การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2554

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3010 กฎหมายล้มละลาย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน จํานวน 3 ข้อ

ข้อ 1 ก. กู้เงิน ข. 1,000,000 บาท โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้ ในการจํานอง ก. มิได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้ เมื่อ ก. ผิดนัดชําระหนี้ ข. จึงฟ้องบังคับขายทอดตลาดที่ดิน ที่จํานองได้เงินสุทธิ 800,000 บาท หนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ดังนี้ ข. จะนํามูลหนี้ที่ขาดอยู่ ไปขอรับชําระหนี้ที่ยังขาดอยู่ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ถ้าการกู้เงินครั้งนี้ จากโจทย์ ข้างต้น ก. ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ไม่ขอรับชําระหนี้ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 6 “ในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

“เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิ์ที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานำ”

มาตรา 10 “ภายใต้บังคับมาตรา 9 เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ

(1) มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และ

มาตรา 96 วรรคแรกและวรรคท้าย “เจ้าหนี้มีประกันอาจขอรับชําระหนี้ภายในเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชําระหนี้สําหรับจํานวนที่ยังขาดอยู่

บทบัญญัติแห่งมาตรานี้ ไม่ให้ใช้บังคับในกรณีที่ตามกฎหมายลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดเกินกว่า ราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน”

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 “ถ้าเอาทรัพย์จํานองหลุด และราคา ทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจํานองออกขายทอดตลาด ใช้หนี้ ได้เงินจํานวนสุทธิน้อยกว่าจํานวนเงินที่ค้างชําระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจํานวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้อง รับผิดในเงินนั้น”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ การที่เจ้าหนี้มีประกันจะฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือจะขอรับชําระหนี้ ได้นั้น จะต้องเป็นเจ้าหนี้ที่มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับการชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ ที่เป็นหลักประกัน และถ้าเป็นการขอรับชําระหนี้ก็จะต้องเป็นเจ้าหนี้ประเภทที่ “อาจขอรับชําระหนี้ได้” กล่าวคือ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันยังคงต้องรับผิดเกินกว่าราคาทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน (มาตรา 10(1) และมาตรา 96 วรรคท้าย)

และสําหรับเจ้าหนี้มีประกันในกรณีเป็นผู้รับจํานองนั้น ถ้าจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายหรือจะขอ รับชําระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น จะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มี “สัญญาพิเศษ” นอกเหนือจาก ป.พ.พ. มาตรา 733 กล่าวคือจะต้องเป็นผู้รับจํานองที่มีสัญญาพิเศษนอกเหนือมาตรา 733 กับผู้จํานองว่า ถ้าบังคับจํานองได้เงิน ไม่พอชําระหนี้ ผู้จํานองยอมให้บังคับจํานองบังคับชําระหนี้เอากับทรัพย์สินอื่นได้อีก (ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับ กันได้ตามกฎหมาย)

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้ คือ

กรณีแรก การที่ ก. กู้เงิน ข. โดยนําที่ดินจํานองไว้เป็นประกันหนี้นั้น ถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้ มีประกันตามนัยมาตรา 6 แต่เมื่อในการกู้เงินครั้งนี้ ก. ไม่ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือไม่ได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ขาดไว้กับ ข. ดังนี้ เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท หนี้ดังกล่าวนี้ ก. ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิด ดังนั้น ข. จึงไม่สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปขอรับ ชําระหนี้ในคดีล้มละลายได้อีก เพราะเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 10(1)

กรณีที่สอง เมื่อการกู้เงินดังกล่าว ก. ได้มีสัญญาพิเศษนอกเหนือ ป.พ.พ. มาตรา 733 กับ ข. คือได้ทําสัญญารับผิดในมูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไว้ด้วย จึงถือว่า ข. เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มิได้เป็นผู้ต้องห้าม มิให้บังคับการชําระหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกันตามมาตรา 10(1) ดังนั้นเมื่อมีการบังคับขายทอด ตลาดที่ดินแล้วหนี้ยังขาดอยู่ 200,000 บาท ข. ย่อมสามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาทนั้นไปขอรับ ชําระหนี้ในคดีล้มละลายได้อีกตามมาตรา 96 วรรคแรก (3) ประกอบมาตรา 96 วรรคท้าย

สรุป กรณีแรก ข. จะนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ไปขอรับชําระหนี้ที่ยังขาดอยู่ไม่ได้

กรณีที่สอง ข. สามารถนํามูลหนี้ที่ยังขาดอยู่ 200,000 บาทไปขอรับชําระหนี้ได้

 

ข้อ 2 นายมีได้ทำสัญญากู้เงินจากธนาคาร ก. จำนวน 3 ล้านบาท โดยมีนายมาเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ในสัญญากู้ดังกล่าว ต่อมานายมีได้ชําระหนี้ไปเพียง 1 ล้านบาท ก็ถูกนายรวยซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาอีก 1 เดือนหลังจากศาลมีคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ธนาคาร ก. จึงได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ที่เหลืออีก 2 ล้านบาทต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และต่อมาอีก 15 วัน หลังจากธนาคารยื่นคําขอรับชําระหนี้ นายมาได้ทราบว่า นายมีถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด จึงมายื่นคําขอรับชําระหนี้ที่อาจไล่เบี้ยจากนายมี หากถูกธนาคาร ก. ฟ้องให้รับผิดแทนนายมี ตามสัญญาค้ำประกันต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อส่งให้ศาลพิจารณาต่อไป หากท่านเป็นศาล จะสั่งคําขอรับชําระหนี้ของธนาคาร ก. และคําขอรับชําระหนี้ของนายมาอย่างไร

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 91 วรรคแรก “เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคําสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกําหนดเวลาให้อีกได้ ไม่เกินสองเดือน”

มาตรา 101 “ถ้าลูกหนี้ร่วมบางคนถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้ร่วมคนอื่นอาจยื่นคําขอรับชําระหนี้ สําหรับจํานวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชําระหนี้ไว้เต็มจํานวนแล้ว

บทบัญญัติในวรรคก่อนให้ใช้บังคับแก่ผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ใน ลักษณะเดียวกันนี้โดยอนุโลม”

วินิจฉัย

ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคแรก เมื่อศาลได้มีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ลูกหนี้แล้ว เจ้าหนี้ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกําหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณา คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

กรณีตามอุทาหรณ์ เมื่อศาลมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายมีลูกหนี้แล้ว การที่ธนาคาร ก. เจ้าหนี้ ได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือว่าได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ภายใน กําหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะสังรับคําขอรับชําระหนี้ของธนาคาร ก.

สําหรับนายมาซึ่งเป็นผู้ค้ําประกันนั้น มาตรา 101 ได้ให้สิทธิในการยื่นคําขอรับชําระหนี้ในมูลหนี้ ซึ่งอาจไล่เบียจากลูกหนี้ในภายหน้าได้ ภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก เว้นแต่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิ์ ขอรับชําระหนี้ไว้เต็มจํานวนแล้ว และแม้ข้อเท็จจริงตามอุทาหรณนายมาผู้ค้ําประกันได้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ดังกล่าว

ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคแรก แต่เมื่อปรากฏว่า ธนาคาร ก เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเต็มจํานวน 2 ล้านบาทแล้ว นายมาจึงหมดสิทธิยื่นคําขอรับชําระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายดังกล่าว เพราะเข้า ข้อยกเว้นตามมาตรา 101 วรรคแรกตอนท้าย ดังนั้น ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งไม่รับคําขอรับชําระหนี้ของนายมา

สรุป  ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งรับคำขอรับชำระหนี้ของธนาคาร ก  แต่จะสั่งไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของนายมา

 

ข้อ 3 ธนาคารสยามฟ้องบริษัท เอ จํากัด ซึ่งยืมเงินจากธนาคารสยามกับแสงซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการยืมขอให้ศาลแพ่งบังคับให้บริษัท เอ จํากัด และแสงร่วมกันชําระเงินยืมดังกล่าว ในระหว่างที่ศาล พิจารณาคดีนั้น บริษัท เอ จํากัด ยื่นคําร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งฟื้นฟูกิจการของ บริษัท เอ จํากัด เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้พิจารณา บริษัท เอ จํากัด และ แสงยื่นคําขอให้ศาลแพ่งงดการพิจารณาคดีที่ถูกธนาคารสยามฟ้อง เนื่องจากศาลล้มละลายกลาง มีคําสั่งรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท เอ จํากัด ไว้พิจารณาแล้ว ธนาคารสยามยืนคําคัดค้าน ว่าศาลจะงดการพิจารณาคดีดังกล่าวไม่ได้ ให้ท่านวินิจฉัยว่าศาลแพ่งจะมีคําสั่งประการใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483

มาตรา 90/12 “ภายใต้บังคับของมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคําสั่ง รับคําร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกําหนดระยะเวลาดําเนินการตามแผน หรือวันที่ดําเนินการเป็นผลสําเร็จ ตามแผน หรือวันที่ศาลมีคําสั่งยกคําร้องขอหรือจําหน่ายคดีหรือยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟู กิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ตามความในหมวดนี้

(4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ ลูกหนี้อาจต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาล มีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการฟ้องคดีหรือเสนอข้อพิพาท ให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้เว้นแต่ศาลที่รับคําร้องขอจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 90/12(4) นั้นกําหนดว่า เมื่อศาลรับคําร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้พิจารณา จนถึงครบกําหนดระยะเวลาดําเนินการตามแผน ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือถ้าฟ้องคดีไว้แล้ว ก็ให้งดการพิจารณาไว้ ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคําสั่งเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้เป็นการห้ามฟ้องเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการหรือลูกหนี้ที่ยื่นคําขอร้องขอฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนจําเลยอื่นแม้จะต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ในคดีแพ่งด้วย แต่เมื่อมิใช่ผู้ร่วมร้องขอหรือเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟู กิจการด้วย ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 90/12(4) ด้วย เจ้าหนี้จึงฟ้องให้ลูกหนี้อื่นให้รับผิดทางแพ่งต่อไปได้

กรณีตามอุทาหรณ์ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า ศาลแพ่งจะมีคําสั่งประการใด เห็นว่า การที่ ธนาคารสยามฟ้องบริษัท เอ จํากัด ให้ชําระเงินกู้ยืมซึ่งเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัท เอ จํากัด เมื่อบริษัท เอ จํากัด ยื่นคําร้องขอฟื้นฟูกิจการของตน และศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอไว้พิจารณาแล้ว ศาลในคดีแพ่ง ดังกล่าวต้องงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้สําหรับบริษัท เอ จํากัด ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/1244)

ส่วนการพิจารณาคดีในส่วนของแสงนั้น แม้แสงจะถูกธนาคารสยามฟ้องให้รับผิดร่วมกับ บริษัท เอ จํากัด ในฐานะผู้ค้ําประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของบริษัท เอ จํากัด แสงก็ไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับบริษัท เอ จํากัด เพราะแสงมิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดี ฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ศาลจึงต้องพิจารณาคดีในส่วนของแสงต่อไป (ฎ. 3403/2545 (ประชุมใหญ่))

สรุป ศาลแพ่งจะมีคําสั่งให้งดการพิจารณาคดีแพ่งเฉพาะบริษัท เอ จํากัด และยกคําขอของแสง

Advertisement