การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4002 การว่าความและการจัดทําเอกสารทางกฎหมาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 นายเรือง มีสุข ในฐานะกรรมการ ซึ่งมีอํานาจลงลายมือชื่อและประทับตรา และเป็นสําคัญของบริษัท กระทําการแทนบริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจดทะเบียน ณ สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์จําหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างได้ตกลงทําหนังสือสัญญา กู้ยืมเงินจากนายพรชัย ชัยเดช เพื่อนําไปเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการของบริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด จํานวน 1,000,000 บาท ตกลงชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี กําหนดชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนนายพรชัย ชัยเดช ภายใน 1 ปี โดยกําหนดให้วันที่ 5 มีนาคม 2560 เป็นวันครบกําหนด 1 ปี บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด รับเงินกู้ไปครบถ้วนแล้วในวันทําหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ในการกู้ยืมเงินดังกล่าวนายพรชัย ชัยเดช เห็นว่า หากบริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด ไม่ชําระหนี้และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดให้ยึดในชั้นบังคับคดีจะทําให้ไม่ได้รับเงินคืน จึงได้ให้นายเรือง มีสุข กรรมการบริษัท แสงทองธุรกิจ การ จํากัด ทําหนังสือค้ำประกันจํานวนเงินที่บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด กู้ยืมไป โดยนายเรือง มีสุขตกลงยอมรับผิดร่วมกับบริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด อย่างลูกหนี้ร่วม

ต่อมาเมื่อครบกําหนดชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนในวันที่ 5 มีนาคม 2560 ปรากฏว่าบริษัท แสงทอง ธุรกิจ จํากัด ไม่ชําระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนให้นายพรชัย ชัยเดช แต่อย่างใด นายพรชัย ชัยเดช ได้ส่งหนังสือทวงถามทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ แจ้งให้บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด และ นายเรือง มีสุข ร่วมกันชําระเงินกู้จํานวน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยจํานวน 150,000 บาท รวมเป็นเงินจํานวน 1,150,000 บาท บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด และนายเรือง มีสุข ได้รับหนังสือ ทวงถามของนายพรชัย ชัยเดช แล้ว แต่บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด และนายเรือง มีสุข เพิกเฉย ไม่ชําระเงินต้นและดอกเบี้ยให้นายพรชัย ชัยเดช แต่อย่างใด

สมมุติว่า นักศึกษาเป็นทนายความให้นายพรชัย ชัยเดช ให้นักศึกษาเรียบเรียงคําฟ้องเพื่อฟ้อง ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันให้ชําระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนนายพรชัย ชัยเดช โดยเรียบเรียง เฉพาะเนื้อหาคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้องแพ่ง ทั้งนี้โดยไม่ต้องคํานึงถึงแบบพิมพ์คําฟ้องของศาล

ธงคําตอบ

คําฟ้องแพ่ง

ข้อ 1. ในการฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้มอบอํานาจให้…… (ชื่อนักศึกษา)……. เป็นผู้มีอํานาจฟ้องและ ดําเนินคดีแทนโจทก์ รายละเอียดปรากฏตามสําเนาหนังสือมอบอํานาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1

จําเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด จดทะเบียนไว้ ณ สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ใช้ชื่อว่า “บริษัท แสงทองธุรกิจ จํากัด” มี วัตถุประสงค์จําหน่ายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง มีจําเลยที่ 2 เป็นกรรมการ มีอํานาจลงลายมือชื่อและประทับตรา สําคัญของบริษัท กระทําการแทนบริษัท รายละเอียดปรากฏตามสําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2

ข้อ 2. เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 จําเลยที่ 1 ทําหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ โดยมีจําเลยที่ 2 เป็นตัวแทนลงนามในสัญญาแทนจําเลยที่ 1 จํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยตกลง ชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีกําหนดให้คืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยภายใน 1 ปี คือวันที่ 5 มีนาคม 2560 โดยจําเลยได้รับเงินกู้ไปครบถ้วนแล้วในวันทําหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน รายละเอียดปรากฏตามสําเนา ภาพถ่ายหนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 5 มีนาคม 2559 เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3

ในการทําสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จําเลยที่ 2 ได้เข้าผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินของ จําเลยที่ 1 โดยตกลงยอมรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 รายละเอียดปรากฏตามสําเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาค้ำประกัน เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4

ข้อ 3. เมื่อครบกําหนดระยะเวลาการชําระหนี้ตามสัญญากู้ จําเลยที่ 1 ไม่ยอมชําระหนี้เงินกู้ จํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ดังกล่าว ทั้งไม่เคยชําระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญาเลย โจทก์ จึงได้ติดต่อทวงถามให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ชําระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ แต่จําเลยทั้งสองก็เพิกเฉย การกระทําของจําเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการผิดสัญญากู้ยืมเงิน ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้ส่งหนังสือทวงถามลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับเรียกให้จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ชําระต้นเงินคืนให้แก่โจทก์จํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) และดอกเบี้ย รายละเอียดปรากฏตามสําเนาหนังสือทวงถามและไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับของเอกสารท้ายฟ้อง หมายเลข 5 – 8 จําเลยทั้งสองได้รับหนังสือทวงถามแต่กลับเพิกเฉย

ข้อ 4. การที่จําเลยที่ 1 และจําเลยที่ 2 ไม่ชําระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามสัญญา กู้ยืมเงินและสัญญาค้ําประกันดังกล่าว เป็นการผิดสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งจําเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องชดใช้เงินกู้ยืมจํานวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากเงินต้นดังกล่าวเป็นเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบร่วมกันหรือแทนกันกับจําเลยที่ 1 ในการชําระ ต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินทั้งสิ้น 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ให้แก่โจทก์ด้วย

โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจําเลยได้ จึงต้องมาฟ้องเป็นคดีนี้ เพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่ง เพื่อบังคับจําเลยต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ……. (ลายมือชื่อนักศึกษา)…… ทนายโจทก์

คําร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ………. (ลายมือชื่อนักศึกษา) ผู้เรียงและพิมพ์

คําขอท้ายฟ้อง

ข้อ 1. ให้จําเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชําระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชําระรวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

ข้อ 2. ให้จําเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 1,150,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจําเลยทั้งสองจะชําระเสร็จสิ้น

ข้อ 3. ให้จําเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์

 

ข้อ 2. โจทก์ต้องการยื่นฟ้องจําเลยในคดีคุ้มครองผู้บริโภคในวันที่ 31 มีนาคม 2560 เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายกําหนดให้ทําการพิจารณาภายในกําหนด 30 วัน แต่ทนายโจทก์ ไม่สามารถทําการพิจารณาคดีภายในกําหนด 30 วันได้ เพราะติดพิจารณาคดีที่ศาลอื่นซึ่งนัดกันไว้ก่อนแล้ว ดังนั้นโจทก์จะร้องขอต่อศาลเพื่อเลื่อนคดีไปอีกสักนัดหนึ่งเพื่อจะได้ดําเนินกระบวนการ พิจารณาคดีได้ ดังนั้นให้ท่านเป็นทนายความโจทก์ ร่างคําร้องขอเลื่อนคดีเพื่อยื่นพร้อมกันกับคําฟ้องในวันที่ 31 มีนาคม 2560 โดยร่างเฉพาะเนื้อหาและไม่คํานึงถึงแบบพิมพ์ศาล

ธงคําตอบ

คําร้องขอเลื่อนคดี

ข้อ 1. คดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจําเลยต่อศาลในวันนี้

ข้อ 2. เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งกฎหมายกําหนดให้ทําการพิจารณาภายใน กําหนด 30 วัน แต่ทนายโจทก์ไม่สามารถทําการพิจารณาคดีภายในกําหนด 30 วันได้ เพราะติดพิจารณาคดีที่ ศาลอื่น ซึ่งนัดกันไว้ก่อนแล้ว รายละเอียดปรากฏตามเอกสารท้ายคําร้องหมายเลข 1

ด้วยเหตุดังได้ประทานกราบเรียนมาแล้วข้างต้น โจทก์จึงขอเลื่อนคดีไปอีกสักนัดหนึ่ง เพื่อจะได้ดําเนินกระบวนการพิจารณาคดีนี้ได้ ขอศาลได้โปรดอนุญาต

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ………. (ลายมือชื่อนักศึกษา)………… ทนายโจทก์

คําร้องฉบับนี้ ข้าพเจ้า (ชื่อนักศึกษา) ทนายโจทก์เป็นผู้เรียงและพิมพ์

ลงชื่อ……… (ลายมือชื่อนักศึกษา)………. ผู้เรียงและพิมพ์

 

ข้อ 3. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลาประมาณ 22.00 นาฬิกา นายยุทธภูมิซึ่งไม่พอใจที่เห็นนางสาวต้นหอมคนรักของตนไปคุยกับนายโป๊ยเซียน กนกวิเชียร ในร้านสะดวกซื้อตั้งอยู่ที่แขวงหลักสี่ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร จึงเข้าไปบอกให้นายโป๊ยเซียนเลิกคุยกับนางสาวต้นหอม แต่นายโป๊ยเซียน บอกว่าให้นายยุทธภูมิไปบอกนางสาวต้นหอมเอาเอง นายยุทธภูมิไม่พอใจ จึงคว้าไม้กระบอง ทุบไปที่รถจักรยานยนต์ ของนายโป๊ยเซียน จนเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย กระจกส่องหลังแตก ไฟหน้ารถพัง แล้วนายยุทธภูมิได้หลบหนีไป นายโป๊ยเซียนจึงไปแจ้งความ ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจนครบาลหลักสอง และเมื่อได้ทราบว่านายยุทธภูมิเป็นบุตร ของนายตํารวจในสถานีตํารวจนครบาลหลักสอง นายโป๊ยเซียนเกรงว่าตนจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงมอบหมายให้นายยุติธรรม ดํารง ทนายความ ยื่นฟ้องนายยุทธภูมิในข้อหาทําให้เสียทรัพย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทําความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษ….

สมมุติว่าท่านเป็นนายยุติธรรม ดํารง ทนายความ เรียงคําฟ้องให้นายโป๊ยเซียนเป็นโจทก์ฟ้อง นายยุทธภูมิในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ต่อไป โดยไม่ต้องคํานึงแบบพิมพ์ของศาลแต่อย่างใด

ธงคําตอบ

หากข้าพเจ้าเป็นนายยุติธรรม ดํารง ทนายความ ข้าพเจ้าจะเรียงคําฟ้องให้นายโป๊ยเซียน เป็นโจทก์ฟ้องนายยุทธภูมิในข้อหาทําให้เสียทรัพย์ ดังนี้

 

คําฟ้องอาญา

ข้อ 1. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยได้กระทําความผิดอาญา กล่าวคือ จําเลยได้ใช้ไม้กระบองทุบรถจักรยานยนต์ของโจทก์ จนเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหาย กระจกส่องหลังแตก ไฟหน้ารถพัง

ข้อ 2. การกระทําของจําเลยดังกล่าวในข้อ 1. เป็นการกระทําโดยเจตนา ทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย

เหตุเกิดที่แขวงหลักสี่ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

คดีนี้ โจทก์ได้นําความไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจนครบาลหลักสอง เพื่อให้ดําเนินคดีกับจําเลยแล้ว แต่โจทก์ได้ทราบว่าจําเลยเป็นบุตรของนายตํารวจในสถานีตํารวจนครบาลหลักสอง โจทก์จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม โจทก์จึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลด้วยตนเอง

Advertisement