การสอบไล่ภาคฤดูร้อน  ปีการศึกษา 2556

ข้อสอนกระบวนวิชา LIS 1001 สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการค้นคว้า

Advertisement

คำสั่ง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อสอบมีทั้งหมด 100 ข้อ)

1.    ข้อใดเป็นลักษณะของสารสนเทศที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์

(1)  ความสมบูรณ์

(2) ความถูกต้อง   

(3) ความเที่ยงตรง

(4) ความทันสมัย

ตอบ 2 หนา 5(IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 5-6) สารสนเทศที่มีความถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกด้าน ซึ่งก่อให้เกิด ประโยชน์ดังต่อไปนี้     

1. ลดอัตราการตายจากโรคภัยไข้เจ็บ

2. ช่วยให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคอย่างฉลาด รู้จักเลือกใช้สินค้าที่มีประโยชน์ และประเมิน คุณภาพของสินค้าได้     

3. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น

4.ช่วยลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ

5. ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และลดค่าใช้จ่ายจากการทำวิจัยซ้ำซ้อน 

6. รู้จักแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

7. เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างองค์ความรู้

8. เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศ

2.    ข้อใดเป็นองค์ประกอบช่วยให้ประชาชนมีความฉลาด รู้จักเลือกใช้สินค้าที่มีประโยชน์

(1)  ข้อมูล    

(2) ความรู้    

(3) สารสนเทศ     

(4) ปัญญา

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 1. ประกอบ

3.    “การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กร”เป็นแนวความคิดของสังคมใด

(1)  สังคมโบราณ 

(2) สังคมเกษตรกรรม  

(3) สังคมอุตสาหกรรม 

(4) สังคมสารสนเทศ

ตอบ 4 หน้า 135 – 6 สังคมในศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาที่มีพื้นฐานมาจาก สังคมสารสนเทศ เป็นสังคมที่นานาประเทศเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพหรือที่เรียกว่า “พนักงานแห่งภูมิปัญญา” (Knowledge Workerซึ่งมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพต่าง ๆ ขึ้น โดยบุคลากรกลุ่มนี้จะใช้สารสนเทศและประสบการณ์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้แก่องค์กร รวมทั้งยังช่วยสร้างจุดแข็งให้แก่องค์กร ทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันและการต่อรอง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

4.    ข้อใดคืออักษรที่ชาวสุเมเรียนนำมาใช้บันทึกความรู้และเหตุการณ์สำคัญ

(1) เทวะนาคี 

(2) ไฮโรกลิฟิก     

(3) คานาดะ  

(4) คูนิฟอร์ม

ตอบ 4 หน้า 7-8 ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่มขึ้นเมื่อประมาณ 3,100 B.Cซึ่งตัวอักษรรูปลิ่มนี้เกิดจากการใช้เหล็กแหลม หรือไม้กกกดลงบนแผ่นดินเหนียว แล้วนำไปเผาหรือตากให้แห้ง เพื่อใช้บันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ศาสนา และนำไปรวมจัดเก็บในห้องสมุดแผ่นดินเหนียว ซึ่งห้องสมุดที่สำคัญ ได้แก่ ห้องสมุดเทลเลาะห์ (Telloh)

5.    ชาวกริกโบราณได้พัฒนางานการบันทึกข้อมูลในข้อใด

(1) อักษรคูนิฟอร์ม

(2) แผ่นหนังสัตว์โคเด็กซ์    

(3) อักษรไฮโรกลิฟิก   

(4) กระดาษปาไปรัส

ตอบ 2 หน้า 9 ชาวกรีกโบราณได้นำแผ่นหนังสัตว์ฟอกมาใช้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ แทนแผ่นดินเหนียว กระดาษปาไปรัส แผ่นไม้ แผ่นหิน แผ่นบรอนซ์ ฯลฯ ซึ่งแผ่นหนังสัตว์เหล่านี้เมื่อนำมาเย็บรวมกันเป็นเล่มจะเรียกว่า “โคเด็กซ์” (Codexหรือหนังสือแผ่นหนังสัตว์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบ ของการเย็บเล่มหนังสือในปัจจุบัน โดยห้องสมุดที่รวบรวมแผ่นหนังที่สำคัญคือ ห้องสมุด เปอร์กามัมของกรีก

6.    ใครเป็นชนชาติแรกที่บันทึกข่าวสารความรู้ลงบนแผ่นดินเหนียว

(1) ชาวอัสสิเรียน  

(2) ชาวบาบิโลเนียน    

(3) ชาวบอร์เวเจียน     

(4) ชาวสุเมเรียน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 4. ประกอบ

7. ข้อใดกล่าวถึงกำเนิดของห้องสมุดไม่ถูกต้อง   

(1) เกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์รู้จักขีดเขียน

(2)  รวบรวมความรู้ไว้เป็นมรดกตกทอดถึงชนรุ่นหลัง

(3)  ต้องการแหล่งจารึกความรู้ความคิดและเหตุการณ์ต่าง ๆ

(4)  สะสมสรรพวิทยาการเฉพาะเรื่องที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว

ตอบ 4 (IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 6-814) ห้องสมุดเกิดขึ้นพร้อมกับการที่มนุษย์รู้จักขีดเขียน และต้องการจารึกความรู้ ความคิด และเหตุการณ์ต่าง ๆ ไว้ใช้ในภายหลัง เพื่อเป็นมรดกตกทอดถึงชนรุ่นหลัง

8.    ห้องสมุดประชาชนของไทยเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยใด

(1) รัชกาลที่ 1

(2) รัชกาลที่ 2

(3) รัชกาลที่ 3

(4) รัชกาลที่ 4

ตอบ 3 หน้า 12(คำบรรยาย) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์วัตพระเชตุพนวิมลมังคลารามหรือวัดโพธิ์ เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษ หาความรู้ในศิลปวิทยาการด้านต่าง ๆ ของประชาชนทั่วไป เช่น ตำรายาแพทย์แผนไทย วรรณคดี ประวัติพระพุทธศาสนา ฯลฯ ทั้งนี้ได้มีการจารึกความรู้ต่าง ๆ ลงบนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามระเบียงศาลารอบพระอุโบสถ ดังนั้นวัดพระเชตุพนฯ จึงถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย และยังได้ชื่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งแรกของไทยอีกด้วย

9.    ข้อใดเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

(1) หอพระมณเฑียรธรรม   

(2) หอพุทธสาสนสังคหะ

(3) หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร  

(4) หอพระสมุดวชิรญาณ

ตอบ 3 หน้า 12(IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 10) ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพุทธสาสนสังคหะ และหอพระสมุดวชีรญาณเข้าด้วยกัน จากนั้น จึงสร้างเป็นห้องสมุดแห่งใหม่ในพระบรมมหาราชวังชื่อว่า “หอพระสมุดวชีรญาณสำหรับพระนคร” ซึ่งถือเป็นรากฐานของหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ย้าย มาอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุนอกพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “หอสมุดแห่งชาติ” และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

10. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่สำคัญของหอสมุดแห่งชาติ

(1) รวบรวมและจัดพิมพ์บรรณานุกรมแห่งชาติ  

(2) เป็นศูนย์กลงความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

(3)  รับมอบสิ่งพิมพ์ทุกเล่มที่จัดพิมพ์ในประเทศไทย

(4)  เป็นศูนย์กลางบริการมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ

ตอบ 2 หน้า 24 – 25(คำบรรยาย) หอสมุดแห่งชาติมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

1.    เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวม สงวนรักษา จัดระบบ และให้บริการมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของชาติทุกรูปแบบ เช่น ต้นฉบับเพลงไทยและเพลงลากล ตัวพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ ฯลฯ

2.    เผยแพร่และบริการสารสนเทศที่ได้รวบรวมไว้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป

3.    เป็นศูนย์ข้อมูลและกำหนดหมายเลข ISSN และ ISBN

4.    รับมอบสิ่งพิมพ์ทุกเล่มที่จัดพิมพ์ขึ้นภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัย

5.    รวบรวมและจัดพิมพ์บรรณานุกรมแห่งชาติ

6.    สงวนรักษาสื่อความรู้และความคิดของคนในชาติ เพื่อเป็นมรดกของชาติ

11. ศูนย์สื่อการเรียนการสอน จัดเป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด  

(1) ห้องสมุดฉพาะ

(2) ห้องสมุดประชาชน 

(3) ห้องสมุดโรงเรียน   

(4) ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ตอบ 3 หน้า 25 – 26 ห้องสมุดโรงเรียน คือ แหล่งสารสนเทศที่รวบรวมวัสดุสารสนเทศประเภทต่าง ๆและอุปกรณ์การสอนที่สอดคล้องกับหลักสตรในปัจจุบันของโรงเรียนระดับต่าง ๆ ในปัจจุบัน ห้องสมุดโรงเรียนจะเป็นศูนย์กลางวัสดุสื่อการศึกษาโดยเฉพาะสื่อโสตทัศน์ เพื่อให้ครูและนักเรียน นำมาใช้ประกอบการศึกษา เช่น มัลติมีเดีย เทปเสียง วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ดังนั้น ห้องสมุดโรงเรียนจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์ลสื่อการเรียนการสอน ศูนย์วัสดุการศึกษา เป็นต้น

12. สัญลักษณ์ เมื่อสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง หมายถึงข้อใด

(1)  ผู้แต่ง     

(2) ชื่อเรื่อง   

(3) คำสำคัญ  

(4) รายการจอง

ตอบ 4 หน้า 29 – 30 การสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ผ่านระบบ OPAC ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถทำได้โดยเลือกคำสั่งจากเมนูหลักที่กำหนดไว้แล้ว (Menu Drivenเช่น สัญลักษณ์ R > รายการจอง, A > ผู้แต่ง, T > ชื่อเรื่อง, S หัวเรื่อง, W> คำสำคัญ เป็นต้น

13. ข้อใดคือห้องสมุดเฉพาะ

(1) ห้องสมุดธนาคารศรีนคร

(2) ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี

(3) ห้องสมุดสถาบันภาษา เอ.ยู.เอ.     

(4ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์

ตอบ 4 หน้า 33 – 34 ห้องสมุดเฉพาะ คือ แหล่งสารสนเทศที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์กร สำนักงาน สถาบันการค้นคว้าวิจัย ธนาคาร สมาคมวิชาชีพ องค์การระหว่างประเทศ หรือเอกชนต่าง ๆ เพื่อให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาในทุกรูปแบบ โดยมุ่งให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม ตัวอย่างของห้องสมุดเฉพาะ ได้แก่ ห้องสมุดสถาบันวิจัย เช่น ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, ห้องสมุดของคณะวิซาในมหาวิทยาลัย เช่น ห้องสมุดคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลห้องสมุดเฉพาะอื่น ๆ เช่น ห้องสมุดโรงเรียนคนตาบอด ฯลฯ

14. บุคลากรที่เรียกว่า Subject Specialist ของศูนย์สารสนเทศคือใคร

(1) บรรณารักษ์    

(2) เจ้าหน้าที่ห้องสมุด  

(3) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชา    

(4) บรรณารักษ์ระบบ

ตอบ 3 หน้า 34 ศูนย์สารสนเทศ หมายถึง หน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าทีจัดหา จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะสาขาวิชาแก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะนักวิทยาคาสตร์ และนักวิจัย ทั้งนี้บุคลากรของศูนย์สารสนเทศจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะวิชาที่เรียกว่า “Subject Specialist” หรือนักเอกสารสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้าน

15. ข้อใดคือเครือข่ายระบบห้องสมุดอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) Ram UniNet   

(2) RAMLINET     

(3) RU NETWORK

(4) RU LibNet

ตอบ 2 หน้า 12 – 132729 ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library Systemคือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้น และเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้พัฒนาห้องสมุดให้เป็นระบบเครือข่ายห้องสมุดอัตโนมัติเรียกว่า “RAMLINET

16. หน่วยงานที่ทำหน้าที่เลือกสรรและประเมินค่าสารสนเทศเรียกว่าอะไร

(1)  ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ

(2) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ

(3) ศูนย์แจกจ่ายสารสนเทศ 

(4) ศูนย์สารสนเทศ

ตอบ1 หน้า 37 ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Centerเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลือกสรร ประเมินค่า จัดเก็บ และนำเสนอข้อสนเทศเฉพาะวิชา โดยจะจำกัดขอบเขตเนื้อหาที่ครอบคลุมลึกซึ้งกว่าห้องสมุดเฉพาะ และเน้นการจัดหาเอกสารที่ไม่ได้พิมพ์เผยแพร่แก่ผู้ใช้ที่ เป็นนักวิชาการหรือนักวิจัยในสาขาวิชา ทำให้สามารถติดตามกิจกรรมความรู้และสิ่งพิมพ์ ใหม่ ๆ ได้อย่างทันเหตุการณ์

17. ข้อใดเก็บรักษาเอกสารราชการ บันทึก รายงาน แบบพิมพ์ ภาพถ่าย เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประวิติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรม

(1) หอสมุดแห่งชาติ     

(2) หอสมุดรัฐสภา

(3) หอจดหมายเหตุ      

(4) ศูนย์สารสนเทศ

ตอบ 3 หน้า 38 หอจดหมายเหตุ เป็นแหล่งเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุ ได้แก่ เอกสารราชการ ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง จดหมายโต้ตอบ บันทึกส่วนตัว รายงาน แบบพิมพ์ แผนที่ แผนผัง และภาพถ่าย เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือแสดงพัฒนาการ นโยบาย และ การดำเนินงานของสถาบันภาครัฐหรือเอกชน เพื่อใช้อ้างอิงในการปฎิบัติหน้าที่ รวมทั้งเป็น หลักฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยและเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ตัวอย่างของหอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุแห่งชาติกองบรรณสารและห้องสมุด กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น

18. WebOPAC เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) การจัดเก็บข้อมูล    

(2) การจัดหมวดหมู่หนังสือ

(3) ระบบการยืมคืนสารสนเทศ    

(4) การตรวจสอบรายชื่อหนังสือของห้องสมุด

ตอบ 4 หน้า 30 – 3157 – 58228 ระบบ WebOPAC เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลบัตรรายการ หรือข้อมูลบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ซึ่งจะจัดเก็บไว้ในรูปของฐานข้อมูล บรรณานุกรมและนำเสนอบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใสามารถสืบค้นและเข้าถึง รายการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดดิจิตอลได้ ในปัจจุบันผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถสืบค้นรายการหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ของห้องสมุดผ่านระบบ WebOPAC ได้ โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ www.lib.ru.ac.th

19. รายการ http://www.siamhealth.net/public เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) ตำแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(2) ผู้ให้บริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(3) การส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต  

(4) ระบบภารสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุด

ตอบ 1 หน้า 4556 การเข้าถึงสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามรถเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ หรือตำแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “URL Address” (Uniform Resource Locationเช่น http://wwwsiamhealth.netทั้งนี้สารสนเทศที่ปรากฏบนหน้าจอแรกของเว็บ จะเรียกว่า “โฮมเพจ” (Home Pageซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกรายการที่ต้องการค้นคว้าต่อไปได้

20. ห้องสมุดประเภทใดที่มีทรัพยากรสารสนเทศจากสื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

(1)  ห้องสมุดดิจิตอล    

(2) ห้องสมุดไร้พรมแดน

(3) ห้องสมุดอัตโนมัติ   

(4) ห้องสมุดคอมพิวเตอร์

ตอบ 1 หน้า 42 – 57(คำบรรยาย) ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Librariesหมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการทรัพยากรสารสนเทศจากสื่อชนิดต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปดิจิตอลหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการนำเสนอในรูปของสื่อผสม (Multimediaทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหรือสืบค้นสารสนเทศ ได้ด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (ISP) นอกจากนี้ขอบเขตของห้องสมุดดิจิตอลยังอาจกว้างไกลไปถึงแหล่งสะสมสารสนเทศที่สามารถ เชื่อมโยงถึงกันได้ในลักษณะของเครือข่ายใยแมงมุม (WWWโดยไม่ต้องคำนึงถึงสื่อในรูปลักษณ์ ต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของข้อมูลหรือสารสนเทศเหล่านั้นก็ได้

21. อาร์พาเน็ตเกิดขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใดมากที่สุด

(1)  การทหาร

(2) การพาณิชย์    

(3) การศึกษา

(4) การปกครอง

ตอบ 1 หน้า 47 – 48(คำบรรยาย) ในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ให้ทุน สนับสนุนโครงการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเริ่มแรกนั้นได้มีการจัดตั้งเครือข่ายอาร์พาเน็ต (ARPAnetขึ้น เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางการทหารในช่วงสงครามเย็น และเพื่อเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับงานวิจัย จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2526 จึงพัฒนามาเป็นเครือข่ายอินเทอร์เนึต และในปัจจุบันก็ได้มีการนำอินเทอร์เน็ต มาใช้งานในเชิงพาณิชย์มากขึ้น

22. TOT เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตในข้อใดมากที่สุด

(1)  ตัวกลางเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ต

(2) ผู้ควบคุมการส่งแฟ้มข้อมูล    

(3) การกำหนดตำแหน่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

(4)  ผู้จัดสรรเวลาในการใช้เครื่องระยะไกล

ตอบ 1 หน้า 49 ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ดเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider : ISPคือบริษัทเอกชนที่ให้บริการเชื่อมต่อผู้ใช้เข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยมีรูปแบบและราคาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการได้เป็นรายชั่วโมง โดยมีการเก็บค่าใช้จ่ายตามจำนวนครั้ง ที่เชื่อมต่อและเวลาที่ใช้งานจริง หรืออาจจ่ายเป็นรายเดือนก็ได้ ซึ่งบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น บริษัท True Corporation (Truewifi True Internet), Loxinfo, Samart, KSC, ANET, TOT, TT&T, Idea Net, Internet Thailand เป็นต้น

23. Yahoo Messenger เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตอย่างไร

(1)  บริการส่งข่าวออนไลน์อย่างด่วน  

(2) บริการสนทนาออนไลน์แบบทันทีทันใด

(3) บริการสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุด   

(4) บริการช่วยการค้นคว้าออนไลน์ผ่านอินทอร์เน็ต

ตอบ 2 หน้า 50(คำบรรยาย) บริการสนทนาออนไลน์ (Messengerเป็นบริการที่ช่วยให้บุคคลสานารถติดต่อสื่อสารด้วยการส่งข้อความไปมาระหว่างกันได้ในช่วงเวลาเดียวกัน (Real Timeทั้งนี้มักใช้งานร่วมกับเครื่องมือต่าง ๆ ได้แก่ กล้องดิจิตอล ไมโครโฟน ลำโพง และการส่งแฟ้มข้อมูล เพื่อช่วยให้การสนทนามีความหลากหลายและชัดเจนมากขึ้น เช่น โปรแกรม MSN Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk, Yahoo Twitter เป็นต้น

24. Web board เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1)  บริการส่งจดหมาย 

(2) บริการสืบค้นข้อมูลหนังสือห้องสมุด

(3) การให้บริการอินเทอร์เน็ต     

(4) การประกาศและแสดงความคิดเห็นออนไลน์

ตอบ 4 หน้า 51 บอร์ดแสดงความคิดเห็นออนไลน์หรือเว็บบอร์ด (Web boardเป็นบริการที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถประกาศสิ่งต่าง ๆ และทั้งหัวข้อแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้ใช้คนอื่น เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี ซึ่งบริการนี้จะช่วยให้ประชาชนกล้าแสดงความคิดเห็น และส่งเสริมประชาธิปไตยของสังคม เพราะผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นโดยไม่ต้องแสดงตน และไม่ทราบว่าใครเป็นใคร อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นต้องอยู่บนพื้นฐานของสิทธิ และเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นด้วย

25. www.yahoo.com เกี่ยวข้องกับข้อใดมากที่สุด

(1) การแสดงผลข้อมูล  

(2) การเก็บข้อมูล 

(3) การส่งอีเมล์    

(4) การค้นหาข้อมูล

ตอบ 4 หน้า 55 Search Engine คือ เครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลทีให้บริการบนอินเทอร์เน็ต โดยจัดเป็นเว็บไซต์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลบนเครื่อง Server ซึ่งให้บริการ สารสนเทศแก่เครื่องลูกข่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เหมือนกับการใช้ตู้บัตรรายการค้นหา หนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุด ทั้งนี้ Search Engine ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่นwww.yahoo.com,www.googLe.co.th,www.altavista.com เป็นต้น

26. ในการสืบค้นสารสนเทศผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร 

(1) ระบุที่ตั้งของ Home Page

(2) ระบุที่จัดเก็บ Server

(3) ระบุชื่อ WWW

(4) ระบุที่อยู่ URLAddress

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 19. ประกอบ

27. ข้อใดใช้เป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลทางเว็บไซต์

(1)  Proxy     

(2) OPAC      

(3) Metadata       

(4) Search Engine

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 25. ประกอบ

28. เอกสารประชาสัมพันธ์ “รับมือโรคภัยจากแสงแดด” เป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด

(1)  เอกสารประกอบการสอน     

(2) หนังสือ    

(3) วารสาร   

(4) จุลสาร

ตอบ 4 หน้า 83 จุลสาร (Pamphletsเป็นสื่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป โดยอาจเป็นความรู้ในรูปของบทความวิชาการต่างๆ ที่มีประโยชน์ หรือเป็นความรู้ที่หน่วยงานราชการ องค์การ หรือสมาคมต้องการเผยแพร่ให้ ประชาชนทราบ ซึ่งจุลสารอาจพิมพ์เป็นเล่มเดี่ยว ๆ หรือพิมพ์เป็นตอน ๆ รูปเล่มโดยทั่วไป จะไม่มีการเข้าปกเย็บเล่มถาวรและมีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า ทั้งนี้อาจมีลักษณะเป็นแผ่นพับ หรืออยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า “อนุสาร” (Brochureก็ได้

29. ข้อใดเป็นส่วนที่ผู้เขียนนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง โดยให้ข้อมูลเพื่อปูพื้นความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ

(1)  หน้าคำนำ      

(2) หน้าบทนำ

(3) หน้าคำนิยม    

(4) หน้าสารบัญ

ตอบ 2 หน้า 79 หน้าบทนำ (Introductionเป็นส่วนที่ผู้เขียนหนังสือนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง โดยให้ข้อมูล เพื่อปูพื้นความเข้าใจเนื้อหาของหนังสือ อาจกล่าวถึงประวัติ ความหมาย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นใจความสำคัญของเรื่องและการจัดลำดับเนื้อหาในตัวเล่ม ทั้งนี้หนังสือบางเล่มอาจไม่มี ส่วนที่เป็นบทนำ แต่จะนำไปรวมเขียนไว้กับส่วนที่เป็นคำนำ

30. ส่วนใดของหนังสือที่ช่วยให้เนื้อหาบางตอนในหนังสือทันสมัยขึ้น

(1)  บรรณานุกรม

(2) ภาคผนวก

(3) อภิธานคัพท์   

(4) ดรรชนี

ตอบ 2 หน้า 80338 ภาคผนวก (Appendixเป็นส่วนที่จัดไว้ท้ายเล่มของหนังสือหรืออยู่ใน ตอนท้ายของรายงาน เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง เช่น ตาราง แผนภูมิ แบบสอบถาม แผนสถิติ ภาพหรือข้อมูลที่ช่วยเสริมเนื้อหาบางตอนของหนังสือ หรือรายงานให้สมบูรณ์และทันสมัยขึ้น

31. ต้องการอ่านบทความเกี่ยวกับ “การแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์” จะหาอ่านได้จากวารสารประเภทใด

(1)  นิตยสาร 

(2) วารสารทางวิชาการ

(3)  วารสารวิทยาศาสตร์     

(4) วารสารวิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว

ตอบ 2 หน้า 72 วารสารทางวิชาการ (Journalเป็นวารสารที่จัดพิมพ์โดยสถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งขอบเขตของเนื้อเรื่องประกอบด้วยบทความทางวิชาการ รายงาน และข่าวความเคลื่อนไหวในวงการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านมีความรู้ทันความก้าวหน้า ของวิชาการนั้น ๆ เช่น วารสารรามคำแหง วารสารเคมีสัมพันธ์ คอมพิวเตอร์สารสนเทศ ฯลฯ ทั้งนี้ในแต่ละบทความจะเขียนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ

32. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกฤตภาค

(1)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่คัดมาจากบทความที่น่าสนใจ

(2)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศที่ทันสมัยอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป

(3)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถพบได้ในหนังสือ

(4)  เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้เป็นส่วนเสริมเนื้อหาความรู้จากหนังสือให้ทันสมัย

ตอบ 2 หน้า 83(ดูคำอธิบายข้อ 28. ประกอบ) กฤตภาค (Clippingเป็นบทความ เหตุการณ์สำคัญ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีคุณค่าพอที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้ ซึ่งบรรณารักษ์ จะเป็นผู้เลือกคัดสารสนเทศดังกล่าวมาจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ หรือวารสาร แล้วนำมาผนึก ติดกับกระดาษแข็งที่มีขนาดเท่า ๆ กัน โดยประโยชน์ของกฤตภาคคือ จะให้สารสนเทศใหม่ ๆ ที่ไม่อาจพบได้ในหนังสือทั่วไป และใช้เป็นส่วนเสริมเนื้อหาความรู้จากหนังสือให้ทันสมัย

33. วัสดุข้อใดเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสภาพของโลกได้ใกล้เคียงกว่าแผนที่

(1)  รูปภาพ  

(2) หุ่นจำลอง

(3) ของตัวอย่าง    

(4) ลูกโลก

ตอบ 4 หน้า 85 ลูกโลก (Globeเป็นหุ่นจำลองโลกที่สร้างจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ โลหะ พลาสติก หรือยาง เพื่อใช้แสดงแทนรูปสัณฐานของโลกซึ่งมีลักษณะกลม ลูกโลกจึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้ใช้ เข้าใจสภาพของโลกได้ใกล้เคียงกวาแผนที่ โดยทั้งแผนที่และลูกโลกต่างก็เป็นสื่อทีใช้ประกอบ การศึกษาค้นคว้า หรือประกอบการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ได้ดี

34. ข้อใดไม่ใช่ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์

(1) ซีดีรอม   

(2) ซีดีออดิโอ

(3) เทปแม่เหล็ก   

(4) แผ่นจนแม่เหล็ก

ตอบ 2 หน้า 84166 ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์(Computerized Databaseเป็นระเบียบทางบรรณานุกรม ข้อมูลเนื้อหา หรือข้อมูลตัวเลข ที่มีการจัดเก็บอย่างมีระบบลงในสื่อที่คอมพิวเตอร์ อ่านได้ เช่น แผ่นจานแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก ซีดีรอม เป็นต้น (ซีดีออดิโอจัดเป็นสื่อโสตวัสดุ ประเภทหนึ่ง)

35. หนังสืออ้างอิงที่มีการเจาะริมหน้ากระดาษและมีอักษรกำกับไว้ เพื่อให้ผู้ใช้หนังสือสามารถหาคำที่ต้องการ ได้ทันทีเรียกว่าอะไร

(1) คำนำทาง 

(2) อักษรนำเล่ม   

(3) ดรรชนี   

(4) ดรรชนีริมหน้ากระดาษ

ตอบ 4 หน้า115 ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Indexส่วนมากจะมีอยู่ในหนังสืออ้างอิงเล่มหนาๆ เช่น พจนานุกรมและสารานุกรม โดยมีการเจาะริมหน้ากระดาษและมีอักษรกำกับไว้ เพื่อช่วยให้ ผู้ใช้หนังสือสามารถเปิดหาคำที่ต้องการได้ทันที และทำให้ผู้ใช้สามารถทราบตำแหน่งที่ปรากฏคำ ในหน้านั้น ๆ ได้อย่างสะดวกที่สุด

36. ข้อใดไม่จัดเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาความรู้จากหนังสืออ้างอิง

(1)  Volume Guide

(2) Bibliography

(3) Thumb Index

(4) Running Word

ตอบ 2 หน้า 115-116 เครื่องมือที่ช่วยค้นหาความรู้จากหนังสืออ้างอิงได้อย่างสะดวก ได้แก่ คำนำทาง (Guide Word หรือ Running Word)ดรรชนีริมหน้ากระดาษ (Thumb Index). อักษรนำเล่ม (Volume Guide)ส่วนโยง (Cross Referenceและดรรชนี (Index)

37. ข้อใดคือความหมายของพจนานุกรมเฉพาะสาชาวิชา(1)ให้ความรู้สาขาวิชาต่างๆอย่างสั้นๆ

(2) รวบรวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษทางด้านคอมพิวเตอร์

(3) รวบรวมภาษิต คำพังเพย และสำนวนไท

(4)  ให้คำเทียบศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันเป็นภาษาไทย

ตอบ 2 หน้า 118124 – 125 พจนานุกรมเฉพาะวิชา คือ พจนานุกรมสำหรับค้นหาความหมาย ของคำที่ใช้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ พจนานุกรมรวมคำศัพท์ กฎหมายไทย พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ เป็นต้น

38. ข้อใดคือลักษณะของสารานุกรม

(1) ให้ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างละเอียดในรูปบทความ 

(2) ให้ความรู้หลากหลายสั้น ๆ พอสังเขป

(3) เรียบเรียงบทความตามลำดับอักษรแบบคำต่อคำ  

(4) ให้โครงร่างความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ

ตอบ 3 หน้า 125/- 132 สารานุกรม (Encyclopediaคือ หนังสือที่รวบรวมความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ ซึ่งเขียนโดยผู้ชำนาญในแต่ละสาขาวิชา และจัดเรียงเนื้อหาที่อยู่ในรูปของบทความ ตามลำดับอักษรแบบคำต่อคำ หรือแบ่งเป็นหมวดหมู่วิชา เพื่อใช้ค้นคว้าเรื่องที่ต้องการหรือ เป็นพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบที่เรียกว่า หนังสือชุด โดยสารานุกรมส่วนมากจะมีภาพประกอบและมีดรรชนีอยู่ตอนท้ายเล่ม หรือถ้าเป็นหนังสือชุดก็จะอยู่เล่มสุดท้าย

39. หนังสืออ้างอิงข้อใดรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านของทุกประเทศในรอบหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

(1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์  

(2) สารานุกรม

(3) ปูมปฏิทิน,หรือสมพัตสร 

(4) สยามออลมาแนค

ตอบ 3 หน้า 144 – 145 ปฏิทินเหตุภารณ์รายปี สมพัตสร หรือปูมปฏิทิน (Almanacเป็นหนังสือ ที่รวบรวมความรู้เบ็ดเตล็ดหลายด้านและสถิติทั่วไปในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจนถึงปีปัจจุบัน ของทุกประเทศในโลก โดยจะให้ข้อมูลอย่างสังเขปครอบคลุมเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิทินลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจการพาณิชย์ การเมือง สถิติต่าง ๆ ในรูปของตาราง เป็นต้น

40. หนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อสถานที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ และมีลักษณะคล้ายพจนานุกรมเรียกว่าอะไร

(1) สารานุกรม     

(2) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

(3) หนังสือแผนที่ 

(4) พจนานุกรมท่องเที่ยว

ตอบ 2 หน้า 147 อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Geographical Dictionaryเปีนหนังสืออ้างอิงที่ให้ข้อมูล อย่างสังเขปเกี่ยวกับชื่อของสถานที่สำคัญทางภูมิศาสตร์ โดยมีลักษณะคล้ายพจนานุกรม ที่ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับชื่อและสถานที่ทางภูมิศาสตร์อย่างสั้น ๆ รวมทั้งให้คำอ่านและรายละเอียดอื่น ๆ เช่น สถานที่ตั้ง ระยะทาง เส้นรุ้งเส้นแวง ความสูงของภูเขา จำนวนประชากร เป็นต้น

41. ต้องการค้นรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับดนตรีไทยระนาดได้จากหนังสืออ้างอิงประเภทใด

(1) หนังสือคู่มือ    

(2) บรรณานุกรม 

(3) ดรรชนีวารสาร

(4) สาระสังเขป

ตอบ 2 หน้า 164 หนังสือบรรณานุกรม (Bibliographyเป็นหนังสืออ้างอิงที่รวบรวมรายชื่อหนังสือ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งที่จัดทำเป็นตัวเล่ม,หนังสือ หรืออาจปรากฏที่ท้ายเล่มหนังสือหรือท้ายบทแต่ละบท เพื่อทำหน้าที่ เป็นเอกสารอ้างอิง โดยบรรณานุกรมจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง ชื่อสิ่งพิมพ์หรือ ทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบอื่น ๆ ชื่อผู้ผลิต (สำนักพิมพ์) สถานที่ผลิต ปีที่ผลิต ลักษณะรูปเล่ม และราคา บางเล่มอาจมีบรรณนิทัศน์สังเขปและบทวิจารณ์ประกอบอยู่ด้วย

42. ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้” จัดเป็นฐานข้อมูลประเภทใด      

(1) ฐานข้อมูลบรรณานุกรม

(2) ฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศฉบับเต็ม

(3) ฐานข้อมูลพจนานุกรม   

(4) ฐานข้อมูลชี้แนะแหล่ง

ตอบ 2 หน้า 166 – 167(คำบรรยาย) ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ จัดเป็นฐานข้อมูลที่ให้สารสนเทศฉบับเต็ม (Source Databaseที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ พืชสมุนไพร สรรพคุณทางยา องค์ประกอบทางเคมี ภาพของพรรณไม้ และบทความทาง วิชาการในด้านต่าง ๆ ของสมุนไพร ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อนักวิจัย ผู้ที่สนใจ และ ประชาชนทั่วไป

43. สัญลักษณ์ที่แสดงเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภทหมายถึงข้อใด

(1) เลขเรียกหนังสือ

(2) เลขหมู่หนังสือ 

(3) เลขทะเบียนหนังสือ

(4) เลขประจำหนังสือสากล

ตอบ 2 หน้า 194 เลขหมู่หนังสือ (Class Numberเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงเนื้อหาสาระของหนังสือและ/หรือประพันธ์วิธีของหนังสือนั้นๆ ซึ่งอาจแตกต่างกันตามระบบการจัดหมู่ หนังสือที่ห้องสมุดแต่ละแห่งเลือกใช้

44. ห้องสมุดในข้อใดที่นิยมใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้

(1) ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์   

(2) สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(3) ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย     

(4) ห้องสมุด “เฉลิมราชกุมารี”

ตอบ 4 หน้า 23186 – 188 ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification : DDC หรือ DCเป็นระบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในห้องสมุดขนาดเล็ก หรือขนาดกลางที่มีหนังสือทั่ว ๆ ไปหลายประเภทหลายสาขาวิชาในจำนวนไม่มากนัก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน (ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราซกุมารี) เป็นต้น ซึ่งระบบทศนิยมดิวอิ้นั้นจะมีการแบ่งสรรพวทยาการในโลกออกเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้ สัญลักษณ์เป็นเลขอารบิก 3 ตัวตั้งแต่ 100 – 000 เพื่อแสดงเนื้อหาของหนังสือ แต่ถ้าต้องการ ระบุเนื้อหาของหนังสือให้ชี้เฉพาะยิ่งขึ้น ก็ให้ใช้วิธีเขียนเป็นจุดทศนิยมตั้งแต่ 1 ตำแหน่งขึ้นไป จนถึงหลาย ๆ ตำแหน่งตามความเหมาะสม

45. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของเลขเรียกหนังสือ

(1)  มักปรากฏที่สันหนังสือตอนล่าง เพื่อให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย

(2)  ทำให้หนังสือทุกเล่มมีสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นสากลเหมือนกัน

(3)  ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงหนังสือเล่มที่ต้องการจากชั้นหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

(4)  เป็นสัญลักษณ์ของหนังสือ ประกอบด้วย เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง อักษรชื่อเรื่อง

ตอบ 2 หน้า 194 – 195197 เลขเรียกหนังสือ (Call Numberคือ สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเฉพาะ ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่มในห้องสมุดประกอบด้วย 3ส่วนสำคัญได้แก่ เลขหมู่หนังสือ เลขผู้แต่ง และอักษรชื่อเรื่อง โดยทั่วไปเลขเรียกหนังสือของหนังสือแต่ละเล่ม จะปรากฏที่สันหนังสือตอนล่าง เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสังเกตได้ง่าย และสามารถเข้าถึงหนังสือ เล่มที่ต้องการจากชั้นหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

46. ข้อใดเป็นลักษณะการจัดเรียงหนังสือบนชั้นที่ไม่ถูกต้อง

(1)  หนังสือที่จัดตามระบบรัฐสภาอเมริกัน ให้เรียงตามตัวอักษรและตัวเลขจากน้อยไปหามาก

(2)  หนังสือที่จัดตามระบบดิวอี้ ให้เรียงจากเลขน้อยไปหาเลขมาก

(3)  หนังสือที้มีเลขหมู่ซํ้ากัน พิจารณาจากอักษรผู้แต่ง

(4)  หนังสือที่แต่งโดยผู้แต่งคนเดียวกันในหมวดเดียวกัน พิจารณาจากอักษรชื่อเรื่อง

ตอบ 4 หน้า 194 – 195197 วิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้นในห้องสมุด จะพิจารณาจากเลขเรียก หนังสือจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง และจะพิจารณาจัดลำดับจากเลขหมู่หนังสือก่อน โดยห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบทศนิยมดิวอี้จะเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก สวนห้องสมุดที่จัดหมู่หนังสือด้วยระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกันจะพิจารณาเรียงลำดับตาม ตัวอักษร – ก่อน ต่อเมื่อตัวอักษรซ้ำกันจึงค่อยเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก แต่ถ้าเลขหมู่ซ้ำกันก็ให้พิจารณาจากอักษรผู้แต่ง ถ้าอักษรผู้แต่งเหมือนกันให้พิจารณาจาก เลขประกอบอักษรผู้แต่งจากเลขน้อยไปหาเลขมาก และถ้าเลขผู้แต่งเหมือนกันอีกก็ให้พิจารณา จากอักษรชื่อเรื่อง

47. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการจัดเก็บสิ่งพิมพ์รัฐบาล

(1)  ใช้ระบบการจัดหมู่แตกต่างจากระบบการจัดหมู่หนังสือธรรมดา

(2)  นำระบบการจัดสิ่งพิมพ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซียมาเป็นพื้นฐานในการจัด

(3)  เลขหมู่ของสิ่งพิมพ์รัฐบาลประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ของหน่วยงานและเลขของสิ่งพิมพ์

(4)  บัตรรายการของสิ่งพิมพ์รัฐบาลมีรูปแบบเดียวกับหนังสือ

ตอบ 2 หน้า 201 – 202 ห้องสมุดส่วนใหญ่นิยมจัดแยกสิ่งพิมพ์รัฐบาลออกเป็นทรัพยากรลักษณะพิเศษ แล้วกำหนดระบบการจัดหมู่สำหรับสิ่งพิมพ์รัฐบาลขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ได้นำเอาระบบการจัด สิ่งพิมพ์รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาและฟิลิปปินส์มาเป็นพื้นฐานในการจัด และมีการกำนด เลขหมู่ให้กับสิ่งพิมพ์รัฐบาลซึ่งประกอบด้วยอักษรย่อชื่อของหน่วยงานราชการ เลขประจำ หน่วยงาน เลขแสดงปีที่พิมพ์ และเลขประเภทของสิ่งพิมพ์ สำหรับบัตรรายกรของสิ่งพิมพ์ รัฐบาลนั้นจะมีขนาดและรูปแบบเช่นเดียวกับบัตรรายการของหนังสือ แต่จะใช้เป็นบัตรสี

48. ลักษณะของเลขหมู่หนังสือของระบบ LC มีความสั้น-ยาวแตกต่างกันเพราะเหตุใด

(1)  การแบ่งย่อยโดยการเพิ่มตัวอักษรหรือตัวเลขไม่เท่ากัน

(2)  แบ่งสรรพวิทยาการออกเป็น 20 หมวด ซึ่งต่างจากระบบอื่น

(3)  เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่นิยมใช้ในห้องสมุดขนาดใหญ่

(4)  เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีสัญลักษณ์แบบผสมทั้งตัวอักษรและตัวเลข

ตอบ 1 หน้า 189 – 191(คำบรรยาย) ระบบการจัดหมู่หนังสือแบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน(Library of Congress Classification : LCC หรือ LCเป็นระบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในห้องสมุดขนาดใหญ่ เช่น ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหนังสือเฉพาะสาขา วิชาใดวิชาหนึ่งหรือมีหนังสือทั่วไปทุกประเภทเป็นจำนวนมาก และจะใช้สัญลักษณ์ของการ จัดหมู่หนังสือเป็นแบบผสมคือ มีทั้งตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกผสมกัน ทั้งนี้ได้มีการแบ่ง สรรพวิทยาการออกเป็น 20 หมวดใหญ่ โดยใช้อักษร – (ยกเว้น I, 0, W, X, Yเป็น สัญลักษณ์แสดงเนื้อหา นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งหมวดใหญ่ออกเป็นหมวดย่อย และสามารถ แยกย่อยได้อีกด้วยการจำแนกเรื่องของหนังสือ โดยใช้เลขอารบิกตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยม อีกไม่จำกัดตำแหน่งเป็นสัญลักษณ์ ทำให้เลขหมู่หนังสือในระบบนี้มีความสั้นยาวแตกต่างกัน

49. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบสำคัญของเลขเรียกหนังสือ

(1) เลขหมู่หนังสือ 

(2) เลขผู้แต่ง

(3)  อักษรชื่อเรือง

(4) เครื่องหมายหนังสือ

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 45. ประกอบ

50. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้อง

(1)  วารสารเย็บเล่มจะรวมไว้กับวารสารย้อนหลัง

(2)  ห้องสมุดจัดเก็บวารสารใหม่ด้วยการใช้ระบบจัดหมู่

(3)  หนังสือพิมพ์ฉบับใหม่จัดเก็บโดยวางไว้บนที่วางหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ

(4)  หนังสือพิมพ์ฉบับย้อนหลังจัดเก็บโดยถ่ายเอกสารเก็บไว้ในรูปของไมโครฟิล์ม

ตอบ 2 หน้า 198 – 199 วิธีการจัดเก็บวารสารมี 2 ลักษณะ ดังนี้

1.    วารสารฉบับใหม่ คือ วารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับ โดยห้องสมุดจะจัดเรียงไว้บนชั้นเอียง ตามลำดับอักษรของชื่อวารสารจากซ้ายไปขวา และติดป้ายชื่อวารสารกำกับไว้ที่ชั้นตรงกับ ตำแหน่งของวารสาร

2.    วารสารฉบับย้อนหลัง คือ วารสารที่ไม่ใช่ฉบับส่าสุด เพราะมีฉบับที่ใหม่กว่าพิมพ์ออกมาอีก โดยทั่วไปห้องสมุดจะจัดรวมไว้กับวารสารย้อนหลังฉบับก่อน ๆ โดยนำไปเย็บรวมเป็นเล่ม เมื่อได้รับครบปีแล้ว จากนั้นให้นำไปจัดเรียงไว้บนชั้นตามลำดับอักษรของชื่อวารสาร

ข้อ 51. – 55. จงพิจารณาสัญลักษณ์ของหนังสือชื่อ “การอพยพของประชากรในประเทศไทย

Migration in Thailand” โดย Nasra MShah แล้วตอบคำถามต่อไปนี้

JV

6891

.T5S45

2014

51. การจัดหมวดหมู่ของหนังสือเล่มนี้ใช้ระบบใด

(1) ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน

(2) ระบบทศนิยมดิวอี้

(3) ระบบขยายของคัดเตอร์ 

(4) ระบบทศนิยมสากล

ตอบ 1 หน้า 189 – 191194 – 196(คำบรรยาย) เลขเรียกหนังสือตามระบบการจัดหมู่หนังสือ แบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ประกอบด้วย   1. เลขหมู่หนังสือ จะใช้อักษรโรมัน – Z (ยกเว้น I, 0, W, X, Yเป็นสัญลักษณ์แสดงเนื้อหาของหนังสือ และใช้เลขอารบิก ตั้งแต่ 1 – 9999 กับทศนิยมอีกไม่จำกัดตำแหน่งในการจัดจำแนกเรื่องของหนังสือ

2.    เลขผู้แต่ง ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข

3.    อักษรชื่อเรื่อง เป็นพยัญชนะตัวแรกของชื่อหนังสือ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

JV  

6891

เลขหม่หนังสือ ซึ่งอักษร JV แสดงว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และรัฐศาสตร์

.T5S45 เลขประจำหนังสือ ประกอบด้วย เลขผู้แต่งและอักษรชื่อเรื่อง

2014 ปีที่พิมพ์ คือ ปีที่หนังสือได้รับการจัดพิมพ์ ซึ่งทำให้ผู้ช้ห้องสมุดทราบความทันสมัยของหนังสือว่าเป็นหนังสือเก่าหรือใหม่

52. หมวด เป็นหมวดหมู่สำหรับเนื้อหาใด

(1) มานุษยวิทยา  

(2) สังคมวิทยา     

(3) รัฐประศาสนศาสตร์

(4) รัฐศาสตร์

ตอบ 4    ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

53. ข้อใดคือเลขหมู่หนังสือ

(1) JV    

(2) JV 6891 

(3)  JV 6891 .T

(4)  JV 6891 .T5S45

ตอบ 2 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

54. ข้อใดคือเลขประจำหนังสือ

(1) .T5  

(2) .S45

(3)  .T5S45  

(4)  JV 6891

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

55. เลข “2014” ให้ความรู้อะไรแก้ผู้ใช้ห้องสมุด

(1) ทราบปีลิขสิทธิ์

(2) ทราบจำนวนที่ผลิต

(3) ทราบความทันสมัยของหนังสือ     

(4) ทราบปีของข้อมูล

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 51. ประกอบ

56. ข้อใดคือทางเลือกที่ใช้ค้นข้อมูลออนไลน์

(1) ราคาหนังสือ   

(2) เลขหมู่หนังสือ 

(3)  เลขเรียกหนังสือ    

(4)  เลขผู้แต่งหนังสือ

ตอบ 3 หน้า 228 ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ OPAC ได้จาก หลาย ๆ ทางเลือก โดยใช้คำสั่งจากเมนูหลักของบัตรรายการออนไลน์ ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง (Author)ชื่อเรื่อง (Title)หัวเรื่อง (Subject Heading)คำสำคัญ (Keyword)เลขเรียกหนังสือ (Call Number)เลขประจำหนังสือสากล (ISBNและเลขประจำวารสาร (ISSN)

57. รายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์บนอินเทอร์เน็ตคือข้อใด

(1)  Online Catalog

(2) Card Catalog

(3) Metadata       

(4) OPAC

ตอบ 3 หน้า 217234245 เมต้าดาต้า (Metadataคือ การลงรายการทางบรรณานุกรมสำหรับ การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือ เว็บไซต์ โดยจะให้รายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศที่มีมากมายมหาศาลบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยจัดการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ มีประสิทธิภาพและมีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ

58. ข้อใดเป็นรูปแบบรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

(1) รายการแบบบัตร

(2) รายการแบบออนไลน์

(3) รายการแบบรวมเล่ม

(4) รายการบนซีดีรอม

ตอบ 2 หน้า 29 – 30219227 – 228288(คำบรรยาย) ระบบสืบค้นข้อมูลภายในห้องสมุดที่เรียกว่า “OPAC” (Online Public Access Catalogเป็นระบบสืบค้นรายการหนังสือหรือ ตรวจสอบทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในรูปแบบรายการออนไลน์ (Online Catalogจากฐานข้อมูลในรูปที่อ่านได้ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับบรรณานุกรม แหล่งจัดเก็บและบริการ สถานภาพของวัสดุสารสนเทศนั้น ๆ การสืบค้นข้อมูลของห้องสมุด เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยเลือกใช้คำสั่งจากเมนูหลัก ที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันผู้ใช้บริการสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง สามารถค้นหา รายการทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดผ่านระบบ OPAC โดย Telnet ไปยัง www.library.lib.ru.ac.th และ login : library

59. ข้อใดเป็นวิธีการที่ทำให้การค้นข้อมูลบนเว็บไซต์มีประสิทธิภาพ

(1) โปรแกรมค้นหา (Search Engine)

(2) โอแพค (OPAC)

(3) เมต้าดาด้า (Metadata)  

(4) รายการออนไลน์ (Online Catalog)

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 57. ประกอบ

60. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของหัวเรื่องย่อย

(1) เป็นคำขยายหัวเรื่องใหญ่ให้ชัดเจนขึ้น  

(2) เป็นคำแบ่งขอบเขตเนื้อหาตามปีที่พิมพ์

(3) เป็นคำแบ่งตามขอบเขตเนื้อเรื่องหนังสือ

(4) เป็นการบอกเหตการณ์ตามสมัย

ตอบ 2 หน้า 254 – 257 หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยเพื่อขยายหัวเรื่องใหญ่ ให้เห็นชัดเจนหรือเฉพาะเจาะจงขึ้น โดยหัวเรื่องย่อยจะมีขีดสั้น 2 ขีด (—) อยู่ข้างหน้าคำ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. แบ่งตามวิธีเขียน เช่น คณิตศาสตร์-คู่มือเตรียมสอบ ฯลฯ

2.    บอกลำดับเหตุการณ์ โดยแบ่งตามปีคริสต์ศักราช ยุคสมัย หรือแผ่นดิน เช่น ไทย—ประวัติศาสตร์ไทย—กรุงศรีอยุธยา1393 – 2310 ฯลฯ

3.    แบ่งตามขอบเขตของเนื้อหา เช่น บรรณารักษศาสตร์—การประชุม, เศรษฐศาสตร์—ประวัติ ฯลฯ

4. แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ เช่น ReligionHong Kongอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว—ไทย ฯลฯ

61. ข้อใดคืหัวเรื่องเฉพาะ

(1) วงดนตรี RU BAND

(2) วนอุทยานแห่งชาติ 

(3) วอลเลย์บอล    

(4) วัชพืชในนาข้าว

ตอบ 1 หน้า 252 – 254(คำบรรยาย) การกำหนดคำค้นที่ใช้เป็นหัวเรื่องใหญ่มีลักษณะดังนี้

1.    คำนามคำเดียวหรือคำโดด เช่น ปลา นก คอมพิวเตอร์ ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ

2. คำผสมที่เป็นคำนาม 2 คำเชื่อมด้วย “andกับ”และ” ที่มีเนื้อหาสาระสองด้าน คล้อยตามใปในทางเดียวกับ เช่น อิทธิพลและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

3. คำผสมที่เป็นคำนาม 2 คำซึ่งมีเนื้อหาค้านกัน เช่น ศาสนาและวิทยาศาสตร์ ความดีและ ความชั่ว ฯลฯ

4.    คำนามที่ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและคำคุณศัพท์ที่ขยายคำแรกให้สื่อความหมายดีขึ้น เช่น เคมีวัตถุ ฯล

5.    กลุ่มคำหรือวลี เช่น ภาษาอังกฤษสำหรับอนุบาล การนวดสลายไขมัน หนังสือการ์ตูน ฯลฯ

6.    ชื่อเฉพาะที่เป็นคำวิสามานยนาม เช่น ชื่อบุคคล ชื่อวงดนตรี ชื่อสัตว์ ชื่อสถานที่ ชื่อแม่น้ำ ฯลฯ

62. ข้อใดคือหัวเรื่องที่มีความหมายคล้อยตามกัน

(1) อิทธิพลและสิ่งแวดล้อม

(2) ศิลปะกับประวัติศาสตร์  

(3) อุตสาหกรรมกับรัฐ 

(4) ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 61. ประกอบ

63. ข้อใดไม่ใช่ตรรกะบูลีน (Boolean Logicที่ใช้เป็นคำค้นสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ

(1)  and

(2) or     

(3) not  

(4) with

ตอบ 4 หน้า 262268 การใช้คำสำคัญในการค้นหาสารสนเทศทางออนไลน์มีวิธีการดังนี้

1.    ใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลเช่นเดียวกับการใช้หัวเรื่อง

2.    การค้นสารสนเทศอาจแสดงผลต่างกันในแต่ละฐานข้อมูล

3.    สามารถใช้คำสำคัญโดยผสมคำทั่วใปกับคำวิสามานยนาม

4.    ใช้ตรรกะของบูลีน (Boolean Logicโดยใช้คำว่า และ (and)หรือ (or)ไม่ใช่ (not) เพื่อเชื่อมโยงการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพ

64. ข้อใดสะกดเป็นคำเต็มไม่ถูกต้อง

(1)  WWW คือ World Wide Web

(2)  OPAC คือ Online Public Access Catalog

(3)  ISBN คือ International Standard Book Number

(4)  DDC คือ Demo Decimal Classification

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 44. ประกอบ

65. ข้อใดคือหัวเรื่องย่อยแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์

(1)  Thai languageWriting    

(2) DogsTraining

(3)  ReligionHong Kong

(4) ChildrenChild care

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 60. ประกอบ

66. สัญสักษณใดที่แสดงความสัมพันธ์ของคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องแล้ว

(1)  UF Use For       

(2) BT Broader Term

(3) NT Narrower Term  

(4) RT Related Term

ตอบ 1 หน้า 249256 รายการโยง (Cross Referenceคือ สัญลักษณ์ที่ใช้แสดงให้ทราบว่าคำหรือวลี ที่ตามมาจะใช้เป็นหัวเรื่องได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องสัมพันธใกล้เคียงกับเนื้อหามากน้อย เพียงใด เช่น sa (see alsoหรือ “ดูเพิ่มเติม” จะใช้โยงไปยังหัวเรื่องอื่นที่มีความสัมพันธ์กัน แต่มีเนื้อหาแคบกว่า, see หรือ “ดูที่” จะใช้โยงหน้าคำหรือวลีที่ใช้เป็นหัวเรื่องได้ เป็นต้น นอกจากนี้บัญชีหัวเรื่อง LCSH ฉบับปัจจุบันยังได้เปลี่ยนแปลงการใช้สัญลักษณ์บางตัวเพื่อแสดง ความสัมพันธ์ของคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง เช่น

BT (Broader Term) = หัวเรื่องสัมพันธ์ที่กว้างกว่า,

NT (Narrower Term) = หัวเรื่องสัมพันธ์ที่แคบกว่า,

RT (Related Term) = หัวเรื่องสัมพันธ์ ที่เกี่ยวช้องกัน,

UF (Use For) = หัวเรื่องที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น

67. หัวเรื่องสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันใช้สัญลักษณ์ใด

(1)  BT  

(2) NT    

(3) RT    

(4) RU

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 66. ประกอบ

68. ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้บุคคลสามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้

(1) ความรู้สังคมวิทยา  

(2) แหล่งสารสนเทศ    

(3) การศึกษา

(4) หลักการทางจิตวิทยา

ตอบ 3 หน้า 274 การศึกษา คือ การเสาะแสวงหาความรู้เพื่อให้เกิดความเช้าใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งทางวิชาการและเรื่องที่อยู่ในความสนใจของแต่ละบุคคล ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาได้

69. การอ่านแบบใดที่ผู้อ่านต้องใช้ทักษะการอ่านเพื่อแยกหรือรวมประเด็นเรื่อง

(1) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(2) การอ่านเพื่อหาคำตอบ

(3) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้    

(4) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

ตอบ 4 หน้า 276 การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด เป็นจุดมุ่งหมายของผู้อ่านที่ต้องการข้อมูลเรื่องใด เรื่องหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง โดยผู้อ่านต้องมีสมาธิ สามารถแยกหรือรวมประเด็นหลักและประเด็นย่อยได้ รวมทั้งสามารถจดบันทึกจากการอ่าน ทำให้ผู้อ่านต้องใช้ทักษะหลายอย่าง ประกอบกันได้แก่ ทักษะการอ่าน การแยกและรวมประเด็น การสังเกต และการใช้คำหรือประโยค เพื่อให้สามารถหาความสัมพันธ์ของข้อความที่ต้องการเก็บรายละเอียดได้

70. อ่านคอลัมน์ไขสุขภาพในหนังสือพิมพ์เรื่อง “สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอธ์” เป็นการอ่านแบบใด

(1) การอ่านแบบคร่าว ๆ      

(2) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(3) การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร

(4) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้

ตอบ 3 หน้า 275 การอ่านเพื่อรับรู้ขาวสาร เป็นการอ่านทีใช้ในชีวิตประจำวันหรืออ่านเพื่อต้องการ รู้เหตุการณ์และความเป็นไปทีเกิดขึ้นรอบตัว เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านประกาศ อ่านแจ้งความโฆษณา ฯลฯ การอ่านแบบนี้จะใช้เวลาไม่มาก มักอ่านเพื่อจับประเด็นคร่าว ๆ หรือมุ่งจับรายละเอียดก็ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อ่าน

71. ข้อใดเป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องมีความรู้พี้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

(1) การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์

(2) การอ่านเพื่อเก็บรายละเอียด

(3) การอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้    

(4) การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร

ตอบ 1 หน้า 276 การอ่านเพื่อประเมินค่าและวิจารณ์ เป็นการอ่านระดับสูง โดยผู้อ่านต้องสามารถ ประเมินค่าหรือวิจารณ์ข้อเขียนเหล่านั้นได้ว่าถูกต้องน่าเชื่อถือหรือไม่ มีข้อเท็จจริงหรือมีคุณค่า เพียงไร และให้แนวคิดใหม่หรือไม่ ดังนั้นการอ่านแบบนี้ผู้อ่านจึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่าน มีสมาธิในการอ่าน และมีวิจารณญาณเพื่อพินิจพิเคราะห์ข้อเขียนอย่างละเอียดลึกซึ้

72. เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการฟังคำบรรยายในชั้นเรียน ผู้ฟังควรปฏิบัติอย่างไรเป็นอันดับแรก

(1)  ตั้งใจมีสมาธิในการฟัง  

(2) เปิดใจรับฟังคำบรรยาย

(3) พิจารณาเรื่องที่ฟัง  

(4) เตรียมตัวให้พร้อม

ตอบ 4 หน้า 277(คำบรรยาย) การที่จะได้ประโยชน์คุ้มค่าจากการฟัง ผู้ฟังควรปฏิบัติตัวดังนี้

1.    เตรียมตัวเพื่อการฟังให้พร้อมมาก่อนล่วงหน้า

2.    มีสมาธิในการฟัง เปิดใจพร้อมรับความรู้ โดยไม่ควรพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในขณะฟังการบรรยาย เพราะอาจพลาดโอกาสองเนื้อหาตอนนั้นๆ ไปโดยสิ้นเชิง

3.    คิดตามคำพูดของผู้พูด โดยผู้ฟังที่ดีต้องมีความตื่นตัว กระหายใคร่รู้ และคิดอย่างมีระเบียบ คือ รู้จักพิจารณาเรื่องที่ฟังจนสามารถสืบค้นหรือสืบสาวหาข้อเท็จจริงจนแยกแยะเรื่องที่ฟังได้ ซึ่งเรียกว่าเป็น “วิธีทางแห่งปัญญา”

73. ผู้ฟังที่ดีควรมีจรรยาบรรณในการฟังคำบรรยายอย่างไร

(1)  เรื่องใดที่ยากไกลตัวเกินไปไม่ควรฟังก็ได้

(2)  ให้ฟังคำบรรยายจากวิทยากรที่น่าเชื่อถือเท่านั้น

(3)  จิตไม่ต้องสนใจเรื่องนอกตัว ทำจิตให้นิ่งเป็นหนึ่งเดียว

(4)  ทำใจเปิดกว้าง ไม่ดูหมิ่นเรื่องที่ผู้อื่นพูด

ตอบ 4 หน้า 277 – 278 จรรยาบรรณของการเป็นผู้ฟังที่ดี มีดังนี้

1.    เปิดใจกว้าง ไม่ดูหมิ่นเรื่องที่ผู้อื่นพูด

2.    ไม่ดูหมิ่นผู้พูดว่าเป็นผู้ที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่มีคุณวุฒิหรือวัยวุฒิ

3.    ไม่ดูหมิ่นตนเองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป หรือเป็นเรื่องยากซึ่งตนเองมีทักษะความรู้น้อยเกินไป

4.    ไม่ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน แต่ให้ทำจิตเป็นหนึ่งเดียว แล้วฟังเรื่องที่พูดตั้งแต่ต้นจนจบ

74. การสอบถามสารสนเทศจากผู้รู้หรือการขอคำชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์ เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าเช่นไร

(1)  การสร้างหัวใจนักปราชญ์     

(2) สดับฟังให้มากจนเรียกว่า “พหูสูต”

(3) คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล

(4) การเสวนาสัตบุรุษ

ตอบ 4หน้า 278(คำบรรยาย) การไต่ถามหรือการเสวนา เป็นการเข้าไปปรึกษาเสวนาหาคำตอบ หรือขอคำชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนก่อให้เกิดความแจ่มแจ้งแห่งข้อสงสัยนั้น ดังนั้นการเสวนาจึงเป็นการออกจากตนเองไปสู่ผู้อื่น นั้นคือ เปิดประตูความคิดของตนเองไปสู่ความคิดของผู้อื่น เพื่อเรียนรู้แบ่งปันความรู้ที่มีในตัวตนไปสู่ความรู้ที่แจ้งชัด ดังคำของนักปราชญ์ที่ว่า บัณฑิต คือ คนฉลาดที่ดำเนินชีวิต ด้วยปัญญาย่อมเข้าคบหาสัตบุรุษ หรือเรียกว่า “การเสวนาสัตบุรุษ”

75. มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณบันทึกเรื่องราวไว้ในสื่อต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด

(1) สืบสานไม่ให้ลบเลือนหลงลืม  

(2) ผลิตสื่อสะสมไว้ในหอสมุดแห่งชาติ

(3) รักษาขั้นตอนจารีตประเพณีของมนุษยชาติ  

(4) จรรโลงอารยธรรมของมนุษย์ให้คงอยู่ตลอดไป

ตอน 1 หน้า 278 – 279281 ด้วยเหตุที่การแสวงหาความรู้ที่ได้จากการอ่าน การฟัง หรือการไต่ถาม อาจมีการลบเลือนหรือหลงลืมได้ มนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจึงคิดสัญลักษณ์ขึ้นแทนคำพูด และมีการบันทึกเรื่องราวไวในสื่อต่าง ๆ กัน เช่น ดินเหนียว หนังสัตว์ ผ้า กระดาษ ฯลฯ ดังนั้นการจดบันทึกจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดของมนุษย์ในการสืบสานและจรรโลงเรื่องราวต่างๆไว้ มิให้ถูกลบเลือนและสลายไปในที่สุด

76. ข้อใดไม่ใช่วิธีการอ่านโดยการค้นคว้าหาความหมายจากสัญลักษณ์

(1) อ่านสีหน้า อ่านสภาพดินฟ้าอากาศ

(2) อ่านลายมือ อ่านออกเสียง

(3] อ่านแววตา อ่านค่าตัวเลข

(4) อ่านความรู้สึก อ่านในใจ

ตอบ 4 หน้า 275 การอ่านเป็นวิธีศึกษาหาความรู้โดยมีสัญลักษณ์เป็นสื่อกลาง โดยการอ่านจะมี หลายระดับตั้งแต่การอ่านตามตัวหนังสือ การอ่านค่าตัวเลข จนถึงการอ่านสิ่งอื่น ๆ เช่น อ่านสีหน้า อ่านแววตา อ่านลายมือ อ่านสภาพดินฟ้าอากาศ ดังนั้นการอ่านจึงอาจมีความหมายว์า “การออกเสียงหรือเข้าใจตามตัวหนังสือและการค้นคว้าหาความหมายจากสัญลักษณ์”

77. ข้อใดเป็นลักษณะของผู้ฟังที่ดี

(1) คิดตามคำพูดของผู้พูด

(2)  กระหายใคร่รู้ใคร่เห็น   

(3)  ตระหนักตื่นตัวตื่นใจ    

(4)  ทำจิตใจให้สงบปลอดโปร่ง

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 72. ประกอบ

78. แสดงคำขอบคุณผู้ช่วยเหลือในการให้ข้อมูลแก่รายงานการวิจัยไว้ที่ส่วนใด

(1) ปกหลังด้านใน

(2) หน้าชื่อเรื่อง    

(3) หน้าลิขสิทธิ์    

(4) หน้าคำนำ

ตอบ 4 หน้า 336 หน้าคำนำ (Prefaceเป็นหน้าที่แจ้งให้ผู้อ่านได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน ขอบเขตเนื้อหาของรายงาน และแสดงคำขอบคุณผู้ที่มีคุณูปการหรือผู้ที่มีส่วน ช่วยเหลือในการให้ข้อมูลจนทำให้การทำรายงานนั้นสำเร็จ

79. ส่วนใดของรายงานที่ใช้ข้อความเดียวกัน    

(1)  ปกนอกและหน้าชื่อเรื่อง

(2)  ปกนอกและปกหลัง

(3)  หน้าคำนำและหน้าคำนิยม    

(4)  บทสรุปและบทคัดย่อ

ตอบ 1 หน้า 334 – 338 ส่วนประกอบของรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

1.    ส่วนประกอบตอนต้น ได้แก่ ปกนอก หน้าชื่อเรื่อง หน้าคำนำ หน้าสารบัญ และหน้าสารบัญตารางและภาพประกอบ โดยปกนอกและหน้าชื่อเรื่องจะใช้ข้อความเดียวกัน

2. ส่วนที่เป็นเนื้อหา ได้แก่ ข้อความที่คัดลอกมา การอ้างอิง บันทึกเพิ่มเติม (เช่น เชิงอรรถ) ตาราง และภาพประกอบ

3.    ส่วนประกอบตอนท้าย ได้แก่ หน้าบอกตอน บรรณานุกรม ภาคผนวก และอภิธานศัพท์

80. สิ่งที่ควรปรากฏในหน้าคำนำคือข้อใด

(1) แนวคิดในการแสวงหาข้อมูล 

(2) สิ่งที่คาดว่าจะได้รับหลังการเผยแพร่ผลงาน

(3) วัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน   

(4) ผู้เป็นเจ้าของเงินทุนในการทำรายงาน

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

81. ต้องการคัดลอกวาทะบางตอนของปราชญ์ควรทำอย่างไร

(1) คัดลอกให้เหมือนต้นฉบับ     

(2) ตอนใดที่ไม่ต้องการให้ว่างเว้นไป

(3)  ใช้ตัวอักษรพิเศษกับวาทะที่คัดลอก     

(4) พิมพ์ด้วยตัวอักษรตัวเอน

ตอบ 1 บัตรบันทึกแบบลอกความ (Quotationจะเหมาะกับข้อความหรือข้อเท็จจริงที่ชัดแจ้ง เช่น สูตรทางคณิตศาสตร์ ความหมายหรือคำนิยามในเชิงวิชาการ กวีนิพนธ์ และบทละครต่าง ๆ โดยมีข้อควรระวังคือ ต้องคัดลอกทุกอย่างให้เหมือนต้นฉบับ ตอนใดที่คัดลอกมาทั้งหมดให้คร่อมไว้ด้วยเครื่องหมายอัญประกาค (“______”) แต่ถ้าคัดลอกมาเพียงบางส่วนให้ใช้เครื่องหมายจุด 3 จุด (…)

แทนข้อความที่ละไว้โดยใส่ไว้ก่อนหรือหลังข้อความนั้น ซึ่งบัตรบันทึกชนิดนี้จะกระทำเมื่อ

1.    ผู้ทำรายงานไม่สามารถหาคำพูดได้ดีกว่าเนื้อหาเดิม

2.    เนื้อหาเดิมได้วางระเบียบกฎเกณฑ์และวิธีการไว้อย่างดีแล้วจึงไม่ควรดัดแปลง

3.    เนื้อหาเดิมบรรยายถึงแนวคิดหรือวาทะสำคัญของผู้แต่งจึงไม่ควรดัดแปลง

82. ควรใช้ส่วนใดของรายงานเมื่อต้องการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากที่นำเสนอไว้

(1) ความนำ  

(2) บทนำ     

(3) เชิงอรรถ 

(4) บรรณานุกรม

ตอบ3 หน้า 299 – 300 เชิงอรรถประเภทอธิบายความ เป็นเชิงอรรถที่ผู้ทำรายงานทำขึ้นเพราะ ต้องการอธิบายความเพิ่มเติมหรือให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอไว้ โดยใส่เลขอารบิกในรูปของเลขยกระดับ (Superscriptไว้ท้ายข้อความที่ต้องการอธิบายเพิ่มเติม แล้วอธิบายความไว้ท้ายหน้านั้น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้เร็วขึ้น

83. นอกจากให้หมายเลขกับตารางและภาพประกอบในรายงานแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร

(1) แจ้งที่มาของตารางและภาพประกอบ    

(2) แจ้งวัน/เดือน/ปี ที่นำตารางและภาพประกอบมาใช้

(3) ขอบคุณเจ้าของตารางและภาพประกอบไว้ท้ายบท

(4) ให้สีสันแก่ตารางและภาพประกอบ

ตอบ 1 หน้า 337 – 338 ในกรณีที่มีตารางและภาพประกอบ (รวมถึงแผนภูมิ แผนที่ และกราฟ) ในเนื้อหาของรายงาน ผู้ทำรายงานจะมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

1. จุดที่แสดงตารางและภาพประกอบ ต้องเหมาะสมและชัดเจน

2. ให้หมายเลขกำกับตารางและภาพประกอบ เช่น ตารางที่ 1 ภาพประกอบที่ 1   

3. ต้องมีชื่อกำกับที่สั้นและชัดเจนเหนือตารางและภาพประกอบทุกชิ้น

4.    มีการบอกแหล่งที่มาของตารางหรือภาพประกอบนั้น ๆ

84. หน้าบอกตอนอยู่ก่อนส่วนใดของรายงาน

(1) คำนำ

(2) บทนำ     

(3) ภาคผนวก

(4) บทคัดยอ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

85. บรรณานุกรมมีประโยชน์อย่างไร

(1)  เพื่อแสดงถึงลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของผลงานเดิม

(2)  เพื่อเป็นองค์ประกอบแสดงความเป็นสากลของรูปแบบรายงาน

(3)  เพื่อให้รายละเอียดของสารสนเทศที่สามารถค้นคว้าได้อีก

(4)  เพื่อให้ผู้อ่านตรวจสอบความถูกต้องของสารสนเทศ

ตอบ 4 หน้า 312 เมื่อผู้ทำรายงานได้ทำการค้นคว้าและอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ผู้ทำรายงานจะต้องแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างครบถ้วนตามรูปแบบของบรรณานุกรมที่กำหนดไว้เป็นสากล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในรายงาน หรือใช้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ รวมทั้งเป็นการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

86. ขั้นตอนใดช่วยให้ผู้ทำรายงานทำรายการอ้างอิงได้สะดวก(1) ขั้นทำบัตรบันทึก

(2) ขั้นทำบัตรบรรณานุกรม 

(3) ขั้นสำรวจข้อมูล      

(4) ขั้นเรียบเรียงเนื้อหา

ตอบ 2 หน้า 289(IS 103 เลขพิมพ์ 53345 หน้า 247 – 248) หลังจากค้นหาข้อมูลเพื่อทำรายงาน จากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ แล้ว ผู้ทำรายงานควรบันทึกข้อมูลในรูปของบัตรบรรณานุกรม ซึ่งจุดมุ่งหมายในขั้นตอนของการทำบัตรบรรณานุกรม มีดังนี้

1.    เพื่อรวบรวมหรืออ้างอิงรายชื่อแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า

2.    เพื่อนำมาเขียนรายการเอกสารอ้างอิง (บรรณานุกรม) ไว้ท้ายรายงาน ซึ่งจะช่วยให้ ผู้ทำรายงานทำรายการอ้างอิงได้สะดวกขึ้น

3.    เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม

4.    เพื่อเป็นแหล่งตรวจสอบหลักฐานของข้อเท็จจริงในรายงาน

5.    เพื่อนำไปค้นหาหนังสือ วารสาร และสารสนเทศอื่น ๆ ก่อนลงมืออ่านและทำบัตรบันทึกต่อไป

87. ต้องการนำแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์มาประกอบรายงานเรื่อง “ทิศทางเศรษฐกิจโลก” ควรทำบัตรบันทึกแบบใด

(1) แบบลอกความ

(2) แบบสรุปความ

(3) แบบถอดความ

(4) แบบจับใจความ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 81. ประกอบ

88. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการวางโครงเรื่องของรายงาน

(1) นำไปเขียนสารบัญได้    

(2) ช่วยให้เนื้อหาดำเนินได้ดี

(3) ช่วยให้ลีลาการเขียนดีด้วย     

(4) ช่วยให้ค้นคว้าได้เร็วขึ้น

ตอบ 2 หน้า 295(คำบรรยาย) ก่อนเรียบเรียงเนื้อหารายงาน ผู้ทำรายงานจะต้องวางโครงเรื่อง ซึ่งเป็นการวางแผนเสนอเนื้อหาและเป็นการสร้างกรอบความคิด เพื่อให้การเสนอเนื้อหาของ รายงานดำเนินไปตามลำดับได้ดี รวมทั้งอยู่ในทิศทางและขอบข่ายที่กำหนดไว้ไม่สับสนวกวน หรือออกนอกประเด็น ซี่งจะทำให้น่าอ่านและนำติดตามมากขึ้น

89. ข้อใดเป็นรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมถูกต้องตามรูปแบบ APA

(1)  ชื่อผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์.

(2)  ชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์สำนักพิมพ์.

(3)  ชื่อผู้แต่งชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์ปีที่พิมพ์

(4)  ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

ตอบ 4 หน้า 313 – 315317 – 318 รูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมหนังสือที่ถูกต้อง ตามแบบแผนของคู่มือ APA คือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.

–      ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นคนไทยและมีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์หรือยศ ให้ลงชื่อ และนามสกุลของผู้แต่ง คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,ตามด้วยฐานันดรศักดิ์หรือยศ

–      ในกรณีที่ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ลงชื่อสกุล (Last Nameก่อน แล้วตามด้วย เครื่องหมายจุลภาคและชื่อต้น (First Nameเช่น Handson, Richard

90. หนังสือที่เขียนโดยชาวอเมริกัน จะต้องลงรายการทางบรรณานุกรมอย่างไร

(1) ให้ลงชื่อสกุลก่อน ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาคและชื่อต้น

(2ให้ลงชื่อต้นก่อน ตามด้วยชื่อสกุลและเครื่องหมายมหัพภาค

(3)  ให้ลงชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาคและชื่อต้น

(4)  ให้ลงชื่อต้น ชื่อสกุล ชื่อกลาง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 89. ประกอบ

92. การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้อใดถูกต้อง

(1)  พล ชูจันทร์. (2556). ปัญหาเด็กแว้น. ค้นเมื่อ มีนาคม 72557จาก http://www.phrathai.net

(2)  พล ชูจันทร์. ปัญหาเด็กแว้น. ค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2557จาก http://www.phrathai.net, 2556.

(3)  พล ชูจันทร์. 2556. ปัญหาเด็กแว้นค้นจาก http://www.phrathai.netเมื่อ 7 มีนาคม 2557.

(4)  พล ชูจันทร์. ปัญหาเด็กแว้นค้นเมื่อ มีนาคม 72557. จาก http://www.phrathai.net2556

ตอบ 1 หน้า 328 รูปแบบการลงรายการอ้างอิงทางบรรณานุกรมสำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

แหล่งข้อมูลออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต และซีดีรอม คือ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ค้นเมื่อ ระบุวันที่ค้นข้อมูล. ที่อยู่ของเอกสาร (URL)

เช่น พล ชูจันทร์. (2556). ปัญหาเด็กแว้น. ค้นเมื่อ มีนาคม 72557ก http://www.phrathai.net

93. หน้าคำนำบอกสิ่งใดแก่ผู้อ่านรายงาน

(1) เบื้องหลังการทำงานและผลที่คาดว่าจะได้รับ 

(2) วิธีการ แนวคิด และการนำเสนอรายงาน

(3) ความลึกซึ้งของเนื้อหาที่กำหนด    

(4) วัตถุประสงค์และขอบเขตของรายงาน

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 78. ประกอบ

94. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับหน้าสารบัญ

(1)  เป็นหน้าที่แสดงบัญชีบทของรายงานโดยแจ้งเลขหน้ากำกับ

(2)  เป็นหน้าเดียวกันกับโครงเรื่องใหญ่และโครงเรื่องย่อย

(3)  เป็นหน้าที่รวมสารบัญเรื่องและสารบัญภาพประกอบ

(4)  เป็นหน้าที่บอกจำนวนหน้าของแต่ละบท

ตอบ 1 หน้า 336 หน้าสารบัญของรายงาน เป็นบัญชีบทและตอนที่ปรากฏในรายงานเรียงตามลำดับเนื้อหา พร้อมทั้งมีเลขหน้ากำกับไว้ด้วย โดยคำว่า “สารบัญ” หรือ “สารบาญ” ควรพิมพ์ไว้ กลางหน้ากระดาษตอนบน

95. ในรายงานมีตารางและภาพประกอบควรปฏิบัติข้อใด

(1)  ขอบคุณเจ้าของตารางและภาพประกอบท้ายบท

(2)  พยายามสร้างสีสันให้กับตารางและภาพประกอบ

(3)  ให้หมายเลขกำกับตารางและภาพประกอบ

(4)  บอกจำนวนตารางและภาพประกอบไว้ที่หน้าสารบัญ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

96. การเสนอตารางและภาพประกอบในรายงานไม่ควรมีสิ่งใด

(1) บทวิเคราะห์    

(2) บอกแหล่งที่มา

(3) ให้หมายเลขกำกับ  

(4) มีชื่อกำกับสั้น ๆ

ตอบ 1 ดูคำอธิบายข้อ 83. ประกอบ

97. หน้าบอกตอนควรอยู่ก่อนส่วนใดของรายงาน

(1) บทนำ บทสรุป 

(2) คำนำ สารบัญ

(3) ปกหน้า ปกหลัง

(4) บรรณานุกรม ภาคผนวก

ตอบ 4 ดูคำอธิบายข้อ 79. ประกอบ

98. แบบสอบถามที่ใช้กับรายงานการวิจัยควรปรากฎอยู่ส่วนใด

(1) บทสุดท้าย

(2) ตอนท้ายของบทสรุป

(3) ภาคผนวก

(4) ต่อจากสารบัญ

ตอบ 3 ดูคำอธิบายข้อ 30. ประกอบ

99. ผู้อ่านรายงานใช้สิ่งใดตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง

(1) บัตรบันทึก     

(2) บทสรุป   

(3) บรรณานุกรม 

(4) เชิงอรรถ

ตอบ 3 (IS 103 เลขพิมพ์ 5:345 หน้า 275) บรรณานุกรม เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งของรายงาน เนื่องจาก เป็นรายการที่แสดงหลักฐานประกอบการศึกษาค้นคว้า ทำให้ผู้อ่านรายงานสามารถตรวจสอบ ข้อมูลย้อนหลังได้ ทั้งนี้รายการบรรณานุกรมจะนิยมจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียนหนังสือ. หรือผู้เขียนบทความ ถ้ามีรายชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้เรียงลำดับภาษาไทยมาก่อน

100. บันทึกคำเฉพาะที่ใช้ในรายงาบควรประมวลไว้ที่ส่วนใด

(1) ดรรชนีค้นคำ  

(2) ภาคผนวก

(3) อภิธานศัพท์   

(4) บทสุดท้าย

ตอบ 3 หน้า 338 อภิธานศัพท์ เป็นบัญชีคำศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ยากที่ปรากฏอยู่ในรายงานนั้น ซึ่งผู้ทำรายงานจะนำคำศัพท์นั้นมาเรียงลำดับตามตัวอักษรพร้อมกับให้ความหมาย

Advertisement