การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4006 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและคดีอาญา

Advertisement

คําแนะนํา

ข้อสอบเป็นอัตนัยล้าน มี 4 ข้อ

ข้อ 1 สิเรียมเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับ จากบิดานายทหารสัญชาติอเมริกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามข้อตกลงระหว่าง รัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกา และบิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาซึ่งเป็นคนสัญชาติไทย ให้ท่าน วินิจฉัยว่า สิเรียมได้หรือเสียสัญชาติไทยหรือไม่ อย่างไร โดยยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(3) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย”

พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

มาตรา 7 “บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทย โดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย”

มาตรา 10 “บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย”

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

ข้อ 1 ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็น

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพียงชั่วคราว

ข้อ 2 บุคคลตามข้อ 1ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ไม่ได้สัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสังเฉพาะรายเป็นประการอื่น

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่สิเรียมเกิดในประเทศไทยก่อนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337/2515 ใช้บังคับ จากบิดานายทหารสัญชาติอเมริกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวตามข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น โดยหลักสิเรียมย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนตาม มาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508

แต่เมื่อประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 มีผลใช้บังคับแล้ว สิเรียมจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 (2) เพราะสิเรียมเป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว และในขณะที่เกิดบิดาเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) ซึ่งเตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้มีการยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ย่อมมีผลทําให้สิเรียมกลับมาได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 7 (1) ที่กําหนดให้บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรย่อมได้ สัญชาติไทยโดยการเกิด และตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ. สัญชาติฯ ฉบับนี้ ยังได้บัญญัติให้นําบทบัญญัติมาตรา 7 (1) มาใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิเรียมจึงได้รับสัญชาติไทย เพราะเกิดจากมารดาซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย โดยถือว่าสิเรียมได้รับสัญชาติไทยย้อนหลังไปตั้งแต่สิเรียมเกิด

สรุป

สิเรียมจะได้รับสัญชาติไทย

 

 

ข้อ 2 นายสอาดคนสัญชาติไทยทําสัญญาซื้อโต๊ะมุกวัตถุโบราณ 1 โต๊ะ จากนายเฮงคนสัญชาติจีน โดยทําสัญญาที่ประเทศจีน และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ นั้นก็อยู่ที่ประเทศจีน นายสอาดและนายเฮง กําหนดไว้ในสัญญาชัดแจ้งว่าหากมีข้อพิพาทหรือปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฯ ฉบับนี้ให้ใช้ กฎหมายไทยบังคับ กฎหมายขัดกันฯ ของจีนกําหนดว่าแบบของสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของ ประเทศที่สัญญาทําขึ้น และกฎหมายแพ่งของจีนกําหนดว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ปรากฏว่าการซื้อขายรายนี้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมานายสอาดผิดสัญญาโดยไม่ยอมชําระราคาและรับมอบ โต๊ะฯ นั้น นายเฮงจึงฟ้องนายสอาดต่อศาลไทยเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญา นายสอาดยกข้อต่อสู้ต่อศาลไทยว่า สัญญาเป็นโมฆะเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตน(นายสอาด) จึงไม่ผูกพันหรือต้องรับผิดตามสัญญา ให้ท่านวินิจฉัยพร้อมทั้งยกหลักกฎหมาย ประกอบด้วยว่า หากท่านเป็นศาลไทยควรพิจารณาและวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรายนี้เป็นโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

มาตรา 9 วรรคหนึ่ง “นอกจากจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมาย อื่นใดแห่งประเทศสยาม ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่นิติกรรมนั้น ได้ทําขึ้น”

มาตรา 13 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย “ปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับสําหรับสิ่งซึ่งเป็น สาระสําคัญหรือผลแห่งสัญญานั้น ให้วินิจฉัยตามเจตนาของคู่กรณี ในกรณีที่ไม่อาจหยั่งทราบเจตนาชัดแจ้งหรือ โดยปริยายได้ ถ้าคู่สัญญามีสัญชาติอันเดียวกัน กฎหมายที่จะใช้บังคับก็ได้แก่กฎหมายสัญชาติอันร่วมกันแห่ง คู่สัญญา ถ้าคู่สัญญาไม่มีสัญชาติอันเดียวกัน ก็ให้ใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น

สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลแห่งสัญญานั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสอาดคนสัญชาติไทยทําสัญญาที่จีนซื้อโต๊ะมุกวัตถุโบราณ 1 โต๊ะ จากนายเฮงคนสัญชาติจีน และขณะทําสัญญาโต๊ะฯ นั้นก็อยู่ที่ประเทศจีน โดยนายสอาดกับนายเฮงได้ตกลงกันไว้ว่า หากกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับผลของสัญญาฉบับนี้ให้ใช้บังคับตามกฎหมายไทย และสัญญาซื้อขายฉบับนี้ได้ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ดังนี้ ถ้าพิจารณาตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกัน แห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 ที่ว่า ความสมบูรณ์เนื่องด้วยแบบแห่งนิติกรรมย่อมเป็นไปตามกฎหมายของประเทศ ที่นิติกรรมนั้นได้ทําขึ้น ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายของจีนได้กําหนดว่าแบบของสัญญา ให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สัญญานั้นได้ทําขึ้น และตามกฎหมายภายในของจีนก็กําหนดว่า การซื้อขาย วัตถุโบราณต้องทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้นสัญญาซื้อขายโต๊ะมุก ฉบับนี้ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นสัญญาที่ทําเป็นหนังสือ แต่มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ มาตรา 13 วรรคท้าย ได้กําหนดไว้ว่า สัญญาย่อมไม่เป็นโมฆะ ถ้าได้ทําถูกต้องตามแบบอันกําหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้บังคับแก่ผลของสัญญา เมื่อกรณีตาม ข้อเท็จจริง กฎหมายที่ใช้บังคับแก่ผลของสัญญาได้แก่ กฎหมายไทย ซึ่งเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง และตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยก็ไม่มีบทบัญญัติบังคับว่าการซื้อขายวัตถุโบราณต้องทํา เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น สัญญาซื้อขายโต๊ะมุกระหว่างนายสอาดกับนายเฮง จึงมีผลสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆะ

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาลไทยจะพิจารณาและวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายรายนี้ไม่เป็นโมฆะ

 

 

ข้อ 3 เรือบรรทุกน้ำมันของประเทศฝรั่งเศสถูกกลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเข้าปล้นน้ำมัน และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวฝรั่งเศส 3 คนเตะลูกเรือชาวไทย 2 คน เรียกค่าไถ่ เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดห่างจากชายฝั่งประเทศอินเดียประมาณ 100 ไมล์ทะเล การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย

อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 (Geneva Convention on High Sea 1958) มาตรา 15 ได้ให้ความหมายของคําว่า “การโจรสลัด” ว่าต้องประกอบด้วยการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1 การกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทําอันเป็น การปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา

(ก) ในทะเลหลวง ต่อเรือหรืออากาศยานอีกลําหนึ่ง หรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือหรืออากาศยานเช่นว่านั้น

(ข) ต่อเรือ อากาศยาน บุคคลหรือทรัพย์สินในที่ที่อยู่ภายนอกอํานาจของรัฐใด

2 การกระทําใดอันเป็นการเข้าร่วมด้วยใจสมัครในการดําเนินการของเรือ

3 การกระทําอันเป็นการยุยงหรืออํานวยความสะดวกโดยเจตนาต่อการกระทําที่ได้ กล่าวไว้ในวรรคแรก หรืออนุวรรคสอง ของมาตรานี้

วินิจฉัย

ตามปัญหา การที่กลุ่มบุคคลพร้อมอาวุธปืนนั่งเรือเข้าปล้นน้ำมันบนเรือบรรทุกน้ำมันของ ประเทศฝรั่งเศสในเขตทะเลหลวง และได้ลักพาตัวลูกเรือชาวฝรั่งเศส 3 คน และลูกเรือชาวไทย 2 คน เพื่อเรียกค่าไถ่นั้น การกระทําดังกล่าวถือเป็นการกระทําอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการใช้กําลัง การกักขัง หรือการกระทํา อันเป็นการปล้นสะดม ซึ่งกระทําเพื่อวัตถุประสงค์ในทางส่วนตัว โดยลูกเรือหรือผู้โดยสารของเรือเอกชนมุ่งกระทํา ในทะเลหลวง ต่อเรือหรือต่อบุคคลหรือทรัพย์สินในเรือ จึงถือว่าการกระทําดังกล่าว เป็นความผิดฐานโจรสลัด ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. 1958 มาตรา 15

สรุป

การกระทําดังกล่าวถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ ฐานโจรสลัด

 

 

ข้อ 4 จงอธิบายว่าการแปลงสัญชาติภายหลังการกระทําความผิดของผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นมีผลอย่างไรบ้างในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ธงคําตอบ

ในกรณีที่ผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน ได้กระทําความผิดในประเทศหนึ่งแล้วหลบหนี ไปอยู่อีกประเทศหนึ่ง และต่อมาได้แปลงสัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศที่ตนหลบหนีไปอยู่ ต่อมาประเทศ ที่ความผิดได้กระทําขึ้นมีคําร้องขอให้ประเทศที่ผู้ที่ถูกร้องขอได้แปลงสัญชาติส่งตัวบุคคลผู้นั้น ประเทศผู้รับคําขอ จะพิจารณาส่งตัวผู้นั้นหรือไม่ ต้องดูผลของการแปลงสัญชาติของผู้กระทําความผิดภายหลังการกระทําความผิดนั้น โดยแยกออกเป็น 2 ประการ คือ

1 ตามหลักสากลทั่วไป เป็นที่ยอมรับกันว่า “การแปลงสัญชาติไม่มีผลย้อนหลัง” ซึ่ง หมายความว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะใช้สิทธิอันเกิดจากการแปลงสัญชาติประการใดนั้น ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับสิทธิ ดังกล่าวนั้น ตั้งแต่วันที่มีประกาศรับการแปลงสัญชาติเป็นต้นไป

ดังนั้น เมื่อประเทศที่ความผิดได้กระทําขึ้นได้ร้องขอ ประเทศผู้รับคําขอสามารถพิจารณา ได้ตามปกติว่าจะส่งตัวผู้นั้นให้หรือไม่ เพราะถือว่าเป็นการขอคนที่มีสัญชาติของประเทศอื่น

2 ข้อยกเว้น ถ้าเป็นประเทศเยอรมันและประเทศเบลเยียมจะไม่ได้ยึดถือหลักสากลทั่วไป แต่ถือหลักว่า “การแปลงสัญชาติย่อมมีผลย้อนหลัง” คือจะมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันที่ได้กระทําความผิดนั่นเอง ดังนั้น ถ้าบุคคลที่ถูกร้องขอนั้นได้แปลงสัญชาติเป็นพลเมืองของประเทศเยอรมันหรือประเทศเบลเยียม เมื่อมีการ ร้องขอให้ส่งตัวผู้นั้น ประเทศทั้งสองอาจปฏิเสธไม่ส่งตัวผู้นั้นให้แก่ประเทศที่ร้องขอก็ได้ เพราะถือว่าเป็นการขอ คนที่มีสัญชาติของประเทศตน

Advertisement