การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 นางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน ผู้ร้องเกิดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยมารดานางพรพรรณเป็นผู้มีสัญชาติลาว ส่วนบิดานายพรเทพผู้มีสัญชาติไทย บิดากับมารดา มิได้เป็นสามีภริยาตามกฎหมาย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ เพราะเหตุใด หรือถ้าหาก ผู้ร้องและมารดาจะได้สัญชาติไทย อาจจะได้สัญชาติไทยในกรณีใดบ้าง อธิบาย โดยยกหลักกฎหมาย ประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ยอมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 9 “หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทยถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคําขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 7 วรรคสอง “คําว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรส กับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547 “เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร”

มาตรา 1557 “การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทําการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่ บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ผู้ร้องคือนางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน เกิดในประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีมารดาคือนางพรพรรณเป็นผู้มีสัญชาติลาว และบิดาคือนายพรเทพเป็นผู้มี สัญชาติไทยนั้น ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ทั้งนี้เพราะบิดาและมารดานั้นมิได้เป็น สามีภริยากันตามกฎหมาย นายพรเทพจึงเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลัก สายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) นั้น บิดาต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ บุตรเกิด หรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และกรณีนี้บุตรทั้ง 5 คน ซึ่งเป็นผู้ร้องก็ไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน เพราะไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3)

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สัญชาติฯ และประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้นให้นําไปใช้กับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนั้นใช้บังคับด้วย ดังนั้นหากผู้ร้อง คือ นางสาววิไลพรกับน้อง ๆ อีก 4 คน ต้องการมีสัญชาติไทย สามารถทําได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธี ดังนี้คือ

1 ให้ดําเนินการพิสูจน์ตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงว่านายพรเทพเป็นบิดา ของบุตรผู้ร้องทั้ง 5 คนตามสายโลหิตจริงตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสอง ซึ่งจะต้อง ดําเนินการพิสูจน์กับบุตรทุกคน เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่าบุตรทั้ง 5 คนเป็นบุตรของนายพรเทพจริง บุตรนั้นก็จะกลับได้ สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิตตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ทั้งนี้ แม้นายพรเทพ จะมิได้จดทะเบียนสมรสกับนางพรพรรณและมิได้จดทะเบียนรับรองบุตรเหล่านั้นก็ตาม หรือ

2 ให้นายพรเทพจดทะเบียนสมรสกับนางพรพรรณหรือจดทะเบียนรับรองบุตรผู้ร้อง ทั้ง 5 คน ว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือขอให้ศาลพิพากษาว่าบุตรเหล่านั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1557 ที่แก้ไขใหม่นั้นได้กําหนดให้ “การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด” ซึ่งผลของการเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว ย่อมทําให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่เดิมนั้นกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วย เมื่อเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทําให้บุตรผู้ร้องทั้ง 5 คน กลับได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสายโลหิต ตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) เช่นกัน

สําหรับนางพรพรรณมารดาของบุตรผู้ร้อง ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ก็ให้ทําการสมรสกับ นายพรเทพ และให้ยื่นคําขอมีสัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง (พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 9)

สรุป

ผู้ร้องไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าหากผู้ร้องและมารดามีความประสงค์จะได้สัญชาติไทย ก็จะต้อง ดําเนินการตามที่กฎหมายกําหนดไว้ ดังกล่าวข้างต้น

 

ข้อ 2 ศาลไทยกําลังพิจารณาคดีเรื่องหนึ่งซึ่งมีประเด็นว่านายราชัคคนสัญชาติมาเลเซีย อายุ 20 ปีบริบูรณ์มีภูมิลําเนาตามกฎหมายอยู่ที่กรุงเทพฯ มีความสามารถทํานิติกรรมเกี่ยวกับธุรกิจธรรมดาทั่วไป ฉบับหนึ่งซึ่งทําขึ้นในประเทศเกาหลีหรือไม่ กฎหมายภายในของมาเลเซียกําหนดว่าบุคคลมีความ สามารถทํานิติกรรมสัญญาเมื่อมีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ส่วนกฎหมายภายในของเกาหลีต้องมีอายุครบ 22 ปีบริบูรณ์ และกฎหมายขัดกันของมาเลเซียกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตาม กฎหมายของประเทศที่บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ส่วนกฎหมายขัดกันของเกาหลีให้เป็นไปตามกฎหมาย ของประเทศแห่งถิ่นที่นิติกรรมสัญญาทําขึ้นให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบด้วยว่า ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราซัคมีความสามารถทํานิติกรรมที่ว่านี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 4 “ถ้าจะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ และตามกฎหมายต่างประเทศนั้นกฎหมาย ที่จะใช้บังคับได้แก่ กฎหมายแห่งประเทศสยาม ให้ใช้กฎหมายภายในแห่งประเทศสยามบังคับ มิใช่กฏเกณฑ์แห่ง กฎหมายสยามว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย”

มาตรา 10 วรรคแรก “ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตาม กฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น”

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 19 “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ เมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราชัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ หรือไม่นั้น เห็นว่าตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 10 วรรคแรก กําหนดให้ ความสามารถของบุคคลเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น เมื่อปรากฏว่านายราซัคมีสัญชาติมาเลเซีย กฎหมายที่จะใช้บังคับจึงได้แก่กฎหมายมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม กฎหมายมาเลเซียย่อมหมายรวมถึงกฎหมายขัดกัน ของมาเลเซียด้วย ดังนั้น เมื่อกฎหมายขัดกันของมาเลเซียกําหนดว่าความสามารถของบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมาย ของประเทศที่บุคคลนั้นมีภูมิลําเนา ซึ่งตามปัญหาได้แก่ ประเทศไทย จึงเป็นกรณีที่กฎหมายต่างประเทศย้อนส่งกลับ มาให้ใช้กฎหมายไทย โดยนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันฯ พ.ศ. 2481 ดังนั้นกฎหมายที่จะต้องใช้บังคับ ในที่นี้จึงได้แก่ กฎหมายไทย และเป็นกฎหมายภายในของไทยมิใช่กฎหมายขัดกัน

และเมื่อปรากฏว่ากฎหมายภายในของไทย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 19 กําหนดให้บุคคลผู้มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะสามารถทํานิติกรรมต่าง ๆ ได้ ดังนั้น เมื่อ นายราชัคมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ศาลไทยจึงมีคําพิพากษาว่า นายราซัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

สรุป

ศาลไทยจะพิจารณาว่านายราซัคมีความสามารถทําสัญญาฉบับที่ว่านี้ได้

 

ข้อ 3 บริษัท เอเชียโน่ เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศฟิลิปปินส์ได้มาตั้งสาขาที่ประเทศไทย โดยมีนายเฟอร์นานเดสคนสัญชาติฟิลิปปินส์เป็นผู้จัดการประจําสํานักงานที่ประเทศไทย นายเฟอร์นานเดส ได้แก้ไขบัญชีของบริษัทสาขาในประเทศไทยและนํารายได้บางส่วนของบริษัทฯ โอนเข้าบัญชีของ ตนเองที่ธนาคารในประเทศฟิลิปปินส์ การกระทําของนายเฟอร์นานเดสถือว่าเป็นความผิดตาม กฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ จงอธิบาย

ธงคําตอบ

วินิจฉัย

การที่นายเฟอร์นานเดส ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาได้ทําการแก้ไขบัญชีของบริษัทสาขาในประเทศไทย และนํารายได้บางส่วนของบริษัทฯ โอนเข้าบัญชีของตนที่ธนาคารในประเทศฟิลิปปินส์ การกระทําของนายเฟอร์นานเดส ดังกล่าวถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes” ซึ่งหมายถึงการกระทํา ความผิดโดยบุคคลที่แต่งตัวสะอาดโก้หรู มีตําแหน่งหน้าที่การงานและใช้ตําแหน่งหน้าที่การงานของตนมาเป็น ประโยชน์ในการประกอบความผิด

ซึ่งลักษณะของการกระทําความผิดประเภทนี้ มักเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่น การทุจริต การยักยอก หรือฉ้อโกง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจและการค้าต่าง ๆ รวมตลอดการขโมย หรือบิดเบือนบัญชีบริษัทหรือ ปลอมแปลงสัญญาหรือตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นตัวแลกเงิน ตัวสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พวกพ่อค้า

หรือนักธุรกิจที่โกงหรือหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้แก่รัฐ สมุห์บัญชีฉ้อโกงบริษัทที่ประกอบการธุรกิจหรือการค้าต่าง ๆ การกระทําความผิดเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าควบคุมในตลาดมืด เป็นต้น

สรุป

การกระทําของนายเฟอร์นานเดส ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงระหว่างประเทศที่เรียกว่า “White Collar Crimes”

 

ข้อ 4 ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศและพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ให้ท่านอธิบายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้

ธงคําตอบ

ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศและพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2551 ได้กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไว้ดังนี้ คือ

1 จะต้องเป็นความผิดทางอาญาหรือความผิดที่จะถูกลงโทษทางอาญาในเขตของประเทศที่ร้องขอ และเป็นคดีอาญาที่มีมูลที่จะนําตัวผู้กระทําความผิดขึ้นฟ้องร้องต่อศาลได้

2 ต้องเป็นคดีที่ยังไม่ขาดอายุความ หรือคดีที่ศาลของประเทศใดได้พิจารณาและพิพากษาให้ปล่อยตัว หรือได้รับโทษในความผิดที่ร้องขอให้ส่งข้ามแดนนั้นแล้ว

3 จะต้องเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาของทั้งสองประเทศ คือประเทศที่มีคําขอและประเทศที่ถูกขอให้ส่งตัว

4 จะต้องเป็นความผิดซึ่งกฎหมายกําหนดโทษจําคุกไม่ต่ำกว่า 1 ปี

5 จะต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง เพราะมีหลักว่าห้ามส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีการเมืองและต้องไม่ใช่ความผิดบางประเภท ซึ่งประเทศต่าง ๆ มักจะไม่ยอมให้มีการส่งผู้ร้าย ข้ามแดน เช่น ความผิดต่อกฎหมายการพิมพ์ ความผิดต่อศาสนา เป็นต้น

Advertisement