การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิขา MCS 2106 (MC 216) ภาษาเพื่อการสื่อสารมวลชน

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         การเลือกใช้ภาษาในการสื่อความหมายต้องคำนึงถึงอะไรเป็นหลัก

(1)       ภาพลักษณ์ของผู้ส่งสาร         

(2) สถานภาพของผู้ส่งสาร

(3) สติปัญญาของผู้ส่งสาร     

(4) ความเข้าใจของผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 30 – 31, (คำบรรยาย) ความสำคัญของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร คือ จะใช้ภาษาอย่างไร ให้สื่อความหมายได้ตรงกับเจตนาของผู้ส่งสาร ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งสารที่ บอกจากจะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเรื่องราวที่จะสื่อสารแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะกับความพร้อมและความสามารถในการเข้าใจความหมาย ของผู้รับสาร เพื่อให้สารที่ส่งไปนั้นเกิดความหมายได้ตรงกับสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการ

2.         ความหมายของคำตามที่ปรากฏในพจนานุกรม เป็นความหมายในลักษณะใด

(1) Denotation  

(2) Connotation        

(3) Instrumental        

(4) Discourse

ตอบ 1 หน้า 13, (คำบรรยาย) ภาษาประกอบด้วยความหมายใน 2 ลักษณะ คือ

1.         ความหมายโดยตรง (Denotation) หมายถึง ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด ความหมายทีเชื่อมโยงกับสัตภาพ หรือความหมายที่เจ้าของภาษารู้และใช้กันโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นความหมายของคำตามที่ปรากฏในพจนานุกรม

2.         ความหมายโดยนัย (Connotation) หมายถึง การให้ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง นอกเหนือจากความหมายโดยตรง ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับวัตถุน้อยกว่าความหมายโดยตรง

3.         มนุษย์ต้องอาศัยสิ่งใดในการแสดงออกเชิงความคิด

(1) สมอง         (2) จิตใจ          (3) ภาษา         (4) จินตนาการ

ตอบ 3 หน้า 1 การสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องใช้ภาษา เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แทนความหมาย เป็นสื่อกลางในการแสดงออกเชิงความคิดของมนุษย์ จึงทำให้มนุษย์สามารถส่งความหมายที่ อยู่ในความคิดของตนไปยังอีกฝ่ายหนึ่งให้รับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน

4.         ผู้ส่งสารต้องอาศัยสิ่งใดในการเข้ารหัสสาร

(1) ผู้รับสาร     (2) สาร

(3) ของทางการสื่อสาร            (4) สนามแห่งประสบการณ์

ตอบ 3 หน้า 4 กระบวนการเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง การที่แหล่งสารแปลความคิดของตนให้อยู่ ในรูปที่อีกฝ่ายหนึ่งสามารถรับได้ โดย

อาศัยประสาทสัมผัส (Senses) เป็นช่องทางการสื่อสาร เพื่อนำสารมาสู้ผู้รับสาร เช่น เมื่อแหล่งสารต้องการจะพูดอะไรบางอย่าง สมองของเขาจะทำงาน ร่วมกับอวัยวะในการเปล่งเสียง เพื่อคิดคำพูดและเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด ประโยค และ บทสนทนา เป็นต้น

5.         ความหมายของสารขึ้นอยู่กับอะไร

(1)       บุคลิกภาพ      (2) รูปแบบการดำเนินชีวิต

(3) การรับรู้ของผู้รับสาร          (4) โลกทางกายภาพ

ตอบ 3 หน้า 11-12 การรับรู้มีอิทธิพลต่อสารหรือสิ่งเร้าที่ผู้รับสารได้รับ และต่อการที่ผู้รับสารให้ ความหมายต่อสารหรือสิ่งเร้านั้น โดยมนุษย์จะเข้าใจความหมายของสารหรือสิ่งตาง ๆ รอบตัว อย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับการรับรู้ต่อสิ่งนั้น ทั้งนี้กระบวนการรับรู้ของมนุษย์จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ที่ต่อเนื่องกัน ได้แก่    1. สิ่งเร้ากระทบกับประสาทสัมผัส      2. การจัดการหรือจัดหมวดหมู่   3.           การตีความและประเมินค่า

6.         การสื่อสารสองทางหมายถึงอะไร

(1)       การใช้วิธีการสื่อสารสองวิธี     (2) การใช้สื่อสองประเภท

(3) มีการสื่อสารกลับ   (4) การใช้ประสาทสัมผัสทางตาและหูพร้อมกัน

ตอบ 3 หน้า 358 เมื่อกระบวนการสื่อสารเกิดขึ้น และสารผ่านกระบวนการถอดรหัสของผู้รับสารแล้ว จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) ขึ้นที่ผู้รับสาร ซึ่งหากผู้รับสารต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้ส่งสารก็จะสื่อสารกลับ (Feedback) ไปยังผู้ส่งสาร ทำให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกันไปมา ระหว่าง 2 ฝ่าย หรือที่เรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication)

7.         บริบทของการสื่อสารหมายถึงอะไร

(1)       เนื้อหาเรื่องราวที่สื่อสาร           (2) สภาวะแวดล้อมการสื่อสาร

(3) ความหมายที่เกิดจากการสื่อสาร   (4) ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

ตอบ 2 หน้า 710 บริบทของการสื่อสาร (Communication Context) หมายถึง สภาวะแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ซึ่งล้วนมีอิทธิพลกำกับความหมายและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่   1. มิติทางกายภาพ      2. มิติทางวัฒนธรรม   3.          มิติทางจิตวิทยาสังคม 4. มิติทางด้านเวลา

8.         Communicative Competence หมายถึงอะไร

(1)       การผลิตและตีความสาร          (2) องค์ประกอบของการสื่อสาร

(3) พฤติกรรมการสื่อสาร         (4) ความสามารถในการสื่อสาร

ตอบ 4 หน้า 7 ความสามารถในการสื่อสาร (Communicative Competence) หมายถึง ความรู้ที่บุคคลนั้นมีต่อมิติทางสังคมของการสื่อสาร ซึ่งเป็นความเข้าใจถึงความสำคัญและอิทธิพลของ บริบทที่มีต่อเนื้อหาและรูปแบบของสาร

9.         เกมการเมือง เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1)       กายภาพ          (2)วัฒนธรรม   (3)สังคมจิตวิทยา        (4)จิตวิทยาสังคม

ตอบ 4 หน้า 10, (คำบรรยาย) บริบทของการสื่อสารในมิติทางจิตวิทยาสังคม (The Social-psychological Context) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสถานภาพหรือฐานะชนชั้นของผู้ร่วมสื่อสาร บทบาท ตำแหน่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ กฎกติกา ระเบียบวินัย และเกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเล่น เช่น การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา ซึ่งบางครั้งก็เป็นไปตามสถานภาพของแต่ละฝ่ายและ เกมทางการเมือง เป็นต้น

10.       กายภาษา หมายถึงอะไร

(1)       กิริยาท่าทาง    (2) การเคลื่อนไหวร่างกาย

(3) ลักษณะทางกายภาพของบุคคล   (4) การสัมผัส

ตอบ 3 หน้า 15, (คำบรรยาย) ลักษณะทางกายภาพ (กายภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่เกิดจากลักษณะ หรือรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล ได้แก่ รูปราง การแต่งกาย เครื่องประดับ หรือเสื้อผ้า หน้า ผม ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงรสนิยมและค่านิยมได้

11.       ป้ายประกาศข่าวสารในคณะมนุษยศาสตร์ เป็นการสื่อสารประเภทใด

(1)       การสื่อสารกลุ่มเล็ก     

(2) การสื่อสารสาธารณะ

(3) การสื่อสารในองค์กร          

(4) การสื่อสารมวลชน

ตอบ3 หน้า 12, (คำบรรยาย) การสื่อสารในองค์กร (Organization Communication) คือการสื่อสารกันภายไนกลุ่มที่เป็นทางการเพื่อเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมจริยธรรม ให้ข้อมูลข่าวสาร และโน้มน้าวใจ ฯลฯ หรือเป็นการสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การประชุมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่การอบรมข้าราชการใหม่การติดป้ายประชาสัมพันธ์ ติดป้ายประกาศ หรือเสียงตามสายในมหาวิทยาลัย ฯล

12.       สีอะไรให้ความรู้สึกหรูหรา

(1)       สีแดง   

(2) สีขาว          

(3) สีดำ           

(4) สีเขียว

ตอบ 3 หน้า 53 สี (Color) สามารถสร้างผลกระทบทางด้านอารมณ์ได้ดังนี้

1.         สีน้ำเงิน หมายถึง ความเศร้า ความเยือกเย็น ความจริง ความบริสุทธิ์ ความเป็นการเป็นงาน

2.         สีเหลือง หมายถึง ความร่าเริง ฤดูใบไม้ผลิ ความไม่ซื่อสัตย์ แสงสว่าง ความเบิกบาน สดใส

3.         สีดำ หมายถึง ความลึกลับ ความโศกเศร้า ความตาย ความหนัก ความหรูหรา

4.         สีเขียว หมายถึง ความสงบ ชุ่มชื้น ฤดูใบไม้ผลิ วัยหนุ่มสาว ธรรมชาติ

5.         สีแดง หมายถึง ความโกรธ ความรัก ความร้อนแรงทันสมัย ความตื่นเต้น ไฟ อันตราย

6.         สีขาว หมายถึง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ ความไม่มีมลทิน ความมีคุณธรรม ความดี ฯลฯ

13.       ชนชาติแรกที่พัฒนาภาษาที่ใช้พยัญชนะเป็นสัญลักษณ์แทนเสียง ได้แก่ชนชาติใด

(1)       อียิปต์  (2) สุเมเรียบ    (3) ฟีนีเชียน     (4) กริก

ตอบ 3 หน้า 19 ชาวฟีนีเชียน (The Phoenicians) เป็นนักค้าขายทางทะเล ถือเป็นชนชาติแรกที่ พัฒนาระบบภาษาเขียนที่มีพื้นฐานมาจาก

เสียง ซึ่งจะใช้กลุ่มของตัวอักษรที่เรียกว่า พยัญชนะ (Alphabet) เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงและนำเสียงมารวมกันขึ้นเป็นคำ โดยภาษาที่พวกเขา ประดิษฐ์ขึ้นได้แพร่หลายอยู่ใบแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนมาถึงประเทศกรีซ ที่ซึ่งมีการพัฒนา พยัญชนะพื้นฐาน 24 ตัวอักษรขึ้น

14.       ยุโรปได้แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยจากที่ใด

(1)       อเมริกา            (2) ออสเตรเลีย            (3) สุวรรณภูมิ (4) อินเดียและแอฟริกา

ตอบ 4 หน้า 21 เมื่อการค้าเติบโตขึ้นในช่วงยุคกลางของยุโรป ความต้องการข้อมูลข่าวสารมีมากขึ้น ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยจากอินเดียและแอฟริกาตอนเหนือแผ่ขยายเข้ามาสู่ยุโรป ส่งผลให้เกิดมหาวิทยาลัยขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยแห่งกรุงปารีสในฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ในอังกฤษ เป็นต้น

15.       กูเต็นเบิร์ก ได้พัฒนาระบบการพิมพ์แบบกดขึ้น และพิมพ์อะไรเป็นสิ่งแรก

(1) แผ่นปลิว    (2) หนังสือเรียน           (3) ผลงานวิจัย            (4) คัมภีร์ไบเบิล

ตอบ4  หน้า 22, (คำบรรยาย) โยอัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) ชาวเยอรมัน เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาระบบการพิมพ์แบบกด (Printing Press) หรือระบบเล็ตเตอร์เพรส (Letter Press) ที่ใช้ตัวพิมพ์ทำด้วยโลหะแบบถอดเปลี่ยนได้ (Movable Type) และต่อมาเขาก็ได้พิมพ์คัมภีร์ไบเบิล ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1453 หลังจากนั้นระบบการพิมพ์แบบใหม่นี้ก็แพร่หลายไปทั่วยุโรปอย่างรวดเร็ว

16.       กฎหรือปทัสถานทางสังคม เป็นบริบทของการสื่อสารในมิติใด

(1) กายภาพ    (2) วัฒนธรรม  (3) จิตวิทยาลังคม       (4) เวลา

ตอบ 2 หน้า 10 บริบทของการสื่อสารในมิติทางวัฒนธรรม (The Cultural Context) หมายถึง กฎหรือปทัสถานทางสังคมของทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อันประกอบด้วย ความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติที่ถูกส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เช่น ในบางวัฒนธรรมอาจมองว่า เป็นการสุภาพที่ต้องพูดกับคนแปลกหน้า ในขณะที่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจเห็นว่าการพูดกับ คนแปลกหน้าเป็นสิ่งที่พึงหลีกเลี่ยง เป็นต้น

17.       เมื่อประมาณ 311 ปีก่อนคริสตกาล มีการก่อตั้งหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรียขึ้นในอาณาจักรใด

(1) สุเมเรียน    (2) กรีซโบราณ            (3)โรมัน           (4) เปอร์เซีย

ตอบ     2 หน้า 20 ในอาณาจักรกรีซโบราณ ได้มีการก่อตั้งหอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (The Greet Library at Alexandria) เมื่อประมาณ 311 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในหอสมุดได้เก็บรวบรวม ม้วนเอกสารกว่าครึ่งล้านม้วน ทำให้นักวิชาการจากทั่วโลกในยุคนั้นหลั่งไหลมาที่หอสมุดแห่งนี้ เพื่อการค้นคว้า สร้างสรรค์ผลงาน และเก็บรวบรวมความรู้ของตนไว้ที่นี่เพิ่มขึ้น

18.       ใครที่กล่าวว่ายุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรมถูกทำให้เป็นสินค้า

(1) ลาสเวลส์   (2) เจมส์ โลว์   (3) ธีโอดอร์ อดอร์โน    (4) ซูซาน ลางเกอร์

ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ธีโอดอร์ อดอร์โน (Theodor Adorno) กล่าวไว้ว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่วัฒนธรรม ถูกทำให้เป็นสินค้า ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเพลงหรืองานวรรณกรรมก็เริ่มถูกนำเสนอด้วยกระบวนการ ทางการตลาดมากขึ้น ทำให้แนวโน้มที่รายการต่าง ๆ จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายให้แคบลงกว่า มวลชนคนรับสารทั่วไปก็มีมากขึ้น เพราะผู้ผลิตหรือเจ้าของรายการทางสื่อมวลชนมองผู้รับสาร ในฐานะตลาด (Market)

19.       การคิดค้นระบบการพิมพ์ทำให้เกิดสิ่งใด

(1) ทำให้เกิดการพัฒนาข่าว    (2) ทำให้เกิดการแบ่งแยกชนชั้น

(3) ทำให้ชนชั้นสูงมีความสำคัญยิ่งขึ้น            (4) ทำให้เกิดการพัฒนาวิทยุและโทรทัศน์

ตอบ 1 หน้า 22 – 24 การคิดค้นระบบการพิมพ์ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ดังนี้

1.         ทำให้มีการพัฒนาภาษาอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ในภาคพื้นยุโรป

2.         มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงศาสนาที่เกิดขึ้นในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16

3.         ช่วยเผยแพร่รายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้แพร่หลาย

4.         ช่วยเผยแพร่ผลงานการสำรวจพบสิ่งใหม่ ๆ

5.         ทำให้การศึกษาความรู้เจริญก้าวหน้าและเข้าถึงคนมากขึ้น

6.         ทำให้เกิดการพัฒนาข่าวและการรายงานข่าวในการสื่อสารมวลชน

20.       ความหมายของอวัจนภาษาขึ้นอยู่กับอะไร

(1)       ผู้ส่งสาร           (2) เวลา           (3) สังคม/วัฒนธรรม   (4) ช่องทางกาสื่อสาร

ตอบ 3 หน้า 15 อวัจนภาษา (Nonverbal Language) เป็นภาษาที่ไม่ใช้คำพูดหรือตัวอักษรแต่สามารถสื่อความเข้าใจกันได้ ซึ่งการทำความเข้าใจความหมายของอวัจนภาษาจะขึ้นอยู่กับ ปทัสถานของสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง ดังนั้นอวัจนภาษาที่ใช้ในวัฒนธรรมหนึ่งอาจมี ความหมายอย่างหนึ่ง แต่เมื่อนำไปใช้ในอีกวัฒนธรรมอาจมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่งก็เป็นได้

21.       ภาษาโฆษณาทำหน้าที่อะไร

(1)       เป็นช่องทางการสื่อสาร           

(2) แทนความหมายสิ่งที่มีอยู่

(3) สร้างความหมาย/สร้างแบรนด์       

(4) แทนความจริงทางกายภาพ

ตอบ3 หน้า 4346, (คำบรรยาย) ภาษาโฆษณามิได้ทำหน้าที่เพียงแทนความหมายเท่านั้น แต่ยัง เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักโฆษณานำมาใช้ในการสร้างความหมายหรือสร้างแบรนด์(Brand) ของสินค้าให้เกิดขึ้นในจินตนาการของผู้รับสารด้วย ทั้งนี้ภาษาโฆษณาที่นำมาใช้จะประกอบด้วย ส่วนที่ใช้คำพูด (วัจนภาษา) และส่วนที่ไม่ใช้คำพูด (อวัจนภาษา)

22.       องค์ประกอบของข้อความโฆษณาส่วนใดที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการกระทำ

(1)พาดหัว        

(2)เนื้อเรื่อง      

(3)คำบรรยายภาพ      

(4)ส่วนลงท้าย

ตอบ 4 หน้า 5055 ข้อความโฆษณาในส่วนลงท้าย จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรม บางอย่างเพื่อตอบสนองความปรารถนาของตน หรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำ (Action) ซึ่งได้แก่ คำขวัญและชื่อสินค้า หรืออาจลงท้ายด้วยข้อความที่นำไปสู่การปฏิบัติ เช่น หาซื้อได้ตาม ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป เป็นต้น

23.       ข้อความเนื้อเรื่องในชิ้นงานโฆษณา ทำหน้าที่อะไร

(1)       ย้ำเตือนความจำเกี่ยวกับตัวสินค้า

(2)       ให้รายละเอียด ชักจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและต้องการสินค้า

(3)       ดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นให้เกิดการซื้อ

(4)       ช่วยขยายความหมายของภาพโฆษณาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตอบ 2 หน้า 48, (คำบรรยาย) ข้อความเนื้อเรื่องในชิ้นงานโฆษณา เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากข้อความพาดหัว ทำหน้าที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เพื่อชักจูงใจให้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เกิดความสนใจและต้องการซื้อสินค้า

24.       ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ควรมีลักษณะอย่างไร

(1) เป็นภาพมุมสูง       (2) เป็นภาพเคลื่อนไหว

(3) เป็นภาพระยะใกล้ (4) เป็นภาพระยะปานกลาง

ตอบ 2 หน้า 51107 – 108, (คำบรรยาย) ภาพสินค้าในโฆษณาทางโทรทัศน์ จะทำหน้าที่ดึงดูด ความสนใจและตรึงผู้รับสารให้ใส่ใจต่อขึ้นงานโฆษณา โดยภาพที่นำเสนอส่วนใหญ่จะเป็น ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงและตัวอักษรประกอบ จึงทำให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้าได้ง่าย และยังมี อิทธิพลในการชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่อมวลชนประเภทอื่น

25.       สื่อมวลชนโทรทัศน์ทำหน้าที่ส่งผ่านค่านิยมแบบใด

(1) ค่านิยมที่พึงประสงค์         (2) ค่านิยมตามจารีตประเพณี

(3) อนุรักษนิยม           (4) บริโภคนิยม

ตอบ4 หน้า 28, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ในการส่งผ่านค่านิยม หรือเรียกว่ากระบวนการสังคมประกิต หมายถึง วิถีทางที่นำปัจเจกชนมาสู่การยอมรับพฤติกรรมและค่านิยมของกลุ่มจากการที่ประชาชน ได้เรียนรู้และซึมซับเนื้อหาทางสื่อมวลชน เช่น สื่อมวลชนวิทยุโทรทัศน์ใน

ปัจจุบันได้ทำหน้าที่ ส่งผ่านค่านิยมแบบบริโภคนิยม ซึ่งจะเห็นได้จากการเน้นนำเสนอเนื้อหาที่ให้ความสำคัญกับชีวิต ที่สะดวกสบาย หรูหรา มากกว่าการให้คุณค่ากับคนที่ทำความดี

26.       โลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคน เกิดขึ้นจากอะไร

(1) ตัวของผู้นั้นเอง      (2) การสร้างสรรค์ของนักสื่อสาร

(3) สิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ (4) โลกทางกายภาพ

ตอบ3 หน้า 33 โลกทางสังคม (Social World) หรือความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) เป็นโลกที่เกิดจากการกล่อมเกลาของสถาบันทางสังคม ดังนั้นโลกทางสังคมของมนุษย์แต่ละคน จึงเป็นโลกที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อมเชิงสัญลักษณ์ที่แวดล้อมบุคคลเหล่านั้น หรือเป็นโลกที่เกิดจากการรับรู้ เพราะการที่แต่ละคนมีโลกทางสังคมแตกต่างกันก็เนื่องจากมีระบบการรับรู้ที่ต่างกัน

27.       โทรทัศน์มีบทบาทด้านวัฒนธรรมอย่างไร

(1) สร้างลักษณะวัฒนธรรมการเรียนรู้            (2) สร้างวัฒนธรรมเน้นปัญญา

(3) สร้างวัฒนธรรมร่วมที่เป็นแบบฉบับตายตัว           (4) อนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม

ตอบ 3 หน้า 32 ผลจากการวิจัยของเกิร์บเนอร์(Gerbner) ได้ให้ข้อสรุปว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในเนื้อหาข่าวสารของโทรทัศน์ทำหน้าที่เป็นตัวสร้างวัฒนธรรมร่วม (Common Culture) ของสมาชิกในสังคม ทั้งนี้เนื้อหาที่นำเสนอทางโทรทัศน์นั้นได้เลือกเพียงบางส่วนเสี้ยวของโลก มานำเสนอ มีลักษณะเป็นภาพแบบฉบับตายตัว (Stereotyped) และเป็นภาพที่บิดเบี้ยวไปจาก โลกที่เป็นจริง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มี

อิทธิพลต่อผู้คนอย่างมากในรายการประเภทละครโทรทัศน์

28.       หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าว ผู้เขียนควรมีความรู้ระดับใด

(1)       ระดับที่ 2        (2) ระดับที่ 3   (3) ระดับที่ 4   (4) ระดับที่ 5

ตอบ 2 หน้า 30 นักสื่อสารมวลชนต้องสามารถวิเคราะห์ได้ว่าความรู้ที่ตนมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับ เรื่องราวที่จะสื่อสารหรือไม่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

1.         หากต้องการเขียนข่าวรายงานเหตุการณ์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ควรมีความรู้ (อย่างน้อย)ในระดับที่ 2 ก็เพียงพอ เนื่องจากการรายงานข่าวต้องรายงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่มีการเพิ่มเติมข้อคิดเห็นของผู้เขียน

2.         หากจะเขียนสารคดีเชิงข่าวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิหลังหรือข้อมูลเจาะลึกของเรื่องนั้น ผู้เขียนต้องมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 3

3.         หากจะเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับความเป็นมา สาเหตุ และพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ ที่จะตามมาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ผู้เขียนควรมีความรู้อย่างน้อยในระดับที่ 4

4.         หากจะเขียนบทวิจารณ์ว่าการกระทำเกี่ยวกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นถูกต้องหรือ ไม่ถูกต้อง ดีหรือไม่ดี ผู้เขียนควรมีความรู้ในระดับที่ 5

29.       การที่ผู้รับสารเห็นโฆษณาทางสื่อมวลชนแล้วเกิดความต้องการสินค้า แสดงว่าการโฆษณานั้นสามารถสร้างการตอบสนองสารในระดับใด      

(1) Cognitive Stage

(2)       Knowledge Stage     (3) Affective Stage    (4) Behavioral stage

ตอบ 3 หน้า 40 ขั้นความรู้สึก (The Affective stage) หมายถึง ระดับของการที่ข่าวสารโฆษณานั้น กระทบต่อความรู้สึกของผู้บริโภค เช่น รู้สึกชอบหรือไม่ชอบยี่ห้อของสินค้าที่โฆษณา นอกจากนี้ ยังรวมถึงความปรารถนาหรือความต้องการ ความพึงพอใจ และความมั่นใจในสินค้าด้วย

30.       การโฆษณาที่ไม่ได้มุ่งเสนอขายสินค้าโดยตรง เป็นการใช้น้ำเสียงในการโฆษณาแบบใด

(1) Hard Sell       (2) Soft Sell        (3) Rational       (4) Logical

ตอบ2 หน้า 45 น้ำเสียงที่ใช้นำเสนอสารโฆษณา มี 2 ลักษณะคือ 1. น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าอย่างชัดเจน (Hard Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาแบบตรงไปตรงมา มุ่งสู่การขายสินค้าอย่างไม่อ้อมค้อม

2.         น้ำเสียงที่มุ่งขายสินค้าทางอ้อม (Soft Sell) คือ การนำเสนอสารโฆษณาที่เน้นการสร้างอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติในเชิงบวกต่อสินค้า โดยไม่ได้กล่าวถึงหรือมุ่งเสนอขายตัวสินค้าโดยตรง แต่เน้นการโน้มน้าวใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าการกล่าวถึงเหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้า

31.       ผู้ส่งสารที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

(1)       มีความรู้ความสามารถเท่าเทียมกับผู้รับสาร

(2)       สื่อสารตามความสามารถและความพร้อมของตนเอง

(3)       เข้าใจความสามารถและความพร้อมของผู้รับสาร

(4)       มีความฉลาดหลักแหลมและคล่องแคล่วกว่าผู้รับสารมาก

ตอบ3 หน้า 29 – 30 ลักษณะของผู้ส่งสารที่ดี มีดังนี้ 1. ต้องมีจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่ชัดเจนในการสื่อสาร   2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อสาร    3. ต้องเข้าใจความสามารถ ความพร้อม และความต้องการของผู้รับสาร

32.       ไม่เห็นตราเนเจอร์กิฟ อย่าเสี่ยง อย่าซื้อ” เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาแบบใด

(1)พาดหัวข่าว     

(2)เป็นคำสั่ง            

(3) ให้การศึกษา          

(4)ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การพาดหัวในลักษณะเป็นคำสั่ง เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาที่เน้นให้เห็นถึง สถานการณ์ที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์เมื่อปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นข้อแนะนำในข้อความโฆษณานั้น โดยมักจะเขียนในรูปของคำสั่งและอาจมีคำว่า อย่า/ห้าม/จง/ต้อง” เพื่อแสดงการสั่ง ไม่ให้ทำหรือสั่งให้ทำ

33.       การโฆษณาโดยกล่าวถึงลักษณะเด่น คุณภาพ คุณสมบัติของสินค้า เป็นการโฆษณาที่ใช้อะไรเป็นสิ่งดึงดูดใจ

(1) อารมณ์      (2) ความรู้สึก   (3) ความอยากรู้อยากเห็น       (4) เหตุผล

ตอบ 4 หน้า 45 – 46 สิ่งดึงดูดใจที่ปรากฏในสารโฆษณาแบ่งเป็น2ลักษณะคือ

1.         ด้านเหตุผล เป็นการใช้คุณสมบัติทางกายภาพของสินค้ามาเป็นสิ่งดึงดูดใจ โดยจะกล่าวถึง ลักษณะเด่น คุณสมบัติ คุณภาพของสินค้า ราคาสินค้า ฯลฯ

2.         ด้านอารมณ์หรือลักษณะทางจิตวิทยา เป็นการใช้ความต้องการหรือแรงจูงใจของผู้บริโภค มาดึงดูดใจให้ซื้อสินค้า โดยจะกล่าวถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้านั้น ๆ เช่น ความพึงพอใจ ความเท่ ฯลฯ

34.       ข้อใดไม่ใช่หลักการของการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณา

(1)       ข้อความที่เสนอขายสินค้า ควรเขียนไว้ที่ส่วนท้ายของข้อความโฆษณา

(2)       สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ

(3)       ระบุชื่อสินค้าในข้อความพาดหัว

(4)       มุ่งขายสินค้ามากกว่าการใช้สำนวนโวหาร

ตอบ1  หน้า 48 ข้อความพาดหัวโฆษณาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้          1. ควรขายสินค้าได้  2.ดึงดูดใจผู้อ่านด้วยการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ 3. สอดแทรกข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินค้า 4. ควรระบุชื่อสินค้าไว้ในข้อความพาดหัว 5. ควรเชิญชวนให้อ่านข้อความ ในส่วนอื่น ๆ ของสิ่งโฆษณา 6. ควรให้ความสำคัญกับการขายสินค้ามากกว่าการเล่นคำ ฯลฯ

35.       ข้อใดคือหน้าที่สำคัญของข้อความพาดหัวโฆษณา

(1) ทำให้รู้จักชื่อสินค้า (2) แสดงถึงเอกลักษณ์ของสินค้า

(3)       ดึงดูดความสนใจและขายสินค้า         (4) ช่วยสร้างความหมาย ให้ภาพประกอบ

ตอบ3  หน้า 47 ข้อความพาดหัวโฆษณา (Headline) คือ ข้อความส่วนที่ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจผู้รับสารด้วยการกล่าวถึงข้อเสนอเพื่อการขายสินค้า ดังนั้นจึงถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ของข้อความโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ เพราะหากข้อความพาดหัวไม่มีพลังพอก็ไม่อาจจะทำให้ผู้รับสารสนใจอ่านข้อความโฆษณาส่วนอื่น ๆ ได้

36.       ศาลอุทธรณ์พลิกยกฟ้องพจมาน-เลขาฯ เลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ 546 ล้าน แต่บรรณพจน์ไม่รอดเจอโทษจำคุก 2 ปี ฐานให้การเท็จ ให้รอลงอาญา 1 ปี ขณะที่อภิรักษ์-โภคิน-ประชา-วัฒนา-อดีต ผอ.ปภ.กทม.-บ.สไตเออร์ หนาวแน่ศาลฎีกาอาญานักการเมืองรับฟ้องคดีทุจริต” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Punch Lead  (2)       Background     Lead          (3) Colorful Lead       (4) Contrast Lead

ตอบ 4 หน้า 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบเปรียบเทียบ (Contrast Lead) คือ การเขียนความนำ ที่รายงานเหตุการณ์ในลักษณะเชื่อมเนื้อหา 2 ประเด็นที่ขัดแย้กัน นำมาสรุปเข้าด้วยกัน ในการเขียนความนำ

37.       นายกปูยันรัฐบาลไม่ได้พลิ้วนโยบายค่าแรง 300 บาท ระบุรัฐบาลตั้งใจทำทุกนโยบาย เฉลิมคุยโอ่รัฐบาลปู อยู่ยาว8ปีเทียบชั้นปาเปรม” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Punch Lead  (2)       Background     Lead          (3) Colorful Lead       (4) Contrast Lead

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38.       ศึกซักฟอกนโยบายรัฐบาลยังคึก ฝ่ายค้าน ส.ว. ถล่มยับนโยบายแก้บน ซัดกันเดือดหลังสาทิตย์อัด พท.-เสื้อแดงบาป” เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Punch Lead  (2)       Background     Lead          (3) Colorful Lead       (4) Contrast Lead

ตอบ 1 หน้า 83 ความนำแบบกระแทกอารมณ์ (Punch Lead) คือ การเขียนความนำในการรายงานข่าว ที่เป็นเหตุการณ์รุนแรง ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงมีลักษณะขึงขัง มีพลัง และผู้เขียนมักใช้คำที่มีลักษณะ เป็น Strong Words เช่น กระหน่ำ ซัด อัด กราด พรุน ฯลฯ

39.       ในการจัดแถลงข่าวเพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ใครควรเป็นผู้พูด

(1)นักประชาสัมพันธ์   (2)โฆษก

(3) ผู้บริหารสูงสุดหรือผู้รับผิดชอบโดยตรง     (4) ผู้มีวาทศิลป์

ตอบ 3 หน้า 62, (คำบรรยาย) สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ คือ

การพิจารณาว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรในการพูด โดยจะต้องพิจารณาถึง โอกาสและเนื้อหาของการพูด เช่น ในการจัดประชุมแถลงนโยบายขององค์กร หรือจัดแถลงข่าว เพื่อชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด ผู้พูดควรเป็นผู้บริหารสูงสุดหรือบุคคลสำคัญทีรับผิดชอบโดยตรง แต่ถ้าเป็นการกล่าวต้อนรับและการบรรยายสรุปให้นักศึกษาที่เข้าเยี่ยมชมกิจการฟัง ผู้พูดควรเป็นนักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

40.       ข้อใดเป็นข้อพิจารณาในการกำหนดเรื่องที่พูดเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1)       เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ

(2)       เป็นเรื่องที่อยู่ในกระแส

(3)       เป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส และความสามารถของผู้พูด

(4)       เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อน

ตอบ 3 หน้า 63 ผู้พูดควรกำหนดเรื่องที่จะพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับโอกาสสถานการณ์ที่ไปพูด และความรู้ความสามารถของตน โดยมีหลักสำคัญคือ การเตรียมเรื่องที่จะพูดให้พร้อม ซึ่งได้แก่  1. ศึกษาหัวข้อเรื่องที่พูด            2. กำหนดโครงเรื่อง   3. ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม         4. คาดการณ์เรื่องที่ผู้ฟังจะซักถามและเตรียมคำตอบล่วงหน้า

5.         เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูด

41.       การโฆษณาหาเสียงกับกลุ่มประชาชนที่มีการศึกษาน้อย มักเน้นเรื่องใด

(1) อุดมการณ์ของพรรคการเมือง        

(2) ความโปร่งใส

(3) เรื่องเกี่ยวกับปากท้องที่เป็นรูปธรรม          

(4) โครงการพัฒนาระยะยาว

ตอบ 3 หน้า 64 ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ย่อมมีความสนใจแตกต่างกัน น ผู้ฟังที่มีระดับการศึกษาสูง จะชอบฟังเรื่องที่เป็นวิชาการ เรื่องที่เพิ่มพูนความรู้และยกระดับสติปัญญา ส่วนผู้ที่มีการศึกษาน้อย จะชอบฟังเรื่องที่สนุกสนานให้ความเพลิดเพลิน เรื่องเกี่ยวกับปากท้อง และการดำรงชีวิตที่เป็นรูปธรรม หรือเรื่องที่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

42.       การจัดแถลงข่าว เป็นการใช้การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในข้อใด

(1) การชี้แจงอย่างเป็นทางการ           

(2) การประชุมโต๊ะกลม

(3) การอภิปรายกลุ่ม   

(4) การบรรยายสรุป

ตอบ1 หน้า 66, (คำบรรยาย) การพูดชี้แจงอย่างเป็นทางการ เป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดีในการสร้าง ความประทับใจและเผยแพร่กระจายข่าวสารไปสู่กลุ่มผู้ฟังได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำได้ใน รูปของการอธิบายถึงนโยบาย จุดมุ่งหมายของการดำเนินงาน ชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิด และ ให้คำแนะนำแก่บรรดาพนักงานของบริษัท โดยมักใช้ในการจัดแถลงข่าว การจัดประชุมผู้สื่อข่าว การกล่าวเปิดและปิดงาน ฯลฯ

43.       การใช้การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการในการประชาสัมพันธ์จะได้ผลดีในกรณีใด

(1) มีการวางแผนที่ดี   (2) พนักงานภักดีต่อองค์การ

(3) นักประชาสัมพันธ์มีวาทศิลป์         (4) มีการแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจน

ตอบ 2 หน้า 67, (คำบรรยาย) การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ คือ การพูดคุยกันอย่างเป็นกันเอง ระหว่างเจ้าหน้าที่พนักงานในองค์การ หรือการทักทายกับประชาชนที่มาติดต่อ ซึ่งถือเป็น วิธีสื่อสารที่ได้ผลดีที่สุด และจะได้ผลดียิ่งขึ้นในกรณีที่พนักงานมีความภักดีและเชื่อมันศรัทธา ในองค์การ เพราะจะทำให้พนักงานกล้าแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การอย่างอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลให้ประชาชนที่มาติดต่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์การในที่สุด

44.       ข้อใดเป็นหลักการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

(1) ใช้สำนวนโวหาร     (2) ใช้วลีที่ดึงดูดใจ

(3) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความรู้สึกจริงใจ   (4) ใช้คำหรูหราฟังไพเราะ

ตอบ 3 หน้า 72 – 73 หลักการพื้นฐานสำหรับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

1.         ใช้ภาษาให้ถูกต้อง       2. ใช้รูปแบบการเขียนที่เหมาะสม

3.         เรียงคำในประโยคอย่างเหมาะสม 4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เน้นธรรมชาติ ให้ความรู้สึกจริงใจ 5. เขียนด้วยประโยคสั้น ๆ เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจง่าย          6. ใช้ภาษาที่สื่อความหมาย

7.         เขียนด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์       8. ใช้ภาษาที่ปราศจากอคติ

45.       หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพเสนอข่าวประเภทใด

(1) ข่าวที่ประชาชนสนใจ         (2) ข่าวหนัก     (3) ข่าวเบา      (4) ข่าวที่มีคุณภาพ

ตอบ 2 หน้า 76 – 7779 หนังสือพิมพ์เชิงคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่นำเสนอข่าวสารข้อมูลที่มีสาระ ซึ่งผู้อ่านต้องใช้ความรู้ความคิดติดตามเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงจะเข้าใจ โดยข่าวที่นำเสนอจะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับทางการและกึ่งทางการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวหนัก (Hard News) เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าวสิ่งแวดล้อม ข่าวศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

46.       บทบรรณาธิการเป็นความเรียงประเภทใด

(1) ร้อยแก้ว     (2) ร้อยกรอง   (3) ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง   (4) สารคดี

ตอบ 1 หน้า 77 – 7889 บทบรรณาธิการหรือบทนำ (Editorial) คือ ความเรียงประเภทร้อยแก้ว โดยมีจุดมุ่งหมายหลักของการเขียนเพื่อแสดง

ถึงทัศนะหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ซึ่งมีต่อสถานการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน ดังนั้น บทบรรณาธิการจึงมีความสำคัญในการเป็นข้อเขียนที่แสดงถึงจุดยืนหรือทิศทางของหนังสือพิมพ์ ทั้งฉบับที่มีต่อสถานการณ์ซึ่งกำลังอยู่ในกระแสสังคม

47.       บทบรรณาธิการมีความสำคัญอย่างไร

(1)       เป็นข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็น

(2)       เป็นการนำเสนอข้อมูลใหม่ ๆ

(3)       แสดงถึงจุดยืนของหนังสือพิมพ์ต่อสถานการณ์ที่อยู่ในกระแสสังคม

(4)       แสดงความคิดเห็นของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่มีต่อเรื่องทั่วไป

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

48.       หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณมีลักษณะการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ใช้ภาษาทางการและภาษาปาก    (2) ใช้ภาษาทางการและกึ่งทางการ

(3) ใช้ภาษาปาก          (4) ใช้ภาษากึ่งทางการและภาษาปาก

ตอบ 4 หน้า 7779 หนังสือพิมพ์เชิงปริมาณ (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ ที่เสนอข่าวสารที่เน้นเรื่องราวที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกซองผู้อ่าน โดยข่าวที่นำเสนอ จะมีลักษณะการใช้ภาษาเป็นภาษาระดับกึ่งทางการและภาษาปาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเบา (Soft News) คือ ข่าวที่ผู้อ่านไม่ต้องใช้ความรู้ความคิดในการวิเคราะห์ก็สามารถเข้าใจ เรื่องราวได้ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวชีวิตส่วนตัวของคนดัง เป็นต้น

49.       การเขียนข่าวหนังสือพิมพ์นิยมใช้รูปแบบการเขียนแบบใด

(1) Inverted Pyramid          (2) Upright Pyramid

(3) Combination        (4) Article

ตอบ 1 หน้า 80, (คำบรรยาย) รูปแบบการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1.         แบบพีระมิดหัวกลับ (inverted Pyramid) คือ การเสนอประเด็นสำคัญของข่าวก่อนรายละเอียด ถือเป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกว่าร้อยละ 85 – 90 ในการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์

2.         แบบพีระมิดหัวตั้ง (Upright Pyramid) คือ การเสนอรายละเอียดของข่าวก่อน ประเด็นสำคัญ นิยมใช้ในการเขียนบทความ บทบรรณาธิการ สารคดีเชิงข่าว ฯลฯ

3.         แบบผสม (Combination) คือ การเสนอประเด็นสำคัญทั้งในตอนต้นและตอนท้าย มักใช้ในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์

50.       พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มีเจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ละประธานของประโยค    (2) ตัดคำสั้น    (3) ใช้คำย่อ     (4)ใช้คำที่ชวนสงสัย

ตอบ 1 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจขึ้นต้นด้วยคำกริยา เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น

50.       พลิกคดีโกงภาษี ศาลอุทธรณ์ชี้อ้อไม่มีเจตนาปกปิดซื้อขายหุ้น” ข้อความพาดหัวข่าวนี้มีการใช้ภาษาอย่างไร

(1) ละประธานของประโยค    

(2) ตัดคำสั้น    

(3) ใช้คำย่อ     

(4)ใช้คำที่ชวนสงสัย

ตอบ 1 หน้า 81 – 82 การละประธานของประโยค บางครั้งการเขียนพาดหัวข่าวอาจขึ้นต้นด้วยคำกริยา เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้น

ข้อ 51. – 53. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

“’ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาลทั้งสอง และด้วยบรรยากาศการประชุมเพื่อแถลง นโยบายรัฐบาลตลอดระยะเวลา 2 วันที่ผ่านมา ได้พาดพิงถึงสถาบันศาล และทำให้เข้าใจไปว่าศาลตัดสิน สองมาตรฐาน ซึ่งความเป็นจริงศาลจะตัดสินอย่างไร กำหนดโทษสถานใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน ที่ปรากฏระหว่างการพิจารณา ไม่ได้มาจากปัจจัยภายนอกอย่างใดทั้งสิ้น ถ้าพรรคเพื่อไทยเชื่อว่าศาลมี สองมาตรฐาน โดยเฉพาะมาตรฐานที่ใช้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเครือญาติบริวารจริง คำตัดสินของทั้งสองศาลวันนี้จะใช้คำอธิบายอย่างไร 

51.       บทความนี้แสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1) เสนอแนะ   

(2) อธิบายความ

(3) วิพากษ์วิจารณ์       

(4) เสนอแนวทางการแก้ปัญหา

ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) การแสดงความคิดเห็นในบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ อาจแบ่งตามระดับจากง่ายไปยากที่สุดได้ดังนี้

1.         ระดับอธิบายความ คือ ผู้เขียนตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบ ที่เกิดขึ้น และคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะตามมา

2.         ระดับวิพากษ์วิจารณ์ คือ ผู้เขียนประเมินค่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ดี เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ใครถูกใครผิด ฯลฯ โดยแจกแจงให้เห็นข้อดีข้อด้อยในเรื่องนั้น ๆ

3.         ระดับเสนอทางแก้ปัญหา คือ ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาแก่ผู้รับผิดชอบ จึงจัดเป็นการเขียนในเชิงวิเคราะห์ที่กล่าวถึงสาเหตุและเสนอทางออกไปพร้อมกัน

52.       บทความนี้ใช้ภาษาระดับลีลาใด

(1) ลีลาเยือกเย็น         

(2) ลีลาทางการ           

(3) ลีลาปรึกษาหารือ   

(4) ลีลากันเอง

ตอบ 2 หน้า 8892, (คำบรรยาย) ภาษาระดับลีลาทางการ (Formal Style) จะมีลักษณะภาษาที่เป็น พิธีการน้อยกว่าลีลาเยือกเย็น แต่ก็ยังมีลักษณะเป็นแบบแผน จึงเป็นลีลาของภาษาที่มุ่งสื่อสาร ไปยังกลุ่มคนที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด เช่น ภาษาที่ใช้ในการเขียนข่าว บท

บรรณาธิการ บทความทางวิชาการ การปาฐกถา การบรรยาย ฯลฯ

53.       ข้อความที่ยกมาน่าจะเป็นส่วนใดของบทความ

(1) คำนำ         (2) ย่อหน้าที่ 2   (3) สวนเชื่อม (4) ย่อหน้าสุดท้าย

ตอบ 4 หน้า 92 – 93, (คำบรรยาย) โครงสร้างของการเขียนบทความ บทวิเคราะห์ และบทบรรณาธิการ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันดังนี้        1. ชื่อเรื่อง คือ ชื่อที่เขียนขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน 2. ความนำ คือ ส่วนแรกของเนื้อหา ซึ่งทำหน้าที่เป็นคำนำหรืออารัมภบท 3. เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่ดำเนินเรื่องราว  4. สรุป คือ ส่วนสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้ายอาจเป็นข้อเสนอแนะ หรือข้อความที่ย้ำถึงจุดยืนเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่กล่าวถึง

ข้อ 54. – 55. จงใช้บทความต่อไปนี้ตอบคำถาม

แต่ถึงจะทำได้หรือทำไม่ได้ก็ตาม นักการเมืองหรือพรรคการเมืองจะต้องรักษาคำสัญญาที่ให้ไว้ ต่อประชาชนในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งเพื่อสร้างศรัทธาต่อระบอบประชาธิปไตย ระบบของรัฐสภา และนักการเมือง ตามคำเรียกร้องของหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าทำไม่ได้จริง ๆ ควรจะยอมรับความจริง ต่อประชาชนย่อมจะได้รับความเห็นใจดีกว่าให้สัญญาแบบลม ๆ แล้ง ๆ

54.       ข้อความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทบรรณาธิการประเภทใด

(1) ให้ข่าวสาร  (2) อธิบายความ          (3) แนะนำ       (4) เรียกร้องให้กระทำ

ตอบ 1 หน้า 91 บทบรรณาธิการประเภทให้ข่าวสารและคำอธิบาย (Inform and Interpret)เป็นบทบรรณาธิการที่ผู้เขียนต้องการให้ความกระจ่างแก่ผู้อ่านในเรื่องที่เป็นข่าว หรือเป็น เรื่องที่สัมพันธ์กับข่าวซึ่งมีแง่มุมซับซ้อนเข้าใจยาก โดยจะมุ่งให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับอธิบายลำดับและชี้ประเด็นสำคัญเพื่อสร้างความเข้าใจในเหตุการณ์เท่านั้น แต่ไม่ได้ มีเป้าหมายที่จะให้ผู้อ่านเกิดปฏิกิริยาหรือกระตุ้นความคิดแต่อย่างใด

55.       บทความข้างต้นแสดงความคิดเห็นในระดับใด

(1)อธิบายความ           (2)วิพากษ์วิจารณ์        (3)วิเคราะห์     (4) ให้คำแนะนำ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56.       ยอดรถกระบะคุณภาพอันดับ 1 ของคนไทย ไฮลักซ์ วีโก้” เป็นข้อความพาดหัวประเภทใด

(1)       พาดหัวข่าว     (2) กล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

(3) ให้คำแนะนำ          (4)ชวนให้สนใจใคร่รู้

ตอบ 2 หน้า 47 การกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ (Product Claim) เป็นการพาดหัวโฆษณา ที่แสดงถึงข้อยืนยันเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้สินค้า ซึ่งการพาดหัวโฆษณาวิธีนี้ จะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้ดี เพราะเป็นการกล่าวถึงสิ่งที่อยู่ในความสนใจของ ผู้บริโภค และสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเขียนข้อความพาดหัวโฆษณาแบบนี้คือ ข้อเสนอนั้น ควรเป็นข้อเสนอที่เด่นชัดจริง ๆ และเชื่อถือได้

57.       ขนาดของโฆษณามีความสัมพันธ์กับอะไร    

(1)พื้นที่ว่าง

(2)       ผลกระทบที่มีต่อผู้รับสาร       (3) จำนวนผู้รับสาร      (4) แบบตัวอักษร

ตอบ 2 หน้า 54 ขนาดของโฆษณา (Size) จะมีความสัมพันธ์กับผลกระทบที่มีต่อผู้รับสาร (Impact)เพราะโดยทั่วไปแล้วโฆษณาขนาดใหญ่มักได้รับความสนใจมากกว่าโฆษณาขนาดเล็ก ในขณะเดียวกัน โฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์ที่มีความยาว 60 วินาที ก็มักได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ดีกว่า โฆษณาที่มีความยาว 15 วินาที

58.       อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คนในสังคมเข้าใจความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ แตกต่างกัน

(1) เพราะมีสื่อให้เลือกหลายประเภท  (2) เพราะมีข้อมูลข่าวสารมากมายให้เลือกรับ

(3)       การเข้ารหัสความหมายแตกต่างกัน    (4) การถอดรหัสความหมายแตกต่างกัน

ตอบ 4 หน้า 3-5, (คำบรรยาย) การถอดรหัสสาร (Decoding) คือ กระบวนการที่ผู้รับสารแปล หรือตีความสารให้เกิดเป็นความหมายขึ้นในใจ หรือทำความเข้าใจความหมายของภาษาที่ใช้สื่อสาร โดยผู้รับสารแต่ละคนจะถอดรหัสความหมายในเรื่องหนึ่ง ๆ แตกต่างกันไปตามขอบเขตแห่ง ประสบการณ์ของตน ดังนั้นการถอดรหัสความหมายที่แตกต่างกันของคนในสังคม จึงทำให้ การเข้าใจความหมายของเรื่องราวต่าง ๆ ที่สื่อสารแตกต่างกันออกไปด้วย

59.       การที่สัญญาณขัดข้อง เป็นอุปสรรคการสื่อสารข้อใด

(1) Semantic Noise   (2) Mechanical Noise

(3) Environmental Noise  (4) Ambiguous Noise

ตอบ2  หน้า 6, (คำบรรยาย) อุปสรรคทางด้านเครื่องมือ (Mechanical Noise) เกิดขึ้นเมื่อเกิดปัญหากับอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการสื่อสาร เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งสัญญาณรับภาพไม่ถูกต้อง หรือหับเสาอากาศไม่ถูกทิศทาง ทำให้ได้รับสัญญาณภาพและเสียงขัดข้องไม่ชัดเจนวิทยุที่มี เสียงคลื่นแทรกไมโครโฟนไม่ดังหรือมีการดูดเสียงไฟฟ้าดับหรือลัดวงจร เป็นต้น

60.       การที่นักการเมืองอภิปรายในสภา เป็นการสื่อสารในมิติใด

(1) มิติทางกายภาพ    (2) มิติทางวัฒนธรรม  (3) มิติทางจิตวิทยาสังคม        (4) มิติทางสังคม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 9. ประกอบ

61.       Connotation หมายถึงความหมายในลักษณะใด

(1) ความหมายจากสัญลักษณ์ที่เด่นชัด          

(2) ความหมายที่เชื่อมโยงกับสัตภาพ

(3) ความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไป         

(4) ความหมายเพิ่มเติมหรือความหมายรอง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

62.       ข้อใดไม่ใช่บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน

(1)       การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือฝ่ายปกครอง

(2)       การชี้แจงแก้ไขความเข้าใจผิดแทนรัฐบาลเพื่อสร้างความปรองดอง

(3)       การส่งสัญญาณเตือนภัยหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคม

(4)       การตีความหมาย

ตอบ 2 หน้า 27 – 28, (คำบรรยาย) บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มีดังนี้

1.         การสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม รวมถึงตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือ ฝ่ายปกครองที่คาดว่าจะมีการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงเป็นเสมือนผู้ส่งสัญญาณเตือนภัย หากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ที่จะส่งผลเสียหายต่อสังคม

2.         การตีความหมาย        

3. การเชื่อมประสานส่วนต่าง ๆ ของสังคม

4.         การส่งผ่านค่านิยม      

5. การให้ความบันเทิง

63.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการสื่อสารมวลชน

(1) ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม 

(2) เป็นการสื่อสารทางเดียว

(3) ผู้ส่งสารเป็นใครก็ได้          

(4) ผู้รับสารเป็นใครก็ได้

ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ลักษณะของการสื่อสารมวลชน มีดังนี้

1.         แหล่งสารหรือผู้ส่งสารมีลักษณะเป็นสถาบัน

2.         สารที่ปรากฏทางสื่อมวลชนมีลักษณะเป็นสาธารณะ (Public)

3.         ผู้รับสารเป็นมวลชน หรือผู้รับชมรับฟังจำนวนมากที่เป็นใครก็ได้

4.         กระบวนการสื่อสารมวลชนมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว

5.         ได้รับอิทธิพลจากบริบททางสังคม      6. ใช้สื่อมวลชนเป็นช่องทางการสื่อสาร

64.       Rating หมายถึงอะไร

(1) การคิดอัตราค่าโฆษณา     (2) การจัดอันดับคุณภาพของรายการ

(3) ความนิยมรายการ (4) การกำหนดเนื้อหาของสื่อ

ตอบ 3 หน้า 26, (คำบรรยาย) เรตติ้ง (Rating) หมายถึง ค่าแสดงความนิยมรายการของผู้ขมที่มีต่อรายการโทรทัศน์หนึ่ง ๆ

65.       ข้อใดแสดงถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสอดส่องดูแลความเป็นไปในสังคม

(1)       การนำเสนอบทละครโทรทัศน์

(2)       การนำเสนอข่าวเด็กหญิงกตัญญูดูแลพ่อที่ป่วยเป็นอัมพาต

(3)       การนำเสนอข่าวเชิงสืบสวนเกี่ยวกับการทุจริตของนักการเมือง

(4)       การนำเสนอภาพแอบถ่ายของดารานักร้อง

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 62. ประกอบ

66.       สด ๆร้อน ๆใหม่ ฮานามิสะใจแบบเม็กซิกัน” เป็นการเขียนข้อความพาดหัววิธีใด

(1) พาดหัวข่าว            (2) บอกประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

(3) เป็นคำสั่ง   (4) ชวนให้อยากรู้อยากเห็น

ตอบ 1 หน้า 47 การพาดหัวข่าว (News) เป็นข้อความพาดหัวโฆษณาที่ใช้วิธีการเขียนแบบพาดหัวข่าว กล่าวคือ เป็นการสรุปสาระสำคัญ ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจมากที่สุดในข้อความโฆษณา เช่น เน้นเรื่องความใหม่ ความแปลก ความสวยงาม ฯลฯ

67.       Social World หมายถึงอะไร

(1)โลกตามความเป็นจริง        (2)โลกทางกายภาพ

(3) โลกที่แท้จริง           (4) โลกที่เกิดจากการรับรู้

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 26. ประกอบ

68.       Stereotyped หมายถึงอะไร

(1) ชนิดของเครื่องเสียง           (2) เครื่องมือการสื่อสาร

(3) ลักษณะที่เป็นแบบฉบับตายตัว    (4) ความจริงที่ปรากฏ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

69.       รายการสารคดี เป็นรายการประเภทใด

(1)ข่าวสาร       (2)ความรู้         (3)ความบันเทิง           (4)โน้มน้าวใจ

ตอบ 2 หน้า 95, (คำบรรยาย) รายการประเภทความรู้ หมายถึง รายการที่มุ่งให้ความรู้หรือการศึกษา ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาการ อาชีพ วัฒนธรรม และแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีของประชาชน เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ รายการศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ

70.       การเขียนบทสำหรับรายการละครวิทยุ เป็นบทประเภทใด

(1) ร่างคร่าว ๆ (2) กึ่งสมบูรณ์ (3) สมบูรณ์     (4) บทอ่าน

ตอบ 3 หน้า 105, (คำบรรยาย) การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

1.         บทที่วางโครงร่างคร่าว ๆ (Run-down Sheet) คือ บทที่ร่างลำดับเนื้อหาหรือ ลำดับการทำงานไว้สำหรับผู้ร่วมงาน ซึ่งมักใช้กับรายการเพลง

2.         บทกึ่งสมบูรณ์ (Semi Script) คือ บทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ในบางส่วนและละไว้บางส่วน มักใช้กับรายการสัมภาษณ์ สนทนา ฯลฯ

3.         บทสมบูรณ์ (Complete Script) คือ บทที่มีรายละเอียดทุกอย่างกำหนดไว้ชัดเจน มักใช้ กับรายการละครวิทยุ ข่าว บทความ สปอตโฆษณา ฯลฯ

71.       ปชป. ป่วนวอล์กเอาต์” คำทีขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร

(1) ไม่เห็นด้วย 

(2)ประท้วงด้วยการเดินออกจากห้องประชุม

(3) ประท้วงด้วยการไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง     

(4) เดินหนีไปในขณะที่กำลังคุยกัน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) คำว่า วอล์กเอาต์” (Walk Out) หมายถึง การประท้วงด้วยการเดินออกจาก ที่ประชุมหรือห้องประชุม เพื่อแสดงการคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

72.       การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงสำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรเขียนบทประเภทใด

(1) วางโครงร่างคร่าว ๆ           

(2) ประเภทกึ่งสมบูรณ์

(3) ประเภทสมบูรณ์    

(4) ประเภทแสดงเค้าโครง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 70. ประกอบ

73.       สภาล่มกลางดึก แถลงนโยบายสะดุด หลังเพื่อไทย ปชป. เปิดศึกซัดนัวเนียปมดึงฟ้าต่ำ ขุนค้อนพลาด องค์ประชุมขาดฉิวเฉียด ขณะที่เหลิมหนุนปูเทียบชั้นป๋าเปรม พร้อมลุ้นวัดรอยเท้านายกฯ 8 ปีครึ่ง

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Colorful Lead        

(2) Summary Lead

(3) Punch Lead  

(4) Contrast Lead

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

74.       ชำแหละนโยบายวันที่สอง สุนัขรับใช้เห่าลั่นสภา ไม่พอใจฝ่ายค้านตีแสกหน้านายใหญ่

ข้อความนี้เป็นการเขียนความนำแบบใด

(1) Colorful Lead        (2) Summary Lead

(3) Punch Lead  (4) Contrast Lead

ตอบ 1 หน้า 82 – 83, (คำบรรยาย) ความนำแบบสร้างภาพพจน์ (Picture or Colorful Lead) คือ การเขียนความนำด้วยการแสวงหาถ้อยคำมาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อทำให้ผู้อ่าน มองเห็นภาพเหตุการณ์นั้น ๆ เสมือนกับว่าได้เห็นมาด้วยตาตนเอง โดยภาษาที่ใช้จะเต็มไปด้วย ความมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว มีสีสัน ซึ่งบางครั้งก็เป็นคำทีสร้างสีสันเกินจริง

75.       Host หมายถึงคร

(1) ผู้จัดรายการสนทนา           (2) ผู้เขียนบท

(3) ผู้ผลิตรายการ        (4) ผู้ดำเนินรายการและควบคุมเสียง

ตอบ 1 หน้า 96 รายการสนทนา (Conversational Programme) เป็นรายการพูดคุยหรือสนทนาระหว่าง ผู้ดำเนินรายการหรือผู้จัดรายการสนทนา (Host) กับผู้ร่วมรายการหรือแขกรับเชิญ (Guest) เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ผู้ฟังทางบ้านฟัง ซึ่งผู้ร่วมสนทนาอาจมี 2 คน (ผู้ดำเนินรายการ กับผู้ร่วมรายการ) หรือ 3 คนก็ได้

76.       เสียงพูดทางวิทยุกระจายเสียง ควรมีลักษณะอย่างไร

(1)       ไพเราะ นุ่มนวล ต้องบีบเสียง เค้นเสียงเป็นบางช่วง

(2)       แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

(3)       พลิ้วไหว เปลี่ยนแปลงได้หลายแบบ

(4)       น้ำเสียงมั่นคง ราบเรียบ

ตอบ 2 หน้า 99 – 100 หลักการพูดหรืออ่านทางวิทยุกระจายเสียงประการหนึ่ง คือ ต้องมี การเปล่งเสียงที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่

1.         เป็นเสียงพูดที่แสดงความมั่นใจ ไม่ตะกุกตะกัก

2.         เป็นเสียงที่ฟังรื่นหู ไม่แข็งกระด้างหรือเน้นเสียงจนเกินไป

3.         เป็นเสียงแท้ของผู้อ่าน ไม่ควรดัดเสียง หรือบีบเค้นเสียง แต่ควรมีน้ำหนักเสียงสูง-ต่ำ ตามธรรมชาติ

4.         ในกรณีที่เป็นการอ่านบท ผู้อานต้องเข้าใจและตีบทให้แตกก่อนอ่าน

77.       ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ข้อใด

(1) ผังรายการ (2) เอกสารคู่มือรายการ

(3) บทวิทยุกระจายเสียง         (4) บัญชีรายการกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ

ตอบ 3 หน้า 102, (คำบรรยาย) บทวิทยุกระจายเสียง หมายถึง ข้อเขียนที่ใช้ในการผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง โดยจะมีหน้าที่บอกลำดับความเป็นไปของรายการนับตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง จบรายการ เพื่อให้รายการดำเนินไปได้อย่างมีทิศทางตามขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของรายการที่วางไว้

78.       การเขียนบทสำหรับรายการสารคดีทางวิทยุกระจายเสียง มีแนวทางการใช้ภาษาอย่างไร

(1) เขียนประโยคสั้น ๆ            (2) เร้าอารมณ์ผู้ฟัง

(3) ขึงขัง หนักแน่น เป็นทางการ          (4) เหมือนการพูดตัวต่อตัว

ตอบ 4 หน้า 103 เทคนิคการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงประเภทรายการการศึกษา เช่น รายการสารคดี รายการธรรมะ ฯลฯ มีดังนี้ 1. เขียนให้เหมือนการพูดแบบตัวต่อตัว 2. ใช้ภาษาที่ทำให้ เกิดภาพพจน์            3. อธิบายหรือบรรยายให้เห็นภาพ 4. เขียนให้สัมพันธ์กับประเด็นของเรื่องและเนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและช่วงเวลาที่นำเสนอรายการ

79.       ส่วนปิดท้ายของบทวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยอะไรบ้าง

(1) ชื่อรายการ และชื่อเรื่อง      (2) ชื่อสถานีวิทยุ และวันเวลาที่ออกอากาศ

(3) ชื่อผู้แสดงและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรายการ       (4) สรุปและประกาศขอบคุณผู้ร่วมรายการทุกคน

ตอบ 4 หน้า 102 – 103 ส่วนประกอบของบทวิทยุกระจายเสียงมี 4 ส่วน ดังนี้

1.         ส่วนหัว ได้แก่ ชื่อรายการชื่อเรื่องที่จะเนอชื่อสถานี ขนาดคลื่น ความถี่วันเวลาที่ ออกอากาศ และความยาวของรายการ

2.         ส่วนที่บอกหน้าที่ของผู้ร่วมงาน และสิ่งจำเป็นที่ใช้ในรายการ ได้แก่ ชื่อผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับ รายการชื่อผู้แสดง หรือผู้ประกาศเสียงประกอบ และดนตรีหรือเพลงที่ต้องการใช้

3.         ส่วนเนื้อหาหรือส่วนที่เป็นตัวบทวิทยุกระจายเสียง เป็นส่วนที่บอกผู้เกี่ยวข้องและสิ่งที่ กำหนดให้ทำ ได้แก่ ใครพูด พูดอะไร ฯลฯ

4.         ส่วนปิดท้าย เป็นส่วนสรุปและประกาศขอบคุณผู้รวมรายการทุกคน

80.       ข้อใดคือหลักการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1)       มีข้อความที่แสดงความคิดเห็นหลากหลายในรายการเดียวกัน

(2)       ใช้ภาษาปาก  (3) เลือกใช้คำแปลก ๆ เพื่อดึงดูดใจ

(4)       ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ ผู้ฟังไม่ต้องคิดนาน

ตอบ 4 หน้า 104 – 105 หลักการใช้ภาษาพูดทางวิทยุกระจายเสียง มีดังนี้

1.         ใช้ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ พูดแล้วไม่ต้องให้คิดนาน

2.         การพูดทุกตอนต้องแสดงความหมายในแง่เดียว ไม่มีการขัดแย้งกันเอง

3.         ใช้ภาษาสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง 4. ใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง

5.         ควรระวังและหลีกเลี่ยงการนำเรื่องส่วนตัวของผู้ดำเนินรายการ หรือญาติมิตร

มาพูดคุยในรายการ     6. ใช้ภาษาที่มีความหมายชัดเจน ฯลฯ

81.       ข้อใดเป็นข้อควรระวังในการใช้ภาษาทางวิทยุกระจายเสียง

(1) ไม่ควรใช้ภาษาปาก           

(2) ไม่ควรใช้ภาษาง่ายเกินไป

(3)       ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวมาพูดในรายการ           

(4) ไม่ควรใช้น้ำเสียงเป็นกันเองกับผู้ฟัง 

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 80. ประกอบ

82.       ส่วนใดของบทวิทยุกระจายเสียงที่เป็นส่วนเนื้อหา

(1) ส่วนที่ 1      

(2) ส่วนที่ 2      

(3) ส่วนที่ 3      

(4) ส่วนที่ 4

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

83.       เสียงดนตรีมีบทบาทอย่างไรในรายการโทรทัศน์

(1)       เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในรายการโทรทัศน์

(2)       เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมบรรยากาศให้สอดคล้องกับคำพูด

(3)       เป็นสิ่งสำคัญรองจากภาพและคำพูด ช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึก

(4)       เป็นสิ่งที่เสริมเข้ามาเพื่อไม่ให้เกิดความเงียบ

ตอบ 3 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญ รองจากภาพและคำพูด ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญดังนี้

1.         ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาหลักของเรื่องหรือรายการ

2.         ใช้เพื่อสร้างหรือเสริมจังหวะการเคลื่อนไหวของภาพ

3.         ใช้เพื่อเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้แสดง

4.         ช่วยสร้างความรู้สึกแก่สถานการณ์ของเรื่องราว

5.         ใช้เป็นดนตรีประจำรายการเมื่อเริ่มและจบรายการ

84.       ส่วนประกอบใดในรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นวัจนภาษาที่ผู้ชมคุ้นหูมากที่สุด

(1) คำสนทนา  (2) คำบรรยาย (3) คำอ่าน       (4) เสียงประกอบ

ตอน1   หน้า 106 คำสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหูมากที่สุดในบรรดาเสียงที่ปรากฏทางรายการโทรทัศน์ โดยมักใช้เพื่อให้ความหมายแก่ภาพใน 4 ลักษณะ คือ  1. เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียด    2. เพื่อบอกบุคลิกลักษณะของผู้แสดง  3. เพื่อดำเนินเรื่องหรือเชื่อมฉาก 2 ฉากเข้าด้วยกัน 4. เพื่อแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับภาพ

85.       Fill Light หมายถึงอะไร

(1) แสงไฟหลัก            (2) แสงไฟเพิ่มความสว่าง

(3) แสงไฟที่ใช้ลบเงา  (4) แสงไฟที่ใช้ส่องฉากหลัง

ตอบ 3 หน้า 115 แสงประดิษฐ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์ จะต้องประกอบด้วยไฟมาตรฐาน อย่างน้อย 3 ดวง ได้แก่   1. แสงไฟหลัก (Key Light)

2. แสงไฟลบเงา (Fill Light)        3. แสงไฟส่องที่ฉากหลัง (Back Light)

86.       หากต้องการให้มีคำบรรยายภาพปรากฏในรายการโทรทัศน์ ต้องใช้เทคนิคใด

(1) Freeze Frame (2) Superimpose (3) Split Screen    (4) Fast Motion

ตอบ2 หน้า 106 – 107114, (คำบรรยาย) ซูเปอร์อิมโพส (Superimpose) คือ เทคนิคการใช้ตัวหนังสือ หรือภาพ ๆ หนึ่งซ้อนทับลงบนอีกภาพหนึ่ง ซึ่งมักใช้ในการทำคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรซ้อน ลงบนภาพทื่อยู่นิ่งฺหรือเคลื่อนไหว เช่น การทำไตเติ้ลรายการ และ Sub-title เป็นต้น

87.       ภาพในลักษณะ Extreme Close up จะมีลักษณะเป็นอย่างไร

(1)       เป็นภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเพียงระดับไหล่

(2)       ภาพในระยะใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นใบหน้าและไหล่

(3)       ภาพระยะใกล้มาก หากเป็นภาพคนจะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า

(4)       ภาพระยะใกล้ หากเป็นภาพคนจะเห็นในระดับเอว

ตอบ 3 หน้า 109, (คำบรรยาย) ภาพระยะใกล้มาก (Extreme Close Up : ECU) เป็นการถ่ายภาพ ในระยะใกล้มาก เพื่อต้องการเน้นรายละเอียดเฉพาะส่วน หรือต้องการเน้นอารมณ์ความรู้สึก ของผู้แสดง เช่น การเน้นถ่ายเฉพาะดวงตาขณะผู้แสดงกำลังร้องไห้การถ่ายอวัยวะเฉพาะส่วน ของแมลง หรือหากเป็นการถ่ายภาพบุคคลก็จะเห็นเฉพาะส่วนใบหน้า เป็นต้น

88.       หากต้องการนำเสนอภาพทิวทัศน์โดยให้ผู้ชมได้ชื่นชมทิวทัศน์ในมุมกว้างโดยการหันกล้องจากซ้ายไปขวา หรือขวามาซ้าย เป็นการใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2) ดอลลี่         (3) ซูม  (4) ทรัค

ตอบ 1 หน้า 112 แพน (Pan) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะแนวนอนจากขวามาซ้าย หรือซ้ายมาขวา เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพทางกว้างได้มากขึ้น

89.       ข้อใดเป็นเทคนิคการหยุดภาพไว้ให้ผู้ชมได้เห็นเป็นภาพนิ่ง

(1) Cut        (2) Wipe    (3) Freeze Frame       (4) Split Screen

ตอบ 3 หน้า 114, (คำบรรยาย) ฟรีซเฟรม (Freeze Frame) คือ เทคนิคการหยุดภาพหรือแช่ภาพไว้ ให้ผู้ชมได้เห็นภาพนั้นนิ่ง ๆ อยู่ชั่วขณะหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในฉากจบของละครโทรทัศน์แต่ละตอน ก่อนที่ไตเติ้ลตอนจบจะขึ้น

90ข้อใดเป็นวิธีการลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

(1) Cut        (2) Wipe    (3) Freeze Frame (4) Split Screen

ตอบ 1 หน้า 114 การคัต (Cut) คือ การตัดภาพจากกล้องหนึ่งไปยังอีกกล้องหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการ ลำดับภาพที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

91.       ดนตรีประกอบในรายการโทรทัศน์มีหน้าที่อะไร

(1) บอกเล่าเรื่องราว    

(2) ถ่ายทอดเนื้อหา

(3) เน้นอารมณ์ของผู้แสดง      

(4) เชื่อมระหว่างฉากต่อฉาก

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

92.       คำยอ SFX หมายถึงอะไร

(1) เสียงดนตรี 

(2) เสียงประกอบ        

(3) ผู้ประกาศ  

(4) ความเงียบ

ตอบ 2 หน้า 116, (คำบรรยาย) เสียงประกอบ (Sound Effect/SFX) ในรายการโทรทัศน์ได้แก่ เสียงที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงสัตว์ร้อง เลียงน้ำตก เลียงฟ้าร้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ ช่วยสื่อเรื่องราวให้ภาพสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตรายการจึงควรพิถีพิถันในการบันทึกเสียงประกอบด้วย เพื่อให้ได้เสียงประกอบที่สมบูรณ์และในระดับความดังที่พอเหมาะ โดยมิให้ ดังกลบเสียงสนทนาหรือเสียงบรรยาย

93.       หากต้องการสร้างบรรยากาศที่วังเวงน่ากลัว ควรใช้แสงสีอะไร

(1) เหลือง        (2) ฟ้า  (3) ชมพู           (4) น้ำเงิน

ตอบ 4 หน้า 115- 116,(คำบรรยาย) การใช้สีเพื่อประกอบการให้แสงจะมีอิทธิพลต่อจิตใจและ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ชม เช่น สีเหลืองจะให้บรรยากาศที่อบอุ่น เป็นแสงยามเช้า จึงมักใช้ ในรายการประเภทครอบครัว หรือรายการแม่บ้านสีน้ำเงินจะให้บรรยากาศลึกลับ วังเวง น่ากลัว จึงมักใช้ในรายการประเภทละครผี เป็นต้น

94.       หากต้องการนำเสนอภาพมุมสูง ควรใช้เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องข้อใด

(1) แพน           (2)       ดอลลี่  (3) ทิลท์           (4) ทรัค

ตอบ3 หน้า 112 ทิลท์ (Tilt) คือ เทคนิคการเคลื่อนไหวกล้องโดยการเงยหรือก้มกล้องในลักษณะ แนวตั้ง เพื่อให้ผู้ชมเห็นภาพมุมสูงและภาพมุมต่ำได้มากขึ้น

95.       ข้อใดเป็นเทคนิคที่นำมาใช้เมื่อต้องการเสนอภาพหลาย ๆ ภาพบนหน้าจอ

(1) Cut        (2)       Wipe         (3) Freeze Frame       (4) split Screen

ตอบ 4 หน้า 114 สปลิตสกรีน (Split Screen) คือ เทคนิคการแบ่งกรอบภาพ (Frame)

ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำเสนอภาพหลาย ๆ ภาพลงในกรอบเดียวกัน

96.       ภาพแต่ละภาพที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ เรียกว่าอะไร

(1) Illustration   (2)       Shot (3) Screen (4) Frame

ตอบ 2 หน้า 108 ภาพที่ปรากฏทางจอโทรทัศน์นั้น เกิดจากภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพเรียงลำดับต่อเนื่องกัน จนกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งภาพแต่ละภาพนี้จะเรียกว่า ชอต (Shot) โดยเมื่อรานำภาพ แต่ละชอตนี้มาลำดับให้ถูกช่วงถูกตอนตามที่ควรจะเป็นก็จะได้ลำดับเรื่องราวตามต้องการ

ข้อ 97. – 99. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม .

(1) Dolly    (2) Truck   (3) Pedestal       (4) Boom

97.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจั่น

ตอบ 4 หน้า 112 บูม (Boom) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้องแบบปั้นจัน ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการเปลี่ยนมุมกล้องให้สูงหรือต่ำ

98.       ข้อใดหมายถึงเทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง

ตอบ 3 หน้า 112 พีเดสตอล (Pedestal) คือ เทคนิคการเคลื่อนกล้องขึ้น-ลงบนฐานกล้อง แบบ Studio Pedestal โดยใช้คันบังคับ

99.       ข้อใดหมายถึงการเคลื่อนกล้องเข้าหาหรือถอยห่างจากวัตถุที่ถ่าย

ต-อม    1 หน้า 113 ดอลลี่ (Dolly) คือ เทคนิคการเปลี่ยนระยะของภาพโดยเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุที่ถ่ายซึ่งอยู่กับที่เพื่อให้ได้ภาพโตขึ้น (Dolly in) หรือถอยห่างจากวัตถุที่ถ่ายเพื่อให้ได้ภาพเล็กลง (Dolly out)

100.    ในรายการโทรทัศน์ อวัจนภาษาข้อใดที่บ่งบอกถึงควาสงบ การฉุกคิด

(1) เสียงดนตรี (2) เสียงประกอบ        (3) แสง            (4) ความเงียบ

ตอบ 4 หน้า 116-117 ในบางครั้งรายการโทรทัศน์จะใช้ความเงียบ (Silence) ซึ่งเป็นอวัจนภาษา เพื่อสะกดอารมณ์หรือปลุกเร้าความสนใจของผู้ชมให้จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ปรากฏบนจอภาพ โดยมักนิยมใช้กับเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้ชมช่วยลุ้น และเรื่องราวที่ต้องการบ่งบอกถึงความสงบ หรือการฉุกคิด

Advertisement