การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3004 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ

ข้อ 1. นายหนึ่ง นายสอง และนายสามผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามลําดับ ได้ร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าว มีปัญหาข้อกฎหมายที่องค์คณะ ไม่อาจหาข้อยุติได้ จึงเสนอต่อประธานศาลอุทธรณ์ให้นําคดีเข้า ที่ประชุมใหญ่ศาลอุทธรณ์ในการประชุมใหญ่นอกจากมีองค์คณะใหญ่ข้างต้นแล้ว ยังมีผู้พิพากษา ศาลอุทธรณ์ทั้งหมดเข้าร่วมประชุมใหญ่จนได้ข้อยุติ แต่นายสามไม่เห็นด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา นายหนึ่งจึงนําสํานวนคดีและคําพิพากษาตามมติที่ประชุมใหญ่ ไปให้นายแดงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้เข้าที่ประชุมใหญ่ลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา นายแดง เมื่อได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้วจึงลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะในคําพิพากษาร่วมกับนายหนึ่ง และนายสอง นายห้าซึ่งได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ได้ทําความเห็นแย้งกลัดไว้ในสํานวนด้วย ท่านเห็นว่า คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์และการทําความเห็นแย้งดังกล่าวขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม หรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 27 “ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค หรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้

ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เข้าประชุมใหญ่ ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมแผนกคดีแล้ว มีอํานาจ พิพากษาหรือทําคําสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย”

วินิจฉัย

ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคแรก ได้บัญญัติว่า ในการพิจารณาพิพากษาคดี ของศาลอุทธรณ์นั้น จะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ ดังนั้น ตามอุทาหรณ์ การที่นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามลําดับ ได้เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเรื่องหนึ่ง การพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาทั้งสาม คนในคดีดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

และในกรณีที่มีการนําคดีเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่ของศาลอุทธรณ์นั้น พระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม มาตรา 27 วรรคสอง ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลอุทธรณ์นั้น เมื่อได้ ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้ว มีอํานาจพิพากษาหรือทําคําสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะในศาลอุทธรณ์มีอํานาจ ทําความเห็นแย้งได้ด้วย

เมื่อข้อเท็จจริงตามอุทาหรณ์ปรากฏว่า ได้มีการนําคดีอาญาเรื่องดังกล่าวที่มีปัญหาข้อกฎหมาย ที่องค์คณะไม่อาจหาข้อยุติได้เข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของศาลอุทธรณ์จนได้ข้อยุติ แต่นายสามไม่เห็นด้วยกับมติ ที่ประชุมใหญ่ จึงไม่ยอมลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา ดังนี้การที่นายแดงผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ได้เข้าที่ประชุมใหญ่ ได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้ว ได้ลงลายมือชื่อเป็นองค์คณะในคําพิพากษาร่วมกับนายหนึ่งและนายสองนั้น

นายแดงย่อมมีอํานาจกระทําได้ตามมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้น คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงชอบด้วย กฎหมาย เพราะถือว่ามีผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน เป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น

ส่วนกรณีที่นายห้าซึ่งได้เข้าร่วมประชุมใหญ่ได้ทําความเห็นแย้งกลัดไว้ในสํานวนนั้น นายห้า ย่อมมีอํานาจกระทําได้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีที่ประชุมใหญ่แล้วตามมาตรา 27 วรรคสองตอนท้าย

สรุป คําพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และการทําความเห็นแย้งของนายห้าชอบด้วยพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม

 

ข้อ 2. นายเขียวฟ้องขับไล่นายขาวออกจากที่ดินของนายเขียว ซึ่งมีราคา 200,000 บาท ต่อศาลจังหวัดนนทบุรี นายขาวให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของนายขําอนุญาตให้นายขาวอาศัยอยู่ นายเขียวไม่มีอํานาจฟ้อง ขอให้ศาลพิพากษายกฟ้อง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรีจ่ายสํานวนให้นายอรรถผู้พิพากษา เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา นายอรรถออกนั่งพิจารณาคดี สืบพยาน โจทก์จําเลยเสร็จแล้วจึง พิพากษาคดีดังกล่าว ให้ท่านวินิจฉัยว่า การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล การพิจารณาและพิพากษาคดีของนายอรรถ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา”

มาตรา 26 “ภายใต้บังคับมาตรา 25 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจาก ศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่นซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย สองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือ คดีอาญาทั้งปวง”

วินิจฉัย

ตามหลักพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(4) ได้บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนเดียวของ ศาลจังหวัด (ศาลชั้นต้น) มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ (ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจํานวนเงิน ที่ฟ้อง) ไม่เกิน 3 แสนบาท

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเขียวฟ้องขับไล่นายขาวออกจากที่ดินของนายเขียวเป็นคดีไม่มี ทุนทรัพย์ แม้นายขาวจะต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของนายอนุญาตให้นายขาวอาศัยอยู่ แต่ก็มิได้ต่อสู้ว่าที่ดินที่ พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของนายขาวเอง จึงไม่ใช่เป็นการกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ จึงไม่ทําให้เป็น คดีมีทุนทรัพย์ขึ้นมา ดังนั้นแม้ที่ดินที่พิพาทจะมีราคาเพียง 200,000 บาท คดีก็ไม่อยู่ในอํานาจของผู้พิพากษา คนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคแรก (4) จะต้องมีผู้พิพากษา อย่างน้อยสองคนเป็นองค์คณะ และต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจําศาลเกินหนึ่งคนตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 26

ดังนั้น การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี การพิจารณาและพิพากษาคดี ของนายอรรถจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป การจ่ายสํานวนคดีของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล การพิจารณาและพิพากษาคดีของนายอรรถ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 3. น.ส.พอใจ เป็นโจทก์ฟ้องนายอู๊ดในข้อหาลักโทรศัพท์มือถือตน เป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงนนทบุรีมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ นายสมยศผู้พิพากษา ศาลแขวงนนทบุรี ไต่สวนมูลฟ้องมีคําสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา เมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น นายสมยศ ต้องการจะลงโทษจําคุกนายอู๊ดเป็นเวลา 8 เดือน จึงนําเอาสํานวนไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโส ประจําศาลแขวงนนทบุรีทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วย ดังนี้

(ก) คําสั่งประทับรับฟ้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด

(ข) การทําคําพิพากษาที่นายสมยศนําเอาสํานวนไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโสประจําศาลแขวงนนทบุรี ทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วยชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

มาตรา 17 “ศาลแขวงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอํานาจทําการไต่สวน หรือมี คําสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอํานาจตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 วรรคหนึ่ง”

มาตรา 25 “ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอํานาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้

(3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคําสั่งในคดีอาญา

(5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แต่จะลงโทษจําคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้”

มาตรา 29 “ในระหว่างการทําคําพิพากษาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจ ก้าวล่วงได้ ทําให้ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ให้ ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอํานาจลงลายมือชื่อทําคําพิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอํานาจทําความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้หลังจากได้ตรวจสํานวนคดีนั้นแล้ว

(3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี”

มาตรา 31 “เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 28 และมาตรา 29 นอกจากที่ กําหนดไว้ในมาตรา 30 แล้วให้หมายความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย

(2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตามมาตรา 25(5) แล้ว เห็นว่าควรพิพากษา ลงโทษจําคุกเกินกว่าหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งโทษจําคุกหรือปรับนั้นอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว”

วินิจฉัย

(ก) กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายสมยศผู้พิพากษาศาลแขวงนนทบุรี ไต่สวนมูลฟ้องและมี คําสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณาในคดีดังกล่าวนั้น คําสั่งประทับรับฟ้องขอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม มาตรา 25(3) ประกอบกับมาตรา 17 เพราะเป็นคดีที่อยู่ในอํานาจผู้พิพากษาคนเดียว และเป็นคดีอาญาที่มีอัตรา โทษอย่างสูงจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(ข) เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ในอํานาจของศาลแขวงนนทบุรีตามมาตรา 17 และมาตรา 25(5) ซึ่งนายสมยศผู้พิพากษาเจ้าของสํานวนทําหน้าที่พิจารณาและพิพากษา และเมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น ถ้านายสมยศ จะพิพากษาคดี นายสมยศมีอํานาจพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีอาญาโดยให้ลงโทษจําคุกได้ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับเท่านั้น หากต้องการพิพากษาลงโทษจําคุกหรือปรับเกินกว่านี้ ก็จะถือเป็น เหตุจําเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามมาตรา 31(2) ทําให้ไม่อาจทําคําพิพากษาในคดีนั้นต่อไปได้ จึงต้องให้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงมาทําคําพิพากษาโดยตรวจสํานวนทั้งหมด และหากมีกรณีใดต้องการโต้แย้ง ก็สามารถทําได้ตามมาตรา 29(3) ดังนั้น การที่นายสมยศต้องการจะลงโทษจําคุกจําเลยเป็นเวลา 8 เดือน และนํา สํานวนคดีนี้ไปให้นายอุดมผู้พิพากษาอาวุโสประจําศาลแขวงนนทบุรีทําการลงลายมือชื่อทําคําพิพากษาร่วมด้วย จึงไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

สรุป

(ก) คําสั่งประทับรับฟ้องชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

(ข) การทําคําพิพากษาของนายสมยศดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

Advertisement