การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2552

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW3016 กฎหมายปกครอง (สำหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

Advertisement

ข้อ 1. จงอธิบายอย่างละเอียดวากฎหมายปกครองมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญกับการบริหารราชการ แผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 อย่างไร พร้อมยกตัวอย่าง ให้ชัดเจน

ธงคำตอบ

กฎหมายปกครองมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญกับการบริหารราชการแผ่นดินตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังนี้ คือ

กฎหมายปกครอง ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครอง แกหน่วยงานทางปกครอง หรือแกเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ซึ่งอำนาจหน้าที่ในทางปกครองนั้น ได้แก่ อำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะ และ การใช้อำนาจทางปกครอง ในการออกกฎ การออกคำสั่งทางปกครอง รวมทั้งการกระทำในทางปกครองอื่น ๆ เช่น การทำสัญญาทางปกครอง เป็นต้น

สำหรับการบริหารราชการแผ่นดินชองไทยตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1.         ราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น

2.         ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด และอำเภอ

3.         ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหาร- ส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

และการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ส่วนท้องถิ่น ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และการใช้อำนาจ ทางปกครองเพื่อออกกฎ ออกคำสั่งทางปกครอง รวมทั้งการทำสัญญาทางปกครองทั้งสิน เซ่น ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

ซึ่งเป็นกฎหมายปกครองได้บัญญัติให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการ ออกกฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับต่าง ๆ ได้ ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายปกครอง คือ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แกนายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีย่อมไม่มีอำนาจที่จะกระทำการ ดังกล่าวได้เลย

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า กฎหมายปกครองมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญกับการบริหารราชการแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

 

ข้อ2 จงทำตามคำสั่งต่อไบ่นี้

1)         อธิบายกฎหมายปกครองตามที่ท่านเข้าใจ(5 คะแนน)

2)         จงอธิบายหน่วยงานทางปกครอง(5 คะแนน)

3)         จงอธิบายเจ้าหน้าที่(5 คะแนน)

4)         จงอธิบายการใช้อำนาจปกครองหมายถึงอะไร(5 คะแนน)

5)         จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายปกครอง หน่วยงานทางปกครอง การใช้อำนาจปกครอง และศาลปกครอง(5 คะแนน)

ธงคำตอบ

1)         กฎหมายปกครอง ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคำสั่งทางปกครอง หรือการกระทำทางปกครอง อื่น ๆ รวมทั้งการทำสัญญาทางปกครองด้วย

2)         หน่วยงานทางปกครอง ได้แก่

(1)        หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม

(2)        หน่วยงานการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อำเภอ

(3)        หน่วยงานการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

(4)        รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง ธนาคารออมสิน การท่าเรือแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นต้น

(5)        หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง

(6)        หน่วยงานเอกชนที่ใช้อำนาจหรือได้รับให้ใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย ได้แก่ สำนักงานรังวัดเอกชน สถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ สภาทนายความ แพทยสภา เป็นต้น

3)         เจ้าหน้าที่ ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย

4)         การใช้อำนาจทางปกครอง คือการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1)        การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2)        การออกคำสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3)        การกระทำทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญา ทางปกครอง เป็นต้น

5)         กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองแกหน่วยงาน ทางปกครองและแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยหน่วยงานทางปกครองหรือหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องใช้อำนาจทางปกครอง ตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจหน้าที่ไว้ และเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้อำนาจทางปกครองหรือเกิดกรณีพิพาททางปกครองขึ้นมา จะต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลปกครอง เนื่องจากศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีปกครอง

 

ข้อ 3. จงอธิบายหลักการรวมศูนย์อำนาจปกครอง (Centralization) และหลักกระจายศูนย์รวมอำนาจ ปกครองหรือหลักการแบ่งอำนาจปกครอง (Decentralization) ว่ามีลักษณะสำคัญอย่างไร และ ทั้งสองหลักมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ธงคำตอบ

หลักการรวมอำนาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยการมอบอำนาจ ปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง

ซึ่งหลักการรวมอำนาจปกครองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรวมศูนย์อำนาจปกครอง และการกระจาย การรวมศูนย์อำนาจปกครองหรือการแบ่งอำนาจปกครอง

1.การรวมศูนย์อำนาจปกครอง คือ การรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง หรือส่วนกลาง และต้องมีระบบการบังคับบัญชาที่เคร่งครัด มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ

คือ กำลังทหาร และกำลังสำรวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลำดับชั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่

2.การแบ่งอำนาจปกครองหรือการกระจายการรวมศูนย์อำนาจปกครอง เป็นรูปแบบที อ่อนตัวลมา ของการรวมศูนย์อำนาจปกครอง โดยการมอบอำนาจในการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการบางอย่าง ให้แก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจำอยู่ในแต่ละท้องที่ การปกครอง โดยองค์กรหรือเจ้าหน้าที่ เหล่านั้นยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของส่วนกลาง

และหลักการกระจายการรวมศูนย์อำนาจปกครอง มีความสัมพันธ์กับหลักการรวมศูนย์อำนาจ ปกครองในลักษณะของการใช้อำนาจบังคับบัญชา

 

ข้อ 4. ในการประชุมของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ได้มีการพิจารณาความประพฤติของนายแดง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีว่า มีความประพฤติที่นำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี

ซึ่งในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดดังกล่าวอาศัย อำนาจตามกฎหมายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มีมติเอกฉันท์ให้นายแดงสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดออกจากตำแหน่งเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนี้

ให้ท่านวินิจฉัยว่า มติของที่ประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้นายแดงสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากเหตุดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ โดยให้อธิบายองค์ประกอบของคำสั่งทางปกครอง มีอย่างไร

และวินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น คำสั่งทางปกครองหมายความว่า

(1)        การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2)        การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

กรณีที่จะเป็นคำสั่งทางปกครองตาม (1) นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1.         ต้องเป็นคำสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2.         ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย

3.         ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4.         ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5.         ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

วินิจฉัย

มติ ของที่ประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีที่ให้นายแดงสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดออกจากตำแหน่งเนื่องจากมีเหตุว่านายแดงมีความประพฤติที่นำ มาซึ่งความเสื่อมเสียต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น เป็นคำสั่งทางปกครอง เพราะเป็นคำสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่คือคณะกรรมการที่เป็นการใช้ อำนาจตามกฎหมายชององค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีผลกระทบต่อสถานภาพของนายแดง คือทำให้สมาชิกภาพ ของนายแดงสิ้นสุดลง

สรุป มติของที่ประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง

Advertisement