การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1400 (MCS 1450) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลก ตั้งขึ้นที่ประเทศใด

(1)       รัสเซีย  

(2) เยอรมนี      

(3) อังกฤษ      

(4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 หน้า 2325169 จุดกำเนิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของโลก คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษ ซึ่งได้แพร่ภาพด้วยระบบขาวดำอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 โดยมีพิธีเปิดการแพร่ภาพขึ้นที่พระราชวังอเล็กซานดร้า กรุงลอนดอน

2.         แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นระบบผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ

(1)       Mixed System 

(2) Dual System

(3) Free Market System    

(4) Public Service System

ตอบ 4 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ

1.         รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูล และรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ

2.         รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ

3.         เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1-2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผลิตรายการเอง) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

3.         ประเทศที่เป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System คือ

(1) ญี่ปุ่น         (2) รัสเซีย        (3) อังกฤษ      (4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดสื่อสารในตลาดเสรี) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ คือ ดำเนินการในรูปตลาดเสรี ที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Competition) โดยเชื่อว่า ถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์แล้ว จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

4.         แนวคิดที่เป็นระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรีที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก คือ

(1) Public Service System (2) Free Market System

(3) Mixed System      (4) Dual System

ตอบ 3 หน้า 111113 ใบช่วงทศวรรษที 1980 – 1990 กำลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทำให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

5.         ระบบนี้มีความเชื่อว่ากิจการวิทยุและโทรทัศน์ รัฐต้องเข้ามามีความรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสาร และรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ หมายถึงข้อใด

(1) Free Market System    (2) Public Service System

(3) Mixed System      (4) Dual System

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 2. ประกอบ

6.         พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงในโลกถือว่าประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียง

(1) รัสเซีย        (2) อังกฤษ      (3) สหรัฐอเมริกา         (4) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่า เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก ๆ คือ สถานี KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1917), WWJ (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค.ศ. 1920)

ข้อ 7. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) VOA      (2) BBC      (3) NHK     (4) FCC

7.         คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 24114168 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ FCC (Federal Communications Commission) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล กิจการวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

8.         บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ

ตอบ 2 หน้า 161 – 162169 บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation ะ BBC) มีฐานะเป็นบรรษัทสาธารณะที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล โดยเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้มีเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์จากประชาชนมาเป็นค่าใช้จ่ายของบรรษัท

9.         สถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 1 หน้า 159 – 160, (คำบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ สถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) 

ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศที่ กระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

10.       บรรษัทการกระจายเสียงของญี่ปุ่น

ตอบ 3 หน้า 165 – 166 บรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NFIK)เป็นองค์การกระจายเสียงแห่งชาติที่ทำการกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ โดยไม่แสวงหากำไร และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับ BBC ของอังกฤษ

11.       ประสิทธิภาพของสื่อมวลชนโดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจากอะไร

(1) เวลาและปริมาณของสื่อ    

(2) ความรวดเร็วและความคงอยู่ของสื่อ

(3) การเปิดโอกาสให้ผู้รับมีส่วนร่วมในการสื่อสาร      

(4) ถูกทุกข้อ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) ประสีทธิภาพของสื่อมวลชนโดยทั่วไปมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา คือ เวลา และปริมาณของสื่อ ความรวดเร็วของสื่อ การเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในการสื่อสาร และความคงอยู่ของสื่อ ทั้งนี้วิทยุและโทรทัศน์จะมีประสีทธิภาพดีในเรื่องของเวลา ปริมาณ การนำเสนอ และความรวดเร็วของสื่อ ส่วนหนังสือพิมพ์จะมีประสีทธิภาพดีในเรื่องของ การเปิดโอกาสให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมใบการสื่อสาร และความคงอยู่ของสื่อ

12.       สื่อมวลชนข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด

(1)       ภาพยนตร์กลางแปลง 

(2) วิทยุกระจายเสียง

(3) วิทยุโทรทัศน์          

(4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เกี่ยวกับการฟังวิทยุ และการดูโทรทัศน์ของประชากรไทยในปัจจุบัน พบว่า แนวโน้มประชากรไทยฟังวิทยุลดลง แต่ดูโทรทัศน์มากขึ้น นั่นหมายถึง สื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ วิทยุโทรทัศน์ (ในสมัยก่อนสื่อที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด คือ วิทยุกระจายเสียง)

13.       หน้าที่ของการสื่อสารใบการดูแลและบอกกล่าวถึงสภาพแวดล้อม (Surveillance of the Environment) ตรงกับหน้าที่ของสื่อมวลชนในข้อใด

(1) หน้าที่ให้การศึกษา (2) หน้าที่เสนอความคิดเห็น

(3) หน้าที่เสนอข่าวสาร            (4) หน้าที่ให้ความบันเทิง

ตอบ 3 หน้า 88 – 89 หน้าที่นำเสนอหรือให้ข่าวสาร คือ หน้าที่ในการดูแลและบอกกล่าวถึงสภาพแวดล้อม หรือสอดส่องระวังระไวเกี่ยวกับส่งแวดล้อม (Surveillance of the Environment) หมายถึง การแสวงหาและเผยแพรข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นภายในและภายบอกสังคมหนึ่ง ๆ เช่น รายการข่าวประจำวับ รายงานการจราจร รายงานการพยากรณ์อากาศ ฯลฯ

14.       ห้างบีกริมม์” มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อใดต่อไปนี้

(1)       เป็นผู้นำ วิทยุโทรเลข” มาสาธิตครั้งแรกในประเทศไทย

(2)       เป็นผู้นำ วิทยุโทรทัศน์” มาทดลองออกอากาศให้นายกรัฐมนตรีดูในงานวันเกิด

(3)       เป็นผู้ขออนุญาตทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชั่วคราวที่กรุงเทพฯ และเกาะสีชัง

(4)       เป็นผู้ขออนุญาตเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทย

ตอบ 1 หน้า 32, (คำบรรยาย) วิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที 5) เนื่องด้วยห้างบีกริมม์ซึ่งเป็นผู้แทน บริษัทวิทยุโทรเลขเทเลฟุงเก็นของเยอรมนี ได้เป็นผู้นำวิทยุโทรเลขมาสาธิตในประเทศไทย เป็นครั้งแรกโดยได้แจ้งและขออนุญาตตอกระทรวงโยธาธิการเพื่อทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลข ชั่วคราวขึ้นที่กรุงเทพฯ และเกาะสีชัง แต่การทดลองครั้งนั้นไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

15.       กิจการวิทยุโทรเลขในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับการกำเนิดวิทยุโทรเลขของโลกมีระยะห่างกันกี่ปี

(1) 6 ปี          (2) 12 ปี          (3) 15 ปี          (4) 20 ปี

ตอบ 1 หน้า 17,32 กิจการวิทยุโทรเลขในประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยกรมทหารเรือ ได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหารเป็นครั้งแรก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการกำเนิดวิทยุโทรเลขของโลกแล้วจะมีระยะเวลาใกล้เคียงกัน คือ มีระยะห่างกับเพียง 6 ปี หลังจากทีมาร์โคนีส่งสัญญาณวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2444

16.       บุคคลแรกที่เป็นผู้นำเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จ คือ

(1) เฮนริช เฮิรตซ์         (2) กูกลิเอลโม มารโคนี

(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์     (4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน

ตอบ 2 หน้า 17 – 18 ในปี พ.ค. 2438 ถูกลิเอลโม มารโคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และ ได้นำเอาการทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบนอุตสาหกรรมได้สำเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่อง ว่าเป็น บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก

17.       ในอังกฤษนิยมใช้คำดั้งเดิมเรียกวิทยุกระจายเสียงว่าอะไร

(1) Radio   (2) Wireless       (3) Cable   (4) Broadcast

ตอบ 2 หน้า 2 คำว่า วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คำดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

18.       “Television” ได้บัญญัติคำเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่าอะไร

(1) โทรทัศน์     (2) ภาพทัศน์   (3) วิทยุโทรทัศน์          (4) วิทยุภาพยนตร์

ตอบ 3 หน้า 381 คำว่า “Television” นี้กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ และได้บัญญัติคำเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์)ซึ่งหมายถึง การส่งและรับสัญญาณภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยัง เครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

19.       วิทยุโทรทัศน์วงจรปิด หมายถึงข้อใด

(1) Closed Circuit Television     (2) Circuited Close Television

(3) Commercial Circuit Television    (4) Circuit Commercial Television

ตอบ 1 หน้า 74 วิทยุโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า CCTV หมายถึง วิทยุโทรทัศน์ที่ใช้ส่งและรับทางสายเคเบิลหรือสายแกนร่วม (Coaxial Cable) ไปยัง จุดที่ติดดั้งเครื่องรับ ไม่ได้ส่งออกอากาศไปไกล ๆ เช่น จากห้องควบคุม (Control Room) ไปยังห้องเรียนต่าง ๆ

20.       กำเนิดของวิทยุกระจายเสียงโลกมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1)       เกิดขึ้นโดยบังเอิญเนื่องจากการค้นพบของนักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น

(2)       มีการให้รางวัลสำหรับการค้นคว้าแก่นักวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ

(3)       การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายอำนาจแสวงหาอาณานิคม

(4)       ปัจจัยทางสังคมที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวทางการค้า และการให้รางวัลต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 16 การกำเนิดของวิทยุกระจายเสียงโลกมีสาเหตุมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         ปัจจัยทางสภาพสังคมที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวทางการค้า ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปมีความจำเป็นต้องแสวงหาอาณานิคม

2.         การให้รางวัลสำหรับการค้นคว้า ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์

21.       ข้อใดเป็นพัฒนาการวิธีการติดต่อสื่อสารจนมาถึงวิทยุกระจายเสียง

(1) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรเลข วิทยุโทรทัศน์           

(2) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์

(3) โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลข           

(4) โทรศัพท์ โทรเลข วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรเลข

ตอบ 2 หน้า 16 นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารแบบใหม่ที่เหมาะสมและ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ ไปจนถึงวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน

22.       การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป หมายถึงข้อใด

(1)       วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล       

(2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด

(3) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต            

(4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต

ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟัง และชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ไต้ เรียกว่า Web-Radio และ Web-TV

23.       สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยตั้งอยู่ที่ใด

(1) วังพญาไท กรุงเทพฯ          

(2) หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

(3) ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ 

(4) ปากคลองโอ่งอ่าง กรุงเทพฯ

ตอบ 3 หน้า 32 รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชการทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร ในสังกัดของกระทรวงทหารเรือขึ้น 2 สถานี คือ ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ กับที่ชายทะเล จ.สงขลา โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทย ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456

24.       ระบบการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยโนระยะเริ่มแรกนั้น ใช้ระบบอะไร

(1) ระบบขาวดำ 525 เส้น       (2) ระบบ PAL 625 เส้น

(3) ระบบ NTSC 525 เส้น    (4) ระบบ SECAM 625 เส้น

ตอบ 1 หน้า 4371 ระบบการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยในระยะเริ่มแรกนั้นจะใช้ระบบ ขาวดำ 525 เส้น เรียกว่า ระบบ EIA แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็ได้ เปลี่ยนมาใช้ระบบสี คือ ระบบ PAL สัญญาณภาพ 625 เส้น (25 ภาพต่อวินาที)

25.       ระบบการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยในปัจจุบัน ใช้ระบบอะไร

(1) ระบบสี 525 เส้น   (2) ระบบ CCIR 625 เส้น

(3) ระบบ PAL 625 เส้น        (4) ระบบ SECAM 525 เส้น

ตอบ 3 ดูดำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

26.       การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคเพื่อต้องการให้ประชาชนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการรับข่าวสาร นโยบาย และการพัฒนาประเทศ เป็นความคิดริเริ่มในการก่อตั้งของรัฐบาลชุดใด

(1) รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์            (2) รัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร

(3) รัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์       (4) รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย

ตอบ 1 หน้า 48 – 49149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคเป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2503

27.       สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานใด(1)       องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)     (2) กองทัพบก

(3) กรมประชาสัมพันธ์            (4) บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด

ตอบ3 หน้า 49137 – 138 สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ มีดังนี้

1.         สถานีในส่วนกลาง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBTหรือ สทท.ในปัจจุบัน)

2.         สถานีในส่วนภูมิภาค คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 45789 และ 10 ซึ่งทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายในส่วนภูมิภาค

28.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทำหน้าที่ให้ความรู้ การศึกษา เผยแพร่ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ คือสถานีช่องใด

(1)       สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.    (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7       (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11ตอบ 4 หน้า 50 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (สทท. ในปัจจุบัน) จัดตั้งขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ ทำหน้าที่ให้ความรู้ การศึกษา เผยแพร่ ข่าวสารการประชาสัมพันธ์และสนับสนุนนโยบายของรัฐ และให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แม่ข่าย ถ่ายทอดไปยังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยส่วนภูมิภาคในลักษณะเครือข่ายโดยเชื่อมโยง สัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือระบบดาวเทียมของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย

29.       งานกำกับรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นอยู่กับฝ่ายใด

(1) ฝ่ายเทคนิค            (2) ฝ่ายข่าว     (3) ฝ่ายจัดรายการ      (4) ฝ่ายศิลปกรรม

ตอบ 3 หน้า 147149 ฝ่ายจัดรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์จะดำเนินการจัดเตรียมรายการเพื่อ ออกอากาศให้เป็นไปตามตารางเวลาออกอากาศ และดำเนินการออกอากาศ ซึ่งประกอบด้วย งานกำกับรายการ งานกำกับเวที งานผังรายการ งานตรวจบท งานภาพยนตร์ งานรายการสด งานผู้ประกาศ งานโฆษณา และงานพากย์ภาพยนตร์ เป็นต้น

30.       งานออกแบบ และงานกราฟิกของสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นอยู่กับฝ่ายใด

(1) ฝ่ายช่าง     (2) ฝ่ายเทคนิค            (3) ฝ่ายศิลปกรรม       (4) ฝ่ายผลิตรายการ

ตอบ 3 หน้า 147, (คำบรรยาย) ฝ่ายศิลปกรรมของสถานีวิทยุโทรทัศน์จะดำเนินการเกี่ยวกับ งานออกแบบ งาบกราฟิก และงานสร้างฉาก เป็นต้น

31.       . การเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ และการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์เริ่มขึ้นเมื่อใด

(1) หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519     

(2) หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535

(3)       หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542

(4)       หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543

ตอบ 2 หน้า 5254 – 56, (คำบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ก่อให้เกิด กระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อมาก็ได้มีการจัดตั้ง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ITV ะ Independent Television หรือทีวีเสรี ซึ่งปัจจุบันคือ ไทยพีบีเอส) ขึ้นมาเพื่อเสนอข่าวสารอย่างเป็นกลางโดยปราศจากอำนาจของรัฐและนายทุน จึงถือเป็น การเปลี่ยนแปลงการเสนอรายการข่าวครั้งใหญ่ในประเทศไทย

32.       ข้อใดไม่ใช่อิทธิพลของวิทยุที่มีต่อผู้ฟัง

(1)       หันเหผู้ฟังจากความวิตกกังวลต่าง ๆ   

(2) สร้างความหวังและแรงบันดาลใจ

(3) สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟังด้วยกัน 

(4) สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ ไฮเทค

ตอบ 3 หน้า 102 – 108, (คำบรรยาย) อิทธิพลของวิทยุที่มีต่อผู้ฟังทางด้านนามธรรม คือ

1.         ช่วยหันเหผู้ฟังจากความวิตกกังวลและความเครียดต่าง ๆ

2.         สร้างความหวังและแรงบันดาลใจ      3. สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ ไฮเทค ฯลฯ

33.       สื่อใดต่อไปนี้ที่มีแนวโน้มเสนอวัฒนธรรมที่หลากหลายได้มากที่สุด

(1) หนังสือพิมพ์           (2) โทรทัศน์     (3) ภาพยนตร์  (4) วิทยุ

ตอบ 2 (คำบรรยาย) คุณสมบัติของโทรทัศน์ที่เป็นสื่อทรงอิทธิพล มีดังนี้

1.         สามารถเสนอวัฒนธรรมที่หลากหลายได้มากที่สุด

2.         มีความรวดเร็วในการส่ง-รับสารได้ทันที

3.         เน้นเสนอเนื้อหาในการตีความ และอธิบายรายละเอียดได้มากขึ้น ฯลฯ

34.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ที่นำเสนอรายการข่าวและสาระ ในสัดส่วน 70% ของผังรายการ หมายถึงสถานีใด

(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.           (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ทีวีเสรี)

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5          (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11

ตอบ 2 หน้า 53 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (หรือไทยพีบีเอสในปัจจุบัน) จะมีการกำหนดรูปแบบรายการ โดยให้เสนอรายการข่าว สารคดี และสาระประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 70% ของเวลาออกอากาศ และเวลา 19.00 – 21.30 น. (Prime Time) ต้องเสนอรายการในกลุ่มนี้ ส่วนรายการอีก 30% เป็นรายการบันเทิงและรายการอื่น ๆ

35.       “Broadcasting” หมายถึงข้อใด(1) การออกอากาศรายการผ่านดาวเทียม       (2) การกระจายเสียง

(3การแพร่ภาพ         (4) ถูกทั้งข้อ 2 และ 3

ตอบ 4 หน้า 1 คำว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิกาได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ การออกอากาศรายการ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

36.       พัฒนากรของการดำเนินกิจกรวิทยุโทรทัศน์จากอดีตถึงปัจจุบัน หมายถึง

(1)       กรมทหารเรือ –กรมไปรษณีย์โทรเลข –กรมประชาสัมพันธ์

(2)       กองทัพบก –กรมไปรษณีย์โทรเลข –องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

(3)       กรมโฆษณาการ –กรมประชาสัมพันธ์ –สำนักนายกรัฐมนตรี

(4)       บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัด –>องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย –สำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 4 หน้า 4144 – 4548137 การดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์จากอดีตถึงปัจจุบันมีพัฒนาการดังนี้ เริ่มต้นจากอยู่ในการดำเนินกิจการของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดในปี พ.ศ. 2498 ต่อมาได้โอนกิจการให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.)ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบัน

ข้อ 37. – 41. บทบาทหน้าที่ของสื่อสารมวลชนวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในรายการต่อไปนี้ แสดงบทบาทหน้าที่ข้อใดมากที่สุด

(1)       หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร       (2) หน้าที่ในการเสนอความคิดเห็น

(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา  (4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

37.       รายการข่าวในพระราชสำนักทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ตอบ 1 หน้า 88 – 89 หน้าที่ในการให้หรือนำเสนอข่าวสาร คือ หน้าที่ดูแลและบอกกล่าวถึงสภาพแวดล้อม หรือสอดส่องระวังระไวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Surveillance of Environment) หมายถึง การแสวงหาและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อม ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกสังคมหนึ่ง ๆ เช่น รายการข่าวประจำวันรายงาน การจราจรรายงานการพยากรณ์อากาศ ฯลฯ

38.       รายงานการจราจรของสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

39.       รายการ สำรวจโลกกับ National Geographic” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5

ตอบ 3 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) หน้าที่ในการให้การศึกษา คือ หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกทางสังคม จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนรุ่นหลัง ๆ หมายถึง การเผยแพร่ความรู้ ค่านิยม และบรรทัดฐานของ สังคมแก่สมาชิกรุ่นใหม่ของสังคม เพื่อให้วิทยาการและวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ คงอยู่ต่อไป ซึ่งสามารถเผยแพร่การศึกษาได้ทั้งทางตรง ได้แก่ รายการการศึกษาของ มสธ. ฯลฯ และทางอ้อม ได้แก่ รายการสารคดี (เช่น รายการสำรวจโลกกับ National Geographic ทางช่อง 5)รายการเกมโชว์ประเภทถาม-ตอบปัญหา (เช่น รายการเกมเศรษฐีมหาชน) เป็นต้น

40.       รายการ ตีสิบ” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3

ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง หมายถึง การเผยแพร่การแสดง ดนตรี และศิลปะ เพื่อสร้างความจรรโลงใจให้แก่ประชาชน เช่น รายการละครรายการเกมโชว์รายการเพลงรายการวาไรตี้หรือปกิณกะบันเทิง ฯลฯ

41.       รายการ ถึงลูกถึงคน” ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9

ตอบ 2 หน้า 88 – 89, (คำบรรยาย) หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็นหรือหน้าที่ในการชักจูงใจ คือ หน้าที่ในการประสานส่วนต่าง ๆ ในสังคมเพื่อแสดงปฏิกิริยาตอบต่อสิ่งแวดล้อม หมายถึง การที่สื่อมวลชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดเป็นข่าว เป็นการวิเคราะห์และเสนอแนะว่า ควรจะทำอย่างไรกับสิ่งนั้น ๆ เช่น รายการวิเคราะห์รายการวิจารณ์รายการอภิปราย ฯลฯ

42.       ผู้ประดิษฐ์จานสแกนภาพสำเร็จเน้นคนแรก คือ

(1)       ดร.วี.เค. ซโวรีกิน          

(2) เจมส์ ลอจี แบร์ด

(3) พอล นิพโกว           

(4) คาร์ล เพ่อร์ดินานด์ บราวน์

ตอบ 3 หน้า 22 พอล นิพโกว (Paul Nipkow) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธีที่จะทำภาพ ให้เป็นเส้นเป็นทางปรากฏขึ้นบนจอได้สำเร็จเป็นคนแรก โดยเขาได้ประดิษฐ์จานสแกนภาพ คือ จานที่เจาะรูเล็ก ๆ เพื่อรับพลังงานแสง โดยเมื่อจานหมุนแสงจะผ่านรู ทำให้ภาพที่ผ่านรู ไปปรากฏบนจอภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์ขึ้น

43.       รายการประเภทใดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการน่าเสนอสูงสุด

(1)       รายการข่าว     (2) รายการโฆษณา     (3) รายการบันเทิง       (4) รายการแสดงความคิดเห็น

ตอบ 3 หน้า 101 รายการต่าง ๆ ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะเน้นสัดส่วน การนำเสนอรายการบันเทิงสูงที่สุด โดยเฉพาะสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า ซึ่งมักจะมุ่งผลประโยชน์ด้านธุรกิจมากกว่าผลประโยชน์ของสาธารณะ (Public Interest)

44.       แนวคิดทฤษฎีใดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อประชาขนโดยตรง

(1)       ทฤษฎีสังคมมวลชน    (2) ทฤษฎีสื่อสารมวลชน

(3) ทฤษฎีสื่อสารการพัฒนา    (4) ทฤษฎีวิพากษ์สื่อมวลชน

ตอบ 1 หน้า 102 – 105 นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน (Mass Society Theory) เชื่อว่า สื่อมวลชน ซึ่งหมายรวมถึง วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จะมีอิทธิพลต่อประชาชน โดยตรง เมื่อพิจารณาจากคุณลักษณะสำคัญดังนี้

1.         ความสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากได้โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร

2.         มีอิทธิพลในการชักจูงใจ

3.         มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจำนวนมากในลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น การเลียนแบบดารา นักแสดง นักร้อง ตั้งแต่การแต่งกาย ความคิดความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงพฤติกรรม ฯลฯ

45.       ข้อใดไมใช่ประเภทรายการวิทยุโทรทัศน์ที่จัดแบ่งตามบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน

(1) รายการข่าว            (2)รายการการศึกษา   (3) รายการบันเทิง       (4) รายการสำหรับเด็ก

ตอบ 4 หน้า 100 – 101 การแบ่งประเภทรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามบทบาท หน้าที่ของสื่อมวลชน ได้แก่   1. รายการที่ให้ข่าวสาร            2. รายการที่แสดงความคิดเห็นหรือการชักจูงใจ 3. รายการที่ให้ความรู้และการศึกษา        4. รายการที่ให้ความบันเทิง

46.       โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อใด

(1)       พ.ศ.2503       (2)พ.ศ.2511   (3)พ.ศ.2530   (4)พ.ค.2535

ตอบ 2 หน้า 152 – 153 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งเกิดจากความคิดว่าควรรวมตัวกันขึ้นเพื่อปรึกษาหารือและจัดการดำเนินการ ในด้านต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดประโยชน์แก่โทรทัศน์ทุกช่อง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.         ร่วมมือในการถ่ายทอดและรับการถ่ายทอดทั้งในประเทศและนอกประเทศ สำหรับรายการ ที่สำคัญ ๆ ระดับชาติหรือระหว่างประเทศ

2.         เป็นผู้ประสานงานในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ในการถ่ายทอดตามข้อ 1.

3.         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในระหว่างโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยมีหลักการที่จะ ไม่แย่งซึ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

4.         ร่วมมือกันสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง ฯลฯ

47.       กกช. หมายถึงอะไร

(1.) คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(2)       คณะกรรมการกำหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(3)       คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(4)       คณะกรรมาธิการกระจายเสียงแหงชาติ

ตอบ 3 หน้า 119125 – 126 กกช. หมายถึง คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (ปัจจุบันมีองค์กรอิสระที่มารับผิดชอบทำหน้าที่แทน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งซาติ หรือ กสทช. ซึ่งจะทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม)

48.       วัตถุประสงค์ของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ไม่ตรงกับข้อใด

(1)       รวมตัวกันขึ้นเพื่อจัดการดำเนินการด้านรายการต่าง ๆ ที่จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน

(2)       เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในระหว่างโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ

(3)       ร่วมมือในการถ่ายทอดและรับการถ่ายทอดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับรายการที่สำคัญ ๆ ระดับชาติหรือระหว่างประเทศ

(4)       เพื่อดำเนินการในการร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านวิชาการวิทยุโทรทัศน์ และการจัดประชุมสัมมนาร่วมกัน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

49.       การส่งคลื่นวิทยุกระจายเสียงของไทยเป็นการส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่ใด

(1)       530     ถึง        1600   กิโลเฮิรตซ์        และ 88 ถึง      108     เมกะเฮิรตซ์

(2)       535     ถึง        1605   กิโลเฮิรตซ์        และ 87 ถึง      108     เมกะเฮิรตซ์

(3)       630     ถึง        1700   กิโลเฮิรตซ์        และ 86 ถึง      107     เมกะเฮิรตซ์

(4)       635     ถึง        1705   กิโลเฮิรตซ์        และ 88.5 ถึง 107.5 เมกะเฮิรตซ์

ตอบ 2 หน้า 64119 ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ระบุว่า วิทยุกระจายเสียง” หมายถึง การส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่คลื่นวิทยุ 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ในระบบ AM และย่านความถี่ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในระบบ FM อันมีความประสงค์ให้เข้าถึงมวลชนโดยตรง

50.       พิธีเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์และออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2493 (2) พ.ศ. 2495

(3) พ.ศ. 2498 (4) พ.ศ. 2501

ตอบ 3 หน้า 42. 44 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ปัจจุบันคือ สถานี วิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีลีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท.จำกัด (มหาชน) ในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย ดังนั้น กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2557) จึงมีอายุ 59 ปี

51.       องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด

(1) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ        

(2) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ

(3) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก   

(4) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป

ตอบ 1 หน้า 58115124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (The International Telecommunication Union) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทาง รัฐบาลของแต่ละประเทศ

52.       สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมามีชื่อเรียกว่าอะไร

(1)       สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท   

(2) สถานีวิทยุที่ศาลาแดง

(3) สถานีวิทยุเฉลิมพระเกียรติ            

(4) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ตอบ 1 หน้า 34. – 36, (คำบรรยาย) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นมา มีชื่อเรียกว่า สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไท” ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็น จุดกำเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2481 สถานีวิทยุแห่งนี้ ก็ได้โอนกิจการมาสังกัดสำนักงานโฆษณาการ (หรือกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

53.       สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยสังกัดหน่วยงานใด           

(1) กระทรวงทหารเรือ

(2)       กรมไปรษณีย์โทรเลข  (3) กระทรวงกลาโหม  (4) กรมประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

54.       ปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยสังกัดหน่วยงานใด

(1)       การสื่อสารแห่งประเทศไทย     (2) กรมไปรษณีย์โทรเลข

(3)       กรมประชาสัมพันธ์     (4) กระทรวงมหาดไทย

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

55.       การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเกิดจากความคิดริเริ่มของใคร

(1) จอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์     (2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร      (4) พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์

ตอบ 2 หน้า 40 – 41 การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย เกิดจากความคิดริเริ่ม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2495 แต่ถูกสภาผู้แทนราษฎรและ หนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน จึงทำให้รัฐบาลเปลี่ยน แผนการจากเดิมที่จะดำเนินการเองมาเป็นการจัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

56.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่และเริ่มดำเนินการแพร่ภาพในปี 2539 ได้รับสัมปทานใน การดำเนินการจัดตั้งสถานีจากหน่วยงานใดต่อไปนี้

(1) กรมประชาสัมพันธ์            (2) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

13) กองทัพบก            (4) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ตอบ 4 หน้า 54, (คำบรรยาย) สถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนกลาง (ระดับชาติ) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ และเริ่มดำเนินการแพร่ภาพออกอากาศในปี พ.ศ. 2539 ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ITV) โดยได้รับสัมปทานให้ดำเนินการอย่างเป็นทางการจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ปัจจุบันถูกลงโทษให้ปิดสถานี

57.       ลักษณะการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยที่รัฐทำสัญญาให้สัมปทานแก่เอกชนเช่าช่วง โดยมอบผลประโยชน์ที่แน่นอนจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ หมายถึงสถานีช่องใด

(1)       ช่อง 5  (2) ช่อง 7         (3) ช่อง 9         (4) ช่อง 11

ตอบ 2 หน้า 136 ลักษณะการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยที่รัฐเป็นเจ้าเของแต่ทำสัญญา ให้สัมปทานแก่เอกชนเช่าช่วง โดยมอบผลประโยชน์ที่แน่นอนจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ ได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และสถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

58.       องค์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้วางเกณฑ์กลางเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนวิทยุโทรทัศน์ว่าจะเป็นสื่อทรงอิทธิพลได้ต่อเมื่อประชาชนของประเทศมีเครื่องรับต่อประชากรเท่าใด

(1)       วิทยุโทรทัศน์ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 20 คน

(2)       วิทยุโทรทัศน์ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 50 คน

(3)       วิทยุโทรทัศน์ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 100 คน

(4)       วิทยุโทรทัศน์ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 150 คน

ตอบ3 (คำบรรยาย) องค์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้วางเกณฑ์กลางเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนว่า วิทยุกระจายเสียงจะเป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลได้ต่อเมื่อประชากรของประเทศมีเครื่องรับวิทยุ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 20 คน ส่วนสื่อวิทยุโทรทัศน์จะเป็นสื่อทรงอิทธิพลได้ต่อเมื่อประชากรของประเทศมีเครื่องรับโทรทัศน์ 1 เครื่องต่อประชากรโดยเฉลี่ย 100 คน

59.       วิทยุโทรทัศน์ หมายถึงอะไร

(1)       การกระจายหรือแพร่ไปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศเพื่อส่งสาร

(2)       การใช้ส่งและรับทางสายเคเบิลเพื่อส่งออกอากาศภาพและเสียง

(3)       การใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อส่งกระจายออกอากาศ หรือเพื่อรับสัญญาณไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย

(4)       การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ตอบ 4 หน้า 381 คำว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์และได้ บัญญัติคำเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า วิทยุโทรทัศน์” (มักเรียกสั้น ๆ ว่า โทรทัศน์) ซึ่งหมายถึง การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสลื่นวิทยุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

60.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด

(1)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550

(2)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551

(3)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540

(4)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงเละวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550

ตอบ 2 (ข่าว) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2551 ส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติ ในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็น ทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2551

61.       เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด

(1) การออกกำลังกาย 

(2) การสอนทำอาหารไทย

(3) การบรรยายธรรม   

(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคำนึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ

1.         ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ

2.         แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ

3.         ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ

4.         การจูงใจให้คิดหรือทำ (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

62.       วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็น ลูกพี่ใหญ่‘’ (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคม เป็นแนวคิดของใคร

(1) นอยล์ นิวแมน 

(2) แคลปเปอร์       

(3) พอล ลาซาร์สเฟลด์            

(4) เอมิล เดอร์คิม

ตอบ 4 หน้า 104 นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชนหลายคน ได้แก่ ออกูส กงเต้ (Auguste Comte), เฟอร์ดินันท์ ทูนนี่ (Ferdinand Tonnise) และเอมิล เดอร์คิม (Emile Durkheim) มีความเห็นว่า วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคน ในสังคมเกือบทั้งหมด

63.       อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร

(1) วิลเบอร์ แซรมม์      (2) พอล ลาซาร์สเฟลด์

(3) ออกูส กงเต้ เพ่อร์ดินันท์    (4) นักทฤษฎีสังคมมวลชน

ตอบ 2 หน้า 107 พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) เป็นนักวิชาการที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดการไหลของข่าวสาร 2 ระดับ (Two-step Flow) และพบว่าอิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นำความคิด (Opinion Leader) หรือคนใกล้ตัว เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของคนมากกว่าสื่อมวลชน

64.       ผู้รับสารมีความฉลาดและมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ตามแนวคิดนี้ ตรงกับข้อใด

(1)       วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง

(3)       วิทยุและโทรทัศน์ทำให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อทุกคนในลักษณะคล้ายคลึงกัน

(4)       วิทยุและโทรทัศน์จะสนับสนุนทัศนคติ ค่านิยม และแนวโน้มด้านพฤติกรรมของประชาชนให้มีความเข้มแข็งขึ้น

ตอบ 2 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์หลายท่าน เช่น แคลปเปอร์ (Klapper) เชื่อว่า วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร เนื่องจากผู้รับสารมีความฉลาดและ มีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อ สามารถคิดและวิเคราะห์ ไม่ใช่สื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคลมากมาย อิทธิพลของ สื่อมวลชนจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ของสังคม

65.       ปัจจัยเสริมที่ทำให้วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม หมายถึงข้อใด

(1)       ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจำเป็นต้องพึ่งพามาก

(2)       การสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก

(3)       การนำเสนอเรื่องราว กิจกรรม ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ     (4) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 106 – 107 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อมต่อผู้รับสาร โดยอาศัย ปัจจัยเสริมต่าง ๆ ดังนี้

1.         ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร

2.         กระบวนการเลือกรับสาร โดยการรับรู้ จดจำ และตีความเนื้อหาจากสื่อมวลชนที่สนับสนุน ความคิดความเชื่อของตนเอง เช่น การเลือกเปิดรับสารจากพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบ ฯลฯ

3.         อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิด เช่น ผู้นำชุมชน การสนทนาในสภากาแฟ ฯลฯ

4.         ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารมาก เช่น นักลงทุนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหุ้น ฯลฯ

66.       ตามแนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากอะไร

(1) บุคคล สังคม วัฒนธรรม บันเทิง    (2) บุคคล สังคม การศึกษา วัฒนธรรม

(3)       บุคคล สังคม เครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม

(4)       สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิล แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชนทำอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทำหน้าที่อะไรให้แก่ตน และสังคม ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่         1. สังคม (Society)

2.         ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate)

3.         สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators)

4.         มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

67.       FCC (Federal Communication Commission) หมายถึงข้อใด

(1) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา            (2) บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ

(3)       องค์กรที่จัดระเบียบในด้านการอนุมัติคลื่นและใบอนุญาตประกอบการ

(4)       คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

68.       สื่อที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หมายถึงข้อใด

(1) หนังสือพิมพ์           (2) นิตยสาร     (3) วิทยุกระจายเสียง  (4) วิทยุโทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 35 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วิทยุกระจายเสียงนับว่ามีบทบาทอย่างสำคัญ เพราะคณะราษฎร์ซึ่งนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือ เผยแพร่ข่าวการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ โดยอ่านประกาศติดต่อกันตลอดเวลา

69.       มาตราในการวัดคลื่นความถี่วิทยุระบบ AM คือ

(1) เมกะเฮิรตช์         (2) กิโลเฮิรตซ์ (3) จิกะเฮิรตซ์ (4) เมตริกเฮิรตซ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 49. ประกอบ

70.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็น Independent Television หมายถึงข้อใด

(1) ไทยพีบีเอส                    (2) NBT          (3)       ASIA/        (4)       ไอทีวี

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 31. ประกอบ

71.       สื่อทางเลือกของประชาชน หมายถึงข้อใด

(1) ไทยพีบีเอส            

(2) NBT      

(3)       วิทยุชุมชน        

(4)       โมเดิร์นไนน์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) สื่อทางเลือกหรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสารให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับข่าวสารที่แตกต่าง ไปจากสื่อกระแสหลักซึ่งมักถูกกำหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน เช่น สถานีวิทยุชุมชนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตโทรทัศน์ดาวเทียมเคเบิลทีวี ฯลฯ

72.       การจัดสรรความถี่วิทยุ เพื่อจะจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ

(1) กสช.          

(2) กสทช.        

(3)       กกช.    

(4)       กทช.

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 47. ประกอบ

73.       กทช. หมายถึงอะไร

(1)       คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(2)       คณะกรรมการกำหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(3)       คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(4)       คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ตอบ 4 กทช. หมายถึง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

74.       สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด

(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข

(2)       สำนักงานโฆษณาการ            (3) กระทรวงกลาโหม  (4) กระทรวงทหารเรือ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ

75.       การทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีว่า พี” ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่าอะไร

(1) บูรฉัตรไชยากร       (2) มาร์โคนี      (3) กองช่างวิทยุ          (4) กรมไปรษณีย์โทรเลข

ตอบ 1 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองศ์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองศ์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า พีเจ” ซึ่งย่อมาจากคำว่า บูรฉัตรไชยากร

76.       สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อใด

(1) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456        (2) วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471

(3)       วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473          (4) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 52. ประกอบ

77.       กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุกี่ปี

(1)45ปี          (2)59ปี            (3)62ปี                    (4) 75ปี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

78.       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายถึงข้อใด

(1)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530

(2)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540

(3)       พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2550

(4)       พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551เป็นกฎหมายวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2551

79.       กรมประชาสัมพันธ์” มีชื่อเดิมว่าอะไร

(1) กรมการโฆษณาการ          (2) กรมโฆษณาการ

(3) กรมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์    (4) สำนักโฆษณาการและประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์” มีชื่อเดิมว่า กรมโฆษณาการ” โดยในปีพ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง สำนักงานโฆษณาการ” ขึ้น และต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ขื่อว่า กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมประชาสัมพันธ์” ดังในปัจจุบัน

80.       ข้อใดเป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation)

(1) TBS       (2) CNN     (3) BBC      (4) PBS

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

81.       หน่วยงานราชการใดมีสถานีวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร

(1) กรมประชาสัมพันธ์ 

(2) อ.ส.ม.ท.    

(3) กองทัพบก 

(4) กรมไปรษณีย์โทรเลข

ตอบ 3 หน้า 39 สถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ในกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นสถานีวิทยุในสังกัดของกองทัพบกมากที่สุด โดยมีทั้งหมด 24 สถานี แบ่งเป็นระบบ AM 12 สถานี และระบบ FM 12 สถานี รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ มี 11 สถานี และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย มี 9 สถานี

82.       แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตรงกับข้อใด

(1) Public Service System 

(2) Free Market System

(3) Dual System          

(4) Mixed System

ตอบ 4 หน้า 111113, (คำบรรยาย) แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) เป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสมระหว่างแนวสื่อสาร เพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวสื่อสารในตลาดเสรี) เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

83.       องค์กรแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยคือข้อใด(1) กกช.          (2) กบว.          (3) กทช.          (4) กสทช.

ตอบ 2 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทย ได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และมีการจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) ขึ้นเป็นองค์กรแรก เพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ต่อมาองค์กรนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดองค์กรอิสระต่าง ๆ ขึ้นมาตามลำดับ ได้แก่ กกช. กทช. กสซ. และ กสทช. ในปัจจุบัน

84.       เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกประกาศคำแถลงการณ์ต่าง ๆให้กับรัฐ ที่มีอำนาจนขณะนั้น สื่อได้ทำบทบาทนี้เพื่ออะไร

(1) เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ           (2) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ

(3) เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน     (4) เพื่อผลประโยชน์ขององค์กรสื่อ

ตอบ 2 เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยมักถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนำเสนอประกาศ และคำแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอำนาจในขณะนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่บ้านเมือง กลับเข้าสู่ภาวะปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ ทางด้านธุรกิจมากที่สุด

85.       สื่อใดต่อไปนี้ที่มีผลต่อการครอบงำอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยมากที่สุด

(1) หนังสือพิมพ์           (2) วิทยุกระจายเสียง

(3) วิทยุโทรทัศน์          (4) อินเทอร์เน็ต

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของวิทยุโทรทัศน์ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่น คือ สามารถแสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ เพราะการเห็นพร้อมการฟังจะมีประสิทธิภาพสูง จึงสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ยังสามารถส่งเสริมประสบการณ์ ได้ดีที่สุดเมื่อได้เสนอสาระอันเป็นรูปธรรม จึงทำให้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด และ สามารถครอบงำอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยได้มากที่สุดในปัจจุบัน

86.       การนำเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสำนักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก ตรงกับผลกระทบข้อใด

(1) การไหลของข้อมูลข่าวสารทางเดียว          (2) การไหลของข้อมูลข่าวสารสองทาง

(3) การสื่อสารไร้พรมแดน        (4) การสื่อสารเพื่อการพัฒนา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การสื่อสารไร้พรมแดน (Globalization) มีผลกระทบในด้านลบประการหนึ่ง คือ การสื่อสารไร้พรมแดนจะทำให้ประเทศด้อยพัฒนาสูญเสียเอกราชทางวัฒนธรรมของตนเอง หรือเกิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ทำให้ประเทศอภิมหาอำนาจโลกกลายเป็นศูนย์กลาง ในการไหลของข้อมูลข่าวสารที่สามารถครอบงำอุดมการณ์ควมคิดของคนทั้งโลกได้ เช่น การนำเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสำนักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก เป็นต้น

87.       การควบคุมภายนอกของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด

(1) กลุ่มผลักดันทางสังคม      (2) กฎหมายทางอ้อม

(3) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์            (4) สมาคมวิขาชีพวิทยุและโทรทัศน์

ตอบ 1 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1.         การควบคุมโดยรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช การออกกฎหมาย ที่บังคับใช้โดยตรงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่ออกมา ในรูปของหนังสือเวียนและคำสั่งอื่น ๆ ฯลฯ

2.         การควบคุมกันเอง เช่น มีจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้ง การจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ

3.         การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ม/ผู้ฟัผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

 88.      สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินงานโดยหน่วยงานใด

(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย    (2) บริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน)

(3) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี          (4) กรมประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

89.       สถานีโทรทัศน์ใดที่ได้รับสัมปทานในการดำเนินงานจากรัฐ

(1) โมเดิร์นไนน์ทีวี       (2) ช่อง 7         (3) NBT      (4) ช่อง 5

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

90.       สถานีโทรทัศน์ระดับชาติของไทย ส่วนใหญ่ใช้สัญญาณในการแพร่ภาพระบบใด

(1) VHF       (2) UHF      w (3) SHF  (4) DTH

ตอบ 1 หน้า 7282, (คำบรรยาย) เทคโนโลยีการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทย ในปัจจุบันมี 2 ระบบ ดังนี้

1.         VFHF หรือย่านความถี่สูงมาก คือ 30 – 300 เมกะเฮิรตซ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยส่วนใหญ่ จะใช้ระบบนี้ ได้แก่ ช่อง 579 (โมเดิร์นไนน์ทีวี) และ 11 (NBT หรือ สทท. ในปัจจุบัน)

2.         UHF หรือย่านความถี่เหนือสูง คือ 300 – 3,000 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทย ใช้ระบบนี้เพียง 2 สถานีเท่านั้น ได้แก่ ช่อง 3 และไทยพีบีเอส

ข้อ 91. – 100. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม

(3)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(4)       แนวคิดของนอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann)

91.       ผู้รับสารมีความฉลาดและวิจารณญาณในการวิเคราะห์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

92.       การเลือกเปิดรับสารจากพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

93.       การที่สื่อนำเสนอเรื่องราวประเด็นซ้ำ ๆ กันจึงมีอำนาจในการชักจูง

ตอบ 4 หน้า 103 – 104 นอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann) กล่าวว่า การที่สื่อวิทยุและโทรทัศน์ นำเสนอเรื่องราวประเด็นใดประเด็นหนึ่งซ้ำ ๆ กับ ไม่ว่าจะช่วงเวลาไหน และมีความถี่ในการ นำเสนอบ่อย ๆ ย่อมทำให้ผู้รับสารเกิดความคุ้นเคยและเชื่อถือ สื่อวิทยุและโทรทัศน์จึงมี พลังอำนาจในการชักจูง

94.       มีผลต่อการชักจูงใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งใบลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

95.       อิทธิพลของการสนทนา สภากาแฟ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

96.       การเลือกรับรู้ จดจำ ตีความที่สนับสนุนความคิดความเชื่อของตนเอง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

97.       อิทธิพลของสื่อขึ้นกับการทำงานร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในสังคม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

98.       แนวคิดของแคลปเปอร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 64. ประกอบ

99.       การเลียนแบบดารา นักร้อง ตั้งแต่การแต่งกาย ความคิดความเชื่อ ค่านิยม

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

100.    ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารมาก เช่น นักลงทุนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหุ้น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

Advertisement