การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. โจทก์ฟ้องจําเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรี ขอให้พิพากษาขับไล่จําเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลย เพราะบิดาของโจทก์ได้โอนขายที่ดินให้แก่จําเลย ก่อนที่บิดาของโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลสั่งไต่สวนราคาที่ดินและให้โจทก์ชําระค่าธรรมเนียมศาล ตามราคาที่ดินพิพาท เมื่อไต่สวนแล้วปรากฏว่าที่ดินพิพาทมีราคาสองแสนเก้าหมื่นแปดพันบาท ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาของศาลจังหวัดราชบุรี จึงมีคําสั่ง โอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรี ท่านเห็นว่า คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่

(ศาลจังหวัดราชบุรีและศาลแขวงราชบุรีมีเขตอํานาจตลอดจังหวัดราชบุรี)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 16 วรรคท้าย “ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขต ของศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ”

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้นดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งมีราคาทรัพย์สินที่พิพาท หรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดขอให้พิพากษาขับไล่จําเลยออกจากที่ดิน โดยหลักแล้วคําฟ้องเช่นนี้ไม่ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจําเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ ของจําเลย คดีจึงเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือจําเลย ส่งผลให้คดีนี้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์

เมื่อคดีดังกล่าวเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ก็ต้องมีการตีราคาที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อไต่สวนแล้วที่ดิน พิพาทมีราคาสองแสนเก้าหมื่นแปดพันบาท ถือว่าทุนทรัพย์ไม่เกินสามแสนบาท ดังนั้นจึงเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17

ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยจึงมีว่า การที่ศาลจังหวัดราชบุรีเห็นว่าราคาที่ดินพิพาทไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาของศาลจังหวัดราชบุรี จึงมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงราชบุรีนั้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่ เห็นว่า ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย ได้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อ ศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอํานาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคําสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอํานาจ ดังนั้นกรณีตามอุทาหรณ์ดังกล่าว การที่ศาลจังหวัดราชบุรี ได้มีคําสั่งโอนคดีไปยัง ศาลแขวงราชบุรี คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีจึงขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป คําสั่งโอนคดีของศาลจังหวัดราชบุรีชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายจันทร์ต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของนายอาทิตย์เจ้ามรดกบิดาตนเอง เนื่องจากมีทรัพย์มรดกในธนาคารหลายธนาคาร โดยนายอาทิตย์มีเงินฝาก ที่ธนาคาร 4 แห่ง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํานวน 250,000 บาท ธนาคารออมสิน จํานวน 1,000,000 บาท ธนาคารกสิกร จํานวน 800,000 บาท ธนาคารทหารไทย จํานวน 180,000 บาท นายจันทร์จึงมาปรึกษาท่านว่าจะนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลใดระหว่างศาลแพ่งและศาลแขวงพระนครเหนือ ให้ท่านตอบคําถามนายจันทร์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 19 วรรคแรก “ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรีมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมอื่น”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

วินิจฉัย

ตามหลักของพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 คดีแพ่งที่ศาลแขวง โดยผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ต้องเป็นคดีมีข้อพิพาท และคดีมีข้อพิพาทนั้นจะต้องเป็น คดีที่มีทุนทรัพย์ และทุนทรัพย์ที่ฟ้องนั้นต้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 3 แสนบาท หากเกินกว่า 3 แสนบาท หรือเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ศาลแขวงจะรับคดีนั้นไว้พิจารณาพิพากษาไม่ได้

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายจันทร์ต้องการยื่นคําร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคําสั่งตั้งตนเป็น ผู้จัดการมรดกของนายอาทิตย์เจ้ามรดกนั้น ถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทและคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงไม่อยู่ในอํานาจ พิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 17 ดังนั้น นายจันทร์จะต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ที่ศาลแพ่ง จะนําไปยื่นที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ แต่อยู่ในอํานาจพิจารณา พิพากษาของศาลแพ่ง (ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19 วรรคแรก)

สรุป นายจันทร์ต้องนําคดีนี้ไปยื่นคําร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลแพ่ง เพราะเป็นคดี ไม่มีข้อพิพาทจึงไม่อยู่ในอํานาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงพระนครเหนือ

 

ข้อ 3. นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้จ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่นายน้อยผู้พิพากษาศาลแขวง เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายน้อยสืบพยานโจทก์ไปเพียงหนึ่งปาก ได้ย้ายไปรับราชการยัง ศาลจังหวัดอื่นนายเอกจึงนําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่งผู้พิพากษาศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะ แทนนายน้อย นายเก่งจึงได้พิจารณาคดีจนเสร็จสิ้น แล้วทําคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยหนึ่งปี โดยมีนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาเป็นองค์คณะด้วย ท่านเห็นว่า การกระทําของนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลข้างต้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมีคําสั่ง ใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอํานาจ ของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 28 “ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษา ดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษา หัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแล้วแต่กรณีมอบหมาย”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี”

มาตรา 30 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 หมายถึง กรณี ที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นพ้นจากตําแหน่งที่ดํารงอยู่ หรือถูกคัดค้านและถอนตัวไป หรือไม่อาจ ปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณา หรือทําคําพิพากษาในคดีนั้นได้”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่กําหนด ไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25 (5) แล้ว เห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้จ่ายสํานวนคดีซึ่งพนักงาน อัยการเป็นโจทก์ฟ้องจําเลยในข้อหากระทําความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นตาม ป.อาญา มาตรา 310 ซึ่งมี ระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ให้แก่นายน้อยผู้พิพากษาศาลแขวง เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายน้อยย่อมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17

เมื่อนายน้อยสืบพยานโจทก์ไปเพียงหนึ่งปาก ได้ย้ายไปรับราชการยังศาลจังหวัดอื่น กรณีนี้ถือว่า มีเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะนั่งพิจารณา คดีต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 28 ประกอบมาตรา 30 ซึ่งตามมาตรา 28 (3) ได้กําหนดให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงหรือผู้พิพากษาศาลแขวงซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงมอบหมายเป็นผู้นั่ง พิจารณาคดีนั้นแทนต่อไป ดังนั้น การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้นําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่ง ผู้พิพากษาศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะนั่งพิจารณาคดีแทนนายน้อยจึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และทําให้นายเก่งมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) ประกอบมาตรา 17 แต่นายเก่งจะลงโทษจําคุกจําเลยเกิน 6 เดือน หรือปรับเกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากนายเก่งได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนเสร็จสิ้น แล้วเห็นว่าควร พิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปี ซึ่งเป็นโทษจําคุกที่เกิน 6 เดือน กรณีนี้ถือว่าเป็นเหตุจําเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31 (2) ซึ่งตามมาตรา 29 (3) ได้กําหนดว่าถ้านายเก่งจะทําคําพิพากษา จะต้องนําสํานวนคดีนั้นไปให้นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้ตรวจ และลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาด้วย คําพิพากษานั้นจึงจะชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อนายเก่งได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนเสร็จสิ้นแล้วทําคําพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลย 1 ปีนั้น มีนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษา เป็นองค์คณะด้วย ดังนั้นการกระทําของนายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลกรณีนี้จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เช่นเดียวกัน

สรุป การที่นายเอกผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงได้นําสํานวนคดีดังกล่าวไปให้นายเก่งผู้พิพากษา ศาลแขวงแห่งนั้นเป็นองค์คณะนังพิจารณาคดีแทนนายน้อย ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ตามมาตรา 28 (3) และมาตรา 30 และการที่นายเอกตรวจสํานวนและลงลายมือชื่อในคําพิพากษาเป็นองค์คณะก็ชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมเช่นเดียวกันตามมาตรา 29 (3) และมาตรา 31 (2)

Advertisement