การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 2106 (MCS 2160) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1. อะไรคือสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิดของมนุษย์

(1)       หัวใจ    

(2) ร่างกาย      

(3) สายตา       

(4) ภาษา

ตอบ 4 หน้า 1 การสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษา เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย เป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์สามารถส่งความหมายที่อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งให้รับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน

2.         ข้อใดถูกต้องที่สุด

(1)       การสื่อสารทำให้มนุษย์มาอยู่รวมกัน   

(2) ภาษาเป็นวิธีการสื่อสารของมนุษย์

(3) ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แทนความหมาย  

(4) ภาษาและความหมายเป็นสิ่งเดียวกัน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         องค์ประกอบของการสื่อสารข้อใดที่หมายถึงการแปรความหมายให้อยู่ในรูปของสาร

(1)       ช่องทางการสื่อสาร      

(2) ผู้ส่งสาร     

(3) การถอดรหัส          

(4) การเข้ารหัส

ตอบ 4 หน้า 4 การเข้ารหัสสาร (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปรความคิดของตนหรือแปรความหมายให้อยู่ในรูปของสารที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น เมื่อแหล่งสารต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทำงานร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิดคำพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็น คำพูด ประโยค และบทสนทนา ฯลฯ

4.         เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ทำหน้าที่ใดในกระบวนการสื่อสาร

(1)       ผู้ส่งสาร           (2) ผู้เข้ารหัส    (3) ผู้รับสาร     (4) ผู้ถอดรหัส

ตอบ 4 หน้า 4-5 การถอดรหัสสาร (Decoding) ประกอบด้วยกิจกรรมของการแปลหรือตีความสาร ที่ปรากฏออกมาทางกายภาพให้อยู่ในรูปที่มีความหมายสำหรับผู้รับสาร ซึ่งไมว่าจะเป็นมนุษย์ หรือเครื่องยนต์กลไกก็ล้วนเป็นผู้ถอดรหัสได้ เช่น เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ทำหน้าที่เป็น ผู้ถอดรหัสจากสัญญาณคลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อส่งเข้ามา ทางโสตประสาทที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ ฯลฯ

5.         การสื่อสารประเภทใดที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา

(1) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม        (2) การสื่อสารองค์การ

(3) การสื่อสารสาธารณะ         (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 4 หน้า 5, (คำบรรยาย) ในบางสถานการณ์ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจอยู่ในสถานการณ์หรือปรากฏอยู่ในที่เดียวกัน เช่น การสื่อสารแบบเผชิญหน้าที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารอยู่ในสถานที่ และเวลาเดียวกัน ฯลฯ แต่บางสถานการณ์ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอาจถูกแยกจากกันด้วยปัจจัย เรื่องของสถานที่ (Space) และเวลา (Time) เช่น การสื่อสารมวลชน (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร) ที่ผู้ส่งสารกับผู้รับสารอยู่คนละสถานที่และคนละเวลา ฯลฯ

6.         ข้อใดหมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์

(1)       Environmental Noise       (2) Communication Context

(3) Communicative Competence      (4) Communication Content

ตอบ 2 หน้า 710 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่

1.         มิติทางกายภาพ 2. มิติทางวัฒนธรรม 3. มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา

7.         ข้อใดถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร

(1)       การจูงใจ          (2)ทัศนคติ       (3)ค่านิยม       (4) การรับรู้

ตอบ4  หน้า 11 การรับรู้ เป็นกระบวนการที่ผู้รับสารตระหนักรู้ต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาทางประสาทสัมผัสมีอิทธิพลต่อสิ่งเร้าหรือสารที่ผู้รับสารได้รับ และต่อการที่ผู้รับสารให้ความหมายต่อสิ่งเร้าหรือ สารนั้น ดังนั้นการรับรู้จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร เพราะความหมายของการกระทำ ระหว่างกันจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้ที่ได้รับสิ่งเร้านั้น

8.         การเรียนการสอนวิชาภาษาเพี่อการสื่อสารมวลชนในกลุ่มผู้เรียนไม่เกิน 10 คน ผู้สอนใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) Frozen Style          (2) Formal Style         (3) Consultative Style (4) Intimate Style

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ลีลาปรึกษาหารือ (Consultative Style) เป็นลีลาภาษาที่ใช้โดยมีจุดมุ่งหมายห้ผู้รับสารมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างเป็นทางการ ได้แก่ รูปแบบของภาษาที่ใช้ ในการประชุม วิพากษ์วิจารณ์ การสัมมนา และการสื่อสารกลุ่มเล็ก ฯลฯ

9.         รูปร่างหน้าตาการแต่งกาย เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1) วัตถุภาษา  (2)       อาการภาษา    (3) ปริภาษา    (4) ทายภาษา

ตอบ 4 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจาก ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเสื้อผ้า หน้า ผม ฯลฯ ซึ่งสามารถบงบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

10.       สถานที่ ช่องว่าง ระยะห่าง เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1) กายภาษา  (2)       วัตถุภาษา        (3) ปริภาษา    (4) เทศภาษา

ตอบ 4 หน้า 16 ช่องว่างหรือระยะห่าง (เทศภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาเรื่องช่องว่างและระยะห่างของคู่สนทนา เช่น ระยะห่างระหว่างหญิงกับหญิงและหญิงกับชายย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้รวมถึงเทศภาษาที่เกิดจากความเคารพในสถานที่แต่ละแห่งด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ที่บุคคลให้ความสำคัญมากกว่าสถานที่ธรรมดา

11.       ก่อนยุคการพิมพ์ ภาษาทางการที่ใช้ในภาคพื้นยุโรป เป็นภาษาใด

(1) อังกฤษ      

(2)       ฝรั่งเศส            

(3) เยอรมัน      

(4) ละติน

ตอบ 4 หน้า 22 ก่อนยุคการพิมพ์นั้นในภาคพื้นยุโรปมีการคัดลอกหนังสือด้วยการใช้ภาษาทางการคือ ภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาของโบสถ์คาทอลิก แต่เมื่อมีระบบการพิมพ์เกิดขึ้น ผู้พิมพ์ยุดเริ่มแรก ตระหนักว่าตลาดของหนังสือมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีความรู้สึกผูกพันกับบ้านมากกว่าโบสถ์ จึงพิมพ์หนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และภาษาท้องถิ่นมากกว่าที่จะใช้ภาษา ของคริสตจักร

12. ข้อใดเป็นลักษณะผู้ส่งสารของการสื่อสารมวลชน

(1)       เป็นบุคคลสำคัญ         

(2) เป็นสถาบัน            

(3) เป็นคนเก่ง 

(4) เป็นใครก็ได้

ตอบ 2 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้

1.         แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน

2.         สารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)

3.         ผู้รับสารเป็นมวลชนหรือผู้รับชมรับฟังจำนวนมากที่เป็นใครก็ได้

4.         กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว

5.         ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม      6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

13.       เนื้อหาทางสื่อมวลชนไม่เหมาะสำหรับผู้รับสารข้อใด

(1) คนทั่วไป     (2) ผู้บริโภค     (3) สาธารณชน           (4) ปัจเจกชน

ตอบ 4 หน้า 25 เนื่องจากสื่อมวลชนมีผู้รับสารจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครและอยู่ที่ไหนบ้างทำให้เนื้อหาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะที่เหมาะสำหรับผู้รับสารกลุ่มใดก็ได้หรือสำหรับ ผู้รับสารที่มีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป ดังนั้นปัจเจกชนที่มีลักษณะเป็นปัจเจกสูงมากหรือมีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนมาตรฐานทั่วไปของคนในสังคมจึงไม่ใช่ผู้รับสารของสื่อมวลชน

14.       การที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม            (2) ตีความหมาย

(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม         (4) ส่งผ่านค่านิยม

ตอบ 1 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในลังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้นสื่อมวลชนจึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

15.       การที่หนังสือพิมพ์รายวันนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม            (2) ตีความหมาย

(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม         (4) ส่งผ่านค่านิยม

ครบ 2 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการตีความหมาย (Interpretation) คือ การนำเสนอเรืองราวที่ผ่านการตีความหมายโดยผู้สื่อข่าว ผู้เขียนข่าว และกองบรรณาธิการ ของสื่อมวลชน ซึ่งไม่ได้นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงและข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นการรายงานข่าว ในลักษณะของการเล่าเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองจากมุมมองของสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลจากมุมมองที่หลากหลายและสามารถประเมินข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เช่น รายการเล่าข่าวทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ การนำเสนอบทบรรณาธิการหรือบทนำ ของหนังสือพิมพ์ ฯลฯ

16.       การที่ครอบครัวข่าว 3 นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นการทำหน้าที่ตามบทบาท สื่อมวลชนข้อใด

(1) สอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม            (2) ตีความหมาย

(3) ประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคม         (4) ผิดทุกข้อเพราะทำเกินหน้าที่

ตอบ 3 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม คือการเชื่อมส่วนต่าง ๆ ที่ไมมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงให้เข้ามาเกี่ยวข้องกันได้โดยผ่าน เวทีสาธารณะ (สื่อมวลชน) เช่น เชื่อมระหว่างประชาชนผู้ยากไร้ที่ขาดคนเหลียวแลกับผู้ใจบุญ ที่ประสงค์จะช่วยเหลือผู้อื่น ฯลฯ นอกจากนี้สื่อมวลชนยังทำหน้าที่เชื่อมประสานกลุ่มคนที่มี ความสนใจอย่างเดียวกัน ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกบทบาทหน้าที่ด้านนี้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ ของการสร้างกลุ่มสาธารณชน เช่น กลุ่มสมาชิกร่วมด้วยช่วยกัน ฯลฯ

17.       บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

(1)       Social Relations (2) Socialization (3) Integration      (4) Modernization

ตอบ 2 หน้า 28 บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลซนในการส่งผ่านค่านิยม (Transmission of Values) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการสังคมประทิต (Socialization) หมายถึง วิถีทางที่ นำปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่ม โดยสื่อมวลชนจะนำเสนอ ค่านิยมต่าง ๆ ของคนบางกลุ่ม และจากการที่ประชาชนได้ดู ฟัง และอ่านก็ท่าให้ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนและสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญจากการซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน

18.       ใครเป็นผู้คิดค้นระบบการพิมพ์ที่ใช้ตัวพิมพ์แบบถอดเปลี่ยนได้

(1)       ลาสเวลล์         (2) เจมส์ โลว์   (3) กูเต็นเบิร์ก (4) หมอบรัดเลย์

ตอบ 3 หน้า 22, (คำบรรยาย) โยฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดค้น และพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ที่ใช้ตัวพิมพ์ทำด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) และต่อมาเขาก็ได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

19.       หากจะเขียนบทสารคดี ควรมีความรู้ระดับใดเป็นอย่างน้อย

(1) ระดับที่ 2   (2) ระดับที่ 3   (3) ระดับที่ 4   (4) ระดับที่ 5

ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1.         หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย)ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไมมีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน

2.         หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3

3.         หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4

4.         หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระท่าเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้องหรือ ไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

20.       เหตุใดนักสื่อสารมวลชนจึงต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร

(1)       เพื่อเข้าใจลักษณะเฉพาะตัวของผู้รับสารแต่ละคนซึ่งแตกต่างกัน

(2)       เพื่อเข้าใจว่าผู้รับสารเป็นใครอยู่ที่ไหนบ้าง

(3)       เพื่อเข้าใจกำลังซื้อของผู้รับสารซึ่งแตกต่างกันตามฐานะทางสังคม

(4)       เพื่อเข้าใจลักษณะร่วมบางประการที่กำหนดความพร้อมของผู้รับสาร

 ตอบ 4 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนจะต้องวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อทำความเข้ๆใจลักษณะร่วม

บางประการที่เป็นสิ่งกำหนดความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร เพื่อที่จะสามารถ ออกแบบสารได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับสารมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

21.       เนื้อหาที่ปรากฏทางสื่อมวลชนโทรทัศน์มีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       เป็นเรื่องทั่วไปที่เหมาะสำหรับทุกคน

(2)       เป็นสิ่งสะท้อนความเป็นจริงในสังคม โลกความจริงเป็นเช่นไรในสื่อก็เป็นเช่นนั้น

(3)       ไม่เป็นแบบฉบับตายตัว ไม่มีสไตล์เฉพาะตัว

(4)       ผ่านเลือกสรรมาเพียงบางส่วน เป็นภาพแบบฉบับตายตัว

ตอบ 4 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏ ในเนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิกในสังคม โดยเนื้อหาที่นำเสนอทางโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยว ของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

22.       โลกทางสังคม เกิดจากอะไร   

(1) สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ

(2)       โลกที่อยู่รอบตัว           

(3) การขัดเกลาทางสังคม       

(4) ความเป็นจริงที่แท้จริง

ตอบ 3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality)เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางลังคม ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคน จึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจาก การรับรู้ เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

23.       ภาพยนตร์โฆษณา “Silence of Love” มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1)       Awareness        (2) Knowledge  (3) Preference   (4) Conviction

ตอบ 3 หน้า 39 ความพึงพอใจ (Preference) หมายถึง การที่ผู้บริโภครู้สึกชอบสินค้าหรือบริการยี่ห้อที่โฆษณามากกว่าของคู่แข่ง และหากจะตัดสินใจซื้อก็พึงพอใจที่จะเลือกสินค้าหรือบริการ ของยี่ห้อที่โฆษณามากกว่ายี่ห้ออื่น (แม้ว่ายี่ห้อที่โฆษณาจะแพงกว่าก็ตาม)

24.       ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ควรมีลักษณะอย่างไร      

(1) เป็นภาพมุมสูง

(2)       เป็นภาพเคลื่อนไหว    (3) เป็นภาพระยะใกล้ (4) เป็นภาพระยะปานกลาง

ตอบ2 หน้า 51107, (คำบรรยาย) ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ จะทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ และตรึงผู้รับสารให้ใส่ใจต่อชิ้นงานโฆษณา โดยภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่มีเสียงและตัวอักษรประกอบ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้าได้ง่าย และยังมีอิทธิพลในการ ชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น

25.       การใช้ภาษาในการโฆษณาต้องคำนึงถึงข้อใดเป็นหลัก

(1) กระแสสังคม          (2) ความต้องการของผู้ส่งสาร

(3)       ความต้องการของสื่อ  (4) ผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 4 หน้า 41 การใช้ภาษา ในการโฆษณาจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เขียน ข้อความโฆษณาไมควรยึดติดกับตัวตน รสนิยม และความชอบของตน แต่ต้องเลือกใช้ภาษา ของกลุ่มเป้าหมายหรือภาษาที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น ภาษาที่ใช้ต้องสะท้อนถึงภูมิปัญญาและรสนิยมของวัยรุ่น ฯลฯ

26.       Advertising Concept หมายถึงอะไร         

(1) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา

(2)       ข้อความที่ใช้พาดหัวโฆษณา  (3) คำขวัญโฆษณา     (4) ความหมายของการโฆษณา

ตอบ 1 หน้า 4150, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept)หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์ เพี่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลัก ของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

27.       โทรทัศน์มีบทบาทด้านวัฒนธรรมอย่างไร

(1)       สร้างลักษณะวัฒนธรรมการเรียนรู้      (2) สร้างวัฒนธรรมเน้นปัญญา

(3)       สร้างวัฒนธรรมร่วมที่เป็นแบบฉบับตายตัว    (4) อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

28.       อ้างประชานิยมเจ๋ง ไม่ผลาญชาติ” จากพาดหัวข่าวนี้ ข้อความที่ขีดเส้นใต้หมายความว่าอย่างไร

(1)       นโยบายที่ใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนจน

(2)       นโยบายที่ได้รับความนิยมจากประชาชน       (3) นโยบายที่เอาใจประชาชนส่วนใหญ่

(4)       นโยบายที่กำหนดขึ้นตามความต้องการของประชาชน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) คำว่า ประชานิยม” (Populist) หมายถึง นโยบายการบริหารงานทางด้านการเมืองที่สนองความต้องการของประชาชนทั่วไปหรือชนชั้นลาง หรือเป็นนโยบายที่สนับสนุนประชาชน คนยากจนเป็นหลัก โดยจะใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเอื้อประโยชน์แก่คนจน ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังความนิยมทางการเมืองโดยไมจำเป็นต้องมีความสมเหตุสมผล หรือมีเป้าหมายทาง เศรษฐศาสตร์มหภาคมารองรับ

29.       การโฆษณาเนสกาแฟ 3 in 1 เรื่องล่าสุดใช้ลีลาใด

(1) Slice—of—life      (2) Life Style      (3) Fantasy         (4) Testimonial

ตอบ2  หน้า 43 – 44 ลีลารูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) เป็นการนำเสนอภาพและคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เป็นคนที่ชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง เป็นนักกีฬา เป็นวัยรุ่นที่ชอบสรวลเสเฮฮา เป็นคนทำงานที่ชอบดื่มกาแฟ ฯลฯ

30.       การโฆษณาที่มุ่งเสนอขายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นการใช้น้ำเสียงในการโฆษณาแบบใด

(1) Hard Sell       (2) Soft Sell        (3) Emotional   (4) Logical

ตอบ 1 หน้า 45 น้ำเสียง (Tone) ที่ใช้ในการนำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะ ดังนี้

1.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบ ตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม

2.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้าง อารมณ์ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวสินค้าโดยตรง อีกทั้งเน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

31.       การโฆษณา 7 Amazing ของการทองเทียวแห่งประเทศไทย เป็นการโฆษณาลีลาใด

(1) Slice—of—life      

(2) Life Style      

(3) Fantasy         

(4) Testimonial

ตอบ 3 หน้า 44 ลีลาจินตนาการ (Fantasy) เป็นการนำเสนอภาพที่เกิดจากจินตนาการ เช่น ใช้ภาพที่เกิดจากเทคนิคสร้างสรรค์ เพี่อแสดงถึงความคิด อุดมการณ์ ความมุ่งหวัง ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า/บริการหรือแนวความคิดที่ผู้โฆษณาต้องการนำเสนอ

32.       จิบไว้…สลายพุง” เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาแบบใด

(1) พาดหัวข่าว            

(2) เป็นคำสั่ง

(3)       บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ        

(4) ชวนให้สนใจใครรู้

ตอบ 3 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นการพาดหัว ที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งการพาดหัววิธีนี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจ ของผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องเป็นการให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์ หรือสนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว

33.       การโฆษณาผู้ใหญ่ลีของธนาคารกรุงไทย เป็นการโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ

(1) อารมณ์ขัน (2) ความกลัว  (3) ความอยากรู้อยากเห็น       (4) ความกล้าหาญ

ตอบ 1 หน้า 49 การใช้อารมณ์ขัน (Humor) เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาโดยสอดแทรกความบันเทิง ไปพร้อมกับการนำเสนอสิ่งดึงดูดใจ (Appeal) เพื่อขายสินค้า และข้อควรคำนึงสำหรับ การเขียนข้อความโฆษณาแบบนี้คือ จุดมุ่งหมายของการโฆษณามิใช่เพื่อมุ่งความบันเทิงเท่านั้น แด่ต้องสามารถสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อการขายสินค้า

34.       ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา

(1)       ข้อความที่เสนอขายสินค้า ควรเขียนไว้ที่ส่วนท้ายของข้อความโฆษณา

(2)       สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ

(3)       ระบุชื่อสินค้าในข้อความพาดหัว         (4) มุ่งขายสินค้ามากกว่าการใช้สำนวนโวหาร ตอบ 1 หน้า 48 ข้อความพาดหัวโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1.         ควรขายสินค้าได้ 2. ดึงดูดใจผู้อ่านด้วยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

3.         สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า            4. ควรระบุชื่อสินค้าไว้ในข้อความพาดหัว

5.         ควรเชิญชวนให้อ่านข้อความในส่วนอื่น ๆ ชองสิ่งโฆษณา

6.         ควรให้ความสำคัญกับการขายสินค้ามากกว่าการเล่นคำ ฯลฯ

35.       ข้อใดคือหน้าที่สำคัญของข้อความพาดหัวโฆษณา

(1) ทำให้รู้จักชื่อสินค้า (2) แสดงถึงเอกลักษณ์ของสินค้า

(3)       ดึงดูดความสนใจและขายสินค้า         (4) ช่วยสร้างความหมาย ให้ภาพประกอบ

ตอบ 3 หน้า 47 ข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) คือ ข้อความส่วนที่ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ ผู้รับสารด้วยการกล่าวถึงข้อเสนอเพื่อการขายสินค้า ดังนั้นจึงถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของข้อความโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ เพราะหากข้อความพาดหัวไม่มีพลังพอก็ไม่อาจจะทำให้ผู้รับสาร สนใจอ่านข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ได้

36.       ผิวของคุณมีจุดด่างดำซ่อนอยูรึเปล่า” เป็นการเขียนพาดหัวแบบใด

(1) พาดหัวข่าว            (2) เป็นคำสั่ง

(3) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ  (4) ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 4 หน้า 47 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) เป็นการพาดหัวโฆษณาด้วยการทำให้ผู้รับสาร เกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคำตอบหรือแก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการ อ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ

37.       ผบ.ทบ. ข้องใจนิติเรดกำลังจะทำอะไร ฮึ่มทั้ง 2 ฝ่ายหยุดทำให้เกิดความขัดแย้ง ปู” กำหนดทาทียุส่ง แก้ ม.112 อ้างเสรีภาพทางวิชาการ” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1)       Punch Lead      (2) Background Lead         (3) Colorful Lead       (4) Contrast Lead

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนำ ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นซึ่งมีข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกัน นำมาสรุป เข้าด้วยกันในการเขียนความนำ

38.       ศึกชักฟอกนโยบายรัฐบาลยังคึก ฝ่ายค้าน ส.ว. ถล่มยับนโยบายแก้บน ซัดกันเดือดหลังสาทิตย์ อัด พท.-เสื้อแดงบาป” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1)       Punch Lead     (2) Background Lead         (3) Colorful Lead       (4) Contrast Lead

ตอบ 1 หน้า 83 ความนำแบบกระแทกอารมณ์ (Punch Lead) คือ การเขียนความนำในการรายงานข่าวที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงมีลักษณะ ขึงขัง มีพลัง และผู้เขียนมักใช้คำที่มี ลักษณะเป็น Strong Words

39.       ในการจัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ใครควรเป็นผู้พูด 

(1) นักประชาสัมพันธ์

(2)       โฆษก (3) ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง     (4) ผู้มีวาทศิลป์

ตอบ 3 หน้า 62, (คำบรรยาย) สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือการพิจารณาว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรในการพูด โดยจะต้องพิจารณาถึง โอกาสและเนื้อหาของการพูด เช่น ในการจัดประชุมแถลงนโยบายขององค์กร หรือจัดแถลงข่าว เพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ผู้พูดควรเป็นผู้บริหารสูงสุดหรือบุคคลสำคัญที่รับผิดชอบ โดยตรง แต่ถ้าเป็นการกล่าวต้อนรับและการบรรยายสรุปให้นักศึกษาที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟัง ผู้พูดควรเป็นนักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

40.       ข้อใดเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดเรื่องที่พูดเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1)       เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

(2)       เป็นเรื่องที่อยู่ในกระแส

(3)       เป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส และความสามารถของผู้พูด

(4)       เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อน

ตอบ 3 หน้า 63 ผู้พูดควรกำหนดเรื่องที่จะพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับโอกาสสถานการณ์ที่ไปพูด และความรู้ความสามารถของตน โดยมีหลักสำคัญคือ การเตรียมเรื่อง ที่จะพูดให้พร้อม ซึ่งได้แก่ 1. ศึกษาหัวข้อเรื่องที่พูด            2. กำหนดโครงเรื่อง

3. ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม       4. คาดการณ์เรื่องที่ผู้พังจะซักถามและเตรียมคำตอบล่วงหน้า

5. เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูด

41.       Appeal หมายถึงอะไร

(1) ข้อเสนอเพื่อขายสินค้า       

(2) ลีลาการโฆษณา

(3)       น้ำเสียงหรือแนวทางการนำเสนอสาร  

(4) สิ่งที่ใช้เรียกร้องความสนใจ

ตอบ 4 หน้า 45 สิ่งดึงดูดใจ (Appeal) หมายถึง สิ่งที่ทำให้สินค้าในงานโฆษณานั้น ๆ น่าสนใจ ต่อผู้บริโภค หรือหมายถึง แนวทางที่ใช้ในการเรียกร้องความสนใจของผู้บริโภค และ/หรือ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นต่อสินค้าหรือบริการ จึงเปรียบเสมือนสิ่งผลักดัน ผู้บริโภคหรือสิ่งที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค

42.       การจัดแถลงข่าว เป็นการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1) การชี้แจงอย่างเป็นทางการ           

(2) การประชุมโต๊ะกลม

(3) การอภิปรายกลุ่ม   

(4) การบรรยายสรุป

ตอบ 1 หน้า 66, (คำบรรยาย) การพูดชี้แจงอย่างเป็นทางการ เป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดีในการสร้าง ความประทับใจและเผยแพร่กระจายข่าวสารไปสู่กลุ่มผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้ใน รูปของการอธิบายถึงนโยบาย จุดมุ่งหมายของการดำเนินงาน ชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด และ ให้คำแนะน้าแก่บรรดาพนักงานของบริษัท โดยมักใช้ในการจัดแถลงข่าว การจัดประชุมผู้สื่อข่าว การกล่าวเปิดและปิดงาน ฯลฯ

43.       การจัดทำข่าวแจกส่งให้สื่อมวลชนเป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1) บอกกล่าวเผยแพร่ (2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดี        (3) สร้างกระแสประชามติ       (4) โน้มน้าวใจ

ตอบ 1 หน้า 5971, (คำบรรยาย) ข่าวประชาสัมพันธ์ (News Release) หรือข่าวแจก (Press Release) หมายถึง ข่าวที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์ผลิตและแจกจ่ายไปยังสื่อมวลชน เพื่อให้บรรณาธิการ ขององค์กรสื่อมวลชนพิจารณาลงเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ซึ่งวัตถุประสงค์ของข่าวประชาสัมพันธ์ คือ เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่ โดยจะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับความก้าวหน้า นโยบาย หรือผลงานของ สถาบันในด้านบวกเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อสถาบัน และใช้ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ

44.       เคล็ดลับผิวเนียนด้วยผงหอมศรีจันทร์ของเอ๊ะ เพียงใช้ผงหอมศรีจันทร์ผสมกับน้ำสะอาด พอกผิวหน้า ทิ้งไว้ทั้งคืน เพียงเท่านี้ผุดผื่น สิวที่ไม่ต้องการก็หายไป” ข้อความนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1) Monologue (2) Dialogue      (3) Narrative     (4) Direct-selling

ตอบ 1 หน้า 49 วิธีการเขียนข้อความโฆษณาในลักษณะเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) เป็นการพูดถึงความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ กลยุทธ์การสร้างสรรค์แบบการอ้างพยาน (Testimonial) โดยการใช้บุคคลที่เคยใช้สินค้า หรือบริการมากล่าวยืนยันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ

45.       หากชินงานโฆษณาต้องการสื่อถึงความสะอาด ไร้มลภาวะ ควรใช้สีใด

(1) สีน้ำเงิน      (2) สีเขียว        (3) สีเหลือง     (4) สีขาว

ตอบ4  หน้า 53 สี (Color) สามารถสร้างผลกระทบทางด้านอารมณ์ได้ดังนี้

1.         สีน้ำเงิน หมายถึง ความเศร้า ความเยือกเย็น ความจริง ความบริสุทธิ์ ความเป็นการเป็นงาน

2.         สีเหลือง หมายถึง ความร่าเริง ฤดูใบไม้ผลิ ความไม่ซื่อสัตย์ แสงสว่าง ความเบิกบาน สดใส

3.         สีดำ หมายถึง ความลึกลับ ความโศกเศร้า ความตาย ความหนัก ความหรูหรา

4.         สีเขียว หมายถึง ความสงบ ชุ่มชื้น ฤดูใบไม้ผลิ วัยหนุ่มสาว ธรรมชาติ

5.         สีแดง หมายถึง ความโกรธ ความรัก ความร้อนแรงทันสมัย ความตื่นเต้น ไฟ อันตราย

6.         สีขาว หมายถึง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความไมมีมลทิน ความมีคุณธรรม ความดี ฯลฯ

46.       ข้อความโฆษณาส่วนใดมีหน้าที่สร้างความใส่ใจ

(1) พาดหัว       (2) คำขวัญ      (3) ชื่อสินค้า    (4) เนื้อเรื่อง

ตอบ 1 หน้า 55 โครงสร้างของชิ้นงานโฆษณา ประกอบด้วย

1.         ข้อความพาดหัว มีหน้าที่สร้างความใส่ใจ (Attention)

2.         ข้อความโฆษณา (เนื้อเรื่อง) มีหน้าที่สร้างความสนใจ (Interest)

3.         ข้อความส่วนท้าย มีหน้าที่กระตุ้นความต้องการหรือความปรารถนา (Desire)

4.         คำขวัญและชื่อสินค้า มีหน้าที่เน้นให้เกิดการกระทำ (Action)

47.       ข้อความโฆษณาส่วนใดที่เน้นให้เกิดการกระทำ

(1) พาดหัว       (2) พาดหัวรอง (3) ชื่อสินค้า    (4) เนื้อเรื่อง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.       หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก    (2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ

(3) ใช้ภาษาปาก          (4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก

ตอบ 4 หน้า 7779 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน โดยข่าวที่นำเสนอ จะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft 

News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจ เรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

49.       การเขียนบทความและบทบรรณาธิการใช้รูปแบบการเขียนแบบใด

(1) Inverted Pyramid (2) Upright Pyramid (3) Combination (4) Feature

ตอบ 2 หน้า 80, (คำบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1. แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสำคัญของข่าวก่อน รายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์

2.         แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสำคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ

3.         แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสำคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

50.       อปลาวาฬครวญลูกรอดปาฏิหาริย์ ลงดาบผับจับ 6 โจ๋โหด” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1)       ละประธานของประโยค         (2) ตัดคำสั้น    (3) ใช้คำย่อ     (4) ใช้คำที่ชวนสงสัย

ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคำให้สั้นลง เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ทั้งนี้ผู้เขียนต้องเขียนพาดหัวข่าวลงในเนื้อที่ที่บรรณาธิการฝ่ายจัดหน้ากำหนดให้ ซึ่งนอกจากต้องเขียนให้ได้ใจความสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงจำนวนตัวอักษรที่ใช้ไมให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ ทำให้ในบางครั้งจึงจำเป็นต้อง ตัดคำให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ครวญ (โอดครวญ)รอด (รอดตาย)จับ (จับกุม)โหด (โหดเหี้ยม) ฯลฯ

ข้อ 51. – 53. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

ประชาชนมีสิทธิขอแก้ไขแม้แต่กฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าพรรคเพื่อไทยซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรไม่เอาด้วย ไม่มีทางสำเร็จ เว้นแต่พรรคเพื่อไทยจะปากว่าตาขยิบ แต่ปัญหาที่บรรดา ผู้รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาธิปไตยจะต้องคิดให้จงหนักก็คือ สังคมไทยกำลังแตกแยกหนัก ไฟคุกรุ่นอยู่ ควรหรือไม่ที่จะเอาน้ำมันราดใส่กองเพลิง?” (ที่มา  ไทยรัฐ 7 กุมภาพันธ์ 2555)

51.       บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด      

(1) เสนอแนะ

(2)       อธิบายความ  

(3) วิพากษ์วิจารณ์       

(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย)     การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์และบทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแกผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

52.       บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1)       ลีลาเยือกเย็น  

(2) ลีลาทางการ           

(3) ลีลาปรึกษาหารือ   

(4) ลีลากันเอง

ตอบ 2 หน้า 8892, (คำบรรยาย)     ภาษาระดับลีลาทางการ (Formal Style) จะมีลักษณะภาษาที่เป็นพิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แตก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน จึงเป็นลีลาของภาษา ที่มุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่ไมเฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าว บทบรรณาธิการ บทความทางวิชาการ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

53.       ข้อความที่ยกมาน่าจะเป็นส่วนใดของบทความ

(1)       คำนำ   

(2) ย่อหน้าที่ 2             

(3) ส่วนเชื่อม   

(4) ย่อหน้าสุดท้าย

ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คำบรรยาย)     โครงสร้างของการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และ

บทบรรณาธิการ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันดังนี้

1.         ชื่อเรื่อง คือ ชื่อที่เขียนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

2.         ความนำ คือ ส่วนแรกของเนื้อหา ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนำหรืออารัมภบท

3.         เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่ดำเนินเรื่องราว

4.         สรุป คือ ส่วนสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้าย อาจเป็นข้อเสนอแนะ หรือข้อความที่ย้ำถึงจุดยืน เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่กล่าวถึง

ข้อ 54. – 55. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

ไม่ว่าจะเป็นกรงไก หรือกรงเสือ มันจะไม่มีวันแข็งแรงพอที่จะควบคุมบรรดาขาใหญ่ที่พร้อมจะใช้กฎหมู่ ต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐที่มักจะโอนอ่อนหรือเลือกจะโอนอ่อนผ่อนตาม ทั้งที่กฎระเบียบของกรมราชทัณฑ์นั้น ชัดเจนในตัวมันเองอยู่แล้ว เรื่องนี้ก็ไมต่างจากเรื่องอื่น ๆ ที่กฎหมาย หรือกฎระเบียบมีอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือ ผู้ปฏิบัติ จะทำให้กฎเหล่านั้นศักดิ์สิทธิ์ เป็นธรรม หรืออยุติธรรม (ที่มา  คมชัดลึก 7 กุมภาพันธ์ 2555)

54.       ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด

(1)       ให้ข่าวสาร       (2) อธิบายความ          (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 1 หน้า 91 บทบรรณาธิการประเภทให้ข่าวสารและคำอธิบาย (Inform and Interpret)เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนต้องการให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านในเรื่องที่เป็นข่าว หรือเป็น เรื่องที่สัมพันธ์กับข่าวซึ่งมีแง่มุมซับซ้อนเข้าใจยาก โดยจะมุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับอธิบายลำดับและชี้ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์เท่านั้น แต่ไมได้ มีเป้าหมายที่จะให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาหรือกระตุ้นความคิดแต่อย่างใด

55.       เป็นการแสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1) อธิบายความ          (2) วิพากษ์วิจารณ์       (3) วิเคราะห์    (4) ให้คำแนะนำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56.       ยอดรถกระบะคุณภาพอันดับ 1 ของคนไทย ไฮลักซ์ วีโก้” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด

(1)พาดหัวข่าว (2)กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ         (3)ให้คำแนะนำ (4)ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

57.       ขนาดของโฆษณามีความสัมพันธ์กับอะไร

(1) พื้นที่ว่าง (2) ผลกระทบที่มีต่อผู้รับสาร      (3) จำนวนผู้รับสาร      (4) แบบตัวอักษร

ตอบ 2 หน้า 54 ขนาดของโฆษณา (Size) จะมีความสัมพันธ์กับผลกระทบที่มีต่อผู้รับสาร (Impact) เพราะโดยทั่วไปแล้วโฆษณาขนาดใหญ่มักได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาขนาดเล็ก ในขณะเดียวกันโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ที่มีความยาว 60 วินาที ก็มักได้รับความสนใจ และเป็นที่จดจำได้ดีกว่าโฆษณาที่มีความยาว 15 วินาที

58.       อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนในสังคมเข้าใจความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ แตกต่างกัน

(1)       เพราะมีสื่อให้เลือกหลายประเภท      (2) เพราะมีข้อมูลข่าวสารมากมายให้เลือกรับ

(3)       การเข้ารหัสความหมายแตกต่างกัน    (4) การถอดรหัสความหมายแตกต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 3-5, (คำบรรยาย) การถอดรหัสสาร (Decoding) คือ กระบวนการที่ผู้รับสารแปลหรือตีความสารให้เกิดเป็นความหมายขึ้นในใจ หรือทำความเข้าใจความหมายของภาษาที่ใช้สื่อสาร โดยผู้รับสารแต่ละคนจะถอดรหัสความหมายในเรื่องหนึ่ง ๆ แตกต่างกันไปตามขอบเขตแห่ง ประสบการณ์ของตน ดังนั้นการถอดรหัสความหมายที่แตกต่างกันของคนในสังคม จึงทำให้การเข้าใจความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ ที่สื่อสารแตกต่างกันไปด้วย

59.       การที่สัญญาณโทรศัพท์ขัดข้อง เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด          

(1) Semantic Noise

(2)       Mechanical Noise  (3) Environmental Noise  (4) Ambiguous Noise

ตอบ2  หน้า 6, (คำบรรยาย) อุปสรรคทางด้านเครื่องมือ (Mechanical Noise) เกิดขึ้นเมื่อเกิดปัญหากับอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการสื่อสาร เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งสัญญาณรับภาพไม่ถูกต้อง หรือหันเสาอากาศไม่ถูกทิศทาง ทำให้ได้รับสัญญาณภาพและเสียงขัดข้องไม่ชัดเจนวิทยุที่มี เสียงคลื่นแทรกไมโครโฟนไม่ดังหรือมีการดูดเสียงไฟฟ้าดับหรือลัดวงจร เป็นต้น

60.       การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา เป็นการสื่อสารในมิติใด  

(1) มิติทางกายภาพ

(2)       มิติทางวัฒนธรรม       (3) มิติทางจิตวิทยาสังคม        (4) มิติทางสังคม

ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์

ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

61.       ข้อใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด

(1) มีหลักฐานข้อมูลน่าเชื่อถือ 

(2) ลีลาของผู้พูด

(3)       บุคลิกภาพของผู้พูด   

(4) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

ตอบ 1 หน้า 60, (คำบรรยาย) ในการดำเนินงานขององค์การหรือสถาบัน บางครั้งก็อาจมีกระแสข่าวลือ หรือข่าวสารที่ผิดพลาด ทำให้องค์การต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือประชาชนเกิดความเข้าใจผิดขึ้นได้ องค์การจะต้องใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อชี้แจงแถลงข้อเท็จจริงเละเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดในการชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด คือ ต้องมีหลักฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

62.       หลักการสำคัญของการเลือกช่องทางการสื่อสารคืออะไร

(1) เลือกที่ผู้ส่งสารสะดวกที่สุด           

(2) เลือกสื่อที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

(3)       เลือกสื่อที่ราคาถูก       

(4) เลือกสื่อที่ผู้รับสารเปิดรับ

ตอบ 4 หน้า 75 การเลือกช่องทางการสื่อสาร (Channels) ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ก็ดี มีหลักการที่สำคัญ คือ เลือกช่องทางการสื่อสารที่ผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย นิยมเปิดรับและเชื่อถือ เพราะช่องทางแต่ละช่องทางมีกระบวนการแพร่กระจายข่าวสาร แตกต่างกัน ทำให้ผลของการสื่อสารแตกต่างกันไปด้วย นักประชาสัมพันธ์จึงต้องอาศัย การสื่อสารผ่านหลายช่องทางหรือใช้สื่อหลายสื่อ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทุกกลุ่ม โดยพึงตระหนักว่าความนิยมของประชาชนที่มีต่อช่องทางการสื่อสารแต่ละช่องทางจะ แตกต่างกันไป (ตามเพศ วัย การศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม)

63.       ข้อใดไมใช่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการรับสาร

(1) ความสะดวก          (2) นิสัย           (3) ระดับความรู้          (4) ช่องทางการสื่อสาร

ตอบ 4 หน้า 75 ปัจจัยที่เที่ยวข้องกับความสามารถของผู้รับสาร มีดังนี้

1. ความสะดวกในการรับ (Availability)          2. นิสัยการรับสื่อ (Habits)

3. ความสามารถในการอ่าน (Reading Ability) 4. ระดับความรู้ของผู้รับสาร (Knowledge)

64.       เนื้อหาสาระของงานประชาสัมพันธ์ควรมีลักษณะอย่างไร

(1) เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การ           (2) เรื่องที่อยู่ในใจของผู้ส่งสาร

(3) เรื่องที่มีความหมายสำหรับผู้รับสาร           (4) เรื่องราวทั่วไปตามความสนใจของทุกคน

ตอบ 3 หน้า 74 เนื้อหาสาระ (Content) ของงานประซาสัมพันธ์ จะต้องเพียบพร้อมด้วยเรื่องราวที่ มีความหมายสำหรับผู้รับสารและสอดคล้องกับระบบค่านิยม ตลอดจนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ของผู้รับสาร โดยคนทั่วไปจะเลือกรับข่าวสารที่มีเนื้อเรื่องน่าสนใจและเกิดประโยชน์ต่อตนเอง

65.       ข้อใดคือหลักการเลือกช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์

(1) เลือกเฉพาะสื่อที่คุ้มค่าใช้จ่าย        (2) เลือกสื่อที่เข้าถึงผู้รับสารได้ดีที่สุดเพียงสื่อเดียว

(3) เลือกใช้สื่ออย่างเจาะจง    (4) เลือกใช้สื่อหลาย ๆ สื่อ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

66.       ข้อใดเป็นปัจจัยกำหนดการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์

(1) ผู้อ่าน โฆษณา เจ้าของ      (2) ประเภทเนื้อหา กำหนดออก การแข่งขัน

(3) นโยบายของฝ่ายการเมือง การเป็นเจ้าของ โฆษณา (4) รสนิยมของกองบรรณาธิการ

ตอบ 2 หน้า 78 – 79 ลักษณะการใช้ภาษาของหนังลือพิมพ์แต่ละฉบับอาจมีลักษณะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ กำหนดระยะเวลาการออกเผยแพร่ และ การแข่งขันกันดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

67.       ข้อใดเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนข่าว

(1) พาดหัวข่าว            (2) ส่วนนำ       (3) เนื้อเรื่อง     (4) ส่วนสรุป

ตอบ 1 หน้า 81 การเขียนพาดหัวข่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของการเขียนข่าว เพราะพาดหัวข่าวจะ เป็นส่วนแรกที่ผู้อ่านได้เห็น ดังนั้นหากพาดหัวข่าวบอกประเด็นสำคัญของข่าวอย่างชัดเจน และใช้ถ้อยคำที่ดึงดูดใจก็จะทำให้ผู้อ่านสนใจอ่านข่าวส่วนที่เหลือต่อไป ดังนั้นพาดหัวข่าว จึงมีส่วนดึงดูดใจให้ผู้อ่านซื้อหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้

68.       ขาพาดประตูห้องน้ำ สวมเสือยืดแขนสั้นคอกลมสีม่วง กางเกงผ้ายืดสีดำขายาว ลำคอมีเข็มขัดผ้าสีดำ รัดจนแน่น ลิ้นจุกปาก ใบหน้ามีร่องรอยถูกของแข็งทุบ ” เป็นวิธีการเขียนแบบใด

(1) Straight News (2) Human Interest (3) Feature Story (4) Punch Lead

ตอบ2 หน้า 84 การเขียนข่าวแบบสนองปุถุชนวิสัย (Human Interest) เป็นการเขียนเนื้อข่าวที่ใช้ การบรรยายหรือพรรณนาให้ผู้อ่านเกิดภาพ

พจน์เสมือนอยู่ในเหตุการณ์ ภาษาที่ใช้มักเขียนเพื่อ สร้างภาพพจน์เชิงวารสารศาสตร์ด้วยการอธิบายความ ให้รายละเอียด และบรรยายภาพเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น จึงมักใช้เขียนข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ประชานิยม (เชิงปริมาณ) ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวบุคคลที่คนทั่วไปสนใจ ฯลฯ

69.       รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด

(1) ข่าวสาร      (2)       ความรู้ (3)       ความบันเทิง    (4)       โน้มน้าวใจ

ตอบ 2 หน้า 95, (คำบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ที่จัดขึ้นเพี่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีของประชาชน เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

70.       การเขียนบทสำหรับรายการบทความทางวิทยุ เป็นบทประเภทใด

(1) ร่างคร่าว ๆ (2)       กึ่งสมบูรณ์      (3)       สมบูรณ์           (4)       บทอ่าน

ตอบ 3 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือ ลำดับการทำงานไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

71.       ปชป. ป่วนวอล์กเอาต์” คำทีขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร

(1) ไม่เห็นด้วย 

(2) ประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องประชุม

(3) ประห้วงด้วยการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง     

(4) เดินหนีไปในขณะที่กำลังคุยกัน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) คำว่า วอล์กเอาต์” (Walk Out) หมายถึง การประห้วงด้วยการเดินออกจากที่ประชุมหรือห้องประชุม เพี่อแสดงการคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

72.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการเพลง เป็นบทประเภทใด

(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ           

(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์

(3) ประเภทสมบูรณ์    

(4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73.       สภาล่มกลางดึก แถลงนโยบายสะดุด หลังเพื่อไทย ปชป. เปิดศึกซัดนัวเนียปมดึงฟ้าต่ำ ขุนค้อนพลาด องค์ประชุมขาดฉิวเฉียด ขณะที่เหลิมหนุนปูเทียบชั้นป๋าเปรม พร้อมลุ้นวัดรอยเท้านายกฯ 8 ปีครึ่ง

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Colorful Lead 

(2) Summary Lead 

(3) Punch Lead  

(4) Contrast Lead

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

74.       ‘‘ชำแหละนโยบายวันที่สอง สุนัขรับใช้เห่าลั่นสภา ไม่พอใจฝ่ายค้านตีแสกหน้านายใหญ่

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1)       Colorful Lead (2) Summary Lead (3) Punch Lead (4) Contrast Lead

ตอบ 1 หน้า 82 – 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือ การเขียนความนำด้วยการแสวงหาถ้อยคำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้ผู้อ่านมองเห็น ภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วยชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว มีสีสัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นคำที่สร้างสีสันเกินจริง เช่น ชำแหละสุนัขรับใช้เห่า ลั่นสภาตีแสกหน้า ฯลฯ

75.       Host หมายถึงใคร

(1) ผู้จัดรายการสนทนา           (2) ผู้เขียนบท

(3) ผู้ผลิตรายการ        (4) ผู้ดำเนินรายการและควบคุมเสียง

ตอบ 1 หน้า 96 รายการสนทนา (Conversational Programme) เป็นรายการพูดคุยหรือสนทนาระหว่าง ผู้ดำเนินรายการหรือผู้จัดรายการสนทนา (Host) กับผู้ร่วมรายการหรือแขกรับเชิญ (Guest) เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ผู้ฟังทางบ้านฟัง ซึ่งผู้ร่วมสนทนาอาจมี 2 คน (ผู้ดำเนินรายการ กับผู้ร่วมรายการ) หรือ 3 คนก็ได้

76.       เสียงพูดทางวิทยุกระจายเสียง ควรมีลักษณะอย่างไร

(1)ไพเราะนุ่มนวลต้องบีบเสียง เค้นเสียงเป็นบางช่วง

(2)       แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

(3)       พลิ้วไหว เปลี่ยนแปลงได้หลายแบบ

(4)       น้ำเสียงมั่นคง ราบเรียบ

ตอบ 2 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ ต้องมีการ เปลงเสียงที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่   1. เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

2.         เป็นเสียงที่ฟังรื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป       3. เป็นเสียงแท้ของ

ผู้อ่าน ไม่ควรดัดเสียง หรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ำหนักเสียงสูง-ต่ำตามธรรมชาติ

4.         ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อ่านต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

77.       ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด

(1) ผังรายการ (2) เอกสารคู่มือรายการ

(3) บทวิทยุกระจายเสียง         (4) บัญชีรายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ

ตอบ 3 หน้า 102, (คำบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลำดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง จบรายการ เพื่อให้รายการดำเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของ รายการที่วางไว้

78.       การเขียนบทสำหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1) เขียนประโยคสั้น ๆ            (2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง

(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ          (4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว

 ตอบ 4 หน้า 103 เทคนิคการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงประเภทรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้       1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว           2. ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์          3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ     4. เขียนให้สัมพันธ์กับประเด็นของเรื่องและเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นำเสนอรายการ

79.       ส่วนปิดท้ายของบทวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) ชื่อรายการ และชื่อเรื่อง      (2) ชื่อสถานีวิทยุ และวันเวลาที่ออกอากาศ

(3)       ชื่อผู้แสดงและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรายการ           (4) สรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

ตอบ 4 หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้

1.         ส่วนหัว ได้แก่ ชื่อรายการชื่อเรื่องที่จะเสนอชื่อสถานี ขนาดคลื่น ความถี่วันเวลาที่ ออกอากาศ และความยาวของรายการ

2.         ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจำเป็นที่ใช้ในรายการ ได้แก่ ชื่อผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ รายการชื่อผู้แสดงเสียงประกอบ และดนตรีหรือเพลงที่ต้องการใช้

3.         ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุ เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่กำหนดให้ทำ ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ

4.         ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

80.       ข้อใดคือหลักการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1)       มีข้อความที่แสดงความคิดเห็นหลากหลายในรายการเดียวกัน

(2)       ใช้ภาษาปาก  (3) เลือกใช้คำแปลก ๆ เพื่อดึงดูดใจ

(4)       ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ผู้พังไม่ต้องคิดนาน

ตอบ 4 หน้า 104 – 105 หลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้

1.         ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ พูดแล้วไมต้องให้คิดนาน

2.         การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแงเดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเอง

3.         ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง 4. ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง

5.         ควรระวังและหลีกเลี่ยงการนำเรื่องส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ หรือญาติมิตร

มาพูดคุยในรายการ     6. ใช้ภาษาที่มีความหมายชัดเจน ฯลฯ

81.       ข้อใดเป็นข้อควรระวังในการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) ไม่ควรใช้ภาษาปาก           

(2) ไม่ควรใช้ภาษาง่ายเกินไป

(3)       ไมควรนำเรื่องส่วนตัวมาพูดในรายการ           

(4) ไม่ควรใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82.       ส่วนใดของบทวิทยุกระจายเสียงที่เป็นส่วนเนื้อหา

(1) ส่วนที่ 1      

(2) ส่วนที่ 2      

(3) ส่วนที่ 3      

(4) ส่วนที่ 4

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

83.       เสียงดนตรีมีบทบาทอย่างไรในรายการโทรทัศน์

(1)       เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในรายการโทรทัศน์

(2)       เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้สอดคล้องกับคำพูด

(3)       เป็นสิ่งสำคัญรองจากภาพและคำพูด ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึก

(4)       เป็นสิ่งที่เสริมเข้ามาเพื่อไมให้เกิดความเงียบ

ตอบ 3 หน้า 116, (คำบรรยาย)         เสียงดนตรีประกอบในรยการโทรทัศน์ถือเป็นสิ่งสำคัญรองจากภาพและคำพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญดังนี้  1. ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ     2. ใช้เพี่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ 3.        ใช้เพื่อเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้แสดง  4. ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว         5. ใช้เป็นดนตรีประจำรายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

84.       ส่วนประกอบใดในรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นวัจนภาษาที่ผู้ชมคุ้นหูมากที่สุด

(1) คำสนทนา  . (2) คำบรรยาย           (3) คำอ่าน       (4) เสียงประกอบ

ตอบ 1 หน้า 106 คำสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหูมากที่สุดในบรรดาเสียงที่ปรากฏทางรายการโทรทัศน์ โดยมักใช้เพื่อให้ความหมายแก่ภาพใน 4 ลักษณะ คือ

1.         เพื่อให้ข้อมูลรายละเสียด       2. เพื่อบอกบุคลิกลักษณะของผู้แสดง

3. เพื่อดำเนินเรื่องหรือเชื่อมฉาก 2 ฉากเข้าด้วยกัน     4. เพื่อแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพ

85.       Fill Light หมายถึงอะไร

(1) แสงไฟหลัก            (2) แสงไฟเพิ่มความสว่าง       (3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา  (4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง

ตอบ 3 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐาน อย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่   1. แสงไฟหลัก (Key Light)

2.         แสงไฟลบเงา (Fill Light)  3. แสงไฟส่องที่ฉากหลัง (Back Light)

86.       หากต้องการให้มีคำบรรยายภาพปรากฏในรายการโทรทัศน์ ต้องใช้เทคนิคใด

(1) Freeze Frame (2) Superimpose (3) Split Screen    (4) Fast Motion

ตอบ 2 หน้า 106 – 107114, (คำบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ตัวหนังสือ หรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทำคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรซ้อน ลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว เช่น การทำไตเติ้ลรายการ และ Sub-title เป็นต้น

87.       หากต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้แสดง ควรใช้ภาพลักษณะใด

(1) ECU       (2)       CU    (3)       MCU         (4) MS

ตอบ หน้า 109, (คำบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพในระยะใกล้มาก เพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน หรือต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึก ของผู้แสดง เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะดวงตาขณะผู้แสดงกำลังร้องไห้ การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วน ของแมลง หรือหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า เป็นต้น

88.       หากต้องการนำเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้างโดยการหันกล้องจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3)       ซูม       (4) ทรัค

ตอบ1 หน้า 112 แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องในลักษณะแนวนอนจากขวามาซ้าย หรือ ซ้ายมาขวา เพี่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น

89.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

(1) Cut        (2)       Wipe         (3)       Freeze      Frame       (4) Split Screen

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนันนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

90.       ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

(1) Cut        (2) Wipe    (3) Freeze Frame (4) Split Screen

ตอบ 1 หน้า 114 การคต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ ลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

91.       ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์มีหน้าที่อะไร

(1) บอกเล่าเรื่องราว    

(2) ถ่ายทอดเนื้อหา

(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง      

(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

92.       คำย่อ SFX หมายถึงอะไร

(1) เสียงดนตรี 

(2) เสียงประกอบ        

(3)       ผู้ประกาศ        

(4)       ความเงียบ

ตอบ2  หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงประกอบ (Sound Effect : SFX) ในรายการโทรทัศน์ ได้แก่เสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงสัตว์ร้อง เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตรายการจึงควรพิถีพิถันในการบันทึกเสียง ประกอบด้วย เพื่อให้ได้เสียงประกอบที่สมบูรณ์และในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมิให้ ดังกลบเสียงสนทนาหรือเสียงบรรยาย

93.       หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวงน่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร

(1) เหลือง        (2) ฟ้า  (3)       ชมพู     (4)       น้ำเงิน

ตอบ 4 หน้า 115 – 116, (คำบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ใน รายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้านสีน้ำเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

94.       หากต้องการนำเสนอภาพมุมสูง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3)       ทิลท์     (4)       ทรัค

ตอบ 3 หน้า 112 ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้องในลักษณะ แนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ำได้มากขึ้น

95.       ข้อใดเป็นเทคนิคที่นำมาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพบนหน้าจอ

(1) Cut        (2)       Wipe         (3)       Freeze Frame  (4)       Split Screen

ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame)

ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในกรอบเดียวก้น

96.       ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร

(1) Illustration   (2)       Shot (3)       Screen      (4)       Frame

ตอบ 2 หน้า 108 ภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์นั้น เกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลำดับ ต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งภาพแต่ละภาพนี้จะเรียกว่า ชอต (Shot)

โดยเมื่อเรานำภาพแต่ละชอตนี้มาลำดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลำดับ เรื่องราวตามต้องการ

 ข้อ 97. – 99. จงใช้ตัวเสือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Dolly    (2) Truck   (3) Pedestal       (4) Boom

97.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น

ตอบ 4 หน้า 112 บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ำ

98.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง

ตอบ 3 หน้า 112 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง แบบ Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

99.       ข้อใดหมายถึงการเคลื่อนกล้องเข้าหาหรือถอยห่างจากวัตถุที่ถ่าย

ตอบ 1 หน้า 113 ดอลลี่ (Dolly) คือ. เทคนิคการเปลี่ยนระยะของภาพโดยเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุ ที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่เพื่อให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly in) หรือถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายเพื่อให้ได้ภาพ เล็กลง (Dolly out)

100.    ในรายการโทรทัศน์ อวัจนภาษาข้อใดที่บ่งบอกถึงความสงบ การฉุกคิด

(1) เสียงดนตรี (2) เสียงประกอบ        (3) แสง            (4) ความเงียบ

ตอบ 4 หน้า 116 – 117 ในบางครั้งรายการโทรทัศน์จะใช้ความเงียบ (Silence) ซึ่งเป็นอวัจนภาษา เพี่อสะกดอารมณ์หรือปลุกเร้าความสนใจของผู้ชมให้จดจออยูกับสิ่งที่ปรากฏบนจอภาพ โดยมักนิยมใช้กับเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้ชมช่วยลุ้น และเรื่องราวที่ต้องการบ่งบอกถึงความสงบ หรือการฉุกคิด

Advertisement