การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3008 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. นางดีเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยใช้อาวุธมีดฟันทําร้ายนายขาวบุตรผู้เยาว์ของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 ศาลไต่สวน มูลฟ้องแล้วมีคําสั่งให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา จําเลยให้การปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ เมื่อสืบพยานโจทก์ เสร็จแล้ว ระหว่างสืบพยานจําเลย โจทก์ยื่นคําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าขณะยื่นฟ้องนายขาว เพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส บัดนี้ปรากฎว่าถึงแก่ความตายแล้วเนื่องจากบาดแผลที่ถูกฟันทําร้าย ติดเชื้ออย่างรุนแรง จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 จําเลยรับสําเนาคําร้องแล้ว ยื่นคําร้องคัดค้านว่าคดีนี้ศาลได้สืบพยานโจทก์จนเสร็จแล้ว คงเหลือสืบพยานจําเลยเพียงปากเดียว จึงไม่มีเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องและโจทก์ขอเพิ่มเติม ฐานความผิดโดยพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนในฐานความผิดที่ขอแก้มาก่อนด้วย หากศาลจะอนุญาตให้แก้ฟ้องก็ควรจะสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ศาสพิจารณาแล้วมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ โดยมิได้มีคําสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อน ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าคําสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 120 “ ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล โดยมิได้มีการสอบสวนใน ความผิดนั้นก่อน”

มาตรา 162 “ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้

(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจําเลย โดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)”

มาตรา 163 วรรคหนึ่ง “เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้อง ก่อนมีคําพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้ว ให้ส่งสําเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จําเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสํานวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้”

มาตรา 164 “คําร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทําให้จําเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิดหรือรายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องก็ดี การเพิ่มเติมฐานความผิด หรือรายละเอียดซึ่งมิได้กล่าวไว้ก็ดีไม่ว่าจะทําเช่นนี้ในระยะใดระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้น มิให้ถือว่าทําให้จําเลย เสียเปรียบ เว้นแต่จําเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นางดีเป็นโจทก์ฟ้องว่านายดําจําเลยใช้อาวุธมีดฟันทําร้ายนายขาว บุตรผู้เยาว์ของตน เป็นเหตุให้นายขาวได้รับอันตรายสาหัส ขอให้ลงโทษตาม ป.อาญา มาตรา 297 นั้น เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องนายขาวยังไม่ถึงแก่ความตาย แต่ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณานายขาวถึงแก่ความตาย

กรณีนี้จึงถือว่ามีเหตุอันควรที่โจทก์มีอํานาจยื่นคําร้องต่อศาลขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจําเลยตาม ป.อาญา มาตรา 290 ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง) อีกทั้งการแก้ไขฐานความผิดที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าจําเลยให้การปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ แสดงว่าจําเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงถือไม่ได้ว่าจะทําให้จําเลยเสียเปรียบ ในการต่อสู้คดีอันจักต้องห้ามมิให้ศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 164

และเมื่อคดีนี้เป็นคดีที่นางดีราษฎรเป็นโจทก์ มิใช่คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องอันจะต้อง อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.อาญา มาตรา 120 ซึ่งห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีใดโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น มาก่อน ดังนั้น การที่นางดีโจทก์ยื่นคําร้องขอเพิ่มเติมฐานความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 297 เป็นความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 290 แม้จะไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในฐานความผิดที่ขอแก้มาก่อน โจทก์ก็สามารถ ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้

และตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 162 (1) ซึ่งกําหนดให้ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนในคดีที่ราษฎร เป็นโจทก์นั้นก็เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับแก่คําฟ้องเริ่มคดีเท่านั้น แต่คําร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดนั้น มิใช่คําฟ้องเริ่มคดีที่จะเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะต้องสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนแต่อย่างใด อีกทั้ง ป.วิ.อาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง ก็ได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า หากเข้าหลักเกณฑ์ที่โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้แล้ว ถ้าศาลเห็นสมควร จะอนุญาตหรือจะสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนได้ ซึ่งถือเป็นดุลพินิจของศาล ดังนั้น การที่ศาลมีคําสั่งอนุญาตให้โจทก์ แก้ฟ้องได้โดยมิได้มีคําสั่งไต่สวนมูลฟ้องก่อนจึงชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

คําสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 และมาตรา 288 ซึ่งความผิดตามมาตรา 288 มีระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปี ในวันนัดพิจารณา โจทก์ จําเลย และทนายจําเลย มาศาล ศาลชั้นต้นอ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟังแล้ว จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นให้สืบพยานโจทก์ประกอบคํารับสารภาพของจําเลย เมื่อคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้น ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเห็นว่า การกระทําของจําเลยเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288

ให้วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ตามที่พิจารณาได้ความหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 176 วรรคหนึ่ง “ในชั้นพิจารณา ถ้าจําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษา โดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจําเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกําหนดอัตราโทษ อย่างต่ำไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลย ได้กระทําผิดจริง”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ตามที่พิจารณาได้ความหรือไม่ เห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ ตาม ป.อาญา มาตรา 72 และมาตรา 288 แม้ความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 จะมีระวางโทษตามที่กฎหมาย กําหนดให้ประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปี แต่เมื่อคําฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จําเลยกระทําโดยบันดาลโทสะตาม ป.อาญา มาตรา 72 ซึ่งศาลจะลงโทษจําเลยน้อยกว่าที่กฎหมายได้กําหนดไว้ สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้นั้น ย่อมมีผลให้ความผิดตามฟ้องของโจทก์ไม่มีอัตราโทษจําคุกอย่างต่ํา จึงมิใช่ เป็นคดีที่กฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างต่ําไว้ให้จําคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลจะต้อง ฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจําเลยได้กระทําผิดจริงตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ดังนั้น คดีนี้เมื่อจําเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงสามารถพิพากษาลงโทษจําเลยได้โดยไม่จําต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป

ส่วนการที่ศาลชั้นต้นให้สืบพยานโจทก์ประกอบคํารับสารภาพของจําเลยและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จําเลยกระทําผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 โดยมิใช่เป็นการกระทําโดยบันดาลโทสะนั้น ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษ จําเลยตามที่พิจารณาได้ความไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องแล้วว่า จําเลยกระทําความผิดโดยบันดาลโทสะ โดยศาลไม่จําต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนํามาสืบ (คําพิพากษาฎีกาที่ 11817/2556)

สรุป

ศาลชั้นต้นจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ตามที่พิจารณา ได้ความไม่ได้

 

ข้อ 3. (ก) คดีแรก โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัว เป็นเหตุให้นายตาถึงแก่ความตาย

(ข) คดีหลัง โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายเอก แต่พลาดไปถูกนายโทตาย ทั้งสองคดีดังกล่าว หากไม่ปรากฏว่าจําเลยในแต่ละคดีหลงต่อสู้ให้วินิจฉัยว่าศาลจะพิพากษาลงโทษ จําเลยในแต่ละคดีดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 192 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคหก “ห้ามมิให้พิพากษา หรือสั่งเกินคําขอ หรือ ที่มิได้กล่าวในฟ้อง

ถ้าศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ให้ศาลยกฟ้องคดีนั้น เว้นแต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสําคัญและทั้งจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจําเลย ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้

ถ้าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทําหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลจะลงโทษจําเลยในการกระทําผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความก็ได้”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ แยกวินิจฉัยได้ดังนี้

(ก) คดีแรก การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลยเจตนาจะยิงนายแก้วซึ่งเป็นคู่แฝดกับนายตา แต่ได้ใช้อาวุธปืนยิงนายตาโดยสําคัญผิดตัวเป็นเหตุให้นายตา ถึงแก่ความตายนั้น แม้ตาม ป.อาญา มาตรา 61 จําเลยจะยกเอาความสําคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทําโดย เจตนาไม่ได้ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายแก้วตาย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจําเลยฆ่านายตาตาย ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสําคัญ เพราะแตกต่างกัน ในตัวบุคคลที่เป็นวัตถุแห่งการกระทํา ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจําเลยไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

(ข) คดีหลัง การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยฆ่านายเอกตายโดยเจตนา แต่ในทางพิจารณาฟังได้ว่า จําเลย ใช้อาวุธปืนยิงนายเอก 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายเอกแต่พลาดไปถูกนายโทตายนั้น ข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทาง พิจารณาจึงฟังได้ว่า จําเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 บทหนึ่ง และผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 60 อีกบทหนึ่ง

สําหรับความผิดบทแรกฐานพยายามฆ่านายเอกนั้น ตัวบุคคลซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทําตามที่ โจทก์ฟ้องและที่พิจารณาได้ความไม่แตกต่างกัน อีกทั้งความผิดตามฟ้องฐานฆ่าผู้อื่นรวมการกระทําความผิด ฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองด้วย ดังนั้น ศาลจึงมีอํานาจที่จะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิด ฐานพยายามฆ่านายเอกตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตามที่พิจารณาได้ความได้ (ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคหก)

ส่วนความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดอีกบทหนึ่งนั้น เมื่อตัวบุคคลอันเป็นวัตถุแห่งการกระทํา ตามที่พิจารณาได้ความคือนายโทเป็นบุคคลคนละคนกับนายเอกตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่ ได้ความจากทางพิจารณาจึงแตกต่างจากฟ้องในข้อสาระสําคัญ ดังนั้น แม้จําเลยจะไม่หลงต่อสู้ ศาลก็จะพิพากษา ลงโทษจําเลยในความผิดบทนี้ไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 192 วรรคสอง

สรุป

(ก) คดีแรก ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดตามฟ้องไม่ได้

(ข) คดีหลัง ศาลพิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานพยายามฆ่านายเอกได้ แต่จะ พิพากษาลงโทษจําเลยในความผิดฐานฆ่านายโทตายโดยพลาดไม่ได้

 

ข้อ 4. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โตโยต้าอัลติส หมายเลขทะเบียน วว 1234 กรุงเทพมหานคร จากผู้เสียหาย แม้จําเลยจะมีสิทธิ์ใช้สอยและครอบครองรถยนต์ตาม สัญญาเช่าซื้อ แต่รถยนต์คันดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เสียหาย การที่จําเลยได้นํารถยนต์ คันดังกล่าวไปขายให้นายเอบุคคลภายนอก ถือได้ว่าจําเลยเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็น ของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริตจึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือ ทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การปฏิเสธอ้างว่าจําเลยไม่ได้กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อ กับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด ตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปี จําเลยยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง จําเลยได้ทําสัญญา เช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย ครอบครองและใช้รถยนต์นั้นโดยเปิดเผยโดยได้ชําระค่าเช่าซื้อเรื่อยมา จํานวนถึง 3 งวดติดต่อกัน ต่อมาจําเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถยนต์ให้นายเอ โดยทําความตกลง กับนายเอ ให้นายเอเป็นผู้ชําระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจําเลย ยังมิใช่การ เอารถยนต์ทรัพย์สินของผู้ให้เช่าซื้อไปขายแต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเอ โดยมีข้อตกลงให้นายเอมีหน้าที่ต้องชําระค่าเช่าซื้อต่อไป จําเลยจึงมิได้เบียดบังเอารถยนต์ดังกล่าว เป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จําเลยย่อมไม่มีความผิดฐานยักยอก ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง ทั้งนี้ผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคําพิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสิน เป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะ เหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 “วิธีพิจารณาข้อใดซึ่งประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นําบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้”

มาตรา 193 ทวิ “ห้ามมิให้อุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษ อย่างสูงตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่กรณี ต่อไปนี้ให้จําเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

(1) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก

(2) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษจําคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้

(3) ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด แต่รอการกําหนดโทษไว้ หรือ

(4) จําเลยต้องคําพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท”

มาตรา 193 ตรี “ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 193 ทวิ ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาหรือทําความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสําคัญ อันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักงานอัยการ ซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้ มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้ พิจารณาต่อไป”

และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 225 “ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้อง กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งจะต้องเป็นสาระ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่าจําเลยได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย แล้วเบียดบังเอารถยนต์ของผู้เสียหายไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยทุจริต โดยได้นํารถยนต์คันดังกล่าวไปขาย ให้แก่นายเอบุคคลภายนอก จึงขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดฐานยักยอกตาม ป.อาญา มาตรา 352 ซึ่งมีระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ จําเลยให้การปฏิเสธโดยอ้างว่าจําเลยไม่ได้ กระทําผิดตามฟ้อง และไม่เคยทําสัญญาเช่าซื้อกับผู้เสียหาย รถยนต์คันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย และศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษจําคุก 1 ปีนั้น

การที่จําเลยยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จําเลยไม่มีเจตนากระทําผิดตามฟ้อง จําเลย ได้ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากผู้เสียหาย ครอบครองและใช้รถยนต์นั้นโดยเปิดเผยโดยได้ชําระค่าเช่าซื้อเรื่อยมา จํานวน 3 งวดติดต่อกัน ต่อมาจําเลยค้างส่งค่างวดจึงได้มอบรถยนต์แก่นายเอ โดยทําความตกลงกับนายเอ ให้นายเอเป็นผู้ชําระค่าเช่าซื้อที่เหลือต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวของจําเลย ยังมิใช่การเอารถยนต์ทรัพย์สินของ ผู้ให้เช่าซื้อไปขาย แต่เป็นเพียงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่นายเอ โดยมีข้อตกลงให้นายเอมีหน้าที่ต้อง ชําระค่าเช่าซื้อต่อไป จําเลยจึงไม่ได้เบียดบังเอารถยนต์ดังกล่าวเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต จําเลยย่อม ไม่มีความผิดฐานยักยอกนั้น เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งแม้ว่าจะไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี จึงเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ (1) แต่อย่างไรก็ดี ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อาญา มาตรา 15 นั้น ได้วางหลักไว้ว่า ปัญหาข้อเท็จจริง ที่จะยกขึ้นอุทธรณ์จะต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่ข้อเท็จจริงที่จําเลยได้กล่าวไว้ ในอุทธรณ์เป็นข้อเท็จจริงที่จําเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาที่พิจารณาซึ่งได้ลงชื่อในคําพิพากษา ในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสําคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ตาม ก็ไม่มีบทกฎหมายให้อํานาจไว้แต่อย่างใด เนื่องจากตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ตรีนั้น ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา หรือลงชื่อในคําพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ก็แต่เฉพาะกรณีอุทธรณ์ที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 193 ทวิ เท่านั้น ดังนั้น กรณีดังกล่าวศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยไว้พิจารณาไม่ได้

สรุป

ศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งรับอุทธรณ์ของจําเลยดังกล่าวไว้พิจารณาไม่ได้

 

Advertisement