การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. การกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึงอะไร มีขอบเขตในการกระจายอํานาจ ปกครองอย่างไร และมีความแตกต่างกับการกระจายอํานาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐอย่างไร ขอให้อธิบายมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

หลักการกระจายอํานาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง วิธีการที่รัฐมอบอํานาจ ปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรทางการปกครองอื่นนอกจากองค์กรของราชการบริหารส่วนกลาง เพื่อจัดทําบริการ สาธารณะบางอย่าง โดยมีอิสระตามสมควร ซึ่งองค์กรทางการปกครองนั้นไม่ต้องขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของ ส่วนกลาง เพียงแต่ขึ้นอยู่ในความกํากับดูแลเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ รัฐมอบอํานาจหน้าที่บางอย่างในการ จัดทําบริการสาธารณะซึ่งเจ้าหน้าที่ของราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ดําเนินงานอยู่ในท้องถิ่นให้กับท้องถิ่นหรือ องค์กรอันมิได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรในราชการบริหารส่วนกลางรับไปดําเนินการด้วยงบประมาณ และ เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นหรือองค์กรนั้นเอง โดยราชการบริหารส่วนกลางเพียงแต่ควบคุมดูเลเท่านั้น ไม่ได้เข้าไป บังคับบัญชาสั่งการ

ความแตกต่างระหว่างการกระจายอํานาจปกครองกับการกระจายอํานาจทางการเมือง แบบสหพันธรัฐ

1 การกระจายอํานาจปกครองให้แก่ท้องถิ่น เป็นเพียงการมอบอํานาจปกครองบางอย่าง อันเป็นส่วนหนึ่งของอํานาจบริหารให้แก่ท้องถิ่นเท่านั้น มิได้มีการมอบอํานาจนิติบัญญัติหรืออํานาจตุลาการให้ ไปด้วยเหมือนกับการกระจายอํานาจทางการเมืองแบบสหพันธรัฐ

2 การกระจายอํานาจปกครองนั้นย่อมทําได้ทั้งในรัฐเดี่ยว หรือสหพันธรัฐก็ได้ แต่การ กระจายอํานาจทางการเมืองนั้นจะทําได้แต่เฉพาะในรัฐรวมแบบสหพันธรัฐเท่านั้น

3 ในการกระจายอํานาจปกครอง รัฐอาจจะจํากัดหรือถอนคืนได้โดยอาศัยอํานาจ กฎหมายธรรมดาของรัฐ แต่การจํากัดหรือถอนคืนการกระจายอํานาจทางการเมืองจะทําได้ก็แต่โดยการแก้ไข รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเท่านั้น

 

 

ข้อ 2. นายขาวเป็นเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีคําสั่งเป็นหนังสือลงวันที่ 3 มีนาคม 2557 เพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นายเขียวผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยมีเจ้าหน้าที่ ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปส่งหนังสือแจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่นายเขียว ณ ภูมิลําเนาในวันที่ 6 มีนาคม 2557 แล้ว แต่นายเขียวไม่ยอมรับ จึงได้วางหนังสือคําสั่งนั้นต่อหน้า นายเขียวและต่อหน้าเจ้าหน้าที่พนักงานที่ไปเป็นพยาน ดังนี้ ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า การแจ้งคําสั่ง ดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และคําสั่งของนายขาวจะมีผลบังคับต่อนายเขียว ได้เมื่อใด เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 42 วรรคแรก “คําสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้ง เป็นต้นไป…”

มาตรา 70 “การแจ้งเป็นหนังสือโดยวิธีให้บุคคลนําไปส่ง ถ้าผู้รับไม่ยอมรับหรือถ้าขณะนําไปส่ง ไม่พบผู้รับ หากได้ส่งให้กับบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่หรือทํางานในสถานที่นั้น หรือในกรณีที่ผู้นั้นไม่ยอมรับ หากได้วางหนังสือนั้นหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานที่นั้นต่อหน้าเจ้าพนักงานตามที่กําหนดใน กฎกระทรวงที่ไปเป็นพยาน ก็ให้ถือว่าได้รับแจ้งแล้ว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแจ้งคําสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่โดยวิธีให้บุคคล นําไปส่งและผู้รับไม่ยอมรับ ดังนี้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 70 แล้ว ก็ให้ถือว่าการแจ้งคําสั่ง ทางปกครองนั้นชอบด้วยกฎหมาย และให้ถือว่าผู้รับคําสั่งนั้นได้รับแจ้งแล้ว

ตามอุทาหรณ์ การที่นายขาวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือเพิกถอนสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่นายเขียวผู้ได้รับส่งเสริมการลงทุนนั้น คําสั่งดังกล่าวของนายขาว ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ของสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ไป ส่งหนังสือแจ้งคําสั่งดังกล่าวแก่นายเขียว ณ ภูมิลําเนาของนายเขียวในวันที่ 6 มีนาคม 2557 แต่นายเขียวไม่ยอมรับ เจ้าหน้าที่จึงได้วางหนังสือคําสั่งนั้นต่อหน้านายเขียวและต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ไปเป็นพยาน ดังนี้จะเห็นได้ว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 70 แล้ว ดังนั้น จึงถือว่าการแจ้งคําสั่งทางปกครองดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ ชอบด้วยกฎหมาย และให้ถือว่านายเขียวได้รับแจ้งคําสั่งนั้นแล้ว และเมื่อถือว่านายเขียวได้รับแจ้งคําสั่งนั้น ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 ดังนั้น คําสั่งของนายขาวจึงมีผลบังคับต่อนายเขียวตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป (ตามมาตรา 42 วรรคแรก)

สรุป

การแจ้งคําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย และคําสั่งของนายขาวจะมีผลบังคับ ต่อนายเขียวได้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2557 เป็นต้นไป

 

 

ข้อ 3. นายแดงเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มีคําสั่งไม่อนุมัติให้นายดําซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดเบิกค่าเช่าบ้านโดยอาศัยอํานาจตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 นายดําเห็นว่าคําสั่งของนายแดงไม่ชอบด้วยกฎหมายและอีกทั้งไม่เป็นธรรมต่อตน จึงประสงค์จะ หาทางแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายของตน แต่เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งเอาไว้โดยเฉพาะ นายดําจึงยื่นฟ้องเป็นคดีต่อ ศาลปกครองโดยตรงทันที ขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งดังกล่าว ทั้งนี้ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า ศาลปกครองจะรับฟ้องคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใดขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมาย ประกอบ

 

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มี ผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 44 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดย รัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง ทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใด…” เพราะ

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการ ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลา อันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มี การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1)

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง ได้มีคําสั่ง ไม่อนุมัติให้นายดําซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดเบิกค่าเช่าบ้าน โดยอาศัยอํานาจตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 นั้น คําสั่งของนายแดงดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองตามนัยของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ซึ่งโดยหลักแล้ว เมื่อนายดําเห็นว่าคําสั่งของนายแดงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายดําย่อม สามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งนั้นได้ตามมาตรา 9 วรรคแรก (1) ประกอบ มาตรา 72 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ

แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายดําจะนําคดีดังกล่าวฟ้องต่อศาลปกครองนั้น นายดําจะต้องอุทธรณ์ คําสั่งนั้นก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และแม้ว่าตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ พ.ศ. 2527 จะไม่ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คําสั่งไว้โดยเฉพาะก็ตาม แต่นายดําก็ต้องอุทธรณ์คําสั่งนั้น ก่อนตามหลักเกณฑ์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดํามิได้มีการอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนั้นเสียก่อนที่จะฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครอง ดังนั้น ศาลปกครองย่อมไม่อาจรับคดีพิพาทเกี่ยวกับการไม่อนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านดังกล่าวไว้พิจารณาได้

สรุป ศาลปกครองจะรับฟ้องคดีดังกล่าวไว้พิจารณาไม่ได้ เพราะนายดําไม่ได้มีการอุทธรณ์ คําสั่งนั้นเสียก่อนที่จะฟ้องคดี

 

 

ข้อ 4. นายเหลืองเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง ทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายเหลืองทําให้คนไข้ตาบอด ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจะต้อง ดําเนินการทางวินัยตลอดจนลงโทษนายเหลืองอย่างไร ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 83 “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่กระทําการใดอันเป็นข้อห้าม ดังต่อไปนี้

(4) ต้องไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ”

มาตรา 85 “การกระทําผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง

(7) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง”

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเหลืองซึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐได้ทําการผ่าตัดต้อกระจกให้คนไข้ แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของนายเหลืองทําให้คนไข้ตาบอดนั้น ถือว่าเป็นการกระทําผิดวินัยในลักษณะ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการกระทําที่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่โรงพยาบาลของรัฐ ทําให้โรงพยาบาลเสียชื่อเสียงและต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่คนไข้ตามมาตรา 83 (4) ประกอบมาตรา 85 (7) ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจึงต้องดําเนินการทางวินัยกับนายเหลืองฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้ลงโทษ ปลดออกหรือไล่ออกแล้วแต่กรณี โดยให้นําเหตุอันควรลดหย่อนมาประกอบการพิจารณาลดโทษได้ แต่ห้ามมิให้ ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก (ตามมาตรา 97)

สรุป

ผู้บังคับบัญชาของนายเหลืองจะต้องดําเนินการทางวินัยฐานกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง กับนายเหลือง และให้ลงโทษนายเหลืองโดยการปลดออกหรือไล่ออกแล้วแต่กรณี

Advertisement