การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิขา MCS 2106 (MCS 2160) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         กระบวนการเข้ารหัสสารจะต้องอาศัยสิ่งใด

(1)       ผู้รับสาร           

(2) สาร

(3) ช่องทางการลื่อสาร            

(4) สนามแห่งประสบการณ์

ตอบ 3 หน้า 4, (คำบรรยาย) กระบวนการเข้ารหัสสาร (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปลความคิดของตนให้อยู่ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้ โดยอาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เป็นช่องทางการสื่อสารเพื่อนำสารมาสู่ผู้รับสาร เช่น การที่ผู้พูดเข้ารหัสเป็นคำพูดในการ สื่อสารแบบเผชิญหน้า ฯลฯ นอกจากนี้เครื่องยนต์กลไกก็สามารถเป็นผู้เข้ารหัสได้ เช่น เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ฯลฯ

2.         บริบททางจิตวิทยาสังคม เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

(1)       อาคาร สถานที่ สภาพแวดล้อม            

(2) ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติส่วนบุคคล

(3) สถานภาพ ตำแหน่งหน้าที่ 

(4) กระแสแฟชั่น วิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละคน

ตอบ 3 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

3.         การจัดแสดงแสง สี เสียง” เป็นการใช้บริบทการลื่อสารมิติใด

(1)       กายภาพ          (2) จิตวิทยาสังคม       (3) วัฒนธรรม  (4) เวลา

ตอบ 1 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางกายภาพ (The Physical Context) เป็นสภาวะแวดล้อมที่มองเห็นได้ในขณะที่การสื่อสารเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอิทธิพลบางอย่างต่อเนื้อหา และรูปแบบของเรื่องที่สื่อสาร เช่น สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หอประชุมการจัดแสดงแสง สี เสียง ในงานมอเตอร์โชว์การจัดวางสินค้าหน้าร้านให้สวยงามชวนซื้อ เป็นต้น

4.         การปราศรัยของแกนนำ กปปส. เป็นการสื่อสารประเทใด

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคล           (2) การสื่อสารสาธารณะ

(3) การสื่อสารองค์การ            (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 2 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารสาธารณะ (Public Communication) หมายถึง การสื่อสารไปยังกลุ่มผู้รับฟังจำนวนมากเพื่อให้ข่าวสาร โน้มน้าวใจ และให้ความบันเทิง โดยผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถเห็บหน้าซึ่งกันและกันได้ แต่ไม่สามารถแสดงปฏิกิริยา โต้ตอบกันได้โดยตรงในทันทีทันใด เช่น การพูดในที่ประชุมขนาดใหญ่การจัดแสดงคอนเสิร์ต การปราศรัยหาเสียงทางการเมืองการจัดอภิปรายหรือสัมมนา ฯลฯ

5.         ป้ายโฆษณาหน้าลิฟต์รณรงค์ให้นักศึกษาแต่งกายให้ถูกระเบียบ เป็นการสื่อสารประเภทใด

(1)       การสื่อสารระหว่างบุคล           (2) การสื่อสารสาธารณะ

(3) การสื่อสารองค์การ            (4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ 3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารองค์การ (Organization Communication) หมายถึง การสื่อสารกันภายในกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่การอบรมข้าราชการใหม่การออกหนังสือพิมพ์ ติดป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ หรือเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

6.         การที่มองว่าภาษีมีส่วนสร้างความหมาย เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด

(1) โครงสร้างนิยม       (2)วัฒนธรรมนิยม       (3) สังคมนิยม (4)บริโภคนิยม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงวัฒนธรรมนิยม (Culturalism) มองว่า ภาษาไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง ตายตัว แต่มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม ดั้งนั้นภาษาจึงไม่ได้เป็นเพียง การกำหนดคุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆ หรือความจริงที่อยู่รอบตัวเท่านั้น แต่ภาษา เป็นสิ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อก่อให้เกิดความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ รวมถึงภาษามีส่วนสร้างความหมาย สร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างสรรค์ความจริง ทางสังคม (Social Reality) หรือโลกทางสังคม (Social World)

7.         แนวคิดใดที่มองว่าเราสามารถเข้าใจสังคมจากการถอดรหัสโครงสร้างของภาษา

(1)       โครงสร้างนิยม (2)วัฒนธรรมนิยม       (3) สังคมนิยม (4) บริโภคนิยม

ตอบ 1 (คำบรรยาย) แนวคิดในเชิงโครงสร้างนิยม (Structuralism) มองว่า ภาษาเป็นเครื่องมือที่ ใช้แทนความหมาย และเป็นกรอบความคิดของมนุษย์ โดยเป็นสิ่งที่วิวัฒนาการสืบต่อกันมา มีโครงสร้างที่แน่นอน และมีระบบไวยากรณ์เป็นตัวกำหนดหลักเกณฑ์หรือควบคุมการใช้ภาษา ดังนั้นผลผลิตทางด้านภาษาจึงเป็นเสมือนบันทึกทางสังคมที่สามารถนำมาวิเคราะห์และ ถอดรหัสโครงสร้างของภาษา เพื่อทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทำให้ สามารถทำความเข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสำคัญเรื่องอะไรบ้าง

8.         แนวคิดใดที่มองภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้แทนความหมาย

(1)       โครงสร้างนิยม (2) วัฒนธรรมนิยม      (3) สังคมนิยม (4) บริโภคนิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

9.         Connotation เป็นความหมายลักษณะใด

(1)       ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพ       (2) ความหมายของสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้

(3) ควมหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป         (4) ความหมายรอง

ตอบ 4 หน้า 13, (คำบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ

1.         ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพอันเป็นสิ่งที่มีตัวตนอ้างถึงได้ หรือความที่เจ้าของภาษา รู้และใช้กันโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคำตามที่ปรากฏในพจนานุกรม

2.         ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมายโดยตรง

10.       การวิเคราะห์วรรณกรรมต่าง ๆ หรือแม้แต่ภาษาร่วมสมัยที่ปรากฏในสื่อมวลชน จะทำให้สามารถทำความ เข้าใจความคิดของคนในสังคมนั้น ๆ ได้ว่าให้ความสำคัญกับเรื่องอะไรบ้าง” เป็นทัศนะของนักทฤษฎีแนวใด

(1)       โครงสร้างนิยม (2)       วัฒนธรรมนิยม            (3)       สังคมนิยม       (4) ประจักษ์นิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

11.       “ ผลผลิตทางด้านภาษาจึงเป็นเสมือนบันทึกทางสังคมที่สามารถนำมาวิเคราะห์โครงสร้างภาษา เพื่อทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด

(1)       โครงสร้างนิยม 

(2)       วัฒนธรรมนิยม            

(3)       สังคมนิยม       

(4) ประจักษ์นิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

12.       ภาษาไม่ได้เป็นเพียงการกำหนดคุณค่าหรือความหมายของสิ่งต่าง ๆหรือความจริงที่อยู่รอบตัว แต่เป็นตัวสร้างความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ และสร้างความจริง” เป็นการมองภาษาตามแนวคิดใด

(1)       โครงสร้างนิยม 

(2)       วัฒนธรรมนิยม            

(3)       สังคมนิยม       

(4) ประจักษ์นิยม

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

13.       การเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นอวัจนภาษาข้อใด

(1)       กายภาษา        

(2)       อาการภาษา    

(3)       ปริภาษา          

(4) สัมผัสภาษา

ตอบ 2 หน้า 15 กิริยาท่าทาง-การเคลื่อนไหวร่างกาย (อาการภาษา) ได้แก่ อวัจนภาษาที่เกิดจาก การเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน รวมทั้งการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางต่าง ๆ และสายตา (หากเป็นการแสดงออกทางสายตา เรียกว่า นัยภาษา และเนตรภาษา)

14.       เทศภาษา เกี่ยวข้องกับอะไร

(1) การใช้ภาษาต่างประเทศ   (2) เวลา

(3) สถานที่      (4) เสียงและกลิ่น

ตอบ 3 หน้า 16 ช่องว่างหรือระยะห่าง (เทศภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาเรื่องช่องว่างและระยะห่าง ของคู่สนทนา เช่น ระยะห่างระหว่างหญิงกับหญิงและหญิงกับชายย่อมมีความแตกต่างกัน ฯลฯ รวมถึงเทศภาษาที่เกิดจากความเคารพในสถานที่แต่ละแห่งด้วย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ ที่บุคคลให้ความสำคัญมากกว่าสถานที่ธรรมดา

15.       กระบวนการรับรู้สาร เป็นไปตามข้อใด

(1)       สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส การจัดการ การตีความและการประเมินค่า

(2)       สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส การตอบสนอง การให้ความหมาย การตีความ

(3)       สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส การตีความหมาย การให้คุณค่า

(4)       สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัส การให้คุณค่า การตอบสนอง

ตอบ 1 หน้า 11, (คำบรรยาย) การรับรู้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการสื่อสาร เพราะความหมายของ การกระทำระหว่างกันจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของผู้รับสาร โดยเดอวิโต (Devito) ได้อธิบายกระบวนการรับรู้สารว่าประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้

1.         สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส (Sensory Stimulation)

2.         สิงเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกจัดการหรือจัดหมวดหมู่ (Sensory Stimulation is Organized)

3.         สิงเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสถูกตีความและประเมินค่า (Sensory Stimulation is Interpreted-Evaluated)

16.       Gesture Language หมายถึงอะไร

(1)       กายภาษา        (2) ภาษท่าทาง            (3) ภาษาพูด    (4) วัตถุภาษา

ตอบ 2 หน้า 18 – 1921 ประวัติศาสตร์การสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากการที่มนุษย์พยายามสื่อสารกัน โดยมีวิวัฒนาการของภาษาเรียงตามลำดับได้ ดังนี้

1.         การใช้ภาษาท่าทาง (Gesture Language) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Body Movement)

2.         การใช้ภาษาพูด          3. การใช้ภาษาเขียน    4. การพิมพ์

17.       การที่กูเต็นเบิร์กคิดค้นระบบการพิมพ์ทำให้เกิดผลอะไรตามมา

(1)       ทำให้เกิดการบิดเบือนข่าว       (2) ทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น

(3) ทำให้ชนชั้นสูงมีความสำคัญยิ่งขึ้น            (4) ทำให้มีการเผยแพร่งานวิจัยอย่างแพร่หลาย

ตอบ 4 หน้า 22 – 24 การคิดค้นระบบการพิมพ์ของโยรัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ทำให้ เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ดังนี้ 1. ทำให้มีการพัฒนาภาษาอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ในภาคพพื้นยุโรป

2.         มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงศาสนาที่เกิดขึ้นในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16

3.         ช่วยเผยแพร่รายงานวิจัยทางวิทยาคาสตร์ให้แพร่หลาย

4.         ช่วยเผยแพร่ผลงานการสำรวจพบสิ่งใหม่ ๆ

5.         ทำให้การศึกษาหาความรู้เจริญก้าวหน้าและเข้าถึงคนมากขึ้น

6.         ทำให้เกิดการพัฒนาข่าวและการรายงานข่าวในการสื่อสารมวลชน

18.       ระบบการพิมพ์ของกูเต็นเบิร์ก เป็นการพิมพ์แบบใด

(1)       แบบบล็อก      (2) การพิมพ์พื้นนูน      (3) การพิมพ์พื้นราบ    (4) การพิมพ์ร่องลึก

ตอบ 2 หน้า 22, (คำบรรยาย) โยอัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้ที่คิดค้น และพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ซึ่งเป็นระบบการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้ตัวพิมพ์ทำด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) และต่อมาเขาก็ได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิลขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ ก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

19.       วิวัฒนาการของภาษาเป็นไปตามข้อใด

(1) ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง           (2) ภาษาเขียน ภาษาพูด ภาษาท่าทาง

(3) ภาษาท่าทาง ภาษาพูด ภาษาเขียน           (4) ภาษาพูด ภาษาท่าทาง ภาษาเขียน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

20.       ภาษาระบบใดที่เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง

(1) Sign Writing (2) Alphabet      (3) Gesture        (4) Pictograph

ตอบ 2 หน้า 19 ชาวฟีนีเชียน (The Phoenicians) เป็นนักค้าขายทางทะเล ถือเป็นชนชาติแรกที่ พัฒนาระบบภาษาเขียนที่มีพื้นฐานมาจากเสียง ซึ่งจะใช้กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า พยัญชนะ” (Alphabet) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงและนำเสียงมารวมกันขึ้นเป็นคำ โดยภาษาที่พวกเขา ประดิษฐ์ขึ้นได้แพร่หลายอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนมาถึงประเทศกรีซ ที่ซึ่งมีการ พัฒนาพยัญชนะพื้นฐาน 24 ตัวอักษรขึ้น

21.       หอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย ก่อตั้งขึ้นในอาณาจักรใด

(1)เปอร์เซีย     

(2) กรีกโบราณ            

(3)โรมันโบราณ           

(4) อียิปต์โบราณ

ตอบ 2 หน้า 20 ในอาณาจักรกรีกโบราณ ได้มีการก่อตั้งหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (The Great Library at Alexandria) เมื่อประมาณ 311 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในหอสมุดได้เก็บรวบรวม ม้วนเอกสารกว่าครึ่งล้านม้วน ทำให้นักวิชาการจากทั่วโลกในยุคนั้นหลั่งไหลมาที่หอสมุด แห่งนี้เพื่อการค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงาน และเก็บรวบรวมความรู้ของตนไว้ที่นี่เพิ่มขึ้น

22.       การขาดทักะทางภาษา เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด        

(1) Mechanical Noise

(2)       Environmental Noise       

(3) Semantic Noise   

(4) Physical Noise

ตอบ 3 หน้า 6 อุปสรรคด้านภาษา (Semantic Noise) หมายถึง อุปสรรคการสื่อสารที่เกิดจากการแปลความหมายของคำและประโยคซึ่งต้องผ่านการตีความหมาย แต่บางครั้งการใช้คำ หรือประโยคไม่ถูกต้องทำให้การเข้าใจความหมายผิดพลาดหรือบิดเบือนไปจากสิ่งที่ต้องการ จะสื่อ โดยมักจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนต่างกลุ่มต่างท้องถิ่นพูดกันคนละภาษา หรือขาดทักษะ ทางภาษา จึงให้ความหมายต่อคำ วลี หรือประโยคใดประโยคหนึ่งแตกต่างกัน

23.       อะไรคือหัวใจของการสื่อสาร 

(1) ความเร็วรวดและทันสมัยของสื่อ

(2)       รูปแบบการสื่อสาร       (3) วิธีการนำเสนอ       (4) การรับรู้ของผู้รับสาร

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

24.       วิถีการดำเนินชีวิต เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1)       กายภาพ          (2) วัฒนธรรม  (3) เวลา           (4) จิตวิทยาสังคม

ตอบ 2 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context)หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ อุดมการณ์ อัตลักษณ์ และแบบแผนวิถีการดำเนินชีวิตที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง มาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่าเป็นการสุภาพที่จะต้องพูดกับคนแปลกหน้า แต่อีกวัฒนธรรมหนังอาจเห็นว่าการพูดกับคนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง ฯลฯ

25.       ข้อใดเป็นตัวอย่างของวัฒนธรรมประชานิยม

(1) การสวดมนต์ไหว้พระ

(2)       การหมอบกราบ          (3) K-POP   (4) โฆษณาสินค้า

ตอบ 3 หน้า 32, (คำบรรยาย) คำว่า วัฒนธรรมประชานิยม” (Popular Culture) หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า วัฒนธรรมมวลชน (Mass Culture) หมายถึง รูปแบบการดำรงชีวิตและสิ่งอันเป็นที่นิยมชมชอบของคนต่างสังคม ต่างถิ่น ต่างฐานะ ที่มีลักษณะเป็นแบบเดียวกันหรือเหมือนกัน ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับความบันเทิง การกีฬา โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลงสมัยใหม่ เช่น การนิยม วัฒนธรรมแบบ K-POP และ J-POP ของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น

26.       ผู้สงสารที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร

(1)       มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกับผู้รับสาร

(2)       สื่อสารตามความสามารถและความพร้อมของตนเอง

(3)       เข้าใจความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร

(4)       มีความฉลาดหลักแหลมและคล่องแคล่วกว่าผู้รับสารมาก

ตอบ 3 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้

1.         ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการสื่อสาร

2.         ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร

3.         ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

27.       การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวเกี่ยวกับการชุมชนทางการเมือง เป็นการทำหน้าที่ข้อใด

(1)       ตีความหมาย   (2) ส่งผ่านค่านิยม

(3)       สอดส่องความเป็นไปในสังคม (4) โน้มน้าวใจ

ตอบ 3 หน้า 27, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม (Surveillance) คือ การแจ้งข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงความเป็นไปในสังคม รวมถึง ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนั้น สื่อมวลชนจึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลกระทบ ในทางที่เป็นอันตรายต่อสังคม

28.       หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุที่ชาวนาไม่ได้รับเงินจำนำข้าว ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ระดับใด

(1)       ระดับที่ 2        (2) ระดับที่ 3   (3) ระดับที่ 4   (4) ระดับที่ 5

ตอบ 3 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้

1.         หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย)

ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน

2.         หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3

3.         หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4

4.         หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทำเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้องหรือ ไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

29.       การที่หนังสือพิมพ์เสนอข่าวเกี่ยวกับการที่ชาวนาในภูมิภาคต่าง ๆ ได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากไม่ได้รับเงินจำนำข้าว เป็นการทำหน้าที่ข้อใด        

(1) ตีความหมาย

(2)       ส่งผ่านค่านิยม            (3) สอดส่องความเป็นไปในสังคม       (4) โน้มน้าวใจ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

30.       Stereotyped หมายถึงอะไร     

(1) ชนิดของเครื่องเสียง

(2)       เครื่องมือการสื่อสาร    (3) ลักษณะที่เป็นแบบฉบับตายตัว    (4) ความจริงที่ปรากฏ

ตอบ 3 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในเนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture)ของสมาชิกในสังคม โดยเนื้อหาที่นำเสนอทางโทรทัศน์ได้ผ่านการเลือกสรรมาเพียงบางส่วนเสี้ยวของโลก มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

31.       ใกล้ครบกำหนด” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบใด

(1) News    

(2) Product Claim      

(3) Advice 

(4) Curiosity

ตอบ 4 หน้า 47 – 48 การชวนให้สนใจใคร่รู้ (Curiosity) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา ด้วยการทำให้ผู้รับสารเกิดความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น เพื่อดึงดูดใจให้ติดตามหาคำตอบหรือ แก้ข้อสงสัยนั้นด้วยการอ่านข้อความโฆษณาในส่วนที่เหลือ จึงเหมาะกับสินค้าที่มีคุณสมบัติหรือข้อมูลใหม่ ๆ ที่น่าสนใจจริง ๆ เพราะหากข้อความที่ตามมาไม่ได้เสนอข้อมูลที่มีคุณค่า หรือเสนอคุณประโยชน์ของสินค้าที่สมกับความสนใจใคร่รู้ของผู้อ่านแล้ว อาจทำให้โฆษณานั้น ขาดความน่าเชื่อถือได้

32.       ผิวหน้าใสในอนาคต คุณกำหนดได้” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวแบบใด

(1) News    

(2) Product Claim      

(3) Advice 

(4) Prospect Selection

ตอบ 3 หน้า 47 การให้คำแนะนำ (Advice) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาด้วยการแนะนำ ให้ผู้อ่านกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง และตามด้วยคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการทำ ตามคำแนะนำนั้น จึงเป็นวิธีที่ดึงดูดความสนใจได้ดี เพราะเป็นการเจาะจงลงไปที่การป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่ผู้บริโภคอาจจะประสบหรือกำลังประสบอยู่

33. “เพราะคุณไม่เหมือนใคร” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวแบบใด

(1) News (2) Product Claim (3) Advice (4) Prospect Selection

ตอบ 4 หน้า 47 การเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย (Prospect Selection) คือ การเขียนข้อความพาดหัว- โฆษณาที่สื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจว่าข้อความนั้นเจาะจงไปที่คนกลุ่มใด จึงมีการใช้ ถ้อยคำที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายทราบได้ทันทีว่าข้อความนั้นเจาะจงที่จะสื่อสารกับตนเองโดยตรง ไม่ใช้เป็นการสื่อสารกับผู้อ่านทั่ว ๆ ไป

34. “The Central Gift Registry บริการรูปแบบใหม่ ครั้งแรกในเมืองไทย” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวแบบใด

(1) News (2) Product Claim (3) Advice (4) Prospect Selection

ตอบ 1 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) คือ การเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช่วิธีการเขียนแบบพาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

35. “คืนความชุ่มชื้นสู่ผิวหน้าของคุณ” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวแบบใด

(1) News (2) Product Claim (3) Advice (4) Prospect Selection

ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) คือ การเขียนข้อความ พาดหัวโฆษณาที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งสามารถ ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ข้อเสนอนั้นควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือไต้ โดยข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ต้องเป็นการให้ข้อมูลหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อเสนอนั้น ๆ

36. “ให้ทุกวัน รู้สึกได้ดังคนสำคัญ” เป็นการเขียนข้อความพาดหัวแบบใด

(1) News (2) Product Claim (3) Advice (4) Prospect Selection

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 35. ประกอบ

37. “สุเทพลั่น หากไม่ลาออก บุกบ้าน ตัดน้ำ-ไฟ ขู่จับตัวปู-รมต.” พาดหัวข่าวมีลักษณะเด่นอย่างไร

(1) ละประธานของประโยค (2) ตัดคำสั้น (3)ใช้คำที่ชวนสงสัย (4) ใช้คำหยาบ

ตอบ 2 หน้า 81 การตัดคำให้สั้นลงเนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด ทำให้ผู้เขียนพาดหัวข่าวนอกจากจะต้อง เขียนให้ได้ใจความสำคัญแล้ว ยังต้องคำนึงถึงจำนวนตัวอักษรที่ใช้ไม่ให้เกินกว่าเนื้อที่ที่มีอยู่ บางครั้งจึงจำเป็นต้องตัดคำให้สั้นลง แต่ต้องไม่ตัดจนเสียความหมายไป เช่น ตัดน้ำ-ไฟ (ตัดน้ำประปา-ไฟฟ้า) ฯลฯ

38. “ปฏิรูปก่อนกาบัตร ปลัด ยธ.แนะรัฐบาลยุติรักษาการ” พาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ละประธานของประโยค (2) เขียนประโยคเต็ม ใจความสมบูรณ์

(3) ใช้คำที่ชวนสงสัย (4) ใช้สำนวนสร้างความรู้สึก

ตอบ 1 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจจะขึ้นต้น ด้วยคำกริยาเพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น เช่น ปฏิรูปก่อนกาบัตร ปลัด ยธ.แนะรัฐบาลยุติรักษาการ, ข้องใจปมดับเดวิด, พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มีเจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น ฯลฯ

39. “ยิ่งลักษณ์ย้ำไม่ลาออก อ้างเชิญพรรคการเมือง หลายองค์กรถกเลือกตั้งหาทางออก ขณะที่ กกต.ปัดหารือ พร้อมส่งหนังสือเชิญนายกฯ คุยพฤหัสฯ นี้” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Background Lead (2) Summary Lead (3) Punch Lead (4) Contrast Lead

ตอบ4 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนำที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นที่ขัดแย้งกัน แล้วนำมาสรุปเข้าด้วยกัน ในการเขียนความนำ

40. “ตร.พาหนุ่ม 19 มือฆ่าโหด 3 ศพ ทำแผนท่ามกลางคุ้มกันเข้ม แต่ไม่รอด พ่อ แม่ ญาติ รุมสกรัมน่วม ตร.จับปลอมตัวฝ่าชาวบ้านที่รอประชาทัณฑ์” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Background Lead (2) Summary Lead (3) Colorful Lead (4) Contrast Lead

ตอบ 3 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือการเขียนความนำด้วยการแสวงหาถ้อยคำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้ผู้อ่าน มองเห็นภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนว่าได้เห็นมาด้วยตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วย ชีวิตชีวา มีสีสัน มีความเคลื่อนไหว จึงมักใช้เขียนข่าวประเภท Human Interest ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวการเมืองที่เน้นสีสัน ฯลฯ

41.       เหตุชาวบ้านหลายร้อยรอรุมประชาทัณฑ์ ตร.หิ้วฆาตกรฆ่า 3 ศพไปทำแผนกลางดึก หลังรอบแรก ทำไม่สำเร็จ” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด       

(1) The Who Lead

(2)       The What Lead         

(3) The Why Lead      

(4) The How Lead

ตอบ 3 หน้า 83 ความนำแบบสรุป (Summary Lead) แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1.         The Who Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยบุคคล องค์การหรือสถาบันที่เป็นข่าว

2.         The What Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น

3.         The Where Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยสถานที่ที่เกิดเหตุ

4.         The When Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยวันเวลาที่เกิดเหตุ

5.         The Why Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยสาเหตุหรือเหตุผลของเรื่องนั้น ๆ

6.         The How Lead ได้แก่ ความนำที่ขึ้นต้นด้วยการอธิบายความถึงวิธีการแห่ง เหตุการณ์ที่เป็นข่าว

42.       แฟนคลับหลินฮุ่ยลุ้นระทึก ทีมสัตวแพทย์ใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ไฮเทคตรวจพบตัวอ่อนชัดเจน แต่ไม่พบการเต้นของหัวใจ” ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด       

(1) The Who Lead

(2)       The What Lead         

(3) The Why Lead      

(4) The How Lead

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 41. ประกอบ

43.       “Ultra Correction คือ ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูและรักษาสมดุลของสภาพผิว ซึ่งปฏิบัติการในทุกระดับโครงสร้างของชั้นผิว” เป็นข้อความโฆษณาแบบใด   

(1) การขายอย่างตรงไปตรงมา

(2)       การเล่าเรื่อง    

(3) บทพูด        

(4) บทสนทนา

ตอบ 1 หน้า 48 – 49 การเขียนแบบเขียนข่าว แต่เน้นการขายสินค้าอย่างตรงไปตรงมา เป็นวิธีการ เขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องแบบเขียนข่าวลงในพื้นที่โฆษณา โดยใช้กลยุทธ์การโฆษณา แบบเสนอข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา จึงมีเนื้อหาคล้ายกับเนื้อหาในข่าวหรือสารคดีของ หนังสือพิมพ์และนิตยสาร แต่ก็เสนอข้อเท็จจริงที่ชัดจนเพียงพอที่จะทำให้ผู้อ่านสนใจ และ เกิดความต้องการในสินค้าหรือบริการที่โฆษณา

44.       หน้าของดิฉันมีปัญหาหลายอย่าง มีสิวขึ้นตลอดเวลา ทั้งสิวเม็ดใหญ่และสิวอุดตันเม็ดเล็ก ๆเห็นเพื่อนมารักษาที่ M&T แล้วดีขึ้นมาก จึงลองมา” เป็นข้อความโฆษณาแบบใด

(1)       การขายอย่างตรงไปตรงมา     (2) การเล่าเรื่อง           (3) บทพูด        (4) บทสนทนา

ตอบ 3 หน้า 49 การใช้บทพูดหรือบทสนทนา เป็นวิธีการเขียนข้อความโฆษณาส่วนเนื้อเรื่องในลักษณะ บทพูด ซึ่งอาจเป็นบทพูดของคนคนเดียว (Monologue) ที่พูดถึงความรู้สึกของเขาต่อสินค้า หรือบริการ หรือเป็นบทสนทนา (Dialogue) ระหว่างคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่สนทนากันเกี่ยวกับ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้สินค้า ดังนั้นวิธีนี้จึงมักใช้กับลีลาการโฆษณา แบบอ้างพยาน (Testimonial) โดยใช้บุคคลที่เคยใช้สินค้ามากล่าวยืนยันเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ

45.       ข้อใดคือหน้าที่สำคัญของข้อความพาดหัวโฆษณา

(1)       ทำให้รู้จักชื่อสินค้า       (2) แสดงถึงเอกลักษณ์ของสินค้า

(3)       ดึงดูดความสนใจและขายสินค้า        (4) ช่วยสร้างความหมาย ให้ภาพประกอบ

ตอบ 3 หน้า 47 ข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) คือ ข้อความส่วนที่ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจ ผู้รับสารด้วยการกล่าวถึงข้อเสนอเพื่อการขายสินค้า ดังนั้นจึงถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของข้อความโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ เพราะหากข้อความพาดหัวไม่มีพลังพอก็ไม่อาจจะทำให้ผู้รับสาร สนใจอ่านข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ได้

46.       การโฆษณาเป็นการสื่อสารในข้อใด

(1)       แจ้งข่าวสาร    (2) ให้ความรู้   (3) ให้ความบันเทิง      (4) โน้มน้าวใจ

ตอบ 4 หน้า 38 การโฆษณาเป็นการสื่อสารที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโน้มน้าวใจ โดยมุ่งสร้างผลกระทบ ในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognition) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Behavior) ที่ผู้รับสารมีต่อสินค้า บริการ หรือควมคิด อันจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัทที่โฆษณา

47.       ภาพและชื่อสินค้าที่ปรากฏในโฆษณาทางโทรทัศน์ มีลักษณะอย่างไร         

(1) เป็นภาพนิ่ง

(2)       เป็นภาพเคลื่อนไหว    (3) เป็นภาพระยะใกล้ (4) เป็นภาพระยะปานกลาง

ตอบ 2 หน้า 51108, (คำบรรยาย) ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ จะทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจและตรึงผู้รับสารให้ใส่ใจต่อชิ้นงานโฆษณา โดยภาพและชื่อยี่ห้อสินค้าที่นำเสนอส่วนใหญ่จะ เป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงและตัวอักษรประกอบ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้าได้ง่าย และยังมีอิทธิพลในการชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น

48.       Advertising Concept หมายถึงอะไร           

(1) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา

(2)       ข้อความที่ใช้พาดหัวโฆษณา   (3) คำขวัญโฆษณา     (4) ความหมายของการโฆษณา

 ตอบ 1 หน้า 4150, (คำบรรยาย) แนวคิดหลักที่ใช้ในการโฆษณา (Advertising Concept)หมายถึง ข้อความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผู้โฆษณานำเสนออย่างสร้างสรรค์ เพื่อตรึงความสนใจของผู้บริโภค โดยจะช่วยให้การสื่อสารมีความคมชัด ตรงประเด็น และสร้างมโนทัศน์เกี่ยวกับสินค้าให้เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกของผู้บริโภค ซึ่งแนวคิดหลัก ของการโฆษณาจะปรากฏอยู่ที่คำขวัญโฆษณา ข้อความพาดหัว และเนื้อหา

49.       ต้องซ่า ต้องกล้า ต้องโค้ก” ข้อความพาดหัวนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1)       เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ         (2) พาดหัวข่าว

(3)       เป็นคำสั่ง         (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ3 (คำบรรยาย) การพาดหัวในลักษณะที่เป็นคำสั่ง เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาที่เน้นถึงสถานการณ์ ที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์เมื่อปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นข้อแนะนำในข้อความโฆษณานั้นโดยมักจะเขียน ในรูปของคำสั่ง บางครั้งอาจมีคำวา อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่งไม่ให้ทำหรือสั่งให้ทำก็ได้

50.       อยากสดใส อยากดูดี นี่แหละผู้หญิง” ข้อความนี้ใช้วิธีการเขียนแบบใด

(1)       เน้นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ         (2) พาดหัวข่าว

(3)       เป็นคำสั่ง         (4) เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 33. ประกอบ

51.       คำว่า อารยะขัดขืน” หมายความว่าอย่างไร

(1)       ประชาชนแสดงออกด้วยการไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาต่าง ๆ ของรัฐ

(2)       การต่อสู้ขัดขืนอย่างอารยะชน            

(3) การตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามด้วยวิธีรุนแรง

(4)       การตอบโต้ขัดขืนต่ออารยะชน

ตอบ 1 (คำบรรยาย) คำว่า อารยะขัดขืน” (Civil Disobedience) หมายถึง ประชาชนไม่เชื่อฟังรัฐ หรือผู้มีอำนาจจึงแสดงออกด้วยการไม่ปฏิบัติตามกฎกติกาต่าง ๆ ของรัฐ หรือการทำในสิ่งที่ตน รู้อยู่แล้วว่าขัดต่อกฎหมาย โดยกระทำอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะและมีการประกาศล่วงหน้า เพื่อแสดงเจตนารมณ์ต่อต้านผู้มีอำนาจอย่างสันติวิธี ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในกฎหมายหรือนโยบายบางประการของรัฐบาล

52.       คำว่า ทรราช” ในข่าวการเมือง มีความหมายว่าอะไร

(1) ผู้มีอำนาจที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง      

(2) ผู้มีอำนาจไม่สามารถปกครองผู้อยู่ใต้ปกครองได้

(3)       ผู้มีอำนาจที่ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน

(4)       ผู้มีอำนาจที่อ่อนแอไม่รู้จักใช้อำนาจนำความสงบมาสู่บ้านเมือง

ตอบ 3 (คำบรรยาย) คำว่า ทรราช” ที่ปรากฏในข่าวการเมืองนั้น หมายถึง ผู้ปกครองบ้านเมือง ที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจและทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน หรือ การใช้อำนาจโดยพลการแบบรวบอำนาจเอาไว้แต่เพียงผู้เดียวไม่ว่าจะได้อำนาจนั้นมาด้วย วิธีการใด จึงเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ถูกจำกัดด้วยกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ และไม่คำนึงถึง ความรู้สึกของผู้ใต้อำนาจ

53.       เนื้อหาของโฆษณาทางโทรทัศน์ในปัจจุบันเน้นอะไร

(1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้า  (2) ข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า

(3)       ราคาและสถานที่จัดจำหน่าย  (4) ภาพลักษณ์ และบุคลิกตราสินค้า

 ตอบ 4 หน้า 40 เนื้อหาของโฆษณาทางโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นการโฆษณาที่เน้นการสร้าง

ภาพลักษณ์ (Image) และบุคลิกตราสินค้า (Brand Personality) โดยการใช้ภาพ คำพูด บุคคล สี และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าไปกระตุ้นและชักจูงจิตใจของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ให้ยืดมั่นกับสินค้าและบริษัทที่เป็นผู้โฆษณา

54.       ทุกคนในองค์การมีโอกาสใช้การพูดเพื่อการประขาสัมพันธ์ประเภทใด

(1)       การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ          (2) การบรรยายสรุป

(3)       ประชุมโต๊ะกลม           (4) การอภิปราย

ตอบ 1 หน้า 67, (คำบรรยาย) การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง ระหว่างเจ้าหน้าที่พนักงานทุกคนในองค์การ หรือการทักทายกับประชาซชนที่มาติดต่อ ซึ่งถือเป็น วิธีสื่อสารที่ได้ผลดีที่สุด และจะได้ผลดียิ่งขึ้นในกรณีที่พนักงานมีความภักดีและเชื่อมั่นศรัทธา ในองค์การ เพราะจะทำให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การอย่างอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลให้ประชาชนที่มาติดต่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การในที่สุด

55.       การสร้างความรู้สึกว่าองค์การที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งซองสังคม เป็นองค์การที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นองค์การที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์การที่เคารพกฎหมาย เป็นการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ที่มีวัตถุประสงค์ข้อใด

(1)       เพื่อบอกกล่าวเผยแพร่            (2) เพื่อให้ประชาชนยอมรับ

(3)       เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด          (4) เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด

ตอบ 2 หน้า 59 การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนยอมรับ คือ การสร้างความรู้สึกว่าองค์การที่ทำประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นองค์การที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นองค์การที่น่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์การที่เคารพกฎหมาย ทั้งนี้ ประชาชนจะยอมรับชื่อเสียงขององค์การในทิศทางใดย่อมขึ้นอยู่กับข่าวสารและประสบการณ์ ที่ประชาชนได้รับจากองค์การหรือสถาบันนั้น

56.       การประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจนโยบายและเป้าหมายซององค์การ รู้สึกผูกพัน และมี จิตสำนึกแห่งการเป็นเจ้าขององค์การ/สถาบัน เป็นการประชาสัมพันธ์ที่มีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใด

(1) ผู้นำความคิด         (2) ผู้ถือหุ้น      (3) ลูกค้า         (4) พนักงานในองค์การ

ตอบ 4 หน้า 60-61 กลุ่มเป้าหมายภายใน (Internal Public) หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง และบุคลากร ทุกระดับภายในองค์การ/สถาบัน ซึ่งการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเริ่ม จากการทำให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เข้าใจนโยบายและเป้าหมายขององค์การ/สถาบัน รู้สึกผูกพัน และมีจิตสำนึกแห่งการเป็นเจ้าขององค์การ/สถาบัน

57.       หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ มีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก    (2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ

(3)       ใช้ภาษาปาก   (4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก

ตอบ 2 หน้า 76 – 7779 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นำเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

58.       การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด   

(1) Inverted Pyramid

(2)       Upright Pyramid      (3) Combination        (4) Article

ตอบ 1 หน้า 80, (คำบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1.         แบบพีระมิดหัวกลับ (Inverted Pyramid) คือ การเนอประเด็นสำคัญของข่วก่อนรายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์

2.         แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อนประเด็นสำคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ

3.         แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสำคัญทั้งในตอนต้นและตอบท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประซาสัมพันธ์

59.       ป่าไม้ป่วน เด้งล้างบาง เด็กดำรงค์” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1)       ละประธานของประโยค         (2)ใช้สำนวนโวหาร      (3) ใช้คำย่อ     (4) ใช้คำ Vivid

ตอบ 4 หน้า 82 การใช้คำกริยาที่มีชีวิตชีวา ใช้คำที่มีพลังและสร้างสีสัน (Vivid) หรือใช้คำที่ทำให้ เกิดภาพพจน์ในการพาดหัวข่าว ซึ่งบางครั้งคำกริยาที่มีชีวิตชีวานั้นก็เป็นการสร้างสีสันเกินจริง เช่น การใช้คำว่า โวยว๊ากโต้ขู่ป่วนเด้งผวาอุ้ม เป็นต้น

ข้อ 60. – 62. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

ก่อนหน้านี้นักวิชาการให้คำอธิบายถึงปัญหาการก่ออาชญากรรมว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตรา ความยากจนภายในประเทศ ซึ่งแม้รัฐพยายามให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมแก่คนกลุ่มนี้ แต่การฆ่าแกงกันก็ยังเป็นปัญหาที่แก้ไมตก

60.       บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด      

(1) เสนอแนะ

(2)       อธิบายความ  (3) วิพากษ์วิจารณ์       (4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และ

บทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็บข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้คำแนะนำหรือให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา แกผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไป พร้อม ๆ กัน

61.       บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด       

(1) ลีลาเยือกเย็น

(2)       ลีลาทางการ    

(3) ลีลาปรึกษาหารือ   

(4) ลีลากับเอง

ตอบ 2 หน้า 14889092, (คำบรรยาย) ลีลาทางการ (Formal style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่เป็นพิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน และมุ่งสื่อสารไปยังกลุ่มคน ที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้เขียนหนังสือราชการ หนังสือเรียน การเขียน บทบรรณาธิการ บทความทางวิชาการ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

62.       บทความนี้เป็นความเรียงประเภทใด 

(1) ร้อยแก้ว

(2)       ร้อยกรอง         

(3) บันเทิงคดี  

(4) เรื่องเล่า

ตอบ 1 หน้า 87 บทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ เป็นความเรียงร้อยแก้วประเภทสารัตถคดี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อเท็จจริง และความคิดเห็นหรือมุมมองของผู้เขียน

ข้อ 63. – 64. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

การมองในมุมเกมการเมืองเพียงด้านเดียวของกลุ่มคนไทยรักชาตินั้น ไม่ได้ทำให้ปัญหาความขัดแย้ง ภายในสงบลง ตรงกันข้ามมีแต่จะไปเพิ่มแนวร่วมให้มากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหานี้ต้องเริ่มที่รัฐบาลที่จะต้องให้ความรู้ และให้ความจริงแก่ประชาชน ไม่ใช่ให้ความคลุมเครืออย่างที่เป็นอยู่

63.       ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด        

(1)ให้ข่าวสาร

(2)       อธิบายความ   (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 3 หน้า 91-92 บทบรรณาธิการประเภทเสนอแนะ (Suggest) เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียน ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเป็นข่าวและต้องการให้มีการแก้ปัญหาในทางที่ถูก ซึ่งการเสนอแนะหรือแนะนำจะเป็นเพียงการชี้แนวทางที่เป็นไปได้ให้แก่ผู้อ่านและผู้เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาเลือกปฏิบัติ โดยอาจชี้ให้กระทำ ไม่กระทำ หรือเลือกกระทำตามแต่กรณี แต่จะ ไม่รุนแรงถึงกับเรียกร้องให้มีการตอบสนองข้อเสนอแนะนั้น

64.       บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด         

(1) อธิบายความ

(2)       วิพากษ์วิจารณ์           (3) วิเคราะห์    (4) ให้คำแนะนำ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

65.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรเขียนบทประเภทใด

(1)       วางโครงร่างคร่าว ๆ     (2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์

(3)       ประเภทสมบูรณ์         (4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 2 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือลำดับการทำงาน ไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้กับ รายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

66.       อะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์

(1)       เจ้าของหนังสือพิมพ์    (2) คณะรัฐบาล

(3)       การแข่งขันทางธุรกิจ   (4) คุณภาพเนื้อหาและการแข่งขันดึงดูดใจผู้อ่าน

ตอบ 4 หน้า 78 – 79, (คำบรรยาย) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ ซึ่งอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป มีดังนี้

1.         ประเภทของหนังสือพิมพ์

2.         กำหนดระยะเวลาการเผยแพร่

3.         คุณภาพเนื้อหาและการแข่งขันกันดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน

67.       เนื้อหาประเภทคอลัมน์หมายถึงอะไร       

(1)ข่าวเด่น

(2)       บทความวิชาการ         (3) สาระน่ารู้    (4) เนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจำ

ตอบ 4 หน้า 78 คอลัมน์ (Column) เป็นข้อเขียนหรือเนื้อหาที่ลงพิมพ์เป็นประจำในหนังสือพิมพ์ อาจเป็นข้อเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ความรู้ด้านสุขภาพ-อนามัย วิจารณ์กีฬา ภาพยนตร์ ดนตรี ข่าวสังคมซุบซิบ คอลัมน์เด็กและเยาวชน ฯลฯ ซึ่งรับผิดชอบ โดยคอลัมน์นิสต์ หรือนักเขียนประจำคอลัมน์ที่เป็นผู้กำหนดเนื้อหา

68.       Host หมายถึงใคร 

(1) ผู้จัดรายการสนทนา

(2)       ผู้เขียนบท       (3) ผู้ผลิตรายการ        (4) ผู้ดำเนินรายการและควบคุมเสียง

ตอบ 1 หน้า 96, (คำบรรยาย) Host หมายถึง ผู้จัดรายการหรือผู้ดำเนินรายการสนทนา มีหน้าที่กล่าวเปิดรายการ นำเข้าสู่ประเด็นที่จะสนทนา แนะนำผู้ร่วมสนทนาหรือแขกรับเชิญ (Guest) โดยอาจ คอยพูดเชื่อมโยงให้การสนทนาอยู่ในประเด็น และสรุปใจความสำคัญของการสนทนาอีกครั้งหนึ่ง

69.       เสียงพูดทางวิทยุกระจายเสียง ควรมีลักษณะอย่างไร

(1) ไพเราะ นุ่มนวล ต้องบีบเสียง เค้นเสียงเป็นบางช่วง         (2) แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

(3)       พลิ้วไหว เปลี่ยนแปลงได้หลายแบบ   (4) น้ำเสียงมั่นคง ราบเรียบ

ตอบ 2 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ ต้องมี

การเปล่งเสียงที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่

1.         เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

2.         เป็นเสียงที่ฟังรื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป

3.         เป็นเสียงแท้ของผู้อ่าน ไม่ควรดัดเสียงหรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ำหนักเสียงสูง-ต่ำตามธรรมชาติ

4.         ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อ่านต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

70.       ข้อใดหมายถึงข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

(1) ผังรายการ (2) เอกสารคู่มือรายการ

(3)       บทวิทยุกระจายเสียง  (4) บัญชีรายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ

ตอบ 3 หน้า 102, (คำบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุ- กระจายเสียงโดยจะมีหน้าที่บอกลำดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบรายการ เพื่อให้รายการดำเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของรายการที่วางไว้

71.       การเขียนบทสำหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1) เขียนประโยคสั้น ๆ            

(2) เร้าอารมณ์ผู้ฟ้ง

(3)       ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ    

(4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว

ตอบ 4 หน้า 103 แนวทางการใช้ภาษาในการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้       1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว 2. ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์        3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ          4. เขียนให้สัมพันธ์กับประเด็นของเรื่อง และเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นำเสนอรายการ

72.       ข้อใดหมายถึงการสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป

(1) Formal Interview 

(2) Commentary on the spot

(3)       Vox – pop 

(4) Voice Over

ตอบ 3 หน้า 96 รายการสัมภาษณ์ (Interview Programme) คือ รายการที่มีบุคคล 2 ฝ่ายโดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ซักถามหรือผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1.         รายการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ (Formal Interview)

2.         รายการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview)

3.         การสัมภาษณ์เสียงของประชาชนทั่วไป (Vox-pop)

73.       ข้อใดหมายถึงผู้วิเคราะห์หรือวิจารณ์ข่าว      

(1) DJ

(2)       Commentator 

(3) Interviewer 

(4) Host

ตอบ 2 หน้า 97, (คำบรรยาย) Commentator หมายถึง ผู้บรรยาย ผู้วิเคราะห์หรือผู้วิจารณ์ ในรายการวิจารณ์ข่าว (News Commentary) มีหน้าที่หยิบยกประเด็นที่อยู่ในความสนใจ ของสังคมขึ้นมาอธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็น บางรายการอาจเปิดโอกาส ให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย

74.       ข้อใดเป็นข้อควรระวังในการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) ไม่ควรใช้ภาษาปาก           (2) ไม่ควรใช้ภาษาง่ายเกินไป

(3)       ไม่ควรใช้คำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม           (4) ไม่ควรใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟ้ง ตอบ 3 หน้า 104 – 105 แนวทางหรือหลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้

1.         ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ พูดแล้วไม่ต้องให้คิดนาน

2.         การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแง่เดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเอง

3.         ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟ้ง อย่าใช้ภาษาที่แสดงภูมิอวดผู้ฟัง เช่น ใช้คำยาก คำแปลก ๆ

4.         ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง 5. ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ หรือญาติมิตร มาพูดคุยในรายการ 6. ไม่ควรใช้คำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม ไมพูดคำหยาบและคำผวน ฯลฯ

75.       ส่วนใดของบทวิทยุกระจายเสียงที่เป็นส่วนเนื้อหา

(1) ส่วนที่ 1      (2) ส่วนที่ 2      (3) ส่วนที่ 3      (4) ส่วนที่ 4

ตอบ 3 หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้

1.         ส่วนหัว 2. ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจำเป็นที่ใช้ในรายการ

3.         ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและ สิ่งที่กำหนดให้ทำ ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ

4.         ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

76.       เสียงดนตรีมีบทบาทอย่างไรในรายการโทรทัศน์

(1)       เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในรายการโทรทัศน์

(2)       เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้สอดคล้องกับคำพูด

(3)       เป็นสิ่งสำคัญรองจากภาพและคำพูด ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึก

(4)       เป็นสิงที่เสริมเข้ามาเพื่อไม่ให้เกิดความเงียบ

ตอบ 3 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญ รองจากภาพและคำพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1.         ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ

2.         ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ

3.         ใช้เพื่อเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้แสดง

4.         ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว

5.         ใช้เป็นดนตรีประจำรายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

77.       ส่วนประกอบใดในรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นวัจนภาษาที่ผู้ชมคุ้นหูมากที่สุด

(1)       คำสนทนา       (2) คำบรรยาย (3) คำอ่าน       (4) เสียงประกอบ

ตอบ 1 หน้า 106 คำสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหูมากที่สุดในบรรดาเสียงที่ปรากฏทางรายการโทรทัศน์ โดยมักใช้เพื่อให้ความหมายแก่ภาพใน 4 ลักษณะ คือ

1.         เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียด        2. เพื่อบอกบุคลิกลักษณะของผู้แสดง

3.         เพื่อดำเนินเรื่องหรือเชื่อมฉาก 2 ฉากเข้าด้วยกัน 4. เพื่อแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพ

78.       Fill Light หมายถึงอะไร  

(1) แสงไฟหลัก

(2)       แสงไฟเพิ่มความสว่าง            (3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา  (4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง

ตอบ 3 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐานอย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่   1. แสงไฟหลัก (Key Light)

2.         แสงไฟลบเงา (Fill Light)  3. แสงไฟส่องที่ฉากหลัง (Back Light)

79.       หากต้องการให้มีคำบรรยายภาพปรากฏในรายการโทรทัศน์ ต้องใช้เทคนิคใด

(1) Freeze Frame (2) Superimpose    (3) Split Screen (4) Fast Motion

ตอบ 2 หน้า 106 – 107114, (คำบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ ตัวหนังสือหรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทำคำบรรยายที่เป็น ตัวอักษรซ้อนลงบนภาพที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหว เช่น การทำไตเติ้ลรายการ และ Sub-title เป็นต้น

80.       ภาพในลักษณะ Medium Long Shot จะมีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล หากเป็นภาพคนจะเห็นเพียงระดับสะโพก

(2)       ภาพในระยะปานกลางค่อนข้างไกล หากเป็นภาพคนจะเห็นถึงหัวเข่า

(3)       ภาพระยะไกลปานกลาง หากเป็นภาพคนจะเห็นเต็มตัว

(4)       ภาพระยะไกลปานกลาง หากเป็นภาพคนจะเห็นเต็มตัว รวมถึงทิวทัศน์รอบ ๆ

ตอบ 2 หน้า 109 ภาพระยะปานกลางค่อนข้างไกล (Medium Long Shot : MLS) เป็นภาพถ่าย ในระยะที่เห็นรายละเอียดของจุดเด่นในภาพไม่มากนัก แต่จะเห็นองค์ประกอบอื่น ๆ ในภาพ มากขึ้น ซึ่งหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นในระดับหัวเข่า ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกภาพ ระยะนี้ว่า Knees Shot

81.       หากต้องการเปลี่ยนระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ควรใช้เทคนิคใด

(1) แพน           

(2) ดอลลี่         

(3) ซูม  

(4) ทรัค

ตอบ 3 หน้า 113, (คำบรรยาย)          ซูม (Zoom) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้ยาวขึ้น เพื่อเปลี่ยนระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูใกล้เข้ามา ทำให้ได้ภาพโตขึ้นตามลำดับ (Zoom In) หรือเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์ซูมให้สั้นเข้า เพื่อเปลี่ยนระยะของภาพให้วัตถุที่ถ่ายดูไกลออกไป ทำให้ได้ภาพเล็กลงตามลำดับ (Zoom Out)

82.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

(1) Cut        

(2) Wipe    

(3) Freeze Frame 

(4) Split Screen

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพ ไว้ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์ แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

83.       ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

(1)       Cut   (2) Wipe    (3) Freeze Frame (4) Split Screen

ตอบ 1 หน้า 114 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

84.       ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์มีหน้าที่อะไร         

(1) บอกเล่าเรื่องราว

(2)       ถ่ายทอดเนื้อหา          (3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง      (4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

85.       หากต้องการให้ผู้ชมฉุกคิด ควรใช้เสียงประเภทใด

(1) เสียงดนตรี (2) เสียงประกอบ        (3) ผู้ประกาศ  (4) เสียงเงียบ

ตอบ 4 หน้า 116- 117 ในบางครั้งรายการโทรทัศน์จะใช้ความเงียบหรือเสียงเงียบ (Silence) ซึ่งเป็นอวัจนภาษาเพื่อสะกดอารมณ์หรือปลุกเร้าความสนใจของผู้ชมให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ปรากฏ บนจอภาพ โดยมักนิยมใช้กับเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้ชมช่วยลุ้น และเรื่องราวที่ต้องการบ่งบอก ถึงความสงบหรือการฉุกคิด

86.       หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวง น่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร

(1) เหลือง        (2) ฟ้า  (3) ชมพู           (4) น้ำเงิน

ตอบ 4 หน้า 115 – 116, (คำบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจ

และความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมัก ใช้ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้านสีน้ำเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

87.       หากต้องการนำเสนอภาพมุมสูง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3)       ทีลท์     (4) ทรัค

ตอบ 3 หน้า 112 ทีลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้องนลักษณะ แนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ำได้มากขึ้น

88.       ในรายการโทรทัศน์ อวัจนภาษาข้อใดที่บ่งบอกถึงความสงบ การฉุกคิด

(1) เสียงดนตรี (2)       เสียงประกอบ  (3)       แสง     (4) ความเงียบ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 85. ประกอบ

89.       ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร

(1) Illustration   (2)       Shot (3)       Screen      (4) Frame

ตอบ 2 หน้า 108 ในภาษาโทรทัศน์นั้น คำว่า “Image” หมายถึง ภาพ ซึ่งภาพที่ปรากฏทาง

จอโทรทัศน์จะเกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลำดับต่อเนื่องกันจนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว โดยภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์จะเรียกว่า ชอต” (Shot) และเมื่อเรานำภาพ แต่ละชอตนี้มาลำดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลำดับเรื่องราวตามต้องการ

ข้อ 90. – 92. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Dolly    (2) Truck   (3) Pedestal       (4) Boom

90.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบเครน

ตอบ 4 หน้า 112 บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่นหรือ แบบเครน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ำ

91.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง

ตอบ 3 หน้า 112 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง แบบ Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

92.       ข้อใดหมายถึงการเคลื่อนกล้องเข้าหาหรือถอยห่างจากวัตถุที่ถ่าย

ตอบ 1 หน้า 113, (คำบรรยาย) ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องโดยการเปลี่ยนแปลง ระยะของกล้อง หากเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่จะทำให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly In) แต่ถ้าเคลื่อนกล้องถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายจะทำให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly Out)

93.       ข้อใดเป็นเทคนิคที่นำมาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพบนหน้าจอ

(1) Cut        

(2) Wipe    

(3) Freeze Frame       

(4) Split Screen

ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในกรอบเดียวกัน เช่น การเสนอภาพการถ่ายทอดสตฟุตบอล และโฆษณาไปพร้อม ๆ กัน เป็นต้น

94.       การจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเลียง ควรใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) คุ้นเคย       (2) ลำลอง       (3) ทางการ      (4) เยือกเย็น

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ลีลาลำลอง (Casual Style) เป็นลีลาของวัจนภาษาที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน เช่น การจัดรายการสนทนา เกมโชว์ รายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น

95.       การเขียนบทสำหรับรายการละครวิทยุ เป็นบทประเภทใด

(1) ร่างคร่าว ๆ (2) กึ่งสมบูรณ์ (3) สมบูรณ์     (4) บทอ่าน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

96.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรเขียนบทประเภทใด

(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ           (2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์

(3)       ประเภทสมบูรณ์          (4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

97.       สภาล่มกลางดึก แถลงนโยบายสะดุด หลังเพื่อไทย ปชป. เปิดศึกซัดนัวเนียปมดึงฟ้าต่ำ ขุนค้อนพลาด องค์ประชุมขาดฉิวเฉียด ขณะที่เหลิมหนุนปูเทียบชั้นป๋าเปรม พร้อมลุ้นวัดรอยเท้านายกฯ 8 ปีครึ่ง

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Colorful Lead        (2) Summary Lead

(3)       Punch Lead      (4) Contrast Lead

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 39. ประกอบ

98.       ชำแหละนโยบายวันที่สอง สุนัขรับใช้เห่าลั่นสภา ไม่พอใจฝ่ายค้านตีแสกหน้านายใหญ่

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Colorful Lead        (2) Summary Lead

(3)       Punch Lead      (4) Contrast Lead

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 40. ประกอบ

99.       การอ่านข่าวพยากรณ์อากาศ ต้องใช้เทคนิคข้อใดในการซ้อนภาพผู้อ่านกับกราฟิก

(1) Superimpose        (2) Dissolve

(3)       Split Screen      (4) Chroma Key

ตอบ 4 หน้า 114, (คำบรรยาย) โครมาคีย์ (Chroma Key) คือ เทคนิคการซ้อนภาพกับฉากหลัง โดยใช้กล้อง 2 กล้อง กล้องหนึ่งจับภาพบุคคลหรือวัตถุที่อยู่หน้าฉากหลังที่เป็นสีฟ้า (แต่บุคคล หรือวัตถุห้ามเป็นสีฟ้า) ส่วนอีกกล้องหนึ่งจับภาพฉากหลังอีกฉากหนึ่ง (ภาพกราฟิก) จากนั้น ลบฉากหลังสีฟ้าของภาพบุคคลหรือวัตถุออก แล้วผสมภาพซ้อนกับฉากหลังที่เป็นภาพกราฟิก ซึ่งภาพที่ปรากฏจะมีความคมชัดและแนบเนียน เช่น การอ่านข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์ ที่ซ้อนภาพผู้อ่านกับกราฟิก ฯลฯ

100.    อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น” อ่านว่าอะไร

(1) ออเมือง จอขอนแก่น          (2) อำเภอเมืองขอนแก่น

(3)       อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (4) อำเภอเมืองไปยาลน้อย จังหวัดขอนแก่น

ตอบ 3 หน้า 100, (คำบรรยาย) การอ่านบทและการพูดทางวิทยุกระจายเสียงนั้น ผู้อ่านหรือผู้พูด จะต้องออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน โดยเฉพาะเสียงตัว ร ล ที่เป็นเสียงควบกล้ำ และไม่ออกเสียง เพี้ยนแปร่ง นอกจากนี้คำในภาษาเขียนที่เป็นคำย่อ เวลาอ่านต้องอ่านเป็นคำเต็มให้ครบ และถูกต้อง เช่น อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น อ่านว่า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

Advertisement