การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3011 กฎหมายลักษณะพยาน

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระราคาผลไม้ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด จําเลยให้การว่าจําเลยไม่เคยซื้อผลไม้จากโจทก์ ไม่เคยค้างชําระค่าผลไม้ จําเลยซื้อผลไม้จากนายจุนบุตรของโจทก์ โดยชําระราคาค่าผลไม้ให้แก่นายจุนไปแล้ว ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้แสดงแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างอันอาศัยเป็นเหตุแห่งข้อหาให้ชัดเจนพอที่จําเลยจะเข้าใจได้โจทก์ ไม่ฟ้องคดีภายในสองปีนับแต่วันผิดนัด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ในวันชี้สองสถาน ทนายจําเลยแถลงต่อศาลว่าเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นตามคําให้การ ฟ้องของ โจทก์เคลือบคลุมเพราะมิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าจําเลยซื้อผลไม้อะไรจํานวนเท่าใด จําเลยไม่เข้าใจ ข้ออ้างตามคําฟ้องของโจทก์ ให้วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ประการใด ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่สืบพยาน ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดี

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 84/1 “คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคําคู่ความของตนให้คู่ความ ฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้ามีข้อสันนิษฐานไว้ในกฎหมายหรือมีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่ง ปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว”

มาตรา 177 วรรคสอง “ให้จําเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคําให้การว่า จําเลยยอมรับหรือปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น”

มาตรา 183 “ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ และเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคําคู่ความ ให้ศาลกําหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท และกําหนดให้ คู่ความฝ่ายใดนําพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ดังนี้คือ

1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร

2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด

3 ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่สืบพยาน ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดี

ประเด็นที่ 1 คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทว่าอย่างไร

คําว่า “ประเด็นข้อพิพาท” หมายถึง ข้ออ้างข้อเถียงในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างในคําคู่ความ และคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ ดังนั้นปัญหาข้อใดที่ฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งรับแล้ว ย่อมไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาท

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระราคาค่าผลไม้พร้อมดอกเบี้ยผิดนัด และจําเลยให้การว่าจําเลยไม่เคยซื้อผลไม้จากโจทก์ ไม่เคยค้างชําระค่าผลไม้ พร้อมกับให้การว่าโจทก์ไม่ฟ้องคดี ภายในสองปีนับแต่วันผิดนัด คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องนั้น

จากคําฟ้องของโจทก์และคําให้การของจําเลย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาท ดังนี้

1 จําเลยซื้อผลไม้ไปจากโจทก์และชําระราคาแล้วหรือไม่

2 คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่

ส่วนข้อที่จําเลยให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมนั้น จําเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องของ โจทก์เคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร คําให้การในส่วนนี้ของจําเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.แพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ การที่ทนายจําเลยแถลงต่อศาลในวันชี้สองสถาน ไม่ก่อให้เกิด ประเด็นข้อพิพาท เพราะประเด็นข้อพิพาทในคดีจะต้องพิจารณาจากคําคู่ความเป็นข้อสําคัญ การฟังคําแถลง ของคู่ความและการสอบถามคู่ความเป็นเรื่องที่กฎหมาย (ป.วิ.แพ่ง มาตรา 183) ประสงค์แต่เพียงเพื่อให้เกิด ความชัดแจ้งในประเด็นข้อพิพาทเท่านั้น ศาลจะฟังคําแถลงของคู่ความหรือสอบถามคู่ความแล้วตั้งประเด็นขึ้นใหม่ หาได้ไม่ (คําพิพากษาฎีกาที่ 122 – 130/2529)

ประเด็นที่ 2 ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบตกแก่คู่ความฝ่ายใด

สําหรับภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นําสืบนั้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1 ได้กําหนดหลักเกณฑ์ ไว้ว่า ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นมีหน้าที่นําสืบ ซึ่งแยกพิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทได้ดังนี้

ประเด็นแรกที่ว่า จําเลยซื้อผลไม้ไปจากโจทก์และชําระราคาแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า จําเลยซื้อผลไม้ไปจากโจทก์และไม่ชําระราคา และจําเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงย่อมมี ภาระการพิสูจน์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 84/1

1 ประเด็นที่สองที่ว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ แม้จําเลยจะเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อนี้ มาในคําให้การ แต่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยวางบรรทัดฐานไว้ว่า การที่โจทก์ฟ้องนั้นสันนิษฐานว่าเป็นการฟ้องมาภายใน อายุความ เมื่อจําเลยให้การปฏิเสธ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ปรากฏว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

ประเด็นที่สามที่ว่า ถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่สืบพยาน ศาลจะพิพากษาให้ฝ่ายใดชนะคดี

ในกรณีที่คู่ความต่างแถลงว่าไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์ซึ่งมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นข้อพิพาท ทั้งสองข้อ ย่อมต้องแพ้คดีทั้งสํานวน ดังนั้นศาลจึงต้องพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี

สรุป

คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ดังนี้

1 จําเลยซื้อผลไม้ไปจากโจทก์และชําระราคาแล้วหรือไม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์

2 คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์ และถ้าคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่สืบพยาน ศาลจะพิพากษาให้จําเลยเป็นฝ่ายชนะคดี

 

ข้อ 2 พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จําเลยที่ 1 กับพวกที่หลบหนีฝ่ายหนึ่ง และจําเลยที่ 2 กับพวกที่หลบหนี อีกฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป โดยจําเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันใช้มีดและไม้เป็นอาวุธทําร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย ส่วนจําเลยที่ 2 กับพวกร่วมกัน ใช้อาวุธปืนยิงจําเลยที่ 1 กับพวกหลายนัดด้วยเจตนาฆ่า แต่การกระทําไม่บรรลุผล ขอให้ลงโทษ จําเลยทั้งสองฐานเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปและบุคคลหนึ่งบุคคลใด ถึงแก่ความตาย กับลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นด้วย จําเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ชั้นพิจารณา โจทก์นํานายกล้าซึ่งร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 ด้วย แต่ถูกกันไว้เป็นพยาน มาเบิกความว่า นายกล้าเห็นจําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงเข้าไปในรถยนต์โดยสาร ประจําทางแล้วพากันวิ่งขึ้นไปบนรถใช้มีดฟันจําเลยที่ 1 กับพวกที่อยู่บนรถ จําเลยที่ 1 กับพวก จึงใช้มีดและไม้ทําร้ายจําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายเพื่อป้องกันตัว ส่วนจําเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็น พยานเบิกความว่า จําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยใช้อาวุธปืนยิงจําเลยที่ 1 กับพวกหลายนัด จําเลยที่ 1 กับพวกจึงใช้มีดและไม้ทําร้ายจําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายเพื่อ ป้องกันตัว จําเลยที่ 2 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความนําสืบอ้างฐานที่อยู่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทําของจําเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า คําเบิกความของนายกล้าดังกล่าวรับฟังได้หรือไม่ และศาลจะนําคําเบิกความของ จําเลยที่ 1 มารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานร่วมกัน พยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องได้หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 232 “ห้ามมิให้โจทก์อ้างจําเลยเป็นพยาน”

มาตรา 233 “จําเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยานได้ในกรณีที่จําเลยอ้างตนเองเป็นพยานศาลจะ ให้เข้าสืบก่อนพยานอื่นฝ่ายจําเลยก็ได้ ถ้าคําเบิกความของจําเลยนั้นปรักปรําหรือเสียหายแก่จําเลยอื่น จําเลยอื่นนั้น ซักค้านได้

ในกรณีที่จําเลยเบิกความเป็นพยาน คําเบิกความของจําเลยย่อมใช้ยันจําเลยนั้นได้ และศาล อาจรับฟังคําเบิกความนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์

ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัย คือ คําเบิกความของนายกล้ารับฟังได้หรือไม่ เห็นว่า นายกล้าเป็นผู้ร่วมกระทําความผิดกับจําเลยที่ 1 แต่ถูกกันไว้เป็นพยานโดยมิได้ถูกฟ้องเป็นจําเลยด้วย โจทก์จึงอ้างเป็นพยานได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 232 ดังนั้น คําเบิกความของนายกล้าจึงรับฟังได้ (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 53/2512) ส่วนจะมีน้ําหนักให้เชื่อได้หรือไม่เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาลในการชั่งน้ําหนัก คําพยานต่อไป

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยคือ ศาลจะนําคําเบิกความของจําเลยที่ 1 มารับฟังประกอบ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องได้หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์ จะฟ้องจําเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันมา แต่ก็เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ละฐานความผิด

โดยถือเป็นคู่ความคนละฝ่าย ต่างคนต่างทํา หาใช่ผู้ร่วมกระทําความผิดด้วยกันไม่ ฉะนั้นคําเบิกความของจําเลยที่ 1 ที่ยืนยันว่า จําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน โดยใช้อาวุธปืนยิงจําเลยที่ 1 กับพยานหลายนัด จําเลยที่ 1 กับพวกจึงใช้มีดและไม้ทําร้ายจําเลยที่ 2 กับพวกและผู้ตายเพื่อป้องกันตัว จึงไม่ใช่คําซัดทอดใน ระหว่างผู้ร่วมกระทําความผิดด้วยกัน

ดังนั้น คําเบิกความของจําเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงนํามารับฟังเพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ และของจําเลยที่ 2 ได้ว่า จําเลยที่ 1 ไม่ได้กระทําความผิดตามฟ้อง ทั้งเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทําของจําเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นความผิดตามฟ้อง จําเลยที่ 1 จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายในความผิด ที่โจทก์ฟ้องจําเลยที่ 2 กับพวกฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ตลอดจนคําเบิกความของจําเลยที่ 1 ดังกล่าวถือเป็น พยานหลักฐานของคดีทั้งหมด แม้จะเบิกความปรักปรําหรือเสียหายแก่จําเลยที่ 2 ศาลก็รับฟังมาประกอบ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจําเลยที่ 2 ในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 233 (ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 969/2557)

สรุป

คําเบิกความของนายกล้ารับฟังได้ และศาลจะนําคําเบิกความของจําเลยที่ 1 มารับฟัง ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์เพื่อลงโทษจําเลยที่ 2 ฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องได้

 

ข้อ 3 โจทก์ยื่นฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ อ้างว่าจําเลยทําสัญญายืมเงินโจทก์ไป 1 ล้านบาท โดยได้ทําสัญญากันที่บ้านของโจทก์ในจังหวัดเชียงใหม่ แต่ภาพถ่ายหนังสือสัญญายืมท้ายฟ้อง ระบุว่าได้ทําสัญญากันที่บ้านของจําเลยในจังหวัดเชียงราย ขอให้จําเลยชําระเงินที่ยืมคืนแก่โจทก์ จําเลยให้การว่าศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่มีเขตอํานาจเหนือคดีนี้ เพราะมูลคดีเกิดที่จังหวัดเชียงราย ด้วยสัญญายืมก็ได้ทํากันที่บ้านของจําเลยในจังหวัดเชียงราย และจําเลยก็มีภูมิลําเนาอยู่ในจังหวัด เชียงราย กรณีนี้โจทก์จะขอนําสืบพยานบุคคล เพื่อนําสืบว่าได้ทําสัญญากับจําเลยที่บ้านของโจทก์ในจังหวัดเชียงใหม่จริง ตามข้ออ้างของโจทก์ได้หรือไม่ อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 94 “เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟัง พยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

(ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง

(ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนําพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าพยานเอกสาร ที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้น ไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”

วินิจฉัย

โดยหลักแล้ว เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ย่อมต้องห้ามมิให้นํา พยานบุคคลมาสืบแทนพยานเอกสาร ในเมื่อไม่สามารถนําเอกสารมาแสดง หรือขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในเอกสารนั้นอยู่อีก เว้นแต่กรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่สามารถนําสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คือ

1 กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย หรือถูกทําลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือไม่สามารถนําต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น

2 พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม

3 พยานเอกสารที่แสดงนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน

4 สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์

5 คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

กรณีตามอุทาหรณ์ โจทก์จะนําสืบพยานบุคคลว่า ได้ทําสัญญากับจําเลยที่บ้านของโจทก์ใน จังหวัดเชียงใหม่จริงตามข้ออ้างของโจทก์ไม่ได้ เพราะในเรื่องสัญญายืมนั้นกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง และในคดีนี้ข้อความในสัญญาก็ชัดเจนแล้วว่า โจทก์และจําเลยได้ทําสัญญากันที่บ้านของจําเลยในจังหวัด เชียงราย ซึ่งถือเป็นข้อความที่เป็นสาระสําคัญในคดีนี้ หากให้นําพยานบุคคลมาสืบก็จะเป็นเหตุให้ศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นําเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)

สรุป

โจทก์จะขอนําสืบพยานบุคคล เพื่อนําสืบว่าได้ทําสัญญากับจําเลยที่บ้านของโจทก์ใน จังหวัดเชียงใหม่จริง ตามข้ออ้างของโจทก์ไม่ได้

Advertisement