การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา MCS 1300 (MCS 1350) หลักการพูดเบื้องต้น

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

ข้อ 1. – 10. จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม

(1)       เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  (2) เพื่อมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวสาร

(3) เพื่อเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึก          (4) เพื่อโน้มน้าวจิตใจ

1.         การพูดในรูปแบบที่ทำข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การพูดเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เป็นขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก โดยจะบอกข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รับรู้ รับทราบ หรือสร้าง ปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสาร จึงเป็นการพูดในรูปแบบที่ทำข้อมูลสารนิเทศให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการสื่อสาร โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้        1. บอกกล่าว เล่าเรื่องราว บรรยายให้ฟัง  2.     ประกาศให้ทราบ แจ้งความให้รู้ทั่วกัน   3. รายงานถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

2.         ขั้นตอนแรกของการพูดเมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลัก

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.         ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสำเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์ และความรู้สึก

ตอบ 3 หน้า 93, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง เป็นการพูดที่ใช้สิ่งเร้าเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมกระบวนการสื่อสารด้วยเสียงและสำเนียงเพื่อเข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก เพื่อกระตุ้นการรับรู้ สร้างความน่าสนใจ โดยต้องคำนึงถึง

1.         การไม่พูดมุขตลกนานเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ได้สาระอื่น ๆ

2.         หลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมกับงาน

3.         การไม่ละเลยต่อประเด็น สาระสำคัญ หรือเป้าหมายทางการสื่อสาร

4.         การพูดที่ใช้กระบวนการเพื่อให้เข้าใจความหมาย มีข้อมูลประกอบ สร้างสรรค์เนื้อหาโดยเน้นความเป็นจริง จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ตอบ 2 หน้า 93 – 94, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง เป็นการนำเสนอข้อมูล ความเป็นจริงจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ โดยจะใช้กระบวนการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินคุณค่า เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน

5.         ประโยชน์ของการพูดที่หวังผลในด้านการกระทำ

ตอบ 4 หน้า 94 – 96, (คำบรรยาย) การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ เป็นการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนไม่เปลี่ยนพฤติกรรม การกระทำ ความเชื่อ ทัศนคติ หรือสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่เร้าใจ และเข้าถึงปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้ชม-ผู้ฟัง ด้วยวิธีการที่ไม่ใช่การบอกกล่าวโดยตรง แต่คำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้

1.         การสร้างความเลื่อมใสศรัทธา 2. นำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ 3. ปลุกเร้าให้เกิดการกระทำ

6.         กระบวนการพูดที่พิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน คือ การปรับปรุงตัวผู้พูด การวิเคราะห์ผู้ฟัง การเลือกเรื่องที่เหมาะสม หวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

ตอบ 4 หน้า 11, (คำบรรยาย) ในกระบวนการพูดที่หวังให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดในการสื่อสาร คือ เพื่อโน้มน้าวจิตใจ จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1. การปรับปรุงตัวผู้พูด  2.การวิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์การพูด (กาลเทศะ) 3. การเลือกเรื่องพูดที่เหมาะสม

7.         การใช้ภาษาที่มีความเร้าใจ และเข้าถึงปัญหาสำคัญของกลุ่มผู้ชมหรือผู้ฟังด้วยวิธีการที่ไมใช่การบอกกล่าวโดยตรง

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

8.         การพูดเพื่อจรรโลงใจหรือสร้างความตระหนักรู้รับผิดชอบชั่วดีที่มีต่อสังคม ต้องอาศัยขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

9.         การทำให้บรรยากาศการพูดเป็นไปด้วยดี และเป็นธรรมชาติ สามารถสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน ได้อย่างราบรื่นด้วยข้อมูลที่ตรงกัน

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

10.       ถึงจะเป็นวิธีการที่ดี แต่หากกระทำมากไปหรือใช้เวลามากเกินไป โดยละเลยต่อประเด็นสำคัญหรือเป้าหมายทางการสื่อสารก็นับว่าเปล่าประโยชน์

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

11.       ปัญหาสำคัญที่สุดของการพูดในวงการสื่อสารมวลชน คือ

(1)       การพูดไม่รู้เรื่อง            (2) การใช้ศัพท์และสำนวนตามสมัยนิยมเกินไป

(3) การละเลยต่อประเด็นสำคัญ         (4) การใส่อารมณ์และความรู้สึกจากจิตใจลงไปในข่าวสาร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ปัญหาสำคัญที่สุดของการพูดในวงการสื่อสารมวลชน คือ การละเลยต่อประเด็น สำคัญ หรือกรอบความคิดในการนำเสนอ เพราะจะทำให้ผู้ฟังจับสาระสำคัญไม่ได้ว่าผู้พูดต้องการ สื่อสารอะไรกับตนบ้าง

12.       ภาพพจน์ในการพูด หมายถึง

(1)       เห็นตาม           (2) เห็นชอบ     (3) ชื่นชอบ      (4) เชื่อถือ

ตอบ 1 หน้า 12, (คำบรรยาย) ในการพูดนั้น ผู้พูดควรใช้คำพูดที่ก่อให้เกิดอารมณ์ หรือเห็นภาพพจน์ ในการพูด หมายถึง การเห็นภาพตามคำพูด ซึ่งผู้ที่พูดเก่งต้องสามารถพูดแล้วทำห้ผู้ฟังเห็นภาพตามได้ เพราะคำพูดเช่นนี้จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย และไม่ต้องเสียเวลาคิด

13.       การพูดเป็น

(1)       การสื่อสารหน่วยย่อยที่สุดเมื่อพิจารณาตามปริมาณผู้รับสาร

(2)       ผลรวมของสิ่งเร้ากับภาษาเพื่อการสื่อสาร

(3)       การสื่อสารระหว่างเครือข่ายที่ใช้สถาบันทางสังคมเป็นกลไก

(4)       รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารในแบบที่ใช้ถ้อยคำ

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การพูดเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารแบบวัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ฯลฯ แต่การพูดก็ต้องอาศัยการสื่อสารแบบอวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เช่น น้ำเสียง สำเนียง กิริยาท่าทาง สีหน้า ฯลฯ เข้าร่วมกับวัจนภาษาด้วย ดังนั้นการพูดจึงเป็นการสื่อสารที่ไม่สามารถแยกจากอวัจนภาษาอย่างเด็ดขาด

14.       การทรงตัวที่ดีมีผลต่อการพูดอย่างไร

(1)       ทำให้ผู้พูดมีบุคลิกภาพที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฟัง

(2)       ช่วยส่งเสริมให้สามารถใช้คำพูดมีความชัดเจน

(3)       จุดเด่นของข้อมูลที่นำเสนอขึ้นมาถูกเปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน

(4)       สามารถกำหนดแนวการมองสบตากันผู้ฟังได้สะดวกขึ้น

ตอบ 1 หน้า 17, (คำบรรยาย) การทรงตัวหรือการยืนระหว่างการนำเสนอ เป็นอีกส่วนหนึ่งของ บุคลิกภาพของผู้พูด ถ้าผู้พูดมีการทรงตัวหรือการยืนที่ดี จะทำให้ผู้พูดมีบุคลิกภาพที่ดี และ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฟังได้ ซึ่งท่ายืนที่ดีที่สุด คือ ท่าที่เราสามารถควบคุมกล้ามเนื้อในร่างกาย ได้อย่างสบาย มีความรู้สึกว่าไม่เครียด และมีความเป็นตัวของตัวเอง

15.       การใช้สายตามีความสำคัญต่อการพูดอย่างมากเนื่องจาก

(1)       ผู้ฟังมักจะทราบลำดับของการนำเสนอสารของผู้พูดได้จากสายตา

(2)       สายตาเป็นเครื่องมือในการรับรู้อารมณ์และแสดงความรู้สึกที่เปิดเผย

(3)       ผู้พูดมักใช้สายตาในการตรวจสอบการรับรู้ข่าวสารของผู้ฟัง

(4)       ธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์มีการจับจ้องเป้าหมายและระวังตัว

ตอบ 2 หน้า 16, (คำบรรยาย) สายตาเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของผู้พูด เมื่อผู้พูด ได้มีโอกาสสบตาผู้ฟังแล้ว จะทำให้การสื่อความหมายเป็นไปได้โดยสะดวก และบังเกิด ความเข้าใจกันได้รวดเร็วขึ้น เพราะว่าสายตานั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือ ในการรับรู้อารมณ์ และถ่ายทอดความรู้สึกของผู้พูดไปสู่ผู้ฟังได้อย่างเปิดเผย

16.       ผู้พูดควรแสดงท่าทางอย่างไรในระหว่างการพูด

(1)       วางบุคลิกให้สอดคล้องกับรสนิยมของเจ้าภาพ

(2)       ยิ้ม หัวเราะ แสดงออกทางอารมณ์ตามที่เตรียมมา

(3)       ชี้นิ้วออกไปยังผู้ที่ประสานสายตากับผู้พูด

(4)       กอดอกแสดงความภาคภูมิใจในฐานะความเป็นผู้นำความคิด

ตอบ 2 หน้า 18, (คำบรรยาย) ผู้พูดควรแสดงท่าทางประกอบการพูดต่อเมื่อต้องการอธิบาย หรือเน้นข้อความที่พูด ซึ่งการแสดงท่าทางจะต้องมีความหมายสอดคล้องกับความรู้สึกนึกคิด เหมาะกับโอกาสและเรื่องที่จะพูด โดยผู้พูดอาจยิ้ม หัวเราะ และแสดงออกทางอารมณ์ตาม ที่เตรียมมา แต่ไม่ควรชี้นิ้วไปยังผู้ฟัง ยืนกอดอก เอามือเท้าสะเอว เอามือใส่กระเป๋า หรือ เอามือไขว้หลังอย่างเด็ดขาด

17.       ข้อใดเป็นวินัยที่ควรปฏิบัติของนักพูดที่ดี

(1)       มาตรงเวลาเพื่อจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ และซักซ้อมต่อหน้าผู้ฟัง

(2)       มาก่อนเวลาเพื่อสำรวจเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง

(3)       นำอุปกรณ์ทุกอย่างมาเอง เพื่อความสมบูรณ์แบบในการนำเสนอ

(4)       ทำการบันทึกข้อมูลผู้พูดร่วมเวทีเดียวกัน แล้วทำสำเนาส่งคืนในเร็ววัน

ตอบ 2 (คำบรรยาย) การพูดที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้พูดจะต้องมีการเตรียมตัวที่ดี และควรจะมา ก่อนเวลาพูดเพื่อสำรวจเวที สถานที่ และอุปกรณ์ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อสร้างความคุ้นเคย และไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการพูด

18.       การใช้ไมโครโฟนที่ดี ผู้พูดควรจะ

(1)       เอานิ้วขูดที่ส่วนรับเสียงเพื่อตรวจสอบความพร้อมและให้สัญญาณผู้ฟัง

(2)       เอียงส่วนรับเสียงออกจากแนวลมปากเพื่อป้องกันเสียงหอน

(3)       ปรับไมโครโฟนให้ได้ตามความสูงของตัวผู้พูดเอง

(4)       ใช้นิ้วขมวดสายสัญญาณเพื่อกระชับอุปกรณ์ให้มั่นคง

ตอบ 3 หน้า 19 เทคนิคในการใช้ไมโครโฟนอย่างง่าย ๆ มีดังนี้

1.         ในขณะที่พูดควรให้ไมโครโฟนอยู่ห่างจากปากประมาณ 8 – 12 นิ้ว

2.         ควรให้ไมโครโฟนอยู่ตรงปาก และปรับไมโครโฟนให้เหมาะสมกับความสูงของผู้พูด

3.         ในขณะที่พูดอย่ามองไมโครโฟน แต่ให้มองผู้ฟัง ฯลฯ

19.       การวิเคราะห์ผู้ฟังด้านความเชื่อและทัศนคติ ผู้พูดต้องใช้เป็นข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ

(1)       การสร้างประเด็นและความน่าสนใจในการนำเสนอ

(2)       การสำรวจกรอบความสนใจอย่างคร่าว ๆ

(3)       ปฏิกิริยาตอบกลับด้านต่าง ๆ ที่มีกับหัวข้อการพูด

(4)       กำหนดความยาก-ง่ายของภาษาและข้อมูลที่ใช้นำเสนอ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์กลุ่มผู้ฟัง-ผู้ชมในเชิงนามธรรมจะเริ่มจากการพิจารณาความคิดเห็น ความเชื่อ เพื่อให้ได้มาซึ่งทัศนคติหรือความชอบ-ไม่ชอบต่อหัวข้อหรือประเด็นที่ควรนำเสนอ ในการพูดครั้งนั้น ๆ ซึ่งหากผู้พูดสามารถวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ได้ก็จะทำให้ทราบปฏิกิริยาตอบกลับด้านต่าง ๆ ที่มีกับหัวข้อการพูด เพื่อช่วยให้เตรียมเนื้อหาได้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ฟังเชื่อและยึดถือ

20.       การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง

(1)       เสียง + ความคิด         (2) สำเนียง + ความคิด

(3) เสียง + กิริยาอาการ          (4) ความคิด + ปฏิกิริยา

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การพูดในเชิงวาทวิทยา หมายถึง เครื่องมือทางการสื่อสารที่ต้องใช้เสียงและสำเนียง โต้ตอบประกอบกันเสมอ โดยเสียงเป็นเพียงการเปล่งวาจาออกมา ส่วนสำเนียงจะบอกถึงอากัปกิริยา หรืออารมณ์ที่สื่อออกไป ดังนั้นเสียงจะไม่สามารถบอกอารมณ์ความรู้สึกได้หากไม่มีสำเนียงมาช่วย

21.       ข้อใดต่างจากข้ออื่น

(1)       พัฒนาบุคลิกภาพ       (2) ปรับปรุงตน

(3) ปรับเปลี่ยนวิธีนำเสนอ      (4) คงไว้ในแบบเดิม

ตอบ 4 หน้า 11, (คำบรรยาย) การปรับปรุงตัวผู้พูด หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพให้เหมาะสมกับ การนำเสนอ โดยบุคลิกภาพจะรวมไปถึงการใช้ภาษา น้ำเสียง การยืน การแต่งกาย การใช้สายตา กิริยาท่าทาง ฯลฯ ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องมือสื่อความหมายไปสู่ผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดจึงต้องรู้จักปรับปรุงตน หรือปรับเปลี่ยนวิธีนำเสนอ เพื่อให้ใช้เครื่องมือสื่อความหมายเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

22.       การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย มีผลโดยตรงต่อ

(1)       การสร้างศัพท์และระดับความซับซ้อนของข้อมูลที่นำเสนอ

(2)       การเปิดประเด็นและหัวข้อที่จะพูดให้เหมาะสม

(3)       การกำหนดวัตถุประสงค์ของการพูดในแต่ละครั้ง

(4)       การกำหนดวาระรับรู้และกระบวนการออกแบบเนื้อหา

ตอบ 3 หน้า 20 – 23, (คำบรรยาย) การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ฟัง-ผู้ชม) เป็นสิ่งที่วิชาการพูด ให้ความสำคัญเป็นอับดับตน ๆ ซึ่งการวิเคราะห์ผู้ฟัง-ผู้ชมในการพูดจะนำไปสู่การกำหนด วัตถุประสงค์ของการสื่อสารหรือการพูดในแต่ละครั้ง โดยพิจารณาจากสภาพสังคมประชากร ประสบการณ์ กรอบอ้างอิง ระบบสังคมและวัฒนธรรม และทัศนคติต่าง ๆ ของผู้ฟังเป็นพื้นฐาน

23.       การเริ่มต้นเนื้อหาของการพูด ผู้พูดควรหลีกเลี่ยงเนื้อหาในลักษณะใด

(1)       ปัญหาที่ส่วนใหญ่รู้ และต้องการจะได้รับคำตอบ

(2)       มุขขำขันเพื่อสร้างความเป็นกันเองระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง

(3)       ประเด็นข่าวที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

(4)       เรื่องส่วนตัวของบุคคลที่ตกเป็นข่าว เพื่อสร้างประเด็นชวนติดตาม

ตอบ 4 หน้า 35 – 36, (คำบรรยาย) ในการพูดนั้น จะต้องมีคำนำเพื่อเป็นการเกริ่นหรือเสนอที่มาของ เรื่องที่จะพูด อีกทั้งยังเป็นการเรียกความสนใจเบื้องต้นของผู้ฟัง ดังนั้นผู้พูดที่ฉลาดจึงต้อง ระมัดระวังในเรื่องคำนำหรืออารัมภบทเป็นอย่างมาก ถ้าคำนำดี ผู้ฟังจะเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ทำให้ตั้งใจฟังมากขึ้น แต่ถ้าคำนำไปกระทบเรื่องส่วนตัวของผู้ใดหรือพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง ผู้ฟังก็จะขาดความศรัทธาในตัวผู้พูด ซึ่งก็จะส่งผลให้การพูดไม่ประสบผลสำเร็จ

24.       ลำดับของการพูดก่อน-หลังในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย

(1)       กล่าวนำ ทักทาย สรุปประเด็น (2) ทักทาย เนื้อหาหลัก กล่าวทิ้งท้าย

(3) เนื้อหาหลัก ทักทาย กล่าวสรุป      (4) ทักทาย กล่าวทิ้งท้าย สรุป

ตอบ 2 หน้า 34 – 40, (คำบรรยาย) โครงสร้างของการพูด หรือลำดับของการพูดก่อน-หลัง ในการพูดตามปกตินั้น ประกอบด้วย   1. คำปฏิสันถาร หมายถึง คำทักทายผู้ฟัง

2.         คำนำ หมายถึง การเริ่มเข้าเรื่อง หรือการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง 3. เนื้อเรื่อง หมายถึง เนื้อหาหลัก ของการนำเสนอ หรือกลวิธีนำเสนอ       4. สรุป หมายถึง ความคิดรวบยอดของเรื่อง 5. คำลงท้าย หมายถึง ข้อความกล่าวทิ้งท้ายเพื่อความประทับใจ (ในส่วนของสรุปและคำลงท้าย อาจสลับที่กันได้ ซึ่งจะทำเฉพาะในกรณีที่ผู้พูดมีความเชี่ยวชาญพอสมควร)

25.       หากผู้ฟังเป็นกลุ่มบุคคลช่วงอายุวัยรุ่นที่มีการศึกษาอยู่ใบระดับอุดมศึกษา ผู้พูดควรจะนำเสนอเนื้อหาในลักษณะใด

(1)       เร้าอารมณ์ แฝงความสนุกสนาน ท้าทายความคิดสร้างสรรค์

(2)       ประสบการณ์เสี่ยงตาย สิ่งที่เป็นพิษภัยใกล้ตัว

(3)       การโกหกหลอกลวง สิบแปดมงกุฎ และเล่ห์เหลี่ยมทางธุรกิจ

(4)       สวัสดีภาพ บุคคลผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต การดำรงตนให้เป็นที่เคารพรัก

ตอบ 1 หน้า 21, (คำบรรยาย) วัยรุ่น เป็นวัยที่อยากทดลองหรือลองดีกับสิ่งใหม่ ๆ ชอบชีวิตที่โลดโผนตื่นเต้น ครึกครื้น ท้าทาย และอยากรู้อยากเห็น ฯลฯ ดังนั้นการพูดกับวัยรุ่นจึงควรมีจุดมุ่งหมาย ที่มุ่งในเหตุการณ์ปัจจุบันที่ทันสมัย น่าทดลอง เร้าอารมณ์ แฝงความสนุกสนานหรือมุขตลกขบขัน โดยต้องยอมรับความคิดเห็น และท้าทายความสามารถหรือความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา

26.       ในขั้นตอนของการริเริ่มที่จะวางเค้าโครงเรื่องที่จะพูด อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด

(1)       การตกลงใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล           (2) ความกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหรือเนื้อหาที่จะพูด

(3) ปฏิกิริยาของผู้ฟังที่จะแสดงกลับมา          (4) องค์ประกอบของกลุ่มผู้ฟัง

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในขั้นตอนของการริเริ่มที่จะวางเค้าโครงเรื่องที่จะพูดนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ผู้พูด ต้องกล้าที่จะตัดสินใจเลือกประเด็นหลัก หรือเนื้อหาที่จะพูด และเมือเลือกเนื้อหาที่จะพูดได้แล้ว ผู้พูดต้องวางแผนสร้างสรรค์เนื้อหา ซึ่งประกอบด้วย การเชื่อมโยงความเกี่ยวข้องของข้อมูลต่าง ๆ และการตัดสินใจที่จะเลือกใช้ข้อมูล

27.       สิ่งเร้าภายนอกที่เกิดจากตัวผู้พูด คือ  

(1) บุคลิกภาพและน้ำเสียง

(2)       ความรู้สึกนึกคิด          (3) ระดับการศึกษา     (4) ความเชื่อและทัศนคติ

ตอบ 1 หน้า 7, (คำบรรยาย) สิ่งเร้าที่เกิดจากตัวผู้พูด แบ่งออกเป็น

1.         สิ่งเร้าภายในตัวผู้พูด ได้แก่ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและสุขภาพของผู้พูด เช่น ความรู้สึกหิว โกรธ เกลียด ปวดท้อง คลื่นไส ไม่สบาย ฯลฯ ตลอดจนระดับการศึกษา ความเชื่อ และ ทัศนคติที่อยู่ภายในตัวผู้พูด

2.         สิ่งเร้าภายนอกตัวผู้พูด ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เจ้าภาพ และผู้ชม-ผู้ฟังทั้งหลาย เช่น อุณหภูมิ ในห้องบรรยาย เวลาที่ให้กับผู้พูด ทัศนคติของเจ้าภาพ ความสนใจของผู้ชม-ผู้ฟัง ฯลฯ รวมทั้งสิ่งเร้าภายนอกที่เกิดจากตัวผู้พูด ซึ่งปรากฏระหว่างการสื่อสาร เช่น บุคลิกภาพ และน้ำเสียงที่ผู้พูดได้แสดงออกมา

28.       เหตุใดผู้พูดจึงต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อการนำเสนอ และมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ

(1)       เพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

(2)       เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดลึกซึ้งตรงความสนใจของผู้ฟัง

(3)       เพื่อแสดงออกกึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ควรค่าแก่การนำเสนอ

(4)       เพื่อให้การแบ่งหัวข้อ และหาข้อมูลสนับสนุนเป็นไปอย่างราบรื่น

ตอบ 3 หน้า 32, (คำบรรยาย) ในการพูดนั้นจำเป็นที่จะต้องมีตัวอย่างข้ออ้างอิง รวมทั้งข้อความ ของผู้อื่นที่สนับสนุนความคิดเห็นของผู้พูด โดยมีการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นกึงการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ และมีคุณค่าแก่การนำเสนอ

29.       ทำไมผู้เตรียมสารจึงต้องมีการเขียนเค้าโครงเรื่อง

(1)       เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม   (2) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในที่มาของข้อมูล

(3)       เพื่อป้องกันความสับสน           (4) เพื่อให้ผู้ฟังเกิดจินตนาการได้ตามเนื้อหา

ตอบ 3 หน้า 31-32, (คำบรรยาย) ในการเตรียมเรื่องพูดนั้น ผู้พูดจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงร่าง หรือโครงเรื่อง (Outline) ขึ้นมาก่อน ซึ่งมีประโยชน์ ดังนี้

1.         ช่วยวางแนวทางว่าเรื่องที่จะพูดนั้นมีหัวข้ออะไรบ้าง

2.         ช่วยเป็นแนวทางการเรียงลำดับ (Order) เรื่องที่จะพูด

3.         ช่วยทำให้เนื้อหามีเอกภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่หลุดกรอบแนวคิดหลักของเรื่อง

4.         ช่วยให้การดำเนินเรื่องไม่สับสน และง่ายแก่การจดจำไปพูด

30.       วิธีการใดที่ผู้เตรียมจะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลมากที่สุด

(1)       อ่านจากหนังสือพิมพ์รายวันในส่วนที่เป็นข่าวเจาะ

(2)       ตรวจสอบในอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายออนไลน์

(3)       สอบถามจากผู้สื่อข่าว หรือลื่อมวลชนในสายงานนั้น ๆ

(4)       สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และยังมีชีวิตอยู่

ตอบ4  หน้า 33255, (คำบรรยาย) การสัมภาษณ์ หมายถึง การสื่อสารด้วยกระบวบการพูดคุยโดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ ข่าวสาร หรือประเด็นที่เป็นสาระโดยตรง ผ่านบุคคล ที่มีการเลือกสรรแล้ว ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้มาถือเป็นข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลที่มีความเฉพาะเจาะจง ตามเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ และตามสถานการณ์ขณะนั้น

31 ไม่ว่าจะขึ้นต้นคำนำด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ผู้พูดไม่สามารถละเลยได้ก็คือ

(1)       ต้องตื่นเต้นเร้าใจเสมอ (2) กล่าวถึงแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

(3) สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะกล่าวในลำดับถัดไป (4) สัมพันธ์กับคำทักทายผู้ฟัง

ตอบ 3 หน้า 35, (ดูคำอธิบายข้อ 23. ประกอบ) การขึ้นต้นคำนำมีหลายวิธีและหลายแบบ ซึ่งผู้พูด อาจขึ้นต้นคำนำด้วยสุภาษิต อ้างคำคม การตั้งคำถาม ฯลฯ แต่ไม่ว่าจะขึ้นต้นคำนำด้วยวิธีการ ใด ๆ ก็ตาม คำนำนั้น ๆ ต้องสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง (Main Body) ที่จะกล่าวในลำดับถัดไป

32.       การขยายเนื้อเรื่องด้วยการให้คำจำกัดความ หมายถึง

(1)       อธิบายความหมายด้วยการสร้างประโยคใหม่

(2)       ชี้ให้เห็นถึงข้อแตกต่างในประเด็นสำคัญ

(3)       นำสิ่งต่าง ๆ มาเปรียบเทียบจนทำให้ข้อความที่จะพูดยาวขึ้น

(4)       พูดถึงสิ่งที่เป็นผลกระทบของประเด็นที่จะนำเสนอด้วยข้อมูลที่มีความละเอียด

ตอบ1 หน้า 37, (คำบรรยาย) การขยายความเนื้อเรื่องด้วยการให้คำจำกัดความ หมายถึง การอธิบายความหมายของศัพท์และประเด็นหลัก หรืออธิบายถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งอย่างให้เห็นชัดเจน โดยการสร้างประโยคใหม่แต่มีความหมายเหมือนเดิม

33.       ข้อใดเป็นการสร้างความประทับใจในการพูด

(1)       การกล่าวขอบคุณทุกครั้งที่ทำได้

(2)       ขออภัยในข้อผิดพลาดของตนเองในขั้นตอนสรุป

(3)       จำขื่อ-นามสกุล ตำแหน่งของบุคคลที่กล่าวถึงได้แม่นยำและอย่ากล่าวผิด

(4)       การจบการพูดด้วยการกล่าวอวยพร

ตอบ 3 (คำบรรยาย) วิธีการสร้างความประทับใจในการพูดประการหนึ่ง คือ การจดจำชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งของบุคคลที่กล่าวถึงได้อย่างแม่นยำและอย่ากล่าวผิด ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ ต่อตัวผู้พูดว่าได้มีการเตรียมตัวมาอย่างดี

34.       ข้อใดเป็น Speech

(1)       ดร.สุพจน์สั่งงานลูกน้องทันทีที่พบหน้า            (2) คุณสุดสอางค์คุยกับแม่ค้าขายทุเรียนที่ตลาด

(3)       คุณหญิงเปรมจิตต์ให้เลขานุการส่วนตัวร่างบทพูดขอบคุณท่านรัฐมนตรี

(4)       พ.ท.อุกฤกษ์กำชับให้นายสิบทหารเวรตรวจตรารอบที่ตั้งอย่างรอบคอบ

ตอบ 3 หน้า 6, (คำบรรยาย) Speech หมายถึง สาระหรือเนื้อหาหรือเนื้อเรื่องที่พูด โดยทั่วไปจะมาจาก ความคิดของผู้พูด ซึ่งเป็นกระบวนการพูดอย่างเป็นทางการที่จะต้องมีการวิเคราะห์ผู้รับสาร (ผู้ฟัง)มีการเตรียมตัวพูดอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ มีการลำดับและการดำเนินเรื่องที่ดี ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ (มีบทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป) เช่น การแสดงปาฐกถา การอภิปราย การร่างบทพูดในวาระโอกาสต่าง ๆ ฯลฯ (ส่วน Speaking หมายถึง การพูดหรือการสนทนา ในชีวิตประจำวันโดยทั่ว ๆไปเช่นการพูดกับพ่อแม่การพูดคุยกันในหมู่เพื่อนฝูง ฯลฯ)

35.       หากไม่นับการเตรียมตัวไม่พร้อมแล้ว อะไรคือสาเหตุของการประหม่าตื่นเต้น(1)       การทรงตัวไม่สมดุลขณะพูด    (2) การใช้ไมโครโฟนไม่เป็น

(3) การแต่งกายที่ไม่ถูกกาลเทคะ       (4) การไม่รู้จักประธานในงาน

ตอบ 3 หน้า 2054 – 55, (คำบรรยาย) สาเหตุหลักของการขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนก่อให้เกิด ความประหม่าตื่นเต้นบนเวที มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้    1. การไม่เตรียมตัวมาอย่างดีพอ 2. การไม่ซักซ้อมอย่างเพียงพอ 3. การไม่ใส่ใจต่อบุคลิกภาพของตนเอง เมื่อต้องปรากฏตัว ให้เหมาะสมกับลักษณะพิธีการ สถานที่ และเจ้าภาพ เช่น การแต่งกายที่ไม่ถูกกาลเทศะ เป็นต้น

36.       เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจอย่างมาก ผู้พูดควรจะ

(1)       หยุดพูด จนเมื่อการแสดงความพอใจจบลงจึงเริ่มพูดต่อ

(2)       กล่าวขอบคุณดัง ๆ ด้วยความจริงใจ

(3)       พูดเร่งเร้าอารมณ์ผู้ฟังต่อไป

(4)       เดินลงจากเวทีเพื่อไปสัมผัสมือกับผู้ฟัง

ตอบ 1 หน้า 52 – 53, (คำบรรยาย) ข้อควรปฏิบัติเมื่อขึ้นเวทีพูด มีดังนี้

1.         ในระหว่างการเดินเข้า ณ ตำแหน่งที่พูดหลังจากพิธีกรเชิญผู้พูดขึ้นพูดแล้ว ผู้พูดไม่ต้อง ทำความเคารพหรือทักทายใครอีกแล้ว       2. ในนาทีแรกที่เริ่มพูดนั้นควรพูดช้า ๆ  3.หลังจากกล่าวคำปฏิสันถารแล้ว ผู้พูดจะต้องไม่ออกตัวหรือขอโทษ/ขออภัยในความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องของตนเอง    4.           ควรหลีกเลี่ยงการกระแอมกระไอก่อนพูด การใช้มือเคาะไมโครโฟน หรือพูดว่า ฮัลโหล ๆ  5. เมื่อผู้ฟังแสดงความพอใจหรือไม่พอใจขึ้นมา ผู้พูดควรหยุดพูดเป็นอันดับแรก จนเมื่อเสียงแสดงความพอใจหรือไม่พอใจนั้น ๆ จบหรือซาลงจึงเริ่มพูดต่อไป ฯลฯ

37.       ข้อใดที่ผู้พูดไม่ควรกระทำต่อผู้ดูแลประสานงานการพูดอย่างยิ่ง

(1)       ขอให้ยืนยันกำหนดการและลำดับการพูดต่อหน้าเจ้าภาพ

(2)       ขอให้เปลี่ยนเครื่องดื่มจากน้ำส้มมาเป็นน้ำเปล่าก่อนการพูด

(3)       วิจารณ์อุปกรณ์ เครื่องมือ และซอฟต์แวร์ที่ใช้นำเสนอเนื้อหาขณะพูด

(4)       แจ้งว่าอุปกรณ์และเครื่องมือบนเวทีบกพร่อง หรือไม่สามารถใช้งานได้ขณะพูด

ตอบ 3 (คำบรรยาย) สิ่งที่ผู้พูดไม่ควรกระทำต่อผู้ดูแลประสานงานการพูดอย่างยิ่ง คือ การวิจารณ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ และซอฟต์แวร์ที่ใช้นำเสนอเนื้อหาขณะพูด เพราะนอกจากจะแสดงถึง มารยาทที่ไม่ดีของผู้พูดแล้ว ยังเป็นการไม่ให้เกียรติต่อเจ้าภาพหรือหน่วยงานที่เชิญไปพูดอีกด้วย

38.       การพูดเรื่องส่วนตัวของตนเองมากเกินไป เป็นการผิดมารยาทในการพูดด้านใด

(1)       ไม่แสดงออกถึงความตั้งใจที่จะพูด     (2) ใช้อารมณ์ไม่ถูกกาลเทศะ

(3) ไม่ให้เกียรติผู้ฟังเท่าที่ควร  (4) ผูกขาดการพูดเอาไว้แต่ผู้เดียว

ตอบ 3 หน้า 66 ในการพูดนั้น ผู้พูดไม่ควรพูดเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องภายในครอบครัว และ ไม่ควรพูดอวดตน อวดภูมิ ข่ม หรือถือว่าตนเองดีกว่าผู้ฟัง เพราะนอกจากจะไม่สุภาพแล้ว ยังเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟังอีกด้วย

39.       ตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูดที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการในขณะที่ผู้พูดมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้ว คือ           

(1) อารมณ์

(2)       บรรยากาศ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม (3) สถานที่ที่ได้รับเชิญไป      (4) การจัดรูปแบบของเวที

ตอบ 2 หน้า 7, (คำบรรยาย) บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีและที่ดีเกินไปย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพูดทำให้ผลของการพูดไม่ตรงตามความมุ่งหมาย และถือเป็นตัวแปรด้านลบที่มีส่วนทำให้เนื้อหาการพูด ที่เตรียมมาไม่สามารถถ่ายทอดตามความต้องการได้ ถึงแม้ผู้พูดจะมีความพร้อมอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

40.       การพูดเกินเวลาที่กำหนด เป็นการผิดมารยาทข้อใดมากที่สุด           

(1) ไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพอ

(2)       ขาดการรับฟังความคิดเห็น      (3) ไม่คิดให้รอบคอบก่อนที่จะพูด       (4) ไม่รักษาสิทธิที่พึงมีของผู้ฟัง

ตอบ 4 หน้า 67 ในการพูดนั้น ผู้พูดควรพูดให้เหมาะกับเวลา อย่าพูดเกินเวลาที่กำหนดไว้ เพราะเป็นการแสดงว่าผู้พูดไม่ได้เคารพและไม่ได้รักษสิทธิที่พึงมีของผู้ฟังเหมือนกับของตนเอง

41.       หากพิจารณาในเชิงจิตวิทยาแล้ว เหตุใดมนุษย์จึงชอบพูดมากกว่าฟัง

(1)       เพราะสามารถสร้างความได้เปรียบในความถูกต้องได้มากกว่า

(2)       เพราะการพูดสร้างความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่า

(3)       เพราะการพูดเป็นช่องทางเลือกรับข้อมูลได้มากกว่า

(4)       เพราะการพูดรับปฏิกิริยาตอบกลับได้มากกว่า

ตอบ 2 หน้า 69 โดยปกติแล้วคนเราชอบพูดมากกว่าชอบฟัง เพราะในขณะที่พูดนั้นผู้พูดจะสร้าง ความมั่นใจและมีความรู้สึกว่าตนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ตนได้แสดงความคิดเห็น และ ได้รับความสนใจจากผู้ฟัง

42.       หากพิจารณาในเชิงพฤติกรรมการสื่อสารแล้ว เหตุใดจึงไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว

(1)       เพราะโครงสร้างของกลุ่มเป้าหมายจะผิดเพี้ยน

(2)       เพราะไม่เกิดความสมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร

(3)       เพราะจะเกิดสภาพการเลือกรับและตีความข่าวสารขึ้น

(4)       เพราะจะทำให้การตีความหมายของข่าวสรเกิดความบิดเบือน

ตอบ 2 หน้า 67, (คำบรรยาย) หากพิจารณาในเชิงพฤติกรรมการสื่อสารแล้ว ผู้พูดไม่ควรผูกขาดการพูดไว้ฝ่ายเดียว เพราะจะทำให้เกิดความไม่สมดุลในโครงสร้างของการสื่อสาร ดังนั้นจึงควรเปิดโอกาส ให้ผู้อื่นพูดและแสดงความคิดเห็นบ้าง ซึ่งนอกจากจะเป็นการพูดที่ส่งเสริมประชาธิปไตยแล้ว ยังแสดงออกถึงมารยาทที่ดีงามในการพูดอีกด้วย

43.       การฟังเพื่อเก็บสาระ พิจารณาจาก    (1) ลำดับการนำเสนอ

(2)       ความสัมพันธ์กับหัวเรื่อง          (3) ประเด็นสำคัญตามจุดมุ่งหมาย     (4) ข้อสรุปในช่วงกล่าวส่งท้าย

ตอบ 3 หน้า 69 การฟังเพื่อเก็บสาระสำคัญ เป็นการฟังที่ผู้ฟังจะต้องเข้าใจจุดประสงค์ของตนเองว่า ตนเองต้องการรับอะไรจากผู้พูด ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจด้วยว่าผู้พูดต้องการจะให้อะไร แก่ผู้ฟัง เมื่อผู้ฟังสามารถรู้หรืออ่านแนวความคิดของผู้พูดได้แล้ว ผู้ฟังก็จะตั้งใจฟังเพื่อที่จะเก็บประเด็นสำคัญตามจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการฟัง

44.       ข้อใดเป็นความต้องการที่จะรู้ของผู้ฟัง ตามทัศนะของอริสโตเติล     

(1) ความฉลาดของผู้พูด

(2)       ทักษะของผู้พูด            (3) แรงบันดาลใจของผู้พูด      (4) ผลประโยชน์ของผู้พูด

ตอบ 1 หน้า 70, (คำบรรยาย) ความต้องการที่จะรู้ของอริสโตเติล (Aristotle) คือ สิ่งที่ผู้ฟังต้องการเห็นหรือต้องการรู้เกี่ยวกับตัวผู้พูด มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1. ความฉลาดหรือสติปัญญาของผู้พูด

2.         บุคลิกลักษณะ ท่วงที หรือลีลาในการนำเสนอ

3.         ข้อคิดหรือสาระดี ๆ ที่ได้จากการพูด (Goodwill)

45.       การแก้ปัญหาการพูดในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจะเตรียมการพูดล่วงหน้าได้ สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่สุด คือ

(1)       สิ่งเร้า   (2) ภาพพจน์   (3) ภาพลักษณ์           (4) การวิเคราะห์

ตอบ 4 หน้า 89, (คำบรรยาย) การพูดปากเปล่าโดยไม่มีการเตรียมล่วงหน้า (การพูดโดยกะทันหัน) เช่น การพากย์กีฬามวย ฟุตบอล หรือเรือยาวการกล่าวทักทายเมื่อเผอิญได้พบกันการตอบปัญหาบางประการ ฯลฯ มีข้อควรปฏิบัติ ตังนี้ 1. ควบคุมสติให้ดี ไม่ต้องรีบตอบ หากไม่เข้าใจคำถามดีพอ อาจขอให้ทวนคำถามหรือขออภัยที่ไม่สามารถตอบได้ 2. ใช้ปัญญาวิเคราะห์ประเด็นคำถาม หรือใช้ปฏิภาณไหวพริบในการคิด และรวบรวมความรู้ประสบการณ์ของตนเองให้ได้อย่างรวดเร็ว

3.         พยายามนึกถึงโครงสร้างการพูด และลำดับความคิดเห็นหรือเรื่องให้ตรงประเด็น

4.         ฝึกซ้อมตอบคำถามในใจในเรื่องที่เตรียมได้ 5. พูดให้สั้นและมีความหมายชัดเจน

46.       การตอบคำถามในการพูดโดยไม่มีการเตรียมตัวเอาไว้ล่วงหน้า ควรมีลักษณะ

(1)       ชี้แจงรายละเอียดและให้ข้อมูลมากที่สุด

(2)       บอกปัดและถ่ายโอนไปให้ผู้ที่รู้มากกว่า หรือน่าจะรับผิดชอบแทนได้

(3)       ขออภัยที่ไม่สามารถตอบได้ หากไม่เข้าใจคำถามดีพอ

(4)       นำสถิติและข้อมูลทางเทคนิคมาประกอบการทำความเข้าใจ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

47.       การเตรียมสาร ผู้เตรียมสามารถจัดทำได้ใน 2 กรณี คือ        

(1) ผู้พูด ผู้ฟัง

(2)       ผู้พูด คนอื่นที่จะพูด     (3) เจ้าภาพ ประธานในพิธี      (4) ผู้ฟัง ผู้สังเกตการณ์

ตอบ 2 (คำบรรยาย) ในทางวาทวิทยาหรือวาทนิพนธ์นั้น หากพิจารณาในด้านของผู้จัดทำร่างบทพูดแล้วการเตรียมสารเพื่อการนำเสนอสามารถเตรียมได้ใน 2 กรณี คือ การเตรียมให้กับตนเอง (ตัวผู้พูดเอง) และการเตรียมให้กับผู้อื่น (คนอื่นที่จะพูด)

48.       ข้อใดเป็นการแบ่งการพูดตามจุดมุ่งหมาย    

(1) เร้าอารมณ์ สร้างจุดสนใจ

(2)       ให้ความบันเทิง ชักจูงใจ          (3) บอกเล่า กล่าวความจริง    (4) ท่องจำ กล่าวตามหัวข้อ

ตอบ 2 หน้า 92 การพูดตามจุดมุ่งหมาย แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

1.         การพูดเพื่อให้สาระความบันเทิง          2. การพูดเพื่อให้ความรู้หรือเล่าข้อเท็จจริง

3.         การพูดเพื่อชักจูงใจหรือโน้มน้าวจิตใจ

49.       การพูดจากต้นฉบับต้องอาศัย…….เสมอ

(1)       โสตทัศนูปกรณ์           (2) การประสานสายตา (3) การโน้มน้าวจิตใจ            (4) คำทิ้งท้าย

ตอบ 2 หน้า 90 – 91 ข้อแนะนำสำหรับการพูดโดยการอ่านจากต้นฉบับประการหนึ่ง คือในขณะที่ อ่านนั้น ไม่ควรถือต้นฉบับให้สูงหรือต่ำเกินไป ระวังอย่าให้ลมพัดกระดาษที่อ่านปลิวไป และ ควรจะใช้การประสานสายตา (Eye-contact) กับผู้ฟังเสมอ

50.       ในการพูดเพื่อความบันเทิง มีอะไรเป็นสิ่งเร้าสำคัญ

(1)       ผลประโยชน์   (2) บรรยากาศ (3) ความรู้สึก   (4) ความต้องการ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 3. ประกอบ

51.       เป้าหมายของการพูดเพื่อชักจูงใจ คือ 

(1) เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนทัศนคติ

(2)       การทำตามคำสั่ง        (3) สร้างภาวะทางอารมณ์กดดัน        (4) ให้ข้อมูลข่าวสารด้านเดียว

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 5. ประกอบ

52.       การเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูดนั้นไม่ควรที่จะ

(1)       มีหัวข้อที่สั้น กระชับ ชัดเจน     (2) ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความโดดเด่น

(3)       บรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป   (4) จัดทำอย่างประณีตด้วยความรอบคอบ

ตอบ3 หน้า 139, (คำบรรยาย) หลักการเตรียมเนื้อหาของรายงานที่จะพูด มีดังนี้

1.         เรียบเรียงเนื้อหาด้วยความประณีตและรอบคอบ

2.         ใจความสำคัญของเนื้อหาต้องสั้น กระชับ ชัดเจน พร้อมทั้งมีข้อมูลทางสถิติ

3.         ทำหัวข้อย่อย ๆ ให้มีความเด่น ง่ายต่อการอ่าน โดยมีการใส่หมึกไฮไลต์ขีดทับ

4.         ไม่ควรบรรจุเนื้อหาที่สมบูรณ์ของเรื่องลงไป

5.         เขียนบันทึกย่อประเด็นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ในการพูดไว้ท้ายกระดาษ

6.         ใช้ข้อความที่ประกอบด้วยคำพูดเพื่อแสดงให้รู้ว่าจบเนื้อหาของเรื่องที่พูดตอนหนึ่ง ๆ แล้ว ฯลฯ

53.       เนื้อหาประเด็นใดที่จำเป็นต้องมีในการพูดแถลงข้อเท็จจริง

(1)       หัวข่าวที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ให้ความสนใจ และติดตามรายงานข่าวอยู่

(2)       สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญถึงกับต้องให้เจ้าหน้าที่ปิดบังข้อเท็จจริง

(3)       ปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวง ทำให้ต้องมีการค้นคว้าข้อเท็จจริงนั้นขึ้นมา

(4)       สถิติ ข้อมูล สาระของแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ยังสำรวจไม่เสร็จ

ตอบ 3 หน้า 141 หลักเกณฑ์ของการพูดรายงานแบบแถลงข้อเท็จจริง ในกรณีที่เนื้อหาเน้นหนัก ไปในทางค้นคว้า ประกอบด้วย

1.         บทนำ (จุดประสงค์ของรายงานนั้น) เช่น กล่าวถึงปัญหาที่สำคัญ สาเหตุ ฯลฯ

2.         การค้นคว้าเอกสาร ข้อมูล/ข้อเท็จจริง และหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะพูด

3.         วิธีค้นคว้า และที่มาของข้อมูลที่ผู้พูดใช้          4. สรุปผลของการค้นคว้า และเสนอแนะ

54.       การพูดในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์มีรูปแบบเฉพาะที่ต่างจากการพูดประเภทอื่นอย่างไร

(1)       เนื้อหาที่จะพูดต้องเป็นข้อเท็จจริงเสมอ

(2)       ต้องมีการนำเสนอโดยใช้เหตุผลประกอบ

(3)       ต้องมีการจัดสมดุลของเนื้อหา และผลกระทบทีเกิดขึ้นกับบุคคลที่กล่าวอ้าง

(4)       ต้องมีการใช้กติกา ข้อกำหนด หรือตัวบ่งชี้ต่าง ๆ มาเป็นเกณฑ์

ตอบ 2 หน้า 169 การพูดวิจารณ์ หมายถึง การพูดทั้งติและชมสิ่งใดสิ่งหนึ่งในแง่ต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล และถูกหลักการวิจารณ์ ซึ่งลักษณะหรือรูปแบบเฉพาะของการพูดวิพากษ์วิจารณ์ที่แตกต่างจาก การพูดชนิดอื่น ๆ คือ เป็นการพูดที่ต้องใช้หลักทางตรรกวิทยา (Logic) หรือใช้หลักทางเหตุผล มาประกอบ โดยจะไม่เอาอารมณ์ของผู้พูดเข้ามาเกี่ยวข้อง

55.       การพูดวิจารณ์ผลงานที่ตีพิมพ์ผ่านสื่อสาธารณะ ควรเน้นที่

(1) รูปแบบ และช่องทางนำเสนอ        (2) กลวิธีนำเสนอ และช่องทางที่ใช้

(3)       ผลกระทบต่อบุคคล และความถูกถ้วน           (4) งบประมาณ และผลตอบแทนที่ใช้

ตอบ 3 (คำบรรยาย) การพูดวิจารณ์ผลงานที่ตีพิมพ์ผ่านสื่อสาธารณะ ควรเน้นที่ความถูกถ้วน และ ผลกระทบต่อบุคคลเป็นสำคัญ โดยผู้วิจารณ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อย่างดีพอ จึงจะสามารถวิจารณ์ไต้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล มีข้ออ้างอิง เพราะหากวิจารณ์อย่างไม่รู้จริง ก็อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลที่เป็นเจ้าของผลงานให้ได้รับความเสียหายได้

56.       ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับการวิจารณ์การพูดได้อย่างถูกต้องที่สุด

(1)       การวิจารณ์เป็นการตรวจอบข้อบกพร่องของผู้พูดโดยตรง

(2)       การวิจารณ์การพูด คือ การตรวจสอบปฏิกิริยาที่ดีของกลุ่มเป้าหมาย

(3)       การวิจารณ์ต้องทำโดยสื่อมวลชน เพราะกระจายข้อมูลได้ทั่วถึง

(4)       การวิจารณ์นั้น ผู้พูดและผู้ฟังไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผลรองรับเสมอไป

ตอบ 1 หน้า 485 การประเมินผลในการพูดที่ดีนั้น จำเป็นจะต้องมีการวิจารณ์การพูด เพราะการวิจารณ์ เป็นการพูดติ-ชมเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องของผู้พูดโดยตรง พร้อมกับให้คำแนะนำตามหลักเกณฑ์ ของการวิจารณ์การพูด เพื่อส่งเสริมให้ปรับปรุงการพูดให้ได้ผลดีอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

57.       ข้อใดคือวัตถุประสงค์โดยตรงของการประชุม           

(1) เพื่อจัดการความรู้

(2)       เพื่อบริหารความเสี่ยง (3) เพื่อแสดงการมีส่วนร่วม     (4) เพื่อบริหารและสั่งการ

ตอบ 3 หน้า201,(คำบรรยาย) จุดมุ่งหมายของการประชุมได้แก่ 1.เพื่อแถลงข่าวและเรื่องราวต่างๆ

2. เพื่อปรึกษาหารือ ขอคำแนะนำ และแสดงความคิดเห็น 3. เพื่อดำเนินงานหรือประสานงาน

4.         เพื่อให้การศึกษา          5. เพื่อพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ

6.         เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมและเกิดทัศนคติใหม่ ๆ ในการดำเนินงาน

58.       หากพิจารณาตามวาระของการประชุมแล้ว โดยปกติองค์กรจะมีการประชุม 2 ลักษณะ คือ

(1)       รายเดือน รายวัน          (2) วาระปกติ วาระจร

(3)       ภายในองค์กร ภายนอกองค์กร          (4) สมัยสามัญ สมัยวิสามัญ

ตอบ 4 หน้า 202 หากพิจารณาตามวาระการประชุมแล้ว การประชุมมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1.         การประชุมสมัยสามัญ (วาระสามัญ) 2. การประชุมสมัยวิสามัญ (วาระวิสามัญ)

59.       ญัตติในการประชุม คืออะไร

(1) ความเห็นของบรรดาสมาชิก          (2) ข้อเสนอเพื่อพิจารณา

(3)       มติที่ได้จากการลงคะแนน       (4) วาระการประชุม

ตอบ 2 หน้า 203 ญัตติ คือ ข้อเสนอเพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องเสนอเป็น ลายลักษณ์อักษรผ่านเลขานุการ แล้วเลขานุการก็จะนำญัตตินั้น ๆ เสนอต่อที่ประชุมต่อไป

60.       ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ประธานในการประชุม

(1)       รักษาเวลาการประชุม (2) จดบันทึกรายงานการประชุม

(3)       เปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็น    (4) ชักชวนให้ประชุมอย่างสงบ

ตอบ 2 หน้า 204 – 206 ประธานที่ประชุมมีหน้าที่ที่สำคัญ ดังนี้ 1. เปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็น

2.         รักษาเวลาการประชุม 3. ชักชวนให้ประชุมอย่างสงบ ฯลฯ (ส่วนการจดบันทึกรายงานการประชุม เป็นหน้าที่ของเลขานุการ)

61.       ครบองค์ประชุม หมายถึง      

(1) ครบจำนวนตามสมาชิกที่ลงทะเบียนไว้

(2)       เอกสารและผู้เข้าประชุมครบพอดีกัน

(3) ครบจำนวนผู้เข้าประชุมตามที่กำหนดในระเบียบ

(4)       สัดส่วนและจำนวนผู้ถือสิทธิตามที่กฎหมายระบุเข้าประชุมครบ

ตอบ 3 หน้า 203 ครบองค์ประชุม หมายถึง ครบจำนวนผู้เข้าประชุมตามที่ระบุไว้ใบระเบียบ เช่น 2/3 ของสมาชิกทั้งหมด ถ้าสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมก็ต้องยกเลิกการประชุม แต่ถ้ายังมี การประชุมต่อไป มติที่ได้จากการประชุมนั้นให้ถือว่าเป็นโมฆะ จะนำไปใช้ไม่ได้

62.       การพูดเพื่อรายงานการประชุม มีความสัมพันธ์กับข้อใด

(1)       พูดเพี่อชักจูงใจ            (2) พูดเพื่อให้เกดความรู้สึกสมานฉันท์

(3)       พูดโดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้า       (4) พูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้

ตอบ 4 หน้า 90207 การพูดรายงานการประชุมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการพูดรายงานชนิดอื่น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การพูดรายงานการประชุมก็คือ การอ่านรายงานการประชุมที่เขียนเสร็จ เรียบร้อยแล้ว หรือเป็นการพูดโดยอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้นั่นเอง

63.       การบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มีสิ่งที่ผู้พูดต้องให้ความสำคัญและเป็นกระบวนการที่ขาดมิได้ คือ

(1)       การวิเคราะห์ผู้ฟัง        (2) ใช้สำนวนที่มาจากต้นฉบับ

(3)       บอกรายละเอียดของตัวละครให้มาก  (4) เปลี่ยนแนวเรื่องหากผู้ฟังคุ้นเคย

ตอบ 1 หน้า 219 – 220 การบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือการเล่านิทาน มีข้อควรระวัง ดังนี้

1.         ต้องมีการวิเคราะห์ผู้ฟังเสมอ  2. อย่าให้มีรายละเอียดของตัวละครมากเกินไป

3.         อย่าใช้ภาษาเขียนที่มาจากต้นฉบับ

4.         ไม่ควรเปลี่ยนแนวเรื่องถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังคุ้นเคย แต่ควรปรับปรุงเทคนิคในการเล่าให้สนุก

5.         ควรสอดแทรกคติสอนใจหรือคุณธรรมลงในเรื่องที่เล่า ฯลฯ

64.       ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์โดยตรงของการเล่าเรื่อง

(1) ชี้แนะสั่งสอนแบบไม่รู้ตัว   (2) ทำให้จดจำง่าย

(3)       สร้างการรับรู้แบบผู้ฟังมีส่วนร่วม         (4) ชักจูงให้เปลี่ยนพฤติกรรม

ตอบ 4 หน้า 217 ประโยชน์ของการเล่าเรื่อง ได้แก่      1. เป็นวิธีชี้แนะสั่งสอนแบบไม่รู้ตัว 2.  ทำให้ผู้เรียนสนใจฟัง เข้าใจง่าย และจดจำเนื้อเรื่องได้ดี       3. ทำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในเรื่อง ที่แปลกหรือมหัศจรรย์ ในเหตุการณ์ที่ตื่นเต้นน่ากลัว และในปรากฏการณ์ของธรรมชาติ

65.       การเล่าเหตุการณ์ที่ได้ประสบด้วยตนเอง เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า

(1) ประสบการณ์เชิงประจักษ์ (2) ประเด็นสื่อสารส่วนตัว

(3)       การเล่าประวัติเชิงพฤติกรรม   (4) การเล่าเหตุการณ์ส่วนตัว

ตอบ 4 หน้า 223 การเล่าเหตุการณ์ส่วนตัว หมายถึง การเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศร้า ประทับใจหรือตื่นเต้นก็ได้โดยการเล่าเรื่องแบบนี้มักจะเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งอาจจะได้จากชีวิตประจำวัน ได้จากการท่องเที่ยว หรือได้จากการฟังผู้อื่นมาก็ได้

66.       การนำเสนอชีวประวัติของบุคคลนั้น สิ่งที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ คือ

(1) ผลงานชิ้นสำคัญ   (2) ช่วงเวลาสำคัญในชีวิต

(3) บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง    (4) การงานที่รับผิดชอบในบั้นปลาย

ตอบ 1 หน้า 220 – 221 การเล่าชีวประวัติของบุคคลสำคัญนั้น ผู้เล่าควรจะให้ความสำคัญหรือเน้น ถึงผลงานชิ้นสำคัญ ๆ หรือวีรกรรมอันเป็นเหตุให้บุคคลนั้นกลายมาเป็นบุคคลสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้เพราะผลงานนั้นเปรียบเสมือนเป็นหัวใจของชีวประวัติของบุคคลสำคัญนั่นเอง

67.       ข้อควรระวังที่สุดสำหรับการบอกเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัติ ได้แก่

(1) ข้อมูลที่ละเอียด     (2) ข้อโต้แย้งที่ไม่มีข้อสรุป

(3) ความน่าเบื่อ           (4) ต้นฉบับจากหลายแหล่งอ้างอิง

ตอบ 3 หน้า 222 การบอกเล่าประวัติศาสตร์หรือชีวประวัติบุคคลสำคัญจะต้องระวังข้อผิดพลาดต่าง ๆดังนี้ 1. ไม่ควรที่จะกล่าวถึงชีวิตส่วนตัวของเจ้าของชีวประวัติมากเกินไป เพราะจะเป็นการ แสดงถึงความไม่นับถือ 2. ควรเล่าเฉพาะเหตุการณ์ที่ผู้อื่นยังไม่รู้ ส่วนเหตุการณ์ที่คน ส่วนมากรู้แล้วก็เล่าอย่างย่นย่อหรือข้ามไป เพราะจะทำให้ผู้ฟังเบื่อหน่าย ขาดความสนใจ   3. ควรจะอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมและสุภาพ ไม่ยกย่องจนเกินไป

68.       การพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง สิ่งที่จะเป็นข้อมูลสำคัญที่สุด คือ

(1)       ประสบการณ์ร่วม       (2) แหล่งอ้างอิง           (3) ข้อมูลที่มีรายละเอียด        (4) ความจริง

ตอบ 4 (คำบรรยาย) การพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตบเอง หรือการพูดเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น การสัมภาษณ์เข้าทำงาน ฯลฯ มีสิ่งที่เป็นสาระหรือข้อมูลสำคัญที่สุด คือ . ความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งการพูดจากความเป็นจริง หมายถึง การพูดในสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน เป็นข้อมูลระดับพื้นฐานที่มีอยู่จริง หรือที่ปรากฏออกมาให้เห็น

69.       การพูดเพื่อให้คำปรึกษาที่ดี ควรมีเป้าหมายไปที่       

(1) ทางออกที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด

(2)       ผลประโยชน์กับผู้พูดมากที่สุด           (3) ความรู้ที่ผู้ฟังควรได้รับ       (4) การให้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเติม

ตอบ 1 หน้า 248250, (คำบรรยาย) การพูดให้คำปรึกษาที่ดีเพื่อให้การชี้แนะเชิงพฤติกรรมนั้นควรอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมเป็นหลัก โดยวิธีที่ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่ควรจะใช้ ในการพูดปรึกษาก็คือ การสะท้อนความรู้สึก ซึ่งมีประโยชน์มากในการพูดให้คำปรึกษาแนะนำ กับนักเรียน นักโทษ ที่มีปัญหาความประพฤติและระเบียบวินัย ทั้งนี้เพื่อสร้างบรรยากาศ ให้มีความอิสรเสรี ความเข้าใจ ความไว้วางใจกัน อันจะเป็นทางนำไปสู่ที่มาของปัญหา และมีเป้าหมายไปที่การแก้ปัญหาซึ่งเป็นทางออกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

70.       ความถนัดและทักษะของผู้พูดต้องอาศัยกระบวนการ……….ถึงจะเกิดการพัฒนา

(1)       วิเคราะห์ตนเอง           (2) วิเคราะห์ผู้รับสาร

(3)       วิเคราะห์เนื้อหาเพื่อนำเสนอ   (4) วิเคราะห์สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม

ตอบ 1 (คำบรรยาย) การวิเคราะห์ตนเอง เป็นการวิเคราะห์ตัวผู้พูดเองเพื่อพัฒนาปรับปรุงและสร้างบุคลิกภาพในการพูดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะป็นในค้านการใช้ภาษา น้ำเสียง ความถนัด และทักษะของผู้พูด ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่จะพูด ตลอดจนสุขภาพอนามัย และความเชื่อมั่น ในตนเองก่อนขึ้นพูด

71.       ในการพูดเชิงสาธิตนั้น ความเป็นจริงที่ผู้พูดจะต้องระลึกไว้ตลอดเวลา คือ

(1)       อุปกรณ์ทุกอย่างสามารถใช้แทนคำพูดได้

(2)       อย่าใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอมาทดแทนการให้ความรู้ในทุกเรื่อง

(3)       จับจ้องมองอุปกรณ์ตลอดเวลาที่ผู้ฟังมองมายังผู้พูด

(4)       อุปกรณ์ คือ ตัวแทนผู้พูดที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด

ตอบ 2 หน้า 122, (คำบรรยาย) หลักการใช้อุปกรณ์ในการพูดเชิงสาธิต มีดังนี้

1.         อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือสิ่งที่ใช้ประกอบต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับเนื้อหา ของการพูด 2. ผู้พูดสำคัญที่สุดในการถ่ายทอด ส่วนเครื่องมือเป็นเพียงส่วนเสริม จึงไม่มี อุปกรณ์ใด ๆ จะดีที่สุดในทุกกรณี 3. เครื่องมือไม่ใช่การพูด อย่าใช้เครื่องมือโดยไม่จำเป็น 4.ขณะใช้สื่อเป็นเครื่องมือ ผู้พูดอย่าขัดจังหวะหรือดึงความสนใจออกจากผู้ชม/ผู้ฟัง

72.       บุคคลใดสมควรเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์  

(1) ผู้นำองค์กร

(2)       ผู้มีอำนาจตัดสินใจ      (3) ผู้เกี่ยวข้องและมีความรู้ในเรื่องนั้น            (4) ผู้ทำหน้าที่สื่อสารมวลชน

ตอบ 3 หน้า 257 – 258, (คำบรรยาย) คุณสมบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ (ผู้ถูกสัมภาษณ์) เรียงตามลำดับ ความสำคัญของบุคคลได้ ดังนี้  1. เป็นผู้รู้ (สำคัญที่สุด) 2. เป็นผู้เกี่ยวข้อง รู้เห็น หรืออยู่ในเหตุการณ์ 3. เป็นผู้นำ ผู้บริหาร หรือผู้ที่มีความสำคัญ    4.เป็นผู้มีประสบการณ์            5. เป็นผู้ได้รับความสนใจ        6. เป็นผู้ที่มีตัวตนอยู่จริง

73.       ข้อใดเป็นมารยาทสำคัญของการสัมภาษณ์แบบเป็นพิธีการ

(1)       ต้องสัมภาษณ์อย่างกระชับ ชัดเจน ใช้เวลาน้อยที่สุด

(2)       เลือกหัวข้อสัมภาษณ์ตรงตามภาระหน้าที่ของผู้สัมภาษณ์

(3)       มีการบันทึกเทป และออกอากาศตรงเวลาตามที่ตกลงกันไว้

(4)       มีการนัดเวลา และกำหนดโครงสร้างของแบบสัมภาษณ์

ตอบ 4 หน้า 256 การสัมภาษณ์แบบที่เป็นพิธีการ (Formal Interview) คือ การที่ผู้สัมภาษณ์จะต้อง ตระเตรียมและแจ้งเรืองที่จะสัมภาษณ์ กำหนดโครงสร้างของแบบสัมภาษณ์ นัดวัน เวลา และสถานที่ที่จะสัมภาษณ์ให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ทราบล่วงหน้า เพื่อว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะได้มีเวลาเตรียมตัว ซึ่งการสัมภาษณ์ชนิดนี้มักจะเป็นการสัมภาษณ์บุคคลที่ไม่คุ้นเคยกัน เช่น บุคคลในวงการเมือง เชื้อพระวงศ์ ผู้บริหารประเทศ ฯลฯ

74.       การสัมภาษณ์นั้นมีความหมายสำคัญในด้านการสื่อสารมวลชนอย่างไร

(1)       ทำให้รู้ซึ้งถึงข้อมูลเชิงลึก        (2) ทำให้มีการทบทวนเหตุการณ์

(3)       ทำให้ความจริงถูกเปิดเผย       (4) ทำให้มีการจัดระเบียบข่าวสาร

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 30 ประกอบ

75.       มนุษยสัมพันธ์ในการสัมภาษณ์ เป็นผลมาจากการรู้จัก        

(1) พัฒนาตน

(2)       นำเหตุผลมาใช้           (3) ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์            (4) ถาม

ตอบ 3 หน้า 258, (คำบรรยาย) คุณสมบัติของผู้สัมภาษณ์ประการหนึ่ง คือ จะต้องเป็นผู้ที่มี มนุษยสัมพันธ์ดี ซึ่งเป็นผลมาจากการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และบุคคลทุกคน หรือไม่ทำลายบรรยากาศการพูดคุย จนสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น

76.       มารยาทในการสัมภาษณ์มีความเกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) การให้เกียรติ         (2) ข้อมูลสำคัญ          (3) ผลตอบแทบ          (4) เวลา

ตอบ 1 หน้า 259263 มารยาทที่ดีของผู้สัมภาษณ์ย่อมทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความร่วมมือ ซึ่งการที่ ผู้สัมภาษณ์จะแสดงมารยาทที่ดีได้นั้นก็ต่อเมื่อมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ให้สัมภาษณ์ และที่สำคัญต้อง รู้จักให้เกียรติผู้ให้สัมภาษณ์ด้วยการรักษาความลับส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์ด้วย

77.       ข้อใดกล่าวถูกต้องในเรื่องการแนะนำองค์ปาฐก

(1) บอกชื่อและภูมิหลังให้ละเอียด      (2) กล่าวสนับสนุนก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา

(3)       ให้แนะนำมิใช่เล่าชีวประวัติ     (4) เกริ่นว่าชอบหรือไม่ชอบอะไรก่อน

ตอบ 3 หน้า 310 การแนะนำองค์ปาฐกมิใช่การเล่าชีวประวัติ ดังนั้นจึงควรมีใจความสั้นแต่รวม

ความหมายได้หมด และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำเรื่องส่วนตัวขององค์ปาฐกมาพูด แต่ถ้าจำเป็น ควรจะขออนุญาตองค์ปาฐกเสียก่อน

78.       การแนะนำตัวผู้พูดเกินความเป็นจริง จะมีผลอย่างไร           

(1) สร้างความภาคภูมิใจ

(2)       เป็นเกียรติอย่างยิ่ง     (3) ผิดหวังต่อการพูดครั้งนั้น   (4) ผู้ฟังเกิดความคาดหวัง

ตอบ 4 หน้า 311, (คำบรรยาย) ในการแนะนำองค์ปาฐกนั้น ควรจะอยู่ในขอบเขตของคุณงามความดีขององค์ปาฐกเท่านั้น ผู้พูดแนะนำควรระวังอย่าให้ออกนอกเรื่อง หรือพูดเกินความจริง เพราะ จะทำให้องค์ปาฐกเกิดความกระดากเขินอายต่อหน้าผู้ฟัง และยังทำให้ผู้ฟังเกิดความคาดหวังสูง ต่อการพูดครั้งนั้นด้วย

79.       การพูดแบบธรรมกถา เนื้อหาที่พูดมักเป็นไปในด้าน

(1)       ให้อารมณ์ความรู้สึกร่วมปนบันเทิง     (2) รับรู้ความจริงที่เกิดกับชีวิต

(3)       ให้ข่าวสารที่สมบูรณ์แบบน่าเชื่อถือ    (4) ระลึกถึงคุณงามความดีของบุคคล

ตอบ 2 หน้า 307 – 309, (คำบรรยาย) การพูดแบบธรรมกถา เป็นการแสดงปาฐกถในด้านความรู้ทั่วไป โดยเนื้อหาที่พูดมักเป็นไปในด้านการให้ความรู้ทางธรรมะ เพื่อให้รับรู้ความจริงที่เกิดกับชีวิต แต่ไม่ว่าจะแสดงปาฐกถาในด้านใด ผู้พูดหรือองค์ปาฐกควรเป็นผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้านและมี ประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ อย่างเชี่ยวาญ โดยควรแสดงสาระออกมาให้เด่นชัดและเข้าใจง่าย

80.       บุคคลที่จะเป็นองค์ปาฐก ควรมีลักษณะเด่นด้านใด

(1)       เป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้เฉพาะด้าน            (2) มีกิจการและประสบการณ์มาก

(3) มีวิสัยทัศน์สามารถในการถ่ายทอดได้ดี     (4) เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

81.       การจัดการอภิปราย สนับสนุนแนวความคิดทางสังคมด้านใด

(1)       การมีส่วนร่วม (2) การบริหารความเสี่ยง (3) การจัดการองค์กร         (4) การประกันคุณภาพ

ตอบ 1 หน้า-337 จุดมุ่งหมายของการอภิปรายได้แก่ 1. เพื่อหาข้อเท็จจริงโดยเน้นการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างมีเหตุผล 2. เพื่อนำความรู้มาแก้ปัญหาสังคม โดยใช้หลัก ความคิดเห็นแบบประชาธิปไตย        3. เพื่อตรวจสอบความเห็นส่วนรวมแล้วนำไปปฏิบัติ  4.เพื่อฝึกให้ผู้ร่วมอภิปรายมีความคิดแบบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น    5. เพื่อช่วยให้ผู้ร่วมอภิปรายได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

82.       เงื่อนไขสำคัญของการพูดแบบอภิปราย คือ  

(1) ให้ข้อมูล โต้เถียงอย่างมีเหตุผล

(2)       ใช้เสียงข้างมากตัดสินข้อโต้แย้ง (3) กลั่นกรองความคิดโดยผู้รู้         (4) เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่าง ๆ ได้

ตอบ 1 หน้า 337 – 338 การอภิปรายจะต้องเป็นการปรึกษาหารือของคนกลุ่มหนึ่งโดยมีการให้ข้อมูลและโต้เถียงกับอย่างมีเหตุผล เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทัศนคติและประสบการณ์ ซึ่งจะมีรูปลักษณะง่าย ๆ ก็คือ เป็นการสนทนากันอย่างมีเหตุผลนั่นเอง

83.       เรื่องที่เข้าสู่วาระการอภิปราย ควรมีลักษณะ

(1) ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน         (2) มีขอบเขตและหลักการรองรับ

(3)       เป็นเรื่องเฉพาะที่ควรพูดวงใน            (4) เป็นประเด็นขัดแย้งรุนแรงในสังคม

ตอบ 2 หน้า 340 – 341, (คำบรรยาย) ปัญหาหรือเรื่องที่จะนำเข้าสู่วาระการอภิปรายควรมีลักษณะ ดังนี้

1.         เป็นปัญหาที่มีขอบเขตไม่กว้างจนเกินไป และมีหลักการรองรับ

2.         เป็นปัญหาที่มีสาระและประโยชน์ต่อส่วนรวม 3. เป็นปัญหาที่น่าสนใจทั้งต่อผู้ร่วมอภิปราย และผู้ฟัง หรือเป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง

84.       หน้าที่ของผู้ดำเนินการอภิปรายโดยตรง ได้แก่

(1) เลือกผู้ที่จะเข้าร่วมอภิปราย           (2) จัดเวทีและอุปกรณ์ประกอบ

(3) เชิญผู้ร่วมอภิปรายร่วมถ่ายภาพ    (4) แนะนำผู้อภิปรายทั้งหมดให้ได้รู้จักกัน

ตอบ 4 หน้า 343 ผู้ดำเนินการอภิปราย จะต้องทำหน้าที่แนะนำผู้อภิปรายทั้งหมดให้ผู้ฟังได้รู้จัก ซึ่งการแนะนำนั้นจะต้องไม่ยืดยาวเกินไป และจะต้องเริ่มต้นด้วยชื่อ ตำแหน่งหน้าที่ ผลงาน ที่ดีเด่น และความสามารถที่เหมาะกับการอภิปรายนั้น ๆ

85.       การวางตัวของผู้ดำเนินการอภิปราย ควรเป็นเช่นไร

(1)       เข้าข้างผู้มีท่าทีเข้าข้างฝ่ายจัดการประชุม

(2)       ให้การสนับสนุนผู้อภิปรายที่ได้รับความชื่นชมจากผู้ฟัง

(3)       แสดงออกถึงการสนับสนุนให้มีการระดมความคิด

(4)       สงวนท่าทีอย่าให้ฝ่ายใดคาดเดาจุดยืนหรือท่าทีออก

ตอบ 3 หน้า 342 – 343 ผู้ดำเนินการอภิปรายจะต้องรู้จักเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น คือ ไม่เป็นผู้พูด แค่ฝ่ายเดียว โดยควรสนับสนุนให้ผู้อภิปรายคนอื่น ๆ ได้มีการระดมความคิดเห็นให้มากที่สุด แม้ว่า ผู้อภิปรายบางคนจะเป็นคนพูดน้อยก็ควรช่วยส่งเสริมชักนำให้ผู้อภิปรายคนนั้น ๆ ได้พูดเพิ่มเติมอีก

86.       ข้อใด คือ ความหมายของการโต้วาที

(1) ใช้วาทศิลป์หักล้างเหตุผล (2) โต้เถียงในปัญหาสำคัญ

(3) ใช้วาทศิลป์อย่างได้เปรียบ            (4) ใช้เหตุผลด้วยความรอบคอบ

ตอบ 1 หน้า 403 การโต้วาที คือ การโต้แย้งด้วยการใช้คำพูดที่ประกอบด้วยเหตุผลและใช้วาทศิลป์ หักล้างเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อมุ่งให้ได้รับชัยชนะ ซึ่งการโต้วาทีนี้ถือว่าเป็นการพูดแบบชักจูง และเป็นการอภิปรายที่จะต้องมีการโต้แย้งกันด้วยเหตุผล เพื่อตัดสินว่าจะรับหลักการหรือ นโยบายนั้นหรือไม่

87.       การแบ่งฝ่ายในการโต้วาที มีดังนี้

(1) ฝ่ายญัตติ ฝ่ายวาระ           (2) ฝ่ายนำประเด็น ฝ่ายถกประเด็น

(3) ฝ่ายเห็นชอบ ฝ่ายขัดแย้ง  (4) ฝ่ายเสนอ ฝ่ายค้าน

ตอบ 4 หน้า 407 ในการโต้วาทีนั้นจะแบ่งผู้โต้วาทีออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านโดยหัวหน้าฝ่ายเสนอจะเป็นผู้พูดก่อน และหัวหน้าฝ่ายค้านเป็นผู้พูดต่อมา หลังจากนั้นก็จะ เป็นผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอ และผู้สนับสนุนฝ่ายค้านตามลำดับ

88.       ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์หลักของการศึกษาและเรียนรู้ทักษะการโต้วาทีที่มีต่อสังคม

(1)       ฝึกวาทศิลป์ให้เป็นผู้เข้าถึงความขัดแย้ง และหาทางอธิบายด้วยเหตุผล

(2)       ฝึกการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผลประโยชน์องค์กร

(3)       ฝึกการชักจูงใจเพื่อให้คนอื่นคล้อยตามความเห็น

(4)       ฝึกการใช้เหตุผลในการนำเสนอ และยอมรับความเห็นที่ขัดแย้ง

ตอบ 2 หน้า 404 จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้เรื่องการโต้วาที ได้แก่ 1. ฝึกให้ผู้เรียบได้รู้จักวิธีพูด เสนอข้อคิดเห็นของตน คัดค้านหรือโต้แย้งข้อคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์

2.         ฝึกผู้เรียนให้เป็นผู้ฟังที่ดี รู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลก่อนที่จะเชื่อสิ่งใดก็ตาม

3.         ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักพูดชักจูงใจคนฟังให้คล้อยตามความคิดเห็นของตนเอง

4.         แนะนำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักเกณฑ์ของการโต้วาที และได้เรียนรู้วิธีการพูด

89.       พิธีกรที่ดี ไม่ควร

(1) รู้จักการแต่งตัวตามสมัยนิยม        (2) รู้จักเรื่องที่จะพูดในรายละเอียด

(3) ปรับตัวเข้ากับงานได้ทุกรูปแบบ    (4) พูดยาวและมากได้เท่าที่ต้องการ

ตอบ 4 หน้า 443 ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นโฆษกหรือพิธีกรที่ดี มีดังนี้

1.         ต้องพยายามให้สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ

2.         ต้องทำตัวให้สง่า         3. ต้องรู้จักเลือกถ้อยคำและเรืองที่จะนำมาพูด

4.         อย่าพูดให้ยาวหรือมากเกินไป 5. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความหรือถ้อยคำที่ซ้ำซาก

90.       ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพิธีกร

(1) รักษาเวลา และสรุปประเด็นสำคัญ           (2) พูดถึงตนเองร่วมกับผู้ที่รับเชิญขึ้นมาพูด

(3) ประสานงานกับผู้พูดแต่ละคนเรื่องการใช้เวที       (4) ชักจูงให้วิทยากรพูดให้กระชับขึ้น

ตอบ 2 หน้า 444, (คำบรรยาย) การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร มีดังนี้

1. พูดให้สั้น และมีชีวิตชีวา      2. ต้องพูดเน้นถึงผู้ที่ได้รับเชิญให้ขึ้นมาพูด

3.         ก่อนที่จะเชิญคนต่อไปขึ้นมาพูด พิธีกรอาจใช้คำพูดสั้น ๆ พูดให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และมีความกระตือรือร้นที่จะฟัง

4.         ต้องประสานงานกับผู้พูด หรือฝ่ายกำกับเวทีเกี่ยวกับเรื่องเวลาและการใช้เวที

5.         ชักจูงให้ผู้พูดพูดให้กระชับ ตรงประเด็น และคอยสรุปประเด็นสำคัญให้รัดกุม ฯลฯ

91.       การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นพิธีการจะต้องเริ่มด้วย

(1) การแนะนำเจ้าภาพ            (2) คำปฏิสันถาร

(3) การกล่าวขอบคุณแขกผู้มีเกียรติ   (4) แสดงความชื่นชมในโอกาส

ตอบ 2 หน้า 445 การกล่าวต้อนรับ เป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติแก่ผู้ที่มาเยี่ยม เป็นการแนะนำผู้มาเยี่ยม หรือผู้มาใหม่ให้รู้จักสถานที่นั้น ๆ ดีขึ้น โดยการกล่าวต้อนรับจะต้องเริ่มต้น ด้วยการกล่าวคำปฏิสันถารก่อนเสมอ

92.       การกล่าวอำลาการเยี่ยม เนื้อหาส่วนใหญ่จะประกอบด้วย

(1)       การกล่าวขอบคุณ ความประทับใจ การเชื้อเชิญให้ปเยือน

(2)       ความประทับใจ เหตุที่ต้องอำลา ความอาลัยต่อเจ้าของบ้านเดิม

(3)       การกล่าวขอบคุณ จุดหมายปลายทางที่จะไป ความสัมพันธ์ในอนาคต

(4)       การเชื้อเชิญให้ไปเยือน เหตุที่ต้องกลับ ความผูกพันระหว่างกัน

ตอบ 1 หน้า 446 การกล่าวอำลาจากการเยี่ยมนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่จะถือเป็น หลักปฏิบัติ ดังนี้            1. คำปฏิสันถาร           2. กล่าวขอบคุณ      3. กล่าวถึงความประทับใจในการต้อนรับ          4. กล่าวเชื้อเชิญเจ้าของบ้านให้ไปเยือนตนบ้าง

93.       สมมุติฐานที่จะเป็นกำลังใจให้ทุกคนหันมาปรับปรุงการพูดของตนเอง คือ

(1)       การพูดเป็นความยากที่ท้าทาย อย่างคุณจะทำได้หรือเปล่า

(2)       คนเราพูดได้ทุกคน แต่จะพูดเป็นหรือเปล่านั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง

(3)       คนเราทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ การพูดก็เช่นกัน

(4)       การพูดเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คนเราไม่อาจจะทิ้งสัญชาตญาณส่วนนี้ได้

ตอบ 3 หน้า 11,486 ในการวิจารณ์นั้น ผู้วิจารณ์ควรจะเสนอข้อแนะนำของตนเองในทางที่ดี มีประโยชน์ เพื่อว่าผู้พูดจะได้นำไปปรับปรุงการพูดของตนเองให้ดีต่อไปโดยอาจให้กำลังใจว่าไม่มีใครที่เกิดมา แล้วก็พูดเก่งเลย เพราะการที่จะพูดได้อย่างคล่องแคล่ว พูดให้จับใจคนฟัง พูดให้คนเชื่อถือ ศรัทธา และเข้าใจนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่สามารถศึกษาและฝึกฝนทักษะได้ ยิ่งฝึกมาก ความชำนาญในการพูด ยิ่งพัฒนาขึ้นตามลำดับ

94.       ตามมารยาทของการกล่าวตอบที่ได้รับรางวัลหรือของขวัญนั้น สิ่งที่ผู้พูดจะต้องให้ความสำคัญ และกล่าวถึงเสมอ คือ

(1)       อธิบายความเป็นมาของรางวัลหรือของขวัญชิ้นนั้น

(2)       กล่าวขอบคุณผู้ทีมีส่วนช่วยให้ตนเองประสบความสำเร็จ

(3)       ความประทับใจที่มีต่อกรรมการและผู้ตัดสินที่ส่งเสริมให้มีวันนี้

(4)       อุปสรรคปัญหาที่ได้รับระหว่างการต่อสู้แข่งขัน และบอกด้วยว่าเป็นใคร

ตอบ 2 หน้า 448 ในงานที่เป็นพิธีการ ผู้ได้รับรางวัลหรือของขวัญจะต้องกล่าวตอบขอบคุณ โดยอาศัย หลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. คำปฏิสันถาร 2. กล่าวถึงความรู้สึกยินดีที่ตนได้รับรางวัลหรือของขวัญ 3. กล่าวขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยทำให้ตนประสบความสำเร็จ     4. พูดให้เห็นความรู้สึกว่าของขวัญหรือของรางวัลนั้นมีความหมายสำหรับตนมาก     5. กล่าวขอบคุณ

95.       ข้อใด คือ ความหมายของ Speech

(1) พิจารณาผู้ฟังเป็นสำคัญ   (2) เป็นเครื่องมือของสื่อสารมวลชน

(3) เตรียมการอย่างมีขั้นตอน  (4) ไข้ภาษากายและท่าทางให้เหมาะสม

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 34. ประกอบ

96.       Rehearsal มีความสำคัญในฐานะ

(1)       เป็นกระบวบการสำรวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการพูด

(2)       เป็นกลไกที่จะรับฟังเสียงตอบกลับจากผู้ชมที่ติดตามมาตลอด

(3)       เป็นเครื่องมือที่จะทำให้การนำเสนอมีความสมบูรณ์แบบที่สุด

(4)       เป็นแบบทดสอบความพร้อมของการเตรียมเนื้อหาข่าวสารที่จะพูด

ตอบ 1 หน้า 51, (คำบรรยาย) การฝึกซ้อมพูด (Rehearsal) มีความสำคัญต่อการเสนอเรื่องพูดบนเวที เนื่องจากเป็นกระบวนการสำรวจปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการพูด ซึ่งเป็นการค้นหา ข้อบกพร่องเพี่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขการพูดให้ดียิ่งขึ้น

97.       การจัดลำดับของเนื้อเรื่องที่จะพูด ไม่ควรอาศัยกฎเกณฑ์ใด

(1) ความสำคัญของปัญหา     (2) ปริมาณของผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

(3) พื้นที่และขอบเขตทางภูมิคาสตร์   (4) ความถนัดและรสนิยมของผู้พูด

ตอบ 4 หน้า 36 – 37, (คำบรรยาย) การเรียงประเด็นหรือจัดสำดับเนื้อเรื่องของการพูดมีวิธีการดังนี้

1.         เรียงตามสำดับเวลา ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการนำเสนอและทำให้สับสนน้อยที่สุด

2.         เรียงตามสถานที่เกิดเหตุ หรือพื้นที่และขอบเขตทางภูมิศาสตร์

3.         เรียงตามคำจำกัดความ          4. เรียงตามหมวดหมู่

5.         เรียงตามเหตุผล          6. เรียงตามแนวคิด ทฤษฎี

7. เรียงตามผลกระทบที่เกิดขึ้น           8. เรียงตามความสำคัญของปัญหา (เนื้อเรื่อง)

98.       การนำเสนอความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น อาศัยช่องทางที่เรียกว่า

(1) ทักษะ        (2) ผู้ฟัง           (3) ภาษา         (4) อากาศ

ตอบ 3 (คำบรรยาย) ความคิด คือ เนื้อหาที่ใช้ในการสื่อสาร ซึ่งความคิดจะเดินทางจากคนหนึ่งไปสู่ อีกคนหนึ่งได้จะต้องมีการเข้ารหัสเป็นภาษาก่อน โดยภาษาจะบอกได้ว่าคู่สื่อสารมีเป้าหมาย อย่างไร ดังนั้นการนำเสนอความคิดในการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงต้องอาศัยภาษาเป็นช่องทางในการสื่อสาร

99.       การเลือกเรื่องที่จะพูด ควรจะ

(1)       เป็นเรื่องยากที่สามารถค้นคว้าข้อมูลได้จากสื่อต่าง ๆ

(2)       เป็นเรื่องง่ายต่อการทำความเข้าใจ แม้ว่าคนที่ฟังจะไม่ใช่คนที่มีการศึกษาดี

(3)       มีความละเอียดซับซ้อน เป็นการแสดงออกถึงความสามารถอย่างแท้จริง

(4)       สื่อมวลชนให้ความสำคัญ หรือในวาระแห่งชาติอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง

ตอบ 4 หน้า 23, (คำบรรยาย) ในการเลือกเรื่องไปพูดนั้น ผู้พูดต้องพยายามเลือกเรื่องที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง สนใจเป็นอันดับแรก ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ผู้พูดถนัดหรือมีความรู้และสามารถหาข้อมูลมานำเสนอได้ ก็จะทำให้พูดได้ดี และถ้าเรื่องนั้นผู้ฟังสนใจด้วยก็ดูเหมือนว่าผู้พูดได้ประสบความสำเร็จขั้นต้น ในการเรียกความสนใจจากผู้ฟัง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ผู้ฟังไม่สนใจ การพูดนั้นก็จะล้มเหลว

100.    การพูดเป็นวิชาชีพเพราะเหตุผลใด

(1)       เพราะการพูดสามารถให้คุณประโยชน์และโทษได้

(2)       เพราะต้องผ่านการศึกษา และองค์กรวิชาชีพรองรับมาตรฐานและมีจรรยาบรรณ

(3)       เพราะต้องอาศัยทักษะการนำเสนอ มีความเป็นศิลปะ และเป็นวิทยาการเก่าแก่

(4)       เพราะมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน

ตอบ 2 หน้า 3, (คำบรรยาย) การพูดเป็นวิชาชีพ เพราะคนเราทุกคนและทุกอาชีพต้องใช้การพูดเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย นอกจากนี้การพูดยังเป็นวิชาที่ต้องผ่านการศึกษา โดยมีองค์กร วิชาชีพรองรับมาตรฐานและมีจรรยาบรรณในการควบคุมดูแลการประกอบอาชีพ

Advertisement