การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LIS 1003 การใช้ห้องสมุด

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 60 ข้อ)

1.        ข้อใดกล่าวถึงการใช้สารสนเทศได้ถูกต้องที่สุด

(1)       น้องดาวตัดสินใจเลิกกับแฟนหลังจากสังเกตพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นปี

(2)       คุณแดงเลิกเป็นสาวกพรรคการเมืองที่มีหัวหน้าพรรคเคยหล่อตามเพื่อน

(3)       คุณเสรีเลิกทำนาเพราะข่าวลือว่ารัฐบาลจะยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าว

(4)       คุณจรัสตัดสินใจไปทำนมตามกระแสในอินเทอร์เน็ต

ตอบ 1 หน้า 3, 5, (คำบรรยาย) คำว่า สารสนเทศ” (Information) หมายถึง ข่าวสารความรู้ที่ เป็นข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกิดจากข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ และบ่ระมวลผลแล้ว ตลอดทั้งความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ซึ่งบันทึกลงในสื่อหรือวัสดุประเภทต่าง ๆ ที่สามารถถ่ายทอด และเผยแพร่ได้ ดังนั้นสารสนเทศจึงมีความถูกต้องและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้มากกว่าข้อมูล เนื่องจาก สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้ ส่วนคำว่า ข้อมูล” (Data) หมายถึง ข้อมูลดิบหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้อง หรือยังไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง วิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินผลอย่างเป็นระบบ เช่น ข่าวจากหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ ข่าวซุบซิบหรือ ข่าวลือ การโฆษณาสินค้า ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต การกล่าวหา/โจมตีคู่แข่งทางการเมือง เป็นต้น

2.        ข้อใดกล่าวถึงพัฒนาการของห้องสมุดและสารสนเทศได้ถูกต้อง

(1)       ชาวกรีกเป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์อักษรคิวนิฟอร์ม  

(2) สุเมเรียนเริ่มบันทึกข้อมูลลงบนกระดาษเป็นขาติแรก

(3) ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างโดยซาวเมใสโปเตเมีย

(4) ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้กระดาษปาไปรัส

ตอบ 4 หน้า 7, (คำบรรยาย) ซาวอียิปต์ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ตามลุ่มแม่นํ้าไนล์ ถือเป็นชนชาติแรก

ทีรู้จักบันทึกเหตุการณ์และข่าวสารความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นกระดาษปาไปรัส (Papyrus)

ด้วยตัวอักษรภาพที่เรียกว่า ไฮโรกลิพิก” (Hieroglyphic)โดยห้องสมุดปาไปรัสที่มีชื่อเสียง ในสมัยนี้ ได้แก่ ห้องสมุดแห่งขาติเมืองกิเซห์ สร้างเมื่อราว 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราซ

3.        ข้อใดมีความสัมพันธ์กัน      

(1) หอพระมณเฑียรธรรมหอหลวง

(2)       หอพุทธสาสนสังคหะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

(3)       รัชกาลที่ 1—หอพระมณเฑียรธรรม

(4) รัชกาลที่ 6—หอสมุดแห่งชาติ

ตอบ 3 หน้า 9 – 10, (คำบรรยาย) ห้องสมุดในประเทศไทยมีพัฒนาการตามลำดับยุคสมัย ดังนี้

1.        สมัยสุโขทัย ได้แก่ หอไตรหรือหอพระไตรปิฎกภายในวัดวาอารามตาง ๆ

2.        สมัยอยุธยา ได้แก่ หอหลวงภายในพระราชวัง เพื่อเก็บรักษาหนังสือ วรรณกรรมทางโลก ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางราชการของราชสำนัก

3.        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสร้างหอสมุดประจำรัชกาลต่าง ๆ ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม หรือหอไตรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในสมัยรัชกาลที่ 1,

วัดพระเซตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3, หอพระสมุดวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ (ตั้งอยู่ในวัดเบญจมบพิตร) และหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร (ถือเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งขาติในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 5

4.         ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด

(1)       การคุยกันกับเพื่อนระหว่างฟ้งบรรยายช่วยให้เข้าใจเรื่องชัดเจน

(2)       การคิดก่อนตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองตามคำชักชวนของเพื่อน

(3)       การศึกษา คือ การเรียนในถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา

(4)       การเดินออกนอกห้องเรียนขณะอาจารย์บรรยายสามารถทำได้ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล

ตอบ 2 หน้า 16 – 20, (คำบรรยาย) การศึกษา หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้จากหลาย ๆ ทาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเรื่องนั้น ๆ โดยวิธีศึกษาหาความรู้ที่เป็นพื้นฐานของ การแสวงหาความรู้มีอยู่ 4 วิธี ได้แก่ การอ่าน การฟัง การไต่ถาม และการจดบันทึก ซึ่งตรง ตามหลักของหัวใจนักปราชญ์ ได้แก่ สุ จิ ปุ ลิ” ดังนี้

1. สุ (สุต หรือสุตตะ) คือ การฟัง หรือการรับสารทั้งปวง รวมทั้งการอ่านหนังสือ และการค้นคว้าหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ

2.         จิ (จินตนะ หรือจินตะ) คือ การคิดวิเคราะห์ไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

3.         ปุ (ปุจฉา) คือ การไต่ถามหรือเสวนาหาคำตอบจากผู้รู้

4.         สิ (ลิขิต) คือ การเขียนหรือการจดบันทึก

5.         การจัดทำรายงานเรื่อง การอ่านเรื่องราวทางการเมืองเพื่อประกอบการทำรายงานเรื่อง สิทธิทางการเมืองตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญไทย” ควรใช้วิธีการอ่านแบบใด       

(1) การอ่านคร่าว ๆ

(2)การอ่านอย่างวิเคราะห์      

(3) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด        

(4) การอ่านอย่างเจาะจง

ตอบ 2 หน้า 18, (คำบรรยาย) การอ่านอย่างวิเคราะห์ (Critical Reading) เป็นทักษะการอ่านในระดับสูงสุด ถือว่าเป็นสุดยอดของกระบวนการอ่านเอาความ ซึ่งผู้อ่านมักเป็นนักวิจัยหรือ นักวิขาการที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะอ่านมาก่อน เพราะเป็นการอ่านที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างมาก สามารถแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งประเมินค่าหรือวิจารณ์สิ่งที่อ่านได้อย่าง มีเหตุผลและมีหลักเกณฑ์ เช่น การอ่านเพื่อรวบรวมข้อมูลมาประกอบการทำรายงาน ทำวิจัย การอ่านบทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น

6.         ข้อใดไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของห้องสมุด

(1)       การให้บริการนวนิยายเรื่อง ทวิภพ” ในห้องสมุด

(2)       ห้องสมุดประชาชนได้เชิญกวีมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทกวี

(3)       ห้องสมุดได้จัดนิทรรศการวัฒนธรรมไทยทุกเดือน

(4)       การให้บริการสำเนาวีซีดีเพลงสากลแก่นักศึกษาในราคาถูก

ตอบ 4 หน้า 24 – 25 ห้องสมุดเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ หลายรูปแบบ เพื่อให้ ความรู้ ข่าวสาร ถ่ายทอดวัฒนธรรม และส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าให้แก่ประชาชนโดยไม่คิด มูลค่า ทั้งนี้ห้องสมุดโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ

1.         เพื่อการศึกษา เช่น การจัดหาหนังสือประกอบการเรียนเอาไว้ให้บริการ

2.         เพื่อให้ข่าวสารความรู้ เช่น การที่ห้องสมุดจัดให้มีหนังสือพิมพ์เอาไว้ให้บริการ

3.         เพื่อการค้นคว้าวิจัย เข่น การจัดให้มีฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ศูนย์สารสนเทศ ฯลฯ

4.         เพื่อความจรรโลงใจ เช่น การจัดหาหนังสือธรรมะ อัตชีวประวัติบุคคลสำคัญ กวีนิพนธ์ และวรรณกรรมซีไรต์ไว้ให้บริการ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามแก่ชีวิต

5.         เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การให้บริการหนังสือบันเทิงต่าง ๆ นวนิยาย เรื่องสั้น ๆลๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านผ่อนคลายความตึงเครียดได้

7.         แหล่งสารสบเทศในข้อใดที่ให้บริการข้อมูลเฉพาะด้าน

(1)       หอสมุดแห่งซาติ          (2) ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์

(3) หอจดหมายเหตุแห่งซาติ    (4) ห้องสมุดสวนลุมพินี

ตอบ 2 หน้า 32 – 33 ห้องสมุดเฉพาะ หมายถึง ห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานซองรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบัน บริษัท สมาคม ธนาคารพาณิชย์ และองค์การระหว่างประเทศ โดยจะทำหน้าที่ให้บริการ สารสนเทศเฉพาะสาชาวิชาใดวิขาหนึ่งอย่างละเอียดลึกซึ้ง และมุ่งให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการและนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่ทำงานภายในหน่วยงานนั้นๆ เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์ห้องสมุดสยามสมาคมห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น

8.         ฝ่ายใดของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ให้บริการกฤตภาค

(1) ฝ่ายเทคนิค            (2) ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

(3) ฝ่ายวัสดุไม่ตีพิมพ์  (4) ฝ่ายวารสารและเอกสาร

ตอบ 4 หน้า 40 – 41 ฝ่ายวารสารและเอกสาร จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา พิจารณาคัดเลือก และประเมินคุณค่าวารสาร จัดทำดรรชนีและสาระสังเขปบทความจากวารสารและเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมวารสาร รวมทั้งให้บริการวารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และเอกสารทั่ว ๆ ไป ตลอดจนจัดทำกฤตภาคไว้ให้บริการ

9.         ข้อใดหมายถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด

(1)       หนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด

(2)       หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการสั่งซื้อจากบริษัท

(3)       หนังสือทุกเล่มที่ห้องสมุดดำเนินการตรวจรับจากบริษัท

(4)       หนังสือทุกเล่มที่บริษัทจัดจำหน่ายในงานสัปดาห์ห้องสมุด

ตอบ 1 หน้า 5576133 – 134 ทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด หมายถึง แหล่งสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และนำมาลงทะเบียนเพื่อจัดเก็บรวบรวมตามหมวดหมู่ อย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือทุกเล่มที่นักศึกษายืมออกจากห้องสมุด สิ่งตีพิมพ์บน แผนกระดาษประเภทอื่น ๆ สิ่งบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยมือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดเป็นสมาชิกและพร้อมให้บริการ รวมทั้งบรรณารักษ์หรือบุคลากรบริการสารสนเทศที่ทำหน้าที่ให้บริการและช่วยผู้ใช้ค้นหา สารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

10.       เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เปรียบเสมือนส่วนใดซองหนังสือมากที่สุด

(1) เลขมาตรฐานสากลหนังสือ            (2) บัตรรายการหนังสือ

(3) เลขเรียกหมู่หนังสือ            (4) เลขทะเบียนหนังสือ

ตอบ 1 หน้า 61193, (คำบรรยาย) เลขประจำหนังสือสากล หรือเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number : ISBN) ถือเป็นเลขที่กำหนดให้มีในหนังสือทุกเล่ม (เช่นเดียวกับที่คนไทยทุกคนมีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน) ซึ่งมีประโยซนในการควบคุม สิ่งพิมพ์และการสั่งซื้อหนังสือ รวมทั้งบอกให้ทราบถึงประเทศที่ผลิต สำนักพิมพ์ และซื่อหนังสือ ทั้งนี้เลข ISBN อาจปรากฏที่หน้าปกในหรือที่หน้าปกนอก แต่สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศนั้น เลข ISBN จะปรากฏในหน้าลิขสิทธิ์

11.          ข้อใดคือความหมายของบรรณานุกรม

(1) ส่วนที่ให้คำอธิบายคำยากหรือศัพท์เฉพาะ

(2) ส่วนที่อธิบายข้อความบางตอนที่ปรากฏในเนื้อหา

(3) บัญชีคำหรือวลีที่ปรากฏในหนังสือ              

(4) บัญชีรายชื่อหนังสือที่ปรากฏท้ายเล่ม

ตอบ 4 หน้า 64129254275 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นบัญชีรายชื่อหนังสือ เอกสาร และสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้เป็นหลักฐานประกอบการเขียนหนังสือเล่มนั้น โดยอาจอยู่ท้ายบทหรือท้ายเล่มก็ได้ หรืออาจจัดทำเป็นตัวเล่มหนังสือที่รวบรวมรายชื่อและรายละเอียด ของทรัพยากรสารสนเทศ เช่น รายชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ และปีที่พิมพ์ เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมและให้ความมั่นใจแก่ผู้อ่านว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ เพราะผู้เขียนได้ค้นคว้าอย่างมีหลักฐาน

12.          นักศึกษาอ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ส่วนใดของหนังสือพิมพ์ดึงดูดความสนใจมากที่สุด

(1) พาดหัวข่าว      (2) เนื้อหา              (3) ภาพถ่าย          (4) ความนำ

ตอบ 3 หน้า 65 – 66 ส่วนประกอบหลักที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ มี 3 ส่วน ได้แก่

1. พาดหัวข่าว (Headline) เป็นอักษรตัวดำหนาขนาดใหญ่เรียงอยู่ส่วนบนสุดของหน้ากระดาษ ซึ่งจะเป็นข้อความสั้น ๆ ที่สรุปสาระสำคัญที่มีอยู่ในเนื้อข่าว ถือเป็นส่วนที่สะดุดตาผู้อ่าน และจูงใจให้อยากรู้รายละเอียดของข่าวสารมากที่สุด

2. ความนำ (Lead) หรือวรรคนำหรือ โปรยข่าว เป็นย่อหน้าแรกของข่าวแต่ละข่าว ซึ่งจะเป็นประโยคสั้น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจ ของผู้อ่านให้ติดตามอ่านข่าวตลอดทั้งเรื่อง

3. ภาพข่าว หรือภาพถ่าย (Photographs)เป็นส่วนประกอบที่น่าสนใจมากที่สุด เพราะสามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังช่วยจัดหน้าหนังสือพิมพ์ให้น่าอ่านอีกด้วย

13.          รัฐบาลรักษาการณโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้จัดพิมพ์เอกสารเล่มเล็กเพื่อชี้แจงเรื่องจำนำข้าวแก่ชาวนาถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ชาวนาได้รับเงินล่าช้าในครั้งนี้นั้นเพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจ จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) กฤตภาค          (2) จุลสาร              (3) วารสาร            (4) ต้นฉบับตัวเขียน

ตอบ 2 หน้า 66 – 67 จุลสาร (Pamphlets) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบทความทาง วิซาการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ หรือความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต่าง ๆ ต้องการเผยแพรให้ประชาชนทราบ อาจพิมพ์ออกเป็นเอกสารเล่มเล็กเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์ เป็นตอน ๆ รูปเล่มโดยทั่วไปจะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวร มีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผ่นพับหรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า อนุสาร” (Brochure) ก็ได้

14.          สถานีโทรทัศน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศเสนอข่าววิดีโอคลิป (Video Clip) “ฮีโร่ตำรวจไทยที่เตะระเบิดในการปราบฝูงชนเพื่อต้องการล้มล้างรัฐบาลที่สะพานผ่านฟ้า” จัดเป็นสื่อประเภทใด

(1) สื่อโสตทัศน์      (2) โสตวัสดุ           (3) ทัศนวัสดุ          (4) อิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 1 หน้า 67 – 7377 สื่อโสตทัศน์ (โสตทัศนวัสดุ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆคือ 1.โสตวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการฟัง เช่น แผ่นเสียงหรือจานเสียง แถบบันทึกเสียง ซีดีออดิโอ แผ่นเอ็มพี 3 ฯลฯ    2. ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารโดยการเห็น เช่น วัสดุกราฟิกรูปภาพ แผนที่ ลูกโลก ภาพนิ่ง แผ่นโปร่งใส หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง ฯลฯ 3. สื่อโสตทัศน์ หรือโสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุที่สื่อสารทั้งโดยการฟังและการเห็น เช่น ภาพยนตร์ แถบวีดีทัศน์ วิซีดี ดีวิดี วิดีโอคลิป ฯลฯ

15.      ไมโครฟิล์มเหมือนกับไมโครฟิชในลักษณะใด

(1) เป็นวัสดุย่อส่วนที่ใช้เทคโนโลยีแลงเลเซอร์               

(2) เป็นวัสดุย่อส่วนที่มีขนาดเท่ากับบัตรรายการ

(3) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของบัตรทึบแสง      

(4) เป็นวัสดุย่อส่วนในรูปของฟิล์มโปร่งแสง

ตอบ 4 หน้า 54, 73 – 74, 77 – 78 วัสดุย่อส่วน (Micrographic or Microforms) หมายถึง วัสดุที่บันทึก สารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ จดหมายโต้ตอบ หนังสือหายาก ต้นฉบับตัวเขียน หรือเอกสารที่มีคุณค่าต่าง ๆ โดยการถ่ายย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์ม ขนาดเล็กเพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและป้องกันการฉีกขาดทำลาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.        ฟิล์มโปร่งแสง ได้แก่ ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิช และบัตรอเพอเจอร์

2.        บัตรทึบแสง ได้แก่ ไมโครการ์ด และไมโครพริ้นท์

16.      ฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาบอกรับเป็นสมาชิกเพื่อให้บริการผู้ใช้ จัดเป็น สื่อประเภทใด

(1) แผ่นจานแม่เหล็ก          (2) อิเล็กทรอนิกส์ (3) ซีดีรอม          (4) เสิร์ชเอ็นจิน

ตอบ 2 หน้า 75 – 76, 78, 133 – 134, 143, (คำบรรยาย) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง สื่อที่บันทึก สารสนเทศประเภทฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์ฐานข้อมูล ซีดีรอม และฐานข้อมูลมัลติมีเดีย ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นอักขระแบบดิจิตอล ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือแสงเลเซอร์ในการบันทึกและอ่านข้อมูล แบ่งออกเป็น

1.        แผ่นจานแม่เหล็กแบบอ่อน (Diskette หรือ Floppy Disk) บันทึกโปรแกรมสำเร็จรูป

2.        จานแสง (Optical Disk) เซ่น CD-ROM. VCD, DVD ฯลฯ

3.        USB Flash Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ โดยมีวิธีการ บันทึกข้อมูลเหมือน Hard Disk หรือ Floppy Disk มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา สะดวกในการ พกพาติดตัว และสามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB – 8 GB

17.      ข้อใดไมใช่เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง

(1) คำนำ             (2) คำนำทาง       (3) อักษรนำเล่ม  (4) ดรรชนี

ตอบ 1 หน้า 83 – 84 เครื่องมือช่วยค้นหาความรู้ในหนังสืออ้างอิง ได้แก่

1.คำนำทาง (Guide Word or Running Word)

2.ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index)          

3. อักษรนำเล่ม (Volume Guide)

4.ส่วนโยง (Cross Reference)           

5. ดรรชนี (Index)

18.      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จัดเป็นพจนานุกรมประเภทใด

(1) พจนานุกรมการเรียนภาษา         (2) พจนานุกรมฉบับย่อ

(3) พจนานุกรมเฉพาะวิชา                (4) พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์

ตอบ 4 หน้า 85 พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (ฉบับปรับปรุงใหม่ส่าสุด) ถือเป็น พจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งใช้เป็นแบบฉบับหรือ มาตรฐานในการเขียนหนังสือและการใช้คำในภาษาไทย โดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับคำ อย่างสมบูรณ์ เช่น ตัวสะกดที่ถูกต้อง การอ่านออกเสียงคำยาก ชนิดของคำ ความหมายของคำ ประวัติหรือที่มาของคำ คำตรงกันข้ามหรือคำคู่ และวิธีใช้คำ

19.          สารานุกรมหมายถึงข้อใดมากที่สุด

(1)           รวบรวมความรู้พื้นฐานอย่างกว้าง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา

(2)           ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาในทุกสาขาวิชาของโลก

(3)           เป็นคู่มือในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

(4)           ให้ข้อมูล ความรู้ทั่วไป แต่แสดงผลออกมาในรูปสถิติ ตัวเลข และแผนภูมิ

ตอบ 1 หน้า 91 – 9295 สารานุกรม (Encyclopedia) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้พื้นฐาน ในแขนงวิขาต่าง ๆ อย่างกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา เพื่อให้ข้อมูลหรือความรู้ในรูปของบทความโดยมีอักษรย่อของผู้เขียนกำกับไว้ที่ท้ายบทความ และจัดเรียงเนื้อหาตามลำดับตัวอักษรหรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา ซึ่งอาจมีเล่มเดียวจบหรือ หลายเล่มจบที่เรียกว่า หนังสือชุด” ส่วนใหญ่สารานุกรมจะมีภาพประกอบ และมีดรรชนีช่วยค้นเรื่อง (Fact Index) อยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

20.          ข้อใดให้เรื่องราวของอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ชัดเจนที่สุด

(1)           นามานุกรม           (2) อภิธานศัพท์     (3) ดรรชนี              (4) อักขรานุกรมชีวประวัติ

ตอบ 4 หน้า 97101 อักขรานุกรมชีวประวัติ คือ หนังสือที่รวบรวมประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญโดยจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเชื้อชาติ สถานที่เกิด วันเดือนปีเกิด หรือตาย (ถ้าบุคคลเจ้าของ ชีวประวัติสิ้นชีวิตแล้ว) ที่อยู่ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัว ตำแหน่งหน้าที่การงาน ผลงานดีเดน และประสบการณ์ในการทำงาน เช่น Dictionary of National Biography (DNB) เป็นอักขรานุกรมชีวประวัติชุดสำคัญที่สุดของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมชีวประวัติของบุคคลที่มีชื่อเสียง ในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพ

21.          ข้อใดเป็นหนังสือรายปีของสารานุกรม             

(1) Statesman’s Year Book

(2)Americana Annual

(3) Europa World Year Book

(4) Thailand Year Book

ตอบ 2 หน้า 109 – 110 Americana Annual เป็นหนังสือรายปีของสารานุกรม Americana ที่ให้เนื้อหาครอบคลุมเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา โดยแบ่งการให้ ข้อมูลออกเป็น 4 ส่วน คือ

1. เป็นรายงานข่าวในหัวเรื่องที่สำคัญและปฏิทินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

2. เป็นบทความสังเขปในหัวเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของบุคคลทั่วไปในปีนั้น ๆ โดยจะเน้นเรื่องราวของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ

4. ให้ข้อมูลในรูปของตารางและตัวเลขสถิติ

22.          ข้อใดคือลักษณะของสยามออลมาแนค

(1)           ประวัติความเป็นมาของชนชาติไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

(2)           รวบรวมเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

(3)           รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทย

(4)           รวมความเป็นที่สุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ตอบ 3 หน้า 112 สยามออลมาแนค เป็นหนังสือปฏิทินเหตุการณ์รายปีเล่มแรกของประเทศไทย ที่รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปีของไทยทั้งในด้านการเมือง การปกครอง การทหาร การศึกษา การแรงงาน เศรษฐกิจ ศาสนา ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ธุรกิจ การพาณิชย์ เกษตรกรรม กีฬา การท่องเที่ยว รวมทั้งสถิติใบรูปของตาราง เช่น อัตราการเกิด และการตายของประชากร จำนวนประชากร เป็นต้น

23.          หนังสืออ้างอิงข้อใดที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศ เมือง จังหวัด สถานที่สำคัญ สภาพภูมิศาลตร์ การเดินทาง สกุลเงินตรา     

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(2)           พจนานุกรม            (3) หนังสือแผนที่   (4) หนังสือนำเที่ยว

ตอบ4 หน้า 114-115 หนังสือนำเที่ยวเป็นหนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเมือง จังหวัด และสถานที่สำคัญอย่างละเอียด เพื่อประโยชน์ต่อการค้นคว้าและเพื่อสนอง ความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและที่ตั้งของเมือง ภาษา สภาพภูมิศาสตร์ ระยะทาง การเดินทาง โบราณสถานที่น่าสนใจ ที่ตั้งของโรงแรม ร้านอาหาร อัตราแลกเปลี่ยนตามสกุลเงินตราของประเทศนั้น ๆ เป็นต้น

24.          หนังสืออ้างอิงประเภทดรรชนีมีประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างไร

(1)           เป็นเครื่องมือช่วยค้นเรื่องหรือหัวข้อในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

(2)           บอกแหล่งที่มาของสารสนเทศได้

(3)           ให้ผู้ใช้เข้าใจเนื้อหาอย่างย่อของสารสนเทศที่ต้องการได้

(4)           หนังสือดรรชนีเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาคำตอบของบรรณารักษ์เท่านั้น

ตอบ1 หน้า 6484119 – 120 ดรรชนี (Index) เป็นหนังสืออ้างอิงที่ชี้แนะแหล่งสารสนเทศโดยมีลักษณะเป็นคำหรือบัญชีกลุ่มคำสำคัญของหัวเรื่องใหญ่ หัวเรื่องย่อย ชื่อบุคคล สถานที่ ชื่อเรื่อง หรือชื่อบทความที่ได้จัดเรียบเรียงไว้ตามลำดับอักษรอย่างมีระบบ พร้อมทั้งระบุ เลขหน้าที่คำหรือข้อความนั้นปรากฎอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้อ่านค้นเรื่องหรือหัวข้อ ในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปดรรชนีมักอยู่ที่ท้ายเล่มของหนังสือ แต่ถ้าเป็นหนังสือชุด เช่น สารานุกรม ดรรชนีจะอยู่ในเล่มสุดท้าย

25.          ข้อใดคือลักษณะของหนังสือบรรณานุกรม

(1)           รวบรวมเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศ

(2)           รวบรวมรายชื่อและรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศ

(3)           แนะนำแนวทางในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

(4)           แนะนำวิธีการใช้ห้องสมุด

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 11. ประกอบ

26.          ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุด

(1) เจ้าหน้าที่จัดเก็บหนังสือไต้ง่ายขึ้น

(2) ช่วยให้นักศึกษาค้นหาหนังสือได้ง่ายขึ้น

(3)บรรณารักษ์ให้บริการได้รวดเร็วขึ้น

(4)ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชาจำนวนมากน้อยเท่าใด

ตอบ 3 หน้า 150 ประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือของห้องสมุด มีดังนี้

1.ทำให้หนังสือทุกเล่มในห้องสมุดมีสัญลักษณ์และมีตำแหน่งการจัดวางที่แน่นอน ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยง่าย หรือสามารถเข้าถึงหนังสือ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น

2.ทำให้หนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันและ/หรือประพันธ์วิธีเดียวกันรวมอยู่ในที่เดียวกัน

3.ทำให้หนังสือที่มีเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันอยู่ใกล้กัน

4.ช่วยให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือคืนที่ได้ง่ายขึ้น

5.ช่วยให้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือในแต่ละสาขาวิชามากน้อยเพียงใด

27.          ระบบการจัดหมู่ใดมีสัญลักษณ์เป็นเลขอารบิกและเหมาะสำหรับห้องสมุดโรงเรียน

(1)           การจัดหมู่หนังสือระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2)           การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้

(3)           การจัดหมู่หนังสือระบบโคล่อน

(4)           การจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมสากล

ตอบ 2 หน้า 151 – 153 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DC) เป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็กหรือขนาดกลางที่มี หนังสือทั่ว ๆ ไปหลายสาขาวิชาในจำนวนที่ไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือด้วยระบบนี้จะเป็นแบบเชิงกว้าง โดยแบ่งสรรพวิทยาการ ในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และกำหนดสัญลักษณ์เป็นเลขอารบิก 3 ตัว ตั้งแต่ 100 – 000 เพื่อแสดงเนื้อหาของหนังสือ นอกจากนี้หากต้องการระบุเบื้อหาของหนังสือให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น ก็ให้ใช้วิธีเขียนเป็นจุดทศนิยมตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไปจนถึงหลาย ๆ ตำแหน่งตามความเหมาะสม

28.          ตัวอักษรในข้อใดที่ไม่ใช้เป็นสัญลักษณ์ใบการจัดหมู่หนังสือระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(1) I O W Y Z

(2) A R S X Y  

(3) I O W X Y 

(4) I S W X Y

ตอบ 3 หน้า 153 – 155 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification : LCC หรือ LC) เป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะแบ่งเนื้อหาหนังสือออกเป็น 20 หมวดใหญ่ และใช้สัญลักษณ์ในการจัดหมู่หรือเลขหมู่หนังสือเป็นแบบผสม คือ ใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z (ยกเว้น I, O, W, X, Y) แสดงเนื้อหาในหมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จำกัดตำแหน่งแบ่งย่อยเรื่องอีกทีหนึ่ง

29.          ข้อใดคือระบบจัดหมู่หนังสือของห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

(1) ระบบ NLM  (2) ระบบ UDC  (3) ระบบ DDC  (4) ระบบ LC

ตอบ 1 หน้า 155 – 156 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา

(National Library Medicine : NLM) เป็นระบบการจัดหมูหนังสือที่ใช้กับห้องสมุดทางการแพทย์ สาธารณสุข และพยาบาล โดยจะใช้อักษรโรมันและเลขอารบิกเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกับ การจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน แต่แตกต่างกันในด้านการจำแนก ซึ่งระบบนี้จะนิยมใช้กับห้องสมุดของคณะแพทยศาสตร์ในทุกสถาบัน เชน หอสมุดศิริราช,ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ม.เขียงใหม่ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯห้องสมุดคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ขอนแก่น เป็นต้น

30.          ข้อใดคือ สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มในห้องสมุด

(1) เลขเรียกหนังสือ              (2) เลขหมู่หนังสือ  (3) หัวเรื่อง             (4) อักษรชื่อเรือง

ตอบ 1 หน้า 157191 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เป็นสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะที่ ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่ในห้องสมุด โดยเลขเรียกหนังสือที่ปรากฏบนบัตรรายการจะเป็นเครื่องชี้บอกตำแหน่งของหนังสือบนชั้น ซึ่งเป็นที่เก็บหนังสือของห้องสมุด

31. หนังสือ 4 เล่ม มีสัญลักษณ์ด้งปรากฏข้างล่าง การเรียงลำดับที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไร

 

 

613.47

 

650.2

 

613.47

 

613.7

น457ช

 

ณ457ช

 

ป457ช

 

น457ช

2056

 

2556

 

2555

 

2557

 

                           ก                        ข                         ค                         ง

 

(1) ก-ข-ค-ง       (2) ค-ก-ข-ง       (3) ข-ก-ค-ง       (4) ก-ค-ง-ข

ตอบ 4 หน้า 159 – 160 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียกหนังสือจากซ้ายไปขวา จากชั้นบนลงชั้นล่าง และจะพิจารณาจัดลำดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน ทั้งนี้ห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มากส่วนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลำดับตามตัวอักษร A – Z ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ำกันจึงค่อยเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มากแต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาจากเลขผู้แต่งหรือเลขประจำหนังสือ และอักษรขื่อเรื่องตามลำดับ

(จากโจทย์ สามารถเรียงลำดับที่ถูกต้องได้ดังนี้ ก-ค-ง-ข)

32. ข้อใดคือสัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับรายงานประจำปี กระทรวงศึกษาธิการ

(1) SC

(2) GV         

(3) GP         

(4) Ref

ตอบ 3 หน้า 131 – 132141166 – 167 สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานราชการเป็นผู้รับผิดขอบในการพิมพ์ขึ้น ซึ่งสาระในเล่มอาจเป็นรายงานการปฏิบัติงาน รายงานประจำปีร่างกฎหมายและมติต่าง ๆ ฯลฯ โดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาลด้วยการแยกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ (Special Collection) และกำหนดระบบการจัดหมู่ขึ้นโดยเฉพาะ คือ กำหนดอักษร GP (Government Publication) เพื่อเป็นสัญลักษณ์พิเศษของสิ่งพิมพ์รัฐบาลกำกับเหนือเลขเรียกหนังสือ หลังจากนั้นจึงจัดแยกสิงพิมพ์ตามหน่วยงานรัฐบาลในระดับกระทรวง กรม ทอง ฯลฯ

33. ห้องสมุดโดยทั่วไปจัดเก็บวารสารฉบับใหม่ด้วยวิธีใด

(1)        จัดรวมไว้กับวารสารฉบับย้อนหลังฉบับก่อน ๆ

(2)        จัดรวมไว้กับหนังสือ

(3)        จัดเรียงไว้บนขั้นตามลำดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา

(4)        จัดเรียงบนขั้นตามเลขทะเบียน

ตอบ 3 หน้า 168 วิธีจัดเก็บวารสารของห้องสมุด มีดังนี้

1.         วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุด ห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียงตามลำดับอักษร ของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และมีป้ายชื่อวารสารกำกับไว้ที่ชั้นตรงกับตำแหน่งของวารสาร

2.         วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับล่าสุด โดยห้องสมุดจะนำไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีและจัดเรียงไว้บนชั้น ตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร โดยมีป้ายชื่อวารสาร กำกับไว้ตรงตามตำแหน่งของวารสารนั้น ๆ

34.       สัญลักษณ์ TR กำหนดสำหรับวัสดุในข้อใด

(1)        แผ่นเสียง         (2) แผ่นโปร่งใส          (3) หุ่นจำลอง  (4) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์

ตอบ 2 หน้า 174 ห้องสมุดจะจัดเก็บแผ่นภาพโปร่งใส (Transparency) แยกไว้ต่างหาก ไม่รวมกับ วัสดุอื่น ๆ โดยกำหนดสัญลักษณ์ คือ TR ตามด้วยเลขทะเบียนหรือเลขหมู่ แล้วจัดเก็บไว้ ในกล่องหรือแฟ้มเรียงไว้ในตู้เก็บเอกสาร โดยที่กล่องหรือแฟ้มจะมีป้ายระบุรายละเอียด ได้แก่ เนื้อเรื่องย่อ จำนวน สี และขนาดเอาไว้

35.       สัญลักษณ์ VR กำหนดสำหรับวัสดุในข้อใด

(1) แผ่นเสียง    (2) แผ่นโปร่งใส          (3) ของจริง      (4) วีดิทัศน์

ตอบ 4 หน้า 175 วีดิทัศน์ (Videorecording) มีวิธีจัดเก็บ 2 แบบ คือ

1.         จัดเลขหมู่ให้ โดยมีป้ายติดเลขหมู่ที่ตลับเทป แล้วจัดเรียงรวมกับหนังสือ

2.         จัดแยกจากหนังสือ โดยกำหนดสัญลักษณ์ คือ VR (Videorecording) ตามด้วยเลขทะเบียน หรือเลขหมู่ ติดป้ายชื่อเรื่อง ความยาว แล้วนำไปจัดเรียงไว้บนขั้นหรือใส่ในลิ้นชักตู้เหล็ก

36.       ข้อใดเป็นวิธีการจัดเก็บไมโครฟิล์ม

(1)        จัดเก็บไว้ในกล่อง เรียงตามหัวเรื่องกว้าง ๆ

(2)        จัดแยกเก็บไว้ใบตู้เก็บเอกสารโดยเฉพาะ

(3)        จัดเก็บไว้ในกล่อง แยกเป็นหมวดหมู่ เรียงตามเลขทะเบียน

(4)        จัดเก็บไว้ในกล่อง เรียงตามลำดับอักษร

ตอบ 3 หน้า 177 ห้องสมุดโดยทั่วไปนิยมจัดเก็บไมโครฟิล์มทั้งที่เป็นชนิดม้วนและตลับด้วยการ จัดทำป้าย ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ได้แก่ เลขทะเบียน ชื่อเรื่อง ความยาว ความกว้าง ประเภทของฟิล์ม และสัญลักษณ์ที่กำหนดเป็นเลขหมู่ แล้วติดไว้บนกล่องม้วนและตลับ แต่ห้องสมุดบางแห่งอาจนำกล่องหรือตลับไมโครฟิล์มที่ปิดป้ายมาแยกเป็นหมวดหมู่ แล้วเรียง ตามลำดับเลขทะเบียนไว้ในลิ้นชักตู้เหล็ก หรือเรียงใส่ตะแกรงพลาสติกไว้บนชั้นแบบชั้นเก็บหนังสือ

37.       ส่วนใดของบัตรรายการที่บอกตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด

(1)        ชื่อผู้แต่ง         (2) เลขเรียกหนังสือ     (3) เลข ISBN   (4) ชื่อเรื่อง

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

38.       รายการในข้อใดปรากฏใน “แนวสืบค้น” ของบัตรรายการ   

(1) หมายเหตุ(2)           การพิมพ์และการเผยแพร่       (3) หัวเรื่อง      (4) ลักษณะรูปร่าง

ตอบ 3 หน้า 193 แนวสืบค้น (Tracing) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่บอกให้ทราบว่านอกจากบัตรยืนพื้นหรือบัตรหลักแล้ว ห้องสมุดทำบัตรชนิดใดเพิ่มอีกบ้าง ซึ่งรายการของแนวสืบค้น จะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง และรายการเพิ่มต่าง ๆ เช่น รายการชื่อผู้แต่งร่วม ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ เป็นต้น

39.       ส่วนประกอบของบัตรรายการในข้อใดที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ

(1) หมายเหตุ (2) การพิมพ์และการเผยแพร่     (3) หัวเรื่อง      (4) ลักษณะรูปร่าง

ตอบ 1 หน้า 193 หมายเหตุ (Notes) เป็นส่วนประกอบของบัตรรายการที่ให้ข้อมูลอื่นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หนังสือนอกเหนือจากที่บอกไว้ในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบเพิ่มเติมว่าหนังสือเล่มนั้น มีบรรณานุกรม ดรรชนิ อภิธานศัพท์ ภาคผนวก เป็นต้น

40.          ข้อความบรรทัดแรกของบัตรหลักที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งคือข้อใด

(1) ชื่อผู้แต่ง          

(2) เลขเรียกหนังสือ             

(3) เลข ISBN    

(4) ชื่อเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 194 บัตรหลัก (Main Card) หรือบัตรยืนพื้น หรือบัตรผู้แต่ง เป็นบัตรรายการที่มี ชื่อผู้แต่งอยู่บนบรรทัดแรก ซึ่งบรรณารักษ์จะจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรก และใช้เป็นบัตรหลัก ในการจัดทำบัตรเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือได้จากจุดค้นหลาย ๆ จุด โดยรายการสำคัญในบัตรหลักคือ รายการชื่อผู้แต่ง แต่ในกรณีที่ไม่สามารถลงซื่อผู้แต่ง เป็นรายการหลักได้ให้ลงชื่อเรื่องเป็นรายการหลักแทน

41.          ประเภทของวัสดุ ปรากฏอยู่ในบัตรรายการประเภทใด

(1) บัตรรายการไมโครพิช   

(2) บัตรรายการกฤตภาค

(3) บัตรรายการสิ่งพิมพ์รัฐบาล          

(4) บัตรรายการจุลสาร

ตอบ 1 หน้า 203 – 205 รายละเอียดที่ปรากฏบนบัตรรายการของวัสดุไม่ตีพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่งหรือสไลด์ (Slide), ภาพเลื่อน (Filmstrip), วัสดุโปร่งใส (Transparency), ไมโครพิช (Microform) ฯลฯ มักประกอบด้วยรายละเอียดสำคัญ ๆ เช่น ประเภทของวัสดุ สถานที่ผลิต หรือผู้จัดทำ ขนาด ฯลฯ ส่วนการให้เลขเรียกหนังสือขึ้นอยู่กับห้องสมุดว่าจะใช้ระบบการจัดหมู่ ประเภทใด

42.          ข้อใดเรียงลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) ขวัญเรือน ขวัญข้าว ขวัญเรียม ขวัญฤทัย   

(2)ขวัญข้าว ขวัญฤทัย ขวัญเรียม ขวัญเรือน

(3) ขวัญข้าว ขวัญเรียม ขวัญเรือน ขวัญฤทัย   

(4)ขวัญฤทัย ขวัญข้าว ขวัญเรียม ขวัญเรือน

ตอบ 3 หน้า 206 – 210 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาไทยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1.             ให้เรียงลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรมตั้งแต่ ก – ฮ โดยไม่คำนึงถึงเสียงอ่าน

2.             คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกัน ให้เรียงคำที่มีตัวสะกดไว้ก่อนคำที่มีรูปสระ

3.             คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกันให้เรียงสำดับรูปสระตามแบบพจนานุกรมตั้งแต่ อะ – ไอ

4.             ตัว ฤ เรียงไว้หลังตัว ร ส่วนตัว ฦ เรียงไว้หลังตัว ล

5.             ไม่ลำดับตามวรรณยุกต์ ยกเว้นแต่คำเดียวโดด ๆ จึงจะเรียงตามลำดับวรรณยุกต์ ฯลฯ

43.          ข้อใดเรียงลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรมได้ถูกต้อง

(1) (Mr. & Mrs. Smith) (M.I.B.) (Madmen)      

(2)(Madmen) (M.I.B.) (Mr. & Mrs. Smith)

(3) (M.I.B.) (Madmen) (Mr. & Mrs. Smith)      

(4)(M.I.B.) (Mr. & Mrs. Smith) (Madmen)

ตอบ 3 หน้า 210 – 213 การเรียงบัตรรายการหนังสือภาษาอังกฤษมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1.             ให้เรียงลำดับอักษรตามแบบพจนานุกรมตั้งแต่ A – Z โดยเรียงแบบคำต่อคำ ไม่ต้อง คำนึงถึงเครื่องหมายใด ๆ

2.             ถ้ามีคำนำหน้านาม เช่น a, an, the, de, dela, les ฯลฯ ขึ้นต้นประโยค เวลาเรียงบัตร ไม่ต้องคำนึงถึงคำเหล่านี้ แต่ให้เรียงลำดับอักษรของคำที่อยู่ถัดไป ยกเว้นถ้าคำนำหน้านาม เป็นส่วนหนึ่งของประโยค จะต้องเรียงลำดับอักษรของคำนำหน้านามนั้นด้วย

3.             ชื่อย่อและอักษรย่อให้เรียงลำดับอักษรของตัวย่อนั้น ๆ ก่อน แล้วจึงเรียงคำที่ไม่ใช่คำย่อ ตามมา เช่น M.I.B. Madmen

4.             คำย่อที่เป็นคำนำหน้าชื่อบุคคลและยศให้เรียงลำดับเหมือนเป็นคำที่สะกดเต็ม เช่น Mr.ให้เรียงตามคำสะกดเต็มคือ Mister, Mrs. ให้เรียงตามคำสะกดเต็มคือ Mistress ฯลฯ

44. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

(1)           LCSH คือ บัญชีหัวเรื่องสำหรับหนังสือหมวดกฎหมาย

(2)           บัญชีหัวเรื่องใช้ในการเลือกคำเพื่อค้นหาหนังสือของห้องสมุด

(3)           Sear’s List คือ บัญชีหัวเรื่องสำหรับหนังสือทั่วไปของห้องสมุด

(4)           หัวเรื่อง คือ คำที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ

ตอบ 1 หน้า 221 หัวเรื่อง หมายถึง คำหรือวลีหรือชื่อเฉพาะต่าง ๆ ที่ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือและสื่ออื่น ๆ โดยบรรณารักษ์ไม่ได้เป็นผู้เลือกขึ้นเอง แต่จะเลือกคำหรือวลีเพื่อค้นหาหนังสือ ในห้องสมุดจากบัญชีหัวเรื่องมาตรฐานที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่

1.             Library of Congress Subject Headings (LCSH) จัดทำขึ้นโดยห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน เพื่อใช้เป็นบัญชีหัวเรื่องหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษสำหรับ ห้องสมุดขนาดใหญ่

2.             Sear’s List of Subject Headings (Sear’s List) เป็นบัญชีหัวเรื่องสำหรับหนังสือทั่วไปที่เป็น ภาษาอังกฤษสำหรับห้องสมุดขนาดเล็ก โดยจะใช้คู่กับการจัดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้

45.   รายการที่ปรากฏในบัญชีหัวเรื่องข้างล่าง ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง

แม่

ดูที่

มารดา   

(1)           มารดา ใช้เป็นหัวเรื่องได้

(2)           มารดา คือ หัวเรื่องย่อย

(3)           แม่ คือ หัวเรื่องย่อย

(4)           แม่ ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อยได้

                ตอบ 1 หน้า 199225 รายการโยง (Cross Reference) คือ การกำหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้ทราบว่าคำหรือวลีที่ตามมาใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเนื้อหา มากน้อยเพียงใด โดยมีตัวอย่างสัญลักษณ์ ดังนี้

1.             sa (see also) หรือ ดูเพิ่มเติม” ใช้โยงไปสู่หัวเรื่องอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน แต่มีเนื้อหาแคบกว่า

2.             ใช้หน้าคำหรือวลีที่เลิกใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

3.             see หรือ ดูที่” ใช้โยงหน้าคำหรือวลีที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องไปยังคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง เช่น แม่ ดูที่ มารดา หมายถึง แม่ ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว มารดา ใช้เป็นหัวเรื่องได้

4.             XX ใช้หน้าคำหรือวลีที่มีความหมายสัมพันธ์กับหัวเรื่องใหญ่ แต่มีเนื้อหากว้างกว่ามาก เป็นต้น

46.      รายการในข้อใดใช้เป็นหัวเรื่องในการค้นหาหนังลือของห้องสมุดได้

(1) เรือไทย         

(2) เรือ– –ไทย

(3) เรือไทย

(4) ไทยเรือ

            ตอบ 2 หน้า 224 – 225 หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีทีใช้เป็นหัวเรืองย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ ให้เห็นชัดเจนหรือจำเพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (– -) อยู่ข้างหน้าคำ เพื่อคั่นระหว่างหัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย แบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.        แบ่งตามวิธีเขียน เข่น ภาษาไทยแบบฝึกหัดหนังสือหายากบรรณานุกรม ๆลๆ

2.        บอกลำดับเหตุการณ์ ซึ่งจะแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือชื่อพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ไทย–ประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย, 1800 – 1900 ๆลๆ

3.        แบ่งตามขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา เช่น English Language–Grammar, เกษตรกรรมแง่สังคม ฯลฯ

4.        แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เข่น พุทธศาสนาไทยเชียงใหม่เรือไทย ฯลฯ

47.          ข้อใดหมายถึงหัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

(1) NT Child care

(2) BT Child care (

3) RT Care, child

(4) UF Care, child

ตอบ 2 หน้า 225 – 227, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 256) บัญชีหัวเรื่องมาตรฐาน LCSH ฉบับปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ของคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ดังนี้

1.             BT (Broader Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า

2.             NT (Narrower Term) คือ หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า

3.             RT (Related Term) คือ หัวเรื่องที่สัมพันธ์กับหรือใช้แทนกันได้

4.             UF (Use For) คือ หัวเรื่องที่ไม่กำหนดให้ใช้แล้ว

5.             USE คือ หัวเรื่องที่กำหนดให้ใช้

6.             — คือ หัวเรื่องย่อย

48. รายงานการค้นคว้าในข้อใดที่จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียบในระดับปริญญาเอก

(1) ดุษฎีนิพนธ์      

(2) วิทยานิพนธ์    

(3) ภาคนิพนธ์       

(4) ปริญญานิพนธ์

ตอบ 1 หน้า 237 วิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นรายงานการวิจัยหรือการค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในเรื่องใด เรื่องหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ใช้เพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทางวิชาการให้สูงขึ้น โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (บัณฑิตศึกษา) จะเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ปริญญานิพนธ์” (Thesis) ส่วนระดับปริญญาเอกเรียกว่า ดุษฎีนิพนธ์” (Dissertation)

49.          การวางโครงเรื่องเพื่อการทำรายงาน ควรทำต่อจากขั้นตอนใด

(1) ขั้นเลือกเรื่อง    (2) ขั้นสำรวจข้อมูล               (3) การบันทึกข้อมูล              (4) การตั้งชื่อเรื่อง

ตอบ 3 หน้า 238 – 263 ขั้นตอนของการทำรายงานหรือภาคนิพนธ์มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อที่จะทำรายงาน              

2. การสำรวจข้อมูล

3.การรวบรวมบรรณานุกรม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเขียนรายงานฉบับร่าง

4.การบันทึกข้อมูล หรือทำบัตรบันทึกข้อมูล      5. การวางโครงเรื่อง 6. การเรียบเรียงเนื้อหารายงานฉบับร่าง

50.          ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของไทย จัดอยู่ในกลุ่มใด

(1) ข้อมูลปฐมภูมิ  (2) ข้อมูลทุติยภูมิ  (3) ข้อมูลเอกสาร  (4) ข้อมูลกลั่นกรอง

ตอบ 1 หน้า 67240 แหล่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.             แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) เป็นหลักฐานเบื้องต้นหรือข้อมูลอันดับแรกที่ได้รับจากบุคคลโดยตรง เช่น ประสบการณ์ของตนเอง บันทึกส่วนตัว จดหมายโต้ตอบ พระบรมราโซวาท ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscript) อัตชีวประวัติ บทสัมภาษณ์แบบสอบถาม สุนทรพจน์ ฯลฯ

2.             แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Sources) หรือข้อมูลอันดับรอง ได้แก่ หนังสือหรือตำรา และวัสดุที่เป็นผลผลิตของการค้นคว้าจากหลักฐานเบื้องต้น เช่น บทความจากวารสาร ข่าวในหนังสือพิมพ์ ดรรชนี สารานุกรม กฤตภาค ฯลฯ

51.          การบันทึกข้อมูลเพื่อทำรายงานโดยการคัดลอกให้เหมือนต้นฉบับ ใช้สำหรับสื่อประเภทใด

(1) พระราชบัญญัติ              (2) รายงานการวิจัย              (3) ตำราวิชาการ   (4) บทความวารสาร

ตอบ 1 หน้า 257260 – 261 การบันทึกข้อมูลแบบลอกความ (Quotation) จะเหมาะกับข้อความ หรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคำนิยามในเชิงวิชาการ พระบรมราโขวาท พระราชบัญญัติ ข้อบังคับ กวีนิพนธ์ และบทละครต่าง ๆ ซึ่งมีข้อควรระวัง คือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาศ (“ ___  ”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมายจุด 3 จุด(…) ใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น โดยบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทำเมื่อ

1. ผู้ทำรายงาน ไม่สามารถหาคำพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2. เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้ อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3. เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

52.          ข้อมูลเพิ่มเติมที่ช่วยให้ผู้อ่านรายงานได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น ควรใส่ไว้ในส่วนใดของรายงาน

(1)อภิธานศัพท์     

(2) เชิงอรรถ          

(3) ประกาศคุณูปการ         

(4) ภาคผนวก

ตอบ 4 หน้า 275 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนท้ายของรายงานที่นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เนื่องจากรายการนั้นไม่เหมาะที่จะเสนอแทรกไว้ในส่วนเนื้อหา แต่มีความสัมพันธ์และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่น ตารางแสดงจำนวนประชากร แบบสอบถาม ตารางลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

53.          ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบตอนต้นของรายงาน

(1) คำนำ                (2) บทนำ               (3) สารบัญ            (4) ปกใน

ตอบ 2 หน้า 274 – 275306 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1.             ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าปกใน (หน้าชื่อเรื่อง) หน้าคำนำ หน้าสารบาญ หรือสารบัญ และหน้าสารบัญภาพ

2.             ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ บทนำ รายละเอียดของเนื้อหา และส่วนสรุป

3.             ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ และปกหลัง

54.          ข้อใดคือการลงรายการบรรณานุกรมที่ถูกต้อง

(1)           เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ส่องตะเกียง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพๆ : หกสิบแปดการพิมพ์2526.

(2)           เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย่. 2526. ส่องตะเกียง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพๆ : หกสิบแปดการพิมพ์.

(3)           เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ส่องตะเกียง. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2526. กรุงเทพฯ : หกสิบแปดการพิมพ์.

(4)           เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ส่องตะเกียง. กรุงเทพฯ : หกสิบแปดการพิมพ์,พิมพ์ครั้งที่ 3. 2526.

ตอบ 1 หน้า 254 – 255276 – 277, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 313 – 315)

รูปแบบการเขียนรายการบรรณานุกรมลำหรับหนังสือที่ถูกต้องมี 2 รูปแบบ ได้แก่

1. รูปแบบตามคู่มือ Turabian มีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้

ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์.

เช่น เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. ส่องตะเกียง. พิมพ์ครั้งที่ 3.

กรุงเทพฯ : หกสิบแปดการพิมพ์2526.

2. รูปแบบตามคู่มือ APA มีแบบแผนการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้

ชื่ออผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

เช่น เลียง เสถียรสุต และเนาวรัตน์ พงษไพบูลย์. (2526). ส่องตะเกียง (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพๆ : หกสิบแปดการพิมพ์.

55.      ข้อใดเขียนรายการอ้างอิงในวงเล็บได้ถูกต้อง

(1) (ประภาส พาวินันท์ 2548, หน้า 50)                                   (2) (ผศ. ประภาส พาวินันท์ 2548, 50)

(3) (ประภาส 2548, 50)                                                            (4) (ผศ. ดร.ประภาส พาวินันที 2553, หน้า 48)

ตอบ 1 หน้า 264, 276 – 277, (คำบรรยาย) การแสดงที่มาของข้อมูลเฉพาะที่แบบนาม-ปี

(Author-date) คือ รายการอ้างอิงแบบในวงเล็บที่แทรกลงไปในเนื้อหา (Cite—in—Text)

โดยใส่ชื่อผู้เขียนและปีที่พิมพ์พร้อมด้วยเลขหน้าไว้ในวงเล็บหลังข้อความที่คัดลอกมาหรือที่ต้องการอ้างอิง ซึ่งมีรูปแบบตามคู่มือ Turabian ดังนี้ (ชื่อผู้แต่ง / ปีที่พิมพ์, / หน้าที่อ้างอิง) เช่น (ประภาส พาวินันที 2548, หน้า 50) โดยไม่ต้องระบุคำนำหน้านาม ตำแหน่งทางวิชาการ และวิชาชีพ ยกเว้นผู้แต่งที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ หรือยศ ให้ใส่ไว้ก่อนชื่อ เช่น (พระยาอนุมานราชธน 2503, หน้า 290) หากผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติให้ลงชื่อสกุลของผู้แต่ง ตามด้วยปีที่พิมพ์และเลขหน้า เช่น (Wilson 1996, p. 11)

56.       ข้อใดคือวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตในยุคแรก ๆ

(1) ด้านการเรียนการสอนออนไลน์     (2) ด้านการสื่อสารทางการทหาร

(3) ด้านการค้าขายทางออนไลน์          (4) ด้านบริการงานห้องสมุด

ตอบ (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 47 – 48), (คำบรรยาย) การพัฒนาอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2512 เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุนสนับสนุบโครงการพัฒนา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ขึ้น เพื่อเน้นใช้งานด้านการทหารและการสื่อสารใบช่วงสงครามเย็นมากที่สุด และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มีการนำอินเทอร์เน็ต มาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

57.       ข้อใดหมายถึงมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์และเซิร์ฟเวอร์

(1) HyperText Transfer Protocol (HTTP)

(2) HyperText Markup Language (HTML)

(3) Uniform Resource Locator (URL)

(4) World Wide Web Consortium (W3C)

ตอบ 1 (คำบรรยาย) HyperText Transfer Protocol (HTTP) คือ โปรโตคอลแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างเว็บบราวเซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ จึงเป็นโปรโตคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับ สารสนเทศของสื่อผสม โดยจะใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่ การจัดตั้ง World Wide Web (WWW)

58.       มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเภทใด

(1) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ      

(2) ผู้ใหับริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน

(3) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์           

(4) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตมาตรฐานสากล

ตอบ 1 หน้า 310, (IS 101 เลขพิมพ์ 52079 หน้า 49) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.         ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาคเอกชน หรือเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider ะ ISP) เช่น บริษัท True Corporation (Asia InfoNet), Samart, TT&T เป็นต้น

2.         ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เชื่อมต่อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คุณภาพของบริการอาจไม่เท่ากับของภาคเอกชน

59.       Search Engine หมายถึง

(1)        เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล Websites

(2)        เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล WebOPAC

(3)        เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC

(4)        เครื่องมือช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล E-book

ตอบ 1  หน้า 313, (คำบรรยาย) Search Engine คือ เครื่องมือที่ช่วยค้นหาสารสนเทศจากฐานข้อมูล

เว็บไซต์ (Websites) ที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง Search Engine จะแสดงรายการ สารบาญและช่องว่างให้เติมคำที่ต้องการสืบค้น จากนั้นให้ผู้ใช้ป้อนคำ ข้อความ หรือชื่อเรื่อง ที่ต้องการค้นหา ก็สามารถหาเว็บไซต์ที่ต้องการหรือรายชื่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันได้

60.       www.unt.edu โดเมน (.edu) เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทใด

(1) กลุ่มด้านการศึกษา

(2) กลุ่มด้านการทหาร

(3) กลุ่มด้านธุรกิจนานาชาติ  

(4) กลุ่มองคํกรนานาขาติ

ตอบ 1 (คำบรรยาย) โดเมนระดับบนสุดแบบทั่วไป (Generic Top Level Domains : gTLDs) หมายถึง ชื่อโดเมนระดับบนสุด ซึ่งจัดตามกลุ่มองค์กรและมักอยู่ทางขวาสุดของชื่อ โดยในระยะแรกเริ่ม มีอยู่ 7 หมวด ได้แก่ .com กลุ่มองค์กรธุรกิจการค้า, .edu กลุ่มสถาบันด้านการศึกษา, .gov กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ, .int กลุ่มองค์กรนานาชาติ, .mil กลุ่มหน่วยงานทางทหาร ของสหรัฐฯ, .net กลุ่มหน่วยงานเครือข่าย และ .org กลุ่มองค์กรจัดตั้ง (Organizations) เช่น องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร หรือหน่วยงานที่ไม่เข้ากลุ่มอื่น

Advertisement