การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3011 กฎหมายลักษณะพยาน

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3

ข้อ 1 นายกล้าโจทก์ฟ้องนายเก่งเป็นจําเลยข้อหาทําร้ายร่างกายโจทก์เป็นอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 นายเก่งจําเลยให้การว่าทําร้ายไปเพราะเจ็บแค้นเนื่องจาก โจทก์มาลวนลามภริยาตน มีเหตุลดหย่อนผ่อนโทษ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72) ในคดีนี้ทั้งโจทก์และจําเลยต่างไม่นําพยานเข้าสืบ ให้ท่านวินิจฉัยว่า ใครเป็นฝ่ายแพ้คดี

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 84 “การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทําโดยอาศัยพยานหลักฐานใน สํานวนคดีนั้น เว้นแต่

(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล”

มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่ง ปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตน ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวล กฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่ พอจะใช้บังคับได้”

วินิจฉัย

ตามปกติในคดีอาญานั้น โจทก์จะเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจําเลยกระทําผิดอาญาขึ้น ดังนั้น ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตามประเด็นข้อพิพาทจึงตกอยู่แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง แต่หากจําเลยรับว่าได้กระทําผิด ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่อ้างเหตุต่าง ๆ เช่น เหตุไม่ต้องรับโทษ เหตุลดหย่อนผ่อนโทษ ย่อมถือว่าจําเลยยอมรับ ข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนําสืบพยานว่าจําเลยกระทําผิด แต่กรณีถือว่าจําเลยกล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อประโยชน์ของตน ดังนี้ ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบย่อมตกแก่จําเลย โดยจําเลยต้องนําสืบ ถึงเหตุต่าง ๆ ที่ตนจะอ้างเอาประโยชน์จากเหตุนั้น (ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกล้าเป็นโจทก์ฟ้องนายเก่งเป็นจําเลยข้อหาทําร้ายร่างกาย และนายเก่งจําเลยให้การว่าทําร้ายไปเพราะเจ็บแค้นเนื่องจากโจทก์มาลวนลามภริยาตน มีเหตุลดหย่อนผ่อนโทษนั้น ถือเป็นกรณีที่จําเลยได้ยอมรับว่าทําร้ายร่างกายโจทก์จริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนําสืบพยาน ว่าจําเลยกระทําผิดตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84(3)

อย่างไรก็ตาม การที่นายเก่งจําเลยอ้างว่ามีเหตุลดหย่อนผ่อนโทษด้วยนั้น ย่อมถือเป็นกรณีที่ จําเลยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อประโยชน์ของตน ดังนั้น เมื่อจําเลยเป็นผู้กล่าวอ้าง จําเลยย่อมมีหน้าที่นําสืบ ในประเด็นที่ตนอ้างมา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในคดีนี้ทั้งโจทก์และจําเลยต่างไม่นําพยานเข้าสืบ จําเลยย่อม ตกเป็นฝ่ายแพ้คดีไปตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15

สรุป นายเก่งจําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี

 

ข้อ 2 พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา เมื่อถูกอ้างมาเป็นพยาน มีเอกสิทธิ์อย่างไรบ้าง

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 112 “ก่อนเบิกความพยานทุกคนต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณี แห่งชาติของตน หรือกล่าวคําปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่

(1) พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

(2) บุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปี หรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าหย่อนความรู้สึกผิดและชอบ (3) พระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา

(4) บุคคลซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าไม่ต้องให้สาบานหรือกล่าวคําปฏิญาณ”

มาตรา 115 “พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ หรือพระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา แม้มาเป็นพยานจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคําถามใด ๆ ก็ได้ สําหรับ บุคคลที่ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกันตามกฎหมายจะไม่ยอมเบิกความหรือตอบคําถามใด ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่ กําหนดไว้ตามกฏหมายนั้น ๆ ก็ได้”

จากบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อพระภิกษุและสามเณรในพุทธศาสนา ถูกอ้างมาเป็นพยานใน คดีจะมีเอกสิทธิ์ดังนี้ คือ

1 ไม่ต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนเบิกความก็ได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 112(3)

2 ไม่ต้องเบิกความหรือให้ถ้อยคําใด ๆ ก็ได้ (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 115)

 

ข้อ 3 โจทก์และจําเลยทําสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และได้ยื่นคําขอจดทะเบียนไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินเจ้าพนักงานที่ดินประกาศการซื้อขายตามระเบียบเป็นเวลา 30 วัน ครบกําหนดตามประกาศไม่มี ผู้ใดคัดค้าน จําเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้บังคับจําเลยโอนทางทะเบียน และส่งมอบการครอบครองที่ดินแก่โจทก์ ในวันสืบพยานจําเลย จําเลยนําพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงเป็นการทําสัญญากู้เงินกัน ไม่ใช่สัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องบังคับตามสัญญากู้เงิน ดังนี้ จําเลยสามารถนําพยานบุคคลมาสืบตามข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็ดี

(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง

(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้าง พยานเอกสาร ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสาร นั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ย่อมต้องห้ามมิให้นํา พยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร ในเมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง หรือขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารนั้นอยู่อีก เว้นแต่กรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่สามารถนําสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คือ

1 กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย หรือถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนําต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น

2 พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม

3 พยานเอกสารที่แสดงนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน

4 สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์

5 คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า จําเลยสามารถนําพยานบุคคลมาสืบตาม ข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างได้หรือไม่ เห็นว่า การที่จําเลยประสงค์จะนําสืบว่าความจริงเป็นการทําสัญญากู้เงินกัน ไม่ใช่ สัญญาซื้อขายที่ดิน กรณีถือเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นนิติกรรมอําพรางนิติกรรมการกู้ยืมเงิน หากเป็นความจริงตามที่จําเลยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเกิดจากการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ ต้อง บังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมเงินที่ถูกอําพรางไว้ ฉะนั้น การที่จําเลยขอนําสืบว่าความจริงเป็นการทําสัญญากู้ยืมเงินกัน จึงมิใช่เป็นการนําสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94(ข) หากแต่เป็นการ นําสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายที่ดินไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จําเลยจึงนําสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย (คําพิพากษาฎีกาที่ 2976/2548)

สรุป

จําเลยสามารถนําพยานบุคคลมาสืบตามข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างได้

Advertisement