การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1400 (MCS 1450) การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.         เครื่องมือการสื่อสารที่มาร์โคนีประดิษฐ์ขึ้น คืออะไร

(1)       วิทยุกระจายเสียง        

(2) วิทยุโทรเลข            

(3) วิทยุโทรศัพท์          

(4) วิทยุโทรทัศน์

ตอบ2 หน้า 17 – 18 ในปี พ.ศ. 2438 กูกลิเอลโม มารโคนี (Guglielmo Marconi) ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และ ได้นำเอาการทดลองนี้ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่อง ว่าเป็น บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก

2.         ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุ คือ 

(1) ลี เดอ ฟอเรสต์

(2)       เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน          

(3) เดวิด ซาร์นอฟ        

(4) ชาร์ลส์ เดวิด เฮอร์โรลด์

ตอบ 2 หน้า 18 เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน (Reginald A. Fessenden) เป็นชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุในคืนวันคริสต์มาสปี พ.ศ. 2449 โดยเขาได้กล่าวอวยพรคริสต์มาสไปที่เรือซึ่งแล่นอยู่บริเวณฝั่งบรานท์ร็อค รัฐแมสซาชูเซตส์

3.         ผู้ประดิษฐ์จานสแกนภาพสำเร็จเป็นคนแรก คือ        

(1) ดร.วิ.เค. ซโวรีกิน

(2)       เจมส์ ลอจี แบร์ด        (3) พอล นิพโกว           (4) คาร์ล เฟอร์ดินานด์ บราวน์

ตอบ3 หน้า 22 พอล นิพโกว (Paul Nipkow) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ค้นพบวิธีที่จะทำภาพให้เป็นเส้นเป็นทางปรากฏขึ้นบนจอได้สำเร็จเป็นคนแรกโดยเขาได้ประดิษฐ์จานสแกนภาพ คือ จานที่เจาะรูเล็ก ๆ เพื่อรับพลังงานแสง โดยเมื่อจานหมุนแสงจะผ่านรู ทำให้ภาพที่ผ่านรู ไปปรากฏบนจอภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดโทรทัศน์ขึ้น

4.         บุคคลแรกที่เป็นผู้นำเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จ คือ

(1)       เฮนริช เฮิรตซ์   (2) กูกลิเอลโม มารโคนิ

(3)       เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์         (4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

5.         การกำเนิดของวิทยุกระจายเสียงโลกมีสาเหตุมาจากข้อใด

(1)       เกิดขึ้นโดยบังเอิญจากการทดลองวิทยาศาสตร์

(2)       พัฒนาจากวิทยุโทรเลขมาสู่วิทยุกระจายเสียง

(3)       สภาพสังคมที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการแสวงหาอาณานิคม

(4)       การค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศของนักวิทยาศาสตร์

ตอบ3 หน้า 16 การกำเนิดของวิทยุกระจายเสียงโลกมีสาเหตุมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ

1.         ปัจจัยทางสภาพสังคมที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวทางการค้า ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปมีความจำเป็นต้องแสวงหาอาณานิคม

2.         การให้รางวัลสำหรับการค้นคว้า ซึ่งมีผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์

6.         จุดกำเนิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของโลก หมายถึงข้อใด

(1)       สถานีวิทยุโทรทัศน์ NHK     (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์ BBC

(3)       สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBC     (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ RCA

ตอบ 2 หน้า 2325169 จุดกำเนิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของโลก คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษ ซึ่งได้แพร่ภาพด้วยระบบขาวดำอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 โดยมิพิธีเปิดการแพร่ภาพขึ้นที่พระราชวังอเล็กซานดร้า กรุงลอนดอน

7.         สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทย คือ

(1)       ช่อง 4 บางขุนพรหม    (2) ช่อง 7 สนามเป้า (3) ช่อง 3 หนองแขม (4) ช่อง 8 ลำปาง

ตอบ 1 หน้า 4244 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุ โทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินงานโดยบริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน)นสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศแพร่ภาพเป็นวันแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย

8.         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทย คือ

(1)       สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย        (2) สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่ศาลาแดง

(3)       สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท            (4) สถานีวิทยุองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

ตอบ 3 หน้า 34 – 36 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุกรุงเทพฯ

ที่ พญาไท ซึ่งก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 ภายใต้การดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ในสังกัดของกรมประชาสัมพันธ์)โดยทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทาง การและถ่ายทอดเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (ตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลที่ 7) ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย

9.         ราดิโอ โทรเลข” เป็นคำเรียกชื่อสื่อใด

(1)       วิทยุโทรเลข     (2) วิทยุโทรทัศน์          (3) วิทยุกระจายเสียง  (4) วิทยุแบบแร่

ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มิคำเรียกวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า ราดิโอ โทรเลข” (Radio Telegraph) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) จึงทรงบัญญัติใช้คำว่า วิทยุ” และภายหลังราชบัณฑิตยสถานจึงให้ใช้คำเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า ‘‘วิทยุกระจายเสียง

10.       “Wireless” หมายถึงข้อใด

(1)       โทรศัพท์          (2) โทรเลข       (3) วิทยุ           (4) โทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 2 คำว่า วิทยุกระจายเสียง” มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า วิทยุ” ในขณะที่ชาวอังกฤษนิยม ใช้คำดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

11.       “Broadcasting” หมายถึงข้อใด         

(1) การแพร่ภาพ

(2)       การกระจายเสียง       

(3) การออกอากาศรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ไปสู่สาธารณชน

(4)       การแสดงทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณชน

ตอบ 3 หน้า 1 คำว่า “Broadcasting” ในภาษาอังกฤษ หมายถึง การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ ในขณะที่สารานุกรมบริแทนนิก้าได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ การออกอากาศรายการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ไปสู่ผู้รับซึ่งเป็นสาธารณชนทั่วไป

12.       จุดกำเนิดของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทยเกิดขึ้นเมื่อใด     

(1) 25 กุมภาพันธ์ 2473

(2)       10 ธันวาคม 2475      

(3) 24 มิถุนายน 2498

(4) 20 สิงหาคม 2500

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

13.       จุดกำเนิดของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นเมื่อใด 

(1) 10 ธันวาคม 2475

(2)       24 มิถุนายน 2498     (3) 25 กุมภาพันธ์ 2473          (4) 20 สิงหาคม 2500

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

14.       การส่งวิทยุกระจายเสียงที่ไม่ต้องใช้คลื่นความถี่เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงทั่วไป หมายถึงข้อใด

(1)       วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอร์นัล       (2) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินฟราเรด

(3)       วิทยุกระจายเสียงผ่านอินเทอรเน็ต     (4) วิทยุกระจายเสียงผ่านอินทราเน็ต

ตอบ 3 หน้า 82 – 83 การส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการแปลง (Convert) ระบบกระจายเสียงจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital โดยไม่ต้องใช้คลื่นความถี่ เหมือนการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทั่วไป ซึ่งเมื่อคนต้องการฟัง และชมก็สามารถ Click เข้าไปที่ Website นั้น ๆ ได้ เรียกว่า Web-Radio และ Web-TV

15.       เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด

(1)       การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์            (2) การสอนทำอาหารไทย

(3)       การประชุมสภาผู้แทบราษฎร  (4) พระราชพิธีฉัตรมงคล

ตอบ 3 (คำบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด นอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคำนึงหรือจินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ

1.         ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ

2.         แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ

3.         ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การบรรยายธรรม ฯลฯ

4.         การจูงใจให้คิดหรือทำ (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

16.       วิทยุโทรทัศน์มีลักษณะเฉพาะอะไรที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่น

(1)       ง่ายต่อการเรียนรู้         (2) แสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ

(3)       ความคงอยู่ของสื่อนาน            (4) มีเวลานำเสนอนาน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ลักษณะเฉพาะของวิทยุโทรทัศน์ที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพจูงใจมากกว่าสื่ออื่คือ สามารถแสดงภาพให้เห็นจริงและประทับใจ เพราะการเห็นพร้อมการฟังจะมีประสิทธิภาพสูง จึงสร้างความน่าเชื่อถือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้วิทยุโทรทัศน์ยังสามารถส่งเสริมประสบการณ์ ได้ดีที่สุดเมื่อได้เสนอสาระอันเป็นรูปธรรม จึงทำให้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด และ สามารถครอบงำอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยได้มากที่สุดในปัจจุบัน

17.       ข้อใดเป็นผลกระทบของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ด้านค่านิยมที่ดี

(1)       วัยรุ่นชายนิยมเกณฑ์ทหารตามศิลปินนักแสดงทีเสนอข่าวทางโทรทัศน์

(2)       วัยรุ่นหญิงนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ผิวขาวตามโฆษณาทางโทรทัศน์

(3)       ชาวนาเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมตามรายการเศรษฐกิจพอเพียง

(4)       ประชาชนสนทนาเกี่ยวกับข่าวระเบิดบอมบ์พื้นที่กรุงเทพฯ 8 จุด

ตอบ 1 หน้า 104 – 105 การที่สื่อมวลชนเสนอเรื่องราว กิจกรรม หรือชีวิตส่วนตัวของศิลปินนักแสดง ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ย่อมมีอิทธิพลและผลกระทบต่อเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบจำนวนมาก ทำให้เกิดการเลียนแบบดารานักแสดงตั้งแต่การแต่งกาย ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และ พฤติกรรม เช่น การที่วัยรุ่นชายนิยมเกณฑ์ทหารตามศิลปินนักแสดงที่เสนอข่าวทางโทรทัศน์ แสดงถึงผลกระทบด้านค่านิยมที่ดี เป็นด้น

18.       คุณลักษณะสำคัญที่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อประชาชน หมายถึงข้อใด

(1)       อยู่ที่ไหนก็รับได้           (2) เทคโนโลยีนำสมัย

(3) มีได้ทุกครัวเรือน     (4) มีผลต่อทุกคนลักษณะเดียวกันหมด

ตอบ 4 หน้า 102 นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชน (Mass Society Theory) เชื่อว่า สื่อมวลชน ซึ่งหมายรวมถึง วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จะมีอิทธิพลต่อประชาชนโดยตรง เมื่อพิจารณาจากคุณลักษณะสำคัญดังนี้            1. ความสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากได้โดยตรง และการเปิดรับของผู้รับสาร            2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ   3. มีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจำนวนมากในลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน

19.       การวัดระดับประสิทธิภาพของสื่อมวลชน หมายถึงข้อใด

(1)       การนำเสนอเนื้อหา     (2) ระยะเวลา  (3) ประเภทของสื่อ      (4) การดึงดูดใจ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) ประสิทธิภาพของสื่อมวลชน หมายถึง ความคล่องตัวของสื่อ หรือระดับความสามารถของสื่อในการถ่ายทอดข่าวสาร (เนื้อหาของสาร) ไปยังผู้ชมหรือผู้ฟังได้มากน้อย เพียงใด ดังนั้นการวัดระดับประสิทธิภาพของสื่อมวลชน จึงหมายถึง การนำเสนอเนื้อหาของ สื่อมวลชนนั่นเอง

20.       การส่งวิทยุโทรทัศน์ หมายถึง

(1) นำสัญญาณเสียงออกอากาศ

(2)       นำสัญญาณภาพออกอากาศ (3) นำสัญญาณภาพและเสียงออกอากาศ

(4)       นำสัญญาณภาพ เสียง และสัญญาณต่าง ๆ ที่จำเป็นออกอากาศ

ตอบ 3 หน้า 5869 การส่งวิทยุโทรทัศน์ หมายถึง การนำสัญญาณภาพและเสียงออกอากาศไปสู่ เครื่องรับโทรทัศน์ที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ โดยอาศัยคลื่นวิทยุซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในการส่งสัญญาณ ไม่ว่าจะโดยใช้วิธีการส่งตามสาย (Cable Television) หรือไปในอากาศ (Broadcasting Television) ก็ตาม

21.       รายการประเภทใดทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการนำเสนอสูงสุด

(1)       รายการข่าว     

(2) รายการโฆษณา

(3)       รายการบันเทิง            

(4) รายการแสดงความคิดเห็น

ตอบ 3 หน้า 101 รายการต่าง ๆ ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่จะเน้นสัดส่วน การนำเสนอรายการบันเทิงสูงที่สุด โดยเฉพาะสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์เพื่อการค้า ซึ่งมักจะมุ่งผลประโยชน์ด้านธุรกิจมากกว่าผลประโยชน์ของสาธารณะ (Public Interest)

22.       แนวคิดทฤษฎีใดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อประชาชนโดย ตรง

(1) ทฤษฎีสังคมมวลชน           

(2) ทฤษฎีสื่อสารมวลชน

(3) ทฤษฎีสื่อสารการพัฒนา    

(4) ทฤษฎีวิพากษ์สื่อมวลชน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

23.       ข้อใดไม่ใช่ประเภทรายการวิทยุโทรทัศน์ที่จัดแบ่งตามบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน

(1) รายการข่าว 

(2) รายการการศึกษา            

(3) รายการบันเทิง 

(4) รายการสำหรับเด็ก

ตอบ 4 หน้า 100 – 101 การแบ่งประเภทรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ตามบทบาท หน้าที่ของสื่อมวลชน ได้แก่   1. รายการที่ให้ข่าวสาร 2. รายการที่แสดงความคิดเห็นหรือการชักจูงใจ 3. รายการที่ให้ความรู้และการศึกษา        4. รายการที่ให้ความบันเทิง

24.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่จัดตั้งล่าสุด หมายถึงข้อใด

(1) ITV        (2) TITV     (3) IPSB      (4) TPBS

ตอบ 4 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทย มีสถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ หรือทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ค. 2551 โดยได้รับสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ในการแพร่ภาพจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

25.       สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี หมายถึงข้อใด

(1) ITV        (2) TITV     (3) ช่อง 4        (4) ช่อง 7

ตอบ 1 (ข่าว) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยที่ถูกมาตรการลงโทษให้ปิดสถานี ตามคำตัดสิน ของศาลปกครองสูงสุด คือ ITV แต่ต่อมาศาลปกครองสูงสุดก็มีคำสั่งคุ้มครองให้ออกอากาศ ต่อไปได้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า TITV โดยมีเงื่อนไขว่าทันทีที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ สถานีวิทยุโทรทัศน์ TITV ต้องเปลี่ยนเป็นทีวีสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ (ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ)

26.       ทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด

(1)ช่อง9           (2)ช่อง 11       (3) TPBS     (4) TITV

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

27.       ทีวีสาธารณะจัดตั้งขึ้นจากกฎหมายฉบับใด

(1)       พ.ร.บ. องค์การจัดสรรคลี่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543

(2)       พ.ร.บ. การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543

(3)       พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551

(4)       พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

28.       รัฐธรรมนูญๆ ฉบับปัจจุบันของประเทศไทย หมายถึงข้อใด  

(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540

(2)       รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2551    (3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550            (4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2549

ตอบ 3 รัฐธรรมนูญๆ ฉบับปัจจุบันของประเทศไทย คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกอบไปด้วย 309 มาตรา (ผ่านการออกเสียงลงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550)

29.       มาตราใดในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทย

(1)       มาตรา 40        (2) มาตรา 45  (3)       มาตรา 47        (4)       มาตรา 50

ตอบ 3 เจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญฯฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2550 มาตรา 47 ได้กำหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ทั้งนี้องค์กรอิสระที่จะมาทำหน้าที่ดังกล่าว ได้แก่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเรียกโดยย่อว่า กสทช.)

30.       จากข้อ 29. องค์กรอิสระที่จะมากำกับดูแลและจัดสรรการใช้คลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด

(1)       กกช.    (2) กสช.          (3)       กสทช. (4)       กทช.

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

31.       องค์กรอิสระที่จะมากำกับดูแลและจัดสรรการใช้คลื่นความถี่วิทยุในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมไทย ในรัฐธรรมนูญฯ ฉบับปัจจุบันมีกี่องค์กร

(1)       1 องค์กร          

(2) 2 องค์กร    

(3)       3 องค์กร          

(4)       4 องค์กร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ

32.       โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีลักษณะอย่างไร

(1)       ถูกควบคุมโดยรัฐ และควบคุมกันเอง  

(2) ถูกควบคุมโดยรัฐ และผลประโยชน์ทางธุรกิจ

(3)       ถูกควบคุมโดยรัฐ และบุคคลภายนอก           

(4) ถูกควบคุมโดยรัฐ ควบคุมกับเอง และบุคคลภายนอก

ตอบ 4 หน้า 125 – 127 โครงสร้างการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1.         การควบคุมโดยรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กสทช การออกกฎหมายที่ บังคับใช้โดยตรงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ที่ออกมาในรูปของ หนังสือเวียนและคำสั่งอื่น ๆ ฯลฯ

2. การควบคุมกันเอง เช่น มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ ของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ

3. การควบคุมจาก บุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม/ผู้ฟังผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

33.       ข้อใดหมายถึงสื่อทางเลือกของประชาชน

(1)       สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9       

(2) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

(3) สถานีวิทยุชุมชน    

(4) สถานีวิทยุกระจายเสียง อ.ส.ม.ท.

ตอบ 3 สื่อทางเลือก หรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสารให้แก่ประชาชนหลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับรู้ข่าวสารที่แตกต่างไปจากสื่อกระแสหลัก ซึ่งมักถูกกำหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน ตัวอย่างสื่อทางเลือกของ ประชาชน เช่น สถานีวิทยุชุมชน สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี ฯลฯ

34.       ระบบการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยในปัจจุบันใช้ระบบอะไร

(1) ระบบขาวดำ 525 เส้น       (2) ระบบ SECAM 525 เส้น

(3) ระบบ PAL 625 เส้น        (4) ระบบ CCIR 625 เส้น

ตุอบ 3 หน้า 4371 ระบบการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศในไทยในระยะเริ่มแรกนั้นจะใช้ระบบ ขาวดำ 525 เส้น เรียกว่า ระบบ EIA แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยก็ได้ เปลี่ยนมาใช้ระบบสี คือ ระบบ PAL สัญญาณภาพ 625 เส้น (25 ภาพต่อวินาที)

35.       บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ

(1)       สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต        (2) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

(3) พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร (4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ3 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งนรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า พีเจ” ซึ่งยอมาจากคำว่า ‘‘บูรฉัตรไชยากร

36.       บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก คือ     

(1) เฮนริชส์ เฮิรตซ์

(2)       กูกลิเอลโม มารโคนี    (3) ลี เดอ ฟอเรสต์       (4) เรจินัลค์ เอ. เฟสเสนเดน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

37.       โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใด

(1) พ.ศ. 2498 (2) พ.ศ. 2500 (3) พ.ศ. 2511 (4) พ.ศ. 2520

ตอบ 3 หน้า 152 – 153 โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งเกิดจากความคิดว่าควรรวมตัวกันขึ้นเพื่อปรึกษาหารือและจัดการดำเนินการ ในด้านต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดประโยชน์แก่โทรทัศน์ทุกช่อง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.         ร่วมมือในการถ่ายทอดและรับการถ่ายทอดทั้งในประเทศและนอกประเทศ สำหรับรายการ ที่สำคัญ ๆ ระดับชาติหรือระหว่างประเทศ

2.         เป็นผู้ประสาบงานในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ในการถ่ายทอดตามข้อ 1.

3.         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในระหว่างโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยมีหลักการที่จะไม่แย่งชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

4.         ร่วมมือกันสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง ฯลฯ

38.       จุดเริ่มต้นของสถานีโทรทัศน์ไอทีวี (ทีวีเสรี) เกิดจากเหตุผลอะไร

(1)       เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535

(2)       รัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการเป็ดเสรีด้านสิทธิการรับรู้ข่าวสาร

(3)       สำนักงานปลัดสำนันายกรัฐมนตรีต้องการมีสถานีโทรทัศน์อยู่ในสังกัด

(4)       การเรียกร้องของนักวิชาการต้องการมีสถานีโทรทัศน์เพิ่มขึ้น

ตอบ 1 หน้า 51 จุดเริ่มต้นของการกำเนิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี (ทีวีเสรี) นั้น เกิดขึ้นเนื่องมาจาก เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535” ทั้งนี้เพราะสอมวลชนทั้งวิทยุและโทรทัศน์ในขณะนั้น ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐในการทำหน้าที่เป็นปากเสียงให้แกคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งขาติ (รสช.) โดยมิได้เสนอข่าวสารตามที่เกิดขึ้นจริง

39.       กรก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกชองไทยนั้นดำเนินการในลักษณะใด

(1)       ตั้งเป็นหน่วยงานราชการ         (2) ตั้งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

(3)       ตั้งเป็นบริษัทจำกัด      (4) ตั้งเป็นสำนักงานโฆษณาการ

ตอบ 3 หน้า 40 – 41 การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย เกิดจากความคิดริเริ่ม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมือ พ.ศ. 2495 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9) แต่ถูก สภาผู้แทนราษฎรและหนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน 

จึงทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่จะดำเนินการเอง มาเป็นการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด (บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด) เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง (ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ)

40.       การก่อตั้งกิจการวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกของไทยนั้นดำเนินการในลักษณะใด

(1)       อยู่ภายใต้การดูแลของกรมไปรษณีย์โทรเลข

(2)       อยู่ภายใต้การดูแลของกรมประชาสัมพันธ์

(3)       อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

(4)       อยู่ภายใต้การดูแลของกรมการทหารสื่อสาร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 8. ประกอบ

41.       การจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นผลมาจากข้อใด

(1)       ต้องการปรับโครงสร้างกิจการวิทยุและโทรทัศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(2)       ผลมาจากการปฏิรูปกฎหมายที่ใช้บังคับกิจการวิทยุและโทรทัศน์ จึงต้องตั้งองค์กรใหม่มารองรับ

(3)       ผลมาจากการดำเนินการของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขาดทุน

(4)       ผลทางการเมืองเพื่อจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนระดับชาติขึ้น

ตอบ 4 หน้า 4548, (คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2520 รัฐบาลได้จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) ขึ้นแทนบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ที่ถูกยุบเลิกกิจการไป ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเมือง ที่ต้องการจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนระดับชาติขึ้น เพื่อให้การจัดกิจการสื่อสารมวลชนของ รัฐบาลคล่องตัว มีประสิทธิภาพ ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นที่น่าเชื่อถือแก่สาธารณชน

42.       สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลก ตั้งขึ้นที่ประเทศใด

(1)       รัสเซีย  

(2) เยอรมนี      

(3) อังกฤษ      

(4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

43.       แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ที่เป็นระบบผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ

(1)       Mixed System (2) state System

(3) Free Market System    (4) Public Service System

ตอบ 4 หน้า 111-112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ

1.         รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูล และรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ

2.         รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ

3.         เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐ หรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคู่แข่งเพียง 1-2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผลิตรายการเอง) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

 44.      ประเทศที่เป็นแม่นแบบของแนวคิด Free Market System คือ

(1) ญี่ปุ่น         (2) รัสเซีย        (3) อังกฤษ      (4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 111 – 113 ประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นแม่แบบของแนวคิด Free Market System (แนวคิดสื่อสารในตลาดเสรี) หรือระบบที่ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ คือ ดำเนินการในรูปตลาดเสรี ที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Competition) โดยมีความเชื่อว่าถ้าเป็นตลาดที่ สมบูรณ์แล้วจะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

45.       แนวคิดที่เป็นระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรีที่กำลังขยายตัวไปทั่วโลก คือ

(1) Public Service System (2) Free Market System

(3) Mixed System      (4) Dual System

ตอบ 3 หน้า 111113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กำลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทำให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดลื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดสื่อสารในตลาดเสรีขยายตัวไปทั่วโลก

46.       ระบบนี้มีความเชื่อว่ากิจการวิทยุและโทรทัศน์ รัฐต้องเข้ามามีความรับผิดชอบในการให้ข้อมูลข่าวสาร และรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ หมายถึงข้อใด

(1) Free Market System    (2) Public Service System

(3) Mixed System      (4) Dual System

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 43. ประกอบ

47.       พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงในโลกถือว่าประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียง

(1) รัสเซีย        (2) อังกฤษ      (3) สหรัฐอเมริกา         (4) ญี่ปุ่น

ตอบ 3 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่า เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก ๆ คือ สถานี KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1917), WWJ (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค.ศ. 1920)

ข้อ 48. – 51. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) VOA      (2) BBC      (3) NHK     (4) FCC

48.       คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 24114168 คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการ วิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

49.       บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ

ตอบ 2 หน้า 161 – 162169 บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์อังกฤษ (British Broadcasting Corporation : BBC) มีฐานะเป็นบรรษัทสาธารณะที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล โดยเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้มีเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์จากประชาชนมาเป็นค่าใช้จ่ายของบรรษัท

50.       สถานีวิทยุภคภาษาต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

ตอบ 1 หน้า 159          160, (คำบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือสถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศที่ กระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นทีจังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

51.       บรรษัทการกระจายเสียงของญี่ป่น

ตอบ 3 หน้า 165 – 166 บรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น (Nippon Hoso Kyokai : NHK)เป็นองค์การกระจายเสียงแห่งชาติที่ทำการกระจายเสียงเพื่อสาธารณะ โดยไม่แสวงหากำไร และมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับวิทยุและโทรทัคน์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับBBC ของอังกฤษ

52.       ข้อใดคือการกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่น

(1)       TBS  

(2) NHK     

(3) NCB      

(4) Radio Japan

ตอบ 4 หน้า 167 . Radio Japan เป็นบริการกระจายเสียงภาคต่างประเทศของญี่ปุ่นที่ส่งกระจายเสียง ด้วยระบบคลื่นสั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข่าวสารและความบันเทิงแก่ชาวญี่ปุ่นภาคโพ้นทะเล รวมทั้งให้ผู้ฟังชาวต่างประเทศได้รู้จักประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงและส่งเสริม ความตั้งใจดีระหว่างประเทศ

53.       ประเทศใดต่อไปนี้ที่มีกิจการวิทยุและโทรทัศน์เป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation)

(1) สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ (2) อังกฤษ และญี่ปุ่น

(3) ไทย และสหรัฐอเมริกา       (4) สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ตอบ 2 หน้า 113165 – 166169172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ

1.         ระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) ได้แก่ BBC ของอังกฤษ และ NHK ของญี่ปุ่น

2.         ระบบธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

54.       ประเทศใดที่ถือว่ากิจการวิทยุและโทรทัศน์ดำเนินการโดยระบบเอกชนทั้งหมด

(1) อังกฤษ      (2) ญี่ปุ่น         (3) สหรัฐอเมริกา         (4) ไทย

ตอบ 3 หน้า 167, (คำบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ว่า จะจัดตั้งขึ้นเพื่อการค้า เพื่อการศึกษา หรือเพื่อสาธารณะ ก็ให้ถือว่าเป็นกิจการของเอกชน และดำเนินงานโดยเอกชน (Private Ownership and Operation) ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะมิได้ มีการจัดสรรคลื่นเอาไว้ให้แต่หน่วยราชการ ดังนั้นเอกชน นิติบุคคล องค์กรสาธารณะต่าง ๆ ก็มีสิทธิจัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์ได้ (ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ)

55.       ประเทศใดต่อไปนี้ที่กิจการวิทยุและโทรทัศน์มีสิทธิเสรีภาพมากที่สุด โดยถูกรับรองไว้ในกฎหมาย รัฐธรรมนูญที่จะไม่ออกกฎหมายใด ๆ มาลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน

(1) ฝรั่งเศส      (2) สวิตเซอร์แลนด์      (3) อังกฤษ      (4) สหรัฐอเมริกา

ตอบ 4 หน้า 160-161 ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกาจะมีรูปแบบตามแนวคิดทฤษฎีสื่อสารมวลชนกับความ รับผิดชอบของสังคม ทำให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยเสรีภาพในการรายงานและรับรู้ข่าวสารจะได้รับการรับรองไว้ในกฎหมายรัฐ ธรรมนูญของประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า รัฐสภาจะไม่ออกกฎหมายที่มาบั่นทอนเสรีภาพของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะต้องเคารพสิทธิของบุคคลอื่นด้วย

56.       ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการจัดองค์กรของสถานีโทรทัศน์ในส่วนกลาง

(1)       สถานีโทรทัศน์ในส่วนกลางจะมีขนาดใหญ่ มีกำลังเครื่องส่งสูง และมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สมบูรณ์กว่าสถานีโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค

(2)       สถานีโทรทัศน์ในส่วนกลางมีลักษณะการดำเนินงานที่แตกต่างกันกับสถานีโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค ทั้งจำนวนบุคลากร ขนาดของเครื่องส่ง และการผลิตรายการ

(3)       สถานีโทรทัศน์ในส่วนกลางจะมีสถานีโทรทัศน์แม่ข่ายในส่วนภูมิภาคที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณ ไปทั่วประเทศ

(4)       สถานีโทรทัศน์ในส่วนกลางจะมีระบบการบริหารงานในรูปของบริษัทจำกัด

ตอบ 1 หน้า 139 สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางจะมีขนาดใหญ่ มีกำลังเครื่องส่งสูง และมีเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น รถเคลื่อนที่สำหรับงานถ่ายทอดนอกสถานที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ส่วนการแบ่งสายงานบริหารในองค์การของ สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคและส่วนกลางจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

57.       สื่อที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหรือพลังต่อรองทางการเมืองเมื่อเกิดวิกฤตการณ์สำคัญในสังคมไทย คือ

(1) ใบปลิว       (2) โทรสาร (Fax)     (3) วิทยุและโทรทัศน์   (4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 3 หน้า 35, (คำบรรยาย) สื่อวิทยุและโทรทัศน์มักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นพลังต่อรอง ทางการเมือง เมื่อเกิดวิกฤตการณ์สำคัญในสังคมไทย (เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ฯลฯ) ทั้งนี้เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว น่าเชื่อถือ และสามารถเข้าถึงประชาชนได้กว้างขวาง (ดูคำอธิบายข้อ 38. ประกอบ)

58.       สถานีโทรทัศน์ที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือ

(1)ช่อง3,ช่อง7           

(2)ช่อง5,ช่อง 11        

(3)ช่อง3,ช่อง9           

(4)ช่อง5,ช่อง7

ตอบ 3 หน้า 137 – 138 ลักษณะโครงสร้างระบบวิทยุโทรทัศน์ไทยในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

1.         ฝ่ายพลเรือน จะอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สถานีโทรทัศน์ในสังกัดของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ไอทีวี (TPBS หรือทีวีไทยในปัจจุบัน),กรมประชาสัมพันธ์ได้แก่ ช่อง 11 (NBT หรือ สทท.ในปัจจุบัน) และสถานีโทรทัศน์ ในส่วนภูมิภาคทั้งหมดอ.ส.ม.ท. ได้แก่ ช่อง 3 และช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์ทีวี)

2.         ฝ่ายทหาร จะอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม คือ สถานีโทรทัศน์เฉพาะของกองทัพบกเท่านั้น ได้แก่ ช่อง 5 และช่อง 7

59.       สถานีโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายในส่วนภูมิภาค หมายถึงข้อใด

(1) สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3        (2) สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

(3) สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7  (4) สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค

 ตอบ 4 หน้า 48 – 49149 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค

เป็นความคิดริเริ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยท่านเล็งเห็นว่า วิทยุโทรทัศน์มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ จึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคขึ้น โดยให้ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่าย ในส่วนภูมิภาคทั้งหมด

60.       Independent Broadcasting Authority (IBA) หมายถึงข้อ

(1)       องค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา

(2)       องค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงของอังกฤษ

(3)       องค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา

(4)       องค์กรที่ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของเอกชนในประเทศอังกฤษ

ตอบ 4 หน้า 163169 ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งองค์กรที่เรียกว่าIndependent Television Authority (ITA) เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อการค้า แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Independent Broadcasting Authority (IBA) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรควบคุมดูแลกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ของเอกชนในประเทศอังฤษ

61.       BBC ภาคภาษาต่างประเทศในระยะแรกมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งอย่างไร

(1)       เพื่อให้บริการข้อมูลและข่าวสารแก่ประชาคมโลก

(2)       เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก

(3)       เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมและความเข้าใจอันดีกับประชาคมโลก

(4)       เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้ภาษาอังกฤษแก่ประชาคมโลก

ตอบ 2 หน้า 164 การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของอังกฤษ คือ สถานีวิทยุบีบีซีภาคภาษาต่างประเทศ (BBC External Broadcasting Service) ซึ่งเริ่มส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นไปยังต่างประเทศครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) เรียกว่า Empire Service ทั้งนี้เพราะในช่วง ระยะ 6 ปีแรกได้จัดรายการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเทศในอาณานิคมของตนเองทั่วโลก

62.       ระบบสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกามีรูปแบบตามแนวคิดใด

(1) ทฤษฎีเสรีนิยม       

(2) ทฤษฎีพหุสังคมนิยม

(3) ทฤษฎีความรับผิดชอบของสังคม  

(4) ทฤษฎีกระแสเสรีของข้อมูลข่าวสาร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 55. ประกอบ

63.       องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก หมายถึงข้อใด

(1) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU)      

(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป (EBU)

(3) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (ABU) 

(4) สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ (IBU)

ตอบ 1 หน้า 58115124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International

Telecommunication Union : ITU) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทาง รัฐบาลของแต่ละประเทศ

64.       ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ทั่วประเทศกี่สถานี

(1)       252 สถานี       (2) 452 สถานี (3) 525 สถานี (4) 625 สถานี

ตอบ. 3 หน้า 39130 – 131 ในปัจจุบันสถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ทั่วประเทศไทย (กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด) ที่มีการจดทะเบียนไว้มีจำนวน 525 สถานี เป็นสถานีวิทยุที่อยู่ใน สังกัดของกระทรวงกลาโหมมากที่สุด คือ 202 สถานี สำหรับหน่วยงานราชการที่เป็นเจ้าของ กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์มี 147 สถานี รองลงมา คือ กองทัพบกมี 128 สถานี และ อ.ส.ม.ท. มี 62 สถานี

65.       ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีโทรทัศน์ระดับชาติกี่สถานี

(1)       4 สถานี           (2) 5 สถานี      (3) 6 สถานี      (4) 7 สถานี

ตอบ 3 หน้า 136, (คำบรรยาย) ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติ ซึ่งแพร่ภาพ ออกอากาศได้ทั่วประเทศโดยไม่คิดค่าบริการหรือเรียกว่า ฟรีทีวี” จำนวน6สถานีได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3ช่อง 5ช่อง 7ช่อง 9 (โมเดิร์นไนน์ทีวี)ช่อง 11 (NBT หรือ สทท.) และช่อง TPBS หรือทีวีไทย

66.       ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

(1)       แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในระหว่างโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยมีหลักการที่จะไม่แย่งชิงผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

(2)       ร่วมมือในการถ่ายทอดและรับการถ่ายทอดทั้งในประเทศและจากภายนอกประเทศ สำหรับรายการที่ สำคัญ ๆ ระดับชาติหรือระหว่างประเทศ

(3)       เป็นผู้ประสานงานในการตกลงค่าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับรายการที่สำคัญ ๆ ถ่ายทอดระดับชาติหรือ ระหว่างประเทศ

(4)       ร่วมมือกันสร้างสรรค์กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสังคมต่าง ๆ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 37. ประกอบ

67.       ข้อไดไม่ใช่สถานีโทรทัศน์ที่เป็นแม่ข่าย

(1)       เสนอรายการในลักษณะให้ความบันเทิง ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และค่านิยมที่สังคมต้องการ

(2)       ควบคุมดูแลการบริหารงานด้านการผลิตรายการ งานธุรการ และงานด้านเทคนิคให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

(3)       สถานีจะไม่ผลิตรายการเอง จะถ่ายทอดรายการจากสถานีโทรทัศน์อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

(4)       รับผิดชอบในการจัดหาโฆษณา ทำสัญญาเช่าเวลา และติดตามงานโฆษณา

ตอบ 3 หน้า 151 – 152 สถานีโทรทัศน์ที่เป็นแม่ข่ายจะทำหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้

1.         ควบคุมดูแลการบริหารงานด้านการผลิตรายการ งานธุรการ และงานด้านเทคนิคให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.         รับผิดชอบในการจัดหาโฆษณา ทำสัญญาเช่าเวลา และติดตามงานโฆษณา

3.         เสนอรายการในลักษณะให้ความบันเทิง ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ปลูกฝังศีลธรรม และค่านิยม ที่สังคมไทยต้องการ

4.         ให้บริการและความร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ

(ส่วนตัวเลือกข้อ 3 เป็นสถานีเครื่องส่งหรือสถานีถ่ายทอด)

68.       การควบคุมของรัฐในกิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทย หมายถึงข้อใด

(1)       การจัดตั้งเป็นสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักข่าวสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

(2)       จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิขาชีพสื่อสารมวลชน

(3)       การตั้งแผนกเซ็นเซอร์ภายในสถานีวิทยุและโทรทัศน์

(4)       การออกหนังสือเวียนและคำสั่งอื่น ๆ ให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์นำไปปฏิบัติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

69.       จากแนวความคิดหน้าที่ของสื่อมวลชนของเดนีส แมคเควล (Denis McQuail) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate) หมายถึงใคร

(1) นักสื่อสารมวลชน   (2) นักประชาสัมพันธ์  (3) สื่อมวลชน  (4) มวลชนผู้รับสาร

ตอบ 2 หน้า 95 – 96 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของ สื่อมวลชน โดยพิจารณาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชนทำอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทำหน้าที่อะไรให้แก่ตนและสังคม ซึ่งหน้าที่ของสื่อมวลชนตามความคิดของฝ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่   1. สังคม (Society)

2.         ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate) ได้แก่ นักโฆษณา นักรณรงค์ นักประชาสัมพันธ์ นักสื่อสารการเมืองและธุรกิจ ฯลฯ

3.         สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media or Mass Communicators)

4.         มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

70.       หน้าที่ของสื่อมวลชนวิทยุและโทรทัศน์ตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร หมายถึงข้อใด

(1)       หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล (Personal Identity)

(2)       หน้าที่ในการแสดงออก (Expression)

(3)       หน้าที่ในการระดมความร่วมมือ (Mobilization)

(4)       หน้าที่ในการสร้างความต่อเนื่อง (Continuity)

ตอบ 1 หน้า 99 หน้าที่ของสื่อมวลชนตามแนวความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้ 1. หน้าที่ในการ ให้ข่าวสาร (Information) 2. หน้าที่ในการสร้างเอกลักษณ์ของบุคคล (Personal Identity)

3.         หน้าที่ในการสร้างความเป็นอันหนึ่งกันเดียวกัน (Integration) และการมีกิริยาสัมพันธ์ ทางสังคม (Social Interaction) 4. หน้าที่ด้านความบันเทิง (Entertainment)

71.       ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาทางด้านการเมือง หมายถึงข้อใด

(1)       การให้’ “ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบาย แผน และแนวทางการปฏิบัติภารกิจของรัฐบาล

(2)       การให้ ข่าวสารในสังคมสมัยใหม่ช่วยสร้างบุคลิกภาพใหม่แก่ประชาชน

(3)       การให้ ข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิค” (Scientific and Technical Information)

(4)       การไห้ข่าวสารเพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและกิจกรรมขององค์การ

ตอบ 1 หน้า 10 ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนา ทางการเมือง คือ การเป็นสื่อกลางในการประสานความคิด สร้างความศรัทธาเชื่อถือ และสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นแก่ ประชาชนในชาติ ซึ่งรัฐบาลทุกประเทศจำเป็นต้องใช้สื่อมวลชนโดยเฉพาะวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ เพื่อเผยแพร่กระจายข่าวและความเคลื่อนไหวออกไปให้ประชาชนได้ทราบ เช่น การให้ข่าวสารเกี่ยวกับนโยบาย แผน และแนวทางการปฏิบัติภารกิจของรัฐบาล เป็นต้น

72.       วันอำลากิจการโทรเลขไทย หมายถึงข้อใด

(1)       25 กุมภาพันธ์ 2551 

(2) 30 เมษายน 2551    

(3) 24 มิถุนายน 2550            

(4) 19 กันยายน 2550

ตอบ 2 (ข่าว) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยได้นำโทรเลขเข้ามาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2418 แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การใช้บริการโทรเลขลดน้อยลง จนต้องยุติการให้บริการลงเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551 ซึ่งถือเป็นวันอำลากิจการโทรเลขไทย ที่ให้บริการมาเป็นเวลา 133 ปี

73.       แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยพิจารณาจากข้อใด  

(1) สังคม มวลชนผู้รับสาร

(2)       สังคม สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร      

(3) ผู้ส่งสาร สังคม สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร

(4)       สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสาร สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

74.       จากแนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) “The Advocate” หมายถึงใคร

(1) นักสื่อสารมวลชน   (2) สื่อมวลชน  (3) นักสื่อสารการเมือง            (4) มวลชนผู้รับสาร

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 69. ประกอบ

ข้อ 75. – 80. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม

(3)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(4)       แนวคิดของนอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann)

75.       สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ทุกที่

ตอบ 4 หน้า 103 แนวคิดของนอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann) นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ให้ความเห็นว่า สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่

76.       กระบวบการเลือกรับสาร (Selective Process)

ตอบ 2 หน้า 106 – 108 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม ต่อผู้รับสาร จะอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ดังนี้ 1. ความมีใจโน้มเอียงที่จะเชื่อของผู้รับสาร (Predisposition) 2. กระบวนการเลือกรับสาร (Selective Process)

3.         อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดเห็น (Personal Influence and Opinion Leader)

4.         ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร

77.       ความสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากและการเปิดรับสาร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

78.       มีผลต่อการชักจูงใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 18. ประกอบ

79.       อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดเห็น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

 80.      ความมีใจโน้มเอียงที่จะเชื่อของผู้รัสาร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 76. ประกอบ

81.       สถานวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด

(1)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550

(2)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551

(3)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540

(4)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

82.       เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด 

(1) การออกกำลังกาย

(2)       การสอนทำอาหารไทย            

(3) การบรรยายธรรม   

(4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 15. ประกอบ

83.       วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็น ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคมเป็นแนวคิดของใคร

(1) นอยล์ นิวแมน        

(2) แคลปเปอร์            

(3) พอล ลาซาร์สเฟลด์            

(4) เอมิล เดอร์คิม

ตอบ 4 หน้า 104 นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชนหลายคน ได้แก่ ออกูส กงเต้ (Auguste Comte). เฟอร์ดินันท์ ทูนนี่ (Ferdinand Tonnise) และเอมิล เดอร์คิม (Emile Durkheim) มีความเห็นว่า วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคน ในสังคมเกือบทั้งหมด

84.       อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร

(1) วิลเบอร์ แชรมม์      (2) พอล ลาซาร์สเฟลด์

(3)       ออกูส กงเต้ เฟอร์ดินันท์         (4) นักทฤษฎีสังคมมวลชน

ตอบ 2 หน้า 107 พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) เป็นนักวิชาการที่ชี้ให้เห็นถึงแนวคิดการไหลของข่าวสาร 2 ระดับ (Two-step Flow) และพบว่าอิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นำความคิด (Opinion Leader) หรือคนใกล้ตัว เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนมากกว่าสื่อมวลชน

85.       ผู้รับสารมีความฉลาดและมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ตามแนวคิดนี้ตรงกับข้อใด

(1)       วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง

(3)       วิทยุและโทรทัศน์ทำให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อทุกคนในลักษณะคล้ายคลึงกัน

(4)       วิทยุและโทรทัศน์จะสนับสนุนทัศนคติ ค่านิยม และแนวโน้มด้านพฤติกรรมของประชาชนให้มีความเข้มแข็งขึ้น

ตอบ 2 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า วิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพล ต่อผู้รับสารโดยตรง เนื่องจากผู้รับสารมีความฉลาดและมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับ ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ซึ่งผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ไม่ใช่สื่อ มีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคลมากมาย

86.       ปัจจัยเสริมที่ทำให้วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม หมายถึงข้อใด

(1)       ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจำเป็นต้องพึ่งพามาก

(2)       การสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก

(3)       การนำเสนอเรื่องราว กิจกรรม ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ

(4)       ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 76. บ่ระกอบ

87.       กสทช. หมายถึงอะไร

(1)       คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(2)       คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(3)       คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(4)       คณะกรรมการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 29. บ่ระกอบ

88.       สถานโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีรายได้ในการดำเนินกิจการจากข้อใด

(1) ค่าเช่าเวลาโฆษณาจากเจ้าของสินค้า       (2) ภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดิน

(3)       ค่าเช่าเวลาจากบริษัทผู้ผลิตรายการ   (4) ภาษีค่าธรรมเนียมเครื่องรับโทรทัศน์

ตอบ2 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 ได้กำหนดให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (TPBS) หรือทีวีไทย มีรายได้ในการดำเนินกิจการ โดยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากงบประมาณแผ่นดินในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีที่เก็บ จากสุราและยาสูบ โดยให้มีรายได้สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 2,000 ล้านบาท จึงถือเป็น การจัดเก็บภาษีจากกลุ่มผู้ที่จำหน่ายสุราและยาสูบมาเป็นเงินบำรุงองค์การ ซึ่งเป็นมาตรการใหม่ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

89.       รัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรกที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ์ คือข้อใด

(1) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2535            (2) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540

(3) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2545            (4) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550

ตอบ 2 หน้า 120, (คำบรรยาย) รัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฯ ฉบับแรก ที่ริเริ่มแนวคิดการปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยในระบบโครงสร้างกรรมสิทธิ คือ วิทยุและ โทรทัศน์ไทยไม่จำเป็นต้องเป็นของรัฐทั้งหมด แต่จะเปิดให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งเจตนารมณ์ในการปฏิรูปสื่อนี้ก็ยังใช้ต่อมาในรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 มาตรา 47 (ดูคำอธิบายข้อ 29. ประกอบ)

90.       แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยในรัฐธรรมนูญฯ ปัจจุบัน หมายถึงข้อใด

(1) State System         (2) Free Market System

(3) Public Service System (4) Mixed System

ตอบ 4 หน้า 111113, (คำบรรยาย) แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญฯ ปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน คือ แนวคิดผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดสื่อสาร เพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวคิดสื่อสารในตลาดเสรี เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

91.       กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ใช้ในปัจจุบัน หมายถึงข้อใด

(1)       พ.ร.บ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ค. 2530

(2)       พ.ร.บ. องศ์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2543

(3)       พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

(4)       พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

ตอบ 3 (คำบรรยาย) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ที่ออกมาฉบับล่าสุดและบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลีนความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

92.       ฟรีทีวี” ในกิจการโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด

(1) Astv      

(2) TGN      

(3) TNN     

(4) NBT

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 65. ประกอบ

93.       องค์กรแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ทยคือข้อใด

(1) กกช.          

(2) กบว.          

(3) กทช.          

(4) กสทช.

ตอบ 2 หน้า 118 – 121, (คำบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลไทย ได้ออกระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และมีการจัดตั้ง คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์” (กบว.) ขึ้นเป็นองค์กรแรก เพื่อควบคุมและกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ต่อมาองศ์กรนี้ก็ได้ถูกยุบเลิกไป และเกิดองค์กรอิสระต่าง ๆ ขึ้นมาดามลำดับ ได้แก่ กกช. กทช. กสช. และ กสทช. ในปัจจุบัน

94.       เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยได้ออกประกาศ คำแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐ ที่มีอำนาจในขณะนั้น สื่อได้ทำบทบาทนี้เพื่ออะไร

(1) เพื่อผลประโยชน์สาธารณะ           (2) เพื่อผลประโยชน์ของรัฐ

(3) เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน     (4) เพื่อผลประโยชน์ขององค์กรสื่อ

ตอบ 2 เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยมักถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนำเสนอประกาศ และคำแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้กับรัฐที่มีอำนาจในขณะนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่บ้านเมือง กลับเข้าสู่ภาวะปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ ทางด้านธุรกิจมากที่สุด

95.       สื่อใดต่อไปนี้ที่มีผลต่อการครอบงำอุดมการณ์ความคิดของผู้คนในสังคมไทยมากที่สุด

(1) หนังสือพิมพ์           (2) วิทยุกระจายเสียง  (3) วิทยุโทรทัศน์          (4) อินเทอร์เน็ต

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

96.       การนำเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสำนักข่าวยักษ์ใหญ่ของโลก ตรงกับ ผลกระทบข้อใด

(1) การไหลของข้อมูลข่าวสารทางเดียว          (2) การไหลของข้อมูลข่าวสารสองทาง

(3) การสื่อสารไร้พรมแดน        (4) การสื่อสารเพื่อการพัฒนา

ตอบ3 (คำบรรยาย) การสื่อสารไร้พรมแดน (Globalization) มี ผลกระทบในด้านลบประการหนึ่ง คือ การสื่อสารไร้พรมแดนจะทำให้ประเทศด้อยพัฒนาสูญเสียเอกราชทางวัฒนธรรมของตน เอง หรือเกิดจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม ทำให้ประเทศอภิมหาอำนาจโลกกลายเป็นศูนย์กลาง ในการไหลของข้อมูลข่าวสารที่สามารถครอบงำอุดมการณ์ความคิดของคนทั้งโลกได้ เช่น การนำเสนอข่าวต่างประเทศของโทรทัศน์ไทยที่ต้องใช้ข่าวของสำนักข่าวยักษ์ใหญ่ ของโลก เป็นต้น

97.       การควบคุมภายนอกของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด

(1) กลุ่มผลักดันทางสังคม      (2) กฎหมายทางอ้อม

(3) กฎหมายวิทยุและโทรทัศน์            (4) สมาคมวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 32. ประกอบ

98.       สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ดำเนินงานโดยหน่วยงานใด

(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย    (2) บริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน)

(3) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี          (4) กรมประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

99.       สถานีโทรทัศน์ใดที่ได้รับสัมปทานในการดำเนินงานจากรัฐ

(1) โมเดิร์นไนน์ทีวี       (2) ช่อง 7         (3) NBT      (4) ช่อง 5

ตอบ2 หน้า 47 – 48136 ลักษณะการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยที่รัฐเป็นเจ้าของแต่ทำ สัญญาให้สัมปทานแก่เอกชนเช่าช่วง โดยมอบผลประโยชน์ที่แน่นอนจำนวนหนึ่งให้แก่รัฐ ได้แก่

1.         สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด ได้รับสัมปทานในการดำเนินกิจการจากรัฐ

2.         สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานในการดำเนินกิจการจากรัฐ

100.    สถานีโทรทัศน์ระดับชาติของไทย ส่วนใหญ่ใช้สัญญาณในการแพร่ภาพระบบใด

(1) VHF       (2) UHF       (3) SHF      (4) DTH

ตอบ 1 หน้า 7282, (คำบรรยาย) เทคโนโลยีการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติของไทยในปัจจุบันมี 2 ระบบ ดังนี้

1.         VHF หริอย่านความถี่สูงมาก คือ 30- 300 เมกะเฮิรตซ์ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยส่วนใหญ่ จะใช้ระบบนี้ได้แก่ช่อง 57,9(โมเดิร์นไนน์ทีวี)และ 11 (NBT หรือสทท.ในปัจจุบัน)

2.         UHF หรือย่านความถี่เหนือสูง คือ 300 – 3,000 เมกะเฮิรตซ์ โดยมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทย ใช้ระบบนี้เพียง 2 สถานีเท่านั้น ได้แก่ ช่อง 3 และ TPBS (ทีวีไทย หรือทีวีสาธารณะ)

Advertisement