การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จําเลยลักเอากระเป๋าสตางค์ 1 ใบ ราคา 500 บาท และเงินสด 3,000 บาท ของนางสาวสาระวารีผู้เสียหายไป โดยทุจริต ระหว่างสอบสวนจําเลยถูกควบคุมตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขดําที่ ฝ.100/2555 ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดที่ใด คงมีแต่เพียงคําร้องขอฝากขังในสํานวนคดีอาญาดังกล่าวที่อยู่ในสํานวนฟ้อง ซึ่งระบุว่า เหตุเกิดที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และจําเลยลงลายมือชื่อรับสําเนาคําร้องขอ ฝากขังที่ด้านหลังคําร้องดังกล่าวไว้แล้ว ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่กระทําความผิดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 158 “ฟ้องต้องทําเป็นหนังสือ และมี

(5) การกระทําทั้งหลายที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทํานั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจข้อหาได้ดี”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แม้คําฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทําความผิดไว้ก็ตาม แต่การที่โจทก์ได้กล่าวไว้ในคําฟ้องด้วยว่า ระหว่างสอบสวนจําเลยถูกควบคุมตามหมายขังของศาลชั้นต้นในคดีอาญา หมายเลขดําที่ ฝ.100/2555 ซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคําฟ้องโดยไม่ต้องคํานึงว่าคําร้องขอฝากขัง จะเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ เพราะความมุ่งหมายของ ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) นั้น เพียงต้องการให้จําเลยได้ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทําที่อ้างว่าจําเลยได้กระทําผิดพอสมควร เท่าที่จะให้จําเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น ทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุก็มิใช่องค์ประกอบของ ความผิดอันจะต้องระบุให้ชัดแจ้งไว้ในคําฟ้องโดยเฉพาะ

ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าตามคําร้องขอฝากขังในสํานวนคดีอาญาหมายเลขดําที่ ฝ.100/2555 ได้ มีรายละเอียดระบุสถานที่เกิดเหตุว่า เหตุเกิดที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และจําเลยได้ลง ลายมือชื่อรับสําเนาคําร้องไว้ที่ด้านหลังคําร้องขอฝากขังดังกล่าวแล้ว ดังนี้ถือว่าจําเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าเหตุคดีนี้ เกิดขึ้นที่ใด และสามารถนําสืบต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ขอบด้วย ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) (คําพิพากษาฎีกาที่ 1778/2551)

สรุป ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่กระทําความผิด เป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบ ด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในขณะที่จําเลยมีอายุ 29 ปี ขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ทวิ วรรคสี่ ก่อนเริ่มพิจารณาศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ จําเลยตอบว่าไม่มี แต่จําเลยไม่ต้องการทนายความเพราะสํานึกผิดในการกระทํา ดังนี้ หากศาลพิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ทวิ วรรคสี่ “ถ้าการปล้นทรัพย์ตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 173 วรรคแรกและวรรคสอง “ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่จําเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

ในคดีที่มีอัตราโทษจําคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มี และจําเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักไว้ว่า ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือ ในคดีที่จําเลยมีอายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้

แต่ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก (ไม่ว่าจะเป็นโทษจําคุกที่มีกําหนดเวลาหรือเป็นโทษจําคุก ตลอดชีวิต) ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ ศาลตั้งทนายความให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในขณะที่จําเลยมีอายุ 29 ปี ขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 340 ทวิ วรรคสี่ ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจําคุก จึงเข้าหลักตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 173 วรรคสอง ที่ได้กําหนดไว้ว่า ก่อนเริ่มพิจารณาศาลต้องถามจําเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและ จําเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อศาลถามจําเลยว่ามีทนายความ หรือไม่ จําเลยตอบว่าไม่มี แต่จําเลยไม่ต้องการทนายความ ดังนี้ศาลจึงไม่ต้องตั้งทนายความให้ และหากศาล พิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลย การพิจารณาคดีของศาลย่อมชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

หากศาลพิจารณาคดีไปโดยมิได้ตั้งทนายความให้จําเลย การพิจารณาคดีของศาลในกรณีนี้ ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. โจทก์บรรยายฟ้องและมีคําขอให้ลงโทษจําเลยฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 จําเลยหลงต่อสู้ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานได้ความว่า จําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ดังนี้ ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานใดได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

หมายเหตุ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่สิบห้าปี ถึงยี่สิบปี” มาตรา 291 “ผู้ใดกระทําโดยประมาท และการกระทํานั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม “ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณา แตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและ ทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ในกรณีที่ข้อแตกต่างนั้นเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลาหรือสถานที่กระทําความผิด หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดฐานลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ ยักยอก รับของโจร และทําให้ เสียทรัพย์ หรือต่างกันระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาท มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญ ทั้งมิให้ถือว่า ข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคําขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ เว้นแต่จะปรากฏแก่ศาลว่า การที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จําเลยหลงต่อสู้ แต่ทั้งนี้ศาลจะลงโทษจําเลยเกินอัตราโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิด ที่โจทก์ฟ้องไม่ได้”

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง ได้กําหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โดยหลักให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ ในข้อสาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะลงโทษจําเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้น ก็ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคําขอให้ลงโทษจําเลยฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 288 ซึ่งเป็นการกระทําโดยเจตนา แต่จากการสืบพยานได้ความว่า จําเลยกระทําโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ดังนี้ถึงแม้ว่าข้อแตกต่างระหว่างการกระทําผิดโดยเจตนากับประมาทนั้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสําคัญก็ตาม แต่เมื่อจําเลยหลงต่อสู้ศาลจึงพิพากษาลงโทษ จําเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง กรณีนี้ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง

สรุป ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยมิได้ ต้องพิพากษายกฟ้อง

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดหลายกรรมต่างกันฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 และฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามฟ้อง ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 304 จําคุก 6 เดือน ฐานลักทรัพย์ ในเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8) จําคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า โทษจําคุกจําเลยในความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้นให้รอการลงโทษ แก่จําเลยไว้มีกําหนด 2 ปี ให้ยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน นอกจากที่แก้ให้ เป็นไปตามคําพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยขอให้ลงโทษจําเลยไปตาม คําพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 218 “ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินห้าปี หรือปรับหรือทั้งจําทั้งปรับ แต่โทษจําคุกไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง

ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจําคุก จําเลยเกินห้าปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ ห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง”

มาตรา 219 “ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจําคุกจําเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจําเลยไม่เกินกําหนดที่ว่ามานี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง แต่ข้อห้ามนี้มิให้ใช้แก่จําเลยในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจําเลย”

มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับฎีกาของโจทก์หรือไม่นั้น เมื่อเป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน การพิจารณาสิทธิฎีกาของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น จะต้องพิจารณาแยกตาม ความผิดเป็นรายกระทงไป ดังนั้นข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์จึงแยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีแรก ความผิดฐานบุกรุกเคหสถานตาม ป.อาญา มาตรา 364 ซึ่งพนักงานอัยการโจทก์ ฟ้องจําเลยนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 6 เดือน โดยไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า โทษจําคุก 6 เดือนนั้นให้รอการลงโทษจําคุกแก่จําเลยไว้มีกําหนด 2 ปี กรณีดังกล่าวถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นว่าจําเลยมีความผิด และให้ลงโทษจําคุกจําเลย 6 เดือน ซึ่งเป็นโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี ดังนั้นกรณีนี้ ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 219 อีกทั้งกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่ให้รอการยิงโทษ จําคุกจําเลย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจําคุกจําเลยไว้มีกําหนด 2 ปีนั้น แม้จะถือว่าเป็นกรณี ที่มีการแก้ไขมาก แต่เมื่อมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลย กรณีนี้จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตอนท้ายของมาตรา 219 ที่จะทําให้คู่ความมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น โจทก์จึงฎีกาคําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในปัญหา ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้

กรณีที่ 2 ความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อาญา มาตรา 335(8) นั้น เมื่อศาลชั้นต้น พิพากษาว่า จําเลยมีความผิดจริงตามฟ้องและให้จําคุกจําเลย 3 ปี แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ กรณีนี้จึงมีผลเท่ากับว่าเป็นการพิพากษากลับคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงมิใช่เป็นคดีที่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ คู่ความฎีกาทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อาญา มาตรา 220 ดังนั้น กรณี ดังกล่าวนี้โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้

สรุป

ศาลชั้นต้นจะต้องมีคําสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ในความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน และ มีคําสั่งให้รับฎีกาของโจทก์ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถาน

Advertisement