หน้า 298 ส่วนลดปริมาณแบบสะสม เป็นส่วนลดที่ผู้ขายให้แก่ผู้ซื้อที่ซื้อสินค้าในปริมาณและ ภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้ซื้อสามารถทยอยซื้อได้ แต่เมื่อรวมปริมาณซื้อทั้งหมดแล้วจะต้อง ได้ตามที่กำหนดไว้ภายในเวลาที่กำหนดด้วย ดังนั้นจึงเป็นส่วนลดทีทำให้เกิดการซื้อซ้ำกับ ผู้จำหน่ายรายเดิมได้ดี หรือทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อร้านค้า

87.       การกำหนดราคาควรคำนึงถึงปัจจัยในข้อใดมากที่สุด

(1)       สิ่งแวดล้อมทางการตลาด ต้นทุน ส่วนประสมการตลาดอื่น

(2)       ลูกค้า ต้นทุน คู่แข่ง     (3) ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

(4) ผลกำไร กฎหมาย การแข่งขัน       (5) ลูกค้า ผลกำไร คู่แข่งขัน สิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 หน้า 280 – 282, (คำบรรยาย) การกำหนดราคาควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1.         สิ่งแวดล้อมทางการตลาด เช่น สภาพเศรษฐกิจ กฎหมาย รัฐบาล คู่แข่งขัน ลูกค้า ฯลฯ

2.         ต้นทุนสินค้าหรือบริการ          3. ส่วนประสมการตลาดอื่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด

88.    ข้อใดแสดงถึงนโยบายราคาในส่วนของระดับราคาที่กิจการจะปฏิบัติ

(1) สินค้าในร้านทุกชิ้นราคาเดียวคือ 99 บาท (2) ราคานาทีทองช่วง 12.00 – 13.00 บ.

(3) ลด Clearance Sale        (4) Loss-Leader Pricing

(5) ร้านค้าสมัยใหม่นิยมใช้ราคาแบบ “Everyday Low Prices”

ตอบ 5 หน้า 282 นโยบายราคาในส่วนที่เกี่ยวกับระดับราคาที่กิจการจะปฏิบัติ มี 3 วิธี ดังนี้

1.      กิจการจะตั้งราคาตามราคาตลาด เพื่อป้องกันการแข่งขันกันลดราคา (Price War)

2.      กิจการจะตั้งราคาต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อให้ได้ส่วนครองตลาดมากขึ้น เช่น ร้านค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) จะนิยมใช้นโยบายราคาแบบ Everyday Low Prices (ราคาต่ำทุกวัน) ฯลฯ

3.      กิจการจะตั้งราคาสูงกว่าราคาตลาด เพื่อแสดงว่าสินค้ามีศักดิ์ศรีเหนือกว่าคู่แข่ง

89.    ข้อใดแสดงถึงแนวคิดการกำหนดราคาโดยมุ่งที่ลูกค้า

(1) ตั้งราคาแบบ Mark up        (2) ตั้งราคาตามคู่แข่งขัน

(3) ตั้งราคาตามการรับรู้คุณค่าสินค้าของลูกค้า        (4) ตั้งราคาเพื่อการประมูล

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 หน้า 292 กลยุทธ์การกำหนดราคาโดยมุ่งที่อุปสงค์ เป็นการแสดงถึงแนวคิดการกำหนด ราคาโดยมุ่งที่ความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจัยที่มีส่วนในการกำหนดราคามี 2 ประการ คือ

1.      การรับรู้ถึงคุณค่าของสินค้าที่ผู้บริโภคคาดว่าจะได้รับ

2.      อุปสงค์หรือความต้องการของผู้ซื้อ (Demand)

90.    ไอศกรีมราคาโคนละ 7 บาท แฮมเบอร์เกอร์ไก่ 19 บาท ของร้านแมคโดนัลด์ จัดเป็นยุทธวิธีราคาข้อใด

(1)    ราคาล่อใจ (Loss-Leader Pricing)    (2) ราคาเชิงระดับ (Price Lining)

(3) ราคาแสดงเกียรติภูมิ       (4) ราคาตามความเคยชิน

(5) ราคามาตรฐาน

ตอบ 1 หน้า 296 การตั้งราคาล่อใจ (Loss-Leader Pricing) เป็นวิธีการตั้งราคาสินค้าใดสินค้าหนึ่ง ให้ตำมากหรือต่ำกว่าทุน เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้าร้านและซื้อสินค้าชนิดอื่นด้วย สินค้าที่ลดราคา ควรเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคยอมรับ มีชื่อเสียง และน่าสนใจ เช่น ยุทธวิธีในการกำหนดราคาของ ร้านอาหาร Fast Food ที่ขายอาหารเป็นชุดประหยัด หรือขายในราคาถูกมาก ๆ เพื่อดึงดูด ให้ลูกค้าเข้าร้าน เป็นต้น

91.    ผู้ขายเฟอร์นิเจอร์มีต้นทุนแปรผันการผลิตตู้เสื้อผ้าตัวละ 1,200 บาท ต้องการกำหนดราคาขายโดยได้รับกำไรร้อยละ 25 จากราคาขาย ควรกำหนดราคาขายตู้ใบละเท่าใด         

(1) 1,500 บาท        

(2)  1,600 บาท  

(3) 1,800 บาท       

(4) 2,000 บาท       

(5) 2,400 บาท

ตอบ 2

92.    จากราคาขายตามข้อ 91. ถ้ามีต้นทุนคงที่ต่อเดือนเท่ากับ 50,000 บาท ต้องขายตู้กี่ตัวต่อเดือนจึงจะคุ้มทุน

(1) 80 ตัว     (2) 100 ตัว    (3) 125 ตัว     (4) 150 ตัว       (5) 160 ตัว

ตอบ 3

93.       สินค้าในข้อใดที่มีการใช้นโยบายราคาแบบตักตวงกำไรในระยะแนะนำ

(1) สินค้านวัตกรรมใหม่           (2)       แชมพูสูตรสมุนไพร      (3)       อาหารแนวชีวจิต

(4) น้ำอัดลมรสชาติใหม่          (5)       เครื่องสำอางมุ่งกลุ่มวัยรุ่น

ตอบ 1 หน้า 294 การตั้งราคาเพื่อตักตวง (Skim the Cream Pricing) คือ การที่ธุรกิจตั้งราคาเริ่มแรกสูงเพื่อให้ได้กำไรสูง ส่วนใหญ่มักขายให้กับส่วนของตลาดที่จำกัด และเหมาะกับผลิตภัณฑ์ ที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายในระดับสูง โดยสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการตั้งราคาสูง ได้แก่

1.         เป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ที่มีความใหม่ต่อตลาดและมีกำลังการผลิตจำกัด

2.         อุปสงค์ของสินค้ามีความยืดหยุ่นต่อราคาน้อย           3. ตลาดมีขนาดเล็ก

4. ลักษณะการแข่งขันเป็นแบบผู้ขายรายเดียว           5. ผู้ผลิตเป็นผู้นำทางด้านราคา

6. ต้องการสร้างภาพพจน์ให้กับสินค้าว่าเป็นสินค้าคุณภาพดี

94.       การตั้งราคาต่ำเพื่อกระตุ้นการขยายตัวของตลาดสำหรับสินค้าใหม่ระยะแนะนำคือข้อใด

(1) ตั้งราคาเพื่อตักตวง            (2)       ตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด            (3)       ตั้งราคาเชิงระดับ

(4) ตั้งราคาให้แลดูน้อยโดยใช้เลขคี่    (5)       ตั้งราคาล่อใจ (Loss-Leader Pricing)

ตอบ 2 หน้า 294 การตั้งราคาเพื่อเจาะตลาด (Penetration Pricing) คือ การที่ธุรกิจตั้งราคาต่ำ เพื่อกระตุ้นให้ตลาดขยายตัว ซึ่งจะทำให้ได้ส่วนครองตลาดเพิ่มขึ้น และเป็นการกำจัดคู่แข่งขัน นอกจากนี้ยังทำเพื่อผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากเพราะก่อให้เกิดการประหยัด ทั้งนี้เนื่องจาก ขนาดการผลิตที่เต็มกำลังความสามารถ จะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง อีกทั้งยังเป็นกลยุทธ์ ในการกำหนดราคาที่เหมาะสมสำหรับสินค้าใหม่ในระยะแนะนำอีกด้วย

95.       ข้อใดคือตราสินค้าระดับชาติและโลก

(1) กระทิงแดง         (2) สิงห์   (3) ช้าง            (4) CPF       (5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (คำบรรยาย) ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่เป็นของคนไทยหลายบริษัทสามารถผลักดัน ตราสินค้าของตนให้เป็นตราสินค้าระดับชาติและระดับโลก เช่น กระทิงแดง (Red Bull)  สิงห์ ช้าง และ CPF (บริษัทในเครือ CP หรือเจริญโภคภัณฑ์) เป็นต้น

96.       ข้อใดคือการกำหนดราคาโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางอุปสงค์ (Demand)

(1) ค่าตั๋วชมละครเวทีแตกต่างกับตามโซนที่นัง           (2) ค่าตั๋วโดยสารเด็กและผู้สูงอายุลด 50% จากปกติ

(3)       ราคาสินค้าที่ขายในต่างประเทศสูงกว่าขายในประเทศ

(4)       ข้อ 1 และ 2 ถูก           (5) ข้อ 2 และ 3 ถูก

ตอบ 1 หน้า 296 – 297 การตั้งราคาโดยคำนึงถึงความแตกต่างของอุปสงค์ หมายถึง สินค้า

ชนิดเดียวกันและมีต้นทุนเท่ากัน แต่ขายในราคาที่แตกต่างกันให้แก่ผู้ซื้อที่มากกว่า 1 กลุ่ม ซึ่งราคาที่แตกต่างกันนี้ก็เนื่องมาจากความแตกต่างที่เกิดขึ้นใน 4 รูปแบบ คือ 1. ทางด้านลูกค้า          2. ทางด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์       3. ทางด้านสถานที่ (เช่น ค่าตั๋ว ชมภาพยนตร์หรือละครเวทีจะแตกต่างกันตามโซนที่นั่ง ฯลฯ) 4. ทางด้านเวลา

97.       ข้อใดจัดเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการทางการตลาด

(1) จัดทำแผนการตลาด          (2) วิเคราะห์โอกาสทางการตลาด

(3) กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด           (4) วางแผนผลิตภัณฑ์

(5) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ตอบ 2 หน้า 88 กระบวนการทางการตลาด มี 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.         การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด       2. การเลือกตลาดเป้าหมาย

3. กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด   4. การพัฒนาระบบบริหารการตลาด

98.       ข้อใดเกี่ยวข้องน้อยที่สุดกับการพัฒนาระบบบริหารการตลาด

(1) การวางแผนการตลาด       (2) การจัดระบบควบคุมทางการตลาด

(3) การจัดโครงสร้างหน่วยงานทางการตลาด (4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

(5) การพัฒนาระบบข้อมูลและการวิจัยตลาด

ตอบ 4 หน้า 102 – 103 การพัฒนาระบบบริหารการตลาด มีงานสำคัญ 3 ประการ คือ

1.         ระบบการวางแผนและควบคุมทางการตลาด

2.         ระบบข้อมูลข่าวสารทางการตลาด

3.         ระบบโครงสร้างองค์การทางการตลาด

ข้อ 99. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Market Penetration     (2) Market Development

(3) Forward Integration    (4) Backward Integration

(5) Diversification Growth

99.       บริษัทได้ทุ่มเทงบประมาณในการส่งเสริมการตลาดสินค้าปัจจุบันของบริษัทเพิ่มขึ้น เพื่อหวังเพิ่มยอดขาย และส่วนครองตลาดในปีนี้ จัดเป็นการใช้กลยุทธ์แบบใด

ตอบ 1 หน้า 86 การแทรกซึมตลาด (Market Penetration) เป็นกลยุทธ์การตลาดเพื่อการเจริญเติบโต แบบ Intensive Growth ซึ่งกิจการทยายามจะเพิ่มยอดขายสินค้าที่มีอยู่แล้วให้ได้ปริมาณ มากขึ้นในตลาดปัจจุบัน โดยทุ่มเทความพยายามทางการตลาดอย่างหนักหน่วงมากขึ้นกว่าเดิม

100.    บริษัทที่เคยทำธุรกิจด้านการค้าปลีกได้ไปลงทุนในกิจการด้านภัตตาคารไทยในต่างประเทศ เนื่องจาก เห็นโอกาสทางการตลาดของธุรกิจเหล่านั้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายครัวไทยสู่ตลาดโลก เป็นการใช้กลยุทธ์การเติบโตแบบใด

ตอบ 5 หน้า 86 – 87 กลยุทธ์เพื่อการเจริญเติบโตแบบ Diversification Growth โดยใช้แนวทางด้าน Conglomerate Diversification เป็นลักษณะการขยายตัวของกิจการโดยการเพิ่มสินค้าใหม่ ที่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับเทคโนโลยีและตลาดปัจจุบันของกิจการเลย โดยจะมุ่งเข้าสู่ ตลาดเป้าหมายกลุ่มใหม่

ข้อ 101. – 102. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ต้องการสินค้า (Wants)          

(2) เข้าพบได้ (Reachability)

(3) อำนาจตัดสินใจ (Authority) 

(4) จ่ายเงินได้ (Ability)

(5) ต้องการเวลาตัดสินใจ (Temporality)

101. โทรศัพท์มือถือขายได้ทุกแหล่งในขณะที่เครื่องดูดฝุ่นใช้ได้บางสถานที่ เป็นเหตุของข้อใด

ตอบ 1 หน้า 472 – 474 คุณสมบัติของลูกค้ามุ่งหวัง (Prospect) มี 5 ประการ ดังนี้

1.      มีความจำเป็นหรือมีความต้องการสินค้า (Wants) นั่นคือ นักขายต้องพิจารณาดูว่า สินค้าของตนเหมาะที่จะขายให้กับลูกค้ากลุ่มใด

2.      มีความสามารถจ่ายเงินได้ (Ability to Purchase) หรือมีอำนาจซื้อ

3.      มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ (Authority)

4.      นักขายสามารถเข้าพบหรือเข้าถึงลูกค้าได้ (Reachability)

5.      มีคุณสมบัติหรือข้อกำหนดเฉพาะครบถ้วน (Eligibility)

102. นักขายต้องเอาชนะอุปสรรคการขายมากกว่าปกติ เป็นเหตุจากข้อใด

ตอบ 4 หน้า 500 – 502,(ดูคำอธิบายข้อ 101.ประกอบ) อุปสรรคในการขายส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก การที่ความต้องการของลูกค้าแต่ละคนไม่มีทีสิ้นสุด แต่อำนาจซื้อหรือความสามารถในการจ่ายเงิน มีอยู่อย่างจำกัด ผู้ซื้อจึงพยายามเลือกสิ่งทีดีที่สุดและเสียผลประโยชน์น้อยที่สุดเสมอ ดังนั้น นักขายจึงต้องเผชิญกับการโต้แย้งหรือข้อเรียกร้องที่บ่ายเบี่ยงไปจากข้อเสนอขายของเขาอยู่เสมอ ทำให้นักขายต้องใช้ความพยายามเพื่อเอาชนะอุปสรรคการขายมากกว่าปกติ

ข้อ 103. – 104. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) อ้างถึง บอกต่อ    (2) จดหมายไปรษณีย์            (3) สาธิตสินค้า

(4) โทรศัพท์   (5) อินเทอร์เน็ต

103. วิธีการใดใช้ร่วมกับการกรอกแบบสอบถามเพิ่มเติมเพื่อเฟ้นหาตัวลูกค้า

ตอบ 2 หน้า 481 – 482 การแสวงหาลูกค้ามุ่งหวังโดยใช้วิธีส่งจดหมายทางไปรษณีย์ไปถึงลูกค้า โดยตรงนั้น มักนิยมนำมาใช้ควบคู่กับการกรอกแบบสอบถามเพิ่มเติม (Inquiry) โดยนักขาย จะส่งคูปองและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไปถึงมือลูกค้าพร้อมกับจดหมายทางไปรษณีย์ และ ให้ตอบกลับมาในใบสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งแสดงว่า ลูกค้าที่กรอกข้อมูลส่งกลับมานั้น เป็นผู้ที่มีความสนใจจริง นักขายก็สามารถรวบรวมชื่อลูกค้าเหล่านี้เข้าเป็นกลุ่มลูกค้ามุ่งหวัง แล้วติดตามไปพบปะได้ในโอกาสอื่นๆ ต่อไป

104. วิธีการใดต้องคำนึงถึงโอกาสและกาลเทศะ จึงจะได้ผลดี

ตอบ 4 หน้า 482 – 483 การแสวงหาลูกค้ามุ่งหวังโดยทางโทรศัพท์ เป็นวิธีที่นักขายเลือกใช้ในการ จำหน่ายสินค้าบางชนิด เช่น การประกันภัย การกำจัดและป้องกันแมลงหรือปลวก ฯลฯ ซึ่งวิธีนี้ จะช่วยให้นักขายประหยัดแรงงานและคำใช้จ่ายในการตระเวนพบเพื่อหว่านการขายของตน ให้กับลูกค้าอย่างไม่มีจุดหมายปลายทางแน่นอน และสามารถทดสอบความสนใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สินค้าได้ดี อย่างไรก็ตาม นักขายจะต้องคำนึงถึงจังหวะเวลาหรือโอกาส ความพร้อมของลูกค้า และความเหมาะสมกับกาลเทศะ จึงจะใช้วิธีนี้อย่างได้ผล

105. การกำหนดวัตถุประสงค์หน่วยขายมีภารกิจแรกคืออะไร

(1) ประเมินจำนวนลูกค้า       (2) ประเมินจำนวนนักขาย

(3) ประเมินความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง           (4) ประเมินเงินทุนดำเนินงาน

(5) ประเมินสถานการณ์แวดล้อมงานขาย

ตอบ 3 หน้า 527 – 528 การกำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงาบขาย เป็นภารกิจประการแรกที่ หน่วยงานขายจะต้องรับผิดชอบ และเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการวางแผนงานขาย โดยทั่วไป วัตถุประสงค์มักเป็นสิ่งที่กิจการระบุไว้สั้น ๆ เพื่อบอกให้รู้ว่า กิจการจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้โดยอาจระบุไว้เป็นปริมาณขาย ส่วนครองตลาด ค่าใช้จ่ายในการขาย คุณภาพของงานขาย ฯลฯ ซึ่งต้องให้มีความชัดเจนมากพอที่จะนำมา กำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไปได้ และต้องสอดคล้องอับวัตถุประสงค์รวมของกิจการนั้นด้วย

106.    ขนาดของหน่วยงานขายพิจารณาจากเรื่องใด          

(1) ทำเลที่ตั้งของสำนักงานขาย

(2)       ภาระงานขายของนักขาย       (3) คุณภาพของนักขาย

(4)       งบประมาณและค่าตอบแทนขาย      (5) ความเสมอภาคในสิทธิการออกปฏิบัติงานขาย

ตอบ 2 หน้า 531 การกำหนดขนาดของหน่วยทบขายอาจใช้ได้หลายวิธี แต่วิธีทีนิยมกันอย่างกว้างขวางก็คือ กำหนดจำนวนพนักงานขายโดยพิจารณาจากภาระงานที่ต้องปฏิบัติ (Work Load) ตาม แนวความคิดของ Walter J. Talley ซึ่งถือหลักการกระจายภาระงานขายให้กับนักขายทุกคน โดยเท่าเทียมกัน

107.    แหล่งของนักขายจากภายในกิจการต้องพิจารณาคุณสมบัตินักขายจากอะไร

(1) ความรู้ความลามารถเฉพาะด้านการขาย   (2) ระยะการเดินทางจากที่พัก

(3)       เงินเดือนเดิมที่เคยได้รับ         (4) ประวัติการศึกษา

(5)       ความประพฤติ

ตอบ 5 หน้า 533 การแสวงหานักขายจากแหล่งภายในกิจการ เป็นวิธีที่กิจการต้องการสนับสนุนนักขายของกิจการให้มีความก้าวหน้าและล่งเสริมให้นักขายมีขวัญกำลังใจทีดีขึ้น วิธีนี้มีข้อดีหลายประการ ได้แก่

1.         นักขายเหล่านี้ต่างก็รู้ถึงนโยบายขอ3กิจการเป็นอย่างดือยู่แล้ว

2.         ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการแสวงหา การคัดเลือก และการฝึกอบรม

3.         ฝ่ายบริหารรู้จักอุปนิสัย ความประพฤติ และประวัติการทำงานของนักขายเหล่านี้ เป็นอย่างดี จึงทำให้ง่ายต่อการคัดเลือกคนตามที่ต้องการ

108.    การฝึกอบรมแบบต่อเนื่อง (Continuous Training) เหมาะกับกรณีใด

(1) นักขายเก่าที่มีผลงานไม่ดี  (2) นักขายใหม่ที่ขาดประสบการณ์

(3) นักขายเก่าที่มีผลงานดีเลิศ            (4) นักขายใหม่ที่มีค่าตอบแทนสูง

(5) นักขายใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในสินค้านั้น

ตอบ 1 หน้า 535 – 536 การฝึกอบรม มี 2 ระยะ ได้แก่

1.         การฝึกอบรมเบื้องต้น (Initial Training) จะให้ความรู้เบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำคัญของนักขาย หน้าใหม่ที่ขาดประสบการณ์หรือยังไม่เคยผ่านงานขายมาก่อน ส่วนใหญ่มักให้ความรู้เกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของบริษัท นโยบายทางการตลาดและการขายเทคนิคการขาย เป็นต้น

2.         การฝึกอบรมแบบต่อเนือง (Continuous Training) มักใช้กับนักขายที่มีประสบการณ์ทาง การขายมาก่อน แต่อาจมีผลงานที่ยังไม่ดีนัก โดยกิจการจะเรียกมาอบรมในส่วนทีต้องการให้รู้ เพิ่มขึ้น หรือการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายที่สำคัญ เช่น นโยบายทางการขาย อาณาเขตขาย เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับการผลิตและตัวสินค้า กลยุทธ์การขายใหม่ ๆ เป็นต้น

109.    ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมการขายมีประโยชน์อย่างไร

(1)       สามารถนัดหมายลูกค้าได้โดยใช้เวลาไม่มาก

(2)       สามารถกล่าวอ้างถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขายได้น่าเชื่อถือ

(3)       ตัดสินใจลดราคาขายตามที่ลูกค้าต่อรองได้ทันที

(4)       จัดงบประมาณขายได้เหมาะกับสถานที่ที่จะไบ่ขาย

(5)       กำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ดี

ตอบ 1 หน้า 488 – 489 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมทางการขาย เป็นสภาวะแวดล้อมที่นักขาย พิจารณาในระหว่างการสร้างส้มพันธภาพทางการขายกับลูกค้าของเขาอย่างถี่ถ้วน เพื่อเตรียมการ ให้พร้อมที่จะเผชิญกับภาวการณ์ขายตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งสภาวะแวดล้อม ทางการขายที่นักขายให้ความสนใจ เช่น ภาวะการแข่งขันในตลาด บรรยากาศในการเจรจา การขาย เวลาและสถานที่ในการนัดหมายกับลูกค้า เป็นต้น

110.    ข้อใดที่เป็นประเด็นสำคัญช่วยให้ปิดการขายได้สำเร็จ         

(1) การสั่งเสนอซื้อจากลูกค้า

(2)       บรรยากาศที่สอดคล้องกับสินค้าชนิดนั้น       (3) ข้อตกลงเรื่องราคาที่ต่อรองได้สิ้นสุดลง

(4)       ร่องรอยจากอาการแสดงออกของลูกค้า         (5) ทดสอบคุณภาพสินค้าให้ปรากฏ

ตอบ 5 หน้า 503 – 505 การสาธิตสินค้า (Demonstration) ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่ช่วยให้นักขาย ปิดการขายได้สำเร็จโดยใช้เวลาไม่นานนัก ทั้งนี้เพราะการสาธิตสินค้าสามารถดึงดูดความสนใจ และความรู้สึกเข้าไปมีส่วนร่วมในงานขายได้ดี โดยลูกค้าสามารถทำความเข้าใจสินค้าที่มี ความซับซ้อนในการใช้งานได้ด้วยการจับต้อง ลูบคลำ สัมผัส ทดลองใช้เพื่อทดสอบคุณภาพ ของสินค้า หรือได้ชมการปฏิบัติงานของสินค้านั้นจริง ๆ ซึ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกแน่ใจในสินค้านั้น และมั่นใจพอที่จะตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าในที่สุด

111.    การติดตามผลภายหลังการขายไม่ได้ระบุไว้ให้เป็นข้อใด

(1)       ขอบคุณที่ยังไม่สั่งซื้อ  

(2) หาทางระบายอารมณ์เสียออกไปก่อน

(3)       แสดงความสนใจในเรื่องของลูกค้าที่ไม่น่าสนใจ        

(4) โทรติดตามลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

(5)       เสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมหลังการขาย

ตอบ 3 หน้า 507 – 508 การติดตามผลภายหลังการขายมีแนวปฏิบัติหลายประการ ดังนี้

1.         ในกรณีที่ลูกค้าปฏิเสธหรือเลื่อนการสั่งซื้อสินค้าออกไป นักขายจะต้องไม่แสดงความขุ่นเคืองใจ หรืออาการใด ๆ ออกมา แต่ยังคงรักษาอาการสุภาพเอาไว้เสมอ

2.         แสดงความขอบคุณที่ลูกค้าสละเวลาให้เข้าพบ

3.         ถ้านักขายเสียอารมณ์มาก ๆ ควรหาทางระบายอารมณ์ให้ผ่องใสเสียก่อน จึงจะเริ่มการขายรายต่อไป

4.         รับข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของลูกค้าไว้พิจารณา

5.         ปรับปรุงการให้บริการต่าง ๆ ของกิจการ

6.         มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

7.         ออกไปเยี่ยมเยียนลูกค้าเป็นระยะ ๆ เพื่อกระชับความส้มพันธ์ระหว่างกัน

112.    โซ่ไม่มีปลายเป็นวิธีหาลูกค้าเหมาะกับแบบใด         

(1)ขายสินค้าในร้านค้าปลีก         

(2)   ขายกับแผงลอย         

(3) ขายบริการ

(4) ขายของผิดกฎหมาย         

(5)ขายสารเคมี

ตอบ 3 หน้า 477 วิธีโซ่ไม่มีปลาย เป็นวิธีที่ทำให้นักขายสามารถหารายชื่อลูกค้าได้เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ราย เมื่อเขาไปพบลูกค้าที่ได้นัดหมายและขอร้องให้ลูกค้าแนะนำชื่อคนอีก 1 คนให้เขาด้วย วิธีนี้เหมาะกับการขายสินค้าประเภทไม่มีตัวตน (Intangible product) หรือขายบริการ เช่น บริการกำจัดปลวก การประกันภัย การอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น

ข้อ 113, – 117. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) การตลาดเป้าหมาย           (2) การตลาดมวลชน

(3) การตลาดผลิตภัณฑ์แตกต่าง        (4) การแบ่งส่วนตลาด

(5) การวางกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด

113.    หลังจากกำหนดตลาดเป้าหมายได้แล้ว นักการตลาดจะดำเนินการใด

ตอบ 5 หน้า 169 หลังจากที่มีการแบ่งตลาดรวมออกเป็นตลาดส่วนย่อย ๆ แล้ว นักการตลาดจะเลือก ตลาดส่วนแบ่งออกมาเพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้น เพื่อกำหนดเป็นตลาดเป้าหมายของกิจการ จากนั้น จะมีการกำหนดตำแหน่ง (Positioning) ของตลาด แล้วจัดวางกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix strategy) สำหรับตลาดนั้น ๆ เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายต่อไป

114.    วิธีการรวบรวมเข้าด้วยกัน Aggregation นำมาใช้สำหรับ

ตอบ 4 หน้า 172 การแบ่งส่วนตลาดเป็นการทำให้ตลาดเป้าหมายของกิจการมีขนาดเล็กลงกว่า ตลาดรวม โดยนักการตลาดจะใช้วิธีการรวมเข้าด้วยกันหรือที่เรียกว่า “Aggregate” ซึ่งจะต้อง พิจารณาเลือกเอาตัวแปรจำนวนหนึ่งที่มีความเหมาะสมกับสินค้าชนิดนั้น ๆ แล้วนำมาใช้เป็น เกณฑ์ในการรวมกลุ่มผู้บริโภคจำนวนหนึ่งเข้ามาไว้ด้วยกัน

115.    การจัดให้มีผลิตภัณฑ์อาหารประเภทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเนื้อ รสต้มยำ และรสพะโล้ข้าวต้มและโจ๊กสำเร็จรูป รสกุ้ง และหมู ซุปน้ำใสรสหอม รสเห็ด และรสข้าวโพด

ตอบ 3 หน้า 168 การตลาดผลิตภัณฑ์แตกต่าง (Product Differentiated Marketing) หมายถึง การดำเนินการตลาดโดยผลิตสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิดที่ได้กำหนดให้มีความแตกต่างไปจาก สินค้าประเภทเดียวกันของคู่แข่งขัน ทั้งในด้านรูปลักษณะ แบบ คุณภาพ ขนาด ความสามารถ ในการปฏิบัติงาน ประโยชน์ใช้สอย และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ เพื่อเสนอโอกาสให้ลูกค้าทั้งมวลเลือกสรรจนเป็นที่พอใจอย่างแท้จริง

116.    การจัดกลุ่มผู้บริโภคที่มีความคล้ายคลึงกันและแตกต่างจากผู้บริโภคในกลุ่มอื่น ๆ

ตอบ 4 หน้า 170 การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) คือ การแบ่งตลาดรวมออกเป็น ส่วนย่อย ๆ โดยตลาดแต่ละส่วนจะประกอบด้วยผู้บริโภคที่มีตัวแปรร่วมที่คล้ายคลึงกันหรือ เป็นอย่างเดียวกัน นักการตลาดจะเลือกตลาดส่วนแบ่งนี้ขึ้นมาเป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน ทางการตลาดของตน โดยใช้กลยุทธ์สวนประสมทางการตลาดที่ได้จัดวางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับ ตลาดเป้าหมายนั้น ๆ

117.    สามารถกำหนดโอกาสทางการตลาดของกิจการได้ชัดเจน จากการสำรวจหาความต้องการของผู้บริโภค ในตลาดอย่างถี่ถ้วน โดยอาศัยวิธีการใด

ตอบ 1 หน้า 168 – 169 ข้อดีของการกำหนดตลาดเป้าหมาย มี 3 ประการ ดังนี้

1.         สามารถกำหนดโอกาสทางการตลาดได้ชัดเจน เนื่องจากนักการตลาดสามารถพิจารณา ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดส่วนนั้น ๆ ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน

2.         สามารถปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความมุ่งหวังของลูกค้าในตลาดได้โดยสมบูรณ์

3.         สามารถปรับแต่งองค์ประกอบของส่วนประสมทางการตลาดให้เหมาะสมกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม โดยแท้จริง

118.    ข้อใดเป็นกรณีที่เหมาะจะใช้โอกาสซื้อสินค้าเป็นตัวแปรสำคัญในการแบ่งส่วนตลาด

(1)       ต้องการให้ใช้ยาสีฟันผสมเกลือแร่เป็นประจำ

(2)       ผู้ซื้อจะเพิ่มการซื้อมากขึ้น ถ้าราคาถูกลง

(3)       ขายรถยนต์บรรทุกกระบะสำหรับคนที่ต้องการเนื้อที่และน้ำหนักบรรทุกมากขึ้นกว่าปกติ

(4)       ขายรถจักรยานยนต์สำหรับกลุ่มวัยรุ่นต้องการความเร็วสูง

(5)       ต้องการให้ผู้บริโภคดื่มน้ำส้มสดในระหว่างมื้อเย็น

ตอบ 5 หน้า 184 การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้โอกาสซื้อ มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่กิจการต้องการจัดกลุ่ม หรือแยกชนิดสินค้าไว้เป็นพวก เช่น กิจการได้พยายามสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาดื่มน้ำส้มสด ที่นิยมดื่มในตอนเช้าให้มาดื่มในระหว่างอาหารมื้อเย็นด้วย นอกจากนี้ยังรวมถึงโอกาสในการ ซื้อสินค้าในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์ วันตรุษจีน วันปีใหม่ เป็นต้น

119.    คุณสมบัติของส่วนตลาดที่ว่า เข้าถึงได้” หมายความว่า…

(1)       รู้ว่าผู้ซื้อคือใคร มีจำนวนมากเท่าใด

(2)       ลูกค้าอยู่ในทำเลที่กิจการขายได้โดยสะดวกรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากเกินไป

(3)       อยู่ในท้องถิ่นที่มีการคมนาคมดี

(4)       มีปริมาณความต้องการหนาแน่นในบริเวณนั้น

(5)       มีรายละเอียดข้อมูลผู้บริโภคขัดเจนเพียงพอที่จะจัดวางกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะกับเป้าหมายได้

ตอบ 5 หน้า 192 เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาดที่มีประสิทธิภาพ มี 3 ประการ ดังนี้

1.         วัดค่าได้ หมายถึง ตลาดส่วนแบ่งนั้นต้องสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนในลักษณะที่สามารถ วัดค่าออกมาได้ เช่น ขนาดของตลาด อำนาจซื้อ ฯลฯ

2.         เข้าถึงได้ หมายถึง ตลาดส่วนแบ่งนั้นจะต้องสามารถเข้าถึงและตอบสนองผู้บริโภคในกลุ่มนั้นได้ โดยนักการตลาดจะต้องมีรายละเอียดข้อมูลของผู้บริโภคชัดเจนเพียงพอที่จะจัดวางกลยุทธ์ ทางการตลาดที่เหมาะกับเป้าหมายได้

3.         ขนาดพอเหมาะ หมายถึง ตลาดส่วนแบ่งนั้นต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะให้ผลกำไรแก่กิจการได้

120.    ข้อใดเป็นกลยุทธ์การตลาดเป้าหมายแบบมุ่งเฉพาะตลาด

(1)       “ผงน้ำยาล้างจานใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เมลานีน

(2)       ปากกาลูกลื่นตราใหม่ราคา 3 บาท มุ่งขายนักเรียนและนักศึกษาเป็นหลักใหญ่

(3)       หนังสือพิมพ์รายวันออกทุกวันพุธและอาทิตย์ ฉบับละ 8 บาท

(4)       สบู่ครีมกลิ่นน้ำหอมตราใหม่ คลีโอ” ราคา 10บาท

(5)       สายผลิตภัณฑ์เครื่องประดับทำจากเพชรเลี้ยงทุกขึ้น ทุกแบบ และมีหลายชนิด ครบทั้งสายผลิตภัณฑ์

ตอบ 1 หน้า 200 การตลาดแบบมุ่งเฉพาะ (Concentrated Marketing) นั้น กิจการจะพิจารณาตลาดเป้าหมายของตน โดยเลือกตลาดส่วนแบ่งตลาดใดตลาดหนึ่งเพียงหนึ่งส่วนเท่านั้น ทั้งนี้ จะมุ่งเฉพาะไปในตลาดที่ได้พิจารณาเห็นว่ามีความน่าสนใจ หรือมีโอกาสทางการตลาดดีกว่า ตลาดส่วนอื่น ๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้กิจการมีโอกาสครอบครองหรือยึดตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่น สามารถแทรกซึมเข้าตลาดได้ลึกซึ้ง และมีสภาพทางการตลาดที่มั่นคง

Advertisement