การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. การจัดองค์กรของรัฐโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางบริการ คืออะไร นิติบุคคลที่จัดตั้งมีรูปแบบใดบ้าง จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

การจัดองค์กรของรัฐทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางปกครองจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การกระจายอํานาจทางเขตแดนหรือทางพื้นที่ กับการกระจายอํานาจทางบริการหรือทางเทคนิค

สําหรับ “การกระจายอํานาจทางบริการ” หรือทางเทคนิค คือการที่รัฐมอบบริการสาธารณะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น เรื่องของการไฟฟ้า การประปา การโทรศัพท์ เป็นต้น หรือบริการสาธารณะเฉพาะด้าน ได้แก่ บริการสาธารณะทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็น บริการสาธารณะที่เป็นการให้บริการโดยไม่มีการมุ่งเน้นหากําไร เช่น เรื่องของกีฬา การศึกษาวิจัย หรือการแสดง นาฏศิลป์ เป็นต้น ให้แก่องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น ซึ่งมิได้อยู่ในระบบราชการเป็นผู้จัดทําและ ดําเนินการแทนรัฐ โดยให้องค์กรเหล่านั้นมีอิสระในการดําเนินงานได้เอง รัฐเพียงแต่กํากับดูแลการดําเนินงาน ขององค์กรนิติบุคคลนั้น

องค์กรที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทําและดําเนินการบริการสาธารณะแทนรัฐดังกล่าว ได้แก่ องค์กร นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นในรูปของ “รัฐวิสาหกิจ” หรือ “องค์การมหาชน” นั่นเอง ซึ่งจะกําหนดขึ้นในรูปแบบ ใดนั้นขึ้นอยู่กับกิจการ วัตถุประสงค์และการบริหารงาน โดย

1 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะทางอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม องค์กรนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปของรัฐวิสาหกิจ

2 ถ้าเป็นการกระจายอํานาจให้จัดทําบริการสาธารณะเฉพาะด้าน (บริการสาธารณะ ทางสังคมและวัฒนธรรม) นิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นควรเป็นในรูปขององค์การมหาชน

 

 

ข้อ 2. นิติกรรมทางปกครอง คืออะไร มีลักษณะอย่างไรบ้าง จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“นิติกรรมทางปกครอง” หมายถึง การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กรเอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ แทน และในนามขององค์กรดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคล คณะหนึ่งว่าตนประสงค์จะให้เกิดผลทางกฎหมายเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างองค์กรดังกล่าวกับบุคคลนั้น หรือคณะบุคคลนั้น โดยที่บุคคลนั้นหรือคณะบุคคลนั้นไม่จําเป็นต้องให้ความยินยอม

“นิติกรรมทางปกครอง” จะต้องประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญ 4 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1 จะต้องเป็นการกระทําโดยองค์กรของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กร เอกชนที่กระทําโดยอาศัยอํานาจตามพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่นที่มีค่าบังคับดังเช่นพระราชบัญญัติแทน และ ในนามขององค์กรดังกล่าวเพื่อแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่ง

2 การแสดงเจตนาให้ปรากฏต่อบุคคลคนหนึ่งหรือคณะบุคคลคณะหนึ่งโดยองค์กรดังกล่าว จะต้องเป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น

3 ผลทางกฎหมายที่องค์กรดังกล่าวประสงค์จะให้เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของตนนั้น คือการสร้างความสัมพันธ์ทางกฎหมายหรือนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งมีอํานาจหรือมีสิทธิ เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง กระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล จึงย่อมมีผลเป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ที่เป็นคู่กรณีในนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น

4 นิติสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องเป็นนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยเจตนาที่แสดงออกมาขององค์กร ของรัฐฝ่ายปกครอง องค์กรอื่นของรัฐ หรือองค์กรเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็น คู่กรณีในนิติสัมพันธ์ดังกล่าวไม่จําต้องให้ความยินยอมแต่อย่างใด

นิติกรรมทางปกครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ กฎ และคําสั่งทางปกครอง 1. นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “กฎ”

คําว่า “กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ ท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

นิติกรรมทางปกครองที่เป็น “คําสั่งทางปกครอง” คําว่า “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้น ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฏ

2) การอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง

 

 

ข้อ 3. (ก) อธิบดีกรมที่ดินโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 61 ประมวลกฎหมายที่ดินบัญญัติให้อธิบดีกรมที่ดินมีอํานาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ การ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วย กฎหมาย. อธิบดีกรมที่ดินจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นทําการสอบสวนและกําหนดให้มีอํานาจ ออกคําสั่งทางปกครองในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะ และมีคําสั่งเพิกถอนรายการจดทะเบียน ที่ดิน ขอให้ท่านวินิจฉัยว่า ความเห็นและมติของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวเป็นคําสั่ง ทางปกครองหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) หลักกฎหมาย

ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “คําสั่งทางปกครอง” หมายความว่า

(1) การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และ การรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

วินิจฉัย

กรณีที่จะเป็นคําสั่งทางปกครองโดยนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทาง ปกครอง พ.ศ. 2539 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ คือ

1 ต้องเป็นคําสั่งที่ออกโดยเจ้าหน้าที่

2 ต้องมีลักษณะเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย

3 ต้องมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล

4 ต้องก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณีหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง

5 ต้องมีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง

กรณีตามอุทาหรณ์ คณะกรรมการสอบสวนที่อธิบดีแต่งตั้งขึ้นมานั้น กฎหมายไม่ได้ให้อํานาจ ในการออกคําสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทําประโยชน์ หรือคําสั่งเพิกถอน รายการจดทะเบียนที่ดินไว้เป็นการเฉพาะแต่ประการใด ดังนั้น ความเห็นและมติของคณะกรรมการสอบสวน จึงถือว่าเป็นเพียงการดําเนินการพิจารณาภายในของฝ่ายปกครองเพื่อเสนอต่ออธิบดีกรมที่ดินพิจารณาออก คําสั่งทางปกครอง ซึ่งจะพิจารณาเป็นประการใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับดุลพินิจของอธิบดีเอง อีกทั้งความเห็นและมติ ของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวก็ยังไม่มีผลโดยตรงไปสู่ภายนอกฝ่ายปกครอง ดังนั้น ความเห็นและมติของ คณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวจึงมิใช่คําสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539

สรุป

ความเห็นและมติของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง

(ข) นายแดงเป็นข้าราชการพลเรือนได้ขับรถโดยประมาทเฉียวชนบุคคลเสียชีวิต ศาลจึงมีคําพิพากษาให้จําคุก 5 ปี หากท่านเป็นผู้บังคับบัญชาจะดําเนินการตามกฎหมายกับนายแดงอย่างไร และ หากนายแดงภายหลังพ้นโทษแล้วจะกลับเข้ามารับราชการอีกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลากฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

(ข) หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 36 “ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มี ลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

ข. ลักษณะต้องห้าม

(7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกเพราะกระทําความผิด ทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ”

มาตรา 110 “ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการ พลเรือนสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(8) เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาลซึ่งยังไม่ถึงกับ จะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายแดงซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนได้ขับรถโดยประมาทเฉียวชน บุคคลอื่นจนเสียชีวิต และถูกศาลพิพากษาให้จําคุก 5 ปีนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนายแดงข้าพเจ้าจะ สั่งให้นายแดงออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญตามมาตรา 110 (8)

และในกรณีที่นายแดงพ้นโทษแล้ว หากนายแดงประสงค์จะกลับเข้ารับราชการอีกนั้น นายแดงย่อมสามารถทําได้ เพราะการที่นายแดงได้รับโทษจําคุกนั้นเป็นเพราะนายแดงได้กระทําความผิดอาญา ซึ่งเป็นการกระทําโดยประมาท กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 36 ข. (7)

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นผู้บังคับบัญชาของนายแดงจะมีคําสั่งให้นายแดงออกจากราชการ และ หากภายหลังเมื่อนายแดงพ้นโทษแล้ว นายแดงสามารถกลับเข้ามารับราชการอีกได้

 

 

ข้อ 4. นายอําเภอได้มีคําสั่งให้นายเอกนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคลองสูงและนายโทนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคลองต่ำ พ้นจากตําแหน่งเนื่องจากเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตเพราะนายเอก ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่งได้กระทําการทุจริตในการสอบ โดยให้บุคคลอื่นเข้าสอบแทนซึ่งมหาวิทยาลัยฯ ได้ลงโทษวินัยนักศึกษาแก่นายเอก ส่วนนายโท ในระหว่างดํารงตําแหน่งไม่เคยเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตแต่อย่างใด แต่นายอําเภอเห็นว่า ก่อนหน้านี้ห้าปีก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้ดํารงตําแหน่งนายก อบต. คลองต่ำ เคยถูกคําสั่งให้พ้น จากการเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลฯ มาก่อน เนื่องจากเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต เพราะได้ปลอมลายมือชื่อบุคคลอื่นอันเป็นการละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วย อํานาจหน้าที่ ดังนั้นให้ท่านวินิจฉัยว่าคําสั่งของนายอําเภอซึ่งให้นายเอกและนายโทพ้นจากตําแหน่งฯ ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด และหากนายเอกและนายโทเห็นว่าคําสั่งฯ ของนายอําเภอไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงประสงค์ที่จะ อุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนี้ต่อผู้ออกคําสั่ง นายเอกและนายโทจะต้องดําเนินการในกรณีนี้อย่างไร ให้ตอบโดยยกหลักกฎหมายประกอบคําตอบโดยชัดแจ้ง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. สภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537

มาตรา 58/1 “บุคคลผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตําบล ต้องมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และ ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ด้วย

(3) ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต” มาตรา 64 “นายกองค์การบริหารส่วนตําบลพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 58/1

เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตําบลสิ้นสุดลงตาม (4) หรือ (5) ให้นายอําเภอสอบสวนและวินิจฉัยโดยเร็ว คําวินิจฉัยของนายอําเภอให้เป็นที่สุด”

วินิจฉัย

คําว่า “พฤติกรรมในทางทุจริต” ตามมาตรา 58/1 (3) นั้น หมายถึง การกระทําใด ๆ ที่เป็น การแสวงหาประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือที่มิใช่ทรัพย์สินที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองหรือ ผู้อื่น และคําว่า “โดยทุจริต” นั้น ถือเอาทั้งประโยชน์ที่มิควรได้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือประโยชน์ ที่มิใช่ทรัพย์สินก็ได้

และคําว่า “เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต” นั้น มิได้หมายความถึงเฉพาะการมีพฤติกรรม ในทางทุจริตที่เกิดขึ้นในขณะที่ดํารงตําแหน่งเท่านั้น แต่ให้หมายความรวมถึงการมีพฤติกรรมในทางทุจริตที่ เกิดขึ้นก่อนและในขณะสมัครรับเลือกตั้ง รวมทั้งก่อนและในขณะดํารงตําแหน่งด้วย

ดังนั้น กรณีตามอทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 คําสั่งของนายอําเภอซึ่งให้นายเอกและนายโทพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การ บริหารส่วนตําบล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

1 กรณีของนายเอก การที่นายเอกได้กระทําการทุจริตในการสอบโดยให้บุคคลอื่นเข้า สอบแทน ทําให้ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ลงโทษวินัยนักศึกษาแก่นายเอกนั้น การกระทําของนายเอกถือว่าเป็นการ แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสําหรับตนเองอันถือว่า “เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต” ตามนัย ของมาตรา 58/1 (3) แล้ว ดังนั้น การที่นายอําเภอมีคําสั่งให้นายเอกพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบล คลองสูง คําสั่งของนายอําเภอจึงชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง

2 กรณีของนายโท แม้ในระหว่างดํารงตําแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตําบลคลองต่ำ นายโทไม่เคยเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตแต่อย่างใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนหน้านี้ 5 ปีก่อนที่นายโท จะได้รับเลือกตั้งให้ดํารงตําแหน่งนายก อบต. คลองต่ำนั้น นายโทเคยถูกคําสั่งให้พ้นจากการเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลฯ มาก่อน เนื่องจากเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต ดังนั้นแม้จะปรากฏว่านายโทเป็น ผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตก่อนที่จะดํารงตําแหน่งนายก อบต. คลองต่ำ ก็ถือว่านายโทเป็นผู้มีพฤติกรรมในทาง ทุจริตตามนัยของมาตรา 58/1 (3) แล้ว นายอําเภอย่อมมีอํานาจออกคําสั่งให้นายโทพ้นจากตําแหน่งนายก องค์การบริหารส่วนตําบลคลองต่ำได้ตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสอง ดังนั้น คําสั่งของนายอําเภอกรณีนี้ จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน

ประเด็นที่ 2 นายเอกและนายโทจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวได้หรือไม่

ตามมาตรา 64 วรรคสอง ได้วางหลักไว้ว่า เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นนายกองค์การ บริหารส่วนตําบลสิ้นสุดลงเพราะเหตุอันเนื่องมาจากการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเนื่องจาก “เป็นผู้มี พฤติกรรมในทางทุจริต” ตามมาตรา 64 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 58/1 (3) ให้นายอําเภอทําการสอบสวน และวินิจฉัยโดยเร็ว และคําวินิจฉัยของนายอําเภอให้เป็นที่สุด ดังนั้น นายเอกและนายโทจึงไม่สามารถอุทธรณ์ คําสังของนายอําเภอดังกล่าวได้

สรุป

คําสั่งของนายอําเภอซึ่งให้นายเอกและนายโทพ้นจากตําแหน่งนายกองค์การบริหาร ส่วนตําบลชอบด้วยกฎหมาย และนายเอกและนายโทจะยื่นอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวต่อผู้ออกคําสั่งไม่ได้

Advertisement