การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่ง ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 19 ลูกหนี้ทําคําขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นําเข้าที่ประชุมเจ้าหนี้ เพื่อถามความเห็นของเจ้าหนี้ว่า จะยอมรับคําขอ ของลูกหนี้หรือไม่ โดยให้มีมติพิเศษ ปรากฏว่า “มีมติพิเศษ” ออกมาว่า

(1) จํานวนเจ้าหนี้ได้เสียงข้างมาก และ

(2) จํานวนหนี้ได้ 2 ใน 4 ของเจ้าหนี้ที่เข้าประชุมและออกเสียงเป็นมติพิเศษว่ายอมรับท่านในฐานะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ต้องเป็นประธานในการประชุม เห็นว่า มติพิเศษนั้นขัดต่อ ข้อกฎหมายหรือไม่ และท่านจะแก้ไขประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“มติพิเศษ” หมายความว่า มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก และมีจํานวนหนี้เท่ากับสามในสี่แห่ง จํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้ และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น”

มาตรา 31 วรรคแรก “เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคําขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ หรือ ควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายและปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป การประชุมนี้ ให้เรียกว่าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก”

มาตรา 33 “ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุมเจ้าหนี้ทุกคราว และให้มี รายงานการประชุมลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บไว้เป็นหลักฐานด้วย”

มาตรา 36 “เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย หรือ ประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องต่อศาล และ ศาลอาจมีคําสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ แต่ต้องยืนต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ”

วินิจฉัย

สําหรับ “มติพิเศษ” ตามคํานิยามมาตรา 6 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์สําคัญ 2 ประการ

1 เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก กล่าวคือ ต้องมีเสียงของเจ้าหนี้มากกว่ากึ่งหนึ่งของเจ้าหนี้ที่ออกเสียงลงคะแนน

2 มีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ที่ได้ออกเสียงลงคะแนน

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นําคําขอประนอมหนี้ของลูกหนี้เข้าที่ประชุม เจ้าหนี้ เพื่อถามความเห็นของเจ้าหนี้ตามมาตรา 31 วรรคแรก นั้น แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะมีมติพิเศษออกมาว่า จํานวนเจ้าหนี้ได้เสียงข้างมากยอมรับคําขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ แต่เมื่อปรากฏว่าจํานวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมาก มีเพียง 2 ใน 4 เท่านั้นที่ออกเสียงยอมรับคําขอประนอมหนี้ ดังนั้น มติของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นมติที่ไม่ชอบและ ขัดต่อกฎหมาย และมติดังกล่าวย่อมไม่ใช่มติพิเศษตามมาตรา 6 เพราะมีจํานวนหนีไม่ถึง 3 ใน 4 ของจํานวนหนี้ ทั้งหมดของเจ้าหนี้ที่ได้ออกเสียงลงคะแนน

และในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นประธานในการประชุมตามมาตรา 33 เห็นว่า “มติพิเศษ” นั้นขัดต่อ ข้อกฎหมายและจะแก้ไขตามมาตรา 36 ซึ่งมีหลักดังต่อไปนี้ คือ

1 ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติพิเศษนั้นขัดต่อกฎหมาย

2 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําคําขอเป็นคําร้องยื่นต่อศาลเพื่อให้ศาลเพิกถอนหรือทําลายมตินั้น

3 ศาลอาจไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามมตินั้น

4 แต่ต้องส่งให้ศาลทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติ

สรุป

ข้าพเจ้าในฐานะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ต้องเป็นประธานในการประชุม เห็นว่า มติพิเศษนั้นขัดต่อกฎหมาย และข้าพเจ้าจะแก้ไขตามหลักกฎหมายที่ได้อธิบายข้างต้น

 

ข้อ 2 นายแดงได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชําระหนี้ให้แก่นายแสงเป็นเงินจํานวน 2 ล้านบาท ภายหลังต่อมานายแดงถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องคดีล้มละลายและศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว นายแสงไม่ทราบจึงไม่ได้ยื่นขอรับ ชําระหนี้ไว้ ปรากฏว่าในคดีล้มละลายนั้น ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รายงานต่อศาล ๆ จึงมีคําสั่งยกเลิกการล้มละลายคดีของนายแดง หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นายแสง จึงฟ้องนายแดงเป็นคดีแพ่งให้ชําระหนี้ตามเช็คดังกล่าว นายแดงต่อสู้ว่านายแสงมิได้ยื่นคําขอ รับชําระหนี้ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงไม่อาจฟ้องเรียกให้ชําระหนี้ตามเช็คได้อีกต่อไป หากท่านเป็นศาลจะวินิจฉัยคดีนี้อย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 135 “เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําขอ ศาลมีอํานาจสั่งยกเลิก การล้มละลายได้ ถ้าปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(2) ลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย”

มาตรา 136 “คําสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้นไม่ทําให้ลูกหนี้หลุดพ้น หนี้สินแต่อย่างใด”

วินิจฉัย

ในคดีล้มละลายนั้น การที่ศาลยกเลิกการล้มละลาย เนื่องจากไม่มีเจ้าหนี้มายื่นขอรับชําระหนี้ ถือเป็นการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (2) โดยเหตุลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งไม่มีผลให้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงตามมาตรา 136 ดังนั้น แม้เจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้แต่เดิม ก็อาจนําหนี้นั้น มาฟ้องบังคับตามสิทธิได้ตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 1915/2536

กรณีตามอุทาหรณ์

การที่นายแดงถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องเป็นคดีล้มละลายและปรากฏว่าในคดี ล้มละลายนั้น ไม่มีเจ้าหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้รายงานต่อศาลและศาลได้มีคําสั่งยกเลิก การล้มละลายคดีของนายแดงนั้น ย่อมถือเป็นการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (2) โดยเหตุนายแดงลูกหนี้ ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งมีผลคือ นายแดงลูกหนี้ยังไม่หลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงตามมาตรา 136 ดังนั้น แม้ว่านายแสงเจ้าหนี้จะมิได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ไว้แต่เดิม นายแดงก็ยังคงต้องรับผิดตามเช็ค นายแสงจึง สามารถนํามูลหนี้ตามเช็คมาฟ้องเป็นคดีแพ่งบังคับให้นายแดงชําระหนี้ได้ และศาลต้องพิพากษาให้นายแดงชําระหนี้ ตามเช็คให้แก่นายแสง ข้อต่อสู้ของนายแดงดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้นตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ 1915/2536

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาลจะวินิจฉัยคดีนี้ตามที่ได้อธิบายข้างต้น

หมายเหตุ คําพิพากษาฎีกาที่ 1915/2536 พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า คําสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้น ไม่ทําให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด กฎหมายดังกล่าว มิได้ยกเว้นว่าหนี้ใดจะต้องหลุดพ้น เพราะคําสั่งยกเลิกการล้มละลาย จึงแปลได้ว่าหนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้อง อย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น

 

ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการเรื่องหนึ่ง ในการพิจารณาตั้งผู้ทําแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้ร้องขอเสนอนายเชียวเป็นผู้ทําแผน ส่วนลูกหนี้เสนอนายชาญเป็นผู้ทําแผน ศาลล้มละลายกลางพิจารณา แล้วเห็นว่านายชาญที่ลูกหนี้เสนอมีคุณสมบัติเป็นผู้ทําแผน จึงมีคําสั่งตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผน ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า คําสั่งของศาลดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/17 วรรคแรก “ในการพิจารณาตั้งผู้ทําแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่ได้ เสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วย เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ศาลจะมีคําสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทําแผนก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทําแผนก็ดี หรือลูกหนี้ เจ้าหนี้ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็น ผู้ทําแผนด้วยก็ดี ให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุดเพื่อพิจารณา เลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า คําสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ตั้งนายชาญ เป็นผู้ทําแผนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ. เมละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/17 วรรคแรก ได้กําหนด หลักเกณฑ์การตั้งผู้ทําแผนไว้ดังนี้คือ

1 กรณีลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่ได้เสนอบุคคลอื่นมาเป็นผู้ทําแผน ศาลอาจมีคําสั่ง ตั้งบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ทําแผนก็ได้

2 กรณีที่ศาลเห็นว่าบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทําแผน หรือลูกหนี้เจ้าหนี้ ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทําแผนด้วย ให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลาย โดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน ศาลจะมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนไปเลยทีเดียวไม่ได้

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเจ้าหนี้ผู้ร้องขอเสนอนายเชียวเป็นผู้ทําแผน และลูกหนี้เสนอ นายชาญเป็นผู้ทําแผนด้วย ศาลจึงต้องมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหมดโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทําแผน ทั้งนี้ตามมาตรา 90/17 วรรคแรก ศาลจะมีคําสั่งตั้งนายเชียว หรือนายชาญเป็นผู้ทําแผนในทันทีหาได้ไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผนในทันที ก่อนมีคําสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ คําสั่งของศาลดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ตั้งนายชาญเป็นผู้ทําแผน โดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ของมาตรา 90/17 วรรคแรก นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Advertisement