การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายใหญ่ถูกฟ้องต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี ข้อหาชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 (อัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 5 บีถึง 10 บี) ต่อมานายใหญ่หลบหนีไมมาศาล นายหนุ่มผู้พิพากษาประจำศาลในศาลจังหวัดอุทัยธานีได้ออกหมายจับนายใหญ่ การที่นายหนุ่มผู้พิพากษาประจำศาล ออกหมายจับนายใหญ่ ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 24 ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1)        ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น

(2)        ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 24(1) ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาทุกคนมีอำนาจออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษาในศาลใด จะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา หรือศาลแขวงก็ได้ และอำนาจดังกล่าวนี้เป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว ไม่จำต้องมีผู้พิพากษาอื่นลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะด้วยแต่อย่างใด 

ซึ่ง หมายอาญา” ก็คือ หนังสือซึ่งออกตาม ป.วิ.อาญามาตรา 2(9) และมาตรา 77 ซึ่งสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับกุม ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลย หรือ นักโทษ หรือให้ทำการค้นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งนั่นเอง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายใหญ่ถูกฟ้องต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี ข้อหาชิงทรัพย์ และต่อมา นายใหญ่หลบหนีไม่มาศาล เช่นนี้ นายหนุ่มผู้พิพากษาประจำศาลในศาลจังหวัดอุทัยธานี ย่อมมีอำนาจออกหมายจับ ซึ่งเป็นหมายอาญาประเภทหนึ่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 24(1) ดังนั้น การที่นายหนุ่มผู้พิพากษา ประจำศาลออกหมายจับนายใหญ่ จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การที่นายหนุ่มผู้พิพากษาประจำศาลออกหมายจับนายใหญ่ ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น 

 

ข้อ 2. นายดำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้จ่ายสำนวนคดีอาญาเรื่องหนึ่งให้นายแดงและนายเขียวผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นองค์คณะพิจารณาคดี ขณะทำคำพิพากษาในคดีนั้น นายแดงย้ายไปรับราชการ ยังศาลอื่น

นายเขียวจึงนำคดีไปปรึกษานายดำ แต่นายดำได้ไปราชการยังต่างประเทศพอดี นายขาว รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่มีอาวุโสสูงสุดจึงมอบหมายนายส้มผู้พิพากษาศาลอาญาเข้าเป็น องค์คณะแทนนายแดง ร่วมกับนายเขียวทำคำพิพากษาต่อไป การกระทำของนายขาวรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม เพราะเหตุใด

ธงคำต

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 8 วรรคสอง เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน

ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุด ไม่อาจปฏิบัติราชการแทนได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสทัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง

มาตรา 29 “ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และ ศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสำนวนคดีนั้นแล้ว

(1)        ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธานศาลฎีกา

(2)        ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้แก่ ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี

(3)        ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 13 มีอำนาจตาม (1)(2)และ (3) ด้วย

มาตรา 30 “เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณีทีผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไมสามารถนั่งพิจารณา หรือทำคำพิพากษาในคดีนั้นได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายดำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้จ่ายสำนวนคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ให้นายแดง และนายเขียวผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นองค์คณะพิจารณาคดีนั้น ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 ที่บังคับว่า ในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คน จึงเป็นองค์คณะที่มี อนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่า การกระทำของนายขาวรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาที่มอบหมายให้นายส้มผู้พิพากษาศาลอาญาเข้าเป็นองค์คณะแทนนายแดงนั้น ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม เห็นว่า ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 29 ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้เกิดขึ้นแกผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะในระหว่างการทำคำพิพากษาคดี

เช่น เจ็บป่วย ตาย หรือโอนย้ายไปรับราชการ ในตำแหน่งอื่น เป็นต้น ทำให้ไม่อาจทำคำพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ บทบัญญัติมาตรา 29(1) – (3) จึงกำหนดให้ ผู้พิพากษาเหล่านั้นมีอำนาจลงลายมิอชื่อทำคำพิพากษาได้

ตามข้อเท็จจริง การที่นายแดงย้ายไปรับราชการยังศาลอื่นในระหว่างการทำคำพิพากษา ถือเป็นเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 30 กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 29(3) ที่ต้องให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเป็นผู้ลงลายมือชื่อทำคำพิพากษา เพื่อให้ครบองค์คณะ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดำอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ไปราชการยังต่างประเทศพอดี จึงไม่อาจปฏิบัติราชการได้

ดังนั้นนายขาว รองอธิบดีศาลอาญาทีมีอาวุโสสูงสุดจึงต้องเป็นผู้ทำการแทน และมีอำนาจเข้าเป็นองค์คณะแทนได้ตามมาตรา 29(3) และวรรคท้าย ประกอบมาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งนายขาวจะต้องลงลายมือชื่อทำคำพิพากษาด้วยตนเองเท่านั้น จะมอบหมายให้ผู้พิพากษาในศาลเข้าเป็นองค์คณะแทนไม่ได้ เพราะมาตรา 29(3) ไม่ได้ให้อำนาจในการมอบหมาย เอาไว้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า นายขาวได้มอบหมายให้นายส้มผู้พิพากษาศาลอาญาเข้าเป็นองค์คณะแทนนายแดง ร่วมกับนายเขียวทำคำพิพากษาต่อไป การกระทำของนายขาวดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป การกระทำของนายขาวรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น 

 

ข้อ 3. โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ขอให้จำเลยชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงิน จำนวน 3 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จนถึงวันชำระเสร็จแก่โจทก์ด้วย มีนายเอกผู้พิพากษาอาวุโสในศาลแขวง เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา เมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้น นายเอกพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่ โจทก์ จำนวน 300,000 บาท

คำพิพากษาของศาลแขวงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน

สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คดีแพ่งที่ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาไม่ได้ (มาตรา 25(4) ประกอบกับมาตรา 7)

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ขอให้จำเลยชำระหนี้เงินตามสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 3 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องนั้น นายเอกผู้พิพากษาอาวุโสในศาลแขวงย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ เพราะเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์หรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท (ดอกเบี้ยนับแต่ วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จ ไม่นำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ด้วย

เพราะจำนวนทุนทรัพย์จะพิจารณาขณะยื่นฟ้องเท่านั้น) ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 25(4) ประกอบมาตรา 17 ดังนั้น การที่นายเอกพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน ให้แกโจทก์จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป คำพิพากษาของศาลแขวงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement