การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. โดยมี ค. เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมา ก. ถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศให้เจ้าหนี้ทั้งหลายมาขอรับชําระหนี้ตามวัน เวลา และ สถานที่ที่ประกาศ แต่ ข. ไม่ขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายเรื่องนั้น ดังนี้ ข. จะนําหนี้ดังกล่าวมาฟ้อง ก. และ ค. ให้รับผิดตามสัญญากู้และคําประกันได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 15 “ตราบใดที่ลูกหนี้ยังมิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดจะฟ้อง ลูกหนี้นั้นเป็นคดีล้มละลายอีกก็ได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งในคดีหนึ่งคดีใดให้พิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้ จําหน่ายคดีล้มละลายซึ่งเจ้าหนี้ยื่นฟ้องลูกหนี้คนเดียวกันนั้น”

มาตรา 59 “การประนอมหนี้ไม่ทําให้บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือรับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือค้ำประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ําประกันของลูกหนี้ หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นแรกที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ข. จะนําหนี้เงินกู้มาฟ้อง ก. ให้รับผิดตาม สัญญากู้ได้หรือไม่ เห็นว่า ตามกฎหมายล้มละลาย ก่อนที่ศาลจะมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้แต่ละรายจะ ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีกกี่คดีก็ได้ แต่หากศาลเดียวกันหรือศาลหนึ่งศาลใดมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายอีกไม่ได้ (มาตรา 15) แต่เจ้าหนี้จะต้องนําหนี้ของตนมายื่น ขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด ในคดีที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้เด็ดขาด (มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91)

เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ก. ได้ถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องล้มละลาย และศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้ว ดังนั้น ข. เจ้าหนี้จึงทําได้เพียงมายื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวัน เวลา และสถานที่ ดังประกาศเท่านั้น (มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91) การที่ ข. ไม่ขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายเรื่องนั้น ข. จะ นําหนี้เงินกู้ดังกล่าวมาฟ้อง ก. ให้รับผิดตามสัญญากู้อีกไม่ได้ตามมาตรา 15 (คําพิพากษาฎีกาที่ 100/2509)

ประเด็นต่อมาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ข. จะฟ้อง ค. ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้หรือไม่ เห็นว่า ตามกฎหมายล้มละลาย การที่เจ้าหนี้ไม่ยื่นคําขอรับชําระหนี้ เมื่อลูกหนี้ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ถือเป็น เรื่องของเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชําระหนี้รายนี้ได้เท่านั้น แต่ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน แต่จะรับผิดเฉพาะภาระหนี้ในส่วนที่ยังขาดอยู่ (มาตรา 59) ดังนั้น ข. จึงมีสิทธิที่จะฟ้อง ค. ผู้ค้ำประกันให้ชําระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้ ตามมาตรา 59

สรุป

ข. จะนําหนี้ดังกล่าวมาฟ้อง ก. ให้รับผิดตามสัญญากู้ไม่ได้ แต่ ข. จะนําหนี้ดังกล่าว มาฟ้อง ค. ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้

 

ข้อ 2 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2557 นายใจ ยืมเงินจากนายรวย จํานวน 1 ล้านบาท โดยออกเช็คสั่งจ่ายชําระหนี้เงินกู้ให้ไว้แก่นายรวย โดยลงวันที่สั่งจ่ายเงินวันที่ 20 กันยายน 2559 ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ธนาคารได้ฟ้องนายใจ เป็นคดีล้มละลายเนื่องจากไม่ยอมชําระหนี้ และศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาดนายใจในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 นายรวยทราบเรื่อง จึงได้ยื่นขอรับชําระหนี้ตามเช็ค จํานวน 1 ล้านบาทต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ปรากฏว่าธนาคารได้ยื่นคัดค้านคําขอรับชําระหนี้ ของนายรวยว่า การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และหนี้ตามเช็คลงวันที่ 20 กันยายน 2559 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ไม่อาจขอรับชําระหนี้ได้ หากท่านเป็นศาล จะพิจารณาคําขอรับชําระหนี้ของนายรวยและคําคัดค้านของธนาคารอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 94 “เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่

(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้ บังคับคดีไม่ได้

(2) หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทําขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายรวยยื่นขอรับชําระหนี้ตามเช็คจํานวน 1 ล้านบาท ต่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์นั้น ถือเป็นเรื่องการขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ ไม่มีประกันในคดีล้มละลาย ซึ่งตามมาตรา 94 ได้วางหลัก ไว้ว่า เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจะขอรับชําระหนี้ได้ ถ้ามูล แห่งหนี้แดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่า หนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่เป็นหนต้องห้ามตามมาตรา 94 (1) และ (2)

ตามข้อเท็จจริง หนี้ตามเช็คที่นายวยนํามายื่นขอรับชําระหนี้ แม้จะเป็นหนี้กู้ยืมเงินที่ไม่มี หลักฐานเป็นหนังสือ แต่ก็ได้มีการออกเช็คเพื่อเป็นการชาระหนี้เงินกู้ แม้เช็คจะมิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน แต่ เช็คก็เป็นมูลหนี้อย่างหนึ่งซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่นายใจลูกหนี้รับเงินไปและมอบเช็คให้แก่นายรวยแล้ว มูลหนี้ ตามเช็คจึงสมบูรณ์และมีมูลหนี้ที่อาจฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คเป็นเพียงวันถึงกําหนดจ่ายเงิน ตามเช็คหาใช่วันที่มูลหนี้ตามเช็คเกิดขึ้น ซึ่งได้แก่วันที่ 20 กันยายน 2557 อันเป็นวันที่นายใจออกเช็คให้ไว้แก่ นายรวย ดังนั้น หนี้ตามเช็คที่นายรวยนํามาขอรับชําระหนี้ จึงเป็นหนี้อันมูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ที่อาจขอรับชําระหนี้ได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ 459/2530) ส่วนข้อคัดค้านของธนาคารฟังไม่ขึ้น เพราะนายรวยหาได้ขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือไม่ แต่ขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็ค ซึ่งเป็นมูลหนี้อันอาจบังคับกันได้ตามกฎหมายว่าด้วยเช็ค ดังนั้น ศาลจึงต้องสั่งยกคําคัดค้านของธนาคารและสัง อนุญาตคําขอรับชําระหนี้ของนายรวย

สรุป

หากข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะสั่งยกคําคัดค้านของธนาคารและสังอนุญาตคําขอรับ ชําระหนี้ของนายรวย

 

ข้อ 3 คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เรื่องหนึ่ง ภายหลังจากศาลมีคําสั่งตั้งผู้ทําแผนแล้ว นาย ก. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึงการที่ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก. แล้ว เห็นว่า หนี้ที่นาย ก. มาขอรับชําระหนี้เป็นหนี้ที่นาย ก. ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อนาย ก. ได้รู้ถึงการที่ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงมีคําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของนาย ก. ให้ท่านวินิจฉัยว่า คําสั่งยกคําขอ รับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/27 วรรคแรก “เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 90/27 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหนี้อาจขอรับชําระหนี้ในการฟื้นฟู กิจการได้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกําหนดชําระหรือมีเงื่อนไข ก็ตาม เว้นแต่

1 เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี หรือ

2 เป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นาย ก. เจ้าหนี้ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้เงินกู้ แม้หนี้ดังกล่าว จะเป็นหนี้ที่นาย ก. ให้ลูกหนี้กู้ยืมไปในขณะที่นาย ก. ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตาม ก็ไม่ต้องห้ามที่ นาย ก. จะขอรับชําระหนี้ตามมาตรา 90/27 วรรคแรก ดังนั้น คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งยกคําขอรับชําระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมายเหตุ หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทําขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 94 (2) ไม่ได้เท่านั้น มิได้เป็นข้อยกเว้นที่ เจ้าหนี้จะขอรับชําระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 วรรคแรกด้วยแต่อย่างใด

Advertisement