การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 3001กฎหมายอาญา 3

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 เอและปีมีเหตุทะเลาะโต้เถียงกัน เอระงับความโกรธไม่อยู่ ตรงเข้าผลักและต่อยบีล้มลงถูกเศษแก้วแตกแทงถูกที่ขาบีเลือดไหล ปีไม่ไปหาหมอแต่รักษาแผลเอง ซึ่งรักษาแผลไม่สะอาดพอทําให้แผล อักเสบติดเชื้อจนเข้ากระแสโลหิต บีถึงแก่ความตายในอีก 2 วันต่อมา ปรากฏผลการชันสูตรของ แพทย์ระบุวาบาดแผลที่ขาไม่รุนแรงหากมาหาแพทย์รักษาก็จะไม่ตาย ดังนี้ เอจะมีความผิดต่อชีวิตและร่างกายฐานใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 290 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1 ทําร้ายผู้อื่น

2 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทําร้ายถึงแก่ความตาย

3 โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เอผลักและต่อยบีล้มลงทําให้บีถูกเศษแก้วแตกแทงถูกที่ขามีเลือดไหล นั้น ถือว่าเอใช้กําลังประทุษร้ายต่อปีแล้ว และเมื่อการทําร้ายของเอทําให้ถึงแก่ความตายในอีก 2 วันต่อมานั้น แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่า ไม่ได้ไปหาหมอแต่รักษาแผลเอง ซึ่งมีรักษาแผลไม่สะอาดพอทําให้แผลอักเสบติดเชื้อ จนเข้ากระแสโลหิตเเละถึงแก่ความตาย และปรากฎผลในการชันสูตรของแพทย์ระบุว่าบาดแผลที่ขาไม่รุนแรง หากมาหาแพทย์รักษาก็จะไม่ตายก็ตาม แต่การที่บีไม่ไปหาหมอแต่ทําแผลเองทําให้แผลอักเสบติดเชื้อนั้น ถือว่า เป็นเหตุแทรกแซงที่คาดหมายได้ จึงไม่ตัดความสัมพันธ์ระหว่างการทําร้ายของเอกับความตายของปี ความตายของปี จึงเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ใกล้ชิดกับการทําร้ายของเอ ดังนั้น เอจึงมีความผิดฐานมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทําร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง

สรุป

เอมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง

 

ข้อ 2 นายเสือฆ่าคนตายแล้วหลบหนีในระหว่างทางพบนายช้างจอดรถจักรยานยนต์อยู่ที่พักริมทาง

นายเสือใช้อาวุธขู่เข็ญเอารถจากนายช้างเพื่อจะใช้รถเป็นพาหนะหลบหนี แต่นายช้างไม่ยอมโดย ตัดสินใจขับขี่รถจักรยานยนต์หนีไป นายเสือจึงไม่ได้รถจากนายช้าง ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่าการกระทํา ของนายเสือเป็นความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 80 “ผู้ใดลงมือกระทําความผิดแต่กระทําไปไม่ตลอด หรือกระทําไปตลอดแล้วแต่ การกระทํานั้นไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทําความผิด

ผู้ใดพยายามกระทําความผิด ผู้นั้นต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมายกําหนดไว้ สําหรับความผิดนั้น”

มาตรา 309 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือ ของผู้อื่น หรือโดยใช้กําลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทําการนั้น ไม่กระทําการนั้นหรือจํายอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษ”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานทําให้เสื่อมเสียเสรีภาพตามมาตรา 309 ประกอบด้วย

1 ข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใด

2 โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กําลังประทุษร้าย

3 จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทําการนั้น ไม่กระทําการนั้นหรือจํายอมต่อสิ่งนั้น

4 โดยเจตนา

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายเสือใช้อาวุธขู่เข็ญเอารถจักรยานยนต์จากนายซ้างนั้น การกระทําของนายเสือถือว่าเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใดหรือจํายอมต่อสิ่งใด โดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพตามมาตรา 309 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อนายช้างไม่ยอมโดยตัดสินใจขับขี่รถจักรยานยนต์หนีไป ทําให้ นายเสือไม่ได้รถจากนายช้างนั้น ถือว่าการกระทําของนายเสือเป็นการลงมือกระทําไปตลอดแล้วแต่การกระทํา นั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใดหรือจํายอมต่อสิ่งใดตามมาตรา 309 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง

สรุป

นายเสือมีความผิดฐานพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทําการใดหรือจํายอมต่อสิ่งใดตาม มาตรา 309 ประกอบมาตรา 80

 

ข้อ 3 แดงเป็นเจ้าของเสื้อผ้าและได้ส่งเสื้อผ้าให้มืดนําไปซักที่ร้านซักเสื้อผ้าของมืด โดยแดงได้นําเสื้อผ้าที่ใช้แล้วใส่ลงในตะกร้าที่บรรจุเสื้อผ้าเพื่อนําไปซัก แต่แดงลืมเอาเงินออกจากกระเป๋าเสื้อผ้า เป็นเงิน 5,000 บาท แดงได้ส่งตะกร้าเสื้อผ้าให้กับมืดไปพร้อมกับเสื้อผ้าที่มีเงินติดไปด้วย ขณะที่แดงส่งมอบ ตะกร้าพร้อมเสื้อผ้าให้กับมืดนั้น มืดไม่เห็นว่ามีสิ่งอื่นใดอยู่ในตะกร้าใบนั้นเลยนอกจากเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เมื่อมืดนําเสื้อผ้าของแดงที่บรรจุไว้ในตะกร้ากลับไปยังร้านซักรีดของมืด ก่อนที่จะนําเสื้อผ้าไปซัก มืดได้พบเงิน 5,000 บาท ที่แดงลืมไว้ หลังจากนั้น 2 วัน เมื่อมืดนําเสื้อผ้าที่ซักรีดเสร็จไปแล้วไป คืนให้แดง แต่มืดได้เอาเงิน 5,000 บาทนั้น เป็นของตนเสียเอง มืดมีความผิดอาญาฐานใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 334 “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้น กระทําความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษ”

วินิจฉัย

องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 ประกอบด้วย

1 เอาไป

2 ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

3 โดยเจตนา

4 โดยทุจริต

กรณีที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น จะต้องเป็นกรณีการเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปจากการครอบครองของผู้อื่นโดยทุจริต หรือเป็นการแย่งการครอบครองนั่นเอง ในกรณีที่เป็นการเอาทรัพย์สินของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริตในขณะที่ผู้เอาทรัพย์สินนั้น ไปได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นอยู่ย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่อาจเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ (ตาม มาตรา 352 วรรคหนึ่ง)

ตามอุทาหรณ์ การที่เดงเป็นเจ้าของเสื้อผ้าได้ส่งเสื้อผ้าให้มืดนําไปซักที่ร้านซักเสื้อผ้าของมืด โดยแดงลืมเอาเงินออกจากกระเป๋าเสื้อผ้าเป็นเงิน 5,000 บาทนั้น ถือว่าเงินดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครอง ของแดง เพราะแดงไม่ได้ส่งมอบการครอบครองให้มืด การที่มืดได้เอาเงิน 5,000 บาทไป จึงเป็นการแย่งการ ครอบครองเงินจากแดง ซึ่งเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น และเมื่อมืดเอาเงินนั้นเป็นของตนเสียเอง จึงเป็นการกระทํา โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย มืดจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

สรุป

มืดมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334

 

ข้อ 4 หนึ่งจะต้องไปร่วมงานราตรีสโมสรจึงขอยืมเครื่องประดับสร้อยคออัญมณีล้อมเพชรของสองไปสวมใส่ หนึ่งสะเพร่าทําสร้อยคอของสองตกหายในงานโดยไม่รู้ตัว ไม่มีสร้อยเพชรไปคืนให้สอง จึงหลอกสองว่า ถูกคนร้ายที่เข้ามาลักทรัพย์ในห้องนอนลักสร้อยของสองไปด้วย ขอเวลา 10 วัน จะเอาเงินมาชดใช้คืน สองเห็นหนึ่งหายไป 2 สัปดาห์จึงทวงถาม หนึ่งก็บ่ายเบี่ยงอ้างว่ายังหาเงินไม่ครบ เมื่อถูกทวงถาม อีกครั้งหนึ่งไม่มีเงินใช้คืนจึงปฏิเสธว่าไม่ได้ยืมสร้อย ดังนี้ หนึ่งจะมีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ฐานใดหรือไม่

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 341 “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ต้อง ระวางโทษ”

มาตรา 352 วรรคหนึ่ง “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทําความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ”

วินิจฉัย

องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ประกอบด้วย

1 หลอกลวงผู้อื่นด้วยการ

(ก) แสดงข้อความเป็นเท็จ หรือ

(ข) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

2 โดยการหลอกลวงนั้น

(ก) ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือ

(ข) ทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ

3 โดยเจตนา

4 โดยทุจริต

องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย

1 ครอบครอง

2 ทรัพย์ของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

3 เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สาม

4 โดยเจตนา

5 โดยทุจริต

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่หนึ่งขอยืมสร้อยคออัญมณีล้อมเพชรของสองไปสวมใส่ และหนึ่งสะเพร่า ทําสร้อยคอของสองตกหายในงานโดยไม่รู้ตัว ทําให้ไม่มีสร้อยคอไปคืนให้สอง จึงได้หลอกสองว่าถูกคนร้ายที่เข้ามา ลักทรัพย์ในห้องนอนลักสร้อยของสองไปด้วยนั้น การกระทําของหนึ่งไม่ถือว่าเป็นการยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 352 วรรคหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าหนึ่งจะครอบครองทรัพย์คือสร้อยคอของสอง แต่การที่หนึ่งทําสร้อยคอตกหายไปนั้น มิใช่เป็นการเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริตแต่อย่างใด หนึ่งจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์

อีกทั้งการกระทําของหนึ่งก็ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 เพราะแม้ว่าหนึ่งจะ หลอกลวงสองด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ แต่การหลอกลวงนั้นก็มิได้ทําให้หนึ่งได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากสอง ผู้ถูกหลอกแต่อย่างใด ดังนั้น หนึ่งจึงไม่มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

สรุป หนึ่งไม่มีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

Advertisement