MCS3181 การพูดสำหรับผู้นำ ข้อสอบชุดที่1 2557

1.         ‘No one is natural leader or born leader’ หมายความว่าอย่างไร

Advertisement

1) ไม่มีใครเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ 

2) โดยกำเนิด ไม่มีใครป็นผู้นำ

3) ไม่มีใครเป็นผู้นำโดยธรรมชาติหรือโดยกำเนิด        

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3) หลักสำคัญของผู้นำในแง่สังคม คือ

1.         ไม่มีใครเป็นผู้นำโดยธรรมชาติหรือโดยกำเนิด (No one is natural leader or born leader

2.         ไม่มีบุคลิกภาพหรือลักษณะใดที่จะทำให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นผู้นำโดยอัตโนมัติแต่จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมเป็นกรณี ๆ ไป

2.         ในสังคมแต่ละกลุ่มจะมีผู้นำแบบต่าง ๆ โดยวิเคราะห์แบบของผู้นำจากอะไร

1)         จากลักษณะของผู้นำ  

2) ลักษณะวิธีการใช้อำนาจควบคุม

3) ลักษณะวิธีการทำงาน        

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3) ในสังคมของชุมชนแต่ละกลุ่มจะมีผู้นำแบบต่าง ๆ ซึ่งได้มีผู้วิเคราะห์แบบของผู้นำด้านต่าง ๆ ไว้โดยพิจารณาจาก 1. สถานะของผู้นำ 2. ลักษณะและวิธีการใช้อำนาจ 3. ลักษณะวิธีการทำงาน 4. ลักษณะของการใช้อำนาจบังคับควบคุม

3.         ลักษณะที่เป็นสากลของผู้นำคือ

1) มีความมั่นใจและไว้วางใจผู้อื่น       

2) มีการให้เกียรติผู้อื่น

3) มีความคิดเป็นของตนเอง    

4) มีความคิดริเริ่มที่ดี

ตอบ 4. ลักษณะที่ดีที่เป็นสากลของผู้นำคือ มีความรู้ (Knowledge), มีสติปัญญา (Intelligence), มี ความรับผิดชอบ (Responsibility), มีความคิดริเริ่ม (Initiative), มีความมุ่งมั่นติดตามงาน (Persistence), รู้ ธรรมชาติของมนุษย์ (Know Human Nature) และมีความมั่นใจในตนเอง (Self-confidence)

4.         ผู้นำแบบ Normality Power Leaders คือผู้นำลักษณะใด

1)         ผู้นำแบบใช้อำนาจธรรมเนียมประเพณีบังคับ

2)         ผู้นำแบบอ้างเอาธรรมเนียมประเพณีการบังคับบัญชาใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงาน

3)         ผู้นำแบบใช้อำนาจอัตถประโยชน์บังคับ         4) ถูกทั้งข้อ 1 และข้อ 2

ตอบ 4. ผู้นำแบบใช้อำนาจธรรมเนียมประเพณีบังคับ (Normality Power Leaders) มักจะอ้างเอา ธรรมเนียมประเพณีในการบังคับบัญชามาใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานเพื่อความร่วมมือปฏิบัติตามความประสงค์ เช่น อ้างว่าต้องเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ เป็นต้น

5.         ปัจจัยสำคัญในเมืองไทยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นผู้นำ คืออะไร

1)         การศึกษา        2) ศาสนา

3) รายได้ของประชาชนและขนบธรรมเนียม    4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเป็นผู้นำ ตลอดจนการพูดของผู้นำในสังคมไทย ได้แก่ การศึกษา พุทธศาสนา รายได้ของประชาชน และขนบธรรมเนียมประเพณีบางประการ

6.         ผู้นำแบบพระเดช (Legal leadership) หมายถึง ผู้นำแบบได

1)         ผู้นำที่ได้อำนาจมาตามตัวบทกฎหมาย ปฏิบัติการใช้กฎหมายเป็นหลัก มีระเบียบแบบแผน

2)         ผู้นำที่ปฏิบัติงานปราศจากความยืดหยุ่น (Flexibility)

3)         ผู้นำที่พิจารณาผู้ใต้บังคับบัญชาในทาง Negative เสมอ 4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal leadership) หมายถึง ผู้นำหรือหัวหน้าซึ่งได้อำนาจมาตามบท กฎหมาย ปฏิบัติโดยใช้กฎหมายเป็นหลัก มีระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง และการปฏิบัติงานปราศจากความ ยืดหยุ่น (Flexibility) ดังนั้นจึงมักจะพิจารณาผู้ใต้บังคับบัญชาไปไนทาง Negative เสมอ

7.         ส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งช่วยทำไห้การพูดประสบผลสำเร็จ

1) บุคลิกภาพ  2) ทัศนคติ       3) แรงจูงใจ     4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1. บุคลิกภาพ (Personality) เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้การพูดประสบ ความสำเร็จ โดยบุคลิกภาพเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไข ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงได้ซึ่งผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร ในการฝึกฝน มีความอดทน มีความใส่ใจ ยอมรับและรักที่แก้ไขข้อบกพร่องของตน

8.         Eye-Contact เป็นเครื่องมือช่วยสร้างอะไรของมนุษย์ได้

1) สร้างมิตรภาพและศัตรู       2) สร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

3) สร้างความจริงไจ     4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2. สายตา (Eye-contact) เป็นเครื่องมือช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีของมนุษย์ได้และมี ความสำคัญในการสร้างทิ้งมิตรและศัตรู ซึ่งในขณะที่พูดนั้นผู้นำควรใช้สายตามองผู้ฟังหรือผู้ที่ตนพูดด้วยอย่างมี ไมตรีและจริงใจ ทั้งนี้อย่าแสดงออกว่ามองอย่างเสียไม่ได้หรือฝืนใจมอง และอย่ามองข้ามศีรษะผู้ฟัง

9.         Speed หมายถึงอะไร

1) ลีลา จังหวะการพูด 2) การพูดเป็นจังหวะ วรรคตอน

3) การพูดที่รู้จักทอดเสียงให้พอเหมาะและถูกด้อง     4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. Speed หมายถึง ลีลา จังหวะการพูด หรือการพูดให้ได้จังหวะ ได้วรรคตอน รู้จักทอดเสียง ให้พอเหมาะและถูกต้อง ซึ่งอัตราการพูดที่เหมาะสมคือ 120-180 คำ/นาที ทั้งนี้จังหวะการพูดจะช่วยสร้าง บุคลิกภาพของผู้พูดให้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้ผู้ฟังศรัทธาในตัวผู้พูดอีกด้วย

10.       ถ้าท่านต้องการมีบุคลิกภาพที่ดี ต้องปฏิบัติในข้อใด

1) ขยันฝึกฝนตนเอง มีความอดทน      

2) ยอมรับ มีความใสใจ และรักที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของตน

3) มีการพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเสมอ           

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

11.       การพูด ถ้าจะพูดได้ดีมีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วย

1) การดูแลรักษาสุขภาพ         

2) รับประทานอาหารให้อิ่มพอดี

3) รักษาอวัยวะต่าง ๆ ให้ปกติ 

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. แนวทางปฏิบัติทั่วไปที่ช่วยให้ผู้พูดสามารถพูดได้ดีและมีประสิทธิภาพ มีดังนี้ 

1. รักษา อารมณ์ให้ปกติ 

2. พักผ่อนร่างกายอย่างเพียงพอ 

3. รับประทานอาหารให้พอดี 

4. ออกกำลังกายให้ พอสมควรและสม่ำเสมอ 

5. รักษาอวัยวะต่าง ๆ ที่ปากให้ปกติ เช่น ไม่เจ็บคอ ไม่ไอ ปากไม่เป็นแผล ไม่ปวดฟัน ฯลฯ 

6. รักษาอวัยวะบริเวณจมูกและศีรษะให้อยู่ในสภาพปกติ เช่น ไม่เป็นหวัด ไม่ปวดหู ไม่ปวดดั้งจมูก ฯลฯ

12.       เครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากในการพูด คือข้อใด

1) ไมโครโฟน   

2) Microphone Fright        

3) Conversation style        

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1. ไมโครโฟน เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากในการพูด ไม่ว่าจะเป็นการพูดที่เป็นพิธีการ หรือไม่เป็นพิธีการก็ตาม โดยปัจจุบันนิยมใช่ไมโครโฟนเพื่อช่วยให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึงกันหรือเมื่อมีเสียงรบกวนผู้ พูดก็จะสามารถเรียกความสนใจของผู้ฟังได้ (ส่วน Microphone Fright คือ การตื่นไมโครโฟน และ Conversation คือ การพูดในแนวสนทนา)

13.       ความจริงใจของคำพูด (Sincerity) แสดงออกมาได้โดย

1) น้ำเสียงที่ปรุงแต่งให้มีจังหวะ ดังกังวาน     2) อากัปกิริยาที่แสดงออกไม่ตั้งใจ

3) Spontaneous action พูดอย่างไรก็มีความรู้สึกอย่างนั้น 4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3. การใช้ถ้อยคำอย่างมีความจริงใจหรือความจริงของคำพูด (Sincerity) แสดงออกมาได้โดย น้ำเสียงที่แสดงว่าได้พูดออกมาจากใจจริงและอากัปกิริยาที่เป็นไปอย่างธรรมชาติมากที่สุด นั่นคือ คำพูดเป็น อย่างไรก็มีความรู้สึกอย่างนั้น (Spontaneous action) ซึ่งในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจนั้น ผู้ พูดควรใช้ถ้อยคำหรือคำพูดที่มาจากใจเพราะมนุษย์มักจะรับรู้อารมณ์ความรู้สึกก่อนใช้ความคิดตัดสินเหตุผล

14.       ผู้นำที่ดีควรรักในข้อใดต่อไปนี้ให้ดี

1) การใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง    2) ต้องฝึกฝนการออกเสียงภาษาไทย

3) ต้องอ่านหนังสือมาก ๆ        4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1. ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดีควรรู้รักการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ฟังและเรื่องที่พูด ซึ่งการจะใช้ภาษา ถ้อยคำ และสำนวนได้ดีนั่นต้องอาศัยการฝึกฝนและการท่องจำจากความรู้ภาษาไทย

15.       Good Taste หมายถึงอะไร

1) ผู้ที่จะเป็นผู้นำที่ดี ควรแสดงออกถึงรสนิยมที่ดี       2) การมีรสนิยมที่ดี

3) เพราะมีฐานะดีพอแล้ว      4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2. Good Taste หมายถึง การมีรสนิยมที่ดี ซึ่งผู้ที่จะเป็นผู้นำควรแสดงออกถึงรสนิยม เช่น ถ้า เรามีฐานะที่จะซื้อรถยนต์ดี ๆ สักคันหนึ่ง ผู้ที่มีรสนิยมดีก็ควรซื้อรถที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเกิดความ เสื่อมใส เพราะเมื่อมีฐานะดีพอแล้วก็ควรแสดงออกถึงรสนิยมที่ถูกต้องด้วย นอกจากนี้รสนิยมยังหมายถึง การเลือก ให้เหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ เช่น การแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับโอกาสและสถานที่ แสดงถึงรสนิยมที่ดี มากกว่าเครื่องแต่งกายราคาแพงแต่ไม่สุภาพ เป็นต้น

16.       บุคลิกภาพของผู้นำต่อที่ส่าธารณะ สมควรปรับปรุงให้เหมาะกับอะไร

1) กาลเทศะ    2) บุคคล         3) สิ่งแวดล้อม 4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. บุคลิกภาพของผู้นำต่อที่สาธารณะนั้นควรปรบปรุงให้ดีและเหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะและ สิ่งแวดล้อม โดยปรังปรุงตั้งแต่การแต่งกาย การเดิน การยืน การนั่ง สีหน้าและการยิ้ม การใช้สายตา การใช้ เสียงและจังหวะการพูด การใช้ไมโครโฟน การใช้ภาษา การมีมารยาทในสังคม การรู้จักควบคุมสติ ความคล่องแคล่ว การมีรสนิยม 

17.       การรู้จักมารยาทของสังคม จะมีส่วนร่วมส่งเสริม

1)         ความมีเสน่ห์ เท่ห์ ของมนุษย์   2) ความเสื่อมใสและศรัทธา

3) บุคลิกภาพให้ดีขึ้น  4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 3. มรรยาททางสังคม คือ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและแบบปฏิบัติของแต่ละสังคม โดยผู้นำควรรู้ว่าการพูดในงานพิธีต่าง ๆ ของสังคมนั้น ๆ ควรพูดอย่างไรจึงจะเหมาะสม ซึ่งการรู้จักมารยาท ของสังคมจะช่วยส่งเสริมให้ผู้นำมีบุคลิกภาพดีขึ้น และทำให้ผู้นำมีบุคลิกภาพดีขึ้น และทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิด ความเสื่อมใสศรัทธา

18.       การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟังก็คือ

1) การเตรียมเรื่องที่จะพูด       2) จุดมุ่งหมายของการพูด

3) การพูดเพื่อให้ความรู้           4) การพูดชักจูงใจ

ตอบ 2. จุดมุ่งหมายของการพูด คือ การแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟัง ซึ่งก่อนที่จะเตรียมเรื่องไป พูดนั้นผู้พูดควรตั้งคำถามกับตัวเอง 3 ประการ คือ 1) เรื่องที่จะไปพูด 2) ผู้ฟังเป็นใคร 3) จะต้องไปพูดที่ ใดและมีเวลาพูดเท่าไร

19.       มีอะไรบ้างที่นับว่าเป็นบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ดีงาม

1) ขณะที่นั่งฟังผู้อื่น สั่นเท้า แคะจมูก 2) ดึงหนวด

3) เกาศีรษะ นั่งไหล่เอียง         4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. บุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมขณะที่นั่งฟังคนอื่นพูด เช่น การเอามือยันคาง สั่นเท้า แคะจมูก นั่งถ่างขา ถึงหนวด  เกาศีรษะ นั่งไหล่เอียง นั่งหลังค่อม หาวนอน ฯลฯ

20.       The Structure of Speech การจัดเรื่อง เป็นขั้นตอนใดของการเตรียมเรื่องที่จะพูด

1) ขั้นเริ่มแรกของการพูด         2) ขั้นการเตรียมเรื่องพูด

3) ขั้นเตรียมเนื้อหาการพูด      4) ขั้นสุดท้ายของการเตรียมเรื่องไปพูด

ตอบ 4. การจัดเรื่องพูด (The Structure of Speech) จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเตรียมเรื่องไปพูด ซึ่งการจัดการนั้นจะต้องจัดให้เนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวสัน (Unity) และต่อเนื่องกัน เพื่อว่าผู้ฟังจะได้ติดตาม และเข้าใจเรื่องนั้นแต่ต้นจนจบ โดยมีลำดับขั้นตอนเริ่มจากคำปฏิสันถาร คำนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Main Body) และบทสรุป (Conclusion)

21.       การพูดที่มีการขออภัย แสดงถึงอะไรของผู้พูด

1) ผู้พูดขาดความเชื่อมั่นในตนเอง       

2) ผู้พูดถ่อมตัว แสดงความสุภาพ

3) ผู้พูดให้เกียรติผู้ฟัง  

4) ผู้พูดมีมารยาทที่ดีต่อสังคม

ตอบ 1. หลังจากคำกล่าวคำปฏิสันถารสับผู้ฟังแล้ว ผู้พูดจะต้องไม่กล่าวคำขออภัยหรือขอโทษต่าง ๆ ที่แสดงถึงข้อบกพร่องของตนเอง เพราะคำพูดขออภัยเหล่านั้นเป็นการแสดงถึงการขาดความสามารถของผู้พูดขาดความเชื่อมั่นในตนเอง และเป็นการแสดงถึงความสงสารหรือเห็นใจของตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังขาดความนิยมและศรัทธาในตัวผู้พูด

22.       การพูดที่มีประสบการณ์ สามารถสร้างอะไรในการพูดได้ดี

1)         ความรู้สึกที่ดีต่อผู้ฟัง   

2) สร้างอารมณ์ขันในการพูด

3) สร้างการพูดให้มีชีวิตชีวา    

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2. อารมณ์ขัน (Humor) ทำให้การพูดมีชีวิตชีวาขึ้น ผู้พูดที่มีประสบการณ์ในการ พูดเท่านั้นที่จะสอดแทรกหรือสร้างอารมณ์ขันในการพูดได้ดี มิฉะนั้นผู้พูดจะดูเป็นตัวตลกไป และถ้าผู้พูดเป็นผู้พูดข้อความที่ตลกเอง ผู้พูดไม่ควรหัวเราะ นอกเสียจากว่าไม่สามารถจะควบคุมตัวเองไว้ได้และเรื่องตลกนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง

23.       เสียงที่เหมาะสมในการพูดคือ

1) เสียงที่หวาน ไพเราะ น่าฟัง 2) เสียงที่เป็นธรรมชาติ มีจังหวะ มีน้ำหนัก น่าฟัง

3) เสียงพูดที่มีเสียงท่องหรืออ่าน         4) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 2. Harley Grawville Baker ผู้กำกับเวทีและนักเขียนบทละคร ได้กล่าวว่า ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ที่จะมีความสำคัญและเป็นคู่แข่งของเสียงที่เปล่งออกมาอย่างธรรมชาติได้” หรืออาจกล่าวได้ว่าเสียงที่เหมาะสม ในการพูดคือ เสียงที่เป็นธรรมชาติ ได้จังหวะ มีน้ำหนัก กังวานและน่าฟัง

24.       Harley Grawville Baker มีอาชีพ

1) ผู้สื่อข่าวโทรทัศน์     2) ผู้กำกับเวทีและนักเขียนบทละคร

3) นักแสดงละครเวที   4) นักร้อง

ตอบ 2. ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

25.       คำกล่าวที่ว่า ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ที่จะมีความสำคัญและเป็นคู่แข่งของเสียงที่เปล่งออกมาอย่างธรรมชาติ ได้” เป็นคำกล่าวของบุคคลใด

1) George M.     2) Bender, James F.

3) Flippo, Edwin B.   4) Garket Grawville Baker

ตอบ 4. ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

26.       เมื่อผู้นำเผชิญหน้ากับ Mob และอยู่ฝ่ายเดียวกับ Mob ผู้นำจะต้องพูดอย่างไร

1) พูดให้ความเห็นใจ แสดงอยู่ฝ่ายเดียวกับ Mob  2) พูดขัดหรือคัดค้าน

3) พูดยุยง ส่งเสริม      4) ผิดทุกข้อ

ตอบ 1. เมื่อผู้นำเผชิญหน้ากับฝูงชนหรือ Mob และอยู่ฝ่ายเดียวกับ Mob ผู้นำต้องพยายามพูดให้ฝูง ชนรู้สึกว่าเราเห็นใจและเป็นฝ่ายเดียวกับเขา ในขณะเดียวกันก็จะต้องพยายามพูดชักจูงหรือกระทำการใด ๆ เพื่อเบนความสนใจหรือสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาได้คิดและได้ไตร่ตรองหรือเป็นการผ่อนเหตุการณ์นั้นให้ ผ่อนคลายลง

27.       ผู้บรรยายสรุปในการพูดทุกครั้งที่ทำให้การพูดดำเนินไปอย่างกระฉับกระเฉงว่องไว โดยมีอัตราการพูดที่ พอเหมาะ……คำ/นาที

1) 120 – 150 คำ/นาที 2) 120 – 160 คำ/นาที

3) 120 – 170 คำ/นาที 4) 120 – 180 คำ/นาที

ตอบ 4. ในการพูดบรรยายสรุปทุกครั้ง ผู้พูดจะเริ่มพูดโดยยึดหลักที่ว่า เริ่มต้นพูดให้ตรงต่อเวลา ให้ การพูดดำเนินไปอย่างกระฉับกระเฉงว่องไว มีอัตราการพูดที่พอเหมาะ (ประมาณ 120-180 คำ/นาที) และให้ จบลงในเวลาที่กำหนดไว้

28.       ชนิดของเครื่องมือโสตทัศนะที่ใช้ในการประกอบการพูดมีอยู่…ชนิด

1)         2 ชนิด  2) 3 ชนิด         3) 4 ชนิด         4) 5 ชนิด

ตอบ 2. เครื่องมือโสตทัศนะ (Audio-visual Aids) มีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้1. เครื่องมือจริง (The Real) หมายถึง เครื่องมือที่มีให้ดูจริงประกอบการพูดหรือเมื่อมีการพูดเกี่ยวกับอะไรก็มีให้ดูจริง เช่น ถ้ามีการพูด เกี่ยวกับเครื่องแบบก็มีเครื่องแบบจริงให้ดู ฯลฯ2. เครื่องมือบุคคล (The Personal ) หมายถึง เครื่องมือที่ กำลังลงมือแสดงหรือกำลังแสดงการกระทำ 3. เครื่องมือเทียม (The Representational) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้แทนเครื่องมือจริง เช่น ภาพยนตร์ แผ่นภาพ แผนที่ แผนภูมิ การเขียนกระดานดำ ฯลฯ

29.       เครื่องมือบุคคล หมายถึง เครื่องมืออะไร

1)         เครื่องมือที่กำลังลงมือแสดง    2) เครื่องมือที่กำลังแสดงการกระทำ

3)         เครื่องมือจริงคือปืน มีการยิงปืนให้ดู   4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

30.       The Real หมายถึง เครื่องมือโสตทัศนะแบบใด

1)         เครื่องมือจริงที่มีให้ดูจริงประกอบการพูด

2)         เครื่องมือจริง ถ้ามีการพูดเกี่ยวกับเครื่องแบบก็มีเครื่องแบบจริงให้ดู

3)         เครื่องมือที่มีการพูดเกี่ยวกับอะไรก็มีให้ดูจริง 4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

31.       สัปปุริสธรรม 7 ประการต่อไปนี้ ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง

1) อัตตัญญุตา   

2) อัตตัญมุตา    

3) อัตถัญญุตา   

4) มัตตัญญุตา

ตอบ 2. สัปปุริสธรรม 7 ประการ ได้แก่

1. ธัมมัญญู – เป็นผ้รู้จักเหตุ 

2.อัตถัญญู – เป็นผ้รู้จักผล

3.อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน 

4.มัตตัญญู – เป็นผู้รู้จักประมาณ 

5.กาลัญญู – เป็นผู้รู้จักกาล            

6.ปริสัญญู – เป็นผู้รู้จักชุมชน   

7.ปุคคลัญญุตา – เป็นผู้รู้จักบุคคล

32.       ทศพิธราชธรรม เป็นธรรมสำหรับพระราชาหรือนักปกครอง เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

1) รัก โลภ โกรธ หลง   

2) ปริจาคะ อาววะ มัทวะ

3) อหิงสา        

4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 2. ทศพิธราชธรรม” เป็นหลักธรรม 10 ประการสำหรับพระราชา นักปกครอง หรือแม้แต่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนราษฎรทั่วไปที่พึงปฏิบัติต่อกัน อันได้แก่ 

1. ทาน (การให้) 

2. ศีล (ความประพฤติ)  

3. บริจาค (การสละ)

4. อาชวะ (ความตรง) 

5. มัทวะ (ความอ่อนโยน) 

6. ตปะ (ความเพียร) 

7. อโกธะ (ความไม่โกรธ)

8. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)

9. ขันติ (ความอดทน) 

10. อวิโรธนะ (ความไม่ผิด)

33.       ข้อใดต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับอธิศีลสิกขา

1)         สัมมากัมมันตะ            

2) สัมมาวายามะ         

3) สัมมาสมาธิ 

4) สัมมาสังกัปปะ

ตอบ 1. (ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ) ความสัมพันธ์ระหว่างไตรสิขากับมรรค มีดังนี้

1.         อธิศีลสิกขา (ศีล) สัมพันธ์กับสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

2.         อธิจิตสิกขา (สมาธิ) สัมพันธ์กับสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

3.         อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) สัมพันธ์กับสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

34.       สัมมาทิฐิ หมายถึงอะไร

1)         คิดในทางที่ถูกต้อง      2) ประกอบอาชีพในทางที่ถูก

3) เห็นชอบว่าความดีมีอยู่จริง 4) รู้ตัวอยู่เสมอ

ตอบ 3. วิธีปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาจะใช้มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ มรรค” อันหมายถึง ทางสายกลาง ซึ่งมีองค์ประกอบ 8 อย่าง คือ

1.         สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ) หมายถึง คิดในทางที่ถูกต้อง

2.         สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) หมายถึง คิดในทางที่ถูกต้อง

3.         สัมมาวาจา (วาจาชอบ) หมายถึง พูดถ้อยคำที่ไม่มีโทษ

4.         สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) หมายถึง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

5.         สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) หมายถึง ประกอบอาชีพสุจริต

6.         สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) หมายถึง มีความเพียรพยายาม

7.         สัมมาสติ (ระลึกชอบ) หมายถึง รู้ตัวอยู่เสมอ

8.         สัมมาสมาธิ (ตั่งจิตมั่นชอบ) หมายถึง มีจิตใจแน่วแน่

35.       พรหมวิหาร 4 ประการต่อไปนี้ ข้อใดเกี่ยวข้องมากที่สุด

1 มุทิตา           2) อุเบกขา       3) กรุณาตา     4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 12 หลักธรรมสำคัญที่นักปกครองทุกคนต้องมีเพื่อเป็นสิริมงคลแห่งตนคือ พรหมวิหาร 4 ซึ่ง ประกอบไปด้วย

1.         เมตตา คือ อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข

2.         กรุณา คือ อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

3.         มุทิตา คือ ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

4.         อุเบกขา คือ การวางตัวเป็นกลาง

36.       หลักธรรมในเรื่อง ไตรสิกขา” พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งตรงกับคำสอนของพระพุทธศาสนาข้อใด

1) ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส (ปัญญา)            2) ทำตนให้มีสติ (สมาธิ)

3) ประพฤติตนแต่ความดี (ศีล)           4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1. หลักธรรมในเรื่อง ไตรสิขา” นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในโอวาปาติโมกข์ซึ่งตรงกับคำสอนอันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา 3 ข้อ คือ 1. ไม่ประพฤติชั่วทั้งปวง (ศีล) 2) ประพฤติตนแต่ ความดี (ศีล)3. ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส (ปัญญา)

37.       ไตรสิกขา’’ เป็นหลักที่พระพุทธศาสนาใช้เป็นระบบ….

1.ฝึกคนให้มีความรัก สามัคคีกัน         2) ฝึกคนให้มีวิธีปฏิบัติที่เรียกว่า มรรค

3) ฝึกคนในสังคมให้เดินทางสายกลาง           4) ถูกทั้งข้อ 2 และ ข้อ 3

ตอบ 4. ไตรสิกขา’’ เป็นหลักที่พระพุทธศาสนาใช้เป็นระบบการฝึกคนในสังคมเชิงปฏิบัติโดยมีวิธี ปฏิบัติที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรค กันเป็นทางดำเนินชีวิตที่สอดคล้องในกฎธรรมชาติที่เรียกว่า ทางสายกลาง

38.       Teaching Machine เป็นการฝึกอบรมและการสอนแบบใด

1)         การสอนแบบบรรยาย  2) การสอนสำเร็จรูป

3) การสัมมนา 4) การสาธิต

ตอบ 2. การสอนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) หรือที่เรียกว่า Teaching Machine เป็นการ เรียกเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร และอุปกรณ์ไว้พร้อม โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้สอน ซึ่งวิธีการก็คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนจะแยกเรื่องที่เรียนออกเป็นส่วนย่อย ๆ ผู้ที่เรียนตั้งแต่ต้นจนจบจะได้ความรู้ที่สัมพันธ์กันตามลำดับจนจบหลักสูตร

39.       Authority เกี่ยวข้องกันอย่างไรกับข้อความต่อไปนี้

1) อำนาจในการออกคำสั่งให้คนปฏิบัติตาม   2) ก่อนที่จะออกคำสั่ง ควรพิจารณาให้รอบคอบ

3) คำสั่งเป็นเครื่องวัดความสามารถของผู้บังคับบัญชา 4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4. อำนาจในการออกคำสั่ง (Authority) ให้คนปฏิบัติตาม ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียต่อการตัดสินใจออกคำสั่ง ดังนั้นก่อนที่ผู้บังคับบัญชาจะออกคำสั่งจึงควร พิจารณาให้รอบคอบก่อนว่า คำสั่งนั้นมีเหตุผลและผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจะปฏิบัติได้หรือไม่ เพราะคำสั่งที่ ออกไปนั้นย่อมเป็นเครื่องวัดความสามารถของผู้บังคับบัญชาด้วย

40.       การพูดเป็น

1)         การสื่อสารหน่วยย่อยที่สุดเพื่อพิจารณาตามปริมาณสื่อที่ใช้

2)         ผลรวมของสิ่งเร้ากับสิ่งแวดล้อมที่ใช้นำเสนอข้อมูลข่าวสาร

3)         รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบบวัจนภาษา

4)         การสื่อสารระหว่างเครือข่ายที่สื่อสารมวลชนใช้อยู่

ตอบ 3. การพูด (Speech) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบบวัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ฯลฯ แต่การพูดก็ต้องอาศัยการสื่อสารแบบอวัจนภา คือ ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ เช่น น้ำเสียง สำเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า ฯลฯ เข้ารวมกับวัจนภาษาด้วยดังนั้นการพูดจึงเป็นการสื่อสารที่ไม่สามารถแยกจากอวัจนภาษาอย่างเด็ดขาด

41.       Special Purpose program เป็นการอบรมเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างไร

1) เป็นการอบรมหลักสูตรพิเศษเพื่อฝึกอบรมพนักงาน 

2) เป็นการฝึกอบรมแบบสาธิต 

3) เป็นการสัมมนา    

4) เป็นการศึกษา Case study

ตอบ 1. การฝึกอบรมพิเศษ (Special purpose Program) เป็นการอบรมเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น นายจ้างอาจจะจัดหลักสูตรพิเศษขึ้นเพื่ออบรมพนักงานของตนโดยนายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด หรือนายจ้างอาจจะส่งพนักงานไปฝึกงานกับสถาบันการศึกษาหรือองค์การต่าง ๆ ที่จัดให้มีการ อบรมขึ้น

42.       ความเป็นพิธีการของการสื่อสารพิจารณาจาก

1)         ระเบียบแบบแผน        

2) ความคุ้นเคย

3) สายการบังคับบัญชา          

4) เอกสารสั่งการ

ตอบ 1. การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ (Formal Communication) หมายถึง การติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผน และมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การติดต่อสื่อสารในวงราชการซึ่งต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผน กฎเกณฑ์ และธรรมเนียมของการบริหารราชการ เป็นต้น

43.       ขณะที่ผู้นำพูดไปควรแสดงท่าทางอย่างไร

1)         ปล่อยตัวตามสบาย โดยพิจารณาการแสดงออกจากผู้ฟังเป็นสำคัญ

2)         ยิ้ม หัวเราะ แสดงออกทางอารมณ์ตามที่เตรียมมา

3)         รักษาตำแหน่งของมืออย่าให้เกะกะ หรือสูงต่ำเกินไป

4)         กอดอกแสดงความภาคภูมิใจในความเป็นผู้นำความคิดตลอดเวลาที่พูด

ตอบ 4. การแสดงท่าทางการประกอบการพูด เป็นสิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง และทำให้การพูดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้พูดควรจะแสดงท่าทางประกอบการพูดต่อเมื่อต้องการอธิบายหรือเน้นข้อความที่พูด แต่ที่สำคัญก็คือ ในขณะที่ยืนพูดจะต้องไม่ยืนกอดอกเอามือท้าวสะเอว เอามือใส่กระเป๋า หรือเอามือไขว้หลัง เป็นอันขาด

44.       สมรรถภาพในการพูดของผู้นำพิจารณาได้จาก

1) ความนิยม   2) ประสิทธิผล

3) ช่วงเวลาอยู่ในตำแหน่ง                   4) ลูกน้อง

ตอบ 2. ผู้นำต้องมีสมรรถภาพ (Competence) ครบทุกทาง ทั้งทางความต้องการทางจิตวิทยาของผู้ตาม ความรู้ความชำนาญในเทคนิคเฉพาะที่ปฏิบัติงาน โดยผู้นำที่มีสมรรถภาพจะพิจารณาได้จากประสิทธิภาพของงาน ดังนั้นสมรรถภาพในการพูดของผู้นำก็พิจารณาได้จากประสิทธิผลของการพูดนั้นเอง

45.       การร่วมใจ (Empathy) ของผู้นำหมายถึง

1 ใช้ภาษาให้ถูกต้องกับรสนิยม          2) ทำตัวตามสมัยนิยม

3) เอาใจมาใส่ใจเรา    4) แสดงความรู้สึกตามใจผู้ตาม

ตอบ 3. การร่วมใจ (Empathy) ของผู้นำ หมายถึง การเอาใจเขามาใส่ใจเราโดยผู้นำจะต้องรับฟังและแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มใจต่อผู้ร่วมงาน ต้องแสดงตัวว่าเป็นพวกเดียวกับพวกเขา รู้ถึงความต้องการทางอารมณ์หรือแสดงตัวเป็นผู้แทนในความรู้สึกนึกคิดความเดือดร้อน และผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ร่วมงาน

46.       Feedback คือ

1. ปาหินถามทาง             2) เสียงบ่นของบริวาร

3. พูดไปสองไพเบี้ย     4) ไกลปืนเที่ยง

ตอบ 2. Feedback คือ ข้อมูลย้อนกลับหรือปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสาร (ผู้ฟัง) ต่อผู้ส่งสาร (ผู้พูด) หรือสารมีทั้งที่เห็นชัดเจนจากคำพูด (เสียงบ่น) สีหน้า กิริยาทำทาง ฯลฯล และพฤติกรรมที่ปกปิดซ่อนเร้นภายในจิตใจ ซึ่งผู้พูดสามารถตรวจสอบและทราบผลการพูดของตนเองได้จาก Feedback ของผู้ฟัง

47.       ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของผู้นำในฐานะนักพูดที่ดี

1)         ตรงเวลาเพื่อจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ต่อหน้าลูกน้อง

2)         มาก่อนเวลาเพื่อตระเตรียมสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

3)         ทำทุกอย่างเอง เพื่อความสมบูรณ์แบบในการพูด

4)         ตรวจบันทึกข้อมูลการพูดที่ผ่านมา แล้วแจ้งให้ลูกน้องทราบด้วยเอกสาร

ตอบ 2. การพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมาก่อนเวลาพูดเพื่อตระเตรียมต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น สำรวจเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคยและไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

48.       ประโยชน์ของการสื่อสารในแง่การวินิจฉัยสั่งการพิจารณาจาก

1)         การยอมรับในอำนาจ   2) ความถูกต้อง รวดเร็ว

3) ถ่ายโอนนวัตกรรมได้มากขึ้น           4) ลดปริมาณข่าวสารลง

ตอบ 2. ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสารสำหรับผู้นำหรือหัวหน้างาน มีดังนี้

1.         ช่วยทำให้การวินิจฉัยสั่งการไปอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องยิ่งขึ้น

2.         ช่วยทำให้เกิดการประสานงานที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาหรือช่วยให้ ทำงานสอดคล้องกัน ไม่ทำงานซ้อนหรือก้าวก่ายกัน

3.         ช่วยทำให้การควบคุมงานตามสายการบังคับบัญชามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

4.         ช่วยก่อให้เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน เกิดขวัญในการทำงาน และทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจในหน่วยงานดีขึ้น

49.       การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความเชื่อและทัศนคติมีผลอย่างไรต่อการเตรียมข้อมูลในการพูด แต่ละครั้งของผู้นำ

1)         เพื่อสร้างรูปแบบสื่อสารและระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นำเสนอ

2)         เพื่อเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม

3)         เพื่อต้องการทราบแนวโน้มการตัดสินใจในเรื่องที่จะเป็นส่วนได้-เสียของผู้ฟัง

4)         เพื่อกำหนดวาระรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา

ตอบ 3. การวิเคราะห์ผู้ฟังเพื่อตรวจสอบความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ และทำให้ผู้พูดทราบถึง แนวโน้มการตัดสินใจเรื่องที่จะเป็นส่วนได้-เสียของผู้ฟัง เพื่อให้ผู้พูดสามารถเตรียมข้อมูลในการพูดและครั้งได้ สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ฟังเชื่อและยึดถือ ไม่ไปขัดแย้งหรือดูถูกความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติของผู้ที่มีอยู่ แต่เติม

50.       บุคลิกภาพของผู้นำ

1)         เปลี่ยนแปลงได้           2) ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

3) คงที่และตายตัว      4) เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

51.       การประเมินผลการพูด ที่ผู้นำต้องการไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอะไร

1)         สร้างประเด็นและความนำสนใจในการนำเสนอครั้งต่อไป

2)         สำรวจกรอบแนวคิด และความเชื่อด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นภัยต่อสังคม

3)         พิจารณาปฏิกิริยาตอบกกับด้านต่าง ๆ ที่มีเกี่ยวกับประเด็นสาระของการสื่อสาร

4)         กำหนดประเด็นที่สื่อมวลชนควรรับรู้และนำเสนอในรูปของเอกสารเผยแพร่

ตอบ 1. ประโยชน์ของการประเมินผล (Evaluation) การพูด คือ

1.         นำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการสร้างประเด็นและความนำสนใจในการนำเสนอครั้งต่อไป

2.         ช่วยในการปรับปรุงบุคลิกภาพผู้พูด

3.         ช่วยยกระดับจิตใจผ่านการฟังและการหาเหตุผล

4.         เพื่อสร้างเสริมสติปัญญา

5.         ช่วยยกระดับจิตใจผ่านการฟังและการเหตุผล

52.       การมีคู่ครองที่เหมาะสมมีส่วนสนับสนุนผู้นำด้านใด

1)         อรรถประโยชน์            

2) ผลประโยชน์

3) ภาพพจน์     

4) ภาพลักษณ์

ตอบ 4. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรเลือกคู่ครองหรือคู่ชีวิตที่เหมาะสมและมีบุคลิกที่ดีพอสมควร เพราะในการ ไปปรากฏตัวในที่ชุมชนนั้น บางครั้งคู่ชีวิตของผู้นำจะต้องปรากฏตัวด้วยถ้าคู่ชีวิตมีบุคลิกภาพดี มีมรรยาท งดงาม ก็จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนภาพลักษณ์ของผู้นำให้ดียิ่งขึ้น

53.       การตรวจสอบง่าย ๆ ว่าขณะพูดผู้ฟังได้ยินหรือเปล่า พิจารณาจาก

1)         ความสนใจฟังของผู้ฟัง            2) เครื่องแต่งกายของผู้ฟัง

3) คำทักทายของผู้ฟัง 4) สีหน้าของผู้ฟัง

ตอบ 4. หลักการพูดสำหรับผู้นำข้อหนึ่งคือ ตามอง (ผู้ฟัง) ปากพูด ซึ่งขณะที่พูดนั้นผู้พูดสามารถ ตรวจสอบได้ง่าย ๆ ว่าผู้ฟังได้ยินเสียงที่พูดหรือเปล่า จากการสังเกตหรือสีหน้ากิริยาท่าทางของผู้ฟัง ถ้าผู้ฟัง แสดงสีหน้าไม่ยินดีหรือทำท่าเงี่ยหูฟัง ผู้พูดก็ควรถามก่อนที่จะพูดเรื่องที่เตรียมมาว่า ผู้ฟังได้ยินหรือไม่ (ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ)

54.       คำพูดที่มาจากใจ มีความสัมพันธ์อย่างไรในกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความประทับใจ

1)         มนุษย์ใช้เหตุผลเป็นสิ่งเชื่อมโยงสถานการณ์มากกว่าอารมณ์

2)         เหตุผลเป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่มนุษย์โต้ตอบสิ่งเร้า

3)         มนุษย์รับรู้อารมณ์ความรู้สึกก่อนใช้ความคิดตัดสินเหตุผล

4)         การเลือกที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารใด ๆ สมองเป็นผู้สั่งการอย่างมีเหตุผล

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 13. ประกอบ

55.       การเริ่มต้นเนื้อหาของการพูด ผู้นำควรหลีกเลี่ยงเนื้อหาในลักษณะใด

1)         สภาพการจราจรที่รายงานผ่าน สวพ. 91

2)         หัวข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับเช้า

3)         ฝาท่อระบายน้ำที่เจ้าหน้าที่เผลอเปิดเอาไว้หน้าสำนักงาน

4)         เรื่องส่วนตัวของลูกน้องที่กำลังตกเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์

ตอบ 4. ในการเริ่มต้นเนื้อหาของการพูดนั้น จะต้องมีคำนำเพื่อเป็นการเกริ่นหรือเสนอที่มาของเรื่องที่จะพูดก่อน ซึ่งเป็นการเรียกความสนใจเบื้องต้นของผู้ฟัง ดังนี้ผู้พูดที่ฉลาดจะด้องระมัดระวังในเรื่องคำนำหรือ อารัมภบทเป็นอย่างมาก ถ้าคำนำดี ผู้ฟังจะเกิดความเสื่อมใสศรัทธา ทำให้ตั้งใจฟังมากขึ้น แต่ถ้าคำนำไปกระทบเรื่องส่วนตัวของผู้พูดหรือพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง ผู้ฟังก็จะขาดความศรัทธาในตัวผู้พูด ซึ่งก็จะส่งผล ให้การพูดไม่ประสบผลสำเร็จ

56.       สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูดมีผลเชิงรูปธรรมกับผู้ฟัง คือ

1) บุคลิกภาพและน้ำเสียง      2) ความรู้สึกนึกคิด

3) ระดับการศึกษา      4) ความเชื่อมและทัศนคติ

ตอบ 1. สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูดที่มีผลเชิงรูปธรรมกับผู้ฟัง คือ สิ่งที่ผู้ได้เห็นและได้ยิน เช่น น้ำเสียง เรื่องที่นำมาพูด การแต่งกาย ท่าทาง การเคลื่อนไหวและบุคลิกภาพของผู้พูด

57.       ในการวางโครงเรื่องพูด หากมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในทางเลวร้าย อะไรคือสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบที่สุด

1) การตกลงใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล       2) ความกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่จะพูด

3) ปฏิกิริยาของผู้ฟังที่จะแสดงกลับมา 4) องค์ประกอบของกลุ่มผู้ฟัง

ตอบ 2. การเริ่มคิด เป็นขั้นตอนของการริเริ่มที่จะวางเค้าโครงเรื่องที่จะพูดว่า ผู้พูดจะพูดเกี่ยวกับอะไร ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ คือ ผู้พูดจะต้องมีความสำคัญที่จะตัดสินใจเลือกประเด็น หรือเนื้อหาที่จะพูด โดยเฉพาะหากมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในทางเลวร้าย แต่ถ้าไม่เชื่อนั้นในความคิดของตนเอง ก็อาจถามผู้ที่รู้จักเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แล้วก็จะได้หัวข้อที่คิดว่าจะนำไปพูดมากขึ้น

58.       เหตุใดผู้พูดจึงต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อการนำเสนอ และมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ

1)         เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

2)         เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งตรงความสนใจของผู้ฟัง

3)         เพื่อแสดงออกถึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ เป็นการเคารพแหล่งที่มาก่อนหน้านี้

4)         เพื่อให้การแบ่งหัวข้อ และหาข้อมูลสนับสนุนเป็นไปอย่างราบรื่น

ตอบ 3. การค้นคว้า (Research) ข้อมูลเพื่อนำเสนอเป็นขั้นตอนหลังจากการเขียนโครงเรื่อง ซึ่งวิธีการค้นคว้าข้อมูลอาจทำได้ด้วยการอ่านหนังสือ (ตำรา หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ) การสนทนากับบุคคลอื่น การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญหรือจากประสบการณ์ของผู้พูดเอง โดยมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อแสดงออกถึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และเป็นการเคารพแหล่งที่มาก่อนหน้านี้

59.       ทำไมผู้เตรียมการจึงต้องมีการเขียนเค้าโครงเรื่อง

1) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม           2) เพื่อสร้างความเชื่อนั้นในแหล่งที่มาของข้อมูล

3) เพื่อประมวลสาระข้อมูลและจัดลำดับ        4) เพื่อให้ผู้ฟังได้รับการตอบสนองข้อมูลที่มากพอ

ตอบ 3. ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่างหรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อประมวลสาระข้อมูลอ้นเป็นการเขียนแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไร โดยโครงร่างหรือ โครงเรื่องนี้จะช่วยเป็นแนวทางการตัดเรียงเรื่องที่จะพูด ทำให้เนื้อหามีเอกภาพ ไม่สับสน และง่ายแก่การจดจำ ไปพูด

60.       มรรยาททางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ……ที่ผู้นำจะต้องขึ้นกล่าวอย่างแยกกันไม่ออก

1) ระบบการสื่อสารมวลชน     2) วัฒนธรรม และแบบปฏิบัติ

3) พัฒนาการทางความคิด      4) ประวัติความเป็นมา

ตอบ 2. ดูคำอธิบายข้อ 17. ประกอบ

61.       รสนิยมของผู้นำ หมายถึง

1) การปรากฏตนที่โดดเด่น     

2) ความคิดสร้างสรรค์ที่ล้ำหน้า

3) การเลือกให้เหมาะสมกับโอกาส     

4) ความพอเพียง

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

62.       ความคล่องแคล่ว คือ

1) ว่องไวอย่างมีจังหวะจะโคน      

2) เร่งรีบทำให้เสร็จทันกาล

3) พยายามให้เหมาะสมกับโอกาส      

4) ทำให้เห็นว่าเร็วเท่าที่จะทำได้

ตอบ 1. ผู้นำควรมีความคล่องแคล่วว่องไว (Active) ซึ่งเรามักจะนิยมและเลื่อมใสผู้ที่ทำงาน คล่องแคล่วมากกว่าผู้ที่ทำงานอืดอาด ล่าช้า ทั้งนี้ความคล่องแคล่วว่องไวจะต้องเป็นอย่างมีจังหวะจะโคน ไม่ใช่ หลุกหลิกหรือพลุกพล่าน เพราะจะไม่มีความหมายหรือไม่ได้ผลดีแต่กลับทำให้น่ารำคาญมากยิ่งขึ้น

63.       ไม่ว่าจะขึ้นคำด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้นำจะต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการพูดทุกครั้งคือ

1) ต้องตื่นเต้นเร้าใจเสมอ        2) กล่าวถึงแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

3) สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะกล่าวในลำดับถัดไป 4) ต้องทักทายผู้ฟังไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก่อนเสมอ

ตอบ 3. คำนำ (Introduction) ในการพูด เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะชักจูงให้ผู้ฟังสนใจฟังต่อไป ซึ่งผู้พูดอาจขึ้นต้นด้วยคำจำกัดความ คำถาม สุภาษิต คำคม อารมณ์ขัน ความประหลาดใจ ฯลฯ โดยคำนั้น ๆ จะต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง (Main Body) ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

64.       เมื่อผู้ฟังปรบมืออย่างถึกก้องด้วยความชื่นชม ผู้พูดควรจะ

1)         หยุดพูด จนเมื่อการแสดงความพอใจหมดจบจึงเริ่มพูดต่อ

2)         ยกมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะแล้วโบกไปมา

3)         กล่าวคำว่าขอบคุณแล้วแสดงความเคารพ

4)         เดินลงจากเวทีเพื่อไปสัมผัสมือกับผู้ฟัง

ตอบ 1. ในขณะที่พูด ถ้าผู้ฟังแสดงความพอใจด้วยการหัวเราะหรือปรบมือ ผู้พูดจะต้องหยุดพูดเพื่อรอ ให้เสียงเหล่านั้นซาหรือจบลงแล้วจึงพูดต่อไปอย่าพูดแข่งกับเสียงต่าง ๆ

65.       ในวิชาการพูดนั้น การพูดกินใจคน” หมายถึง

1) การกล่าวยกยอปอปั้น        2) คำพูดที่เกินความจริง

3) คำหยาบที่ทำให้โกรธทันที   4) การพูดถึงปมด้อย

ตอบ 4. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่กินใจคน นั้นคือ หลีกเลี่ยงการพูดถึงปมด้อยหรือข้อบกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจของคนอื่น ซึ่งถือเป็นถ้อยคำที่แสลงใจคนเช่น คำว่า ร่ำรวยหลายแสน หลายล้าน” สำหรับคนหัวล้าน หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย‘’ สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ เป็นต้น

66.       ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับ สติในการพูด

1) คิดให้มาก   2) ทำทุกอย่างให้สงบ

3) ควบคุมตนให้ได้      4) บังคับให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

ตอบ 3. ผู้ที่จะเป็นผู้นำควรมีสติหรือรู้จักควบคุมตนเองให้ได้ ผู้ที่ขาดการควบคุมตัวเองจะทำให้เสียบุคลิกภาพทันที ผู้นำที่ดีจึงต้องครองสติอยู่เสมอ ไม่ปล่อยตนเองให้เป็นทาสทางอารมณ์ เช่น ด่าทอพนักงาน ภารโรง คนขับรถ ฯลฯ และไม่เป็นทาสของมึนเมาหรือยาเสพติด

67.       หากพิจารณาในเชิงจิตวิทยาแล้ว เหตุใดมนุษย์จึงชอบพูดมากกว่าฟัง

1)         เพราะสามารถสร้างความได้เปรียบในความถูกต้องได้มากกว่า

2)         เพราะการพูดสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่า

3)         เพราะการพูดเป็นช่องทางเลือกข้อมูลได้มากกว่า

4)         เพราะการพูดรับปฏิกิริยาตอบกลับได้มากกว่า

ตอบ 2. โดยปกติแล้วคนเราชอบพูดมากกว่าชอบฟัง เพราะในขณะที่พูดนั้นผู้พูดจะสร้างความมั่นใจ และมีความรู้สึกตนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ตนได้แสดงความคิดเห็นและได้รับความสนใจจากผู้ฟัง

68.       ตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการในขณะที่ผู้พูดมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว คือ

1) อารมณ์                   2) บรรยากาศรวมทั้งสิ่งแวดล้อม

3) สถานที่ที่ได้รับเชิญไป         4) การจัดรูปแบบของเวที

ตอบ 2. บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีและที่ดีเกินไปย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพูด ทำให้ผลของการพูดไม่ตรงตามจุดมุ่งหมาย และถือเป็นตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายถอดทอดตามความต้องการได้ ถึงแม้ผู้พูดจะมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

69.       ปัญหาความวิตกกังวลของผู้พูดต่อการปรากฏตัวต่อสาธารณะ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก

1) เครื่องแต่งกายที่ไม่เหมาะสม          2) มาถึงเวลาที่พูดนานมากจนเกินไป

3) เกรงว่าภาษาที่ใช้ไม่เหมาะกับผู้ฟัง 4) การไม่รู้จักเจ้าภาพเป็นการส่วนตัว

ตอบ 3. ปัญหาความเครียดและวิตกกังวลของผู้พูดส่วนใหญ่ จะเกิดจากการเตรียมตัวที่ไม่ดีหรือไม่พร้อม จึงทำให้เกรงว่าภาษาที่ใช้จะไม่เหมาะสมกับผู้ฟัง ซึ่งทำให้ผู้พูดเกิดอาการตื่นเวที โดยวิธีแก้ไขประการแรก คือ ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องพูดและซ้อมพูดมาอย่างดี เพราะถ้าหากเตรียมตัวพร้อม มีความเข้าใจในเรื่องที่พูดอย่างดีก็จะมีความมั่นใจในตัวเอง เวลาพูดก็จะไม่เกินความกลัว ความเครียดและวิตกกังวลอีก

70.       การพูดเกินเวลาที่กำหนด เป็นการผิดมรรยาทข้อใดมากที่สุด

1) ไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ      2) ขาดการรับฟังความคิดเห็น

3) ไม่นับถือประธานในพิธี       4) ไม่เคารพสิทธิของผู้ฟัง

ตอบ 4. ในการพูดนั้น ผู้พูดควรพูดให้เหมาะสมกับเวลา อย่าพูดเกินเวลาที่กำหนดเพราะเป็นการ แสดงว่าผู้พูดไม่ได้เคารพและไม่ได้รักษาสิทธิที่พึงมีของผู้ฟังเหมือนกับของตนเอง

71.       หากพิจารณาในเชิงพฤติกรรมการสื่อสารแล้ว เหตุใดจึงไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว

1)         เพราะโครงสร้างของกลุ่มเป้าหมายจะมีการเปลี่ยนแปลง

2)         เพราะจะทำให้การตีความหมายของคำพูดเกิดการบิดเบือน

3)         เพราะจะเกิดสภาพการเลือกตีความข่าวสารในลักษณะที่ไม่พึงประสงค์

4)         เพราะไม่เกิดความสมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

ตอบ 2. ในการพูดนั้น ผู้พูดจะต้องไม่ผูกขาดการพูดแต่เพียงคนเดียวควรจะเปิดโอกาสการตรวจสอบ ว่าผู้ฟังตีความหมายของข่าวสารได้ตรงกับผู้พูดหรือไม่เพื่อไม่ทำให้การตีความหมายของข่าวสารเกิดความบิดเบือน

72.       การพูดเรื่องส่วนตัวของผู้นำเองมากเกินไปเป็นการผิดมารยาทในการพูดด้านใด

1)         ความไม่รับผิดชอบต่อเนื้อหา   

2) ใช้อำนาจไม่ถูกเวลา

3) ไม่ให้เกียรติผู้ฟังเท่าที่ควร   

4) ไม่วิเคราะห์ผู้ฟังก่อน

ตอบ 3. ในการพูดนั้น ผู้พูดไม่ควรพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องภายในครอบครัว และไม่ควรพูด อวดตน อวดภูมิ ข่ม หรือถือว่าตนเองดีกว่าผู้ฟัง เพราะนอกจากจะไม่สุภาพแล้ว ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง อีกด้วย

73.       กิจกรรมในข้อใดต้องใช้คำปฏิสันถารแบบเป็นพิธีการเต็มรูปแบบ

1)         รัฐพิธี   2) ทำบุญผ้าป่า

3) ต้อนรับคุณครูคนใหม่          4) งานเลี้ยงพระบ้านคุณป้า

ตอบ 1. การกล่าวคำปฏิสันถารแบบเป็นพิธีการเต็มรูปแบบ มักใช้ในการชุมนุม และมีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอเป็นประธานกล่าวคำถวายพระพร โดยควรกล่าวคำปฏิสันถารว่า ท่านแขกผู้มีเกียรติทั้งหลาย

74.       ข้อใดทำให้การปรากฏตัวของผู้นำไม่งามสง่า

1) ก้าวอย่างมั่นใจ       2) ขยับแว่น

3) ปรับไมโครโฟนพอเหมาะกับส่วนสูง            4) กวาดตามองอย่างทั่วถึง

ตอบ 2. ผู้นำควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้ปรากฏตัวไม่สง่างาม ดังนี้

1.         อย่าจับจมูก ทำจมูกฟุดฟิด หรือสูดน้ำมูก

2.         อย่าพะวงมองดูบัตรจดหัวข้อเรื่อง

3.         อย่ายืนพิงโต๊ะที่ยืนพูด

4)         อย่าจับแว่น เอามือเสยผม เกาศีรษะ ขยับกางเกง เลียริมฝีปาก หรือดึงคอเสื้อ ฯลฯ

75.       ข้อใดเป็นการแบ่งการพูดตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1) เร้าอารมณ์ สร้างจุดสนใจ   2) ให้ความบันเทิง ชักจูงใจ

3) บอกเล่า กล่าวความจริง     4) ท่องจำ กล่าวตามหัวข้อ

ตอบ 2. การพูดตามจุดมุ่งหมายหรือตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. การพูดเพื่อให้ความบันเทิง (The Entertaining Speech) 2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง (The Informative or Instructive Speech) 3. การพูดเพื่อชักจูงใจ (The Persuasive of Influenced speech)

76.       การตอบคำถามในการพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้า ผู้นำควรกล่าวในลักษณะ

1)         ชี้แจงรายละเอียด และให้ข้อมูลตามประสบการณ์

2)         บอกปัดและถ่ายโอนไปให้ผู้ที่รู้มากกว่า หรือนำจะรับผิดชอบแทนได้

3)         มีประเด็นและความหมายชัดเจน เลี่ยงคำตอบในคำถามที่คลุมเครือ

4)         ใช้สถิติ และข้อมูลทางวิชาการเพื่อสร้างความมั่นใจในการตอบ

ตอบ 3. การพูดบางเปล่าโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1.         พยายามควบคุมสติไว้ให้ได้ (ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด)

2.         ใช้ปัญญาปฏิภาณไหวพริบให้มากที่สุด

3.         พยายามนึกถึงโครงสร้างของการพูด

4.         ฝึกพูดในใจเรื่องที่เตรียมได้

5.         พูดหรือตอบคำถามให้สั้น กระชับ มีประเด็น และมีความหมายชัดเจน อีกทั้งควรเลี่ยงการตอบคำถามที่คลุมเครือ

77.       การแก้ปัญหาการพูดในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจะเตรียมการพูดล่วงหน้าได้ สิ่งที่น่าจะเป็นตัวช่วยสำคัญ นอกเหนือจาก สติ” คือ

1)         ข้อมูลและสถิติเท่าที่จำได้

2)         การใช้ภาษาที่สละสลวย

3)         ภาพลักษณ์ของบุคคล

4)         โครงสร้างการพูดที่จำลองล่วงหน้า

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

78.       การเตรียมสาร ผู้เตรียมสามารถจัดทำได้ใน 2 กรณี คือ

1)         ผู้พูด ผู้ฟัง        2) ตนเอง คนอื่น

3) เจ้าภาพ ประธานในพิธี       4) ผู้ฟัง ผู้สังเกตการณ์

ตอบ 2. ในการเตรียมสารหรือเรื่องที่พูดนั้น ควรเตรียมให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพและแนวความคิดของผู้พูด โดยสามารถจัดทำการเตรียมสารหรือเรื่องพูดได้ 2 กรณี คือ 1. เตรียมด้วยตนเอง ซึ่งคนเราย่อม ค้นคว้าและเขียนเฉพาะเรื่องที่ถูกกับนิสัยหรือบุคลิกของตนเองเท่านั้น 2. ให้คนอื่นเตรียมให้ เนื่องจากผู้พูดไม่ มีเวลา ซึ่งควรจะเป็นผู้ที่คุ้นเคยจนรู้นิสัยใจคอและความคิดเห็นของผู้พูดได้เป็นอย่างดี และผู้พูดต้องแนะนำ แนวเรื่องไว้ก่อนด้วย

79.       ในการพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง มีอะไรเป็นเนื้อหาสำคัญ

1)         สิ่งเร้า 2) บรรยากาศ   3) อารมณ์ความรู้สึก    4) ความต้องการ

ตอบ 3. จุดมุ่งหมายของการพูดเพื่อความบันเทิงก็คือ เพื่อให้ความบันเทิงรื่นเริงสนุกสนานแก่ผู้ฟัง ดังนั้นอารมณ์ขันและความรู้สึกจึงนับว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญของการพูดชนิดนี้

80.       การเตรียมเนื้อหาของรายงานที่ถูกต้องนั้น ไม่ควรที่จะ

1) มีหัวข้อที่สั้น กระชับ ชัดเจน            2) ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้ง่ายต่อการอ่าน

3) บรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป          4) จัดทำอย่างประณีตด้วยความรอบคอบ

ตอบ 3. การเตรียมเรื่องหรือเนื้อหาของรายงานที่จะพูดนั้น ควรเรียบเรียงขึ้นด้วยความประณีตและ รอบคอบ ใจความที่สำคัญของเนื้อหาจะต้องสั้น กระชับ ชัดเจน มีการทำหัวข้อย่อย ๆ ให้โดดเด่น ง่ายต่อการ อ่าน แต่ไม่ควรบรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไปเพราะจะทำให้มีเนื้อหาและข้อปลีกย่อยมากมาย ซึ่งเป็นเหตุ ให้ผู้ฟังจำสับสน เกิดความเบื่อและทำให้เสียเวลา

81.       ผลที่ได้จากการพูดชัดจูงใจ คือ

1) เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรม      

2) การทำตามคำสั่ง

3) สร้างภาวะทางอารมณ์กดดัน          

4) ให้ตีความหมายข่าวสาร

ตอบ 1. การพูดเพื่อชักจูงใจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อชักจูงให้เห็นด้วยเพื่อให้เปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม และเพื่อชักจูงให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งผลที่ได้คือ ผู้ฟังเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนพฤติกรรมตามความประสงค์ที่ผู้พูดได้ตั้งไว้

82.       การพูดโดยมีจุดมุ่งหมายด้านการชักจูงใจต้องอาศัย……เป็นแนวทาง

1) แผ่นจดข้อความแบบย่อ      

2) การซักซ้อมโดยเน้นลำดับการนำเสนอ

3) การสร้างความประทับใจจากข้อมูลที่นำเสนอ 

4) ข้อมูลขยายข้อมูลสาระที่มากพอต่อการตัดสินใจ

ตอบ 3 การพูดเพื่อการชักจูงใจต้องอาศัยวิธีการดำเนินการดังนี้

1.         พูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเสื่อมใสศรัทธาในตัวผู้พูด

2.         พูดเพื่อให้เกิดความสนใจจากผู้ฟัง

3.         สร้างความพอใจให้แก่ผู้ฟัง

4.         สร้างความไว้วางใจหรือความประทับใจจากข้อมูลที่นำเสนอให้แก่ผู้ฟัง

5.         สร้างความเชื่อมั่น

6.         พูดอย่างมีชีวิดจิตใจ

7.         พูดเร้าหรือกระตุ้นเพื่อให้ผู้ฟังลงมือกระทำ

83.       ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มเข้าทำงาน มิได้หมายถึง

1) ผู้ที่เข้าทำงานเป็นครั้งแรก   2) ผู้ที่มาทำงานเป็นวันแรก

3) ผู้ที่ถูกโอนย้ายมาจากหน่วยงานอื่น  4) ผู้ที่ถูกบรรจุใหม่ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล

ตอบ 2. ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เริ่มทำงาน หมายถึง ผู้ที่ทำงานใหม่เป็นครั้งแรกผู้ที่ส่งสอบแข่งขันได้หรือ ถูกบรรจุใหม่แล้วเข้ารายงานตัวเพื่อทำงาน รวมถึงผู้ที่ถูกแต่งตั้งหรือโอนย้ายมาจากหน่วยงานอื่น

84.       ข้อมูลใดที่ผู้บังคับบัญชาจะมอบหมายงานให้กับพนักงานได้อย่างเหมาะสม

1) เกียรติบัตรรับรองความสามารถ     2) ใบผ่านงาน

3) คำอธิบายงานในหน้าที่       4) ทรานสคริปต์

ตอบ 3. ผู้บังคับบัญชาควรเตรียมหาคำอธิบายในหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือ พนักงานจะทำ เพื่อว่าผู้บังคับบัญชาจะใช้อธิบายพูดคุย และมอบหมายงานให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

85.       เนื้อหาประเด็นใดที่ไม่จำเป็นต้องพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง

1)         ประเด็นที่วัยรุ่นให้ความสนใจและสนทนาในเครือข่ายออนไลน์

2)         สิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ

3)         ปัญหาวิกฤติของประเทศที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องมีการศึกษาค้นคว้า

4)         สถิติ ข้อมูล สาระของแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใหม่

ตอบ 1. การพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง เป็นการเสนอข้อเท็จจริง หลักฐาน ข้อมูล/สถิติ วัตถุประสงค์ หลักการ และสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นการรายงานถึงโครงการ หรือนโยบายที่จะกระทำ หรือที่กำลังกระทำอยู่

86.       การพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มีลักษณะเฉพาะที่ต่างจากการพูดประเภทอื่น ๆ อย่างไร

1)         เนื้อหาที่จะพูดต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

2)         ต้องมีการนำเสนอด้วยหลักการติเพื่อก่อ ชมเพื่อให้กำลังใจ

3)         ต้องมีการจัดสมดุลของเนื้อหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่กล่าวอ้าง

4)         ต้องมีการใช้กติกา ข้อกำหนด หรือตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มาใช้เป็นเกณฑ์

ตอบ 2. การพูดวิจารณ์ หมายถึง การพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลและถูกหลักวิธีการวิจารณ์ เป็นการพูดที่ต้องใช้หลักการตรรกวิทยา (Logic) หรือหลักทางเหตุผล โดยจะไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดมาเกี่ยวข้องด้วย

87.       หน้าที่ของผู้บังคับบัญชาโดยตรงที่มีต่อองค์กรเมื่อมีบุคคลใหม่ คือ

1) แจ้งให้หน่วยงานทราบ        2) พาเดินชมที่ทำงาน

3) พิมพ์นามบัตร          4) เลี้ยงรับรอง

ตอบ 1. หน้าที่โดยตรงของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อองค์กรเมื่อมีพนักงานหรือบุคคลากรใหม่ คือ ประกาศ คือแจ้งให้หน่วยงานและพนักงานทุกคนทราบล่วงหน้า โดยอาจส่งอีเมล์ทำจดหมายเวียน หรือติดประกาศที่ บอร์ดประชาสัมพันธ์

88.       มารยาทของรุ่นพี่ที่มีต่อพนักงานใหม่ หลังจากได้รับการแนะนำ คือ

1) ชวนเลี้ยงฉลอง       2) มอบของที่ระลึก

3) มอบหมายงานพร้อมแบบประเมิน  4) ปรบมือต้อนรับ

ตอบ 4. ในหน่วยงานบางแห่งเมื่อมีการประชุม ผู้บังคับบัญชาแนะนำผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้สมาชิก ทั้งหมดทราบอีกครั้ง ซึ่งหลังจากได้รับการแนะนำ ผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่จะยืนขึ้นแล้วก้มศีรษะหรือไหว้สมาชิกที่ ประชุม และสมาชิกในหน่วยงานก็จะปรบมือต้อนรับ

89.       เพื่อประสานงาน และลดความตึงเครียดในการทำงานช่วงแรกของเจ้าหน้าที่คนใหม่ผู้บังคับบัญชาควรจะ….

1) จัดงานเลี้ยงรับน้องใหม่      2) ให้เลขานุการรับส่งถึงบ้าน

3) แนะนำต่อหัวหน้างานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง     4) มอบหมายให้ประชุมแทน

ตอบ 3. ผู้บังคับบัญชาควรแนะนำผู้เริ่มเข้าทำงานใหม่ให้รู้จักกับหัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการติดต่อประสานงานกันได้ถูกต้องและรวดเร็วหรือเพื่อลดความตึงเครียดในการทำงาน ช่วงแรกของผู้เริ่มทำงานใหม่

90.       การออกคำสั่งเป็นการแก้ปัญหาการบิดเบือนข่าวสารด้วยการ…….

1) สร้างข่าวสารที่ไม่สามารถปฏิเสธการรับรู้ได้ 2) จัดกระบวนการสื่อสารใหม่ระหว่างผู้รับส่งข่าวสาร

3) กำจัดข้อจำกัดในการสื่อสารออกไป            4) สร้างแบบแผนอันเป็นที่ยอมรับเพื่อลดอคติ

ตอบ 3. การออกคำสั่ง หมายถึง การบังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามด้วยความชอบธรรม และเป็นการ แก้ปัญหาการบิดเบือนของข่าวสารด้วยการจำกัดข้อจำกัดในการสื่อสารออกไป โดยผู้ที่ผู้จะเป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้นำควรเรียนรู้วิธีพูดสั่งการที่มีประสิทธิภาพเพื่อว่าผู้ที่จะอยู่ใต้บังคับบัญชาจะได้นำไปปฏิบัติ (Action) นั้น ถือเป็นจุดต่างของการสื่อสารโดยการออกคำสั่งในลักษณะอื่น

91.       การออกคำสั่ง หมายถึง

1)         การควบคุมงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน

2)         การบังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามด้วยความชอบธรรม

3)         การวินิจฉัยบุคคลตามที่กำหนดในระเบียบ

4)         การสั่งการตามอำนาจหน้าที่

ตอบ 2. ดูคำอธิบายข้อ 90. ประกอบ

92.       อำนาจในการออกคำสั่งขึ้นอยู่กับ

1)         การมอบหมายหน้าที่ตามกฎหมาระเบียบซึ่งหน่วยงานนั้นสร้างขึ้นและถือปฏิบัติ

2)         ความสามารถในการพิจารณาโดยอาศัยกฎระเบียบที่มีอยู่

3)         มติของที่ประชุมในการวินิจฉัยสั่งการ

4)         การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียต่อการตัดสินใจ

ตอบ 4. อำนาจในการออกคำสั่งขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้มีส่วนได้เสียต่อ การตัดสินใจออกคำสั่ง ดังนั้นก่อนที่ผู้บังคับบัญชาจะออกคำสั่งควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่า คำสั่งมีเหตุผล และผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถจะปฏิบัติได้หรือไม่เพราะคำสั่งออกไปนั้นย่อมเป็นเครื่องวัดความสามารถของผู้บังคับบัญชาด้วย

93.       คำสั่งแบบใดมีความเด็ดขาดสูงสุด

1) ขอร้องให้ทำ            2) น่าจะ           3) ต้อง             4) เสนอให้ทำ

ตอบ 3. วิธีออกคำสั่งประเภทสั่งให้ทำ เป็นคำสั่งที่มีความเด็ดขาดสูงสุดโดยผู้ที่ออกคำสั่งมักเป็นผู้ที่ค่อนข้างอยู่ในระเบียบวินัย เช่น ทหาร หรือผู้บังคับบัญชาที่ไม่คำนึงถึงมนุษย์สัมพันธ์มากนัก ซึ่งผู้สั่งมักจะออก คำสั่งโดยตรงและคำสั่งนั้นมักส้มพันธ์กับคำว่า ต้อง’’เช่น “(ต้อง)” เช็ดโต๊ะตัวนี้ (ต้อง) ไปเอาแฟ้มนั้นมา หรือ “(ต้อง) ไปตามนายแก้วมาเดี๋ยวนี้’’ ฯลฯ

94.       ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการสั่งให้ทำ

1) ควรจะ         2) น่าจะ           3) ต้อง 4) เลือกเอาว่า

ตอบ 3. ดูคำอธิบายข้อ 93. ประกอบ

95.       ข้อมูลพื้นฐานของคำสั่งในการสื่อสารประกอบด้วย

1) Head Line      2) s M c R + F     3) 5W1H     4) News

ตอบ 3. การวางแผนงานออกคำสั่ง มุ่งที่จะทำให้คำสั่งสมบูรณ (Complete) ซึ่งมีข้อมูลพื้นฐานของ คำสั่งในการสื่อสารประกอบด้วย 5W1คือ คำสั่งนั้นต้องการให้ทำอะไร (What) ทำไมต้อง (Why) จะให้ใคร เป็นผู้ทำ (Who) ทำเมื่อไหร่ (When) ทำที่ไหน (Where) และทำอย่างไร (How) รวมทั้งต้องการจำนวนเท่าใด และคุณภาพขนาดไหน (Quantity and Quality)

96.       การสื่อสารโดยคำสั่ง มีจุดต่างจากการสื่อสารในลักษณะอื่นในประเด็นใด

1) การลงมือปฏิบัติ     2) การประเมินผล

3) ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน    4) มีการวิเคราะห์ผู้รับสาร

ตอบ 1. ดูคำอธิบายข้อ 90 ประกอบ

97.       ข้อควรระวังที่สุดสำหรับการพูดเพื่อเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัติ ได้แก่

1)         ข้อมูลที่ละเอียด

2)         ข้อโต้แย้งที่หาข้อสรุปไม่ได้

3)         ชื่อที่ถูกต้องของบุคคลสำคัญ

4)         ต้นฉบับจากหลายแหล่งอ้างอิง

ตอบ 3. การเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัตินั้น ควรระวังเรื่องชื่อที่ถูกต้องของบุคคลสำคัญมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องระวังข้อผิดพลาดต่าง ๆ อีก เช่น 1. ไม่ควรที่จะกล่าวถึงชีวิตส่วนตัวของเจ้าของชีวประวัติมากเกินไป เพราะจะเป็นการแสดงถึงความไม่นับถือ 2. ควรเล่าเฉพาะเหตุการณ์ที่ผู้อื่นยังไม่รู้ 3. ควรจะอยู่ ในขอบเขตที่เหมาะสม และสุภาพ ไม่ยกย่องจนเกินไป

98.       การพูดเพื่อให้คำปรึกษาลูกน้องที่ดี ผู้นำควรมีเป้าหมายในทิศทางใด

1)         กล่าวถึงความจริงทุกอย่างให้รู้

2)         บอกหนทางแสวงหาผลประโยชน์

3)         สร้างความเป็นกันเองฉันท์พี่น้อง

4)         เสนอทางออกที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด

ตอบ 4. การพูดเพื่อให้คำปรึกษาที่ดีควรอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นหลัก โดยวิธีที่ดีและมี ประสิทธิภาพที่ควรจะใช้ในการพูดปรึกษาก็คือการสะท้อนความรู้สึกร่วม ซึ่งมีประโยชน์มากในการให้คำแนะน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเชิงพฤติกรรมและระเบียบวินัยของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อสร้างบรรยากาศให้มีความ อิสรเสรี ความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน อันจะเป็นทางนำไปสู่ที่มาของปัญหา และมีเป้าหมายการแก้ปัญหาไปในทิศทางการเสนอทางออกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

99.       เหตุใดผู้นำควรหลีกเลี่ยงการออกคำสั่งในลักษณะ ห้ามกระทำ”

1)         เพราะพฤติกรรมอยากลอง

2)         เพราะพฤติกรรมการมีส่วนร่วม

3)         เพราะพฤติกรรมเบี่ยงเบน

4)         เพราะพฤติกรรมชิงดีชิงเด่น

ตอบ 1. ข้อควรหลีกเลี่ยงในการออกคำสั่งมีลักษณะดังนี้

1.         อย่าออกคำสั่งในลักษณะของการห้ามกระทำ เพราะจะทำให้ผู้รับคำสั่งมีพฤติกรรมอยากลอง

2.         อย่าออกคำสั่งที่ยุ่งยากและซับซ้อนมากเกินไป

3.         อย่าออกคำสั่งที่ขัดแย้งกันเอง

4.         อย่าสั่งงานแบบก้าวร้าวหรือใช้อำนาจบังคับ

5.         อย่าออกคำสั่งโดยใช้ระบบวินัยและระบบทำโทษขึ้นมาอ้าง ฯลฯ

100.    การจัดการกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขาดความสุภาพที่ดีที่สุดคือ

1)         มีท่าทางต่อต้าน เป็นผู้นำในการปิดกั้นพฤติกรรมโดยสังคม

2)         ประจานให้อายและเกิดความสำนึก

3)         สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้รับทราบ

4)         ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี

ตอบ 4. เทคนิคหรือวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่มีความสุภาพที่ดี ผู้นำหรือ ผู้บังคับบัญชาควรจะทำตัวเองให้เป็นตัวอย่างในการแสดงกิริยาวาจาสุภาพกับคนทั่วไปหรือประชาชนที่มาติดต่อ โดยหาโอกาสมาช่วยงานในแผนกนั้นบ้าง

Advertisement