การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2550

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

Advertisement

ข้อ 1. นายรักรามเป็นผู้ที่สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับวิชากฎหมายระหว่างประเทศอย่างมาก แต่ไม่เข้าใจประเด็น เกี่ยวกับการสิ้นสุดของสนธิสัญญาในกรณีการเกิดสงครามว่า สนธิสัญญาที่รัฐทำขึ้นก่อนการเกิดสงครามระหว่างกันจะสิ้นสุดลงหรือไม่ อาจบังคับได้ระหว่างคูสงครามเสมอไปหรือไม่ ท่านในฐานะ ที่ผ่านการศึกษาวิชา LAW 4003 มาแล้ว จะอธิบายให้นายรักรามเข้าใจในประเด็นปัญหานี้อย่างไร

ธงคำตอบ

สงครามทำให้สนธิสัญญาซึ่งทำระหว่างรัฐคู่สงครามก่อนเกิดสงครามสิ้นสุดลง ซึ่งสงครามในที่นี้ หมายถึงสงครามตามความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศ การใช้กำลังบังคับในรูปแบบอื่นที่ไมถึงขั้นทำสงคราม ยังไม่มีผลทำให้สนธิสัญญาสิ้นสุดลงได้

หลักการที่ว่าสงครามทำให้สนธิสัญญาที่ทำไว้ก่อนเกิดสงครามสิ้นสุดลง จะต้องแยกพิจารณาว่า เป็นสนธิสัญญาสองฝาย (ทวิภาคี) หรือหลายฝ่าย (พหุภาคี)

สำหรับสนธิสัญญาสองฝ่าย (ทวิภาคี) โดยหลักการแล้วถือว่าสนธิสัญญาที่ทำไว้ก่อนเกิด สงครามของรัฐคู่สงครามสิ้นสุดลง เว้นแต่

1.         สนธิสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อบังคับใช้โดยตรงในเวลาสงคราม เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วย กฎหมายและจารีตประเพณีในการทำสงครามทางบก ค.ศ. 1907 อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย การปฏิบัติต่อเชลยศึก ค.ศ. 1949

2.         สนธิสัญญาบางชนิด เช่น การยกดินแดน

3.         สนธิสัญญานั้นเองได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้คงดำเนินต่อไปแม้เมื่อเกิดสงคราม เช่น สนธิสัญญา ลงวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 ระหว่างอังกฤษ ฮอลแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งกำหนดว่า อังกฤษจะต้องจ่ายเงินให้รัสเซียแม้ว่าจะทำสงครามกับรัสเซียก็ตาม ในสงครามไคเมีย ระหว่างอังกฤษกับรัสเซีย อังกฤษก็ยังชำระหนี้ให้รัสเซียต่อไป

สำหรับสนธิสัญญาหลายฝ่าย (พหุภาคี) ซึ่งมีทั้งรัฐคูสงครามและรัฐเป็นกลางเป็นภาคีใน สนธิสัญญา ผลของสนธิสัญญาระหว่างคู่สงครามเป็นแต่เพียงระงับไปชั่วคราวจนกว่าสงครามสงบ โดยมีการทำ สนธิสัญญาสันติภาพ สนธิสัญญานั้นยังไมถือว่าสิ้นสุดลง แต่ผลระหว่างรัฐเป็นกลางกับรัฐคู่สงคราม หรือระหว่าง รัฐเป็นกลางที่เป็นภาคีสนธิสัญญายังใช้บังคับอยู่เช่นเดิม เช่น สงครามในปี ค.ศ. 1870 ไม่ได้ทำให้สนธิสัญญาปารีส วันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 1856 สิ้นสุดลง และสนธิสัญญาวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1839 ที่ค้ำประกันความเป็นกลาง ของเบลเยียมไม่ได้สิ้นสุดลง เมื่อเยอรมนีบุกเบลเยียม ในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 แต่ยังคงใช้อยู่จนกระทั่ง ได้มีการทำสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เช่นเดียวกันในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ค.ศ. 1939 ก็ไมได้ทำให้องค์การ สันนิบาตชาติเลิกล้มไป จนกระทั่งเกิดองค์การสหประชาชาติขึ้นมาแทน

 

ข้อ 2. ให้นักศึกษาอธิบายจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่ว่าข้อพิพาทระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศโคลัมเบีย ในคดีหนึ่ง อนุญาโตตุลาการได้ตัดสินว่า สนธิสัญญามีค่าเหนือกว่ารัฐธรรมนูญของรัฐ หรือรัฐไม่อาจ อ้างรัฐธรรมนูญของตนเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันในสนธิสัญญาได้ จากข้อเท็จจริง ดังกล่าวนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน สามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงแนวความคิดของทฤษฎีใด ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องอธิบายรายละเอียด ของทฤษฎีนั้นประกอบในการตอบคำถามด้วย

ธงคำตอบ

ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในนั้น มีความเห็น ทางทฤษฎีที่ขัดแย้งกัน 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีทวินิยมที่เห็นว่ากฎหมายทั้งสองมีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความ สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน และทฤษฎีเอกนิยม

สำหรับทฤษฎีเอกนิยมนี้ ผู้สนับสนุนเห็นวา กฎหมายทั้งสองไม่แตกต่างกัน ทังนี้เพราะ กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศต่างมีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในหรือระหว่างประเทศ แต่ผู้ที่สนับสนุนทฤษฎีเอกนิยมมีความเห็นต่างกันในประเด็นที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในนั้น กฎหมายใดจะมีค่าบังคับสูงกว่ากัน

กลุ่มแรก เห็นว่า กฎหมายภายในมีค่าบังคับสูงกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ ความเห็นนี้เป็นที่ยอมรับในยุคแรก ๆ ที่ประเทศต่าง ๆ พึ่งได้รับเอกราช จึงหวงแหนในอำนาจอธิปไตยของตน โดยอ้างเหตุผลว่า ในสังคมระหว่างรัฐ ไม่มีองค์กรใดที่มีอำนาจเหนือรัฐ กล่าวคือ รัฐทั้งหลายต่างมีอำนาจอธิปไตยที่จะตัดสินใจอย่างอิสระว่ารัฐต้องการมีพันธกรณีระหว่างประเทศในเรื่องใด ไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังใคร จึงถือว่ากฎหมายภายใน สูงกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ

กลุ่มที่สอง เห็นว่า กฎหมายระหว่างประเทศมีค่าบังคับสูงกว่ากฎหมายภายใน กฎหมายภายในจะขัดแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้ ถ้ากฎหมายทั้งสองขัดแย้งกัน จะต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศบังคับ ถือว่ากฎหมายภายในเป็นกฎหมายที่แตกแยกมาจากกฎหมายระหว่างประเทศ

ในปัจจุบันความเห็นที่ว่ากฎหมายระหว่างประเทศมีคาบังคับสูงกว่ากฎหมายภายในได้รับการยอมรับโดยทั่วไป กรณีตามอุทาหรณ์นั้นเป็นการแสดงถึงการยอมรับแนวคิดทฤษฎีเอกนิยมดังกล่าวนั้นเอง

 

ข้อ 3. จงอธิบายให้ชัดเจนถึงการครอบครองปรปักษ์ (Prescription) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการที่รัฐได้ดินแดนเพิ่มขึ้นมาในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และหากเปรียบเทียบกับการได้ดินแดนของรัฐ โดยการใช้กำลังจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรหรือไม่

ธงคำตอบ

การครอบครองดินแดนโดยปรปักษ์ (Prescription) เป็นวิธีการที่รัฐเข้าครอบครองและใช้ อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นเป็นระยะเวลานาน โดยดินแดนนั้นเป็นหรือเคยเป็นของรัฐอื่นมาก่อน และรัฐที่เข้ามาครอบครองภายหลังโดยรัฐเดิมไม่ได้คัดค้าน และรัฐอื่นมิได้โต้แย้ง การครอบครองปรปักษ์เป็นหลักการทำนองเดียวกับกฎหมายภายใน แต่ไมได้กำหนดเงื่อนเวลาไว้อยางชัดเจน แต่โดยปกติรัฐก็จะต้องครอบครอง ดินแดนนั้นเป็นเวลานาน

ซึ่งแตกต่างจากการใช้กำลังเข้ายึดครองที่ว่าการได้ดินแดนของรัฐโดยการใช้กำลัง เป็นวิธีการ ที่ไม่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องหรือความชอบธรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ข้อ 4. การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยวิธีการแทรกแซงที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศนั้น มีลักษณะ สำคัญอย่างไร และมีกรณีใดบ้าง

ธงคำตอบ

การแทรกแซง หมายถึง การที่รัฐหนึ่งเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน หรือภายนอกของรัฐอื่น เพื่อบังคับให้รัฐนั้นกระทำหรืองดเว้นการกระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งตามความต้องการของรัฐที่เข้าแทรกแซง โดยรัฐที่ถูกแทรกแซงนั้นต้องเป็นรัฐที่เป็นเอกราช

การแทรกแซง มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ

1. เป็นการกระทำที่แทรกแซงต่อกิจการภายในหรือภายนอกของรัฐอื่น

2.         รัฐที่ถูกแทรกแซงต้องเป็นอิสระ มีอำนาจอธิปไตยของตนเองทั้งภายในและภายนอก

3.         มีวัตถุประสงค์ที่จะบังคับให้รัฐนั้นกระทำตามความประสงค์ของตน

การแทรกแซงที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่

1. การแทรกแซงโดยมีสนธิสัญญาต่อกันให้ดำเนินการได้

2. การแทรกแซงโดยอ้างว่ารัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายร้องขอ

3. การแทรกแซงโดยอ้างว่าเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลในสัญชาติตนในรัฐอื่น แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังนี้

1) รัฐนั้นไมให้ความคุ้มครองหรือไมสามารถให้ความคุ้มครองแกบุคคล หรือ ทรัพย์สินของชาติที่ทำการแทรกแซง และองค์การสหประชาชาติก็ไม่สามารถจะให้ ความคุ้มครองได้ทันที

2)         มีการคุกคามซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน

3)         การปฏิบัติการแทรกแซงต้องสมเหตุสมผลกับความเสียหายที่ได้รับ และต้องหยุดการกระทำเมื่อทำการคุ้มครองเป็นผลสำเร็จหรืออพยพประชาชนหมดสิ้นแล้ว

4.         การแทรกแซงโดยเหตุผลของมนุษยธรรม เป็นกรณีที่รัฐที่ถูกแทรกแซงกระทำการป่าเถื่อน ไร้มนุษยธรรม หรือไมยุติธรรมต่อบุคคลในสัญชาติของรัฐที่ถูกแทรกแซงเอง

Advertisement