การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS3151 การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

Advertisement

1.      การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์มุ่งเน้นการสื่อสารระดับใด      

(1) การสื่อสารระหว่างบุคคล

(2)    การสื่อสารในกลุ่ม      

(3) การสื่อสารในที่ชุมชน       

(4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 1 หน้า 147, (คำบรรยาย) การสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์จะมุ่งเน้นการสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal Communication) เป็นสำคัญ เพราะการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ส่วนใหญ่ จะใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกต่าง ๆ รวมทั้งทำให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ในการดำรงชีวิตและเป็นสื่อสำคัญในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในสังคม

2.      ข้อใดแสดงถึงความหมายของมนุษยสัมพันธ์

(1)    การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง    

(2) การเรียนรู้ที่จะสื่อสารให้ใจเข้าใจกัน

(3)    การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันในสังคม      

(4) การเรียนรู้ให้เป็นคนดีของสังคม

ตอบ 3 หน้า 1 – 4, 23 นักวิชาการได้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations)ไว้มากมาย แต่ความหมายที่สั้นและตรงที่สุดเห็นจะได้แก่ความหมายที่ว่า การติดต่อสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างมนุษย์ หรือทักษะในการปรับตัว เพื่อให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

3.      ข้อใดแสดงถึงการมีแนวคิดเชิงบวก

(1)    การยอมรับชะตากรรม            (2) การยอมรับความแตกต่างของบุคคล

(3) การยอมรับธรรมชาติของมนุษย์   (4) การมองเห็นโอกาสในวิกฤต

ตอบ 2 หน้า 3, 17, 19, (คำบรรยาย) ปัจจัยหรือจุดเริ่มด้นของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ คือ ตนเอง โดยเริ่มจากการรู้จักและเข้าใจตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักและเข้าใจผู้อื่นด้วย ทั้งนี้บุคคล ต้องรู้จักมองโลกในแง่ดีหรือมีทัศนคติ/แนวคิดเชิงบวก (Positive Thinking) ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น การยอมรับความแตกต่างของบุคคล เป็นต้น

4.      ข้อใดแสดงว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ 

(1) มนุษยสัมพันธ์เป็นกฎเกณฑ์ที่สามารถพัฒนาได้

(2)    การสร้างมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยการเรียนรู้จากทฤษฎีและตำรา

(3)    มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน

(4)    การสร้างมนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยหลักการและการฝึกทักษะ

ตอบ 4 หน้า 3-4, 16, (คำบรรยาย) แนวคิดที่ว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นั้น หมายถึง การศึกษามนุษยสัมพันธ์ต้องอาศัยการเรียนรู้จากหลักการ ทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ และแนวคิดต่าง ๆ ทางด้านมนุษยสัมพันธ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยการฝึกทักษะการแสดงออกอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.      การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เมื่อเริ่มรวมกลุ่มเป็นสังคม มีลักษณะอย่างไร

(1)    อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข           (2) อยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ

(3) อยู่ร่วมกันอย่างเป็นทางการ และไม่เสมอภค (4) อยู่ร่วมกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด และเป็นกันเอง

ตอบ 2 หน้า 9 ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในยุคที่เริ่มอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มสังคมนั้น จะมีลักษณะ ของการอยู่ร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็น สังคมใหญ่ขึ้น สังคมมนุษย์ได้แตกเป็นกลุ่มเป็นสถาบันย่อย ๆ ตามความจำเป็น ทำให้ลักษณะ ความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นไปในรูปแบบที่เป็นทางการขึ้น แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ ที่ไม่เสมอภาค เพราะมีการเอารัดเอาเปรียบกัน

6.      ข้อใดแสดงถึงแนวคิดการสื่อสารเพื่อมนุษยสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชน

(1)    เข้าใจในความเป็นปัจเจกบุคคล         (2) เคารพความเสมอภาคระหว่างบุคคล

(3) ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล       (4) พยายามสร้างความสมานฉันท์ในสังคม

ตอบ 2 หน้า 2, 29 – 30, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งมนุษย์ควรติดต่อสัมพันธ์กับด้วย ความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนของ องค์การสหประชาชาติ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเคารพในความเสมอภาคระหว่างบุคคล โดยไม่แบ่งแยก ฐานะชนชั้น แต่ควรยกย่องให้เกียรติและยอมรับนับถือในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

ข้อ 7. – 9. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) เฮ็นรี่ แกนต์

(2)    เอลตัน เมโย   (3) แอนดรู ยูรี            (4) โรเบิร์ต โอเวน       (5) เฟเดอริก เทย์เลอร์

7.      ใครคือนายจ้างคนแรกที่จุดประกายให้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับคนงาน

ตอบ 4 หน้า 11-12, (คำบรรยาย) โรเบิร์ต โอเวน (Robert Owen) เป็นเจ้าของกิจการชาวเวลส์ คนแรกตามประวัติคาสตร์อุตสาหกรรมของอังกฤษที่มีความคิดริเริ่มในการเอาใจใส่ความเป็นอยู่ ของคนงาน โดยยอมรับว่าต้องให้ความสำคัญกับจิตใจและความต้องการของลูกจ้างคนงาน ซึ่งเขาได้พยายามปรับปรุงสวัสดิการต่าง ๆ ของลูกจ้าง เช่น ปรับปรุงสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม ให้สะอาด ปรับปรุงสภาพในการทำงานให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ และเป็นนายจ้างคนแรกที่ต่อต้าน การใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้จุดประกายและเริ่มต้นแนวคิดการสร้างสัมพันธภาพ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารงานบุคคล

8.      ใครคือนายจ้างที่จูงใจให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยเงินรางวัลพิเศษ

ตอบ 1 หน้า 13 ในปี ค.ศ. 1912 เฮ็นรี่ แอล. แกนต์ (Henry L. Gantt) เป็นวิศวกรหนุ่มที่ได้คิดหา วิธีจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงาน โดยเขาได้ขยายแนวคิดของเฟเดอริก ดับบลิว. เทย์เลอร์ (Federick WTaylor) มาผสมผสานกับของตัวเอง เช่น สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม โดยทดลองเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคนงานด้วยการให้เงินโบนัส หรือเงินรางวัลพิเศษ เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่คนงานที่สามารถทำงานเสร็จก่อนเวลาที่กำหนด

9.      ใครคือนายจ้างที่ริเริ่มในเรื่องสวัสดิการในการรักษาพยาบาล

ตอบ 3 หน้า 12 แอนดรู ยูรี (Andrew Ure) ได้เขียนบทความที่ให้ความสำคัญแก่ มนุษย์และเป็นผู้ริเริ่มการให้สวัสดิการแก่คนงาน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ซึ่งเขาได้เสนอให้ปรับปรุงการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้  1. จัดให้มีชั่วโมงพักระหว่างการทำงาน

2.      ปรับสถานที่ทำงานให้ถูกสุขลักษณะ 3. เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย คนงานต้องได้รับการดูแล รักษาพยาบาล และได้รับค่าจ้างระหว่างหยุดพักรักษาตัวด้วย 4. ส่งเสริมให้คนงานมีสุขภาพดี โดยจัดสนามและอุปกรณ์การออกกำลังกายแก่คนงาน

10.    ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่คณะผู้ศึกษากรณีฮอธอร์นตั้งใจศึกษา

(1)    ระยะเวลาหยุดพักในการทำงาน        (2) การรวมกลุ่มของคนงาน

(3)    แสงสว่างในที่ทำงาน   (4) ทัศนคติของลูกจ้างต่อนายจ้าง

ตอบ 2 หน้า 13 – 14, (คำบรรยาย) ศาสตราจารย์เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นหัวหน้าคณะผู้ที่ ศึกษากรณีฮอธอร์น (Hawthorne Studies) คือ การศึกษาปัจจัยแห่งประสิทธิภาพของการทำงาน ในโรงงานแห่งหนึ่ง โดยศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ระยะเวลาหยุดพัก ในการทำงาน และแสงสว่างหรืออุณหภูมิในที่ทำงาน รวมทั้งศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติของลูกจ้าง ต่อนายจ้าง (ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้ตั้งใจศึกษา คือ การรวมกลุ่มของคนงานที่ไม่เป็นทางการ แต่ปัจจัย ดังกล่าวดึงดูดความสนใจของคณะผู้ศึกษาวิจัย จึงทำการศึกษาต่อ)

11.    ข้อใดเป็นผลของการศึกษาฮอธอร์น  

(1) ยอมรับการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นทางการของคนงาน

(2)    ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ถูกสุขลักษณะ

(3)    ยอมรับว่าคนงานเป็นปัจจัยสำคัญที่แตกต่างจากปัจจัยอื่น

(4)    เพิ่มสวัสดิการและอัตราค่าจ้างแก่คนงาน

ตอบ 3 หน้า 14 สิ่งที่พบจากผลของการศึกษากรณีฮอธอร์น ทำให้รู้ว่าต้องให้ความสำคัญที่จิตใจ และความต้องการของคนงาน โดยให้มองคนงานว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่แตกต่างไปจากปัจจัยอื่น ๆ หากความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด และแรงจูงใจไม่ได้รับการสนองตอบ หรือปล่อยให้เกิด ความขัดแย้งขึ้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อนตามมา

12.    ปฏิกิริยาป้อนกลับจากคู่สื่อสาร แสดงถึงปัจจัยใดที่ทำให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์

(1) สภาพแวดล้อม    

(2) พันธุกรรม 

(3) การอบรมสั่งสอน  

(4) ประสบการณ์

ตอบ 4 หน้า 15, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ทำให้บุคคลมีความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่

1.      สภาพแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยเริ่มแรก เช่น สายใยรักในครอบครัว หรือความรักความเอาใจใส่ ในครอบครัว การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ๆลฯ 2. การอบรมสั่งสอน เช่น การรับฟังความรู้หรือ ข้อแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมจากพ่อแม่ ครู และญาติพี่น้อง ฯลฯ 3.ประสบการณ์ที่ได้รับ เช่น ปฏิกิริยาตอบกลับ หรือปฏิกิริยาป้อนกลับ (Feedback) จาก คู่สื่อสารหรือคนรอบตัว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคูสื่อสาร และคำวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลอื่น

13.    สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของบุคคล แสดงถึงสาเหตุใดที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์

(1) ความแตกต่างในด้านประสบการณ์        (2) ความแตกต่างในด้านภูมิหลัง

(3) ความแตกต่างในด้านความคิดเห็น          (4) ความแตกต่างในด้านผลประโยชน์

ตอบ 3 หน้า 16, 79, (คำบรรยาย) สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น ได้แก่

1.      ความแตกต่างด้านประสบการณ์และภูมิหลัง เช่น อายุ เพศ อาชีพ การศึกษา สถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ

2.      ความแตกต่างด้านความคิดเห็น เป็นความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาของบุคคล ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม และรสนิยม ฯลฯ ซึ่งหากไมยอมรับกันแล้ว ความเข้าใจระหว่างกันก็จะเกิดขึ้นได้ยาก

3.      ความแตกต่างด้านผลประโยชน์ คือ ผลประโยชน์ขัดกัน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งของ วัตถุ เงินทอง ชื่อเสียง ลาภ ยศ ฯลฯ มักทำให้เกิดความไม่พอใจและความแตกแยกได้ง่าย เพราะธรรมชาติของคนเราจะไม่ยอมเสียเปรียบใคร

ข้อ14-16 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) การติดต่อสื่อสาร (2) การรู้จักตนเอง      (3) การจูงใจ

(4)    ความไว้วางใจ  (5) การเปิดเผยตนเอง

14.    องค์ประกอบข้อใดทำให้คู่สื่อสารกล้าแสดงออกซึ่งความรู้สึกที่แท้จริง

ตอบ 4 หน้า 18, 217, (คำบรรยาย) ความไว้วางใจ (Trust) ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้าง มนุษยสัมพันธ์ เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้คู่สื่อสารมีความเชื่อใจกันและกล้าที่จะเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure) ต่อกัน หรือกล้าแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึกที่แท้จริง และความคิดเห็น ต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งทำให้คู่สื่อสารแต่ละฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารอย่างอิสรเสรี จนสามารถรับรู้และเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างถูกต้อง เช่น ความรู้สึกเชื่อมันและไว้วางใจกัน ในขณะเล่นตุ๊กตาล้มลุก เป็นต้น

15.    องค์ประกอบข้อใดเปรียบเหมือนหัวใจของมนุษยสัมพันธ์

ตอบ 1 หน้า 17 การติดต่อสื่อสาร (Communication) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ จนมีผู้เปรียบว่าการติดต่อสื่อสารเป็นหัวใจของมนุษยสัมพันธ์ เพราะการสื่อสาร คือ สิ่งที่แสดงถึง ความสัมพันธ์ของมนุษย์ (Communication is the human connection) เป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่น ต้องกระทำผ่านการติดต่อสื่อสาร

16.    องค์ประกอบข้อใดทำให้คู่สื่อสารมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ตอบ 5 หน้า 18, 55, (คำบรรยาย) การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure) เป็นขั้นตอนที่ช่วยพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพราะเป็นการแสดงออกถึงสิ่งที่อยู่ภายในตัวเราให้ผู้อื่นได้ทราบ เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ความคิดเห็น และปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้น การเปิดเผยตนเองจึงทำให้คู่สื่อสารรู้จักและเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ทำให้สามารถคาดคะเน ความคิด รวมทั้งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารกับผู้อื่นให้ตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ

17.    ข้อใดแสดงถึงประโยชน์ในการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์

(1)    เข้าใจความคิดและการกระทำของมนุษย์       (2) ยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์

(3) นำไปพัฒนาตัวตนของมนุษย์      (4) รู้จักวิธีที่เหมาะสมในการสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์

ตอบ 4 หน้า 24 การศึกษาธรรมชาติของมนุษย์มีประโยชน์ต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ดังนี้

1.      ทำให้รู้จักและเข้าใจตนเองในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง 2. ทำให้รู้จักและเข้าใจบุคคลอื่น ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นกัน 3. เกิดการยอมรับตนเองและบุคคลอื่นตามธรรมชาติ ของแต่ละฝ่าย 4. ทำให้รู้จักวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่เหมาะสมตามหลักมนุษยสัมพันธ์

18.    ข้อใดไม่ใช่ลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ 

(1) ชอบการเปลี่ยนแปลง

(2)    ไม่ชอบการบังคับ        (3) ชอบซ้ำเติม           (4) มักง่าย

ตอบ 1 หน้า 23 – 24 ลักษณะทั่วไปตามธรรมชาติของมนุษย์ที่คล้ายคลึงกัน มีดังนี้ 1. อิจฉาริษยา ไมชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตน 2. มีสัญชาตญาณแห่งการทำลาย 3. ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง   4.มีความต้องการทางเพศ 5. หวาดกลัวภัยอันตรายต่าง ๆ        6. กลัวความเจ็บปวด  7. โหดร้าย ชอบซ้ำเติม 8. ชอบความสะดวกสบาย มักง่าย ไม่ชอบระเบียบและการถูกบังคับ 9. ชอบความตื่นเต้น ชอบการผจญภัย ฯลฯ

ข้อ19-21 ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) เก้าจื๊อ      (2) ขงจื๊อ        (3) ซุ่นจื๊อ        (4) เม่งจื๊อ

19.    นักปรัชญาชาวจีนท่านใด เชื่อว่าการแก้ไขตนเอง คือ การแก้ไขปัญหาที่สาเหตุ

ตอบ หน้า 32, (คำบรรยาย) ขงจื๊อ ได้กล่าววาทะที่ว่า เราไม่สามารถห้ามนกบินข้ามหัวเราได้แต่เราสามารถทำให้นกไม่ขี้รดหัวเราได้ ด้วยการหาหมวกมาใส่” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ให้ความสำคัญกับการยอมรับธรรมชาติของผู้อื่น คือ ถ้าเราต้องการ จะอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขแห้จริงแล้ว ก็สมควรแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ถูกต้อง โดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่ตนเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุหรือต้นเหตุ ดีกว่าที่จะไปแก้ไข หรือพยายามเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่นซึ่งเป็นเรื่องยาก และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า

20.    นักปรัชญาชาวจีนท่านใด เชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะของมบุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง

ตอบ 4 หน้า 26, (คำบรรยาย) เม่งจื๊อ เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนมีความดีติดตัวมาโดยกำเนิด ฃึ่งได้แก่      1. มีความรู้สึกเมตตากรุณา หมายถึง ความมีมนุษยธรรม

2.      มีความรู้สึกละอายและรังเกียจต่อบป หมายถึง การยึดมั่นในหลักศีลธรรมความดีงาม

3.      มีความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตน หมายถึง การปฏิบัติตนอันเหมาะสม ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะที่ แสดงถึงการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในตนเอง

4.      มีความรู้สึกในสิ่งที่ถูกและผิด หมายถึง ความมีสติปัญญา

21.    นักปรัชญาชาวจีนท่านใด เชื่อว่าสภาพแวดล้อมที่ดีจะพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนดีได้

ตอบ 3 หน้า 26 ซุ่นจื๊อ มองวา ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนไม่ดีเป็นทุนเติมติดตัวมา แต่การที่ เป็นคนดีเพราะสภาพแวดล้อมที่ดีพัฒนามนุษย์ให้เป็นคนดีขึ้นมาได้ และท่านยังมีความเห็น ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับสติปัญญาและความหยาบกระด้าง ซึ่งสติปัญญานี้สามารถพัฒนา สภาพหยาบกระด้างที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ให้มาเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอันงดงาม และสมบูรณได้ด้วยการฝึกอบรม

22.    นักจิตวิทยาคนใดมองธรรมชาติของมนุษย์ว่าป่าเถื่อน และเห็นแก่ตัว

(1) โทมัส ฮอบส์         

(2) จอห์น ลอค           

(3) มาสโลว์    

(4) คาร์ล โรเจอร์

ตอบ 1 หน้า 28 โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobb) ได้แสดงแนวคิดเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว โอ้อวดตน ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต เอาแต่ใจ หยาบคาย และอายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกข์ยากแล้ว มนุษย์จึงจะลด ความเห็นแก่ตัวลง และสังคมจะช่วยให้เขาดีขึ้น

ข้อ 23. – 24. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) กลุ่มปัญญานิยม (2) กลุ่มพฤติกรรมนิยม (3) กลุ่มมนุษยนิยม .          (4) กลุ่มจิตวิเคราะห์

23.    นักจิตวิทยากลุ่มใดเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เป็นผลมาจากระบบจิตใต้สำนึก

ตอบ 4 หน้า 29 กลุ่มจิตวิเคราะห์ ได้แก่ ฟรอยด์ (Freud) และฟรอม (Fromm) มีความเชื่อในเรื่องของจิตและพฤติกรรมภายใน โดยเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์มีความเลวติดตัวมาแต่กำเนิดและ พฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เกิดมาจากสัญชาตญาณภายในของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยจิต (จิตไร้สำนึก จิตใต้สำนึก และจิตในสำนึก) และแรงขับพื้นฐาน (แรงขับที่จะดำรงชีวิต แรงขับที่จะทำลาย และแรงขับทางเพศ)โดยเมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา

24.    ธรรมชาติของมนุษย์ในแนวคิดของเก้าจื๊อ สอดคล้องกับแนวคิดนักจิตวิทยากลุ่มใด

ตอบ 2 หน้า 26, 28, (คำบรรยาย) เก้าจื๊อ มองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นไม่ดีและไม่ชั่ว เปรียบเหมือน กับกระแสน้ำที่รวนเร (ไม่รู้จักทิศทาง) โดยถ้าเปิดทางทิศตะวันออก น้ำก็จะหลไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าเปิดทางทิศตะวันตกน้ำก็จะไหลไปทางทิศตะวันตก ซึ่งจะสอดคล้องกับความเชื่อของ นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ว่า มนุษย์เกิดมาไม่ดีและไม่เลว เมื่อเกิดมาแล้วจะดีหรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์จึงเป็นผลิตผลของสิ่งแวดล้อม

ข้อ 25. – 27. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1)    บุคคลย่อมมีความแตกต่าง     (2) การศึกษาบุคคลในลักษณะผลรวม

(3)    พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ       (4) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

25.    แนวคิดข้อใดนำไปสู่การจูงใจบุคคลอื่นได้

ตอบ 3 หน้า 29 – 30, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ประการหนึ่ง คือ พฤติกรรมของบุคคลย่อมมีสาเหตุ (Cause Behavior) ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการ แรงจูงใจ (Motivation) อันเป็นพื้นฐานไปสู่การจูงใจบุคคลอื่นให้คล้อยตาม หรือจูงใจให้บุคคล เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้

26.    การยอมรับที่จะปรับเปลี่ยนตนเองดีกว่าไปเปลี่ยนแปลงผู้อื่น เป็นผลมาจากแนวคิดข้อใด

ตอบ 1 หน้า 29, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดพื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ประการหนึ่ง คือ บุคคลย่อมมีความแตกต่าง (Individual Difference) ซึ่งบุคคลแต่ละคนล้วน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงไม่ควรพยายามเปลี่ยนแปลงคนอื่นให้ต้องคิดหรือทำทุกอย่าง เหมือนตนเอง แต่ควรยอมรับและเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล หรือยอมรับธรรมชาติของ แต่ละบุคคล (ทั้งของตนเองและผู้อื่น) โดยแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับขงจื๊อที่เน้นการยอมรับ ที่จะปรับเปลี่ยนตนเองดีกว่าไปเปลี่ยนแปลงผู้อื่น (ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ)

27.    สังคมที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น เป็นผลมาจากการยอมรับแนวคิดข้อใด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

ข้อ 28. – 30. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี X         (2) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Y

(3) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี Z         (4) ธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดด้านมานุษยวิทยา

28.    แนวคิดข้อใดเชื่อว่ามนุษย์มีสติปัญญาที่เป็นเหตุจูงใจในการทำงาน

ตอบ 3 หน้า 31 ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี ของเรดดิน เชื่อว่า มนุษย์มีความซับซ้อน แต่จะมีลักษณะทั่วไป คือ            1. ตั้งใจทำงานที่ตนรับผิดชอบเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย 2.มีสติปัญญา มีวุฒิภาวะ และมีเหตุผล ซึ่งเป็นเหตุจูงใจในการทำงาน 3.ยอมรับพฤติกรรมความดีและไม่ดี อันเกิดจากการกระทำของตนเอง สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม 4.มนุษย์ต้องติดต่อเกี่ยวข้องและพึ่งพาอาศัยกัน โดยได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

29.    นายจ้างควรรู้จักยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีธรรมชาติตามแนวคิดข้อใด

ตอบ 2 หน้า 30-31, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี มีลักษณะทั่วไป คือ

1.      การออกแรงกายและการใช้สมองในการทำงาน เป็นของธรรมดาเหมือนกับการเล่นหรือการพักผ่อน ซึ่งจะทำให้มนุษย์มีทัศนคติที่ดี เกิดความรักในงาน พึงพอใจและมีความสุขในการทำงาน

2.      บุคคลจะทำงานในหน้าที่ด้วยการสั่งงานและควบคุมตนเอง

3.      ควรใช้แรงเสริมทางบวกเป็นสิ่งตอบแทนเพื่อจูงใจให้บุคคลทำงาน คือ การยกยองชมเชย การให้รางวัลเพื่อเป็นกำลังใจกับผลสำเร็จของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้มีโอกาส แสดงผลงานและความสามารถในการทำงานตามที่เขาต้องการ ฯลฯ

30.    บุคลากรที่ขาดความรับผิดชอบและขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่ แสดงถึงธรรมชาติตามแนวคิดข้อใด

ตอบ 1 หน้า 30, (คำบรรยาย) ธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎี มีลักษณะทั่วไป คือ

1.      มีนิสัยไม่ชอบทำงาน ถ้ามีโอกาสก็จะหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยงการทำงานทันที หรือมักจะ ทำงานแบบ เช้าชาม เย็นชาม” 2. เพราะมีนิสัยไม่ชอบทำงาน จึงต้องใช้แรงเสริมทางลบ เพื่อจูงใจให้ทำงาน คือ ใช้การบังคับควบคุม และมีบทลงโทษ เพื่อให้ทำงานจนบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์การ 3. ชอบทำงานตามนายสั่ง ขาดความรับผิดชอบ และขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติหน้าที่การงาน แต่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยเหนือสิ่งอื่นใด

ข้อ 31. – 36. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Survival Needs 

(2) Primary Needs 

(3) Secondary Needs 

(4) Wants

31.    ความต้องการปัจจัย 4 ของบุคคล แสดงถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 2 หน้า 34 – 35, 38 ความต้องการทางต้านสรีระหรือร่างกาย (Physiological Needs) หรือ บางทีเรียกว่า ความต้องการขั้นต้น (Primary Needs) เป็นความต้องการที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการทางกายหรือทางวัตถุตามแนวคิดของศาสนาพุทธ คือ ความต้องการปัจจัยสี่ของมนุษย์ อันได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค นอกจากนั้นความต้องการในขั้นบี้ยังรวมถึงความต้องการทางเพศเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อไป ของมนุษย์ การขับถ่าย และการนอนหลับพักผ่อนเพื่อบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยด้วย

32.    Social Needs หมายถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 3 หน้า 34 – 35 ความต้องการทางต้านลังคม (Social Needs) หรือต้านจิตวิทยา (Psychological Needs) หรือบางทีเรียกว่า ความต้องการขั้นรอง (Secondary Needs) มีลักษณะที่สรุปได้ 

1.      มักเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล

2.      แต่ละบุคคลจะมีความต้องการและความเข้มข้นไม่เท่ากัน

3.      เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แม้แต่ในบุคคลคนเดียวกัน

4.      มักเกิดขึ้นเมื่อบุคคลอยู่ในกลุ่มสังคมมากกว่าอยู่คนเดียว

5.      บุคคลมักไม่แสดงออกอย่างเปิดเผยและซ่อนเร้นความต้องการในขั้นนี้ไว้

6.      บางครั้งมีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ชัดเจน ไม่เหมือนความต้องการด้านร่างกาย

7.      มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

33.    พฤติกรรมที่ทำให้บุคคลอยู่รอด หมายถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 1 หน้า 34 การอยู่รอด (Survival Needs) เป็นแรงจูงใจสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้บุคคลทำงาน ซึ่งการอยู่รอดมิใช่ความปรารถนาของมนุษย์ แต่เป็นพฤติกรรมที่ทำเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง โดยแท้จริงแล้วบุคคลบางคนไม่ได้ต้องการปลูกผัก และพืชสวนครัว แต่เนื่องจากว่าเงินที่หามาได้จากการทำงานอย่างอื่นไม่เพียงพอที่จะหาซื้อ ก็เลยต้องทำเพื่อการอยู่รอด เพราะถ้าไม่ทำก็อาจไม่มีจะกิน

34.    ความต้องการข้อใดที่บุคคลไม่แสดงออกอย่างเปิดเผย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

35.    ความฟุ่มเฟือยของบุคคล เป็นผลมาจากความต้องการข้อใด

ตอบ 4 หน้า 34, (คำบรรยาย) ความปรารถนา (Wants) เป็นความต้องการที่ไม่ใช่ความจำเป็นขั้นต้น สำหรับมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการจะมี แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ตาย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิด กิเลสตัณหา และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยสุรุยสุร่าย เช่น ซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าสวย ๆ หรือบ้านสวย ๆ ฯลฯ แต่ความปรารถนาก็เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้บุคคลทำงาน และอาจจะทำงานหนักกว่าคนอื่น เพราะความปรารถนาในสิ่งเหล่านี้ ดังนั้นหากมนุษย์ใช้ชีวิตตามแนวคิดความพอเพียงก็จะช่วยลด ความต้องการขั้นนี้ได้

36.    การดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อไปของมนุษย์ แสดงถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

ข้อ 37. – 38. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1)ภวตัณหา  (2)กามตัณหา            (3)วิภวตัณหา (4)อิฏฐารมณ์

37.    คำกล่าวที่ว่า การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์” แสดงถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 3 หน้า 36 วิภวตัณหา แปลว่า อยากให้ไป ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากกามตัณหาและภวตัณหา กล่าวคือ เมื่อเราอยากได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (กามตัณหา) และได้มาแล้ว เราก็ยึดถือหวงแหนไว้ เพราะอยากให้สิ่งนั้นคงอยู่ (ภวตัณหา) แต่ต่อมาเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในสิ่งนั้น จึงอยากให้ สิ่งนั้นพ้นหูพันตาไปเสีย (วิภวตัณหา)ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า การได้อยู่กับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์

38.    นักการเมืองที่ต้องการอยูในตำแหน่งรัฐมนตรีต่อไป แสดงถึงความต้องการข้อใด

ตอบ 1 หน้า 36 ภวตัณหา แปลว่า ความมี ความเป็น หรืออยากให้อยู่ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจาก กามตัณหา หมายความว่า เมื่อบุคคลต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (กามตัณหา) และได้สิ่งนั้นมา สมปรารถนาแล้ว ก็จะมีความพึงพอใจและยึดถือผูกพันอยู่กับสิ่งนั้น จึงอยากให้สิ่งนั้นอยู่กับตน หรืออยากให้ตนอยู่กับสิ่งนั้นตลอดไป

39.    นักศึกษาที่เรียบจบแล้วได้รับปริญญาบัตร แสดงถึงการได้รับการตอบสนองความต้องการตามหลักศาสนาพุทธข้อใด

(1) ลาภ         (2) ยศ            (3) สรรเสริญ  (4) สุข

ตอบ 2 หน้า 36 – 37 อิฏฐารมณ์ เป็นธรรมหมวดหนึ่งที่กล่าวถึงสิ่งซึ่งเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ทุกคน ได้แก่ 1. ลาภ คือ ทรัพย์สินเงินทองและสิ่งของต่าง ๆ 2. ยศ คือ ตำแหน่งหน้าที่ เหรียญตรา ปริญญาบัตร หรือวิทยฐานะ 3. สรรเสริญ คือ คำยกย่องชมเชย ความเคารพนับถือรักใคร่ จากผู้อื่น 4. สุข (ทั้งกายและใจ) คือ มีความสะดวกสบายทางกาย มีความสมหวัง และไมมี ความกังวลใด ๆ เพราะเพียบพร้อมสมบูรณ์ไปทุกอย่าง

ข้อ 40. – 45. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Self-realization and Fulfilment Needs       (2) Esteem and Status Needs

(3) Belonging and Social Activity Needs (4) Safety and Security Needs

(5)    Physiological Needs

40.    นักเรียนไทยสร้างชื่อเสียงคว้าเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการหลายสาขาวิชา กรณีนี้แสดงถึงการได้รับการ ตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ 2 หน้า 38 – 39, (คำบรรยาย) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและตำแหน่งหน้าที่ (Esteem and Status Needs) คือ ความต้องการให้สังคมยกย่องนับถือและยอมรับตนว่าเป็นคนสำคัญ ของกลุ่มสมาชิก ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถประสบ ผลสำเร็จในกิจการงาน มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีฐานะมั่นคง มีความเชื่อมั่น หรือมั่นใจในศักยภาพของตนเอง ฯลฯ ดังนั้นมนุษย์จึงพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เหนือกว่าคนอื่น โดยการสร้างสมความรู้ความสามารถ ทำตนให้เป็นที่รู้จัก และแก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับความต้องการในขั้นนี้ เช่น การได้รับรางวัลจากการประกวด หรือจากการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น

41.    การรณรงค์ กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ” เพื่อนำไปสู่การตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ 4 หน้า 38, (คำบรรยาย) ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง (Safety and Security Needs) ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้          1. ด้านอาชีพการงาน ได้แก่ นโยบายการปรับเงินเดือนผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท นโยบายปรับเงินเดือนข้าราชการเท่าเอกชน ฯลฯ

2.      ด้านร่างกาย โดยไม่ถูกทำร้ายหรือถูกคุกคาม ได้แก่ การทำประกับชีวิต การรณรงค์ โทรไม่ขับ/เมาไม่ขับ การรณรงค์ให้กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ ฯลฯ

3.      ด้านที่อยู่อาศัย ได้แก่ โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ โครงการหอพักติดดาว/เพื่อนข้างห้อง เตือนภัย การเตรียมกระสอบทรายเพื่อฟ้องกันน้ำท่วมบ้าน การติดตั้งกล้องวงจรปิด ฯลฯ

4.      ด้านชีวิตความเป็นอยู่และทรัพย์สิน ไต้แก่ นโยบายพักชำระหนี้เกษตรกร นโยบายเรียนฟรี 15 ปี นโยบายเพิ่มรายได้ให้ประชาชน นโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ฯลฯ

42.    นโยบาย เรียนฟรี 15ปีอย่างมีคุณภาพ” เป็นนโยบายที่ตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.    การเคารพกฎหมายของบุคคล นำไปสู่การได้รับการตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ 3 หน้า 38 – 39, (คำบรรยาย) ความต้องการความรักและร่วมกิจกรรมในสังคม (Belonging and Social Activity Needs) คือ ความต้องการแสดงตัวและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะของการยอมปฏิบัติตนตามกรอบกติกามารยาทของสังคม หรือการมี พฤติกรรมตามที่สังคมกำหนด ได้แก่ การเคารพกฎหมาย จารีตประเพณี และค่านิยม เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและให้สังคมยอมรับเข้าเป็นสมาชิกหรือเป็นหมู่เป็นพวกเดียวกัน

44.    การบรรลุความต้องการที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย เป็นพฤติกรรมที่ได้รับการตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ 1 หน้า 38 – 39, (คำบรรยาย) ความต้องการความสมหวังและความสำเร็จในชีวิตด้วยตนเอง(Self-realization and Fulfilment Needs) เป็นความต้องการขั้นสูงสุด คือ ต้องการพัฒนา ความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้น หรือปรารถนาให้ประสบความสำเร็จในชีวิตตามอุดมการณ์ ความหวัง หรือความฝันอันสูงสุดที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งบุคคลที่ได้รับการตอบสนองหรือบรรลุความต้องการขั้นนี้ จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นบุคคลที่มีสัจการแห่งตน จะต้องเผื่อแผ่ความสำเร็จที่เป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วย ไม่ใช่ทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเพียงอย่างเดียว

45.    ม.ร. จัดโครงการหอพักติดดาวเพื่อให้นักศึกษาได้พักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นการตอบสนองความต้องการข้อใด

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

46.    คำกล่าวทีว่า อย่าตัดสินเพียงแค่ภายนอก” แสดงถึงความแตกต่างของมนุษย์ข้อใด

(1)    สังคม  (2) รสนิยม     (3) รูปร่าง หน้าตา      (4) พฤติกรรม

ตอบ 3 หน้า 42 – 43, (คำบรรยาย) ความแตกต่างของมนุษย์ในด้านรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง คือมนุษย์เลือกเกิดไม่ได้แล้วแต่บุญนำกรรมแต่ง ทำให้แต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ทุกคนก็ล้วนมีสิทธิเสรีภาพและความเป็นคนเสมอกันหมด ดังนั้นในการสร้างความสัมพันธ์กัน จึงไม่ควรมีอคติ หรือให้ความสำคัญกับรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง และรูปลักษณ์ภายนอกของคน ดังคำกล่าวที่ว่า อย่าตัดสินเพียงแค่ภายนอก

47.    ศาสนาพุทธเปรียบคนที่มีสติปัญญาฉลาดน้อยกับดอกบัวข้อใด      

(1) ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำ

(2)    ดอกบัวที่กำลังโผล่พ้นน้ำ       (3) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ (4) ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม

ตอบ 3 หน้า 43 – 44 พุทธศาสนาได้เปรียบเทียบสติปัญญาที่แตกต่างกันของมนุษย์ไว้กับดอกบัว4 เหล่า คือ 1. ดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำพร้อมที่จะบาน เปรียบได้กับคนที่มีความเฉลียวฉลาด  2.ดอกบัวที่กำลังโผล่พ้นน้ำ เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาฉลาดปานกลาง  3.ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ เปรียบได้กับคนที่มีสติปัญญาฉลาดน้อย  4.ดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม เปรียบได้กับคนที่มิสติปัญญาโง่ทึบ

ข้อ 48. – 50. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1)โครงสร้างแบบหลวม ๆ     (2) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ

(3)    โครงสร้างที่แบ่งชนชั้น            (4) โครงสร้างแบบสังคมเกษตร (5) โครงสร้างที่ยึดถือประเพณี

48.    คนไทยมักขาดความกระตือรือร้น เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคม

ตอบ 2 หน้า 47, (คำบรรยาย) โครงสร้างที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ คือ ความเปลี่ยนแปลง ของชีวิตความเป็นอยู่และสถานะทางสังคมมีน้อย โดยความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นกับคน ที่อยู่ในเมืองหลวงมากกว่าในชนบท จึงทำให้คนไทยขาดความทะเยอทะยาน ขาดความกระตือรือร้น ไม่ชอบการแข่งขัน ยอมรับชีวิตตามสภาพที่เป็นอยู่ และมักยอมรับในชะตากรรมที่เกิดขึ้นหรือยอมรับ ชะตาฟ้าลิขิต” เช่น เกิดมาจนก็ต้องจนต่อไปแข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ฯลฯ

49.    ละครไทยมักมีเนื้อหาประเภทดอกฟ้ากับหมาวัด แสดงถึงโครงสร้างใดของสังคม

ตอบ 3 หน้า 47, (คำบรรยาย) โครงสร้างที่แบ่งชนชั้น หรือมีลักษณะของชนชั้น คือ สังคมไทยจะมี การแบ่งชนชั้นตามวงศ์สกุล อำนาจหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และอาชีพ ฯลฯ แต่การแบ่งชนชั้นก็ไม่เคร่งครัดมากเท่ากับสังคมอินเดีย เช่น ละครไทยมักมีเนื้อหาประเภท ดอกฟ้า (ผู้หญิงที่มีฐานะรวย) กับหมาวัด (ผู้ชายที่มีฐานะจน) ฯลฯ

50.    คนไทยขาดระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต เป็นผลมาจากโครงสร้างใดของสังคม

ตอบ 1 หน้า 47, (คำบรรยาย) โครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ บุคคลที่อยู่ในสังคมสามารถเลือกปฏิบัติ ในสิ่งที่ตนเองพอใจได้โดยไม่ต้องเคร่งครัดในกฎระเบียบมากนัก ทำให้คนไทยมีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยึดอะไรเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว และชอบประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกันอย่างประนีประนอม รอมชอม อะลุ้มอล่วยต่อกัน แต่ข้อเสียคือ ขาดระเบียบวินัย ในการดำเนินชีวิต ไม่เคารพกฎกติกา และมักทำอะไรตามอำเภอใจ เช่นทำอะไรตามใจคือไทยแท้ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน ฯลฯ

ข้อ 51. – 53. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) เคารพผู้อาวุโส     (2) นับถือศาสนาพุทธ            (3) กตัญญู

(4)    ชอบความโก้หรู            (5) ชอบความสบาย

51.    ผู้ชายไทยมักบวชก่อนเบียด เป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมใด

ตอบ 3 หน้า 48 – 49, (คำบรรยาย) ค่านิยมของสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีอยู่มากมาย 

1.      นับถือศาสนาพุทธ คือ ยึดถือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือยอมรับในกฎแห่งกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วคิดดี ทำดีเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวรเวรกรรมมีจริง ฯลฯ

2.      เคารพผู้อาวุโส คือ การปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี เชื่อฟังคำสั่งสอน ยกย่องและให้เกียรติ ผู้อาวุโส เช่น การจัดงานมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ฯลฯ

3. กตัญญู คือ ความเป็นผู้รู้คุณที่บุคคล สังคม หรือประเทศชาติได้ทำให้แก่ตน เช่น ผู้ชายไทยมักนิยมทดแทนบุญคุณพ่อแม่ด้วยการบวช ก่อนเบียด (บวชก่อนแต่งงาน) ฯลฯ

4. ชอบสบาย คือ ชอบความสะดวกสบาย ไม่อยากลำบาก

5.      ชอบความโก้หรู คือ ชอบอวดประชันกัน เพราะกลัวน้อยหน้าผู้อื่น จึงนิยมจัดงานที่มีพิธีการ ใหญ่โตในลักษณะ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ” ฯลฯ

52.    คนไทยมักกลัวน้อยหน้าผู้อื่น เป็นผลมาจากค่านิยมใด

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53.    คนไทยเชื่อแนวคิดทีว่า ทำดีได้ดี” เป็นผลมาจากค่านิยมใด

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54.    ความสามารถในการควบคุมการแสดงออกของตนเองได้อย่างเหมาะสม เป็นผลมาจากการศึกษาตนเองในขั้นตอนใด

(1) การรู้จักตนเอง     (2) การเข้าใจตนเอง   (3) การยอมรับตนเอง            (4) การพัฒนาตนเอง

ตอบ 4 หน้า 53 – 54, 78, (คำบรรยาย) การศึกษาตนเองตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1. การรู้จักตนเอง (To Know) คือ การสำรวจตัวเองในด้านต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร 2. การเข้าใจตนเอง (To Understand) คือ การวิเคราะห์ตนเองเพื่อหาสาเหตุ ว่าทำไมเราจึงมีลักษณะเช่นนั้น ซึ่งจะนำไปสู่ขั้นตอนการยอมรับตนเอง 3. การยอมรับตนเอง (To Accept) คือ การยอมรับหรือรับรู้ศักยภาพและข้อดีข้อด้อยของตนเอง ซึ่งเมื่อยอมรับได้ แล้วก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาตนเอง 4. การพัฒนาตนเอง (To Develop) คือ การแก้ไข ปรับปรุงจุดด้อย จุดอ่อน และข้อบกพร่องของตัวเอง เพื่อให้บุคคลมีความสามารถในการควบคุม จิตใจ อารมณ์ และการแสดงออกของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและประโยชน์ ของการศึกษาตนเอง

ข้อ 55. – 56. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Self Awareness (2) Self Acceptance (3) Self Actualization (4) Self Disclosure

55.    ความสามารถในการแยกแยะข้อดีข้อด้อยของตนเอง เป็นผลมาจากแนวคิดข้อใด

ตอบ 2 หน้า 17 – 18, 54 – 55 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การยอมรับตนเอง (Self Acceptance) คือ การรู้ว่าตนเองเป็นคนอย่างไร ทำให้เกิดการรับรู้ เกี่ยวกับตบเอง ซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถแยกแยะข้อดีข้อเด่นและข้อด้อยของตนเอง เพื่อหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ดังนั้นการยอมรับตนเองจึงนำไปสู่การพัฒนาตนเอง และยอมรับในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเรา

56.    การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นำไปสู่แนวคิดเกี่ยวกับตนเองข้อใด

ตอบ 1 หน้า 17, 54 แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง (Self Concept) ประการหนึ่ง ได้แก่ การรู้ตนเอง (Self Awareness) คือ การรู้ตนเองว่าเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดจาก ประสบการณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรมองตนเองสูงหรือต่ำ กว่าความเป็นจริง เพราะจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสาร ดังนั้นแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง และการรู้ตนเองนี้จึงเป็นพื้นฐานในการเปิดตนเองออกสู่การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น

ข้อ 57. – 58. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Labeling      (2) Social Comparison

(3) Interpersonal Relationships       (4) Significant Others

57.    การให้ความสำคัญกับบุคคลที่ใกล้ชิด เป็นการเรียนรู้ตนเองตามแนวคิดใด

ตอบ 4 หน้า 60 การยอมรับของบุคคลที่มีความสำคัญต่อเรา (Significant others) คือ การเรียบรู้ตนเอง จากการยอมรับหรือไม่ยอมรับของบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตนเอง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง ฯลฯ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เราให้ความสำคัญกับบุคคลที่ใกล้ชิด จะทำให้เรามีความรู้สึก พึงพอใจหรือเจ็บปวดมากหากได้รับปฏิกิริยาโต้ตอบจากบุคคลใกล้ชิดเหล่านี้ ดังนั้นการกระทำ ต่าง ๆ ของบุคคลใกล้ชิดจึงสามารถกำหนดพฤติกรรมของเราได้

58.    พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างตัวเรากับผู้อื่น ทำให้เกิดการเรียนรู้ตนเองตามแนวคิดข้อใด

ตอบ 2 หน้า 59 การเปรียบเทียบในสังคม (Social Comparison) คือ การวินิจฉัยหรือดูว่าพฤติกรรม ของเราแตกต่างกับพฤติกรรมของผู้อื่นในสังคมอย่างไร หากคนอื่น ๆ ในสังคมปฏิบัติอย่างหนึ่ง แล้วได้รับการยอมรับว่าดี เราก็ปฏิบัติตาม แต่ถ้าคนอื่น ๆ ว่าไม่ดี เราก็ไมทำ ขึ้นอยู่กับกลุ่มคน ในสังคมแล้วเราก็ปฏิบัติตามนั้น

ข้อ 59. – 60. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) ศึกษาและประเมินตนเอง            (2) ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง

(3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง (4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง

59.    การแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย อยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนาตนเอง

ตอบ 3 หน้า 64, (คำบรรยาย) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง ถือเป็นการตอบสนองความต้องการ ส่วนบุคคล ได้แก่   1. ความต้องการมีบุคลิกภาพที่ดีและเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้ามทำให้บุคคลต้องการปรับปรุงตนเองในระดับสูง เช่น การดูแลรูปร่างผิวพรรณให้มีเสน่ห์ ๆลฯ

2.      ความต้องการเป็นที่ชื่นชมหรือได้รับการยกย่องจากสังคม คือ ต้องการให้เป็นที่รัก ที่ชื่นชม และเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม

3.      ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม ทำให้บุคคลต้องปรับปรุงตนเองด้าน การแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน และแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการทำงาน

4.      ความต้องการอำนาจ เพื่อให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายำเกรง

60.    การเข้าอบรมเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ อยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนาตนเอง

ตอบ 2 หน้า 63 – 64 ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง คือ การยอมรับข้อบกพร่องและตระหนักถึงความสำคัญองบุคลิกภาพว่า เป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การยอมรับนับถือ ศรัทธา ความสัมพันธ์อันดี และความสำเร็จ พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนข้อบกพร่องของตนเอง โดยการศึกษาหาข้อมูลและวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อนำมาปรับปรุงตนเอง เช่น ปรึกษาแพทย์ ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ หรือเข้ารับการอบรม เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและศักยภาพตามความเหมาะสม

ข้อ 61. – 62. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1)    Inferior     (2) Superior      (3) Equal  (4) Introvert

61.    บุคคลที่ชอบออกคำสั่งให้ผู้อื่นทำตาม เป็นผลมาจากการยอมรับตนเองข้อใด

ตอบ 2 หน้า 60, (คำบรรยาย) Superior คือ การยอมรับว่าตนเองดีกว่าผู้อื่น ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจ ในตนเองสูง และตีคุณค่าของตนเองสูงกว่าผู้อื่นด้วย เพราะเชื่อว่าตนเองเก่งกว่า มีสถานภาพ สูงกว่า และมีศักยภาพหรือมีความรู้ความสามารถเหนือกว่า ดังนั้นจึงมักชอบดูหมิ่นและ วางอำนาจเหนือคู่สื่อสาร รวมทั้งชอบออกคำสั่งให้ผู้อื่นเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข หรือไม่มีข้อโต้แย้ง

62.    ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ แสดงถึงการยอมรับตนเองของข้าราชการในลักษณะใด

ตอบ 1 หน้า 60, (คำบรรยาย) Inferior คือ การยอมรับว่าตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น หรือมีสถานภาพที่ต่ำกว่าคู่สื่อสาร ซึ่งจะทำให้มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ และตีคุณค่าของตนเองต่ำกว่าผู้อื่น ดังนั้น จึงทำให้เกิดพฤติกรรมอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับฟังความคิดเห็น ให้เกียรติ เชื่อฟังและคล้อยตาม โดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้ผู้ที่สื่อสารด้วยเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า เช่น พฤติกรรมการหาเสียงของนักการเมืองที่เน้นว่าประชาชนสำคัญที่สุดแนวคิดทางธุรกิจที่เน้นว่า ลูกค้า คือ พระเจ้า ลูกค้าถูกเสมอ”, แนวคิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ว่า โรงพักเพื่อประชาชน” และแนวคิดที่ว่า ข้าราชการ คือ ผู้ที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ” เป็นต้น

63.    ข้อใดไม่ใช่แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูด  

(1)ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น

(2)    ใช้อารมณ์ในการพูดเพื่อให้คล้อยตาม            

(3) พูดในเรื่องผู้ฟังสนใจ        

(4) พูดคุยด้วยเรื่องที่สนุกสนาน

ตอบ 2 หน้า 66 – 68 แนวทางการพัฒนาตนเองในด้านการพูดหรือสนทนา มีดังนี้

1.      พูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพ       2. มีน้ำเสียงนุ่มนวล   3. ฝึกการใช้คำถามให้เหมาะสม

4.      พูดในเรื่องที่ผู้ฟังชอบ พอใจและสนใจ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ตนเองถนัดและสนใจ

5.      เลือกส่วนดีเด่นของคู่สนทนามาพูด    6. พูดอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ในการพูด

7. ใช้ศิลปะในการสนทนา เช่น ไม่ควรขัดคอหรือโต้แย้งความคิดของคู่สนทนาทันทีหลีกเลี่ยง การพูดเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นรู้จักสรรหาเรื่องที่สนุกสนานมาพูดคุยกันในวงสนทนา,ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสนทนา ฯลฯ

64.    การยอมรับว่ามนุษย์ผิดพลาดได้ นำไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด

(1) ฝึกการให้ความรักผู้อื่น    (2) ฝึกการให้อภัยผู้อื่น

(3)    ฝึกใช้อำนาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง       (4) ฝึกให้มีจสงบ

ตอบ 2 หน้า 73 ฝึกการให้อภัยผู้อื่นและตนเอง คือ การไม่ลงโทษผู้อื่นและตนเองเมื่อกระทำผิดพลาด เพราะการไม่ให้อภัยผู้อื่นและตนเองย่อมทำให้เกิดความทุกข์ทรมานใจ ดังนั้นบุคคลจึงควร พิจารณาตนเองว่าการกระทำของตนเองเหมาะสมและถูกต้องหรือไม่ และเมื่อกระทำอะไร ลงไปแล้วผู้อื่นพอใจหรือไม่ ทั้งนี้เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วก็ควรยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น และพยายามลืม โดยถือว่าความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน

65.    บุคคลที่ชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น แสดงถึงการขาดการพัฒนาตนเองข้อใด

(1) การใช้อำนาจเหนือผู้อื่น   (2) ฝึกการเอาชนะตนเอง

(3) ฝึกจัดการกับความโกรธและความเกลียด           (4) ฝึกมิให้แสดงตนเหนือผู้อื่น

ตอบ 1 หน้า 72, (คำบรรยาย) ฝึกการใช้อำนาจเหนือผู้อื่นให้น้อยลง คือ การเปลี่ยนการโต้เถียงผู้อื่น ให้เป็นการอภิปรายแทน การหัดยอมแพ้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายถูกก็ตาม และรู้จักกล่าวคำขอโทษ ทันทีเมื่อมีผู้อื่นกระทำให้เราเดือดร้อนหรือลำบากใจโดยไม่ได้เจตนา ซึ่งจะเหมาะกับบุคคลที่ ชอบใช้อำนาจเหนือผู้อื่น ไม่ยอมแพ้ ชอบโต้เถียงเพื่อเอาชนะ และพยายามควบคุมพฤติกรรม ของผู้อื่นเพราะคิดว่าตนเองสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักคิดถึง ยอมรับ และเห็นด้วยกับผู้อื่นมากขึ้น

66.    จงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการพัฒนาตนเองข้อใด

(1) ฝึกการเอาชนะตนเอง      (2) ฝึกการรักตนเอง

(3) ฝึกให้มีใจสงบ     (4) ฝึกการตั้งเป้าหมายในชีวิต

ตอบ 2 หน้า 69, (คำบรรยาย) ฝึกให้รักตนเองตามสภาพที่เป็นอยู่ คือ การฝึกให้รู้จักรักตนเอง รู้จัก ให้คุณค่า รู้จักพึงพอใจในตนเองและสภาพที่ตนเองเป็นอยู่ ดังคำกล่าวที่ว่า จงพอใจในสิ่งที่ตนเอง มีอยู่/เป็นอยู่” โดยพยายามพัฒนาตนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้น แล้วจะทำให้เรารู้จักรักและพอใจผู้อื่น ชื่นมยินดี และเห็นคุณค่าผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังต้องรู้จักให้คุณค่าแก่ตนเองด้วยการมองภาพพจน์ ของตนเองในเชิงบวก ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลเกิดความรักและภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

67.    การรู้จักเคารพกฎระเบียบและเกรงใจผู้อื่น นำไปสู่แนวทางการพัฒนาตนเองข้อใด

(1) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา     (2) ฝึกการเอาชนะตนเอง

(3) ฝึกสร้างความประทับใจ  (4) ฝึกการแสดงออกที่เหมาะสม

ตอบ 1 หน้า 71, (คำบรรยาย) ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา คือ การแสดงออกถึงการมีวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความรับผิดชอบ โดยเริ่มต้นจากการไม่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่งและทำตัวให้เป็นคนที่ เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่เป็นคนประมาทหรือละเลยต่อเหตุการณ์ที่อาจ เกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน รวมทั้งฝึกเป็นคนเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดและรู้จักเกรงใจผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นรอคอยโดยไม่จำเป็น

68.    ข้อใดแสดงถึงเป้าหมายในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิดด้านมนุษยสัมพันธ์

(1) รู้จัก          (2) เข้าใจ       (3) ยอมรับ     (4) พัฒนา

ตอบ 3 หน้า 78, (คำบรรยาย) เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาบุคคลอื่นตามแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ การยอมรับตัวตนตามลักษณะที่เป็นจริงหรือตามธรรมชาติของบุคคลอื่น โดยต้องตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐานสำคัญที่ว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อเรายอมรับในเรื่อง ความแตกต่างของบุคคลได้แล้ว ก็จะทำให้การสร้างความสัมพันธ์นั้นดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งยังทำให้ตัวเราปรับตัวเข้ากับบุคคลนั้น ๆ ได้อีกด้วย

69.    การศึกษาบุคคลอื่นต้องอยู่บนพื้นฐานแนวคิดใด

(1) ความต้องการของบุคคล  (2) ความเสมอภาคของบุคคล

(3) การเอาใจเขามาใสใจเรา (4) ความแตกต่างของบุคคล

ตอบ ดูคำอธิบายข้อ 68. ประกอบ 

ข้อ 70. – 71, ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) ค่านิยม    (2) ประสบการณ์       (3) ความเชื่อ  (4) ทัศนคติ

70.    ผลสำรวจโพลต่าง ๆ เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด

ตอบ 4 หน้า 43, 79 – 81, (คำบรรยาย) ทัศนคติ (Attitude) เป็นท่าทีหรือความรู้สึกที่แตกต่างกัน ของแต่ละบุคคล ซึ่งแสดงออกต่อสิ่งใดสิงหนึ่งในทางบวกหรือลบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอใจ หรือไม่พอใจ ชอบหรือไม่ชอบ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ไม่มีการประเมินว่าถูกหรือผิด ซึ่งเมื่อเรามีทัศนคติในทิศทางใดก็จะมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับทิศทางนั้น เช่น ผลสำรวจจากโพลต่าง ๆ เป็นต้น

71.    พสกนิกรชาวไทยเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันฉัตรมงคลอย่างเนืองแน่น เป็นพฤติกรรมที่มาจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาข้อใด

ตอบ 1 หน้า 48, 79, 81 ค่านิยม (Value) หมายถึง สิ่งที่สังคมใดสังคมหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า น่ายกย่อง ถูกต้องดีงาม และเป็นที่ยอมรับในสังคม หรือเป็นความรู้สึกในทางที่ดีที่บุคคลมีต่อ สิ่งต่าง ๆ หรือสภาพการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นค่านิยมจึงผูกพันกับคุณค่าความดีหรือไม่ดีมากกว่าความเชื่อ เช่น ค่านิยมเรื่องการเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังจะเห็นได้จากการที่พสกนิกรชาวไทย เฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวันฉัตรมงคลอย่างเนืองแน่น เป็นต้น

72.    การสังเกตสีหน้าแววตาของคู่สื่อสาร เป็นการศึกษาบุคคลโดยใช้แนวคิดใด

(1)วิธีธรรมชาติ          

(2)ทฤษฎีบุคลิกภาพ

(3) ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่       

(4) ทฤษฎีการวิเคราะห์ติดต่อสัมพันธ์

ตอบ 1 หน้า 82 – 83 บารอน (Baron) และบรายน์ (Bryne) ได้เสนอการศึกษาบุคคลด้วยวิธีธรรมชาติ ซึ่งหมายถึง วิธีการสังเกตพฤติกรรมภายนอกโดยทั่ว ๆ ไป 

1.      พิจารณาใบหน้าของบุคคล คือ การสังเกตดูว่ามีการแสดงออกทางสีหน้าอย่างไร

2.      สังเกตแววตาหรือดวงตา ดังคำกล่าวที่ว่า ดวงตา คือ หน้าต่างของหัวใจ

3.      สังเกตกิริยาท่าทาง การพูดจา และบุคลิกภาพโดยรวม 4. พิจารณาเจตนารมณ์ของพฤติกรรมบุคคล

ข้อ 73. – 77. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Open Area  (2) Blind Area  (3) Hidden Area (4) Unknown Area

73.    นายกฯ ให้สัมภาษณ์ว่ายินดีรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 2 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) ให้น้อยลง โดยใช้วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวนอน (à) คือ การรับข้อมูลย่อนกลับหรือ ปฏิกิริยาป้อนกสับจากคู่สื่อสาร รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่าง ๆ หรือให้คนอื่นบอก ข้อบกพร่องของตนเองแล้วนำมาแก้ไข

74.    การเปิดเผยข้อบกพร่องของตนเองแก่คู่สื่อสาร ช่วยลดพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 3 หน้า 83, 86 การพยายามลดพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) ให้น้อยลง โดยใช้วิธีการขยายพฤติกรรมบริเวณเปิดเผยตามแนวดิ่ง มีอยู่ 2 วิธี คือ

1.      ให้ความเชื่อถือไว้วางใจ โดยการเปิดเผยความในใจ หรือเปิดเผยข้อบกพร่องของตนเอง ให้แก่คนอื่นหรือคู่สื่อสารทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไข

2.      มีความหวังดีต่อกัน โดยการรู้จักวิจารณ์ข้อบกพร่องของคนอื่น

75.    พฤติกรรมส่วนใดที่แสดงออกด้วยความตั้งใจ และต้องการให้ผู้อื่นรับรู้

ตอบ 1 หน้า 83 – 85 บริเวณเปิดเผย (Open Area) หมายถึง บริเวณพฤติกรรมภายนอกที่บุคคล ตั้งใจหรือเจตนาแสดงออกอย่างเปิดเผย ทำให้คู่สื่อสารสามารถรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของ แต่ละฝ่ายได้ ทั้งนี้เมื่อคู่สื่อสารเริ่มรู้จักหรือยังไม่คุ้นเคยกัน บริเวณเปิดเผยจะลดลงเพราะยังสงวน ท่าทีกันอยู่ แต่หากคู่สื่อสารมีความสนิทสนมคุ้นเคยและจริงใจต่อกัน บริเวณเปิดเผยก็จะเปิด กว้างมากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมส่วนนี้จะเป็นประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เพราะทำให้คู่สื่อสารมีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อกัน มีการเปิดเผยตนเอง และจริงใจต่อกันมากขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า มองตาก็รู้ใจ

76.    บุคคลที่รับฟังข้อวิจารณ์น้อย และไม่รู้จักวิจารณ์ผู้อื่น จะมีพฤติกรรมส่วนใดมากที่สุด

ตอบ 4 หน้า 83, 87 บุคคลประเภทโง่เขลา คือ บุคคลที่รับฟังข้อวิจารณ์น้อย และไม่รู้จักวิจารณ์ผู้อื่น (ฟังน้อยและพูดน้อย) จะมีพฤติกรรมบริเวณมืดมน (Unknown Area) หรืออวิชชามากที่สุด แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณเปิดเผย (Open Area) น้อยที่สุด

77.    บุคคลที่ชอบพูดมากกว่าชอบฟังผู้อื่น จะมีพฤติกรรมส่วนใดมากที่สุด

ตอบ 2 หน้า 83, 87, (คำบรรยาย) บุคคลที่ให้ข้อติชมมาก แต่รับข้อติชมจากผู้อื่นน้อย (พูดมากกว่าฟัง) คือ บุคคลที่ไม่ยอมรับฟังคำวิจารณ์ของผู้อื่น แต่ชอบพูดวิจารณ์ผู้อื่นมากกว่า (ชอบประเมินคนอื่น โดยไม่สนใจที่จะประเมินตนเอง) จะมีพฤติกรรมบริเวณจุดบอด (Blind Area) มากที่สุด แต่จะมีพฤติกรรมบริเวณซ่อนเร้น (Hidden Area) น้อยที่สุด

ข้อ 78. – 82. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปบี้สำหรับตอบคำถาม

(1)    พฤติกรรมแบบพ่อแม่  (2) พฤติกรรมแบบผู้ใหญ่

(3) พฤติกรรมแบบเด็ก          (4) พฤติกรรมแบบพิธีการ

78.    บุคคลที่มีลักษณะหัวโบราณ และยึดถือประเพณี เป็นผลมาจากพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 1 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) พฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P) จะแสดงออก ในลักษณะของพฤติกรรมทางบวก เช่น ความรักใคร่ อบรมสั่งสอน ห่วงใย หวังดี ปลอบประโลม ให้กำลังใจ ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันก็จะมีลักษณะของพฤติกรรมทางลบด้วย เช่น เกรี้ยวกราด ดุด่าว่ากล่าว ใช้อำนาจสั่งการเหนือผู้อื่น ตำหนิติเตียน ประชดประชัน เยาะเย้ย เจ้ากี้เจ้าการ ชอบควบคุมพฤติกรรมของผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการยึดถือระเบียบแบบแผน จารีตประเพณี และเชื่อถือคติโบราณ จึงมักทำให้มีบุคลิกภาพแบบหัวโบราณ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม แต่จะมีความเมตตากรุณา

79.    การอวยพรวันเกิดเพื่อน ๆ แสดงถึงพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 4 หน้า 93, (คำบรรยาย) พฤติกรรมแบบพิธีการ คือ การกระทำเพื่อมารยาท หรือการกระทำ ตามกฎเกณฑ์ชองสังคม เช่น การรู้จักไปลามาไหว้ การจับมือ การทักทายปราศรัยหรือกล่าว คำว่า สวัสดี” เมื่อเจอกัน การกล่าวต้อนรับ การเลี้ยงต้อนรับ การปรบมือให้กำลังใจผู้พูด การกล่าวอวยพรเมื่อไปร่วมงานวับเกิดหรืองานเทศกาลปีใหม่ การรดนำขอพรจากผู้ใหญ่ ในวันสงกรานต์ และการจัดงานในเทศกาลสำคัญ ๆ ฯลฯ

80.    ผู้บริหารที่ยึดถือกฎเกณฑ์มากกว่าความคิดสร้างสรรค์ เป็นผลมาจากพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 2 หน้า 89, 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบผู้ใหญ่ (Adult Ego State : A) จะมีลักษณะ ดังนี้

1.      มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำงานตามข้อมูลและข้อเท็จจริง

2.      ยึดถือว่างานสำคัญกว่าการเล่น         3. ยึดความถูกต้องและระเบียบแบบแผนมากกว่าความคิดสร้างสรรค์            4. เป็นคนมีเหตุผล 5. เคร่งครัดในกฎเกณฑ์

81.    จินตนาการของบุคคล แสดงถึงพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 3 หน้า 89 – 90, (คำบรรยาย) พฤติกรรมแบบเด็ก (Child Ego State : C) มักแสดงออกใน ลักษณะที่มีจินตนาการสร้างสรรค์ มีอารมณ์สุนทรีย์หรืออารมณ์ศิลปิน สดชื่น มีชีวิตชีวา และ กล้าหาญ ซึ่งจะทำให้โลกนี้มีสิ่งแปลกใหม่ มีสิงประดิษฐ์ที่งดงามแปลกตา มีนักเขียน นักกลอน มีผลงานด้านศิลปะต่าง ๆ และทำให้โลกมีชีวิตชีวาด้วยเสียงเพลง เสียงดนตรี เสียงหัวเราะ การแสดงท่าขบขัน ฯลๆ นอกจากนี้ก็ยงมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความดื้อรั้น สนใจแต่ ความสุขของตนเอง เอาแต่ใจ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ไม่ควบคุมตนเอง แต่คำพูดที่ แสดงออกนั้นจะเปิดเผย อิสระ และตรงไปตรงมา

82.    ผู้บริหารที่เป็นกันเองและมีอารมณ์ขันกับลูกน้อง แสดงถึงพฤติกรรมส่วนใด

ตอบ 1 หน้า 89, 91 – 92 ผู้บริหารที่มีพฤติกรรมแบบพ่อแม่ (Parent Ego State : P)

1. ถือว่าลูกน้องเหมือนลูกหลานที่จะอบรมสั่งสอนได้

2.      เอาใจใส่ดูแลการทำงาบของลูกน้องอย่างใกล้ชิด       

3. เป็นกันเอง มีอารมณ์ขัน

4.      เห็นอกเห็นใจ เป็นห่วงลูกน้อง และให้ความช่วยเหลือ

5.      ร่วมคิด ร่วมปรึกษากับลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบเด็กเท่านั้น

6.      ถือว่างานต้องมาก่อนความสนุกสนานบันเทิง            

7. ต้องการให้ลูกน้องยกย่องให้เกียรติ 8. มักชอบใช้อำนาจเหนือลูกน้องจนกลายเป็นเผด็จการ

ข้อ 83. – 84. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1)    I’m not OK., You’re OK.   

(2) I’m OK., You’re not OK.

(3)    I’m not OK., You’re not OK.     

(4) I’m OK., You’re OK.

83.    คนที่มี Positive Thinking เป็นผลมาจากการรับรู้ตนเองและผู้อื่นอย่างไร

ตอบ 4 หน้า 94 ฉันดีคุณก็ดีด้วย (I’m OK., You’re OK.) เป็นทัศนคติที่บ่งบอกให้ทราบว่าเป็น บุคคลที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์และประสบความสำเร็จในชีวิต เพราะมองตนเอง ผู้อื่น และ สิ่งแวดล้อมในแง่ดี (Positive Thinking) โดยยอมรับว่าทุกคนมีค่าหรือมีส่วนดีด้วยกันทั้งนั้น จึงเป็นทัศนคติที่นำไปสู่ประสิทธิภาพใบการสร้างมนุษยสัมพันธ์ ทำให้สามารถติดต่อสัมพันธ์ กับคนอื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขไปด้วย

84.    คนที่ต้องการกำลังใจและการเอาใจใส่จากผู้อื่น เป็นผลมาจากการรับรู้ข้อใด

ตอบ 1 หน้า 93 ฉันเลวแต่คุณดี (I’m not OK., You’re OK.) เป็นทัศนคติที่แสดงถึงภาวะจิต ของคนที่ไม่มีความสุข จึงเป็นบุคคลที่ต้องการกำลังใจ ต้องการความสนใจและเอาใจใส่จาก ผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น มักจะมองตนเองในแง่ลบ ชอบตำหนิตนเอง แต่กลับมองผู้อื่นในแง่ดี และยกย่องชมเชยผู้อื่น เช่น คำพูดที่ว่า ฉันเป็นดอกหญ้าที่ไร้ค่าแต่เธอเป็นดอกฟ้าผู้สูงส่ง”, “ทำอย่างไรฉันถึงจะเก่งได้เหมือนเธอ” เป็นต้น

85.    ตามแนวคิดของเชลดัน บุคคลที่ชอบวิตกกังวล และชอบอยู่ตามลำพัง จะมีบุคลิกภาพแบบใด

(1) อ้วน          (2) ล่ำสัน       (3) ผอม          (4) สมส่วน

ตอบ 3 หน้า 95 เชลดัน (Sheldon) ได้จัดแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.      รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มักขอบสนุกสนานร่าเริง และโกรธง่ายหายเร่ว ฯลฯ

2.      รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) แข็งแรง มีร่างกายสมส่วน เป็นคนคล่องแคล่วว่องไว มีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีเพื่อนมาก และชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ

3.      รูปร่างผอม (Ectomorphy) มักเคร่งขรึม เอาการเอางาน ใจน้อย ชอบวิตกกังวล ไม่ชอบการต่อสู้ และชอบอยู่ตามลำพัง ฯลฯ

86.    ข้อใดแสดงถึงพฤติกรรมแบบ Extrovert

(1)ขี้อาย         (2)ปรับตัวเก่ง (3) เชื่อมั่นตนเอง        (4)อารมณ์ดี

ตอบ 4 หน้า 95, (คำบรรยาย) คาร์ล จี. จุง (Carl G. Jung) ได้แบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.      ชอบเก็บตัว (Introvert) เป็นพวกเชื่อมั่นในตนเอง ยึดตัวเองเป็นใหญ่ ขี้อาย เก็บความรู้สึก ชอบอยู่ตามลำพัง ปรับตัวยาก เห็นแก่ตัว ฯลฯ

2.      ชอบแสดงตัว (Extrovert) เป็นพวกไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอน เปิดเผย เข้าสังคมเก่ง อารมณ์ดี ชอบทำกิจกรรม ฯลฯ

3.      ประเภทกลาง ๆ (Ambivert) เป็นพวกไม่เก็บตัวหรือแสดงตัวมากเกินไป ปรับตัวเก่งหรือ ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และมักจะมีนิสัยเรียนรู้การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึงเป็น บุคลิกภาพที่แสดงถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

ข้อ 87. – 88. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) นกฮูก       (2) สุนัขจิ้งจอก          (3) ฉลาม       (4) ตุ๊กตาหมี  (5) เต่า

87.    สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่ขาดความรับผิดชอบ

ตอบ 5 หน้า 96 ผู้บริหารประเภทไม่เอาไหน (Impoverished Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็นเต่า” เพราะไม่กล้าเผชิญปัญหา และเมื่อมีความผิดเกิดขึ้นก็มักจะโทษผู้อื่นหรือโยนความผิด ให้ลูกน้อง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยอมตามผู้อื่นด้วยความขุ่นเคืองใจ มองผู้อื่นในแง่ร้าย โดยจะบริหารงานแบบสบาย ๆ ไม่สนใจลูกน้องและงาน ชอบอยู่เฉย ๆ ใครจะทำอะไรก็ทำไป และเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่รับผิดชอบไมว่ากรณีใด ๆ

88.    สัญลักษณ์ใดแสดงถึงบุคลิกภาพของผู้บริหารที่รู้จักควบคุมอารมณ์และรับฟังลูกน้อง

ตอบ 1 หน้า 97, (คำบรรยาย) ผู้บริหารประเภทใจเย็น (Team Manager) จะมีสัญลักษณ์เป็น นกฮูก” คือ เป็นบุคคลที่พยายามศึกษาความต้องการของตนเองและผู้อื่น แล้วแก้ปัญหาความขัดแย้ง ด้วยการควบคุมอารมณ์ รับฟังผู้อื่นด้วยความเข้าใจ พูดจาไพเราะ และแสดงความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง จึงถือว่าเป็นผู้บริหารที่มีบุคลิกภาพและแนวคิด ด้านมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน ทำให้สามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์กับลูกน้องได้ดีที่สุด

ข้อ 89. – 91. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) การรับรู้ด้วยความประทับใจ        (2) การรับรู้โดยการประเมินคนอื่น

(3) อิทธิพลทางสังคม            (4) ความสัมพันธ์ทางสังคม

89.    การจดจำพฤติกรรมทางสังคมที่แตกต่างจากคนทั่วไป แสดงถึงแนวคิดใด

ตอบ 2 หน้า 130 หลักการรับรู้ทางสังคมโดยการประเมินบุคคลอื่น มีดังนี้

1.      เรามักสนใจการกระทำที่แสดงให้เห็นถึงมูลเหตุที่ชัดเจน

2.      เรามักจดจำพฤติกรรมทางสังคมที่แตกต่างจากคนทั่วไปได้ดี

3.      เรามักประเมินและยอมรับสิ่งที่เขาแสดงออกในที่ส่วนตัวมากกว่าในที่สาธารณะ

4.      เรามักประเมินพฤติกรรมจากการกระทำที่แสดงออกอย่างเสมอต้นเสมอปลายเป็นเวลานาน ๆ

5.      เรามักตัดสินคนอื่นที่สนับสนุนความคาดหวังของเราที่เคยมีมาต่อบุคคลนั้น

90.    ประสบการณ์ครั้งแรก นำไปสู่แนวคิดข้อใด

ตอบ1 หน้า 127 – 129, 155, (คำบรรยาย) การรับรู้ทางสังคมด้วยความรู้สึกประทับใจ มักเกิดจาก ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความประทับใจครั้งแรก ประสบการณ์ครั้งแรก หรือปรากฏการณ์ครั้งแรก ของคู่สื่อสาร คือ การรับรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบบุคคลที่เราพบเห็นเป็นครั้งแรก

2.      ปรากฏการณ์ภายนอก คือ บุคลิกภาพภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา

3.      การสื่อสารเชิงอวัจนะหรือพฤติกรรมการแสดงออกทางอวัจนภาษา (ภาษากาย) คือ

การสื่อสารกันโดยไม่ต้องใช้คำพูด เช่น สีหน้า สายตา ท่าทางและการสัมผัส น้ำเสียง ฯลฯ

91.    แรงดึงดูดใจของคู่สื่อสาร นำไปสู่แนวคิดข้อใด

ตอบ 4 หน้า 133, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงดึงดูดจทางสังคมของคู่สื่อสาร จนนำไปสู่ แนวคิดความสัมพันธ์ทางสังคม 

1.      ความใกล้ชิดทางกายภาพ คือ ความใกล้ชิดกับทางด้านสถานที่ เช่นในห้องเรียน หรือ เพื่อนร่วมงานในที่ทำงานเดียวกัน

2.      ทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน คือ มีความสนใจร่วมกัน หรือมีทัศนคติหลาย ๆ อย่างตรงกับมาก่อน

3.      รูปร่างหน้าตา หรือบุคลิกภาพที่ดี นับเป็นปัจจัยที่มิอิทธิพลมากขึ้นในปัจจุบัน

ข้อ 92. – 93. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) การถอยหนี          

(2) การชดเชย            

(3) การกลบเกลื่อน 

(4) การหาเหตุผล          

(5) การถดถอย

92.    ข้อใดแสดงถึงการป้องกันตนเองแบบมะนาวหวาน

ตอบ 4 หน้า 138 – 139 การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) แบ่งออกเป็น 2 แบบ 

1. องุ่นเปรี้ยว (Sour Grape) คือ การหาเหตุผลโดยอ้างว่าไม่ชอบ หรือหาข้อเสียของสิ่งนั้น มาอ้างเป็นเหตุผลที่ตนประสบความล้มเหลว เช่น สอบบรรจุเข้าทำงานราชการไม่ได้ ก็อ้างว่างานราชการเงินเดือนน้อย ฯลฯ           

2. มะนาวหวาน (Sweet Lemon) คือการหาเหตุผลโดยอ้างว่าชอบ หรือกล่าวอ้างข้อดีของสิ่งนั้น ๆ เช่น ทำงานราชการอยู่ ก็อ้างว่าเป็นงานที่มีเกียรติทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถหางานอื่นมาทำแทนได้ ฯลฯ

93.    การแสดงพฤติกรรมแบบเด็ก ๆ เป็นการป้องกันตนเองด้วยวิธีใด

ตอบ 5 หน้า 138, (คำบรรยาย) การถดถอย (Regression) คือ กลไกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตกอยู่ใน ภาวะวิตกกังวลและไม่อาจจะขจัดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นได้ จึงหาทางออกโดยการย้อนไป แสดงพฤติกรรมแบบเด็ก ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล เช่น ร้องไห้ ปัสสาวะรดที่นอน กระทืบเท้า แลบลิ้น อ่านหนังสือการ์ตูน ฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่บุคคลเคยทำในอดีตสมัยเด็ก ๆ และนำกลับมาใช้ใหม่เมื่อตนเองมีปัญหาในการปรับตัว

94.    ผู้อาวุโสในสังคมไทยที่เข้าวัดฟังธรรม ทำให้ได้รับการยอมรับจากสังคมตามแนวคิดใด

(1) อ้างความด้อยของตนเอง (2) อ้างชื่อเสียงของกลุ่ม

(3)    สวบบทบาทตามความคาดหวังของผู้อื่น

(4)    สวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาของตน

ตอบ 4 หน้า 135, (คำบรรยาย) การสวมบทบาทตามคุณลักษณะที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่พึงประสงค์ ของตน ได้แก่ ความพิการทั้งทางกายและทางจิต ความยากจน และความชรา โดยบุคคลที่มี คุณลักษณะเหล่านี้มักจะถูกบังคับให้กระทำตามบทบาทของตนทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อให้ผู้อื่นประทับใจและสังคมยอมรับ เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสที่เข้าวัดเพื่อฟังพระเทศน์ ธรรมะคนชราที่เข้าวัดเพื่อทำบุญ ตักบาตร ปฏิบัติธรรม และฝึกนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอคนจนที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ฯลฯ

95.    ข้อใดไมไข่ลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล

(1)    เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างคู่สื่อสาร 2 คน

(2)    เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า

(3)    เป็นการสื่อสารแบบสองทาง

(4)    ผ่านสื่อที่รับ – ส่งข่าวสารได้ครั้งละ 2 คน

ตอบ 1 หน้า 148 – 149, (คำบรรยาย) ลักษณะของการสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) มีดังนี้

1.      เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างคูสื่อสารอย่างน้อย 2 คน หรือเป็นการสื่อสาร ระหว่างบุคคลในกลุ่มเล็ก ๆ ก็ได้

2.      เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า (Face to Face Communication)

3.      เป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ที่มีปฏิกิริยาป้อนกลับ

4.      เป็นการสื่อสารแบบผ่านสื่อ (Interpose Communication) ที่รับ-ส่งข่าวสารได้ครั้งละ 2 คน หรือไม่เกินครั้งละ 2 คน เช่น การพดคุยทางโทรศัพท์ ฯลฯ

96.    การสื่อสารระหว่างบุคคลทำให้เกิดการปรับตัวเข้ากับสังคม แสดงถึงวัตถุประสงค์ใดของการสื่อสาร ระหว่างบุคคล

(1) เพื่อค้นพบตัวเอง  (2) เพื่อค้นพบโลกภายนอก

(3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย     (4) เพื่อโน้มน้าวใจ

ตอบ 1 หน้า 151 เพื่อค้นพบตัวเอง (Personal Discovery) คือ การได้มีโอกาสสื่อสารกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า จะทำให้เราได้รู้จักตนเองด้วยการสังเกตจากปฏิกิริยา ป้อนกลับของผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รู้ความคิดของตนเองว่าแตกต่างจากผู้อื่นในสังคมอย่างไร ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนรู้จักการปรับตัวให้เข้ากับสังคม รวมทั้งได้พิจารณาข้อบกพร่องและข้อได้เปรียบของตน

97.    ข้อใดไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะ

(1)    อวัจนสารทำให้การสื่อสารชัดเจนยิ่งขึ้น

(2)    อวัจนสารมีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสาร

(3)    อวัจบสารมีอิทธิพลต่อผู้รับสารน้อยกว่าวัจนสาร 5 เท่า

(4)    การสื่อสารเชิงอวัจนะแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ตอบ 3 หน้า 153 – 154 แนวคิดที่ถูกต้องของการสื่อสารเชิงอวัจนะหรือการใช้อวัจนสาร (Nonverbal Communication) มีดังนี้

1.      อวัจนสารแสดงถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

2.      อวัจนสารมีแทรกอยู่ในทุกสถานการณ์ของการสื่อสารที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ไม่ว่า พฤติกรรมนั้นจะแสดงโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

3.      อวัจนสารมีความครอบคลุมกว้างขวางแทบจะไม่มีขอบเขตจำกัด (ไร้ขอบเขต) ไม่ว่าจะเป็น การแสดงออกทางด้านน้ำเสียง ท่าทาง หรือสีหน้า

4.      อวัจนสารมีหน้าที่ในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารชัดเจนถูกต้องและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

5.      อวัจนสารสามารถส่งผลกระทบและมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากกว่าวัจนสารถึง 5 เท่า ฯลฯ

ข้อ 98. – 99. ให้ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้สำหรับตอบคำถาม

(1) Honesty      (2) Supportiveness  (3) Positiveness        (4) Empathy

98.    คู่สื่อสารที่ไม่เป็นปฏิปักษ์กัน แสดงถึงปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารระหว่างบุคคล

ตอบ 2 หน้า 162, (คำบรรยาย) การได้รับการสนับสนุน (Supportiveness) คือ การสื่อสารจะดำเนินไปไต้อย่างสนุกสนานและราบรื่นต่อเมื่อคู่สื่อสารรู้สึกว่า คนที่ตนกำลังสื่อสารด้วยนั้น ไม่ไต้เป็นปฏิปักษ์กับตน ดังนั้นการสื่อสารที่ดีจึงควรเปิดโอกาสให้คู่สื่อสารแสดงความคิดเห็น ของตนอย่างเสรี และหลีกเลี่ยงความคิดที่ขัดแย้งของแต่ละฝ่ายโดยไม่จำเป็น

99.    ความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา แสดงถึงปัจจัยใดในการเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสาร ระหว่างบุคคล

ตอบ 4 หน้า 161 – 162 พฤติกรรมความเห็นอกเห็บใจ (Empathy) หรือความสามารถในการเอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึง ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือความสามารถในการรับรู้และ เข้าใจถึงความรู้สึกและความคิดเห็นของคู่สื่อสารในแต่ละสถานการณ์ได้เสมือนเป็นคน ๆ นั้น ซึ่งจะช่วยให้คู่สื่อสารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสื่อสารของตนให้เป็นที่พอใจซึ่งกันและกันได้

100. การพูดจาไพเราะและให้เกียรติคู่สื่อสาร แสดงถึงปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างบุคคลข้อใด

(1) ลักษณะดึงดูดใจ (2) ความใกล้ชิด        (3) การให้แรงเสริม    (4) ความคล้ายคลึง

ตอบ หน้า 158, 160 การให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร (Reinforcement) คือ คนเรามีแนวโน้มจะ สื่อสารกับคนที่ให้สิ่งที่ตนพอใจหรือคนที่ให้แรงเสริมแก่ตน โดยแรงเสริมนั้นอาจเป็นวัตถุ สิ่งของหรือตัวเสริมแรงทางสังคม ได้แก่ การพูดจาไพเราะ การยกย่องชมเชย และการให้ เกียรติกัน ซึ่งจะต้องมีลักษณะของความจริงใจ ไม่เสแสร้ง และไม่แอบแฝงผลประโยชน์ เช่น คนเรามักไม่อยากสนทนากับเพื่อนที่ชอบขัดคอหรือโต้แย้ง แต่มักชอบพูดคุยกับเพื่อน ที่ยินดีและแสดงความนับถือยกย่องในความสำเร็จของเรา เป็นต้น

 

Advertisement