การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2557

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ

ข้อ 1. จงอธิบายหลักเกณฑ์ที่บุคคลใดจะเป็นคนสาบสูญมาโดยละเอียด

ธงคําตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 61 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญไว้ดังนี้ คือ

1 บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลําเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เป็นเวลา 5 ปีในกรณีธรรมดา โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีผู้ได้พบเห็น หรือ นับตั้งแต่วันที่บุคคลนั้นได้จากภูมิลําเนาไป หรือนับแต่วันที่ได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้น ในครั้งหลังสุดเป็นต้นไป แต่ถ้าเป็นกรณีพิเศษให้นับระยะเวลาเพียง 2 ปี โดยให้เริ่มนับดังนี้คือ

1) ให้เริ่มนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นได้ไปอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว

2) ให้เริ่มนับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทําลาย หรือสูญหายไป

3) ให้เริ่มนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน 1) หรือ 2) ได้ผ่านพ้นไป

ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น

2 ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาล เพื่อสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญและ

3 ศาลได้มีคําสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ

และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้ว ก็ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย เมื่อครบ กําหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 62 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลซึ่งศาลได้มีคําสั่ง ให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกําหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61”

 

ข้อ 2. นายมะระกู้ยืมเงินจากนายมัดหมี่ จํานวน 4 ล้านบาท ต่อมาหนี้สัญญากู้ฉบับนี้ถึงกําหนดชําระแต่นายมะระไม่มีเงินที่จะชําระหนี้ นายมัดหมี่จึงต้องการบังคับชําระหนี้เอากับที่ดินของนายมะระ นายมะระกลัวที่จะเสียที่ดินไปจึงสมรู้ร่วมคิดกับนายมะม่วงโดยนายมะระโอนที่ดินให้นายมะม่วงไป โดยไม่มีเจตนาที่จะโอนที่ดินกัน ดังนี้ การโอนที่ดินระหว่างนายมะระและนายมะม่วง เป็นการแสดง เจตนาแบบใด และการโอนมีผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคแรก ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกับการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า

“การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ บุคคลภายนอกผู้กระทําการโดยสุจริต และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้”

การแสดงเจตนาลวงตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงการที่คู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรม ให้มีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้แสดงเจตนาหรือทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น กฎหมาย จึงได้กําหนดให้นิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆะใช้บังคับกันไม่ได้

ตามปัญหา การที่นายมะระกู้ยืมเงินจากนายมัดหมี่จํานวน 4 ล้านบาท ต่อมาหนี้ตามสัญญา กู้ฉบับนี้ถึงกําหนดชําระ แต่นายมะระไม่มีเงินที่จะชําระหนี้ นายมัดหมี่จึงต้องการบังคับชําระหนี้เอากับที่ดินของ นายมะระ และนายมะระซึ่งกลัวจะเสียที่ดินไปจึงได้สมรู้ร่วมคิดกับนายมะม่วง โดยนายมะระโอนที่ดินให้นาย มะม่วงไปโดยไม่มีเจตนาที่จะโอนที่ดินกันนั้น จะเห็นได้ว่า การโอนที่ดินระหว่างนายมะระและนายมะม่วงเป็น เพียงการแสดงเจตนาลวงเท่านั้น เพราะคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะทํานิติกรรม (การโอนที่ดิน) กันแต่อย่างใด แต่ได้ แสดงเจตนาหรือทํานิติกรรมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงบุคคลอื่นเท่านั้น และตามกฎหมายการโอนที่ดินระหว่างนายมะระ และนายมะม่วงจะตกเป็นโมฆะ

สรุป

การโอนที่ดินระหว่างนายมะระและนายมะม่วงเป็นการแสดงเจตนาลวง ทําให้การโอน ที่ดินดังกล่าวมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 3. การทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีแบบตามที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างไร และคู่สัญญาไม่ทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

ธงคําตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขายได้กําหนดแบบของสัญญาซื้อขายไว้ว่า “สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ” (ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก)

แบบของสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น หมายความถึง เฉพาะการทําสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษเท่านั้น ที่กฎหมายได้กําหนดว่าจะต้องทําเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ดังนั้นถ้าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสังหาริมทรัพย์ธรรมดา จึงไม่ต้อง กระทําตามแบบแต่อย่างใด คู่สัญญาอาจจะตกลงทําสัญญาจะซื้อขายกันด้วยวาจาหรือจะทําเป็นหนังสือสัญญากัน ก็ได้ สัญญาจะซื้อขายนั้นก็จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเสมอ

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การทําสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในรูปของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด มีแบบที่กฎหมายได้กําหนดไว้คือ ให้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และถ้าคู่สัญญาไม่ทํา ตามแบบที่กฎหมายกําหนดไว้จะมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 4. ตั๋วเงินที่ระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ กับตั๋วเงินที่ระบุชื่อผู้รับเงินโดยเฉพาะนั้น มีวิธีการโอนตามกฎหมายที่แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย

ธงคําตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงินได้บัญญัติถึงวิธีโอนตั๋วแลกเงินไว้ดังนี้ คือ

1 ตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อนั้นย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก)

2 ตั๋วแลกเงินสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ย่อมโอนกันได้ด้วยการส่งมอบให้แก่กัน (มาตรา 918)

3 การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินและลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง โดยจะระบุชื่อของผู้รับสลักหลังด้วย หรือเพียงแต่ลงลายมือชื่อของผู้สลักหลังไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินซึ่งเรียกว่า การสลักหลังลอยก็ได้ (มาตรา 919)

จากหลักกฎหมายดังกล่าว การโอนตั๋วเงินที่ระบุให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ (ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ) กับการโอนตั๋วเงินที่ระบุชื่อผู้รับเงินโดยเฉพาะ (ตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ) จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้คือ

1 ถ้าเป็นตัวเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ การโอนถั่วชนิดนี้ย่อมสามารถทําได้โดยการส่งมอบตัว แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องมีการสลักหลังใด ๆ ทั้งสิ้น (มาตรา 918)

ตัวอย่าง หนึ่งออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินแก่ผู้ถือ และส่งมอบตั๋วนั้นให้แก่สาม ดังนี้ ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ให้แก่ ก. สามสามารถโอนได้โดยการส่งมอบตัวให้แก่ ก. โดยที่สามไม่ต้องลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋ว การโอนตั๋วดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์

2 ถ้าเป็นตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) การโอนย่อมสามารถทําได้โดยการสลักหลัง และส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคแรก) หมายความว่าตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ (ผู้รับเงิน) นั้น ถ้าจะมีการโอนต่อไป ให้แก่บุคคลอื่น การโอนจะมีผลสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อผู้โอนได้ทําการสลักหลังและส่งมอบตั๋วเงินนั้น ให้แก่ผู้รับโอน (จะโอนโดยการส่งมอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้)

“การสลักหลัง” คือ การที่ผู้สลักหลัง (ผู้โอน) ได้เขียนข้อความและลงลายมือชื่อของตนไว้ ในตั๋วเงิน (หรือใบประจําต่อ) โดยอาจจะเป็นการ “สลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ)” หรืออาจจะเป็นการ “สลักหลังลอย” ก็ได้

(1) การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หมายถึง การสลักหลังที่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับ สลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ในตั๋วเงินด้วย โดยอาจจะทําที่ด้านหน้าหรือด้านหลังตั๋วก็ได้

(2) การสลักหลังลอย หมายถึง การสลักหลังที่ไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับสลักหลัง (ผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอน) ไว้ เพียงแต่ผู้สลักหลังได้ลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังของตั๋วเงินเท่านั้น (มาตรา 919 วรรคสอง)

ตัวอย่าง หนึ่งได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้สองจ่ายเงินให้แก่สาม โดยระบุชื่อสามเป็นผู้รับเงิน ดังนี้ถ้าสามมีความประสงค์จะโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้ต่อไปให้ ก. สามจะต้องลงลายมือชื่อของสามสลักหลังไว้ด้วย โดยสามอาจจะระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังลงไว้ในตัวด้วยซึ่งเรียกว่า การสลักหลังเฉพาะ (ระบุชื่อ) หรือสามอาจจะ ลงแต่ลายมือชื่อของสามไว้ที่ด้านหลังของตั๋วแลกเงินนั้น โดยไม่ระบุชื่อ ก. ผู้รับสลักหลังไว้ในตั๋วซึ่งเรียกว่าเป็น การสลักหลังลอยก็ได้

Advertisement