การสอบไล่ภาค 1 ปีการศึกษา 2553

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2015 กฎหมายธุรกิจ 1

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ1. นายพรอายุ 40 ปี เป็นคนไร้ความสามารถ นายพรขายนาฬิกาของตนให้กับนายเอกในราคา 5,000 บาท ต่อมานายพรได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้กับนายพันธ์บิดา โดย ในขณะทำพินัยกรรม นายพรไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใด ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นิติกรรม การขายนาฬิกาและพินัยกรรมของนายพรมีผลทางกฎหมายอย่างไร
ธงคำตอบ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติหลักในการทำนิติกรรมและหลักในการทำพินัยกรรม ของคนไร้ความสามารถไว้ดังนี้คือ

1)         นิติกรรมใด ๆ ซึ่งบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง นิติกรรมนั้น ตกเป็นโมฆียะ (มาตรา 29)

2)         พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ (มาตรา 1704)
ตามหลักกฎหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้บัญญัติห้ามมิให้คนไร้ความสามารถ กระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้ามีการฝ่าฝืนไปกระทำนิติกรรมใด ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่จิตปกติหรือไม่ หรือการทำนิติกรรมนั้นผู้อนุบาลจะได้ให้ความยินยอมหรือไม่ นิติกรรมก็จะตกเป็นโมฆียะ (ป.พ.พ. มาตรา 29) ส่วนพินัยกรรมนั้น ถ้าคนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นไม่ว่าจะได้กระทำในขณะที่มีอาการวิกลจริตหรือไม่ พินัยกรรมนั้น ก็จะตกเป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา 1704)
จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายพรซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถได้ขายนาฬิกาของตนให้ กับนายเอกนั้น นิติกรรมการขายนาฬิกาของนายพรย่อมตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 29

ส่วนการที่นายพรได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนทั้งหมดให้กับนายพันธ์บิดานั้น แม้ว่า ในขณะทำพินัยกรรม นายพรไม่มีอาการวิกลจริตแต่อย่างใดก็ตาม พินัยกรรมที่นายพรได้ทำขึ้นนั้น ก็ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1704

สรุป นิติกรรมการขายนาฬิกาของนายพรมีผลเป็นโมฆียะ ส่วนพินัยกรรมมีผลเป็นโมฆะ

 

ข้อ 2. นาย ก. ได้เอาเข็มขัดทองแดงมาขายไห้นาย ข. โดยบอกว่าเป็นวัตถุที่มีทองคำเจือปน ข้อเท็จจริง ไม่มีทองคำดังที่นาย ก. อ้าง ถ้านาย ข. หลงเชื่อและซื้อไป ต่อมาได้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ดังนี้ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรค 1 และ 2 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ

การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น”

นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล และจะตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ

1.         มีการใช้อุบายหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการแสดงข้อความให้ผิดต่อความจริง

2.         ได้กระทำโดยจงใจเพื่อหลอกลวงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งนั้น

3.         การใช้อุบายหลอกลวงนั้นจะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าว นิติกรรมอันเป็น โมฆียะนั้น คงจะมิได้กระทำขึ้น

ตามปัญหา การที่นาย ข. ได้ซื้อเข็มขัดทองแดงจากนาย ก. นั้น นิติกรรมในรูปสัญญาซื้อขาย ดังกล่าวเป็นโมฆียะ ซึ่งนาย ข. สามารถบอกเลิกสัญญาได้ เพราะเป็นนิติกรรมที่นาย ข. ได้แสดงเจตนาเนื่องจาก ถูกนาย ก. ใช้กลฉ้อฉลตามมาตรา 159 คือ การที่นาย ก. ได้หลอกลวงนาย ข. ว่าเข็มขัดเส้นนั้นเป็นวัตถุที่มี ทองคำเจือปน แต่ข้อเท็จจริงไม่มีทองคำตามที่นาย ก. อ้างแต่อย่างใด และการใช้อุบายหลอกลวงดังกล่าวถึงขนาด ทำให้นาย ข. หลงเชื่อและซื้อเข็มขัดเส้นนั้นจากนาย ก.

สรุป สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ นาย ข. บอกเลิกสัญญาได้

 

ข้อ 3. การรอนสิทธิคืออะไร เกิดขึ้นได้กี่กรณี และมีข้อยกเว้นใดที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ

ธงคำตอบ

ป.พ.พ. มาตรา 475 ได้บัญญัติหลักเกี่ยวกันความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ว่า

“หากว่ามีบุคคลผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ไนเวลาซื้ขาย หรือเพราะความผิดของผู้ขาย ผู้ขายจะต้องรับผิดในผลอันนั้น”

จากหลักกฎหมายดังกล่าว “การรอนสิทธิ” คือ การที่ผู้ซื้อทรัพย์สินได้ถูกบุคคลภายนอกเข้ามาก่อการรบกวนขัดสิทธิซองผู้ซื้อในอันที่จะครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข

การรอนสิทธิเกิดขึ้นได้ 2 กรณีคือ

1.         มีบุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันอยู่ไนเวลาซื้อขายได้เข้ามาก่อการ รบกวนสิทธิของผู้ซื้อไนอันที่จะครอบครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข หรือ

2.         เป็นเพราะความผิดของผู้ขาย ที่ให้ผู้ซื้อไม่สามารถครอบครองทรัพย์สินนั้นได้

และเมื่อผู้ซื้อถูกรอนสิทธิผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อไม่ว่าในการรอนสิทธินั้น ผู้ซื้อจะถูก รอนสิทธิทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม

ข้อยกเว้น ที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ ได้แก่

1.         ถ้าสิทธิของผู้ก่อการรนกวนนั้น ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขาย (ป.พ.พ. มาตรา 476)

2.         ถ้าอสังหาริมทรัพย์ใดถูกศาลแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมาย ผู้ขาย ไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์สินนั้นปลอดจากภาระจำยอม อย่างใด ๆ ทั้งสิ้น หรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น (ป.พ.พ. มาตรา 480)

3.         ถ้าการรอนสิทธินั้น เป็นเพราะความผิดของผู้ซื้อเอง ซึ่งได้แก่ กรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

1)         ถ้าไม่มีการพ้องคดีและผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิด ของผู้ซื้อเอง หรือ

2)         ถ้ามีการพ้องคดี แต่ผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี และผู้ขายพิสูจน์ได้ว่า ถ้าได้เรียกตนเข้ามาในคดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ หรือ

3)         ถ้ามีการพ้องคดี และผู้ขายได้เข้ามาในคดี แต่ศาลได้ยกคำเรียกร้องของผู้ซื้อเสีย

เพราะความผิดของผู้ซื้อเอง (ป.พ.พ. มาตรา 482)

4.         ถ้าการรอนสิทธินั้นได้เกิดขึ้นภายหลังการทำสัญญาซื้อขาย ผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ จะเป็นความผิดของผู้ขาย

5.         ถ้าคู่สัญญาได้ตกลงกันไวในสัญญาซื้อขายว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธินั้น แต่ ข้อตกลงนั้นไม่คุ้มครองผู้ขาย ถ้าผู้ขายได้ทราบความจริงแต่ปกปิดไม่บอกให้ผู้ซื้อทราบ หรือถ้าการรอนสิทธินั้นเป็นเพราะความผิดของผู้ขาย

 

ข้อ 4. ป.พ.พ. มาตรา 949 บัญญัติว่า “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลา ถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกัน เรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

ท่านเข้าใจหลักกฎหมายว่าอย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ

ธงคำตอบ

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949 นั้น เป็นเรื่องของการใช้เงินตามตั๋วเงินเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ถึงกำหนด เวลาใช้เงิน ซึ่งถ้าบุคคลที่มีหน้าที่ในการใช้เงินได้ใช้เงินไปถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะหลุดพ้น จากความรับผิดชอบตามตั๋วเงิน คือ ไม่ต้องรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินนั้นอีกเลย

ตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นั้น สามารถแยกออกได้ 2 กรณี คือ

1.         ถ้าเป็นกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ใช้เงินดามตั๋ว เช่น ธนาคารผู้จ่ายเงินตามเช็ค เป็นต้น กฎหมายได้บัญญัติให้ใช้มาตรา 1009 บังคับ จะไม่ใช้มาตรา 949 บังคับ

2.         ถ้าเป็นกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ธนาคารเป็นผู้ไซ้เงิน เช่น ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนี้กฎหมายให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 949 บังคับ

และตามบทบัญญัติของมาตรา 949 นี้ หมายความว่า บุคคลผู้ใช้เงินตามตั๋วเงินจะหลุดพ้นจาก ความรับผิดชอบได้นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ

1.         จะต้องได้ใช้เงินไปเมื่อตั๋วนั้นถึงกำหนดชำระเงินแล้ว

2.         จะต้องเป็นการใช้เงินไปโดยสุจริต กล่าวคือ มิได้ทำการฉ้อฉลหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง และ

3.         ได้พิสูจน์ไห้เห็นจริงว่า ตั๋วนั้นได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของบรรดาผู้สลักหลังแต่อย่างใด

ตัวอย่าง           ดำออกตั๋วแลกเงินสั่งให้แดงจ่ายเงินให้แก่ขาวจำนวน 100,000 บาท ต่อมาได้มี

การโอนตั๋วแลกเงินฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบทุกครั้ง จนกระทั่งตั๋วฉบับนี้ได้มาอยู่ในความครอบครอง ของเหลืองซึ่งเป็นผู้ทรง ดังนั้นแม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการสลักหลังครั้งหนึ่งจะเป็นการสลักหลังปลอมก็ตาม เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน เหลืองได้นำตั๋วไปยื่นให้แดงจ่ายเงิน และแดงได้จ่ายเงินให้แก่เหลืองไปแล้วโดยถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ 3 ประการดังกล่าวข้างต้น  แดงก็ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดชอบในการใช้เงินตามตั๋วเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 949

Advertisement