ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2108 (MCS 2390) ชุดที่ 2

เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ข้อ 1. – 10.       จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       Technology 

(2) wvwv.google.co.th 

(3) Language      

(4) Newspaper

1.         สื่อดั้งเดิม

ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 6) รูปแบบของสื่อ (Media) มีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         สื่อดั้งเดิม (Traditional Media) คือ สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีในการ สื่อสารในช่วง 6,000 – 30,000 ปีก่อน ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ (เช่น หนังสือพิมพ์ (Newspaper) นิตยสาร (Magazine) ฯลฯ)สื่อวิทยุกระจายเสียงสื่อภาพยนตร์ และสื่อวิทยุโทรทัศน์

2.         สื่อใหม่ (New Media) คือ การนำเอาภาษาระบบตัวเลข หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรียกว่า การทำให้เป็นระบบตัวเลข (Digitization) จนส่งผลให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่หรือสื่อใหม่ขึ้น ได้แก่ การสื่อสารระบบ World Wide Web (เช่น Youtube www.google.co.th ฯลฯ)สื่อออนไลน์ (เช่น วิทยุออนไลน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ออนไลน์ ฯลฯ)ภาพถ่ายดิจิตอลกราฟิกคอมพิวเตอร์เกม เป็นต้น

2.         ผู้รับสารเป็นผู้กระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 6-7ส่วนที่ 2 หน้า 317), (ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ)

คุณลักษณะสำคัญของสื่อใหม่ (New Media) ได้แก่

1.         ผู้รับสารมีลักษณะ Active Seeker คือ ผู้รับสารกระตือรือร้นเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยตัวเองตามความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นของตัวเองอย่างอิสรเสรี

2.         เป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ (Interactive) หรือการปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารที่มุงเน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสารไปยังผู้ส่งสาร ในลักษณะการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)

3.         เป็นสื่อที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและเนื้อที่หรือพื้นที

4.         มีความซับซ้อนทางด้านเทคโนโลยี และต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้การใช้สื่อและการเข้าถึงสื่อ จึงทำให้คนรุ่นเก่าไม่คุ้นเคย และอาจไม่ยอมเปิดรับหรือเข้าไม่ถึงสื่อใหม่ เพราะประเมินว่าตนเองไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดีเท่ากับคนรุ่นใหม่

3.         ผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารต่อเมื่อผู้ส่งสารนำเสนอสารผ่านช่องทางการสื่อสาร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ภาษา (Language) หมายถึง สิ่งที่ผู้ส่งสารสร้างขึ้นโดยกำหนดความหมายเพื่อให้ ผู้รับสารรับรู้ความหมายรวมกัน ดังนั้นภาษาจึงเป็นองค์ประกอบของ สาร” (Message)ในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งผู้รับสารจะได้รับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารนำเสนอสาร (ภาษาหรือถ้อยคำ) ผ่านช่องทางการสื่อสาร

4.        สื่อสารมวลชนสื่อแรกของโลก

ตอบ4 (ส่วนที่ 1 หน้า 616), (คำบรรยาย) สื่อหนังลือพิมพ์กระดาษ (Newspaper) จัดเป็นสื่อสารมวลชน สื่อแรกของโลกที่ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อผู้อ่านในสังคม แม้ว่าจะมีสื่อหนังลือพิมพ์ออนไลน์ เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคมมากขึ้นก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะสื่อหนังสือพิมพ์กระดาษมีความคงทนสูง (ผู้รับสารเปิดรับข้อมูลข่าวสารซ้ำได้โดยไม่จำกัดเวลา) มีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้อ้างอิงได้

5.         คือ องค์ประกอบ สาร” (Message) ในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

6.         ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. และ 2. ประกอบ

7.         สิ่งที่ผู้ส่งสารสร้างขึ้นโดยกำหนดความหมายเพื่อให้ผู้รับสารรับรู้ความหมายร่วมกัน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

8.         การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านอุตสาหกรรม หรือพาณิชยกรรม

ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 2) บราวน์ (Brown)ให้ความหมายซอง เทคโนโลยี” (Technology) ไว้ว่าเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์ ส่วนพจนานุกรมเว็บสเตอร์ (Webster) กล่าวถึงเทคโนโลยีว่าครอบคลุมความหมาย 2 ประการ ดังนี้

1.         การใช้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม

2.         องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

9.         สื่อใหม่

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

10.       มีความคงทนสูง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

11.       ข้อใดคือเหตุผลที่กล่าวว่า เทคโนโลยี” มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการสื่อสารของมนุษยชาติ

(1)       การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำรงอยู่ของมนุษย์

(2)       การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของมนุษย์

(3)       การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการปรับตัวของมนุษย์

(4)       การสื่อสารเป็นวิถีในการอยู่รอดของมนุษย์ในสังคม   

(5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 5 (ส่วนที 1 หน้า 4) เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนากิจการหรืองานด้านต่าง ๆ และด้วยเหตุที่การสื่อสาร (Communication) เป็นเครื่องมือสำคัญของมนุษย์ในการดำรงอยู่หรือ การอยู่รอด การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการพัฒนาทุก ๆ ด้าน ดังนั้นการนำเอาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาด้านการสื่อสารจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของมวลมนุษยชาติ

12.       The Broadcast Domain หมายถึงรูปแบบการสื่อสารในข้อใด

(1)       การสื่อสารที่ต้องอ้างอิงเอกสาร           

(2) การสื่อสารประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

(3)       การสื่อสารประเภทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

(4)       การสื่อสารระหว่างบุคคล       

(5) การสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม

ตอบ 3            (ส่วนที่ 1 หน้า 4) ฟิดเลอร์ ได้ลำดับพัฒนาการของเทคโนโลยีสื่อ 3 สื่อหลักที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ไว้ดังนี้ 1. เทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล (The Interpersonal Domain) 2. เทคโนโลยีการสื่อสารประเภทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (The Broadcast Domain) 3. เทคโนโลยีการสื่อสารประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ (The Document Domain)

13.       ข้อใดต่อไปนี้ที่จัดเป็น New Media     

(1) รายการวิทยุ ไอทีทูเดย์

(2)       คอลัมน์ ก้าวทันยุค 4G” ในนิตยสารแพรว     (3) ละคร ดอกรักริมรั้ว บน Youtube

(4) ภาพซีเปีย  (5) ภาพยนตร์ระบบ Technic Color

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

14.       สื่อใดต่อไปนี้เป็นสื่อที่มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะ One-way Communication

(1)       วิทยุอินเทอร์เน็ต          (2) เว็บบอร์ดพันทิพ     (3) ภาพยนตร์ เดอะ ชัตเตอร์” ฉายในโรงภาพยนตร์

(4) ภาพยนตร์ ฮักนะ…สารคาม” บน Youtube (5) โปรแกรม Line บนโทรศัพท์เคลื่อนที่

ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 6 – 7), (คำบรรยาย), (ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ)

คุณลักษณะสำคัญของสื่อดั้งเดิม (Traditional Media) ได้แกj

1.         ผู้รับสารมีลักษณะ Passive Receiver คือ ผู้รับสารมีหน้าที่เปิดรับข้อมูลข่าวสาร และ จะได้รับข้อมูลข่าวสารก็ต่อเมื่อมีการนำเสนอผ่านสื่อเท่านั้น

2.         เป็นสื่อที่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและเนื้อที่หรือพื้นที่ เช่น สื่อหนังสือพิมพ์เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารในช่วงเช้าของแต่ละวัน (มีข้อจำกัดด้านเวลา) ด้วยปริมาณข้อมูลข่าวสาร ที่จำกัดอยู่ในจำนวนหน้าของสิ่งพิมพ์ที่จัดสรรให้ (มีข้อจำกัดด้านพื้นที่) เป็นต้น

3.         เป็นสื่อที่ประชาชนหรือผู้รับสารในสังคมมีความคุ้นเคย เนื่องจากมีระยะเวลาในการ พัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน

4.         เป็นสื่อที่ไม่เน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสาร ซึ่งเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)

15.       สื่อที่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารในช่วง 6,000 – 30,000 ปีก่อน ตรงกับข้อใด

(1)       สื่อท้องถิ่น       (2) สื่อโบราณ  (3) สื่อดั้งเดิม   (4) สื่อดึกดำบรรพ์       (5) สื่อใหม่

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

16.       ผู้อ่านหนังลือพิมพ์คมชัดลึก มีลักษณะตรงกับข้อใด 

(1) Active Seeker

(2)       Active Receiver (3) Passive Seeker (4) Passive Receiver (5) Negative Receiver

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 1. และ 14. ประกอบ

17.       สื่อที่เปิดช่องทางให้เกิดการสื่อสารในลักษณะ Interactive ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร คำว่า Interactive หมายถึง

(1)       การสื่อสารที่มุ่งเน้นปฏิกิริยาตอบกลับจากผู้รับสารไปยังผู้ส่งสาร

(2)       การสื่อสารที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร

(3)       การสื่อสารที่มุ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนทางความคิดระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร

(4)       การสื่อสารที่มุ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร

(5)       ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

18.       มีข้อจำกัดด้นเวลาและเนื้อที่ เป็นข้อจำกัดของ         

(1)       สื่อดั้งเดิม         (2) สื่อประเพณี           (3)       สื่อใหม่

(4)       สื่อดึกดำบรรพ์ (5)       สื่อท้องถิ่น

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 14. ประกอบ

19.       มีความน่าเชื่อถือ และเป็นสื่ออ้างอิงได้” คือ เหตุผลที่ทำให้สื่อแบบดั้งเดิมข้อใดต่อไปนี้ยังคงได้รับ ความสนใจจากผู้รับสารในปัจจุบัน          

(1) สื่อวิทยุกระจายเสียง

(2)       สื่อวิทยุโทรทัศน์          (3) สื่อสิ่งพิมพ์ (4) สื่ออินเทอร์เน็ต       (5) สื่อประเพณี

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. และ 4. ประกอบ

20.       เป็นสื่อที่ต้องอาศัยทักษะในการเรียนรู้ในการใช้และการเข้าถึงสื่อ” คือ เหตุผลที่ทำให้คบรุ่นเก่าไม่นิยม เปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อใดต่อไปนี้

(1)       สื่อดั้งเดิม         (2) สื่อท้องถิ่น  (3)       สื่อเฉพาะกิจ    (4)       สื่อใหม่ (5)       สื่อประเพณี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

21.       ข้อใดที่ให้คำนิยามเกี่ยวกับคำว่า “Information” และ “Data” ถูกต้อง

(1)       Information คือ Data ที่มีการจัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน

(2)       Data คือ Information ที่มีการจัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน

(3)       Information เป็นส่วนหนึ่งของ Data

(4)       ทั้ง Information และ Data มีความหมายเหมือนกัน เพียงแต่เขียนไม่เหมือนกัน

(5)       ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ1  (ส่วนที่ 1 หน้า 10), (คำบรรยาย) สารสนเทศ (Information) กับข้อมูล (Data) มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ ข้อมูล (Data) คือ กลุ่มข้อความที่ไม่มีการจัดรูปแบบหรือจัดระเบียบ และ ไม่พร้อมถูกนำมาใช้งาน เช่น ต้นฉบับภาพข่าวเพื่อนำลงฐานข้อมูลมติชนออนไลน์ เป็นต้น ส่วนสารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล (Data) ที่ผ่านกระบวบการจัดการ หรือมีการ จัดระเบียบและพร้อมถูกนำมาใช้งาน เช่น ข่าวสารหรือไฟล์ภาพในเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น

22.       ข้อใดต่อไปนี้คือประเด็นจริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (PAPA)

(1)       Information Proposal     

(2) Information Property 

(3) Information Promotion

(4) Information Priority    

(5) Information Privilege

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 10) จริยธรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ (PAPA)

มีอยู่ 4 ประเด็น คือ      1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)

2.         ความถูกต้อง (Information Accuracy) 3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) 4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)

23.       การรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้สื่อและจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่แก่ผู้ประกอบการธุรกิจสื่อออนไลน์ขัดกับจริยธรรมด้านเทคโนโลยีการสื่อสารข้อใด       

(1) ความถูกต้อง

(2)       ความเป็นส่วนตัว        (3) ความเป็นเจ้าของ   (4) การเข้าถึงข้อมูล (5) การสงวนสิทธิแห่งพื้นที่

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 10) ตัวอย่างการละเมิดความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) มีดังนี้

1.         การเข้าไปดูหรืออ่านข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ของผู้อื่น

2.         การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการ

ของพนักงาน 3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ทื่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นใหม่แล้วนำไปขายให้บริษัทอื่น

24.       ประเด็นที่พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาความผิดพลาดของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ทางสื่อคอมพิวเตอร์ คือ

(1)       ข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นด้วยความจงใจหรือไม่

(2)       ควรมีมาตรการลงโทษต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด

(3)       ใครจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่

(4)       ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง   (5) ข้อ 1 และ 2 ถูกต้อง

ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 1123) ประเด็นที่พิจารเนาเกี่ยวกับความถูกต้อง (Information Accuracy) ในปัญหาความผิดพลาดของข้อมูลและสารสนเทศที่จัดเก็บและเผยแพร่ทางสื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการทีสื่อออนไลน์ไม่มีผู้ทำหน้าที่ ผู้เฝ้าประตูข่าวสาร” คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ ตรวจสอบ คัดเลือก และตีความสารก่อนที่จะส่งผ่านไปยังผู้รับสาร มีดังนี้

1.         ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่

2.         จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากความจงใจหรือไม่

25.       ข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าข่ายการกระทำที่ขัดกับประเด็นจริยธรรม Information Property

(1)       การซื้อฐานข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายธุรกิจ

(2)       การทำสำเนาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ลูกค้าในราคาถูก

(3)       การใช้กล้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตรวจจับดูการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัท

(4)       การรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าเพื่อสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่แล้วขายให้ผู้อื่น

(5)       การพยายามเจาะเข้าถึงฐานข้อมูลของผู้อื่นผ่านโปรแกรมการสื่อสารที่มิชอบด้วยกฎหมาย

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 11), (คำบรรยาย) ประเด็นที่พิจารณาเกี่ยวกับการกระทำที่ขัดกับ

ความเป็นเจ้าของ (Information Property) คือ

1.         การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เช่น การทำสำเนาซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เพื่อนำไปขายให้ลูกค้า ในราคาถูก ซึ่งซอฟต์แวร์มีหลายลักษณะ ได้แก่ Copyright or Software License คือ ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้, Shareware คือ ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อน ที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งให้ใช้ในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น และ Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่ ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพรให้ผู้อื่นได้ เป็นต้น

2.         การละเมิดลิขสิทธิ์ที่ให้ความคุ้มครองโปรแกรมคอมพิวเตอร์

26.       ซอฟต์แวร์ในลักษณะ Shareware ตรงกับข้อใด

(1)       ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี คัดลอก และเผยแพรให้ผู้อื่นได้

(2)       ซอฟต์แวร์ที่ให้ทดลองใช้ได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

(3)       ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิ์ใช้เท่านั้น ห้ามทำซ้ำหรือเผยแพร่ทุกกรณี

(4)       ซอฟต์แวร์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาแล้วมีสิทธิใช้ในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น

(5) ซอฟต์แวร์แบ่งปันสาธารณะ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

27.       ผลจากการที่สื่อออนไลน์ไม่มีผู้ทำหน้าที่ ผู้เฝ้าประตูข่าวสาร” คือ ประเด็นปัญหาจริยธรรมการสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศในข้อใด     

(1) Information Accuracy (2) Information Privacy

(3)       Data Accessibility    (4) Information Property (5) Data Accessory

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

ข้อ 28. – 30. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       Cyber Terrorist         (2) Cracker         (3) Copyright

28.       บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง

ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 12), (คำบรรยาย) กลุ่มบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด ด้านการเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ได้แก่

1.         Hacker คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านการสื่อสารบนเครือข่าย โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเข้าไปอ่าน คัดลอก ลบ หรือทำความเสียหายแก่ข้อมูล

2.         Cracker คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ

3.         Hacktivist or Cyber Terrorist คือ บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพื่อส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองไปยังบุคคลอื่น

29.       Software License

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

30.       บุคคลที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ

ข้อ 31. – 35. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       Data          

(2) Application Software  

(3) Hardware

(4)       Information     

(5) Peopleware

31.       โปรแกรม AUTOCAD

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 9) ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Word, Excel, PowerPoint, AUTOCAD ฯลฯ

32.       นักวิเคราะห์ระบบ

ตอบ 5 (ส่วนที่ 1 หน้า 9) บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) และ นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analyst) ฯลฯ

33.       หน่วยรับข้อมูล

ตอบ 3 (ส่วนที่ 1 หน้า 9) ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนประกอบสำคัญ คือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล และหน่วยแสดงผล

34.       ต้นฉบับภาพข่าวเพื่อนำลงฐานข้อมูลมติชนออนไลน์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

35.       ไฟล์ภาพในเว็บไซต์ www.pantip.com

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

36.       การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชื่อย่อว่า CMC ตรงกับข้อใด

(1)       Compute! Medium Communication

(2)       Computer Maintained Communication (3) Computer Mediated Communication

(4) Computer Manual Communication   (5) Computer Mutual Communication

ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 3 – 5), (คำบรรยาย) การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง หรือการสื่อสารผ่านส่อคอมพิวเตอร์ (Computer 

Mediated Communication ะ CMC) มีลักษณะสำคัญ ดังนี

1.         เป็นสื่อที่ใช้เมื่อไหร่หรือที่ใดก็ได้ไม่ติดเงื่อนไขเรื่องเวลาและสถานที่ในการนำเสนอเนื้อหา เหมือนการใช้สื่ออื่น ๆ

2.         เป็นสื่อที่เปิดโอกาสกับผู้รับสารในการกระทำการใด ๆ กับเนื้อหาสารก็ได้

3.         เป็นสื่อที่มีส่วนผสมทางเทคโนโลยีหลายอย่างอยู่ในตัวเอง

4.         เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.         เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสากล (Universal Medium) ในตัวเอง

37.       ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไว้ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ CMC

(1)       เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะสากล

(2)       เป็นสื่อที่ใช้เมือใดก็ได้ แต่ติดเงื่อนไขเรื่องเวลา

(3)       เป็นสื่อที่เปิดโอกาสกับผู้รับสารในการกระทำการใด ๆ ก็ได้กับเนื้อหาสาร

(4)       เป็นสื่อที่มีส่วนผสมซองเทคโนโลยีหลายอย่างในตัวเอง

(5)       เป็นสื่อที่นำเสนอเนื้อหาสารในลักษณะ Real Time ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38.       ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ เป็นการสื่อสารด้วย   

(1) เสียง

(2)       สัญลักษณ์      (3) ข้อความ     (4) ภาพ           (5) แสง

ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 4) ในยุคแรกเริ่มของการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์นั้น เป็นการสื่อสารด้วยข้อความ โดยปราศจากภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหวอย่างในปัจจุบัน แต่เมื่อ World Wide Web (WWW) ได้ถูกคิดค้นขึ้นก็ทำให้สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครือข่ายในการสื่อสารได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และพัฒนาไปสู่ความเป็นปฏิสัมพันธ์

39.       ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อได้เปรียบของการสื่อสาร CMC

(1)       ส่งผ่านเนื้อหาได้หลายลักษณะทั้งข้อความ ภาพ เสียง

(2)       มีการสนองตอบระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ตลอดเวลา ภายในเวลารวดเร็ว

(3)       มีการติดต่อสื่อสารกันในลักษณะเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

(4)       เป็นสื่อที่ปิดบังตัวตนที่แท้จริงของผู้กระทำการสื่อสาร

(5)       ทุกข้อ ยกเว้นข้อ 4

ตอบ 5 (ส่วนที่ 2 หน้า 4-5) ข้อได้เปรียบของการสื่อสารในลักษณะ CMC มีดังนี้

1.         ความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และข้อจำกัด คือ ไม่สามารถจำกัดสิ่งใดได้ ปราศจากผู้ผูกขาดใด ๆ

2.         ขอบเขตของการสื่อสาร คือ สามารถส่งผ่านเนื้อหาได้หลายลักษณะทั้งข้อความ ภาพ และเสียง

3.         การสนองตอบและการปฏิสัมพันธ์ คือ มีการสนองตอบระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้ ตลอดเวลา ภายในเวลาอันรวดเร็ว

4.         การติดต่ออย่างเป็นเครือข่าย คือ มีภารติดต่อสื่อสารกันในลักษณะเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

40.       ผู้ใช้การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง มีลักษณะ Impersonal ตรงกับคำว่า   

(1)       ไร้ตัวตน           (2) ไม่ปรากฏตัวตนที่แท้จริง    (3) ไม่ใช่บุคคล

(4) ไม่ใช่มนุษย์            (5) เสมือนไม่มีตัวตน

ตอน 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 8) ผู้ใช้การสื่อสารโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง (CMC) จะมีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมหลากหลาย แต่ลักษณะที่โดดเด่นคือ ความไม่ปรากฏตัวตนที่แท้จริง (Impersonal) หรือการแสดงตนให้ปรากฏท่ามกลางสังคม (Social Presence) มีน้อยหรือ เป็นไปในลักษณะถดถอย

41.       การสื่อสารผ่านโปรแกรม Chat เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใด

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน

(2)       การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด   

(3) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน

(4) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชน         

(5) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน

ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 57) รูปแบบของการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ ดังนี้

1.         การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน เช่น การสื่อสารด้วยจดหมายหรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)

2.         การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน เช่น การเขียนข้อความทิ้งไว้ใน Blog ของเว็บไซต์ hi5 หรือ Facebook

3.         การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด เช่น การสนทนาออนไลน์แบบห้องสนทนา (Chat Room) หรือผ่านโปรแกรม Messenger (MSN)

4.         การสื่อสารแบบไม่พร้อมกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การให้บริการข้อมูลข่าวสาร ในเว็บไซต์ต่าง ๆ

42.       การเขียนข้อความไว้ใน Blog เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในรูปแบบใด

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน

(2)       การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด   

(3) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน

(4) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชน         

(5) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.       การส่ง E-mail ไปยังบุคคลอื่น เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรูปแบบใด

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคลไม่พร้อมกัน

(2)       การสื่อสารแบบพร้อมกันทันทีทันใด   (3) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับบุคคลไม่พร้อมกัน

(4) ภารสื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชน         (5) การสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มคน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

44.       CMC เป็นการสื่อสารที่ เลือกที่รัก มักทีชัง” เพราะ           

(1)       ผู้สื่อสารสามารถคัดสรรเฉพาะข้อความที่ต้องการสื่อ โดยผู้รับสารไม่อาจรับรู้อวัจนภาษาอื่นใดได้

(2)       ผู้สื่อสารสามารถคัดสรรทั้งข้อความที่ต้องการสื่อและอวัจนภาษาไปยังผู้รับสาร

(3)       ผู้สื่อสารสามารถคัดสรรข้อความที่ต้องการสื่อ โดยไม่ต้องแสดงอวัจนภาษาไปยังผู้รับสาร

(4)       ผู้สื่อสารสามารถเลือกสื่อสารเฉพาะกับบุคคลที่ตนเองรักใคร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(5)       ผู้สื่อสารสามารถเลือกที่จะปฏิเสธบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตอบ 1 (ส่วนที่ 2 หน้า 8), (คำบรรยาย) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ (CMC) มีผลกระทบต่อสังคมประการหนึ่ง คือ เป็นสื่อที่ถูกใช้ในการสื่อสารแบบเลือกที่รัก มักที่ชัง (Selective) ค่อนข้างมาก กล่าวคือ ผู้สื่อสารสามารถเลือกหรือคัดสรรเฉพาะคำ ข้อความ หรือภาพที่ต้องการสื่อสารไปยัง ผู้รับสาร โดยทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่อาจรับรู้อวัจนภาษาอื่นใดได้ ซึ่งทำห้กระบวนการลำเลียงข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์พร้อมด้วยความหมาย

45.       ก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน” เป็นผลกระทบของการสื่อสาร ผ่านสื่อในข้อใด          

(1) สื่อหนังสือพิมพ์

(2)       สื่อวิทยุกระจายเสียง (3) สื่อภาพยนตร์           (4) สื่อคอมพิวเตอร์      (5) สื่อวิทยุโทรทัศน์

ตอบ 4 (ส่วนที่ 2 หน้า 12) การสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ (CMC) มีผลกระทบต่อสังคมประการหนึ่ง คือ ช่วยลดบทบาทการสื่อสารที่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง จนก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่ทุกคน มีความเท่าเทียมกัน เพราะการสื่อสารในลักษณะ CMC ทำให้ไม่มีผู้นำที่มีบทบาทเป็นผู้นำถาวร และไม่มีผู้ตามที่มีบทบาทตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ก่อให้เกิด การเชื่อมต่อกันในแนวราบหรือแนวระนาบ (Horizontal Link) ที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ทางด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล คือ ทุกคนเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสารได้อย่างเสมอภาคกัน

46.       เพราะเหตุใดการประชุมผ่านสื่อ Teleconference ไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขความขัดแย้ง

(1)       เพราะผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สามารถใช้อวัจนภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2)       เพราะความด้อยประสิทธิภาพด้านความชัดเจนของภาพและเสียงผ่นสื่อ

(3)       เพราะระยะทางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่ห่างไกลกัน

(4)       เพราะภาพที่ปรากฏผ่านสื่อขาดความสมจริง

(5)       เพราะเป็นการสื่อสารผ่านหน้าจอขนาดเล็ก

ตอบ 1 (ส่วนที่ 2 หน้า 10) การประชุมทางไกล (Teleconference) ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขความขัดแย้ง เพราะผู้เข้าร่วมประชุมต้องใช้เวลาและคำพูด มากกว่าการประชุมแบบดั้งเดิม รวมทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารไม่สามารถใช้อวัจนภาษาและ จังหวะในการพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

47.       เพราะเหตุใดการสื่อสารในลักษณะ CMC ลดบทบาทการสื่อสารที่มีผู้นำเป็นศูนย์กลาง

(1)       เพราะความเท่าเทียมกันทางด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล

(2)       เพราะโครงสร้างของการสื่อสาร CMC ไม่มีผู้นำหรือผู้ตาม

(3)       เพราะเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการชื่อมต่อกันในแนวราบ

(4)       ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง    (5) ข้อ 2 และ 3 ถูกต้อง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

48.       การรายงานข่าวออนไลน์มีลักษณะ Real Time ตรงกับข้อใด

(1)       สามารถนำเสนอข่าวและจัดเก็บข้อมูลข่าวเพื่อให้สืบค้นย้อนหลังได้

(2)       สามารถนำเสนอข่าวสารแบบทันเหตุการณ์ ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง

(3)       สามารถนำเสนอข่าวสารแบบร่วมสมัย

(4)       สามารถนำเสนอข่าวสารเสมือนจริง

(5)       สามารถสร้างความรู้สึกเสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง

 ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 17) การรายงานข่าวออนไลน์มีลักษณะเฉพาะ ดังนี้

1.         ตรงกาล (Real Time) คือ สามารถนำเสนอข่าวสารแบบทันเหตุการณ์ ตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง

2.         ไร้กาล (Shifted Time) คือ ความสามารถในการเอาชนะข้อจำกัดด้านเวลา

3.         ประสานสื่อ (Multimedia) คือ ใช้องค์ประกอบด้านสื่อประสมในการรายงานข่าว

4.         ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือ เปิดโอกาสให้ผู้อ่านหรือผู้รับสารสื่อสารไปยังผู้ส่งสาร อย่างทันท่วงทีในลักษณะการสื่อสารสองทาง

49.       รูปแบบการรายงานข่าวออนไลน์มีลักษณะ Multimedia หมายถึง

(1)       ใช้องค์ประกอบด้านสื่อประสมในการรายงานข่าว

(2)       อาศัยความร่วมมือจากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลายในการรายงานข่าว

(3)       อาศัยการประสานการทำงานระหว่างสื่อต่าง ๆ ในการรายงานข่าว

(4)       อาศัยช่องทางในการผสมผสานสื่อต่าง ๆ ในการรายงานข่าว            (5) ไม่มีข้อใดถูก ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50.       ข้อใดกล่าวไว้ถูกต้องเกี่ยวกับ สื่อออนไลน์” ในฐานะที่เป็นสื่อสารมวลชน

(1)       จัดอยู่ในประเภทสื่อดั้งเดิม      (2) มีข้อจำกัดด้านระยะทางในการสื่อสาร

(3)       นำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่จำกัดด้านพื้นที่ แต่จำกัดด้านเวลา

(4)       มีผลสะท้อนกลับทันทีทันใด   (5) นำเสนอข้อมูลข่าวสารโดยไม่จำกัดด้านเวลา แต่จำกัดด้านพื้นที่

ตอบ 4 (ส่วนที่ 2 หน้า 16) ลักษณะเฉพาะของสื่อออนไลน์ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสื่อใหม่ (New Media)ของวงการสื่อสารมวลชนไทย มีดังนี้       

1. ไม่มีอุปสรรคด้านระยะทาง

2. มีผลสะท้อนกลับทันทีทันใด           

3. น่าเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และเวลา

4.         นำเสนอโดยใครก็ได้ ไม่จำเน้นต้องเป็นนักสื่อสารมวลชน

5.         ใช้ต้นทุนในการดำเนินการน้อยกว่าการสื่อสารมวลชนแบบดั้งเดิม ฯลฯ

51.       รูปแบบการนำเสนอข่าวสารในลักษณะ Bulletin Board Newsgroup มีลักษณะ          

(1)       บริการกระดานข่าวในกลุ่มข่าวที่ให้ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกในกลุ่ม

(2)       บริการข่าวสารที่จัดแบ่งหมวดหมู่เพื่อให้ผู้อ่านเลือกใช้บริการตามความต้องการ

(3)       บริการกระดานข่าวที่มีระบบการจัดการที่ดีและได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้ลงทุนทางธุรกิจที่ต้องการ ข่าวสารและติดตามข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์

(4)       บริการข่าวสารที่เปิดโอกาสให้ทุกคนทำหน้าที่เน้นผู้สื่อข่าวได้ด้วยตนเอง

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (ส่วนที่ 2 หน้า 18) รูปแบบการนำเสนอข่าวสารในลักษณะ กระดานข่าวของกลุ่มข่าว(Bulletin Board Newsgroup) เป็นบริการกระดานข่าวในกลุ่มข่าวบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้ทั้งข้อมูลข่าวสารและเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเสรีระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่มีผู้ดูแลควบคุมกระดานข่าว และแบบที่ไม่มีผู้ดูแล

52.       ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่นโยบายด้านการสื่อสารบนสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย

(1)       เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร     

(2) เพื่อเสริมช่องทางด้านการตลาด

(3)       เพื่อเพิ่มโอกาสในการกระจายข้อมูลข่าวสาร   

(4) เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้นำประเทศ

(5)       เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติด้านการมีปฏิสัมพันธ์

ตอบ 4 

(ส่วนที่ 2 หน้า 19 – 20) นโยบายด้านการสื่อสารบนสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย มีดังนี้

1.         เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร 

2. เพื่อเพิ่มโอกาสในการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสาร

3.         เพื่อเสริมช่องทางด้านการตลาด 

4. เพื่อใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติด้านการสื่อสารปฏิสัมพันธ์

53.       ข้อไดไม่ใช่รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของหนังสือพิมพ์บนสื่อออนไลน์

(1)       ให้ความสำคัญกับข่าวหน้าหนึ่งมากที่สุด

(2)       มีฐานข้อมูลให้เรียกดูฉบับย้อนหลังได้

(3)       ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวในลักษณะตรงกาลมากขึ้น

(4)       มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับผู้จัดทำข้อมูลข่าวสาร

(5)       มีรูปแบบการสื่อสารในลักษณะ One-way Communication

ตอบ 5 (ส่วนที่ 2 หน้า 2129), (คำบรรยาย) ลักษณะการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของหนังสือพิมพ์ บนสื่อออนไลน์ มีดังนี้ 1. ให้ความสำคัญกับข่าวหน้าหนึ่งมากที่สุด 2. มีฐานข้อมูลให้เรียกดู ฉบับย้อนหลัง (Archive) 3. ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวในลักษณะตรงกาล (Real Time) มากยิ่งขึ้น 4. รูปแบบการนำเสนอเน้นความเรียบง่าย สะอาด และสะดวกต่อการค้นหาข้อมูล

5.         มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารที่สามารถโต้ตอบได้ทันที ฯลฯ

54.       ข้อใดไม่ไข่ลักษณะการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์-วิทยุบนสื่อออนไลน์

(1)       ให้ความสำคัญกับการนำสัญญาณโทรทัศน์หรือวิทยุมาออกอากาศสดทางอินเทอร์เน็ต

(2)       ให้ข้อมูลและรายละเอียดของรายการต่าง ๆ ที่จะออกอากาศทางสถานี

(3)       ไม่มีการบันทึกรายการที่ออกอากาศไปแล้วในรูปของไฟล์ที่ผู้ใช้เรียกกลับมาซชมได้อีก

(4)       มีการใช้เทคโนโลยีสื่อประสมในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร

(5)       มีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารกับผู้จัดทำข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 2129), (คำบรรยาย) ลักษณะการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสถานีโทรทัศน์ และวิทยุบนสื่อออนไลน์ มีดังนี้           

1. ให้ความสำคัญกับการนำสัญญาณโทรทัศน์หรือวิทยุมาออกอากาศสตฝานทางอินเทอร์เน็ต (Web Casting)

2.         ให้ข้อมูลและรายละเอียดของรายการต่าง ๆ ที่จะออกอากาศทางสถานี

3.         เก็บบันทึกรายการทีออกอากาศไปแล้วไว้ในรูปของ VDO File และ Real Audio เพื่อให้ ผู้ใช้เรียกกลับมาชมหรือฟังในภายหลังได้

4. ใช้เทคโนโลยีสื่อประสมในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารมากกว่าสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์

5. มีช่องทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับสารกับผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารที่สามารถโต้ตอบได้ทันที ฯลฯ

55.       ข้อใดต่อไปนี้คือข้อจำกัดของข่าวออนไลน์

(1)       ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีช่องทางในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

(2)       ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารจากกลุ่มข่าวต่าง ๆ

(3)       นำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ Real Time

(4) นำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ Shifted Time

(5) นำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ Multimedia

ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 22 – 23) ข้อจำกัดของข่าวออนไลน์ ได้แก่ 1. การนำเสนอผ่านจอภาพขนาดเล็ก ย่อมส่งผลตอประสิทธิภาพในการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร 2. ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร จากกลุ่มข่าวต่าง ๆ 3. ลดบทบาทในการแปลความและตีความของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิม

4.         ไม่มีผู้ทำหน้าที่เป็นนายทวารเฝ้าประตูข้อมูลข่าวสารอย่างสิ้นเซิง

56.       ผลกระทบของการนำเสนอข่าวออนไลน์ในแง่ไม่มี Gatekeeper หมายความว่าอย่างไร

(1)       ทุกคนมีบทบาทเป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อไปสู่กลุ่มผู้รับสารของตนเอง

(2)       บรรณาธิการข่าวออนไลน์ถูกลดบทบาทให้น้อยลง

(3)       ขาดบรรณาธิการข่าวที่ทำหน้าที่คัดสรรข่าวสารเพื่อนำเสนอต่อผู้รับสาร

(4)       มีบรรณาธิการข่าว แต่ไม่อาจทราบตัวตนที่แท้จริง

(5)       ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง

ตอบ5 (ส่วนที่ 2 หน้า 23 – 24), (คำบรรยาย) ผลกระทบของการนำเสนอข่าวออนไลน์ในแง่ของ การไม่มีผู้เฝ้าประตูข่าวสาร (Gatekeeper) คือ การขาดบรรณาธิการข่าวที่ทำหน้าที่คัดสรร ข่าวสารเพื่อนำเสนอต่อผู้รับสาร เพราะการนำเสนอข่าวออนไลน์นั้นทุกคนมีบทบาทเป็นผู้ส่ง ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ไปลู่กลุ่มผู้รับสารของตนเอง

57.       ผลกระทบจากการที่สื่อออนไลน์เปิดช่องทางให้ผู้รับสารสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง คือ

(1)       ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารขาดสำนึกรับผิดชอบต่อการนำเสนอข่าวสาร

(2)       ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร

(3)       ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารขาดทักษะ ทำให้นำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดมาก

(4)       ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารไม่ตระหนักต่อความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร

(5)       ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 5 (ส่วนที่ 2 หน้า 24), (คำบรรยาย) ผลกระทบจากการที่สื่อออนไลน์เปิดช่องทางให้ผู้รับสารสามารถนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้ด้วยตนเอง คือ 1. ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารขาดจรรยาบรรณ ในเรื่องในความสำนึกรับผิตชอบต่อการนำเสนอข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อสังคม

2.         ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารละเมิดลิขสิทธิ์ในการนำเสนอข้อมูล โดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มา ของข้อมูลข่าวสาร 3. ผู้นำเสนอข้อมูลข่าวสารขาดทักษะในการกลั่นกรองหรือไม่ตระหนัก ต่อความถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร ทำให้นำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดมาก หรือข้อมูลที่เป็นข่าวลือ

58.       ข้อใดที่ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย

(1) ความแพร่หลายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์          (2) ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

(3)       แบวนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (4) แนวนโยบายด้านการเมืองของรัฐบาล

(5)       พฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของคนในสังคม

ตอบ 4 (ส่วนที่ 2 หน้า 25 – 26) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ ในประเทศไทย ได้แก่ 1. ความแพร่หลายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 2. ระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ 3. โครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารของประเทศ และแนวนโยบายทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล 4. บุคลากรในการทำงาน 5. ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ ของประชากรในประเทศ 6. พฤติกรรมการใช้ประโยชน์จากสื่ออินเทอร์เน็ตของคนในสังคม

59.       ข้อใดคือแนวโน้มการรายงานข่าวออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย

(1)       นำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้มีอำนาจรัฐมากขึ้น

(2)       ผู้รายงานข่าวมีบทบาทเป็นผู้กำหนดรูปแบบของเนื้อหามากขึ้น

(3)       ใช้สื่อประสมในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

(4)       นำเสนอข่าวตามประเด็นข่าวของสื่อแบบดั้งเดิมเป็นสำคัญ

(5)       ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 27 – 28) แนวโน้มการรายงานข่าวออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย มีดังนี้

1.         เผยแพร่ข้อมูลในลักษณะที่เป็น Interactive มากขึ้น

2.         เผยแพร่ข้อมูลในลักษณะที่ง่ายต่อการสืบค้นมากขึ้น

3.         ใช้เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตและใช้สื่อประสมในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารมากขึ้น

4.         ใช้ภาพกราฟิกมากขึ้น 5. คำนึงถึงความเร็วในด้านผู้ใช้งานมากขึ้น ฯลฯ

60.       การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตรงกับคำว่า       

(1) Elective Commerce

(2)       Endless Commerce (3) Electronic Commerce

(4)       Evaluated Commerce      (5) Elected Commerce

ตอบ 3 (ส่วนที่ 2 หน้า 25), (ส่วนที่ 3 หน้า 5) แนวโน้มรูปแบบของธุรกิจการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งตรงกับคำว่า Electronic Commerce (e-Commerce) ในประเทศไทยจะขยายตัวมากขึ้น เพราะองค์กรทางธุรกิจให้ความสำคัญกับช่องทางดังกล่าว มากขึ้น บอกจากนี้ยังเกิดการแข่งขันกันทางด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจาก เป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถสร้างความจงรักภักดีและช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร หากผู้บริโภค สามารถเข้าถึงสื่อออนไลน์นั้นได้โดยง่าย

61.       แนวโน้มสภพการแข่งขันของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทยในอนาคต คาดว่า

(1)       แข่งขันเฉพาะกับสื่อออนไลน์ด้วยกันเท่านั้น       

(2) แข่งขันทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อออนไลน์

(3)       สภาวะการแข่งขันถดถอยกว่าในปัจจุบัน       

(4) สภาวะการแข่งขันเหมือนปัจจุบัน

(5)       คาดการณไม่ได้

ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 28) แนวโน้มสภาพการแข่งขันของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในประเทศไทย ในอนาคต คาดว่าจะต้องแข่งขันกันทั้งสื่อที่มีอยู่ดั้งเดิมและสื่อออนไลน์ ดังนั้นหนังสือพิมพ์ ออนไลน์จึงต้องมีการปรับตัวโดยการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร มัลติมีเดีย ฐานข้อมูล รวมทั้งความน่าเชื่อถือของข่าวสาร

62.       หากต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมหันมาสนใจเปิดรับข้อมูลขาวสารจากสื่อออนไลน์มากขึ้น ภาครัฐควรดำเนินการข้อใดเป็นอันดับแรก

(1)       ส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์

(2)       พัฒนาความรู้และทักษะของประชาชนเกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์

(3)       ส่งเสริมให้ประชาชนที่ด้อยโอกาสเป็นเจ้าของสื่อคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึง

(4)       กำหนดมาตรการลดราคาสื่อคอมพิวเตอร์ไห้ถูกลง    

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (ส่วนที่ 2 หน้า 25), (คำบรรยาย) ประชากรสวนใหญ่ในประเทศไทยเป็นเกษตรกรและมีอาชีพรับจ้าง ซึ่งมีทัศนคติว่า สื่อคอมพิวเตอร์มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยี จึงมีการเข้าถึง สื่อประเภทนี้น้อย ดังนั้นหากต้องการส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมหันมาสนใจเปิดรับข้อมูล ข่าวสารจากสื่อออนไลน์มากขึ้น สิ่งแรกที่ภาครัฐควรดำเนินการคือ ส่งเสริมให้ประชาชน มีทัศนคติที่ดีต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์

ข้อ 63. – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       Online Community (2) Online Newswires and Broadcaster

(3)       Internet   (4) ARPANET

63.       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเครือข่ายขนาดย่อยเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ทั่วโลก

ตอบ3 (ส่วนที่ 3 หน้า 210) อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดย่อยมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก จึงถือได้ว่าเป็นเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) โดยมีลักษณะเป็นเสมือน เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web : WWW) ที่ครอบคลุมทั่วโลก

64.       ชุมชนออนไลน์

ตอบ1 (ส่วนที่ 3 หน้า 18 – 19) การสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันในลักษณะ ชุมชนออนไลน์” (Online Community) กล่าวคือ เป็นการรวมตัวกันของผู้คนในสังคม จากการสร้างเครือข่ายสังคม (Social Network) บนพื้นที่เสมือน (Virtual Space) หรือ การไม่ยึดติดกับพื้นที่จริง (Reality Space)

65.       องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนารูแบบการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเครือข่าย

ตอบ 4 (ส่วนที่ 3 หน้า 3) อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบการสื่อสารผ่าน สื่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทางการทหารในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาเมื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมมากขึ้น จึงแยกตัวเป็นเครือข่ายย่อยชื่อว่า มิลเน็ต (Milnet : Military Network) โดยการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตด้วยเทคนิคการโต้ตอบแบบ โปรโตคอล ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol /Internet Protocol)

66.       กลุ่มองค์กรข่าวออนไลน์

ตอบ 2 (ส่วนที่ 2 หน้า 19) กลุ่มองค์กรข่าวออนไลน์ (Online Newswires and Broadcaster)เป็นบริการของหน่วยงานที่ทำธุรกิจทางด้านข่าวสารตาง ๆ เช่น CNN, Reuters และ อ.ส.ม.ท. เป็นต้น

ข้อ 67. – 70. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       Cyberspace      (2) IP Video Conference

(3)       TCP  (4) World Wide Web

67.       เครือข่ายใยแมงมุม

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ

68.       การเชื่อมเข้ากับเครือข่ายอาร์ปาเน็ตด้วยเทคนิคการโต้ตอบแบบโปรโตคอล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

69.       การประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 6) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2537 ประเทศไทยได้สาธิตการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 2 ล้านบิต/วินาที ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อสาธิตระบบมัลติมีเดียและการประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (IP Video Conference)

70.       พื้นที่สาธารณะที่เกิดจากการติดต่อสื่อสารโดยการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยไม่ปรากฏ ตัวตนทางร่างกายของบุคคลคู่สื่อสาร

ตอบ 1 (ส่วนที่ 3 หนา 16) Bell et al. อธิบายว่า Cyberspace คือ พื้นที่สาธารณะ (Public Space)ที่เกิดขึ้นจากการติดต่อสื่อสารโดยการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยที่ไม่ปรากฏ ตัวตนทางร่างกายของบุคคลคู่สื่อสาร

ข้อ 71. – 80. ข้อใดที่กล่าวถูกต้องระบายตัวเลือกข้อ 1 ถ้าข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องระบายตัวเลือกข้อ 2

71.       บริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ดำเนินการโครงการเครือข่ายกาญจนาภิเษกเพื่อกระจายความรู้สู่ประชาชนและเป็นสำนักงานเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 5) ตั้งแต่ พ.ค. 2539 เป็นต้นมา เนคเทค (NECTEC) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ดำเนินการโครงการเครือข่าย กาญจนาภิเษกเพื่อกระจายความรู้สู่ประชาชน และเป็นสำนักงานเลขานุการโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ

72.       วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดตั้งเครือข่ายไทยสาร คือ เพื่อให้นักวิชาการไทยทั้งจากภาครัฐและเอกชน สามารถแลกเปลี่ยนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันได้ทั่วโลก

ตอบ 1 (ส่วนที่ 3 หน้า 6) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายไทยสารขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์สำคัญคือ การทำให้นักวิชาการไทยทั้งจากภาครัฐและเอกชนสามารถแลกเปลี่ยน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์กันได้ทั่วโลภ

73.       NECTEC เปิดให้บริการ WWW เป็นครั้งแรกในประเทศไทย คือ www.siamnet-or.th

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 6) ในเดือนตุลาคม พ.ค. 2536 เนคเทค (NECTEC) ได้เปิดให้บริการ WWWเป็บครั้งแรกในประเทศไทย คือ www.nectec.or.th ซึ่งทำหน้าที่แนะนำประเทศไทยกับทั่วโลก เป็นภาษาอังกฤษ ภายใต้ชื่อ Thailand the Big Picture โดยเปิดบริการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

74.       องค์กรเอกชนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างถาวรด้วยความเร็ว 64 kbps รายแรก คือ ธนาคารไทยพาณิชย์

ตอบ 1 (ส่วนที่ 3 หน้า 7) การใช้อินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2538 มีเหตุการณที่ควรแก่การบันทึกดังนี้

1.         เดือนมีนาคม องค์กรเอกชนทีเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างถาวรด้วยความเร็ว 64 kbps รายแรกคือ ธนาคารไทยพาณิชย์

2.         เดือนมิถุนายน มีการขยายวงจรต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด คือ 512 kbps และมีการรายงาน ผลการเลือกตั้งทางอินเทอร์เน็ต โดยหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ร่วมกับ NECTEC

3.         เดือนกันยายน ประเทศไทยเปิดใช้วงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างประเทศ 2 ล้านบิต ต่อวินาทีเป็นวงจรแรก โดยเชื่อม NECTEC กับ NACSIS ในประเทศญี่ปุ่น

75.       ประเทศไทยเปิดใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงระหว่างประเทศ 2 ล้านบิตต่อวินาทีเป็นวงจรแรก โดยเชื่อม NECTEC กับ NACSIS ในประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 1 ดู.คำอธิบายข้อ 74. ประกอบ

76.       สื่อออนไลน์เป็นสื่อดั้งเดิมและเป็นสื่อที่มีความคงทนสูง ส่วนสื่อวิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อใหม่และเป็นสื่อทีมีความคงทนต่ำ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

77.       ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail มาจากคำว่า Electronic Mail

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

78.       Telnet คือ การขอใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวเสมือนกับไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง

ตอบ 1 (ส่วนที่ 2 หน้า 5ส่วนที่ 3 หน้า 12) Telnet คือ การขอใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป เพื่อเข้าไข้งานเครื่องดังกล่าวได้เสมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้

79.       ประเทศไทยเริ่มเปิดใช้วงจรความเร็วสูงเพื่ออินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 7) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ประเทศไทยเริ่มเปิดใช้วงจรความเร็วสูง เพื่ออินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทยเป็นผู้ลงทุน เชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา ผ่านทางเคเบิลใยแก้วนำแสง

80.       การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. เพื่อติดต่อสื่อสาร 2. เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสาร และ 3. เพื่อดัดแปลงข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 10) การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.         เพื่อติดต่อสื่อสาร         2. เพื่อค้นหาหรือสืบค้นข้อมูลข่าวสาร 3. เพื่อความบันเทิง

81.       เหตุที่กล่าวว่าอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อสารมวลชนเพราะ   

(1)       เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมจากผู้รับสารจำนวนมากในสังคม

(2)       เป็นสื่อที่ผู้รับสารจำนวนมากในสังคมเข้าถึงอย่างเสมอภาค

(3)       เป็นสื่อสาธารณะ

(4)       สามารถตอบสนองการทำงานของทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์

(5)       สามารถเข้าถึงผู้รับสารได้จำนวนมากในสังคม

ตอบ 4 (ส่วนที่ 3 หน้า 15), (คำบรรยาย) สื่ออินเทอร์เน็ตจัดเป็นสื่อสารมวลชน เพราะมีความสามารถ ในการตอบสนองการทำงานของสื่อมวลชนแบบดั้งเดิมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติที่ครอบคลุมสื่อแบบดั้งเดิมทุกสื่อ โดยสามารถนำเสนอข่าวสารได้ทั้งตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเทคนิคพิเศษ อื่น ๆ ไว้ในสื่อเดียว

82.       เหตุที่กล่าวว่าสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่มีหลากหลายรูปร่างหน้าตาเพราะ      

(1)       เป็นสื่อทีมีรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล

(2)       เป็นสื่อที่มีรูปแบบการสื่อสารระหว่างคนกับกลุ่มคน

(3)       เป็นสื่อทีมีรูปแบบการสื่อสารระหว่างกลุ่มบุคคลกับกลุ่มบุคคล

(4)       เป็นสื่อที่มีรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชน         

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (ส่วนที่ 3 หน้า 16) Morris and Ogan กล่าวว่า สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อมวลชนที่มีหลกหลาย รูปร่างหน้าตา (Multifaceted Mass Medium) เพราะเป็นสื่อที่อำนวยความสะดวกในการ สื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. การสื่อสารระหว่างบุคคล (One to One Communication)

2.         การสื่อสารระหว่างคนกับกลุ่มคน (One to Many Communication)

3.         การสื่อสารระหว่างกลุ่มบุคคล (Interpersonal Communication)

4.         การสื่อสารระหว่างบุคคลกับมวลชน หรือการสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

83.       แนวคิด Public Sphere ของ Habermas กล่าวไว้ว่า         

(1)       สื่ออินเทอร์เน็ตสร้างพื้นที่ที่สามารถทำให้บุคคลมารวมตัวกับบุคคลอื่นจนเป็นมวลชนได้

(2)       สื่ออินเทอร์เน็ตสร้างพื้นที่ในการถ่ายทอดความคิดของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลสู่สังคมได้

(3)       สื่ออินเทอร์เน็ตสร้างพื้นที่ให้บุคคลใดก็ได้ที่สนใจสื่อสารความคิดของตนเองไปสู่สังคม

(4)       สื่ออินเทอร์เน็ตสร้างพื้นที่ให้บุคคลรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนออนไลน์    

(5) ถูกทุกข้อ

ตอบ 1 (ส่วนที่ 3 หน้า 16 – 17) การเกิดขึ้นของสื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ต ทำให้แนวความคิดเรื่อง พื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) ของ Habermas เป็นจริงขึ้นมาได้ เพราะสื่ออินเทอร์เน็ต ได้สร้างพื้นที่ที่สามารถทำให้บุคคลมารวมตัวกับบุคคลอื่นจนเป็นมวลชนได้

84.       เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะด้วยเหตุที

(1)       ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ในระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลและระดับสื่อสารมวลชน

(2) ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่ระดับสื่อสารมวลชน

(3)       ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลไปสู่กลุ่มบุคคลที่เป็นสาธารณชน

(4)       ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนในเครือข่ายเดียวกัน

(5)       ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลจากระดับบุคคลไปสู่กลุ่มคนต่างเครือข่ายกัน

ตอบ 1 (ส่วนที่ 3 หน้า 16) เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่สาธารณะ (Private and Public Areas) เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถส่งผ่าน ข้อมูลได้ทั้งในระดับการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีลักษณะเป็นส่วนตัว (Private) และในระดับ การสื่อสารมวลชนที่มีลักษณะเป็นการสื่อสารสู่สาธารณชน (Public)

85.       การสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันในลักษณะ ชุมชนออนไลน์” กล่าวคือ

(1)       เป็นการสร้างเครือข่ายสังคมบนพื้นที่เสมือน (Virtual Space)

(2)       เป็นการสร้างฐานข้อมูลของเครือข่ายสมาชิกผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

(3)       เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

(4)       เป็นการสร้างสังคมบนพื้นที่เสมือน    

(5) ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ 1  ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

86.       คำกล่าวที่ว่าโลก Online กับ Offline ไม่ได้แยกจากกันอย่างชัดเจน หมายความว่าอย่างไร

(1)       การสื่อสารบนเครือข่ายออนไลน์อาจนำสู่การสื่อสารแบบเห็นหน้าค่าตากันในชีวิตจริง

(2)       การสื่อสารแบบออนไลน์กับการสื่อสารแบบเห็นหน้าคาตาต่างก็เป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

(3)       การสื่อสารบนเครือข่ายออนไลน์เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่นำสู่การสื่อสารแบบ เห็นหน้าค่าตากันในชีวิตจริง

(4)       การสื่อสารแบบเห็นหน้าค่าตากันใช้การสื่อสารแบบออนไลน์เป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างกัน

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 3 (ส่วนที่ 3 หน้า 20) โลก Online กับ Offline ไม่ได้ถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน หมายถึง การสื่อสารบนเครือข่ายออนไลน์เป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่นำสู่การสื่อสาร แบบเห็นหน้าค่าตากันในชีวิตจริง เช่น การสื่อสารกับเพื่อนออนไลน์จนพัฒนาเป็นกลุ่มคนที่ เราสามารถพบปะในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

87.       เหตุที่กล่าวว่า ระบบ(ครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ เพราะ 

(1)       เป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสารมากมายตามความสนใจของผู้ใช้บริการ

(2)       ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลได้ตามหมวดหมู่หัวข้อที่ตนสนใจ

(3)       เป็นแหล่งให้บริการข้อมูลข่าวสารหลากหลาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการเลือกตามความสนใจ

(4)       เป็นคลังแห่งข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่

(5)       ถูกทุกข้อ

ตอบ 5 (ส่วนที่ 3 หน้า 20), (คำบรรยาย) ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ เพราะเป็นคลังแห่งข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่รวบรวมและให้บริการข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย เช่น ข้อมูลด้านวิชาการ ด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อให้ ผู้ใช้บริการสามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้ตามหมวดหมู่หรือตามหัวข้อที่ตนสนใจ

88.       ข้อใดไม่นับเป็นประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของสื่ออินเทอร์เน็ต

(1)       เป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าออนไลน์

(2)       เป็นช่องทางในการเจาะข้อมูลลับทางการเงินขององค์กรอื่น

(3)       เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ระหว่างองค์กร

(4)       เป็นช่องทางในการโฆษณาสินค้าและบริการ

(5)       เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์องค์กร

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 20 – 21), (คำบรรยาย) ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตด้านเศรษฐกิจ คือ

1.         เป็นช่องทางใหม่ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการให้กับองค์กร ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม หรือบุคคลทั่วไป

2.         ผู้ซื้อมีโอกาสและทางเลือกมากขึ้นในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

3.         เป็นช่องทางซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างโอกาสในการขายและการประชาสัมพันธ์สินค้า ให้กับผู้สนใจทั่วโลก

4.         เป็นช่องทางในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ระหว่างองค์กร ฯลฯ

89.       คำว่า “Web Aholic” ตรงกับข้อใดต่อไปนี้      

(1) รังเกียจสื่ออินเทอร์เน็ต

(2)       เสพติดสื่ออินเทอร์เน็ต (3) ปฏิเสธสื่ออินเทอร์เน็ต

(4)       คุ้นเคยสื่ออินเทอร์เน็ต (5) หวาดกลัวสื่ออินเทอร์เน็ต

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 21-22) อาการของโรคเสพติดอินเทอร์เน็ต (Web Aholic) มีลักษณะดังนี้

1.         มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น

2.         รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง และไม่ได้ใช้หรือหยุดไช้

3.         ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลีกหนีปัญหาในชีวิตจริง

4.         หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อนเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตัวเอง

5.         ใช้อินเทอร์เน็ตจนทำให้เสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ฯลฯ

90.       หนอนอินเทอร์เน็ต ตรงกับข้อใด

(1)       โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทำลายข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์

(2)       โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จากระบบหนึ่ง เพื่อครอบครอง ทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง

(3)       โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ และโจมตีระบบ

(4)       โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ทำลายระบบ

(5)       โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อทำลายระบบ

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 22) หนอนอินเทอร์เน็ต คือ โปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลอง ตัวเองให้มากขึ้นเรื่อย ๆ จากระบบหนึ่ง เพื่อครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง ทั้งนี้หนอนอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก

91.       Decentralized Media เป็นลักษณะเฉพาะตัวของการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ตรงกับข้อใด

(1)       เป็นสื่อที่กระจายข้อมูลสู่ผู้รับสารทุกทิศทางในลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว

(2)       เป็นสื่อที่ไม่รวมจุดศูนย์กลางในการส่งสารออกไป ผู้ใช้เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร

(3)       เป็นสื่อที่ผู้ส่งสารไม่ใช่จุดศูนย์กลางในการส่งสารออกไป

(4)       เป็นสื่อที่ลดบทบาทและอำนาจของผู้ส่งสารให้น้อยลง

(5)       เป็นสื่อที่ผู้รับสารไม่ใช่จุดศูนย์กลางในการรับข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 2 (ส่วนที่ 3 หน้า 25) สื่ออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถทำการสื่อสารออกไป ยังกลุ่มผู้รับสารในวงกว้างได้อย่างง่ายดาย จึงถือเป็นสื่อที่เรียกว่า “Decentralized Media” กล่าวคือ เป็นสื่อที่ไม่รวมจุดศูนย์กลางในการส่งสารออกไป แต่ให้โอกาสผู้ใช้สามารถเป็นได้ทั้ง ผู้ส่งและผู้รับสาร

92.       ข้อใดคือบทบาทของ ผู้ส่งสาร” บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

(1)       ทุกคนมีโอกาสผลิตสื่อหรือเป็นผู้ส่งสาร โดยผู้รับสาร คือ คนทั่วโลก

(2)       โอกาสในการผลิตสื่อหรือเป็นผู้ส่งสารยังถูกจำกัดเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น

(3)       ทุกคนมีโอกาสผลิตสื่อหรือเป็นผู้ส่งสาร โดยไม่ต้องใช้งบประมาณมากมาย

(4)       ทุกคบมีโอกาสผลิตสื่อหรือเป็นผู้ส่งสาร หากแต่ต้องใช้ต้นทุนสูงในการดำเนินการ

(5)       ข้อ 1 และ 3 ถูกต้อง

ตอบ 5 (ส่วนที่ 3 หน้า 26) สื่ออินเทอร์เน็ตมีผลกระทบต่อบทบาทของผู้ผลิตสารหรือผู้ส่งสารในสังคม คือ ทุกคนมีโอกาสผลิตสื่อหรือเป็นผู้ส่งสารได้ โดยให้คนทั่วโลกเป็นผู้รับสารจากสื่อที่เรา เป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณที่มากมาย จึงทำให้อำนาจในการผลิตสื่อหรือ การเป็นผู้ส่งสารไม่ถูกจำกัดอีกต่อไป ดังนั้นโอกาสจึงเปิดกว้างสำหรับใครก็ตามที่เข้าถึง เทคโนโลยี

93.       ด้วยคุณลักษณะของการเป็นสื่อแบบ Interactive ส่งผลให้ผู้รับสารจากสื่ออินเทอร์เน็ตมีลักษณะอย่างไร

(1)       ผู้รับสารสามารถเลือกที่จะเป็นสมาชิกของเครือข่ายที่ตนเองเลือก

(2)       ผู้รับสารมีความเป็นอิสระและพึ่งพาตนเอง

(3)       ผู้รับสารเลือกเปิดรับข้อมูลข่าวสารตามความสนใจของตนเอง

(4)       ผู้รับสารมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็นของตนเองมากขึ้น      

(5) ทุกข้อที่กล่าวมา

ตอบ 5 (ส่วนที่ 3 หนา 26) คุณลักษณะของการเป็นสื่อแบบ Interactive ส่งผลให้ผู้รับสารจาก สื่ออินเทอร์เน็ตมีลักษณะดังนี้

1.         ผู้รับสารไม่ได้เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของมวลชน แต่สามารถเลือกที่จะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ที่ตนเองเลือก หรือเป็นสาธารณชนพิเศษ หรือเป็นปัจเจกชน

2.         ผู้รับสารมีความเป็นอิสระและพึ่งพาตนเอง

3.         ผู้รับสารเลือกเปิดรับหรือบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความสนใจของตนเองได้มากขึ้น

4.         ผู้รับสารมีโอกาสส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร หรือกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองไปยังบุคคลอื่น มากขึ้น ฯลฯ

94.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของสาร (Message) อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร

(1)       สาร” มีลักษณะที่หลอมรวมรูปแบบแตกต่างกันมาอยู่ด้วยกัน

(2)       ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้าย สาร” ได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น

(3)       ประสิทธิภาพในการจัดเก็บ สาร” เพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา

(4)       สาร” ที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสารยังคงมีอยู่อย่างจำกัด

(5)       ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้าย สาร” ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น

ตอบ 4 (ส่วนที่ 3 หน้า 27) ลักษณะของสาร (Message) อันเป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร คือ

1.         สารที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสารมีจำนวนมากไม่จำกัด

2.         สารมีลักษณะที่หลอมรวมรูปแบบแตกต่างกันมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ฯลฯ

3.         ผู้ใช้สามารถ Download สารมาเก็บไว้กับตน และสามารถเคลื่อนย้ายสารได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบายมากขึ้น

4.         ประสิทธิภาพในการจัดเก็บสารเพิ่มขึ้นตามเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา ฯลฯ

95.       ข้อต่อไปนี้กล่าวถึงเทคโนโลยีการสื่อสารว่าเป็น ดาบสองคม” ยกเว้นข้อใด

(1)       Camfrog มุ่งให้ผู้ส่งและผู้รับสารเห็นหน้าค่าตา แต่กลับนำไปใช้ในการโชว์อนาจาร

(2)       เกมออนไลน์ มุ่งให้ผู้เล่นลับสมอง แต่กลับเสพติดจนเสียการเรียน

(3)       โปรแกรมสนทนาออนไลน์ มุ่งให้สนทนาแบบ Real Time แต่กลับใช้เป็นช่องทางกรรโชกทรัพย์

(4)       เว็บไซต์ Twitter มุ่งเป็นเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม แต่กลับใช้ส่งข้อความสนทนาออนไลน์ระหว่างกัน

(5)       เว็บไซต์เครือข่าย Facebook มุ่งให้สร้างเครือข่ายเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่กลับใช้เป็น ช่องทางล่อลวงทางเพศ

ตอบ 4 (ส่วนที่ 1 หน้า 12ส่วนที่ 3 หน้า 23 – 24), (คำบรรยาย) สิ่งที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี การสื่อสารบนโลกอินเทอร์เน็ตเป็น ดาบสองคม” คือ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ได้แก่

1.         การเล่นเกมออนไลน์ มุ่งให้ผู้เล่นฝึกลับสมอง แต่กลับเสพติดจนทำให้เสียการเรียน

2.         การพูดคุยผ่าน Camfrog มุ่งให้ผู้ส่งและผู้รับสารเห็นหน้าค่าตากัน แต่กลับนำไปใช้ ในการโชว์อนาจาร

3.         เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม เช่น hi5 Twitter และ Facebook มุ่งให้สร้างเครือข่ายเพื่อน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แต่กลับนำไปใช้เป็นช่องทางการล่อลวงทางเพศ

4.         โปรแกรมสนทนาออนไลน์ (Chat) มุ่งให้ผู้ส่งและผู้รับสารสนทนากันแบบ Real Time แต่กลับใช้เป็นช่องทางล่อลวงกรรโชกทรัพย์ ฯลฯ

96.       การจัดทำภาพหรือเนื้อหาที่มีลักษณะหมิ่นประมาทผ่านเครือขายออนไลน์ ขัดกับจริยธรรมข้อใด

(1) จริยธรรมของผู้ใช้สื่อ          (2) จริยธรรมของผู้จัดทำสื่อ     (3) ความเป็นเจ้าของ

(4)       การเข้าถึงข้อมูล          (5) ความถูกต้องของข้อมูล

ตอบ 2 (ส่วนที่ 1 หน้า 12), (คำบรรยาย) จริยธรรมของผู้จัดทำสื่อ คือ การตระหนักถึงความเหมาะสม และไม่เหมาะสมของการเผยแพร่เนื้อหาและภาพในสื่อออนไลน์ (เช่น ในเว็บไซต์ เกม หรือ สื่อบันเทิงอื่น ๆ) โดยควรระวังการเผยแพร่เนื้อหาดังนี้ 1. เนื้อหาหรือภาพลามกอนาจาร 2. เนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นประมาท 3. เนื้อหาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ยุยง ปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยก 4. เนื้อหาที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกรุนแรง ก้าวร้าว

97.       ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)

(1)       ผู้ส่งสามารถส่งสารถึงผู้รับได้ตลอดเวลาโดยไม่จำกัด

(2)       ผู้ส่งสามารถส่งสารถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน

(3)       ผู้ส่งสามารถอำพรางตัวตนที่แท้จริงของตนเอง

(4)       ผู้ส่งสามารถแนบไฟล์ไปพร้อมกับสารถึงผู้รับ

(5)       ผู้ส่งสามารถส่งสารจำนวนมากถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว

ตอบ 3 (สวนที่ 3 หน้า 10 – 11) ประโยชน์ของบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ได้แก่

1.         ผู้ส่งสามารถส่งสารหรือจดหมายถึงผู้รับได้ตลอดเวลาที่ต้องการโดยไม่จำกัด

2.         ผู้ส่งสามารถส่งสารหรือจดหมายถึงผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน

3.         ผู้สงสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับสารหรือจดหมายถึงผู้รับได้

4.         ผู้ส่งลามารถส่งข้อมูลข่าวสารจำนวนมากถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วทันที ฯลฯ

98.       กฎหมายเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสารสนเทศที่ประกาศบังคับใช้แล้ว คือ

(1)       พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

(2)       พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2551

(3)       พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552

(4)       พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2553

(5)       พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2554

ตอบ 1 (ส่วนที่ 1 หน้า 13) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อสารสนเทศ ซึ่งประกาศบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่

1.         พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

2.         พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551

99.       ชื่อเต็มของกระทรวงไอซีที คือข้อใด   

(1) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

(2) กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

(3) กระทรวงสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร

(4)       กระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ

(5) กระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศการสื่อสาร

ตอบ 1 (สวนที 1 หน้า 13) องค์กรที่ให้ความร่วมมือในการควบคุมดูแลการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารได้แก่

1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)       2. กระทรวงมหาดไทย

3.         กระทรวงกลาโหม       4. กระทรวงยุติธรรม    5. กรมสอบสวนคดีพิเศษ

6.         กรมประชาสัมพันธ์      7. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ    8. สภาความมั่นคงแห่งชาติ

9 กองทัพบก   10.กองทัพอากาศ       11.กองทัพเรือ

100.    นักศึกษาคิดว่าในการกำกับและควบคุมการสื่อสารผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ข้อใดต่อไปนี้ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ต่อประชาชนในสังคมอย่างยั่งยืนที่สุด

(1)       การตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้

(2)       การร่วมมือกันระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง

(3)       การรณรงค์ให้ประชาชนในสังคมเกิดจิตสำนึกที่ดีในการสื่อสารผ่านสื่อดังกล่าว

(4)       ผู้นำประเทศกำหนดนโยบายในการกำกับและควบคุมที่เข้มงวด โดยรณรงค์ผ่านสื่อสารมวลชนต่อเนื่อง

(5)       ใช้ผู้มีชื่อเสียงในสังคมเป็นผู้รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์

ตอบ(ส่วนที่ 1 หน้า 13), (คำบรรยาย) มาตรการในการกำกับและควบคุมการสื่อสารผ่าน

สื่ออินเทอร์เน็ตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชนในสังคมอย่างยั่งยืนที่สุด คือ การสร้าง จริยธรรมที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตต่อผู้ใช้ในสังคม โดยการรณรงค์ให้ประชาชนในสังคมเกิด จิตสำนึกทีดีในการสื่อสารผ่านสื่อดังกล่าว และต้องระดมทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น

Advertisement