การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4004 กฎหมายแรงงานและการประกันสังคม

Advertisement

คำแนะนำ  ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. โรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้สำหรับรถยนต์ ชื่อโรงงานไทยเจริญ มีพนักงาน 300 คน โรงงานตั้งอยู่ ที่นวนคร ซึ่งถูกน้ำท่วมเสียหาย ทำให้โรงงานต้องนำเงินไปซ่อมแซมโรงงาน จึงทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จึงขอปรึกษาท่านในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย ว่าต้องการหยุดกิจการทั้งหมดเป็นการ ชั่วคราว ต้องดำเนินการอย่างไร และถ้าจะเลิกจ้างพนักงานบางส่วน จะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ อย่างไร

ธงคำตอบ

กรณีดังกล่าว ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของโรงงานไทยเจริญ ข้าพเจ้าจะ ให้คำแนะนำแกโรงงานฯ ดังนี้ คือ

การที่โรงงานฯ ในฐานะนายจ้างต้องการหยุดกิจการทั้งหมดเป็นการชั่วคราว เนื่องจากโรงงาน ถูกน้ำท่วมเสียหาย ทำให้โรงงานต้องนำเงินไปซ่อมแซมโรงงานจึงทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงินนั้น ถือว่ามิใช่ การหยุดกิจการเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้นโรงงานฯ ในฐานะนายจ้างต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 คือ

1. ให้จ่ายเงินให้แกลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับ ก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน และ

2. ก่อนที่จะหยุดกิจการ จะต้องแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้า เป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 3 วันทำการด้วย

ในกรณีที่โรงงานฯ จะเลิกจ้างพนักงานบางส่วน โรงงานฯ ก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างด้วย โดยให้จ่ายค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 ดังนี้คือ

(1)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไมครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่า ค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(2)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการท่างานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(3)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไมน้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(4)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย สองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(5)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นน่วย

 

ข้อ 2. นายนทีเป็นพนักงานสมุห์บัญชีของบริษัท ได้รับค่าจ้างเดือนละ 20,000 บาท นายจ้างได้เรียก หลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 40,000 บาท และมีข้อตกลงว่าให้คืนเงินประกันเมือมีการเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกภายใน 2 เดือนนับจากวันทำงานวันสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความเสียหาย นายนที เห็นว่าไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานจึงต้องการไปดูลู่ทางการทำงานกับเพื่อนที่ จ.ภูเก็ต จึงขอ ลาหยุดตั้งแต่วันที่ 20 ถึงวันที่ 22 ตุลาคม นายจ้างทราบก็ไม่อนุญาต แต่นายนทีก็ยังเดินทางไป ตามที่ตั้งใจและกลับมาทำงานในวันที่ 23 ตุลาคม นายจ้างจึงบอกเลิกจ้างด้วยวาจาโดยไม่แจ้งเหตุผล เพราะเห็นว่าน่าจะเข้าใจอยู่แล้วและไม่จ่ายค่าชดเชยให้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายนทีทำงานได้ 2 ปี 8 เดือนแล้ว เช่นนี้ นายนทีจะต่อสู้เรียกร้องอะไรได้บ้าง และเมื่อนายนทีขอคืนหลักประกัน นายจ้าง ก็อ้างว่าต้องรออีก 2 เดือน ตามที่มีข้อตกลงกันไว้เพื่อตรวจสอบความเสียหายก่อน จงอธิบาย ตามลำดับ

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน การทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่นหรือการค้ำประกันด้วยบุคคล จากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของ นายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแกนายจ้างได้ ทั้งนี้ ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกัน จากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ในกรณีที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกัน หรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสียหาย ที่ลูกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกหรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนหลักประกัน พร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แกลูกจ้างภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือวันที่ลูกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี

มาตรา 17 วรรคสี่ การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแกการเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 118 “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แกลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้

(2)       ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไมครบสามปี ให้จ่ายไมน้อยกว่าค่าจ้าง อัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไมน้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตาม ผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

มาตรา 119 “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

การเลิกจ้างโดยไมจ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะ ยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม ชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจ้างรับนายนทีเข้าทำงานเป็นพนักงานสมุห์บัญชีของบริษัท โดย ได้เรียกหลักประกันเป็นเงินสด 40,000 บาท นั้น เมื่อการทำงานของนายนทีลูกจ้างมีลักษณะหรือสภาพของงานที่ ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างตามมาตรา 10 วรรคแรก ทั้งนายจ้างเรียกเงินประกัน การทำงานไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ย (ตามประกาศกวะทรวงแรงงาน) ดังนั้น การเรียก หลักประกันของนายจ้างดังกล่าวจึงถูกต้อง

แต่อย่างไรก็ตาม การทำข้อตกลงให้นายจ้างคืนเงินประกันภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้าย เมื่อมีการเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออกนั้น ถือเป็นการทำข้อตกลงที่ขัดกับมาตรา 10 วรรคสอง ที่กำหนดให้นายจ้าง คืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ยให้แกลูกจ้างภายใน 7 วันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างหรือลูกจ้างลาออก ซึ่งถือว่า เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ข้อตกลงดังกลาวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นายจ้างจึงต้องคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ยให้แกนายนทีภายใน 7 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

สำหรับกรณีที่นายนทีเดินทางไป จ.ภูเก็ต โดยนายจ้างไม่อนุญาตนั้น ถือเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 119 วรรคแรก (5) คือ เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งนายจ้าง มีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (ฎีกาที่ 2610/2545) แต่เมื่อปรากฏว่านายจ้างไมได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้าง ให้นายนทีลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง ย่อมทำให้นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตามมาตรา 119 วรรคสอง นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้นายนทีตามมาตรา 118 ทั้งนี้โดยไมต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคสี่ เพราะถือเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 119

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายนทีทำงานมาแล้ว 2 ปี 8 เดือน จึงถือเป็นกรณีที่ลูกจ้างทำงาน ติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไมครบ 3 ปี ดังนั้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่นายนทีตามมาตรา 118(2) เป็น จำนวน 90 วัน คิดเป็นจำนวนเงิน 60,000 บาท (20,000 X 3) (ฎีกาที่ 5321/2545)

สรุป นายนทีสามารถต่อสู้เรียกร้องเอาหลักประกันซึ่งเป็นเงินสด 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย คืนได้ภายใน 7 วันนับแต่วันที่เลิกจ้าง รวมทั้งเรียกเอาค่าชดเชยเป็นเวลา 90 วัน คิดเป็นจำนวนเงิน 60,000 บาทได้

 

ข้อ 3. นายสันติเป็นลูกจ้างรายวันของบริษัท ธงชัยฮาร์ดแวร์ จำกัด ได้รับค่าจ้างวันละ 300 บาท ทำงาน มานาน 11 ปี มีตำแหน่งทดสอบกำลังไฟในอุปกรณ์เครื่องกลที่ผลิตขึ้น ขณะปฏิบัติงานอยู่นายก้อง เพื่อนร่วมงานได้เดินมาพูดคุยและเกิดการทะเลาะกัน นายก้องผลักนายสันติไปกระทบแท่นทดสอบกำลังไฟ นายสันติถูกไฟฟ้าช็อตได้รับบาดเจ็บแล้วสลบไป นายจ้างจึงนำนายสันติส่งไป รักษาตัวในโรงพยาบาล นายสันติได้รับการรักษาในโรงพยาบาล 1 เดือน แพทย์ให้นายสันติพักฟื้นต่อ ที่บ้าน 1 เดือน ระหว่างนี้ต้องมาทำแผลกับพยาบาลเป็นประจำสัปดาห์ละครั้ง ให้นักศึกษาพิจารณาว่า นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายหรือไม่ ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537

มาตรา 5 “ในพระราชบัญญัตินี้

ประสบอันตราย” หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแกจิตใจ หรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง หรือตามคำสั่งของนายจ้าง

มาตรา 13 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการ รักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 15 “กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานของลูกจ้างตามความจำเป็นตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 18 “เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยหรือสูญหาย ให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทน เป็นรายเดือนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แล้วแต่กรณี ด้งต่อไปนี้

วินิจฉัย

การประสบอันตรายที่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามมาตรา 1315 และ 18 นั้น จะต้อง เป็นการประสบอันตรายตามคำนิยามมาตรา 5 คือ จะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย หรือผลกระทบ แกจิตใจ หรือถึงแกความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของ นายจ้าง ดังนั้นหากลูกจ้างประสบอันตรายเพราะสาเหตุส่วนตัว ย่อมไมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนดังกล่าว

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสันติลูกจ้างประสบอันตรายนั้นเนื่องมาจากการพูดคุยกับนายก้อง เพื่อนร่วมงาน แล้วเกิดการทะเลาะกัน และนายก้องได้ผลักนายสันติไปกระทบแท่นทดสอบกำลังไฟ จนทำให้ นายสันติถูกไฟฟ้าช็อตได้รับบาดเจ็บแล้วสลบไป ดังนั้นการประสบอันตรายของนายสันติดังกล่าวจึงถือเป็นการ ประสบอันตรายที่มาจากสาเหตุส่วนตัว แม้จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานก็ตาม ซึ่งเมื่อพิจารณาการได้เงินทดแทน ตามคำนิยามมาตรา 5 ประกอบมาตรา 1315 และ 18 นายสันติจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ในการทำงาน และค่าทดแทนได้นั้นจะต้องเป็นการประสบอันตรายจากการทำงานเท่านั้น ด้งนั้นเมื่อนายสันติได้ ประสบอันตรายที่มาจากสาเหตุส่วนตัวมิได้มาจากการทำงาน นายจ้างจึงไมต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่นายสันติ

สรุป นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายให้แกนายสันติ

 

ข้อ 4. ลูกจ้างโรงงานทอผ้าแจมจันทร์ในจังหวัดสมุทรปราการ รวมตัวกันยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างขอ ขึ้นค่าจ้างจากค่าจ้างเดิมในอัตราร้อยละ 10 ขอเพิ่มสวัสดิการคูปองอาหารกลางวันจากเดิมวันละ 50 บาท เป็นวันละ 70 บาท การปรับเปลี่ยนหน้าที่ลูกจ้างไปประจำยังสาขาของนายจ้าง นายจ้าง ต้องให้ลูกจ้างแสดงความจำนงว่าประสงค์จะย้ายไปจังหวัดใด การเจรจาผ่านไปด้วยดีทั้งสองฝาย ตกลงกันได้ จึงจัดทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีระยะเวลาผูกพัน 1 ปี ในระหว่างที่ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับใช้ นายอุทิศลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องมีปัญหาขัดแย้ง กับนางแจ่มจันทร์ซึ่งเป็นนายจ้าง ช่วงปลายปีซึ่งเป็นช่วงเวลาปรับเปลี่ยนโยกย้ายลูกจ้างไปประจำ สาขาตามความเหมาะสม นายจ้างได้มีคำสั่งย้ายนายอุทิศไปประจำโรงงานทอผ้าซึ่งเป็นสาขา ในจังหวัดสมุทรสงครามตามที่นายอุทิศแสดงความจำนงไว้ก่อนแล้ว นายอุทิศไมไปอ้างว่านายจ้าง ไมสามารถทำได้ตามกฎหมาย การโยกย้ายดังกล่าวมาจากปัญหาความขัดแย้งที่นายจ้างเห็นว่า นายอุทิศเกี่ยวข้องกับการเรียกร้อง นางแจ่มจันทร์จึงอ้างว่านายอุทิศขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย จึงบอกเลิกสัญญาจ้างและให้นายอุทิศออกจากงานทันที ดังนี้ นายอุทิศจะได้รับการคุ้มครองตาม กฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือไม่ ให้อธิบาย

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

มาตรา 123 “ในระหว่างที่ข้อตกลงเที่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาดมี ผลใช้บังคับ ห้ามมิให้ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการหรือสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือกรรมการ หรือ อนุกรรมการสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว

(1)       ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

(2)       จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

(3)       ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างโดยนายจ้างได้ ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้นต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือ

(4)       ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

(5)       กระทำการใด ๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า นายอุทิศจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์หรือไม่ ซึ่งตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ นั้น การที่ลูกจ้างของโรงงานฯ ได้รวมตัวกันแจ้ง ข้อเรียกร้องต่อนายจ้างจนกระทั่งตกลงกันได้ และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กรณีเช่นนี้เป็นการปฏิบัติตาม ขั้นตอนของกฎหมายในการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ลูกจ้างจึงได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 123 ที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไม่ได้ หากนายจ้างเลิกจ้างย่อมถือว่าเป็นการกระทำ อันไม่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว แต่ถ้าลูกจ้างได้กระทำความผิด อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นความผิดร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 123(1) – (5) นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้ และไมถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม

จากข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ การที่นางแจ่มจันทร์ได้มีคำสั่งย้ายนายอุทิศลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับ ข้อเรียกร้องไปประจำโรงงานทอผ้าซึ่งเป็นสาขาในจังหวัดสมุทรสงครามในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีผลบังคับใช้นั้น แม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า นายอุทิศลูกจ้างมีบัญหาขัดแย้งกับนางแจ่มจันทร์ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่เมื่อการโยกย้ายดังกล่าวเป็นการโยกย้ายหน้าที่การงานตามปกติของนายจ้าง และเป็นการโยกย้ายตามข้อตกลง ที่ได้ตกลงกันไว้ ดังนั้น การโยกย้ายของนางแจ่มจันทร์ดังกล่าวจึงสามารถทำได้ตามกฎหมาย

และเมื่อมีคำสั่งโยกย้ายแล้ว นายอุทิศไมไปถือว่านายอุทิศได้ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ของนายจ้าง ซึ่งทำให้นายอุทิศไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 123(3) ดังนั้น นางแจ่มจันทร์ซึ่งเป็นนายจ้างย่อมสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างและให้นายอุทิศออกจากงานได้

แต่อย่างไรก็ตาม นายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างและให้นายอุทิศออกจากงานทันทีนั้น นายจ้าง ไม่สามารถทำได้ นายจ้างจะเลิกจ้างได้ต้องมีหนังสือว่ากล่าวและตักเตือนแล้วตามมาตรา 123(3)

สรุป นายอุทิศไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ เพราะได้ขัดคำสั่งอันชอบ ด้วยกฎหมายของนายจ้าง แต่นายจ้างจะบอกเลิกสัญญาจ้างและให้นายอุทิศออกจากงานทันทีไม่ได้ นายจ้าง จะต้องว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือก่อนตามมาตรา 123(3)

Advertisement