การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW4002 การว่าความ

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. คำคูความคดีอาญา (คำฟ้อง)

ข้อเท็จจริง จากการเตรียมคดีในสำนวนการสอบสวนได้ความว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2554 เวลาประมาณ 20.00 นาที[กา ขณะที่นายทองแดงเดินอยู่หน้าโรงเรียนวัดสนามไชย ตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีนายทองดำเดินเข้ามาประกบด้านข้างแล้วใช้มีด ปลายแหลมยาว 5 นิ้ว จี้ที่เอวแล้วบอกให้นายทองแดงส่งโทรศัพท์มือถือจำนวน 1 เครื่อง ราคา 10,000 บาท ของนายทองแดงให้แก่ตน ถ้าไมส่งมาให้ก็จะแทงทำร้ายให้ถึงแก่ความตาย นายทองแดง เกิดความกลัวจึงส่งโทรศัพท์มือถือให้ไป จากนั้นนายทองดำก็วิ่งหลบหนีไป ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 สิบตำรวจโทสมชายจับนายทองดำได้ที่บ้านพักพร้อมกับยึดโทรศัพท์มือถือที่ชิงไปจาก นายทองแดงเป็นของกลางนำส่งร้อยตำรวจตรีนาวี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางไทร ทำการสอบสวน ชั้นสอบสวนนายทองดำให้การรับสารภาพ เมื่อครบกำหนดควบคุมตัวจึงได้นำไป ฝากขังที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อสอบสวนเสร็จพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวน การสอบสวนส่งพนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ข้อกฎหมาย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ

(1)       ให้ความสะดวกแกการลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป

(2)       ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น

(3)       ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้

(4)       ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ

(5)       ให้พ้นจากการจับกุม

ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก…

สมมุติว่า นักศึกษาเป็นพนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาผู้รับผิดชอบดำเนินคดีนี้ ให้ นักศึกษาเรียงคำฟ้องในข้อหาชิงทรัพย์ (เฉพาะเนื้อหาคำฟ้องโดยไม่ต้องคำนึงถึงแบบพิมพ์คำฟ้อง)

ธงคำตอบ

ถ้าข้าพเจ้าเป็นพนักงานอัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้รับผิดชอบดำเนินคดีนี้ ข้าพเจ้าจะเรียงคำฟ้องคดีนี้ ดังต่อไปนี้

คำฟ้องอาญา

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2554 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยซึ่งมีมีดปลายแหลมยาว 5 นิ้วเป็นอาวุธติดตัว ได้บังอาจลักเอาโทรศัพท์มือถือจำนวน 1 เครื่องราคา 10,000 บาท ของนายทองแดงผู้เสียหาย ไปโดยทุจริต ในการลักทรัพย์ดังกล่าวจำเลยได้ใช้มีดจี้ขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะแทงประทุษร้ายผู้เสียหายให้ถึงแกความตาย เพื่อให้ผู้เสียหายให้ความสะดวกแกการลักทรัพย์ ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น หรือยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้

เหตุเกิดที่ตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ข้อ 2. ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับจำเลยได้พร้อมโทรศัพท์มือถือ ของกลางที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหายนำส่งพนักงานสอบสวนทำการสอนสวน

ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพ ของกลางเจ้าพนักงานเก็บรักษาไว้

ระหว่างสอบสวน จำเลยถูกควบคุมตัวตลอดมา ขณะนี้ต้องขังอยู่ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายต่อไป

 

ข้อ 2. คำคู่ความคดีแพ่ง (คำฟ้อง)

ข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 นายสมศักดิ์ได้กู้เงินไปจากนายสมัคร เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยนายสมศักดิ์ยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีกำหนดเวลาใช้คืนภายใน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 นายสมศักดิ์ได้รับเงินจำนวนที่กู้ไปครบถ้วนแล้วและได้ทำสัญญากู้ไว้เป็น หลักฐานในวันดังกล่าว ต่อมาเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว นายสมศักดิ์ ไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้จำนวนดังกล่าวพร้อมชำระดอกเบี้ยคืนตามสัญญา นายสมัครจึงประสงค์จะฟ้อง เรียกเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดจากนายสมศักดิ์

ฉะนั้นสมมุติว่า นักศึกษาเป็นทนายความของนายสมัคร ให้นักศึกษาเรียงคำฟ้องเรียกเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมดจากนายสมศักดิ์

ธงคำตอบ

คำฟ้องแพ่ง

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 จำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไปเป็นจำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยจำเลยยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยสะ 15 ต่อปี มีกำหนดเวลาใช้คืนภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งจำเลยได้รับเงินจำนวนที่กู้ปครบถ้วนแล้ว และได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐานในวันดังกล่าว รายละเอียด ปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 1 สิงหาคม 2552 เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1

ข้อ 2. เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยไม่ยอมชำระหนี้เงินกู้ จำนวน 200.000 บท (สองแสนบาทถ้วน) ดังกล่าว ทั้งไม่เคยชำระดอกเบี้ยให้แกโจทก์ตามสัญญาเลย โจทก์ได้ ทวงถามแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉย การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการผิดสัญญากู้ยืมเงิน ทำให้โจทก์ได้รับ ความเสียหาย

จำเลยต้องรันผิดชำระต้นเงินคืนให้แก่โจทก์จำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) และ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 45,000 บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน) รวม เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระคืนให้แกโจทก์ 245,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)

โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับจำเลยต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ…..(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ทนายโจทก์

คำฟ้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ระบุชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ……(ลายมือชื่อนักศึกษา)…..ผู้เรียงและพิมพ์

 คำขอท้ายฟ้อง

ข้อ 1. ขอให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 245,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)

ข้อ 2. ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้น

ข้อ 3. ขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

ข้อ 3. การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย (สัญญา/หนังสือทวงถาม)

ข้อเท็จจริง 

 

ข้อ 3. นางสดศรี สายสมร ได้มาพบนักศึกษาพร้อมกับแจ้งว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2553 ตนเองได้ให้นายยอดชาย คล้ายคลึง เช่าบ้านเลขที่ 212 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เพื่อการอยู่อาศัยเป็นเวลา 2 ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่า ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,500 บาท โดยต้องชำระค่าเช่าทุกวันสิ้นเดือน แต่ต่อมาเมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2553 นายยอดชาย มิได้ชำระค่าเช่าของเดือนธันวาคม 2553 และไม่ยอมชำระค่าเช่าเดือนต่อมาจนถึงปัจจุบัน นางสดศรี จึงมอบหมายให้นักศึกษาเป็นผู้รับอำนาจทวงถามค่าเช่าที่ค้างชำระและขับไล่นายยอดชายแทนตน ในเบื้องต้น จึงให้นักศึกษาทำหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า ทวงถามค่าเช่าที่ค้างชำระและแจ้งให้ นายยอดชายพร้อมบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าดังกล่าวต่อไป

ธงคำตอบ

หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า

                           วันที่…………..เดือน………….พ.ศ……………

เรื่อง บอกเลิกสัญญาเช่า เรียน คุณยอดชาย คล้ายคลึง

ตามที่ท่านได้ทำสัญญาเช่าบ้านเลขที่ 212 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร กับนางสดศรี สายสมร ซึ่งเป็นเจ้าของบ้านและเป็นผู้ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2553 เพื่อการอยู่อาศัยเป็นเวลา 2 ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่า ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน) โดยตกลงชำระค่าเช่าทุกวันสิ้นเดือนนั้น

บัดนี้ ปรากฏว่าท่านไค้ผิดสัญญาเช่า กล่าวดือท่านไม่ได้ชำระค่าเช่าของเดือนธันวาคม 2553 และ ไม่ยอมชำระค่าเช่าเดือนต่อมาจนถึงปัจจุบัน และนางสดศรี สายสมร ผู้ให้เช่าไมประสงค์ที่จะให้ทานเช่าบ้านเลขที่ ดังกล่าวต่อไป จึงได้มอบหมายเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าดำเนินการ

ฉะนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ ข้าพเจ้าในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนางสดศรี สายสมร จึงขอบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านเลขที่ดังกล่าวข้างต้นตามที่ท่านได้ทำความตกลงไว้กับนางสดศรี สายสมร เสีย และขอให้ท่าน ได้โปรดทำการขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากบ้านเลขที่ดังกล่าว และส่งมอบบ้านพร้อมทั้งขอให้ท่าน ชำระค่าเช่าที่ท่านค้างชำระทั้งหมดนับแต่ที่ท่านได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนธันวาคม 2552 เป็นต้นมา ให้แก่ นางสดศรี สายสมร ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันที่ท่านได้รับหนังสือฉบับนี้

หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านยังไม่จัดการประการใด ข้าพเจ้ามีความจำเป็น ที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายกับท่านตามความประสงค์ของนางสดศรี สายสมร ต่อไป

อนึ่ง หากท่านมีความประสงค์ที่จะตกลงในเรื่องนี้ด้วยดีประการใดขอท่านได้โปรดติดต่อกับ

ข้าพเจ้า ณ…………โทร………….ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย จักได้รับ

ความขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ

ลงชื่อ…………….(ลายมือชื่อนักศึกษา)………………..

(………………………………………………………………..)

ผู้รับมอบอำนาจ

ข้อ 4. พระราชบัญญัติทนายความ

คำถาม นักศึกษามีความเข้าไจในมรรยาททนายความที่มีต่อตัวความว่าอย่างไร และเหตุใดจึงต้อง กำหนดมรรยาทในเรื่องนี้ ให้นักศึกษาอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบโดยย่อ

ธงคำตอบ

มรรยาททนายความ หมายถึง จรรยาบรรณที่กำหนดเป็นข้อปฏิบัติแสะข้อห้ามปฏิบัติในการ ประกอบวิชาชีพทนายความ (Professional Ethics) มรรยาททนายความจึงเป็นข้อบังคับที่เป็นแนวทางในการ ประกอบวิชาชีพทนายความ ซึ่งทนายความทุกคนต้องเคร่งครัดถือปฏิบัติตามเพื่อให้วิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพ ที่ผดุงความยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

ตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 เรื่องมรรยาทายความ ที่มีต่อตัวความนั้นมีบัญญัติไว้ในข้อ 9 ถึงข้อ 15 มีดังต่อไปนี้

ข้อ 9 กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกัน ในกรณีอันหามูลมิได้

ข้อ 10 ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่างหรือแก้ต่าง

(1)       หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแกใจว่าจะแพ้

(2)       อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความอื่น

(3)       อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใด อันกระทำให้เขาหลงว่า ตนสามารถจะกระทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษ นอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือ คดีในทางใด ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้น แล้วจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาแพ้

ข้อ 11 เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแตจะได้รับอนุญาต จากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล

ข้อ 12 กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อ ไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ

(1)       จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี

(2)       จงใจละเว้นหน้าที่ ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแหงลูกความของตน หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ

ข้อ 13 ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคูความ ฝ่ายหนึ่ง แล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคูความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นปรปักษ์ อยู่ในกรณีเดียวกัน

ข้อ 14 ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผล อันสมควรเพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้

ข้อ 15 กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยวเงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร

สำหรับเหตุผลที่ต้องมีการกำหนดมรรยาทในเรื่องนี้ก็เพราะว่า อาชีพทนายความเป็นอาชีพอิสระ และต้องสัมผัสใกล้ชิดลูกความของตน เพราะฉะนั้นทนายความจึงต้องซื่อสัตย์ ดำรงตนอย่างมีศักดิ์ศรี สร้างความเชื่อถือแก่บุคคลทั่วไป ทั้งต้องประพฤติตนสะสมความดีงามมิให้มีมลทินด่างพร้อยในวิชาชีพ เนื่องจาก ทนายความก็คือปุถุชนธรรมดา ๆ คนหนึ่ง ย่อมมีกิเลสประพฤติดีประพฤติชั่วได้ ยิ่งประกอบอาชีพเป็นอิสระด้วยแล้ว ถ้าหากไมมีกรอบหรือวินัยคอยควบคุมแล้ว ลูกความหรือบุคคลอื่น ๆ อาจได้รับความเสียหายได้โดยง่าย

และมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. ทนายความ พ.ค. 2528 ยังได้บัญญัติไว้อีกว่า ทนายความต้อง ประพฤติตนตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ…

ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่สภาทนายความตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง ให้ ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

คัวอย่างเช่น นาย ก. เป็นทนายความ ได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ยุยงส่งเสริมให้มี การฟ้องร้องคดีกันทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่ไม่มีมูล หรือได้เปิดเผยความลับของลูกความตามที่ตนได้รู้มาในหน้าที่ของทนายความ หรือไม่เอาใจใส่ทอดทิ้งคดีของลูกความซึ่งอาจเป็นเหตุให้ลูกความแพ้คดี การกระทำดังกล่าวของ นาย ก. ทนายความ ถือว่าเป็นการกระทำผิดมรรยาททนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 51

Advertisement