การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS1400 (MCS1450) การกระจายเสียงเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ตอนที่ 1

1.         การกระจายเสียง ในภาษาไทยมีความหมายว่าอย่างไร

(1)       การกระจายเสียงและการแพร่ภาพ     

(2) การออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์

(3) การออกอากาศรายการวิทยุกระจายเสียง 

(4) การออกอากาศรายการผ่านดาวเทียม

ตอบ 3 หน้า 1 ในภาษาไทยได้แบ่งความหมายของคำว่า การกระจายเสียง” และ การแพร่ภาพ” เอาไว้ชัดเจนดังนี้

1.         การกระจายเสียง หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่ เริ่มมีวิทยุกระจายเสียงในปี พ.ศ. 2473

2.         การแพร่ภาพ หมายถึง การออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันมาตั้งแต่ เริ่มมีวิทยุโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2498

2.         สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีสัดส่วนในการนำเสนอรายการข่าวมากที่สุด

(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7       

(2) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส       

(4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT

ตอบ 4 (ความรู้ทั่วไป) สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนในการนำเสนอรายการข่าวมากที่สุดในปัจจุบันสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ 1. ช่อง ASTV 2. ช่อง Nation 3. ช่อง NBT (ปัจจุบันคือ สทท.) 4. ช่องไทยพีบีเอส (ปัจจุบันคือ ทีวีไทย) 5. ช่อง 3            6. ช่อง 7   7. ช่อง 5   8. ช่อง 9  (ปัจจุบันคือ โมเดิร์นไนน์ทีวี)

3.         การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกของไทยนั้นดำเนินการในรูปแบบใด

(1) จัดตั้งเป็นบริษัทจำกัด        

(2) จัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ

(3) จัดตั้งเป็นหน่วยงานราชการ          

(4) จัดตั้งเป็นระบบสัมปท

ตอบ 1 หน้า 40 – 4ใ การก่อตั้งกิจการวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศไทย เกิดจากความคิดริเริ่ม ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2495 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 9) แต่ถูก สภาผู้แทนราษฎรและหนังสือพิมพ์โจมตีคัดค้านอย่างมากว่าสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน จึงทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแผนการจากเดิมที่จะดำเนินการเอง มาเป็นการจัดตั้งบริษัทจำกัด (บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด) เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

4.         ผู้กล่าวข้อความออกอากาศครั้งแรกในพิธีเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยคือ

(1) จอมพล ป. พิบูลสงคราม   (2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(3) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (4) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 4 หน้า 34 การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยทางราชการได้ทำพิธีเปิดสถานีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล โดยในพิธีเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, (ร. 7) มาออกอากาศเป็นครั้งแรก

5.         การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ได้รับเงินงบประมาณในการจัดตั้งอย่างไร

(1)       งบประมาณแผ่นดิน

(2)       เงินบริจาคจากประชาชน

(3)       งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น

(4)       เงินบริจาคจากประชาชนและเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเบลเยียม

ตอบ 3 หน้า 50 ในระยะเริมแรกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 จัดตั้งขึ้นด้วยเงินงบประมาณแผ่นดิน (เงินรายได้ของกรมประชาสัมพันธ์) ประมาณ 8 ล้านบาท แต่ด้วย ข้อจำกัดด้านเทคนิคและความจำเป็นด้นงบประมาณรายได้ กรมประชาสัมพันธ์จึงได้จัดทำ โครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นก็ได้มีมติอนุมัติ โครงการช่วยเหลือแบบให้เปล่าในวงเงินประมาณ 330 ล้านบาทแก่รัฐบาลไทย

6.         ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทย หมายถึงข้อใด

(1) รัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด        (2) เอกชนเป็นเจ้าของทั้งหมด

(3) เป็นของรัฐและเอกชน        (4) เป็นของรัฐวิสาหกิจ

ตอบ 1 หน้า 130136 – 137 ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทยนั้น รัฐจะเป็นเจ้าของทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ

1.         รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบุคลากรของรัฐ โดยมีรายได้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน

2.         รัฐเป็นเจ้าของในฐานะผู้บริหารกิจการและเป็นผู้วางนโยบายหลัก แต่อนุญาตให้เอกชน เข้ามาดำเนินงานด้านรายการ และมีรายได้จากการโฆษณาสินค้าเป็นหลัก

3.         รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดำเนินการ และแสวงหารายได้ให้แกรัฐ

4.         รัฐหรือรัฐวิสาหกิจทำสัญญาให้สัมปทานแก่เอกชนเข้ามาดำเนินการเช่าช่วง โดยมอบผลประโยชน์ที่แน่นอนจำนวนหนึ่งให้กับรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ

7.         วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ หมายถึงข้อใด

(1)       สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส            (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาค

ตอบ 1 (ข่าว) ภายหลังจากที่ พ.ร.บ. องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551 ได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีสถานี วิทยุโทรทัศน์ระดับชาติในส่วนกลางที่มีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่ล่าสุด คือ ไทยพีบีเอส หรือทีวีไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ และถือเป็นทีวีสาธารณะแห่งแรก ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

8.         สถานีวิทยุโทรทัศน์ใดที่มีสัดส่วนในการนำเสนอรายการความรู้ การศึกษามากที่สุด

(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส       (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5          (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT

ตอบ 4 (ข่าว) สัดส่วนในการนำเสนอรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์ NBT (สทท. ในปัจจุบัน) คือ การศึกษาและสาระความรู้ 56.11%ข่าว 38.78%บันเทิง กีฬา และวัฒนธรรม 5.11%

ตั้งแต่ข้อ 9.-15. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร (2) หน้าที่ในการเสนอความคิดเห็น

(3) หน้าที่ในการให้การศึกษา  (4) หน้าที่ในการให้ความบันเทิง

9.         ทำให้หลีกหนีหรือปลีกตัวออกจากปัญหต่าง ๆ

ตอบ 4 หน้า 99 – 100 หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้

1.         ทำให้หลีกหนีหรือปลีกตัวลอกจากปัญหาต่าง ๆ         2. ทำให้ได้รับการพักผ่อนหย่อนใจ

3.         ทำให้ได้รับความสุขกับวัฒนธรรมและความสุนทรีย์    4. ช่วยในการฆ่าเวลา

5.         ทำให้ผ่อนคลายอารมณ์          6. ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ

10.       ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก ตอบ 1 หน้า 99 หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามความคิดของมวลชนผู้รับสาร มีดังนี้

1.         ค้นหาเหตุการณ์ต่าง ๆ และสถานการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว สังคม และโลก

2.         ให้คำแนะนำในการปฏิบัติ การแสดงความคิดเห็น และการตัดสินใจ

3.         สนองตอบความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจทั่วไป

4.         ให้การเรียนรู้และการศึกษาด้วยตนเอง

5.         ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย

11.       แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สำคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น

ตอบ 3 หน้า 9398 หน้าที่ในการให้การศึกษา ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการแสดงออกและความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมตามความคิดของสื่อมวลชน มีดังนี้

1.         แสดงและสะท้อนวัฒนธรรมและค่านิยมที่สำคัญ ๆ ในระดับชาติ ภูมิภาค หรือท้องถิ่น

2.         สนับสนุนวัฒนธรรมและค่านิยมของกลุ่มย่อยภายในสังคม

12.       ให้ข่าวสารเบื้องหลังและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์

ตอบ 2 หน้า 9298 หน้าที่ ในการเสนอความคิดเห็น ซึ่งตรงกับหน้าที่ในการตีความตามความคิด ของสื่อมวลชน มีดังนี้ 1. แสดงความคิดเห็น  2. ให้ข่าวสารเบื้องหลังและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ 3. เป็นผู้วิจารณ์หรือตรวจสอบผู้ที่อยู่ในอำนาจ 4. แสดงหรือสะท้อนประชามติ     5.เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

13.       แสดงหรือสะท้อนประชามติ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 12. ประกอบ

14.       ทำให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า

ตอบ. 4 หน้า 8894 – 95        หน้าที่ในการให้ความบันเทิงตามแนวคิดของไรท์ มีผลเสียดังนี้

1. ไมสามารถที่จะยกระดับรสนิยมของประชาชนได้เท่าละครเวทีและวรรณกรรมคลาสสิก

2.         ทำให้คุณภาพของศิลปะสูญเสียไป

3.         ทำให้นักกีฬากลายเป็นนักโฆษณาและนักขายสินค้า

4.         เป็นการทำลายนักกีฬาหน้าใหม่ในวงการกีฬา

15.       ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล เป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็นคนเด่นดังในสังคม

ตอบ1 หน้า 8991, (คำบรรยาย) หน้าที่ในการเสนอข่าวสารตามแนวคิดของไรท์ มีผลดีต่อบุคคลประการหนึ่งคือ สื่อมวลชนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเผยแพร่ชื่อเสียงของบุคคล ซึ่งเป็นการให้สถานภาพทางสังคม เพราะการที่สื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นการเพิ่มศักดิ์ศรี ชื่อเสียง และความเป็นคนเด่นดังในสังคมแกบุคคลนั้น

16.       บิดาของวิทยุกระจายเสียงไทย คือ

(1)       กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ 

(2) กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

(3) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต            

(4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 2 หน้า 33 – 34 บิดาของกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย คือ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บุกเบิก และริเริ่มให้มีการทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ สถานีวิทยุแห่งนี้ว่า พีเจ” ซึ่งย่อมาจากคำว่า บูรฉัตรไชยากร

17.       วิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงไทย เริ่มต้นครั้งแรกในรัชกาลใด

(1) ร. 4            (2) ร. 5            (3) ร. 6            (4) ร. 7

ตอบ 2 หน้า 32, (คำบรรยาย) วิวัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) เนื่องด้วยห้างปีกริมม์ซึ่งเป็นผู้แทนบริษัท วิทยุโทรเลข เทเลฟุงเก็น” ของเยอรมัน ได้เป็นผู้นำวิทยุโทรเลขมาสาธิตในประเทศไทยเป็น ครั้งแรก โดยได้แจ้งและขออนุญาตต่อกระทรวงโยธาธิการเพื่อทดลองจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลข ชั่วคราวขึ้นที่กรุงเทพฯ และเกาะสีชัง แต่การทดลองครั้งนั้นก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

18.       การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ร. 5            (2) ร. 6            (3) ร. 7            (4) ร. 8

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

19.       บุคคลที่บัญญัติคำว่า วิทยุโทรทัศน์” หมายถึงใคร

(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์       (2) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

(3) เจ้าพระยาวงษานุประพันธ์            (4) กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

ตอบ 1 หน้า 3 คำว่า “Television” นี้ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์

และได้บัญญัติคำเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า วิทยุโทรทัศน์” ซึ่งหมายถึง การส่งและรับภาพ และเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้ พลังงานไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล

20.       บุคคลใดที่ได้นำเครื่องรับวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทย

(1) กรมพระนครสวรรค์วรพินิต            (2) กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

(3) เจ้าพระยาวงษานุประพันธ์            (4) เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์

ตอบ 1 หน้า 32 ใน พ.ศ. 2450 กรมทหารเรือที่มีจอมพลเรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้บัญชาการ ได้นำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีของอังกฤษมาใช้ในราชการทหารเป็นครั้งแรก และต่อมาในปีเดียวกันนี้กองทัพบกที่มีเจ้าพระยาวงษานุประพันธ์เป็นเสนาธิการ ก็ได้สั่งเครื่องวิทยุสนามแบบมาร์โคนีมาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

21.       การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยใด

(1) ร. 5            

(2) ร. 6            

(3) ร. 7            

(4) ร. 8

ตอบ 2 หน้า 32 การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชการทหารเรือจัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวร ในสังกัดของกระทรวงทหารเรือขึ้น 2 สถานี คือ ที่ตำบลศาลาแดง กรุงเทพฯ กับที่ชายทะเล จ.สงขลา

22.       การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาคเป็นความคิดริเริ่มของใคร

(1)       จอมพล ป. พิบูลสงคราม         

(2) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(3) จอมพลถนอม กิตติขจร      

(4) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ตอบ 2 หน้า 48 – 49 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยในส่วนภูมิภาคได้กำเนิดขึ้นในรัฐบาลของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีที่ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาประเทศ กล่าวคือ ประชาชนควรได้มีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับข่าวสาร นโยบาย ความเคลื่อนไหว รวมทั้งการดำเนินการพัฒนาทุกด้านของรัฐบาล แต่วิทยุโทรทัศน์มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถจะแพร่ภาพไปทั่วประเทศได้ นายกรัฐมนตรีจึงบัญชาให้กรมประชาสัมพันธ์จัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ ในส่วนภูมิภาคขึ้น 3 แห่ง เมื่อปี พ.ศ. 2503

23.       สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด

(1)       ช่อง 3  

(2) ช่อง 5         

(3) ช่อง 7         

(4) ช่อง 9

ตอบ 3 หน้า 47 สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 โดยเป็นสถานีโทรทัศน์ของทางราชการเจ้าแรกที่ให้บริษัทเอกชน (บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์ และวิทยุ จำกัด) เป็นเจ้าของสัมปทานหรือร่วมดำเนินการจัดตั้ง ซึ่งเริ่มแพร่ภาพออกอากาศ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510

24.       สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย หมายถึงข้อใด

(1) สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4    (2) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

(3) สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7       (4) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

ตอบ 1 หน้า 4244 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งก่อตั้งอยู่ในรูปของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ทีวี ในสังกัดบริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด มหาชน) โดยมีพิธีเปิดสถานีและออกอากาศ แพร่ภาพเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ดังนั้นกิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2553) จึงมีอายุ 55 ปี

25.       การจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ในส่วนกลาง สถานีใดต่อไปนี้ถูกจัดตั้งขึ้นมาหลังสุด

(1) ช่อง 3         (2) ช่อง NBT (3) ช่อง 7        (4) ช่องไทยพีบีเอส

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

26.       สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยอยู่ภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานใด

(1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) (2) กองทัพบก กระทรวงกลาโหม

(3) กรมประชาสัมพันธ์            (4) บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด

ตอบ 3 หน้า 49137 – 138 สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ มีดังนี้ 1. สถานีในส่วนกลาง คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 (NBT หรือ สทท. ในปัจจุบัน) 2. สถานีในส่วนภูมิภาค คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 45789 และ 10 ซึ่งทั้งหมดจะทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายในส่วนภูมิภาค

27.       การจัดสรรความถี่วิทยุ เพื่อจะจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ของไทยนั้น ผู้รับผิดชอบงานด้านนี้ คือ

(1) กสช.          (2) กสทช.        (3) กกช.          (4) กทช.

ตอบ 4 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551เป็นกฎหมายวิทยุและโทรทัศน์ฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยในมาตรา 78 ได้กำหนดให้ กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ทำหน้าที่กำกับดูแลและบริหารการจัดสรร คลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งในขณะนี้การจัดตั้ง กสทช. ยังไม่แล้วเสร็จ จึงหมอบหมาย ให้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เป็นผู้ทำหน้าที่แทนชั่วคราวจนกว่า จะมี กสทช. เกิดขึ้น

28.       กทช. หมายถึงอะไร

(1)       คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(2)       คณะกรรมการกำหนดบทบาทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(3)       คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ

(4)       คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

29.       สถานีวิทยุโทรเลขแห่งแรกของไทยในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานใด

(1) กรมไปรษณีย์โทรเลข         (2) สำนักงานโฆษณาการ

(3) กระทรวงกลาโหม  (4) กระทรวงทหารเรือ

ตอบ4 ดูคำอธิบายข้อ 21. ประกอบ

30.       การทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงโดยใช้ชื่อสถานีว่า พีเจ” ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่าอะไร

(1) บูรฉัตรไชยากร       (2) มาร์โคนี

(3) ทองช่างวิทยุ          (4) กรมไปรษณีย์โทรเลข

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 16. ประกอบ

31.       สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกของประเทศไทยได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อใด

(1) วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456        

(2) วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2471

(3) วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473     

(4) วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

32.       กิจการวิทยุโทรทัศน์ของไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันมีอายุกี่ปี

(1) 45 ปี          

(2) 55 ปี          

(3) 60 ปี          

(4) 75 ปี

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

33.       องค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทางรัฐบาลของแต่ละประเทศ คือองค์กรใด

(1) ABU      

(2) EBU      

(3) ITU        

(4) RTU

ตอบ 3 หน้า 58115124 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU (The International Telecommunication Union) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุมและบริหารคลื่นความถี่วิทยุให้เป็นระเบียบทั่วโลก โดยผ่านทาง รัฐบาลของแต่ละประเทศ

34.       บิดาของวงการวิทยุกระจายเสียงโลก” คือ

(1)       ลี เดอ ฟอเรสต์ (2) เจมส์ คลาก แมกช์เวลล์

(3) เฮนริช เฮิรตซ์         (4) กูกลิเอลโม มาร์โคนี

ตอบ 4 หน้า 17-18 ใน พ.ศ. 2438 กูกลิเอลโม มาร์โคนี ได้ประดิษฐ์เครื่องมือโทรสื่อสารที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (Wireless Telegraph) สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมาใน พ.ศ. 2444 เขาก็ได้ทดลองส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และได้นำเอาการทดลองนี้ ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จเป็นคนแรก จนได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของ กิจการวิทยุกระจายเสียงโลก

35.       เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก มีลักษณะอย่างไร

(1) เครื่องรับวิทยุแร    (2) เครื่องรับวิทยุหลอดสุญญากาศ

(3) เครื่องรับวิทยุโทรศัพท์        (4) เครื่องรับแบบเฟลมิ่ง

ตอบ 1 หน้า 19, (คำบรรยาย) เครื่องรับวิทยุกระจายเสียงในยุคแรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นเครื่องรับวิทยุแร่โดยผู้ฟังจะต้องใช้เครื่องฟังครอบไว้ที่หู และสามารถเปิดฟังได้คนเดียว ซึ่งคุณภาพด้านเสียงนั้น ไม่ชัดเจนนักเนื่องจากมีเสียงที่เบา รวมทั้งยังแยกคลี่นของสถานีต่าง ๆ ไม่ค่อยได้อีกด้วย

36.       ก่อนที่เราจะบัญญัติคำว่า วิทยุกระจายเสียง” มาใช้นั้น เราใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษครั้งแรกว่าอะไร

(1) Radio   (2) Wireless

(3) Radio Telegraph  (4) Radio Broadcasting

ตอบ 3 หน้า 2 แต่เดิมเราไม่มีคำเรียก วิทยุกระจายเสียง” เป็นภาษาไทย แต่จะใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ว่า Radio Telegraph (ราดิโอ โทรเลข) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงบัญญัติคำว่า วิทยุ” มาใช้ในภาษาไทยเป็นครั้งแรก และภายหลังราชบัณฑิตยสถานจึงได้ ให้ใช้คำเต็ม ๆ อย่างเป็นทางการว่า วิทยุกระจายเสียง

37.       บุคคลที่บัญญัติคำว่า วิทยุ” ในภาษาไทยมาใช้เป็นครั้งแรก คือ

(1) กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์       (2) กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

(3) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว            (4) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

38.       ในอังกฤษนิยมใช้คำดั้งเดิมเรียกวิทยุกระจายเสียงว่าอะไร

(1) Radio   (2) Wireless       (3) Cable   (4) Broadcast

ตอบ 2 หน้า 2 วิทยุกระจายเสียง มักเรียกสั้น ๆ ว่า วิทยุ” โดยในอังกฤษนิยมใช้คำดั้งเดิมว่า Wireless (ไม่มีสาย) ส่วนชาวอเมริกันนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า Radio

39.       “Television” ได้บัญญัติคำเป็นภาษาไทยครั้งแรกว่าอะไร

(1) โทรทัศน์     (2) วิทยุโทรภาพ          (3) วิทยุโทรทัศน์          (4) วิทยุภาพยนตร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

40.       บุคคลแรกที่เป็นผู้นำเอาการทดลองการส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จคือ

(1) เฮนริช เฮิรตซ์         (2) กูกลิเอลโม มาร์โคนี

(3) เจมส์ คลาก แมกซ์เวลล์     (4) เรจินัลด์ เอ. เฟสเสนเดน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ

41.       ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น ตรงกับข้อใดต่อไปนี้มากที่สุด

(1)       การจัดรายการเพลงทางวิทยุโดยให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมในรายการให้โทรศัพท์เข้ามาตอบปัญหา

(2)       รายการมิวสิกวีดีโอทางโทรทัศน์ที่นำเสนอเพลงเพื่อชีวิตของวงคาราบาว

(3)       รายการสนทนาหรืออภิปรายทางวิทยุและโทรทัศน์ที่นำประเด็นหัวข้อเรื่องที่มีผลกระทบกับประชาชน มาวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกัน และหาข้อสรุปร่วมกัน

(4)       รายการละครทางโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวชีวิตที่ต้องต่อสู้ของคนในสังคม

 

ตอบ 3 หน้า 8-9, (คำบรรยาย) ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการแสดงความคิดเห็น

นับว่าเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างสติปัญญาอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้มนุษย์ได้รับรู้ รับฟัง แลกเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดซึ่งกันและกัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้แก่ตนเองมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นหนทางให้เกิดความเจริญยิ่งขึ้นได้ในที่สุด เช่น รายการอภิปรายหรือ สนทนาในประเด็นต่าง ๆ ฯลฯ

42.       ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบทตรงกับข้อใดมากที่สุด

(1) รายการสารคดีชุดดินดำน้ำชุ่ม เพื่อให้ความรู้ทางการเกษตร

(2)       รายการของกรมสรรพากร เรื่องการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3)       รายการเรารักวัฒนธรรมไทย ของกรมศิลปากร

(4)       รายการของกรมศุลกากร เรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าของชาติยุโรป

ตอบ 1 หน้า 11-12 ความสำคัญของวิทยุและโทรทัศน์ในการพัฒนาชนบทเป็นผลสืบเนื่องมาจากชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลนั้นมีโอกาสที่จะได้รู้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางสื่อน้อย ดังนั้นการนำ สื่อวิทยุและโทรทัศน์เข้าไปยังชนบทจึงเปรียบเสมือนเป็นการเปิดหูเปิดตาชาวชนบทให้มีหูตา กว้างไกลมากยิ่งขึ้น โดยการนำเสนอหรือป้อนข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ และความบันเทิง เช่น รายการเพื่อการเกษตร เพื่อการศึกษา เพื่อสุขภาพอนามัย และเพื่องานอาชีพที่สำคัญ ๆ

43.       สื่อมวลชนข้อใดต่อไปนี้ที่เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด

(1) ภาพยนตร์กลางแปลง       

(2) วิทยุกระจายเสียง  

(3) วิทยุโทรทัศน์          

(4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 3 (คำบรรยาย) จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เกี่ยวกับการฟังวิทยุและ การดูโทรทัศน์ชองประชากรไทยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา (ระหว่างปี พ.ศ. 2532 – 2551) พบว่า แนวโน้มประชากรไทยฟังวิทยุลดลง แต่ดูโทรทัศน์มากขึ้น นั่นหมายถึง สื่อมวลชนที่สามารถ เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุดในปัจจุบัน คือ วิทยุโทรทัศน์ (ในสมัยก่อนสื่อที่เข้าถึงประชาชน ได้มากที่สุด คือ วิทยุกระจายเสียง)

44.       สื่อใดต่อไปนี้ให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุด

(1) วิทยุกระจายเสียง  (2) วิทยุโทรทัศน์          (3) ภาพยนตร์  (4) หนังสือพิมพ์

ตอบ 1 (คำบรรยาย) วิทยุกระจายเสียงจะให้ประสิทธิผลในการจูงใจและเปลี่ยนทัศนคติได้ดีที่สุดนอกจากนี้ยังถือเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ของการสร้างความคิดคำนึงหรือ จินตนาการ เมื่อใช้ถ่ายทอดหรือเสนอเนื้อหาสาระที่เป็นนามธรรม คือ

1.         ข้อเท็จจริง (Factual Information) เช่น ข่าวต่าง ๆ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ

2.         แนวปฏิบัติต่าง ๆ (Procedures) เช่น อุดมการณ์หรือแนวคิด การเล่านิทานหรือละคร ฯลฯ

3.         ทัศนคติที่พึงประสงค์ (Desirable Attitudes) เช่น การเสนอรายการธรรมะ ฯลฯ

4.         การจูงใจให้คิดหรือทำ (Motivation) เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ

45.       จากแนวคิดที่กล่าวว่า การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟังชอบรายการที่จัดหมายความว่าอย่างไร

(1)       ควรจัดรายการที่ตรงกับความสนใจและความนิยมของผู้ฟังในขณะนั้น ก็จะทำให้รายการเป็นที่ชื่นชอบ ไปในที่สุด

(2)       ต้องพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ ผู้ฟังจะติดตามรับฟังโดยตลอด

(3)       ต้องสร้างพื้นนิสัยใหม่ให้แก่ประชาชนให้ดำเนินการตามเป้าหมายหลักของการกระจายเสียงได้อย่างเต็มที่

(4)       การจัดรายการที่ผู้ฟังชอบเป็นเรื่องง่าย แต่เป็นความชอบที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรต่อสังคม

ตอบ 2 (คำบรรยาย) จากแนวคิดที่กล่าวว่า การจัดรายการตามที่ผู้ฟังชอบกับการพยายามให้ผู้ฟังชอบรายการที่จัด” หมายถึง นักจัดรายการวิทยุควรพยายามผลิตรายการที่ดีมีสาระแต่น่าสนใจ แล้วผู้ฟังก็จะติดตามรับฟังโดยตลอดไปในที่สุด

46.       การส่งคลื่นวิทยุกระจายเสียงของไทยเป็นการส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่ใด

(1)       530 ถึง            1600   กิโลเฮิรตซ์        และ     88        ถึง        108     เมกะเฮิรตซ์

(2)       535 ถึง            1605   กิโลเฮิรตซ์        และ     87        ถึง        108     เมกะเฮิรตซ์

(3)       630 ถึง            1700   กิโลเฮิรตซ์        และ     86        ถึง        107     เมกะเฮิรตซ์

(4)       635 ถึง            1705   กิโลเฮิรตซ์        และ     88.5 ถึง 107.5 เมกะเฮิรตซ์

ตอบ2  หน้า 64119 ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ระบุว่าวิทยุกระจายเสียง” หมายถึง การส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่คลื่นวิทยุ 535 ถึง 1605 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ในระบบ AM และย่านความถี่ 87 ถึง 108 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ในระบบ FM อันมี ความประสงค์ให้เข้าถึงมวลชนโดยตรง .

47.       การโฆษณาของสถานีวิทยุโทรทัศน์ต้องใช้เวลาสำหรับการโฆษณาไม่เกินกำหนดเวลาเท่าไร

(1)ไม่เกินชั่วโมงละ5 นาที        (2) ไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

(3) ไมเกินชั่วโมงละ 8 นาที      (4) ไม่เกินชั่วโมงละ 15 นาที

ตอบ 2 (คำบรรยาย) พ.ร.บ. การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551มาตรา 23 วรรคสอง กำหนดให้ คณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ ลักษณะและระยะเวลาสูงสุดในการโฆษณาและการบริการธุรกิจ แต่ทั้งนี้จะกำหนดการโฆษณา และการบริการธุรกิจได้ไม่เกินชั่วโมงละ 12 นาทีครึ่ง โดยเมื่อรวมเวลาโฆษณาตลอดทั้งวัน เฉลี่ยแล้วต้องไม่เกินชั่วโมงละ 10 นาที

ตั้งแต่ข้อ 48. – 51. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า (2) ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ

(3) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ       (4) ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าและเพื่อสาธารณะ

48.       BBC (British Broadcasting Corporation)

ตอบ 2 หน้า 113165 – 166169172 ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศอังกฤษและ ญี่ปุ่นจะมี 2 ระบบเหมือนกัน คือ  1. ระบบวิทยุและโทรทัศน์บรรษัทสาธารณะ (Public Corporation) เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร มีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องรับจากประชาชน ได้แก่ บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ หรือ BBC (British Broadcasting Corporation) และบรรษัทการกระจายเสียงของญี่ปุ่น หรือ NHK (Nippon Hoso Kyokai)

2.         ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า หรือธุรกิจเอกชน (Commercial Broadcasting) ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้า มีรายได้จากการโฆษณา

49.       NHK (Nippon Hoso Kyokai)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

50.       CBS (Columbia Broadcasting System)

ตอบ 1 หน้า 113168 ระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งดำเนินกิจการ ในรูปแบบของธุรกิจและมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการโฆษณานั้น ปัจจุบันมีเครือข่ายระดับชาติ ที่สำคัญ คือ CBS (Columbia Broadcasting System), ABC (American Broadcasting Company) และ NBC (National Broadcasting Company) นอกจากนี้รัฐบาลกลางยังได้ จัดตั้งระบบวิทยุและโทรทัศน์เพื่อสาธารณะ คือ PBS (Public Broadcasting Service) ขึ้นมาในภายหลัง เพื่อผลิตรายการที่ส่งเสริมคุณค่าทางลังคม ศิลปะ วัฒนธรรม และกิจการสาธารณะ

51.       PBS (Public Broadcasting Service)

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 50. ประกอบ

52.       “ABU” หมายถึงอะไร

(1)       สหภาพการกระจายเสียงระหว่างประเทศ      

(2) สหภาพการกระจายเสียงยุโรป

(3) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ        

(4) สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก

ตอบ 4 หน้า 115124 สหภาพการกระจายเสียงเอเชีย-แปซิฟิก (The Asian Pacific Broadcasting Union ะ ABU) มีสำนักงานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เป็นองค์กรที่ท่าหน้าที่ บริหารงานด้านการกระจายเสียงและให้ความร่วมมือกับประเทศในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งประเทศไทยก็มีความสัมพันธ์ด้านการแลกเปลี่ยนข่าวสารรายการโดยผ่านสถาบันนี้

53.       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ฉบับล่าสุดในขณะนี้ หมายกึงข้อใด

(1)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530

(2)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540

(3)       พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2550

(4)       พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

54.       กรมประชาสัมพันธ์” มีชื่อเดิมว่าอะไร

(1) กรมการโฆษณาการ          

(2) กรมโฆษณาการ

(3) กรมการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์    

(4) สำนักโฆษณาการและประชาสัมพันธ์

ตอบ 2 หน้า 36, (คำบรรยาย) กรมประชาสัมพันธ์” มีชื่อเดิมว่า กรมโฆษณาการ” โดยในปีพ.ศ. 2476 รัฐบาลได้จัดตั้ง สำนักงานโฆษณาการ” ขึ้น และต่อมาก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกรม ใช้ชื่อว่า กรมโฆษณาการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมประชาสัมพันธ์” ดังในปัจจุบัน

55.       ข้อใดเป็นระบบบรรษัทสาธารณะ (Public Corporation)

(1) TBS       (2) CNN     (3) BBC      (4) PBS

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

56.       หน่วยงานราชการใดมีสถานีวิทยุกระจายเสียงมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร

(1) กรมประชาสัมพันธ์            (2) อ.ส.ม.ท.

(3) กองทัพบก (4) กรมไปรษณีย์โทรเลข

ตอบ 3 หน้า 39 สถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งระบบ AM และ FM ในกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นสถานีวิทยุในสังกัดของกองทัพบกมากที่สุด โดยมีทั้งหมด 24 สถานี แบ่งเป็นระบบ AM 12 สถานี และระบบ FM 12 สถานี รองลงมาตามสำดับ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ มี 11 สถานี และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย มี 9 สถานี

57.       แนวคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตรงกับข้อใด

(1)       Public Service System      (2) Free Market System

(3) Dual System          (4) Mixed System

ตอบ 4 หน้า 111113, (คำบรรยาย) ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังถือเป็นระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ (State Ownership) ทั้งหมด ดังนั้นการจัดระบบวิทยุ และโทรทัศน์ไทย ณ เวลานี้ จึงเป็นแบบ Public Service System (แนวคิดสื่อสารเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ) แต่ถ้าหากเสร็จสิ้นกระบวนการคัดเลือกและสรรหา กสทช. ตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 (ฉบับปัจจุบัน) แล้ว แนวคิดการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทย ก็จะปรับเปลี่ยนไปเป็นแบบ Mixed System (แนวคิดผสม) เพื่อให้ระบบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ ของเอกชน หรือของภาคประชาชน

58.       บรรษัทการกระจายเสียงแห่งญี่ปุ่น หมายถึงข้อใด

(1)       NHK (2)       NBC (3)       TBS  (4) Radio   Japan

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 48. ประกอบ

59.       สถานีวิทยุคลื่นสั้นที่มีการจัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ที่จังหวัดอุดรธานี

(1) VOA      (2)       BBC  (3)       NHK (4) CNN

ตอบ 1 หน้า 159 – 160, (คำบรรยาย) การกระจายเสียงภาคต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา คือ สถานีวิทยุคลื่นสั้น VOA (Voice of America) ซึ่งเป็นสถานีวิทยุภาคภาษาต่างประเทศ ที่ทำการกระจายเสียงไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 35 ภาษา ออกอากาศสัปดาห์ละ 805 ชั่วโมง และมีผู้รับฟังประมาณ 26 ล้านคน โดยในประเทศไทยได้จัดตั้งสถานีทวนสัญญาณ (Rely Station) ขึ้นที่จังหวัดอุดรธานี เพื่อส่งกระจายเสียงต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชีย

60.       พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่าประเทศใดเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก

(1) อังกฤษ      (2)       สหรัฐอเมริกา   (3)       ญี่ปุ่น   (4) รัสเซีย

ตอบ. 2 หน้า 155 – 156 พัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงถือว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุกระจายเสียงโลก โดยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถือว่า เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในยุคแรก ๆ คือ สถานี KCBS (ค.ศ. 1909), WHA (ค.ศ. 1912), WWJ (ค.ศ. 1920) และ KDKA (ค:ศ. 1920)

61.       การควบคุมของรัฐในกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทย หมายถึงข้อใด

(1)       การจัดตั้งเป็นสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ เช่น สมาคมนักข่าว สมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

(2)       จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชน

(3)       การตั้งแผนกเซ็นเซอร์ภายในสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ

(4)       การออกหนังสือเวียนและคำสั่งอื่น ๆ ให้สถานีวิทยุและโทรทัศน์นำไปปฏิบัติ

ตอบ 4 หน้า 125 – 127 โครงสร้างระบบการควบคุมกิจการวิทยุและโทรทัศน์ไทยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

1.         การควบคุมของรัฐ คือ การจัดตั้งสถาบันขึ้นมาควบคุม เช่น กกช.กสช.กทช. และ กสทช. รวมทั้งออกกฎหมายที่บังคับใช้โดยตรงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ ที่ออกมาไนรูปของหนังสือเวียนและคำสั่งอื่น ๆ

2.         การควบคุมกันเอง คือ สื่อมวลชนจะรวมตัวกันเข้าดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ เช่น มีจริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อสารมวลชน รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมนักข่าว สมาคมนักวิทยุ และโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

3.         การควบคุมจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ผู้ชม/ผู้ฟังผู้อุปถัมภ์รายการ และกลุ่มผลักดันทางสังคม

62.       กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ หมายถึงข้อใด

(1) พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 

(2) กฎกระทรวง

(3) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี        

(4) ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ตอบ 4 หน้า 117, (คำบรรยาย) กฎหมายที่เน้นการควบคุมเนื้อหารายการวิทยุและโทรทัศน์ได้แก่ ระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 ส่วนพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง (ยกเว้นกฎกระทรวงฉบับที่ 14) และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี จะเน้นเนื้อหา ที่เกี่ยวกับทางด้านเทคนิค การขอและออกใบอนุญาต

ตั้งแต่ข้อ 63. – 66. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1) Free Market System    (2) Public Service System

(3) Mixed System      (4) Public Corporation

63.       รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ

ตอบ 2 หน้า 111 – 112 แนวความคิดในการจัดระบบวิทยุและโทรทัศน์แบบ Public Service System (แนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ

1.         รัฐมีความรับผิดชอบในการให้ข่าวสารข้อมูลและรักษาวัฒนธรรมแห่งชาติ

2.         รัฐเป็นผู้จัดระเบียบในด้านที่มาของรายได้ การจัดสรรคลื่น และคุณภาพของรายการ

3.         เป็นระบบที่ผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐหรืออาจเป็นการผูกขาดแบบ Duopoly (เล่นพรรคเล่นพวก) โดยมีเอกชนเป็นคูแข่งเพียง 1 – 2 รายเท่านั้น รัฐจึงเป็นทั้ง Supplier (ผลิตรายการเอง) และเป็น Regulator (ผู้ควบคุมรายการ) ไปพร้อมกัน

64.       โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กำลังเป็นช่วงที่มีการบรับปรุงไปสู่ทิศทางของระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี ทำให้เกิดระบบในแนวคิดนี้ขยายตัวไปทั่วโลก

ตอบ 3 หน้า 111. 113 ในช่วงทศวรรษที่ 1980 – 1990 กำลังเป็นช่วงที่มีการปรับไปสู่ทิศทางของ ระบบพหุนิยมในแนวตลาดเสรี จึงทำให้เกิดระบบในแบบที่ 3 คือ ระบบผสม (Mixed System) ระหว่างแนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะกับแนวสื่อสารในตลาดเสรี ขยายตัวไปทั่วโลก

65.       ระบบนี้มีความเชื่อว่าถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์จะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุด

ตอบ 1 หน้า 111 – 112 แนวคิด Free Market System (แนวคิดสื่อสารในตลาดเสรี) หรือระบบที่ ธุรกิจเอกชนเป็นผู้ให้บริการ คือ ดำเนินการในรูปตลาดเสรีที่ให้ธุรกิจเอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Competition) โดยมีความเชื่อว่าถ้าเป็นตลาดที่สมบูรณ์แล้วจะมีการแข่งขันกันของผู้ประกอบการ และท้ายที่สุดผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์สูงสุด

 66.       ระบบนี้มีความเชื่อว่ารัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะ ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันและในราคาที่เหมาะสม รัฐจึงมีความชอบธรรมในการดำเนินการแบบผูกขาด

ตอบ 2 หน้า 111 แนวคิด Public Service System (แนวคิดสื่อสารเพื่อประโยชน์สาธารณะ) คือ ระบบที่รัฐเป็นผู้ให้บริการ โดยมีความเชื่อว่ารัฐจะให้บริการได้อย่างเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฐานะ ทุกกลุ่ม อย่างเท่าเทียมกัน และในราคาที่เหมาะสม ดังนั้นรัฐจึงมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการ ผูกขาดในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์กิจการสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมทั้งบริการด้านวิทยุและ โทรทัศน์ (ดูคำอธิบายข้อ 63. ประกอบ)

67.       ตามแนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) กล่าวถึงหน้าที่ของสื่อมวลชน โดยพิจารณาจากอะไร

(1)       บุคคล สังคม วัฒนธรรม บันเทิง

(2)       บุคคล สังคม เครื่องมือทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม

(3)       บุคคล สังคม การศึกษา วัฒนธรรม

(4)       สังคม ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ สื่อมวลชน มวลชนผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 95 แนวความคิดของเดนิส แมคเควล (Denis McQuail) ได้กล่าวถึงหน้าที่ของ สื่อมวลชนโดยพิจารนาจากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนว่า มีความต้องการให้สื่อมวลชนทำอะไรให้แก่ตน หรือสื่อมวลชนควรทำหน้าที่อะไรให้แกตน และสังคม ซึ่งผ่ายต่าง ๆ ดังกล่าว ได้แก่ 1. สังคม (Society) 2. ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การเผยแพร่ข่าวสาร (The Advocate) 3. สื่อมวลชนหรือนักสื่อสารมวลชน (The Media/Mass Communicators) 4. มวลชนผู้รับสาร (The Audience)

68.       FCC (Federal Communication Commission) หมายถึงข้อใด

(1)       บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา

(2)       บรรษัทวิทยุและโทรทัศน์ของอังกฤษ

(3)       องค์กรที่จัดระเบียบในด้านการอนุมัติคลื่นและใบอนุญาตประกอบการ

(4)       คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ

ตอบ 4 หน้า 24114168 ประเทศสหรัฐอเมริกามีคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติ หรือ FCC (Federal Communication Commission) เป็นองค์กรอิสระของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล กิจการวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รวมทั้งคอยจัดสรรคลื่นวิทยุเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ด้วย

69.       สื่อที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทงการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2475 หมายถึงข้อใด

(1) หนังสือพิมพ์           (2)       นิตยสาร          (3)       วิทยุกระจายเสียง        (4) วิทยุโทรทัศน์

ตอบ 3 หน้า 35 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 วิทยุกระจายเสียงนับว่ามีบทบาทอย่างสำคัญ เพราะคณะราษฎร์ซึ่งนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเป็นเครื่องมือ เผยแพร่ข่าวการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ประชาชนทราบ โดยอ่านประาศติดต่อกันตลอดเวลา

70.       มาตราในการวัดคลื่นความถี่วิทยุระบบ AM คือ

(1) เมกะเฮิรตซ์            (2)       กิโลเฮิรตซ์        (3)       จิกะเฮิรตซ์       (4) เมตริกเฮิรตซ์

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 46. ประกอบ

71.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาโดยมิวัตถุประสงค์ให้เป็น Independent Television หมายถึงข้อใด

(1)ไทยพีบีเอส 

(2)       NBT 

(3)       ASTV         

(4)ไอทีวี

ตอบ 4 หน้า 5254 – 56, (คำบรรยาย) ภายหลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ค. 2535 ได้เกิด กระแสการเรียกร้องให้เปิดเสรีและปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์อย่างกว้างขวาง ซึ่งต่อมาก็ได้มี การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ ITV (Independent Television) หรือทีวีเสรีขึ้น เพื่อเสนอข่าวสาร อย่างเป็นกลางโดยปราศจากอำนาจของรัฐและนายทุน จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการเสนอ รายการข่าวครั้งใหญในประเทศไทย

72.       สื่อทางเลือกของประชาชน หมายถึงข้อใด

(1)ไทยพีบีเอส 

(2) NBT      

(3)วิทยุชุมชน  

(4)โมเดิร์นไนน์

ตอบ 3 สื่อทางเลือก หรือสื่อภาคประชาชน คือ สื่อนอกกระแสที่เปิดพื้นที่การสื่อสารให้แกประชาชน หลากหลายกลุ่ม จึงเป็นการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้รับสารในการรับข่าวสารที่แตกต่างไป จากสื่อกระแสหลักซึ่งมักถูกกำหนดเนื้อหาจากภาครัฐและนายทุน เช่น สถานีวิทยุชุมชนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ทางอินเตอร์เน็ตโทรทัศน์ดาวเทียมเคเบิลทีวี ฯลฯ

73.       โมเดิร์นไนน์ทีวี สังกัดหน่วยงานใด

1) องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย      

(2) กรมประชาสัมพันธ์

(3) บริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน)    

(4) บริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 24. ประกอบ

74.       สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เกิดจากกฎหมายฉบับใด

(1)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2550

(2)       พระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ พ.ศ. 2551

(3)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2540

(4)       พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2550

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 7. ประกอบ

75.       เหตุการณ์ข้อใดเหมาะกับการถ่ายทอดสารผ่านวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด

(1) การออกกำลังกาย (2) การสอนทำอาหารไทย

(3) การบรรยายธรรม   (4) การไขปัญหาซ่อมคอมพิวเตอร์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

76.       วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็น ลูกพี่ใหญ่” (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคมเป็นแนวคิดของใคร       

(1) นอยล์ นิวแมน

(2)       แคลปเปอร์     (3) พอล ลาซาร์สเฟลค์            (4) เอมิล เดอร์คิม

ตอบ 4 หน้า 102 , 104 นักวิชาการด้านทฤษฎีสังคมมวลชนที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร โดยจะมีผลเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจำนวนมากในลักษณะ คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ออกูส กงเต้ (Auguste Comte), เฟอร์ดินันท์ ทูนนี่ (Ferdinand Tonnise) และเอมิล เดอร์คิม (Emile Durkneim) ซึ่งพวกเขาเห็นว่า วิทยุและโทรทัศน์กลายเป็นลูกพี่ใหญ่ (Big Brother) ที่ควบคุมอิสรเสรีภาพทางความคิดของคนในสังคมเกือบทั้งหมด

77.       อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดที่มีผลต่อการตัดสินใจมากกว่าสื่อมวลชน เป็นแนวคิดของใคร

(1) วิลเบอร์ แชรมม์      (2) พอล ลาซาร์สเฟลด์

(3)       ออกูส กงเต้ เฟอร์ดินันท์         (4) นักทฤษฎีสังคมมวลชน

ตอบ 2 หน้า 106 – 107 พอล ลาซาร์สเฟลด์ (Paul Lazarsfeld) เป็นนักวิชาการที่มีแนวคิดว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผู้รับสาร โดยเขาได้ชี้ให้เห็นเกี่ยวกับ อิทธิพลของบุคคล (Personal Influence) และผู้นำความคิด (Opinion Leader) หรือคนใกล้ตัว ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของคนมากกว่าสื่อมวลชน

78.       ผู้รับสารมีความฉลาด และมีวิจารณญาณเพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน ตามแนวคิดนี้ ตรงกับข้อใด

(1)       วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       วิทยุและโทรทัศน์ไมมีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง

(3)       วิทยุและโทรทัศน์ทำให้เกิดผลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อทุกคนในลักษณะคล้ายคลึงกัน

(4)       วิทยุและโทรทัศน์จะสนับสนุนทัศนคติ ค่านิยม และแนวโน้มด้านพฤติกรรมของประชาชนให้มีความเข้มแข็งขึ้น

ตอบ 2 หน้า 105 นักวิชาการด้านนิเทศสาสตร์หลายท่านเชื่อว่า ผู้รับสารมีความฉลาด และมีวิจารณญาณ เพียงพอในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนโดยผู้รับสารที่เปิดรับสื่อสามารถคิดและวิเคราะห์ได้ หรือสื่อไมได้มีอิทธิพลต่อความคิดของบุคคลมากมาย ซึ่งตรงกับแนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลต่อผู้รับสารโดยตรง

79.       ปัจจัยเสริมที่ทำให้วิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม หมายถึงข้อใด

(1) ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสารจำเป็นต้องพึ่งพามาก   (2) การสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก

(3) การนำเสนอเรื่องราว กิจกรรม ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ            (4) ความมีใจโน้มเอียงของผู้รับสาร

ตอบ 4 หน้า 106 – 108 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม ต่อผู้รับสาร จะอาศัยปัจจัยเสริมต่าง ๆ ดังนี้

1.         ความมีใจโน้มเอียงที่จะเชื่อของผู้รับสาร (Predisposition)

2.         กระบวนการเลือกรับสาร (Selective Process)

3.         อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดเห็น (Personal Influence and Opinion Leader)

4.         ระดับความต้องการข้อมูลข่าวสาร หรือการพึ่งพาข่าวสารของบุคคล

ตั้งแต่ข้อ 80. – 85. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(2)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยอ้อม

(3)       แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุและโทรทัศน์ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้รับสาร

(4)       แนวคิดของนอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann)

80.       สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ทุกที่

ตอบ 4 หน้า 103 สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถพบได้ทุกที่ และเข้าถึงประชาชน ได้อย่างกว้างขวาง ดังแนวคิดของนอยล์ นิวแมน (Noelle Neumann) นักวิชาการด้าน สื่อสารมวลชนที่ให้ความเห็นว่า สื่อมวลชนมีบทบาทเป็นแหล่งข่าวสารพบได้ในทุกที่

81.       กระบวนการเลือกรับสาร (Selective Process)

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ-79. ประกอบ

82.       ความสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากและการเปิดรับสาร

ตอบ 1 หน้า 102 – 104108 แนวคิดที่เชื่อว่าวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มีอิทธิพลโดยตรง ต่อผู้รับสารพิจารณาได้จากลักษณะสำคัญ ดังนี้  

1. ความสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมากได้โดยตรงและการเปิดรับสารของผู้รับสาร           

2. มีอิทธิพลในการชักจูงใจ

3. มีผลกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งต่อคนจำนวนมากในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

83.       มีผลต่อการชักจูงใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 82. ประกอบ

84.       อิทธิพลของบุคคลและผู้นำความคิดเห็น

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 77. และ 79. ประกอบ

85.       ความมีใจโน้มเอียงที่จะเชื่อของผู้รับสาร

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

ตอนที่ 2

ตั้งแต่ข้อ 86. – 90. อ่านจากบทความต่อไปนี้

สื่อกับสังคมแห่งชาติ… การเผชิญกับวิวาทะทางการเมืองในตลาดแห่งข่าวสาร

สถานการณ์ขณะนี้มีคนอาศัยสื่อมวลชนเป็นสื่อกลางแล้วก็บรรเลงฝีปากเข้าใส่กันทั้งเสียดสี เหยียดหยาม เยาะเย้ย ถากถาง สารพัดวิธีที่สรรหามาทิ่มแทงกัน เพื่อให้ภาพของตนออกมาดูดี และกดคนอื่นให้ต่ำต้อยอย่างถึงที่สุด

บางคนเห็นชัด ๆ ว่าหวังจะใช้สื่อเป็นช่องทางระบายอารมณ์ และที่แย่ที่สุดคือใช้สื่อเป็นที่ปล่อยข่าว เพื่อประโยชน์แบบตีปลาหน้าไซ หรือลับลวงพราง

มีการสร้างนิยายขึ้นมาหลายเรื่องเพื่อให้คนเชื่อแล้วตัวเองก็ตกอยู่ในหลุมของจินตนาการที่ตน สร้างขึ้นมาเอง

จะหวังอะไรที่จะให้ประชาชนมีความสามัคคี ในเมื่อนักการเมืองเองยังทะเลาะกันทุกวัน ใครไม่ใช่พวกฉัน คนนั้นคือศัตรูของฉัน ต้องด่ามันทำลายมันให้จมธรณี วิธีการคิดเช่นนี้อันตราย เป็นวิธีการที่ไร้สติ และลากจูงประเทศไปเผชิญกับสถานการณ์ที่ไร้ทางออก

ในการเมืองที่สลับซับช้อน และมีสาเหตุที่ก่อกำเนิดมาจากความปรับเปลี่ยนทางโครงสร้างของสังคม ตลาดแห่งข่าวสารนี้จึงมิใช่ตลาดธรรมดา เพราะมีผู้คนจากทุกชนชั้นของสังคมปรารถนาจะเดินผ่านประตูเข้ามา ด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน

ตลาดขายผลไม้ มีทั้งสินค้าดีสินค้าปลอมปนฉันใด ตลาดข่าวสารก็เป็นเช่นนั้น

มีการปลอมปนทางข่าวสาร มีการโกหกมดเท็จ พูดจริงครึ่งไม่จริงครึ่ง จริงน้อยขยายมาก จริงมากบีบให้เหลือน้อย

มาคิอาเวลลี เคยกล่าวไร้ว่า อำนาจทางการเมืองย่อมไม่สนใจศีลธรรม

การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ทำให้มีคนที่ดูเหมือนจะไม่ไยดีว่าศีลธรรมจริง ๆ นั้นคืออะไร แต่กลับประกาศตนเป็นเจ้าของศีลธรรม คุณธรรมความดี เป็นผู้ตัดสินความถูกผิด พลางโจมตีฝ่ายตรงข้าม ว่าด้อยศีลธรรม โงเขลาเบาปัญญา

ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งด้อยอำนาจกว่า ก็ป่าวร้องว่าตนถูกลิดรอนเสรีภาพ ได้รับความอยุติธรรม นานาประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถูกกระทำแบบสองมาตรฐาน

มองอย่างผิวเผินก็เห็นแล้วว่า แม้จะมีสื่อที่พยายามสร้างดุลยภาพทางข่าวสาร แต่ความที่อำนาจรัฐ และอำนาจทุนมีความยิ่งใหญ่เสียเหลือประมาณ ความเอนเอียงในตาชั่งของข่าวสารในสื่อกระแสหลักจึง ปรากฏอย่างเห็นได้ชัด

มีเดียมอนิเตอร์เสนอรายงานว่า ในโทรทัศน์ฟรีทีวีแม้จะมีความพยายามที่จะรักษาความเป็นกลาง แต่การเสนอข่าวส่วนใหญ่ออกมาด้านเดียว ในเหตุการณ์มาชุมนุมของเสื้อแดงเดือนมีนาคม สื่อเน้นการรายงาน สถานการณ์การตั้งรับของฝ่ายรัฐบาล โดยไม่ให้ความสำคัญกับการเรียกร้องของผู้ชุมนุม และปราศจากการวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์อย่างรอบด้าน

เมื่อถูกกีดกันจากรัฐ สื่อทางเลือกอย่างโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวี จึงถูกจับจองเป็น สื่อเฉพาะแต่ละฝ่าย แต่ก็ไม่เป็นการเพียงพอสำหรับผู้ที่ไมได้เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ ในขณะที่สื่ออินเตอร์เน็ต ก็ถูกปิดเว็บแล้วเว็บเล่า     

ตัดตอนมาจากบทความ สื่อกับสังคมแห่งสติ” ของ สุกัญญา สุดบรรทัด จากหนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน วันที่ 22 มีนาคม 2553 หน้า 6-7

86.       ฟรีทีวี ในบทความนี้หมายถึงข้อใด

(1) ช่อง 357, ASTV, TGN    (2) ช่อง NBT, ไทยพีบีเอส, TNN, โมเดิร์นไนน์ทีวี

(3) ช่อง TRUE, 3579  (4) ช่อง 3579, NBT และไทยพีบีเอส

ตอบ 4 จากบทความนี้ ฟรีทีวี” คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ระดับชาติที่ไม่คิดค่าบริการ ซึ่งได้แก่ สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3ช่อง 5ช่อง 7ช่อง 9 (ปัจจุบันคือ โมเดิร์นไนน์ทีวี), ช่อง NBT (ปัจจุบันคือ สทท.) และช่องไทยพีบีเอส (ปัจจุบันคือ ทีวีไทย)

87.       การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อเป็นอย่างไร

(1)       เน้นข่าวสารไปตามกลไกของตลาดทุนนิยม

(2)       ไม่สามารถนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่หลากหลาย

(3)       เน้นภาพความรุนแรงและตั้งคำถามที่ขาดการควบคุม

(4)       แหล่งข่าวขาดความสมดุลรอบด้าน ใส่ความคิดเห็น เน้นความรุนแรง

ตอบ 2 จากบทความนี้ สะท้อนไห้เห็นถึงโครงสร้างการควบคุมสื่อมวลชนไทยว่ายังคงถูกควบคุมโดยรัฐเพราะสื่อมวลชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างมากในการแสดงออกซึ่งความจริงและความเที่ยงตรง ทั้งนี้สังเกตได้จากการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อที่ไม่สามารถนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นที่ หลากหลายได้ แม้จะมีความพยายามที่จะรักษาความเป็นกลาง แต่การเสนอข่าวส่วนใหญ่ ออกมาด้านเดียว และปราศจากการวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์อย่างรอบด้าน

88.       บทความนี้สะท้อนถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างไร

(1)       สื่อถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างมากในการแสดงออกซึ่งความจริง

(2)       สื่อขาดจริยธรรมและความเที่ยงตรงในการรับใช้

(3)       สื่อที่สนับสนุนรัฐบาลเทานั้นที่มีโอกาสออกอากาศ

(4)       มีการใช้มาตรฐานในการควบคุมสื่อที่แตกต่างกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

89.       บทความนี้สะท้อนให้เห็นถึงการควบคุมสื่ออย่างไร   

(1) ถูกควบคุมโดยการเมืองภาคประชาชน

(2) ถูกควบคุมโดยรัฐ   (3) ถูกควบคุมโดยพรรคการเมือง        (4) ถูกควบคุมโดยจรรยาบรรณวิชาชีพ

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 87. ประกอบ

90.       ขณะนี้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ถูกใช้เป็นเครื่องมือด้านใดมากที่สุด

(1) ผลประโยชน์ของประชาชน            (2) ผลประโยชน์ของบุคลากรในวิชาชีพ

(3) ผลประโยชน์ของรัฐบาล    (4) ผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจ

ตอบ 3 จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ทำให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ในขณะนี้ถูกใช้ เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการนำเสนอข่าวสารจะรับใช้ ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจรัฐในขณะนั้น ทำให้การรายงานข่าวไม่เป็นกลาง หรือไม่ได้เป็นสื่อของ ประชาชนอย่างแท้จริง (แต่เมื่อใดก็ตามที่การเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ ก็จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจมากที่สุด)

ตอนที่3

ข้อ 91. – 100. ข้อใดถูกให้ระบายตัวเลือกที่ 1 ข้อใดผิดให้ระบายตัวเลือกที่ 2

91.       จากการศึกษาของยูเนสโก จะพบว่าประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้วจะมีจำนวนสถานีและเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประชากรมากกว่าประเทศที่ยากจนหรือด้อยพัฒนา

ตอบ     1 (คำบรรยาย) จากการศึกษาในระดับโลกของยูเนสโกพบว่า สื่อวิทยุและโทรทัศน์สามารถเข้าถึงประชาชนในประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือในจำนวนสัดส่วน ที่สูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณของเครื่องรับและจำนวนสถานีวิทยุและโทรทัศน์ เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของประชากรมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา ที่อยู่ในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา

92.       ผู้ที่บัญญัติคำว่า วิทยุกระจายเสียง” คือ ราชบัณฑิตยสถาน

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 36. ประกอบ

93.       สถานีโทรทัศน์ไทยใช้ระบบการแพร่ภาพ คือ VHF

ตอบ 2 หน้า 7282, (คำบรรยาย) เทคโนโลยีการแพร่ภาพของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยในปัจจุบันมี 2 ระบบ ดังนี้ 1. VHF หรือย่านความถี่สูงมาก คือ 30 – 300 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งสถานีวิทยุโทรทัศน์ ส่วนใหญ่จะใช้ระบบนี้ ได้แก่ ช่อง 579 และ 11 (NBT หรือ สทท. ในปัจจุบัน)

2. UHF หรือย่านความถี่เหนือสูง คือ 300 – 3,000 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถานีวิทยุโทรทัศน์ ใช้เพียง 2 สถานีเท่านั้น ได้แก่ ช่อง 3 และ ITV (ไทยพีบีเอส หรือทีวีไทยในปัจจุบัน)

94.       การนำเครื่องรับส่งวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในไทยคือ กองทัพบก

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 20. ประกอบ

95.       จากกรณีวิกฤตการณ์ พฤษภาทมิฬ” พ.ศ. 2535 จึงนำไปสู่การแก้ไขระเบียบว่าด้วยวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ โดยจัดตั้งองค์กรใหม่ที่เข้ามาดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ คือ กกช.

ตอบ 1 หน้า 52 จากกรณีวิกฤตการณ์ พฤษภาทมิฬ” พ.ศ. 2535 ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในส่วนของโทรทัศน์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ยกเลิกระเบียบว่าด้วยการบริหารวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2518 และคณะกรรมการ กบว. แต่ให้แทนที่ด้วยระเบียบว่าด้วย วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2535 และจัดตั้งคณะกรรมการกลางทำหน้าที่ ควบคมและกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ คือ กกช.

96.       พัฒนาการของกิจการวิทยุโทรทัศน์ไทยเริ่มต้นในสมัย ร. 9

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

97.       สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของญี่ปุ่นคือ NHK

ตอบ 1 หน้า 172 – 173 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของญี่ปุ่น คือ สถานีโทรทัศน์ NHK ซึ่งเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์ของชาติที่มีมาตรฐานการผลิตรายการที่ดี รวมทั้งมีการจัดรายการที่ให้ ทั้งความรู้และความบันเทิงแกประชาชน จนเป็นที่ยอมรับจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีการแพร่ภาพอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2496

98.       สถานีวิทยุแห่งแรกของสหรัฐอเมริกามีชื่อว่า KDKA

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

99.       ระบบการเป็นเจ้าของกิจการวิทยุและโทรทัศน์ของไทยจะเป็นของรัฐและเอกชน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 6. ประกอบ

100.    ขณะนี้การปฏิรูปสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ดำเนินการจัดตั้งองค์กรอิสระ กสทช. ให้เข้ามากำกับดูแล เรียบร้อยแล้ว

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 27. ประกอบ

Advertisement