การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3016 กฎหมายปกครอง (สําหรับนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์)

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงนํากฎหมายปกครองและหลักการใช้อํานาจปกครองไปใช้ในการบริหารหน่วยงานทางปกครองหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพื่อให้บรรลุหน้าที่ของหน่วยงานนั้น พร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน

ธงคําตอบ

“กฎหมายปกครอง” ซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกําหนด หรือประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่บัญญัติให้อํานาจหน้าที่ในทางปกครอง แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครอง อื่น ๆ รวมทั้งการทําสัญญาทางปกครองด้วย

“หน่วยงานทางปกครอง” ได้แก่ หน่วยงานการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน่วยงานทางปกครอง รวมทั้งหน่วยงานเอกชนที่ใช้อํานาจ หรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง และมีฐานะเป็นนิติบุคคล

“เจ้าหน้าที่” ได้แก่ บุคคลหรือคณะบุคคลที่ใช้อํานาจหรือได้รับมอบให้ใช้อํานาจทางปกครอง ตามกฎหมาย รวมถึงคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้นและมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายด้วย เช่น ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมถึงคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายด้วย

“การใช้อํานาจทางปกครอง” คือการใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ได้แก่

(1) การออกกฎ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง เป็นต้น

(2) การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น การสั่งการ การอนุญาต การรับจดทะเบียน เป็นต้น

(3) การกระทําทางปกครองอื่น ๆ เช่น การปฏิบัติการทางปกครอง หรือสัญญาทางปกครองเป็นต้น

“หลักการใช้อํานาจปกครอง” ตามกฎหมายปกครอง ได้แก่

1 หลักความชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า เจ้าหน้าที่จะใช้อํานาจปกครองได้ก็ต่อเมื่อ มีกฎหมายบัญญัติให้อํานาจไว้ด้วย เพราะถ้าเป็นการใช้อํานาจโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นการใช้อํานาจ นอกเหนือจากที่กฎหมายให้อํานาจไว้ ก็จะเป็นการใช้อํานาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

2 หลักความสุจริต หมายความว่า การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทําด้วย ความเหมาะสมและตามสมควร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ และจะต้องกระทําต่อบุคคลทุกคน โดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน

3 หลักประโยชน์สาธารณะ หมายความว่า การใช้อํานาจของเจ้าหน้าที่นั้น จะต้องกระทํา เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม มิใช่กระทําเพื่อประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

กฎหมายปกครองและหลักการใช้อํานาจปกครองตามกฎหมายปกครองนั้น ถือว่ามีความสําคัญ ต่อหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าหน่วยงานทางปกครองนั้นจะเป็นหน่วยงานใด ตัวอย่างเช่น

“เทศบาล” เป็นหน่วยงานทางปกครองในรูปแบบของหน่วยราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และมีสภาพเป็นนิติบุคคล ส่วนเจ้าหน้าที่ของเทศบาล เช่น นายกเทศมนตรี ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งเทศบาล และเจ้าหน้าที่ของเทศบาล จะมีอํานาจและหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาล ตามที่ พ.ร.บ. เทศบาล ซึ่งเป็น กฎหมายปกครองได้บัญญัติไว้ เช่น มีหน้าที่จัดให้มีและบํารุงทางบกและทางน้ำ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน มีหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเพื่อบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวมในเขตเทศบาลนั้น

ซึ่งในการบริหารงานของเทศบาลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น เทศบาลและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจําเป็นต้องมีการใช้อํานาจทางปกครองไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง รวมทั้งการกระทํา ทางปกครองในรูปแบบอื่น และการทําสัญญาทางปกครองด้วย ดังตัวอย่าง เช่น

1 เทศบาลได้ออกเทศบัญญัติซึ่งเป็นกฎ ห้ามประชาชนในเขตเทศบาลเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก ในขณะที่กําลังมีโรคไข้หวัดนกระบาด เพื่อเป็นการป้องกันและระงับโรคติดต่อ เป็นต้น

2 การออกคําสั่งทางปกครอง เช่น นายกเทศมนตรี ได้มีคําสั่งให้นายดํา รองนายกเทศมนตรี พ้นจากตําแหน่งเพราะนายดําได้กระทําการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นต้น

3 การกระทําทางปกครองในรูปแบบอื่น เช่น การที่เจ้าหน้าที่ของเทศบาลได้ทําความ สะอาดถนนหรือทางระบายน้ำ เป็นต้น

4 การทําสัญญาทางปกครอง เช่น การที่เทศบาลได้ทําสัญญาจ้างบริษัทเอกชนทําถนน หรือท่าเทียบเรือ เป็นต้น

ซึ่งกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในการใช้อํานาจทางปกครองต่าง ๆ ของเทศบาลนั้น จะต้องมี กฎหมายปกครองซึ่งก็คือ พ.ร.บ. เทศบาลได้บัญญัติให้อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วเทศบาลและ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลก็มิอาจที่จะกระทําการดังกล่าวได้เลย และในการใช้อํานาจปกครองดังกล่าวนั้น ก็จะต้อง เป็นการใช้อํานาจปกครองตามหลักของกฎหมายปกครองด้วย ได้แก่ หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความ สุจริต และหลักประโยชน์สาธารณะ เป็นต้น

และนอกจากนั้น การใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าวของเทศบาล ก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปกครองอื่น ๆ ได้กําหนดไว้ด้วย เช่น การออกคําสั่งทางปกครองก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กําหนดไว้ เป็นต้น ถ้าการออกกฎหรือออกคําสั่งทางปกครองของเทศบาล ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายได้กําหนดไว้ ก็จะถือว่าเป็นการออกกฎหรือคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบ และ จะก่อให้เกิดข้อพิพาททางปกครองหรือที่เรียกว่าคดีปกครองขึ้นได้ และเมื่อเกิดข้อพิพาททางปกครองขึ้นมาแล้ว ก็จะต้องนําข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครองนั้นไปฟ้องยังศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

 

ข้อ 2. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองหมายถึงอะไร และมีความสําคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดินของไทยอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

“วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดําเนินการของ เจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครอง หรือกฎและรวมถึงการดําเนินการใด ๆ ในทางปกครองตามพระราชบัญญัตินี้ (พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5)

จากความหมายของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การดําเนินการของ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องดําเนินการตามวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนั้น จะต้องเป็นกรณีการเตรียมการและ การดําเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคําสั่งทางปกครองหรือกฎ

ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

(2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใด เป็นการเฉพาะ

การบริหารราชการแผ่นดินของไทยตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1 ราชการบริหารส่วนกลาง หมายความถึง ราชการที่ฝ่ายปกครองจัดทําเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมของประชาชนทั่วทั้งอาณาเขตของประเทศ เช่น การรักษาความสงบภายใน การป้องกันประเทศ การคมนาคม การคลัง เป็นต้น

องค์การที่จัดทําราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลาง และมีอํานาจหน้าที่จัดทําราชการในอํานาจหน้าที่ของตนตลอดทั้งประเทศ

2 ราชการบริหารส่วนภูมิภาค หมายความถึง ราชการของกระทรวง ทบวง กรม อันเป็น องค์กรของราชการบริหารส่วนกลางที่ได้แบ่งแยกออกไปจัดทําตามเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศ เพื่อสนอง ความต้องการส่วนรวมของประชาชนในเขตการปกครองนั้น ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางซึ่ง สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ออกไปประจําตามเขตการปกครองนั้น ๆ เพื่อบริหารราชการภายใต้การ บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งราชการบริหารส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด และ อําเภอ รวมตลอดถึงตําบลและหมู่บ้าน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าในส่วนภูมิภาค

3 ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หมายความถึง ราชการบางอย่างที่รัฐมอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทําเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเฉพาะในเขตท้องถิ่นนั้นโดยมีเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นเอง ซึ่งตามหลักไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ในการบริหารราชการแผ่นดินของไทยทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วน ภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ส่วนรวม และการใช้อํานาจทางปกครองในการออกกฎ ออกคําสั่งทางปกครอง หรือการกระทําทางปกครองใน รูปแบบอื่น ๆ และหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่จะดําเนินการต่าง ๆ ได้ ก็จะต้องมีกฎหมายได้บัญญัติให้ อํานาจและหน้าที่ไว้ด้วย ซึ่งกฎหมายดังกล่าวคือกฎหมายปกครองนั่นเอง เช่น พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินฯ พ.ร.บ. เทศบาลฯ เป็นต้น

ซึ่งการดําเนินการใช้อํานาจทางปกครองดังกล่าว โดยเฉพาะที่สําคัญคือการใช้อํานาจทาง ปกครองของเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะออกคําสั่งทางปกครองนั้น ถ้าจะให้คําสั่งทางปกครองที่ออกมานั้นเป็นคําสั่งทาง ปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องดําเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้กําหนดไว้ เช่น ตามมาตรา 13 ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่ตนมีอํานาจพิจารณาทางปกครอง จะทําการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ หรือ ตามมาตรา 30 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และให้คู่กรณีได้มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน เป็นต้น

และนอกจากนั้น ในการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เจ้าหน้าที่จะต้องใช้อํานาจดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายปกครองด้วย เช่น หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักประโยชน์สาธารณะ หลักความซื่อสัตย์สุจริต และหลักความเป็นธรรม เป็นต้น

ถ้าการใช้อํานาจทางปกครองของเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายปกครองได้บัญญัติไว้ หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หรือไม่เป็นไปตามหลักการของ กฎหมายปกครอง ย่อมถือว่าเป็นการใช้อํานาจทางปกครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายและจะทําให้เกิดข้อพิพาท ทางปกครองขึ้นมาได้

 

ข้อ 3. หลักที่ใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการของจังหวัดและอําเภอได้แก่หลักใด มีสาระสําคัญอย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (การจัดตั้งองค์กรทางปกครองหรือการจัดส่วนราชการ) ของไทยนั้น จะใช้หลักการที่สําคัญอยู่ 2 หลัก คือ หลักการรวมอํานาจปกครองและหลักการกระจายอํานาจปกครอง

หลักการรวมอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยการมอบอํานาจ ปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง และมีเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ใช้อํานาจปกครอง ซึ่งหลักการรวมอํานาจปกครองนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การรวมศูนย์อํานาจปกครอง และการกระจาย การรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือการแบ่งอํานาจปกครอง

1 การรวมศูนย์อํานาจปกครอง คือ การรวมอํานาจวินิจฉัยสั่งการทั้งหมดไว้ที่ศูนย์กลาง หรือส่วนกลาง และต้องมีระบบการบังคับบัญชาที่เคร่งครัด มีการรวมกําลังในการบังคับต่าง ๆ คือ กําลังทหาร และกําลังตํารวจให้ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง และมีลําดับชั้นการบังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ออก

2 การแบ่งอํานาจปกครองหรือการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครอง เป็นรูปแบบ ที่อ่อนตัวลงมาของการรวมศูนย์อํานาจปกครอง โดยการมอบอํานาจในการตัดสินใจหรือการวินิจฉัยสั่งการบางอย่าง ให้แก่องค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจําอยู่ในแต่ละท้องที่การปกครอง โดยองค์กรหรือ เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ในระบบบังคับบัญชาของส่วนกลาง

ประเทศไทยได้นําหลักการรวมอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยการนําหลักการรวมศูนย์อํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง โดยการแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น และนําหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองหรือหลักการแบ่งอํานาจ ปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง เป็นหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ โดยส่วนกลาง จะมอบอํานาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่น ซึ่งไม่ใช่องค์กรของส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค เช่น การมอบอํานาจ ปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทําบริการสาธารณะด้วยตนเอง โดยมีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ ในความบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกํากับดูแล

ประเทศไทยได้นําหลักการกระจายอํานาจปกครองมาใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการ ส่วนท้องถิ่น โดยจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล เมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร

ดังนั้น หลักที่ใช้ในการจัดระเบียบบริหารราชการของจังหวัดและอําเภอ จึงได้แก่หลักการ แบ่งอํานาจปกครอง หรือหลักการกระจายการรวมศูนย์อํานาจปกครองนั่นเอง โดยหลักการดังกล่าวจะมีสาระสําคัญ ดังนี้คือ

1 ต้องมีราชการบริหารส่วนกลาง เพราะราชการบริหารส่วนกลางเป็นเจ้าของอํานาจ และจะเป็นผู้จัดแบ่งอํานาจของตนไปให้แก่ส่วนภูมิภาค

2 ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของส่วนกลาง โดยส่วนกลางจะเป็นผู้แต่งตั้งและจัดส่ง เจ้าหน้าที่เหล่านั้นไปประจําอยู่ตามเขตการปกครองในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่น ไปประจําอยู่ตามจังหวัด และอําเภอต่าง ๆ เป็นต้น และเจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังคงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของส่วนกลาง

3 ส่วนกลางจะแบ่งอํานาจให้แก่เจ้าหน้าที่ซึ่งไปประจําอยู่ในส่วนภูมิภาคเพื่อไป ดําเนินการเฉพาะบางเรื่องหรือบางขั้นตอนในขอบเขตที่ส่วนกลางกําหนด ซึ่งจะแบ่งอํานาจให้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับส่วนกลางโดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสําคัญ

 

ข้อ 4. เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2560 คณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค อาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ได้มีมติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคอนุมัติให้ การประปาส่วนภูมิภาคลงนามทําสัญญากับบริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทของเอกชนโดยมีวัตถุประสงค์ของสัญญาเพื่อผลิตน้ำประปาจําหน่ายให้กับการประปาส่วนภูมิภาค ให้ท่านวินิจฉัย ดังนี้

1 มติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคดังกล่าว เป็นคําสั่งทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด

2 สัญญาที่บริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด กับการประปาส่วนภูมิภาค เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า “การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล ในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลไม่ว่า จะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการ รับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้ให้คํานิยามของ “สัญญาทางปกครอง” ไว้ในมาตรา 3 คือ

“สัญญาทางปกครอง หมายความรวมถึง สัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งกระทําการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทานสัญญาที่ให้จัดทํา บริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภคหรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ”

จากหลักกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กรณีที่จะเป็นสัญญาทางปกครองตามที่กําหนดไว้ใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ

1 เป็นสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลผู้ซึ่งกระทําการแทนรัฐ

2 สัญญานั้นต้องเป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญาในลักษณะของสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ หรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือเป็นสัญญาแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

กรณีตามปัญหา แยกวินิจฉัยได้ดังนี้คือ

1 การที่คณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค ได้อาศัยอํานาจตาม พ.ร.บ. การประปา ภูมิภาคฯ ได้ออกมติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคอนุมัติให้การประปาส่วนภูมิภาคลงนามทําสัญญา กับบริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทของเอกชนโดยมีวัตถุประสงค์ของสัญญาเพื่อผลิตน้ำประปา จําหน่ายให้กับการประปาส่วนภูมิภาคนั้น มติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคดังกล่าวย่อมเป็นคําสั่ง ทางปกครองตามบทนิยามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพราะเป็นการใช้ อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล คือระหว่างการประปา ส่วนภูมิภาคกับบริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด โดยการอนุมัติให้บริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด มีสิทธิและ หน้าที่ในการผลิตและจําหน่ายน้ำประปาให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค

2 สัญญาที่บริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด ได้ทํากับการประปาส่วนภูมิภาคนั้น ถือว่า เป็นสัญญาทางปกครองตามบทนิยามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เพราะเป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง และเป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสัญญา ที่มีลักษณะเป็นสัญญาที่ให้จัดทําบริการสาธารณะ

สรุป

1 มติของคณะกรรมการการประปาส่วนภูมิภาคดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครอง

2 สัญญาระหว่างบริษัทน้ำประปาเมืองไทย จํากัด กับการประปาส่วนภูมิภาคเป็นสัญญาทางปกครอง

Advertisement