การสอบไล่ภาค 2 ปีการศึกษา 2555

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. จงอธิบายนิติกรรมที่ผู้เยาวสามารถทำได้โดยลำพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมมาโดยละเอียด
ธงคำตอบ

นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพังและมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายโดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ได้แก่ นิติกรรม ดังต่อไปนี้ คือ

1.      นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝายเดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า

“ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอับหนึ่ง ”
นิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวนั้น แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

1)      นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอับหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่เสียสิทธิ หรือรับเอาหน้าที่อย่างใด ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น การที่ผู้เยาว์ตกลงรับเอาทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้โดยเสน่หา โดยไม่มี เงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันใด ๆ เป็นต้น

2)      นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นการหลุดพ้นจาก หน้าที่’โดยไม่มีเงื่อนไข หรือภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ผู้เยาว์ได้ทำนิติกรรมรับการปลดหนี้จากเจ้าหนี้ ทำให้ผู้เยาว์ หลุดพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ เป็นต้น
2.      นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้เยาว์ อาจทำการใด ๆได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว”

คำว่า “นิติกรรมซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว ” ที่ผู้เยาว์สามารถทำได้โดยลำพัง ตนเองนั้น หมายถึงนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำด้วยตนเอง จะให้บุคคลอื่นทำแทนไม่ได้นั่นเอง เช่น การจดทะเบียน รับรองบุตรเพื่อให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ หรือการทำพินัยกรรมในขณะที่ผู้เยาว์มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นต้น

“ผู้เยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตาม สมควร”

ซึ่งนิติกรรมที่ได้รับการยกเว้นว่าผู้เยาว์สามารถกระทำได้โดยลำพัง โดยไม่ต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 24 นี้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ

1)      ต้องเป็นนิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพจริง ๆ อันขาดเสียไม่ได้ และ

2)      ต้องเป็นนิติกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และฐานะการเงินของผู้เยาว์ด้วย

 

ข้อ 2. เหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะได้แก่อะไรบ้าง อธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

เหตุที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ได้แก่เหตุดังต่อไปนี้ คือ

1.      นิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

หมายความว่า ในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมนั้น ถ้าผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมได้ กำหนดวัตถุประสงค์ที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 150)

ตัวอย่างเช่น ดำได้ทำสัญญาจ้างให้แดงไปทำร้ายร้างกายขาว ดังนี้นิติกรรมในรูปของ สัญญาจ้างระหว่างดำและแดงย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

2.      นิติกรรมนั้นมิได้กระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้

หมายความว่า ในการแสดงเจตนาทำนิติกรรมใด ถ้านิติกรรมนั้นกฎหมายได้กำหนดแบบ (หรือวิธีการในการแสดงเจตนา) ไว้ เช่น กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือ หรือจะต้องจดทะเบียน หรือจะต้องทำ เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้นิติกรรมนั้นก็จะต้องทำตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ด้วย นิติกรรมใดถ้าไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 152)

ตัวอย่างเช่น นาย ก. ไต้ตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงหนึ่งกับนาย ข. โดยทั้งสอง ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันเองและตกลงว่าจะไม่ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ นิติกรรมไนรูป สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนาย ก. และนาย ข. ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะตามกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ

3.      นิติกรรมที่เกิดจากความบกพร่องของการแสดงเจตนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

3.1    นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวงของคู่กรณี

“การแสดงเจตนาลวง” คือ การที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ทำนิติกรรมขึ้นมาโดยไม่มี ความประสงค์ที่จะให้นิติกรรมนั้นมีผลบังคับกันตามกฎหมาย แต่ได้ทำนิติกรรมขึ้นมาโดยมีเจตนาเพื่อหลอกลวง บุคคลอื่น (หรือทำขึ้นมาเพื่อปกปิดหรืออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งซึ่งเป็นนิติกรรมที่แท้จริง) ดังนี้ นิติกรรมที่เกิดจาก การแสดงลวงระหว่างคู่กรณีย่อมตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 155)

ตัวอย่างเช่น ก. ได้แสดงเจตนาลวงโดยแกล้งขายรถยนต์ของตนให้กับ ข. เพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้ของ ก. (โดยที่ ข. ไม่ต้องชำระราคาให้แก่ ก.) นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขายรถยนต์ระหว่าง ก. และ ข. ย่อมตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาลวง

3.2    นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะความสำคัญผิด

หมายถึง นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาโดยการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็น สาระสำคัญแห่งนิติกรรม ได้แก่ การสำคัญผิดในลักษณะแห่งนิติกรรม สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และการสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น (ป.พ.พ. มาตรา 156)

ตัวอย่างเช่น ก. ต้องการทำสัญญาจำนองที่ดินของตนกับ ข. แต่ได้ไปทำเป็น สัญญาขายฝากไว้กับ ข. โดยเข้าใจว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาจำนองตามที่ตนต้องการ เพราะ ก. อ่านหนังสือไม่ออก ดังนี้สัญญาขายฝากย่อมเป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นเพราะ ก. ได้แสดงเจตนาโดยการสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

 

ข้อ 3. นายดำกับนายแดงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินของนายแดง จำนวน 1 แปลง ราคา 500,000 บาท โดยนายดำและนายแตงตกลงกันว่า จะไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ให้นายดำชำระเงินให้นายแดงจนครบและนายแดงส่งมอบโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายดำ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างนายดำและนายแดงเป็นสัญญาซื้อขายประเภทใด และกรรมสิทธ์ ในที่ดินโอนไปยังนายดำหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อ ตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

และมาตรา 456 วรรคแรก ได้บัญญัติว่า “การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ท่านว่าเป็นโมฆะ…”

ตามปัญหา การที่นายดำกับนายแดงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินของนายแดง จำนวน 1 แปลง ราคา 500,000 บาทนั้น ข้อตกลงระหว่างนายดำกับนายแดงดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 และการที่นายดำและนายแดงได้ตกลงกันว่าจะไม่ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ถือ ได้ว่าทั้งสองได้ทำสัญญาซื้อขายกันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นสัญญาระหว่างนายดำและนายแดงจึงเป็นสัญญา ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด (หรือสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์) เพราะเป็นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และคู่กรณี ไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำตามแบบคือไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหน้าแต่อย่างใด

และแม้ว่าในการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าวนั้น นายดำจะได้ชำระเงินให้นายแดงจนครบและ นายแดงจะได้ส่งมอบโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายดำแล้วก็ตาม แต่เมื่อสัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญาซื้อขาย เสร็จเด็ดขาดอสังหาริมทรัพย์ แต่คู่กรณีไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ คือไม่ได้ทำเป็น หนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาบเจ้าหน้าที่ สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายดำและนายแดงจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก

และเมื่อสัญญาซื้อขายทีดินดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงยังไม่โอนไปเป็น ของนายดำ ยังคงเป็นกรรมสิทธ์ของนายแดง

สรุป สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนายดำและนายแดงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่มีผล เป็นโมฆะ และกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่โอนไปเป็นของนายดำ

 

ข้อ 4. ดำลูกหนี้ในตั๋วแลกเงินฉบับหนึ่งถูกขาวเจ้าหนี้ตามตั๋วฯ นี้บังคับให้ชำระเงิน ดำจะมีหลักกฎหมายใดบ้างในการชำระเงินให้ขาวเพียงครั้งเดียวและหลุดพ้นจากตั๋วฯ ฉบับนี้ จงอธิบาย

ธงคำตอบ

ในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 949 ได้บัญญัติหลัก ไว้ว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้ต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้นเป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงิน (ซึ่งบุคคลผู้ใช้เงินมิใช่ธนาคาร) ซึ่งเมื่อบุคคลใดได้ถูกบังคับให้ใช้เงินตามตั๋วเงิน และได้ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นไปแล้วก็จะหลุดพ้นจากความรับผิด ตามตั๋วเงินนั้น ถ้าหากได้ใช้เงินตามตั๋วนั้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 3 ประการ ได้แก่

1.      จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดเวลาใช้เงินแล้ว

2.      จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.      ได้พิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ดังนั้น ตามปัญหาการที่ดำลูกหนี้ในตั๋วแลกเงินถูกขาวเจ้าหนี้ตามตั๋วฯ นี้บังคับให้ชำระเงิน ถ้าดำจะชำระเงินให้ขาวเพียงครั้งเดียวและจะหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋วฯ ฉบับนี้ ดำจะต้องได้ชำระเงิน ให้แก่ขาวโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ ป.พ.พ. มาตรา 949 ได้กำหนดไว้ กล่าวคือ

1.      ดำจะต้องได้ชำระเงินให้แก่ขาวในขณะที่ตั๋วแลกเงินฉบับดังกล่าวได้ถึงกำหนดเวลา ใช้เงินแล้ว

2.      ดำจะต้องได้ฃำระเงินให้แก่ขาวไปโดยสุจริต คือมิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.      ถ้าตั๋วแลกเงินนั้นเป็นตั๋วแลกเงินชนิดลังจ่ายระบุชื่อและมีการสลักหลังโอนตั๋วกัน จน ตั๋วเงินนั้นมาอยู่ในความครอบครองของขาว ดังนี้ดำจะต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้น ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ถึงลายมือชื่อของ บรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

Advertisement