การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3012 กฎหมายปกครอง

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. ก. นายแดงเป็นคนต่างด้าวลักลอบเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จและแสดงเอกสารราชการปลอมในการขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย พบหลักฐานดังกล่าวว่ามีการปลอมแปลงเอกสารพยานหลักฐานดังกล่าว จึงมีคําสั่งเพิกถอน รายการทะเบียนหรือหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และมีคําสั่งเพิกถอนรายการบัตรประจําตัว ประชาชนของนายแดง โดยไม่ได้แจ้งให้นายแดงทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแต่อย่างใด ขอให้ท่าน วินิจฉัยว่าคําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบาย พร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ข. นายดําเป็นข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้บังคับบัญชาจึงตั้ง กรรมการสอบสวนข้อกล่าวหาดังกล่าว ปรากฏว่าคณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นว่า นายดํา มีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริงตามข้อกล่าวหา ดังนี้ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่ง ลงโทษทางวินัยกับนายดําเลยทันทีได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ขอให้อธิบายพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ

ธงคําตอบ

ก. หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มี ผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อ สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 30 วรรคแรก “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ คําสั่งของเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยที่ให้เพิกถอนรายการทะเบียนหรือ หลักฐานทางทะเบียนราษฎร และมีคําสั่งเพิกถอนรายการบัตรประจําตัวประชาชนของนายแดงเป็นคําสั่งทางปกครอง ตามนัยมาตรา 5 ดังนั้น เมื่อเป็นคําสั่งทางปกครองที่จะกระทบถึงสิทธิของคู่กรณีคือนายแดง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้แจ้ง ให้นายแดงได้ทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่เปิดโอกาสให้นายแดงได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ก่อนออกคําสั่งทางปกครองดังกล่าว ดังนั้น คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งดังกล่าวของเจ้าหน้าที่เป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข. หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

มาตรา 97 “ภายใต้บังคับวรรคสอง ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ลงโทษปลดออกหรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อนจะนํามาประกอบการพิจารณา ลดโทษก็ได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษลงต่ำกว่าปลดออก

ในกรณีที่คณะกรรมการสอบสวนหรือผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 93 วรรคหนึ่ง หรือผู้มีอํานาจตามมาตรา 94 เห็นว่าข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 ส่งเรื่องให้ อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ.กรม หรือ อ.ก.พ.กระทรวง ซึ่งผู้ถูก กล่าวหาสังกัดอยู่ แล้วแต่กรณีพิจารณา เมื่อ อ.ก.พ. ดังกล่าวมีมติเป็นประการใด ให้ผู้บังคับบัญชา ซึ่งมีอํานาจ สั่งบรรจุตามมาตรา 57 สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎ ก.พ.

วินิจฉัย

ในกรณีที่ข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง การที่จะลงโทษทาง วินัยแก่ข้าราชการพลเรือนผู้นั้นโดยการปลดออก หรือไล่ออกตามความร้ายแรงแห่งกรณีนั้น กฎหมายไม่ได้ บัญญัติให้เป็นอํานาจในการใช้ดุลพินิจแก่ผู้บังคับบัญชาในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง แต่ได้บัญญัติว่า ผู้บังคับบัญชาจะมีคําสั่งลงโทษทางวินัยร้ายแรงได้ต้องผูกพันตามมติของ อ.ก.พ. กล่าวคือ ให้ผู้บังคับบัญชาส่ง เรื่องให้ อ.ก.พ. พิจารณาก่อน เมื่อ อ.ก.พ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ก็ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไป ตามนั้น (มาตรา 97 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551)

ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ การที่นายดําซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่าง ร้ายแรงและคณะกรรมการสอบสวนก็มีความเห็นว่า นายดํามีความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจริงตามข้อกล่าวหา ดังนี้ ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่งลงโทษทางวินัยกับนายดําทันทีไม่ได้ ผู้บังคับบัญชาจะต้องส่งเรื่องให้ อ.ก.พ. พิจารณาก่อน เมื่อ อ.ก.พ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ผู้บังคับบัญชาจึงค่อยสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ ของ อ.ก.พ. นั้น

สรุป

ผู้บังคับบัญชาจะใช้ดุลพินิจในการมีคําสั่งลงโทษทางวินัยกับนายดําทันทีไม่ได้ ตามเหตุผล และหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

 

ข้อ 2. หลักนิติรัฐ คืออะไร มีความสัมพันธ์กับกฎหมายปกครอง หรือไม่ อย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“หลักนิติรัฐ” คือ หลักการปกครองโดยยึดกฎหมายเป็นใหญ่ และกฎหมายที่นํามาใช้นั้น จะต้องมาจากประชาชน มิใช่มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และการใช้อํานาจของฝ่ายปกครอง ต้องสามารถตรวจสอบและควบคุมได้

สาระสําคัญของหลักนิติรัฐ มีอยู่ 3 ประการ ดังนี้คือ

1 บรรดาการกระทําทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมาย ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ กล่าวคือ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะมีอํานาจสั่งการให้ราษฎรกระทําการหรือละเว้น ไม่กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ก็ต่อเมื่อมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้อํานาจไว้อย่างชัดแจ้งและจะต้องใช้ อํานาจนั้นภายในกรอบที่กฎหมายกําหนดไว้

2 บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วย รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ให้อํานาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารล่วงล้ําเข้าไปในแดนแห่ง เสรีภาพของราษฎรนั้น จะต้องมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนพอสมควรว่าให้องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารองค์กรใดมี อํานาจล่วงล้ำเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรได้ในกรณีใดและภายในขอบเขตอย่างใด และกฎหมาย ดังกล่าวจะต้องไม่ให้อํานาจแก่องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารล่วงล้ําเข้าไปในแดนแห่งสิทธิเสรีภาพของราษฎรเกิน ขอบเขตแห่งความจําเป็นเพื่อธํารงรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สาธารณะ

3 การควบคุมไม่ให้การกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การ ควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอํานาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งมี ความเป็นอิสระจากองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ โดยองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งทําหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือของการกระทําขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร อาจจะเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการอีกองค์กรหนึ่งแยกต่างหากจากองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ซึ่งทําหน้าที่ พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาก็ได้

หลักนิติรัฐมีความสัมพันธ์กับกฎหมายปกครอง ดังนี้คือ

1 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจรัฐ หรืออํานาจมหาชนที่จะกําหนดกฎเกณฑ์หรือออกคําสั่งให้เอกชนต้องปฏิบัติตามได้โดยไม่จําเป็นต้องอาศัย ความสมัครใจหรือความยินยอมของเอกชน เช่น กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองจะกําหนดว่าในพื้นที่ “สีเขียว” ห้าม การก่อสร้าง สิ่งปลูกสร้างใด ๆ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารจะกําหนดว่าการก่อสร้างอาคารจะต้องได้รับอนุญาต และอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงานท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกจะกําหนดให้เจ้าพนักงานจราจร จัดระเบียบการจราจรให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องปฏิบัติตาม กฎหมายต่าง ๆ ที่ควบคุมการประกอบอาชีพของเอกชน ฯลฯ นอกจากนี้ กฎหมายปกครองยังเป็นกฎหมายที่กําหนดให้องค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจรัฐหรืออํานาจ มหาชนที่จะบังคับใช้กฎหมายโดยบังคับให้เอกชนปฏิบัติตามกฎหมาย หากเอกชนใดฝ่าฝืนกฎหมายก็ให้องค์กร ของรัฐหรือบุคลากรของรัฐมีอํานาจตามกฎหมายที่จะบังคับการได้เองโดยไม่ต้องไปร้องขอต่อศาลให้ศาลบังคับให้ เช่น กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบกให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานจราจรในอันที่จะใช้รถยกของตนลากรถยนต์ที่จอดใน ที่ห้ามจอดไปไว้ที่สถานีตํารวจได้ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้อํานาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในอันที่จะเข้า ดําเนินการรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าของอาคารไม่ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ที่ให้รื้อถอนอาคารดังกล่าว

2 กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กําหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้อํานาจ โดยองค์กรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐ และเป็นกฎหมายที่กําหนดกฎเกณฑ์ในการควบคุมการใช้อํานาจดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นกฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายที่กําหนดมาตรฐานกลาง เช่น กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เป็นต้น

 

 

ข้อ 3. การจัดองค์กรของรัฐทางปกครองในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นคืออะไร ใช้หลักอะไร แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายตามที่ได้ศึกษามา

ธงคําตอบ

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการรวมอํานาจแบบการกระจายการรวมศูนย์อํานาจการปกครอง หรือการแบ่งอํานาจ การปกครอง โดยมีการแบ่งเขตการปกครองประเทศออกเป็นจังหวัดและอําเภอ แล้วรัฐบาลในส่วนกลางจะมอบ อํานาจในการตัดสินใจหรือในการสั่งการในทางปกครองในบางเรื่องบางระดับให้แก่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ซึ่ง เป็นตัวแทนของส่วนกลางที่ถูกส่งออกไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนภูมิภาคทั่วราชอาณาจักรเพื่อจัดทําบริการสาธารณะ ตามที่กฎหมายกําหนด หรือตามที่รัฐบาลส่วนกลางหรือผู้บังคับบัญชามอบหมาย โดยที่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นยังอยู่ ภายใต้บังคับบัญชาตามลําดับของรัฐบาลส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทยนั้น เป็นไปตามกฎหมายดังนี้คือ

1 ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งได้กําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอําเภอ

2 ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ซึ่งกําหนดให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นตําบลและหมู่บ้าน

“การจัดองค์กรของรัฐในรูปของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น” คือการจัดองค์กรของรัฐ ทางปกครองโดยใช้หลักการกระจายอํานาจทางปกครองและเป็นการกระจายอํานาจในทางเขตแดนหรือในทาง พื้นที่ โดยที่รัฐจะมอบความเป็นนิติบุคคลให้แก่ชุมชนในพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดที่มีความพร้อมที่จะบริหารกิจการของ ตนเองโดยการจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วรัฐบาลส่วนกลางก็จะกระจายอํานาจหรือถ่ายโอน ภารกิจหรือบริการสาธารณะบางส่วนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดําเนินการแทนรัฐ โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้นมีอํานาจหน้าที่เป็นของตนเอง มีรายได้เป็นของตนเอง และมีองค์กรในการ บริหารงานเป็นของตนเอง เพียงแต่ยังคงอยู่ภายใต้อํานาจการกํากับดูแลของส่วนกลาง

สําหรับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยนั้น มีอยู่ 2 ระบบ ได้แก่

1 ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป ซึ่งมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

(1) เทศบาล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

(2) องค์การบริหารส่วนตําบล ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ

(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

2 ระบบพิเศษ ที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่ง ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

(1) กรุงเทพมหานคร ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และ

(2) เมืองพัทยา ซึ่งการจัดระเบียบบริหารราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

 

 

ข้อ 4. นายเอกรองนายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลภูขาวถูกร้องเรียนว่าทุจริตต่อหน้าที่ คณะกรรมการสอบสวนการทุจริตที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายโทนายกเทศมนตรีฯ ได้ดําเนินการสอบสวนแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานและพยานบุคคลชัดแจ้งเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่านายเอกได้กระทําการทุจริตต่อหน้าที่จริง จึงมิได้แจ้งให้นายเอกมาชี้แจงข้อเท็จจริง และแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด และได้สรุปผลการ สอบสวนว่านายเอกทุจริตต่อหน้าที่จริง ต่อมานายโทนายกเทศมนตรีฯ ได้มีคําสั่งเป็นหนังสือให้ นายเอกพ้นจากตําแหน่งฯ ทั้งนี้มิได้แจ้งสิทธิในการอุทธรณ์และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคําสั่ง ดังกล่าวด้วย ดังนี้หากสองเดือนต่อมานายเอกได้มาปรึกษาท่านเพื่อจะอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนี้ และ ประสงค์จะฟ้องนายโทนายกเทศมนตรีฯ เป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลเพิกถอนคําสั่งฯ ที่ให้ตน พ้นจากตําแหน่ง เพราะเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย ท่านจะให้คําแนะนําแก่นายเอก ในกรณีนี้อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496

พ.ศ. 2496 พระองมีการ มาตรา 48 โสฬส “รองนายกเทศมนตรีพ้นจากตําแหน่งเมื่อ : (2) นายกเทศมนตรีมีคําสั่งให้พ้นจากตําแหน่งตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 5 “คําสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผล เป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ”

มาตรา 30 วรรคแรก “ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน”

มาตรา 34 “คําสั่งทางปกครองอาจทําเป็นหนังสือหรือวาจา หรือการสื่อความหมายใน รูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้”

มาตรา 40 “คําสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง การยื่นคําอุทธรณ์หรือคําโต้แย้ง และระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย

ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสําหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้ง เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลา สั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคําสั่งทางปกครอง”

มาตรา 44 วรรคแรก “ภายใต้บังคับมาตรา 48 ในกรณีที่คําสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดย รัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง ทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว”

และตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 บัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในเรื่อง ดังต่อไปนี้

(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฏ คําสั่ง หรือการกระทําอื่นใดเนื่องจากการกระทําโดยไม่มีอํานาจหรือ นอกเหนืออํานาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็น สาระสําคัญที่กําหนดไว้สําหรับการกระทํานั้น…”

มาตรา 42 วรรคสอง “ในกรณีที่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไข ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทําได้ต่อเมื่อมีการ ดําเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลา อันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกําหนด”

มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอํานาจกําหนดคําบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สั่งให้เพิกถอนกฎหรือคําสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทําทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มี การฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทําโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 (1) ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อนายเอกมาปรึกษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะให้คําแนะนําแก่นายเอกใน กรณีดังกล่าวดังนี้คือ

1 การที่นายโทนายกเทศมนตรีฯ มีคําสั่งเป็นหนังสือให้นายเอกพ้นจากตําแหน่ง รองนายกเทศมนตรีฯ นั้น นายโทมีอํานาจที่จะกระทําได้ โดยอาศัยอํานาจตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ มาตรา 48 โสฬส (2)

2 คําสั่งเป็นหนังสือให้นายเอกพ้นจากตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีฯ นั้น เป็นคําสั่งที่มี ผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของนายเอก คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นคําสั่งทางปกครอง ตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 34

3 เมื่อคําสั่งทางปกครองดังกล่าวมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่กรณีคือนายเอก แต่ในขณะที่ มีการสอบสวนกรณีที่มีการร้องเรียนว่านายเอกทุจริตต่อหน้าที่นั้น คณะกรรมการสอบสวนมิได้แจ้งให้นายเอกมา ชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานแต่อย่างใด ทําให้นายเอกไม่มีโอกาสโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐาน ของตน กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามิได้มีการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคแรก ดังนั้น นายเอกย่อมสามารถกล่าวอ้างได้ว่า คําสั่งทางปกครองที่ให้ตนพ้นจากตําแหน่งรองนายกเทศมนตรีฯ นั้น เป็นคําสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย

4 เมื่อเป็นคําสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายเอกย่อมสามารถนําคดีนี้ไป ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งดังกล่าวได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 72 (1)

5 แต่อย่างไรก็ตาม การที่นายเอกจะนําคดีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองนั้น นายเอก จะต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวนั้นก่อนตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ และแม้ว่าตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ จะมิได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะก็ตาม นายเอกก็จะต้องอุทธรณ์คําสั่งนั้นก่อนตาม หลักเกณฑ์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 44 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ

6 การอุทธรณ์คําสั่งทางปกครองดังกล่าว โดยหลักแล้วนายเอกจะต้องอุทธรณ์ภายใน กําหนด 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคําสั่งดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามิได้มีการแจ้งสิทธิใน การอุทธรณ์ และระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ในคําสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด และตามข้อเท็จจริงก็มิได้มีการแจ้งใหม่แต่ อย่างใดด้วย ดังนั้นระยะเวลาในการอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวจึงให้ขยายระยะเวลาออกไปเป็น 1 ปีนับแต่วันที่ ได้รับคําสั่งนั้นตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ นายเอกจึงสามารถที่จะอุทธรณ์คําสั่ง ดังกล่าวได้ แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปแล้ว 2 เดือนนับตั้งแต่วันที่นายเอกได้รับคําสั่งทางปกครองดังกล่าวแล้วก็ตาม

สรุป

นายเอกสามารถฟ้องนายโทเป็นคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ศาลปกครองเพิกถอนคําสั่งฯ ที่ให้ตนพ้นจากตําแหน่งได้ แต่นายเอกจะต้องอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวก่อนภายในกําหนด 1 ปีนับแต่วันที่ตนได้รับ คําสั่งทางปกครองนั้น

Advertisement