การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3007 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 2

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า โจทก์ทําสัญญากู้เงินจากจําเลยจํานวน 5 ล้านบาท โดยโจทก์นําโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จําเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์นําหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยไปชําระคืน เต็มจํานวนแล้ว แต่จําเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ โจทก์จึงขอศาลบังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดิน แก่โจทก์ จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยนําโฉนดที่ดินมาให้ตนยึดถือเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้ แต่อย่างใด และที่ดินที่โจทก์อ้างก็เป็นที่ดินสาธารณะ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ต่อมาศาลชั้นต้น มีคําพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 224 วรรคหนึ่ง “ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่เกินจํานวนที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เว้นแต่ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทําความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ หรือ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรองเช่นว่านี้ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอํานาจ แล้วแต่กรณี

วินิจฉัย

ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจํานวนทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันนี้ให้ถือเอาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นหลักในการพิจารณา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจําเลยโดยอ้างว่า โจทก์ทําสัญญากู้เงินจากจําเลยจํานวน 5 ล้านบาท และโจทก์ได้นําโฉนดที่ดินของโจทก์ไปให้จําเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์นําหนี้เงินกู้พร้อม ดอกเบี้ยไปชําระคืนเต็มจํานวนแล้ว แต่จําเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ โจทก์จึงขอศาลบังคับให้จําเลยคืนโฉนด ที่ดินแก่โจทก์ แต่จําเลยยื่นคําให้การอ้างว่า โจทก์ไม่เคยนําโฉนดที่ดินมาให้ตนยึดถือเป็นหลักประกันหนี้เงินกู้แต่อย่างใด และที่ดินที่โจทก์อ้างก็เป็นที่ดินสาธารณะ ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง และต่อมาศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้อง โจทก์นั้น การที่โจทก์ไม่พอใจคําพิพากษาของศาลชั้นต้น จึงยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดิน ตามฟ้องแก่โจทก์ ซึ่งเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล ซึ่งถือว่าเป็นการอุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริง และโจทก์จะอุทธรณ์ได้หรือไม่นั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาล บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคําพิพากษายกฟ้อง และโจทก์ ต้องการยื่นอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์บังคับให้จําเลยคืนโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์นั้น เมื่อเป็นการอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เข้าข้อห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้

สรุป โจทก์จึงสามารถอุทธรณ์ได้

 

ข้อ 2. โจทก์ฟ้องจําเลยอ้างว่า จําเลยบุกรุกเข้ามาในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยไม่มีอํานาจ ขอให้ศาลบังคับให้ขับไล่จําเลยและบริวารของจําเลยออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ จําเลยยื่นคําให้การ ต่อสู้ว่า อสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นของจําเลย ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลย เนื่องจากจําเลยทําไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มของศาล จําเลยจึง ยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นทันทีโดยไม่ได้โต้แย้งคําสั่งของศาล ดังนี้ จําเลยจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 1 “ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าข้อความมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

(5) “คําคู่ความ” หมายความว่า บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่นต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ

มาตรา 18 วรรคท้าย “คําสั่งของศาลที่ไม่รับหรือให้คืนคําคู่ความตามมาตรานี้ให้อุทธรณ์ และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227, 228 และ 247”

มาตรา 226 “ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคําพิพากษาหรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลนั้นได้มีคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228

(1) ห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา

(2) ถ้าคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคําสั่งใด ให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงไว้ในรายงาน คู่ความที่โต้แย้ง ขอบที่จะอุทธรณ์คําสั่งนั้นได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคําพิพากษา หรือคําสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้น เป็นต้นไป

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ไม่ว่าศาลจะได้มีคําสั่งให้รับคําฟ้องไว้แล้วหรือไม่ ให้ถือว่าคําสั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งของศาลนับตั้งแต่มีการยื่นคําฟ้องต่อศาลนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 เป็นคําสั่ง ระหว่างพิจารณา

มาตรา 228 วรรคหนึ่งและวรรคสอง “ก่อนศาลชี้ขาดตัดสินคดี ถ้าศาลมีคําสั่งอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

(3) ไม่รับหรือคืนคําคู่ความตามมาตรา 18 หรือวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามมาตรา 24 ซึ่ง มิได้ทําให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากเสร็จไปเฉพาะแต่ประเด็นบางข้อ

คําสั่งเช่นว่านี้ คู่ความย่อมอุทธรณ์ได้ภายในกําหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันมีคําสั่งเป็นต้นไป”

วินิจฉัย

คําสั่งของศาลที่จะถือว่าเป็นคําสั่งในระหว่างพิจารณานั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1 จะต้องเป็นคําสั่งของศาลที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินหรือจําหน่ายคดี

2 เมื่อศาลสั่งไปแล้วไม่ทําให้คดีเสร็จไปจากศาล กล่าวคือ ศาลยังต้องทําคดีนั้นต่อไป

3 ไม่ใช่คําสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227 และมาตรา 228

เมื่อเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณาแล้ว คู่ความจะอุทธรณ์คําสั่งทันทีไม่ได้ ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่ง ไว้ก่อนจึงจะเกิดสิทธิอุทธรณ์คําสั่งนั้นตามมาตรา 226 (2) ส่วนคําสั่งของศาลนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ 3 ประการนี้ ไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องโต้แย้งก่อนที่จะอุทธรณ์แต่ประการใด (อุทธรณ์ได้ทันที)

กรณีตามอุทาหรณ์ คําให้การเป็นคําคู่ความอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 1 (5) เมื่อศาลชั้นต้น มีคําสั่งไม่รับคําให้การของจําเลยด้วยเหตุว่าจําเลยทําไม่ถูกต้องตามแบบฟอร์มของศาล ซึ่งเป็นคําสั่งในชั้นตรวจคํา คู่ความของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 จึงเป็นคําสั่งไม่รับคําคู่ความตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 18 ซึ่งมิได้ทําให้ คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง หากแต่ทําให้ประเด็นบางข้อตามที่จําเลยยกขึ้นต่อสู้ในคําให้การเสร็จไปเท่านั้น จึงเป็นคําสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 (3) ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคําสั่งระหว่างพิจารณา อันจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คําสั่งนั้นใน ระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 226 (1) ดังนั้นจําเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับคําให้การ ของจําเลยได้ทันทีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 228 วรรคสอง แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม

สรุป จําเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นได้ทันที โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านคําสั่งนั้นไว้ก่อน

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องว่า จําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ศาลบังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้องใน ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลย หยุดใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน เสียหายของโจทก์ในระหว่างการพิจารณา ดังนี้ ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะมีคําสั่งเกี่ยวกับคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์อย่างไร เพราะ เหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 254 “ในคดีอื่น ๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคําฟ้อง หรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคําขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้

(1) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อน พิพากษา รวมทั้งจํานวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกําหนดชําระแก่จําเลย

(2) ให้ศาลมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยกระทําซ้ำหรือกระทําต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือ การผิดสัญญาหรือการกระทําที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคําสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์ อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทําของจําเลยหรือมีคําสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จําเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจําหน่าย ซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลย หรือมีคําสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลาย ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น

(3) ให้ศาลมีคําสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นผู้มีอํานาจหน้าที่ตาม กฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับ ทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจําเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทําที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคําสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(4) ให้จับกุมและกักขังจําเลยไว้ชั่วคราว วินิจฉัย การประกอบการ สํานักงาน

วิธีขอคุ้มครองชั่วคราวตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 นั้น โจทก์จะต้องร้องขอให้ศาลมีคําสั่งภายใน บังคับแห่งเงื่อนไขที่จะกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ คือ

1 วิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่จะนํามาใช้แก่จําเลยจะต้องเป็นวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254 (1) – (4) กล่าวคือ (1) ขอให้ยึดอายัดชั่วคราว (2) ขอห้ามชั่วคราว (3) ขอห้ามเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนชั่วคราว (4) ขอให้จับกุมกักขังจําเลยชั่วคราว

2 สิ่งที่ขอคุ้มครองจะต้องสอดคล้องกับประเด็นตามคําฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องว่าจําเลยกระทําละเมิดลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลบังคับให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 10 ล้านบาท จําเลยต่อสู้ว่า จําเลยไม่ได้กระทําละเมิด ไม่ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ขอให้ศาลยกฟ้อง และ ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น โจทก์ยื่นคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ขอให้ศาลมีคําสั่งให้จําเลยหยุดใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายของโจทก์ในระหว่าง พิจารณานั้น จะเห็นได้ว่า สิ่งที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวนั้นไม่เกี่ยวกับประเด็นที่โจทก์ฟ้องและคําขอท้ายฟ้อง ที่ขอให้จําเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น โจทก์จึงขอคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้ เพราะไม่ต้องด้วย หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 254

สรุป ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะมีคําสั่งยกคําร้องของโจทก์

 

ข้อ 4. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และให้โจทก์ชําระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จําเลย หากจําเลยไม่จดทะเบียนโอน ให้ถือคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลย หากจําเลยไม่สามารถ จดทะเบียนโอนได้ ให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 500,000 บาท พร้อมคืนเงินมัดจําจํานวน 200,000 บาท แก่โจทก์ ศาลออกคําสั่งบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษาภายใน 15 วัน จําเลย นําเงิน 700,000 บาทมาวางต่อศาล แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จนครบกําหนดเวลาตามคําบังคับแล้ว

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า โจทก์จะมีสิทธิร้องขอให้บังคับแก่คดีจําเลยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตาม คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง โดยอาศัย และตามคําบังคับที่ออกตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้น”

วินิจฉัย

ตามบทบัญญัติมาตรา 271 แห่ง ป.วิ.แพ่ง นั้น มีหลักว่า ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี หรือลูกหนี้ตามคําพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาล คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะหรือ เจ้าหนี้ตามคําพิพากษา ย่อมมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาหรือคําสั่งนั้นได้

แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาจะต้องดําเนินการบังคับคดีภายใน ขอบเขตของคําบังคับที่ออกโดยคําพิพากษา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จะต้องดําเนินการบังคับตามลําดับก่อนหลัง ที่ระบุไว้ในคําพิพากษา เจ้าหนี้จะเลือกให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษาปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามคําพิพากษาไม่ได้ และลูกหนี้ตามคําพิพากษา ก็ต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ใน คําพิพากษาเช่นเดียวกันด้วย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ให้จําเลยไป จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และให้โจทก์ชําระราคาค่าที่ดินส่วนที่เหลือแก่จําเลย หากจําเลยไม่ไปจดทะเบียนโอน ให้ถือคําพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจําเลย หากจําเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนได้ ให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายจํานวน 500,000 บาท พร้อมคืนเงินมัดจําจํานวน 200,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น เป็นกรณีที่หนี้ตามคําพิพากษามีหลายอย่าง และมิใช่หนี้ที่ให้ลูกหนี้ตามคําพิพากษามีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใด อย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 198 แต่เป็นเรื่องการดําเนินการบังคับคดีตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271 ดังนั้น การที่โจทก์ ร้องขอให้บังคับคดีก็ต้องเป็นไปตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษานั้น และจําเลย (ลูกหนี้ตามคําพิพากษา) ก็จะต้องปฏิบัติการชําระหนี้ต่อโจทก์ตามลําดับก่อนหลังที่ระบุไว้ในคําพิพากษาด้วย ซึ่งกรณีตามอุทาหรณ์ดังกล่าวนี้ จําเลยจะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน จําเลยจะเลือกวิธีการชําระค่าเสียหาย และคืนเงินมัดจําให้แก่โจทก์ทั้งที่จําเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ยินยอมตกลงด้วยหาได้ไม่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคําบังคับให้จําเลยปฏิบัติตามคําพิพากษา จําเลย ยอมน้ําเงิน 700,000 บาท มาวางต่อศาลเพื่อชําระให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับ จึงเท่ากับว่าจําเลยยังมิได้ปฏิบัติให้ ถูกต้องตามคําพิพากษา ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องขอให้บังคับคดีตามคําพิพากษาโดยถือเอาคําพิพากษา แทนการแสดงเจตนาของจําเลยได้ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 271

สรุป โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีจําเลยได้

 

Advertisement