การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2549

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4003 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

ข้อ 1. จงอธิบายโดยสังเขปถึงวิธีการที่เรียกวา ภาคยานุวัติ” หรือการเข้าร่วมในสนธิสัญญา(Adhesion) และ การลงนามภายหลัง” (Deferred Signature) ว่ามีความหมายอย่างไร และประเด็นสำคัญที่จะให้นักศึกษาตอบให้ชัดเจนคือวิธีการดังกลาวข้างต้นนี้มีความคล้ายกันหรือแตกต่างกันอย่างไร

Advertisement

ธงคำตอบ

ภาคยานุวัติ คือ วิธีการเข้าร่วมเป็นภาคีสนธิสัญญาในภายหลัง หลังจากที่สนธิสัญญามีผล บังคับใช้แล้ว โดยรัฐยอมรับผูกพันตามสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญานับแต่มีการภาคยานุวัติ

การลงนามภายหลัง คือ การที่รัฐไม่ได้เข้าร่วมเจรจาในการทำสนธิสัญญา แต่อาจเข้ามาร่วมลงนาม ในภายหลังได้ และระยะเวลาการลงนามยังไมสิ้นสุตลง แต่จะมีผลผูกพันได้ต้องมีการให้สัตยาบันอีกครั้งหนึ่ง

ความคล้ายกัน คือ เป็นกรณีที่รัฐไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสนธิสัญญาแต่แรกเช่นเดียวกัน

ความแตกต่างกัน คือ การภาคยานุวัติ ผลผูกพันสมบูรณ์นับแต่มีการเข้าร่วมเป็นภาคี แต่การ ลงนามภายหลังยังไม่มีผลผูกพันจนกว่ารัฐนั้นต้องให้สัตยาบันก่อน แต่อาจไม่แตกต่างกันเลยหากการเข้าร่วมได้กระทำภายใต้ข้อสงวนว่าจะต้องให้สัตยาบันก่อน

 

ข้อ 2. หากมีการเปรียบเทียบถึงความสำคัญของที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศระหว่างสนธิสัญญา จารีตประเพณีระหว่างประเทศและหลักความยุติธรรม ที่มาประเภทใดถือว่าเป็นที่มาหลักของกฎหมายระหว่างประเทศและที่มาขั้นรองของกฎหมายระหว่างประเทศ และหากศาลจะพิจารณาคดี โดยยึดถือหลักความยุติธรรมมาตัดสินจะใช้ได้เสมอไปหรือไม่

ธงคำตอบ

สนธิสัญญาและจารีตประเพณีระหว่างประเทศเป็นที่มาหลักของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ หลักความยุติธรรมเป็นที่มาขั้นรองและศาลอาจพิจารณาคดีโดยใช้หลักความยุติธรรมได้ต่อเมื่อไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใดที่จะถือเป็นหลักในการตัดสินได้เท่านั้น และบางครั้งกฎหมายระหว่างประเทศอาจ เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง หรือมีความจำเป็นต้องปรับหลักกฎหมายให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน แต่การที่ศาลจะใช้ หลักความยุติธรรมตัดสินได้จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อน

 

ข้อ 3. นายรักรามไม่เข้าใจถึงความหมายและความแตกต่างของ อำนาจอธิปไตย” หรืออำนาจอิสระ (Sovereignty) ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นองค์ประกอบของความเป็นรัฐ ที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง และอำนาจของเทศบาลซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีอำนาจอิสระในการบริหารกิจการของตนเช่นกัน นักศึกษาในฐานะที่ผ่านการศึกษาวิชากฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองมาแล้ว จะอธิบายให้นายรักรามเข้าใจอย่างชัดเจนอย่างไร

ธงคำตอบ

อำนาจอธิปไตยของรัฐ คือ การมีอำนาจอิสระในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกรัฐ โดยสามารถจัดกิจการต่าง ๆ ภายในแต่เพียงผู้เดียว โดยปราศจากการแทรกแซง หรือบงการจากภายนอก

เช่นเดียวกับอำนาจอิสระในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ภายนอกรัฐได้โดยไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือความยินยอมจากรัฐ หรือองค์กรอื่นใด

ส่วนอำนาจของเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจการปกครองภายในอาณาเขตของตนโดยได้รับ มอบอำนาจจากรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐอยู่แม้จะมีอำนาจอิสระ ในการบริหารตนเองระดับหนึ่งก็ตาม ไม่มีอำนาจอิสระอย่างสมบูรณ์ เช่น การดำเนินการของรัฐ ส่วนอำนาจอิสระภายนอกอาณาเขตของตน หรือนอกรัฐ ไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้ อย่างกรณีการใช้อำนาจของรัฐภายนอกอาณาเขตของรัฐตน โดยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหรือการดำเนินการโดยรัฐเท่านั้น

 

ข้อ 4. การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศแบบ “Reprisal” นั้น ท่านเข้าใจว่าอย่างไร และมีเงื่อนไขในการ ใช้มาตรการนี้อย่างไรบ้าง จงอธิบายโดยละเอียด

งคำตอบ

การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศแบบ “Reprisal” นั้นเป็นมาตรการตอบโต้การกระทำที่ ละเมิดต่อกฎหมาย ซึ่งมาตรการนี้ถือเป็นมาตรการที่รุนแรงและเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย

ดังนั้นรัฐที่เสียหายจากการถูกละเมิดจากรัฐอื่น ควรหาทางให้รัฐที่ละเมิดชดใช้ก่อน ถ้าไม่เป็น ผลค่อยนำมาตรการนี้มาใช้ โดยมีเงื่อนไขคือ

1.         การกระทำนั้นเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2.         ไม่สามารถตกลงโดยวิธีอื่น

3.         รัฐที่เสียหายต้องเรียกร้องค่าทดแทนก่อน

4.         มาตรการตอบโต้ต้องแบบสมเหตุผลกับความเสียหายที่ได้รับ

การตอบโต้อาจทำในรูปเดียวกันกับที่ถูกกระทำหรือรูปแบบอื่นก็ได้ โดยอาจกระทำต่อบุคคล หรือทรัพย์สินก็ได้ ซึ่งการตอบโต้นั้นจะต้องตอบโต้ต่อรัฐที่ทำผิดและต้องทำโดยองค์กรของรัฐ หรือเจ้าหน้าที ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ

Advertisement