การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแล้วหรือยังขั้นตอนจะเป็นเช่นไรให้ท่านอธิบายมาพอสังเขป กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ในระหว่างศาลไต่สวนโดยเปิดเผย ปรากฏว่าลูกหนี้ได้ซุกซ่อนทรัพย์สินนั้นไว้ ศาลจึง ยึดทรัพย์สินนั้นเจ้าหนี้จึงร้องต่อศาลว่า ที่ยอมรับในชั้นประชุมเจ้าหนี้ว่ายอมรับให้ลูกหนี้ประนอมหนี้ ที่ 50% นั้นเพราะไม่ทราบว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่อีก จึงขอคัดค้านว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยเกินไป

ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 42 วรรคแรก “เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้ โดยเปิดเผยเป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความ ประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น เกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข”

มาตรา 46 “การยอมรับคําขอประนอมหนี้โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ ยังไม่ผูกพัน เจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่าศาลจะได้มีคําสั่งเห็นชอบแล้ว”

มาตรา 52 “ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณา รายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี

เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้แล้วมีอํานาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติ ยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม”

มาตรา 56 “การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัด เจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชําระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจากล้มละลายได้ เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้”

มาตรา 61 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์รายงานว่า เจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือในคราวที่ได้เลื่อนไปขอให้ศาลพิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี หรือไม่ลงมติประการใดก็ดี หรือไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุมก็ดี หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบก็ดี ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจจัดการทรัพย์สิน ของบุคคลล้มละลายเพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย”

มาตรา 63 วรรคแรก “เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอคําขอประนอมหนี้ ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นําบทบัญญัติในส่วนที่ 6 ว่าด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกําหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ ขอประนอมหนี้ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 46 จะเห็นได้ว่า ในการประนอมหนี้นั้น จะต้องมีการพิจารณา 2 ชั้น ได้แก่

1) การพิจารณาในชั้นประชุมเจ้าหนี้ และ

2) การพิจารณาในชั้นศาล

กล่าวคือ ในการประนอมหนี้นั้นในขั้นแรก จะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้โดย มติพิเศษ และเมื่อผ่านชั้นประชุมเจ้าหนี้โดยมติพิเศษแล้ว ต้องส่งมติพิเศษนั้นไปให้ศาลพิจารณาอีกชั้นหนึ่งดังนั้น การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับโดยมติพิเศษจึงยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลายแต่อย่างใด

และเมื่อศาลได้รับมติพิเศษแล้ว ศาลจะต้องสั่งไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยตามมาตรา 42 ซึ่งจะ ต้องมีในทุกคดีล้มละลาย เพื่อให้ทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และเพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้มีความประพฤติ เป็นอย่างไร ทําไมจึงมีหนี้สินล้นพ้นตัว

และเมื่อได้ความว่าอย่างไร ศาลอาจสั่งเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับมติพิเศษนั้นก็ได้ ถ้าศาล ได้มีคําสั่งเห็นชอบ การประนอมหนี้นั้นก็จะมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ทุกคน แม้ว่าเจ้าหนี้บางคนจะไม่เห็นชอบด้วยก็ตาม ตามมาตรา 56

แต่อย่างไรก็ตาม การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้สั่งเห็นชอบด้วย แล้วนั้น จะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคําสั่งปลดจาก ล้มละลายได้ (เช่น หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น) เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้

และถ้าศาลสั่งไม่เห็นชอบ ศาลก็จะสั่งให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 61 วรรคแรก ซึ่งถ้าลูกหนี้ มีความประสงค์จะขอประนอมหนี้ใหม่ ลูกหนี้ก็ต้องไปขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายตามมาตรา 63 วรรคแรก ต่อไปได้

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

ในการไต่สวนโดยเปิดเผยตามมาตรา 42 นั้น ในการที่ศาลจะมีคําสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ หรือไม่นั้น ให้ศาลพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และข้อคัดค้านของเจ้าหนี้ถ้ามี และในขณะที่ศาล ไต่สวน ถ้าได้ความจริงว่าลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอีก เจ้าหนี้ก็มีสิทธิคัดค้านได้ว่าลูกหนี้ขอประนอมหนี้น้อยไป ถึงแม้ว่าจะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม (มาตรา 52)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคําขอประนอมหนี้ที่ร้อยละ 50 เพราะไม่ทราบ ว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินอื่นอยู่อีกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความในระหว่างศาลไต่สวนโดยเปิดเผยว่าลูกหนี้ได้ซุกซ่อน ทรัพย์สินนั้นไว้ ดังนี้ เจ้าหนี้ย่อมสามารถคัดค้านได้ โดยอ้างว่าไม่ทราบว่าขณะนั้นลูกหนี้ยังมีทรัพย์สินอื่นอยู่อีก และเมื่อมีเจ้าหนี้คัดค้าน ศาลจะต้องรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้ตามมาตรา 52 วรรคท้าย

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะรับฟังคําคัดค้านของเจ้าหนี้

 

ข้อ 2 เมื่อศาลประทับรับฟ้องในคดีล้มละลายไว้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องทําประการใด

ในคดีล้มละลาย เมื่อศาสส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้ลูกหนี้ทราบแล้ว ลูกหนี้ไม่มายื่นคําให้การ ศาลจึงสั่งว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้คำสั่งของศาล ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 13 “เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กําหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสําเนาคําฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน”

อธิบาย (กรณีแรก)

จากบทบัญญัติมาตรา 13 จะเห็นได้ว่า เมื่อศาลสั่งประทับรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว ขั้นตอน ต่อไปศาลจะ

(1) นัดสืบพยานโจทก์ ซึ่งโดยหลักแล้ว ศาลจะต้องนัดสืบพยานโจทก์ก่อนเสมอ เพราะโจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจําเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

(2) นัดสืบพยานจําเลย

(3) นัดสืบทั้งโจทก์ จําเลย ในวันเดียวกัน

 

วินิจฉัย (กรณีหลัง)

จําเลยไม่ยื่นคําให้การไม่ถือว่าจําเลยขาดนัดยื่นคําให้การ เพราะการดําเนินกระบวนพิจารณาในคดีล้มละลายนั้น กฎหมายไม่ได้กําหนดวันยื่นคําให้การเหมือนคดีแพ่งธรรมดา แต่ถ้าจําเลยต้องการจะยื่นคําให้การจะต้องยืนก่อน ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จตามมาตรา 13 ประกอบคําพิพากษาฎีกาที่ 597/2523

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่ศาลส่งหมายเรียกและสําเนาคําฟ้องไปให้ลูกหนี้ทราบแล้ว แต่ลูกหนี้ ไม่มายื่นคําให้การ ศาลจึงสั่งว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคําให้การนั้น จึงเป็นคําสั่งที่ไม่ชอบตามมาตรา 13 แต่การที่ศาลสังว่า จําเลยขาดนัดพิจารณาเป็นคําสั่งที่ชอบแล้ว เมื่อจําเลยไม่มาในวันนัดพิจารณา

สรุป

คําสั่งของศาลที่ว่าลูกหนี้ขาดนัดยื่นคําให้การไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคําสั่งของศาล ที่ว่าจําเลยขาดพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3 เจ้าหนี้ไม่มีประกันขอรับชําระหนี้ มีหลักเกณฑ์ว่าอย่างไร และหนี้ประเภทใดบ้างซึ่งไม่อาจนําไปขอรับชำระได้ เขียนตอบมา 5 ประเภท และเพราะเหตุใดจึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้ บังคับคดีไม่ได้

(2) หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”

อธิบาย

ตามบทบัญญัติมาตรา 94 วรรคแรก ได้กําหนดหลักเกณฑ์ที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันจะขอรับชําระหนี้ ไว้ดังนี้ คือ

1 เป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกัน คือ เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือมีสิทธิบังคับได้ทํานองเดียวกับผู้จํานํา หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เจ้าหนี้สามัญนั่นเอง

2 มีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งหมายความถึงทั้งคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะเมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว กฎหมายห้ามลูกหนี้กระทําการ ใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน

3 มาขอรับชําระหนี้ ภายในกําหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91)

4 หนี้ยังไม่ถึงกําหนดชําระ ก็มาขอรับชําระหนี้ได้ แต่หากสิทธิเรียกร้องยังไม่เกิดขึ้น จะนํามาขอรับชําระหนี้ไม่ได้

5 หนี้มีเงื่อนไข ก็นํามาขอรับชําระหนี้ได้

6 ถ้าไม่มาขอรับชําระหนี้ภายในกําหนด หนี้นั้นเป็นศูนย์ หมายความว่า ถ้าเจ้าหนี้ไม่มา ยื่นขอรับชําระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชําระหนี้นั้น

7 ดอกเบี้ยหรือค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้จะนํามาขอรับชําระหนี้นั้น คิดได้ ถึงวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น (พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 100)

และหนี้ซึ่งไม่อาจนําไปขอรับชําระหนี้ได้นั้น ตามมาตรา 94(1) และ (2) ได้กําหนดไว้ดังนี้ คือ

1 หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้ บังคับคดีไม่ได้ (มาตรา 94(1) เช่น หนี้ขาดอายุความ หนี้การพนัน หักกลบลบหนี้ หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ หนี้ตามเช็คที่เจ้าหนี้ไม่นําสืบถึงที่มาของมูลหนี้ เป็นต้น

2 หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้ (มาตรา 94(2)

Advertisement