การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 4001 กฎหมายเกี่ยวกับภาษีเงินได้

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 นายพรชัย เป็นเจ้าของโรงเรียนนานาชาติตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2557 ได้ว่าจ้างนางเจนนี่ ซึ่งเป็นคนอังกฤษแต่อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนของตนเป็นเวลา 2 ปี โดยได้รับเงินค่าสอนเดือนละ 80,000 บาท นางเจนนี่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 และได้เริ่มสอนหนังสือทันที พอเดือนกันยายน 2557 เป็นเวลาที่โรงเรียนปิดเทอม นางเจนนี่ได้เดินทางกลับไปประเทศ สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2557 โรงเรียนเปิดเทอม นางเจนนี่ได้เดินทางกลับมา ประเทศไทยเพื่อสอนหนังสือตามปกติ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นางเจนนี่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 41 “ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในประเทศไทย หรือเนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ใน ประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายในหรือนอกประเทศ

ผู้อยู่ในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งาน หรือกิจการที่ทําในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศต้องเสียภาษีเงินได้ตามบทบัญญัติในส่วนนี้ เมื่อนําเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย

ผู้ใดอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะ รวมเวลาทั้งหมดถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในปีภาษีใด ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว ในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อเงินได้พึงประเมินนั้น เกิดเนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในประเทศไทย หรือกิจการที่ทําใน ประเทศไทยหรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคแรก)

ส่วนในกรณีที่แหล่งเงินได้เกิดขึ้นนอกประเทศ ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ต่อเมื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจากหน้าที่การงานที่ทําในต่างประเทศหรือ กิจการที่ทําในต่างประเทศหรือทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นําเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษี เดียวกับปีที่อยู่ในประเทศไทย (มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม)

ตามอุทาหรณ์ การที่นายพรชัยซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนนานาชาติที่จังหวัดนครราชสีมา ได้ว่าจ้าง นางเจนนี้ ซึ่งเป็นคนอังกฤษแต่อาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาให้มาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนของตน เป็นเวลา 2 ปี โดยได้รับเงินค่าสอนเดือนละ 80,000 บาท นั้น จะเห็นได้ว่าเงินเดือนที่นางเจนนี้ได้รับถือเป็นเงินได้ พึงประเมินที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานที่ทําในประเทศไทย ดังนั้น นางเจนนี่จะต้องนําเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ (เงินเดือน) จากการเป็นครูสอนภาษาอังกฤษใน ปี 2557 ทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก โดยไม่ต้องพิจารณา ว่านางเจนนี่จะได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน ในปีภาษีหรือไม่

สรุป

นางเจนนี่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรมาตรา 41 วรรคแรก

 

ข้อ 2 บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย โดยประกอบกิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน และได้เปิดสาขา (Branch) จําหน่ายตั๋วในหลาย ๆ ประเทศ บริษัทฯ มีเครื่องบินจํานวน 30 ลํา ปรากฏว่า บริษัทฯ มีรายได้ จากการขายตั๋วเดินทางออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านจํานวน 200 ล้านบาท และรายได้ จากการขายตัวในสาขาต่าง ๆ ที่ต่างประเทศเพื่อเดินทางเข้ามาประเทศไทยจํานวน 100 ล้านบาท จงวินิจฉัยว่า บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) ต้องมีภาระเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรจากรายได้ทั้งหมดดังกล่าวอย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 65 วรรคแรก “เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กําไรสุทธิ ซึ่งคํานวณได้ จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี”

มาตรา 66 วรรคแรก “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํากิจการในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้”

วินิจฉัย

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก ได้บัญญัติให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะต้องเสียภาษีจากกําไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่าย ทั้งนี้โดยไม่คํานึงว่าจะเป็นเงินได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่ได้กระทํา ณ ที่ใดไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ตาม จะต้องนํารายได้เหล่านั้นทั้งหมด มาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้ว่าบริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะประกอบ กิจการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ แต่เมื่อเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงต้องมีหน้า เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 วรรคแรก และมาตรา 66 วรรคแรก คือจะต้องนําราย จากการขายตั๋วในประเทศไทย จํานวน 200 ล้านบาท และในต่างประเทศจํานวน 100 ล้านบาท รวมเป็นเป็น 300 ล้านบาท มาคํานวณกําไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย

สรุป

บริษัท สยามการบินระหว่างประเทศ จํากัด (มหาชน) จะต้องนํารายได้ทั้งหมดจํานวน 300 ล้านบาท มาคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร

 

ข้อ 3 บริษัท มาเลเซียทรานสปอร์ต จํากัด จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศมาเลเซียดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมถึงประเทศไทย ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 นี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขนสินค้าจากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท และรายได้จาก การส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษมาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาท อยากทราบว่าบริษัทฯ จะต้อง นํารายได้ทั้งสองจํานวนนั้นมาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลรัษฎากร

มาตรา 67 “การเสียภาษีตามความในส่วนนี้ ให้เสียตามอัตราที่กําหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษี เงินได้ท้ายหมวดนี้ เว้นแต่ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 66 วรรคสอง กระทํากิจการขนส่ง ผ่านประเทศต่าง ๆ ให้เสียภาษีเฉพาะกิจการขนส่งตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีรับขนคนโดยสาร ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าโดยสารค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บในประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น

(2) ในกรณีรับขนของ ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอกประเทศไทยก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนของออกจากประเทศไทยนั้น”

วินิจฉัย

โดยหลัก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทํา กิจการในที่อื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย และกิจการที่กระทําเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ ในกรณีรับขนคนโดยสาร ต้องเป็นการเรียกเก็บค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดในประเทศไทย ส่วนกรณีรับขนของ ต้องเป็น การขนของออกนอกประเทศเท่านั้นจึงจะมีหน้าที่เสียภาษีตามประมวลรัษฎากร

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่บริษัท มาเลเซียทรานสปอร์ต จํากัด ซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมาย ประเทศมาเลเซียดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศรวมถึงประเทศไทย มีรายได้จากการขนสินค้า จากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชี 2557 นั้น บริษัทฯ จะต้องนํารายได้ จํานวนดังกล่าวมาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2) เพราะเป็นรายได้ ที่เรียกเก็บเนื่องจากการรับขนของออกจากประเทศไทย

ส่วนรายได้จากการส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษ มาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาทนั้น บริษัทฯ ไม่ต้องนํามาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย เพราะมิใช่การขนสินค้าออกไปจากประเทศไทย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 (2)

สรุป บริษัทฯ จะต้องนํารายได้จากการขนสินค้าจากประเทศไทยไปจีน ดูไบ อังกฤษ จํานวน 600 ล้านบาท มาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับประเทศไทย ส่วนรายได้จากการส่งสินค้าจากจีน ดูไบ อังกฤษ มาประเทศไทยจํานวน 800 ล้านบาท บริษัทฯ ไม่ต้องนํามาชําระภาษีเงินได้นิติบุคคล

Advertisement