การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2560

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2013 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 (ก) มะระสั่งจ่ายเช็คชําระหนี้ให้แก่มะกรูด ขีดฆ่าหรือผู้ถือออก ครั้นก่อนถึงวันที่ลงในเช็ค หากมะกรูดต้องการโอนเช็คฉบับนี้ชําระหนี้ให้แก่มะนาวเจ้าหนี้ มะกรูดต้องโอนเช็คฉบับนี้อย่างไร ตามกฎหมายว่าด้วยตั๋วเงิน

(ข) สายฟ้าสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้พายุจ่ายเงินให้กับเมฆหมอกหรือผู้ถือ เมฆหมอกสลักหลังลอยตั๋วแลกเงินฉบับนี้ชําระหนี้ให้แก่น้ำค้าง เมื่อถึงวันกําหนดใช้เงินในตั๋วแลกเงิน น้ำค้างนําตั๋วเงินไปให้พายุผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินและจ่ายเงินตามตั๋ว แต่ถูกปฏิเสธการรับรองและการจ่ายเงิน โดยพายุอ้างว่า น้ำค้างไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบเพราะได้ทําการโอนผิดวิธี ดังนี้ ข้ออ้างของพายุ ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

(ก) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 917 วรรคหนึ่ง “อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่ง ก็ตาม “ท่านว่าย่อมโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ”

มาตรา 919 “คําสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจําต่อ และต้องลงลายมือชื่อ ผู้สลักหลัง

การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้ กระทําไรยิ่งไปกว่าลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจําต่อ ก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลักหลังลอย”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ “มาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923”

ตามอุทาหรณ์ การที่มะระสั่งจ่ายเช็คชําระหนี้ให้มะกรูด และขีดฆ่าหรือผู้ถือออกนั้น ถือว่า เช็คฉบับ ดังกล่าวเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อ ดังนั้น หากมะกรูดต้องการโอนเช็คฉบับนี้ชําระหนี้ให้แก่มะนาวเจ้าหนี้ มะกรูด มะต้องโอนเช็คฉบับนี้ตามมาตรา 917 วรรคหนึ่ง มาตรา 919 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง กล่าวคือมะกรูดจะต้องโอนโดยการสลักหลังและส่งมอบ (มาตรา 917 วรรคหนึ่ง) โดยมะกรูดจะต้องลงลายมือชื่อ ของตนในเร็คและระบุชื่อของมะนาวผู้รับโอน หรือมะกรูดอาจจะลงแต่ลายมือชื่อของตนไว้ที่ด้านหลังเช็คโดยไม่ระบุชื่อ ของมะนาวซึ่งเรียกว่าสลักหลังลอยก็ได้ (ตามมาตรา 919 ประกอบมาตรา 939 วรรคหนึ่ง) แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้แก่ มะนาว ซึ่งถ้ามะกรูดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าว การโอนเช็คของมะกรูดก็จะเป็นการโอนที่ถูกต้องตามกฎหมายตั๋วเงิน มาก

(ข) หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รองนายกอง

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อม โอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 904 “อันผู้ทรงนั้น หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลักหลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน”

มาตรา 905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักลอยก็ตาม ให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถือว่าบุคคล ผู้มีลงลายมือชื่อในการสลักหลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่งคําสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสีย และห้ามให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย…”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่สายฟ้าสั่งจ่ายตั๋วแลกเงินสั่งให้พายุจ่ายเงินให้กับเมฆหมอกหรือผู้ถือนั้น ถือว่าเป็นตั๋วแลกเงินชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ซึ่งการโอนตั๋วแลกเงินชนิดนี้ย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบไม่ต้องมีการ สลักหลังแต่อย่างใด (มาตรา 918) ดังนั้น การที่เมฆหมอกสลักหลังลอยตั๋วแลกเงินฉบับนี้และส่งมอบชําระหนี้ ให้แก่น้ำค้างนั้น การโอนย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย

เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกําหนดและน้ำค้างนําตั๋วเงินไปให้พายุผู้จ่ายรับรองการจ่ายเงินและจ่ายเงิน ตามตั๋ว แต่พายุปฏิเสธการรับรองและการจ่ายเงิน โดยอ้างว่า น้ำค้างไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะได้ ทําการโอนผิดวิธีนั้น ข้ออ้างของพายุย่อมฟังไม่ขึ้น เพราะการโอนตัวของเมฆหมอกนั้นถูกต้องตามวิธีการโอนตั๋วเงิน ตามมาตรา 918 และน้ำค้างเป็นผู้ทรงในฐานะผู้ถือตามมาตรา 904 และแม้ว่าการโอนจะมีการสลักหลังด้วยก็ตาม ก็ไม่มีผลต่อการพิสูจน์ให้ปรากฏสิทธิว่าการสลักหลังไม่ขาดสาย เพราะการพิสูจน์ให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลัง ที่ไม่ขาดสายตามมาตรา 905 นั้น จะใช้กับตั๋วเงินชนิดสั่งจ่ายระบุชื่อเท่านั้น

สรุป

(ก) มะกรูดจะต้องโอนเช็คฉบับนี้โดยการสลักหลังและส่งมอบ

(ข) ข้ออ้างของพายุฟังไม่ขึ้น

 

ข้อ 2. (ก) การรับรองตั๋วแลกเงินมีกี่แบบ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมหลักกฎหมาย

(ข) การอาวัลตั๋วเงินโดยการแสดงเจตนาตามมาตรา 940 แตกต่างจากการค้ำประกันในสัญญา เรื่องอื่นอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ธงคําตอบ

(ก) “การรับรองตั๋วแลกเงิน” คือ การที่ “ผู้จ่าย” ได้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วแลกเงินเพื่อ ผูกพันตนเองในอันที่จะรับผิดชอบจ่ายเงินตามคําสั่งของผู้สั่งจ่ายให้แก่ผู้ทรง (หรือผู้รับเงิน) ตามจํานวนเงินที่ได้ ให้คํารับรองไว้

การรับรองตั๋วแลกเงิน มี 2 แบบ ได้แก่ การรับรองตลอดไป และการรับรองเบี่ยงบ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 935)

1 การรับรองตลอดไป คือ การที่ผู้จ่ายรับรองว่าจะจ่ายเงินให้กับผู้ทรงโดยไม่มีการแก้แย้ง คําสั่งของผู้สั่งจ่ายแต่อย่างใด เช่น ผู้สั่งจ่ายให้ผู้จ่ายจ่ายเงินแก่ผู้ทรง 10,000 บาท เมื่อผู้ทรงนําตั๋วเงินไปยื่นให้ผู้จ่าย รับรอง ผู้จ่ายก็รับรองว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรง 10,000 บาท โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น

  1. การรับรองเบี่ยงบ่าย คือ การที่ผู้จ่ายรับรองกับผู้ทรงว่าจะจ่ายเงินให้แต่มีการแก้แย้ง คําสังของผู้สั่งจ่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทําให้ตั๋วเงินมีผลผิดแผกไปจากที่ผู้สั่งจ่ายเขียนสั่งไว้ ได้แก่

1) รับรองโดยมีเงื่อนไข เช่น รับรองว่าจะจ่ายเงินเมื่อถึงกําหนดผู้จ่ายมีเงินพอที่จะจ่ายเป็นต้น

2) รับรองแต่เพียงบางส่วน เช่น รับรองว่าจะจ่ายเงินให้เพียงครึ่งหนึ่งของจํานวนเงินในตั๋วเงิน เป็นต้น

(ข) “การอาวัลหรือการรับอาวัลตั๋วแลกเงิน” คือการที่บุคคลภายนอกหรือผู้ที่เป็นคู่สัญญาอยู่แล้ว ในตั๋วแลกเงินนั้น ได้เข้ามารับประกันการใช้เงินทั้งหมดหรือบางส่วนของลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินต่อผู้เป็นเจ้าหนี้ซึ่ง ตั๋วแลกเงินใบหนึ่งนั้นอาจมีผู้รับอาวัลได้หลายคน และผู้รับอาวัลนั้นต้องระบุไว้ด้วยว่ารับประกันผู้ใด ถ้าไม่ระบุไว้ ให้ถือว่าเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย (ป.พ.พ. มาตรา 938 และมาตรา 939 วรรคสี่)

การอาวัลตั๋วเงินโดยการแสดงเจตนาตามมาตรา 940 จะแตกต่างจากการค้ำประกันในสัญญา เรื่องอื่น ดังนี้คือ

การอาวัลตั๋วเงินนั้น มาตรา 940 วรรคสองบัญญัติว่า “แม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผู้รับอาวัล ได้ประกันอยู่นั้น จะตกเป็นอันใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะทําผิดแบบระเบียบ ท่านว่าข้อที่สัญญารับอาวัลนั้น ก็ยังคงสมบูรณ์” ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ในกรณีที่บุคคลที่ผู้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นไม่ต้องรับผิด ตามตั๋วเงินไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ อันเป็นข้อต่อสู้ที่ทําให้บุคคลนั้นไม่ต้องรับผิด ผู้รับอาวัลก็ยังคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน เช่น นายดําเข้ามารับอาวัลนายแดงผู้สลักหลังตั๋วเงิน ถ้าปรากฏว่านายแดงเป็นผู้เยาว์และผู้แทนโดยชอบธรรมของ นายแดงได้บอกล้างการลงลายมือชื่อของนายแดงแล้ว ทําให้นายแดงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงิน ดังนี้นายดําผู้รับอาวัล ก็ยังคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นเช่นเดิม จะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยไม่ได้

ส่วนการค้ำประกันในสัญญาเรื่องอื่นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 698 ได้บัญญัติไว้ว่า “อันผู้ค้ำประกัน ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดในขณะเมื่อหนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ” ตัวอย่างเช่น ก. กู้เงิน ข. โดยมี ค. เป็นผู้ค้ำประกัน ดังนี้ ถ้าต่อมา ก. ได้ชําระหนี้ให้แก่ ข. ครบถ้วนแล้ว หรือ ข. ได้ปลดหนี้ให้แก่ ก. ถูกต้อง ตามกฎหมายแล้ว หนี้ของ ก. ก็เป็นอันระงับสิ้นไป และเมื่อหนี้เงินกู้ยืมอันเป็นหนี้ประธานระงับสิ้นไป หนี้ตาม สัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก็จะระงับสิ้นไป ทําให้ ค. ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย

 

ข้อ 3. นายมกราคมได้ทําการขโมยเช็คของนายกุมภาพันธ์มาและลงลายมือชื่อปลอมเป็นชื่อนายกุมภาพันธ์ในช่องผู้สั่งจ่าย และได้เขียนเช็คสั่งจ่ายให้แก่นายมีนาคม โดยมิได้ขีดชาคําว่า “หรือผู้ถือ” ในเช็คออก ต่อมานายมีนาคมได้สลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับนี้ให้แก่นายเมษายน ต่อมาเมื่อเช็คถึงกําหนดตามวันที่ลงในเช็ค นายเมษายนซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้นํา เช็คฉบับนี้ไปขึ้นเงินกับธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากได้รับแจ้งจากนายกุมภาพันธ์ ให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็ค เนื่องจากเช็คหาย

ดังนี้ ให้ท่านพิจารณาว่า นายมีนาคมต้องรับผิดและชดใช้เงินให้แก่นายเมษายนหรือไม่ เพราะเหตุใด (อธิบายให้ชัดเจนพร้อมยกหลักกฎหมายประกอบ)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 900 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 918 “ตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ท่านว่าย่อม โอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กัน”

มาตรา 921 “การสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สําหรับผู้สั่งจ่าย”

มาตรา 989 วรรคหนึ่ง “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 914 ถึง 923, 938 ถึง 940”

มาตรา 1006 “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึง ความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น”

มาตรา 1008 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้ เมื่อใดลายมือชื่อ ในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอํานาจ ให้ลงก็ดี ท่านว่าลายมือชื่อปลอมหรือลงปราศจากอํานาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย ใครจะอ้างอิงอาศัยแสวงสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ก็ดี เพื่อทําให้ตั๋วนั้นหลุดพ้นก็ดี หรือเพื่อบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญา แห่งตัวนั้นคนใดคนหนึ่งก็ดี ท่านว่าไม่อาจจะทําได้เป็นอันขาด”

กรณีตามอุทาหรณ์ เป็นเรื่องของการลงลายมือชื่อปลอมในตัวเงินตามมาตรา 1008 เมื่อ เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ผู้สั่งจ่ายสั่งจ่ายแก่นายมีนาคมหรือผู้ถือ ย่อมถือว่าเป็นเช็คชนิดสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ ดังนั้น ถ้าจะมีการโอนเช็คฉบับนี้ต่อไป การโอนย่อมสมบูรณ์โดยการส่งมอบเช็คให้แก่กันโดยไม่ต้องสลักหลัง ถ้ามีการสลักหลัง ให้ถือว่าเป็นเพียงการอาวัลผู้สั่งจ่าย (มาตรา 918 มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง) ดังนั้น เมื่อมี การสลักหลังมอบเช็คพิพาทให้แก่นายเมษายน จึงถือว่านายมีนาคมซึ่งได้ลงลายมือชื่อในเช็คต้องรับผิดตามเช็ค ในฐานะผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย (มาตรา 900 วรรคหนึ่ง มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง)

และแม้ว่าตามข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า ลายมือชื่อของนายกุมภาพันธ์จะเป็นลายมือปลอม และลายมือปลอมของนายกุมภาพันธ์จะตกเป็นอันใช้ไม่ได้ตามมาตรา 1008 ก็ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์ของ ลายมือชื่อของนายมีนาคมที่ได้ลงไว้ในเช็คนั้น (มาตรา 1006) ดังนั้น เมื่อนายเมษายนนําเช็คพิพาทฉบับดังกล่าว ไปขึ้นเงินไม่ได้ เพราะทางธนาคารแจ้งว่าเช็คฉบับนี้ถูกระงับการจ่ายจากนายกุมภาพันธ์ผู้สั่งจ่าย นายมีนาคมจึงยังคง ต้องรับผิดใช้เงินให้แก่นายเมษายน แม้ชื่อนายกุมภาพันธ์ผู้สั่งจ่ายจะเป็นลายมือปลอมก็ตาม (คําพิพากษาฎีกาที่ 918/2522)

สรุป นายมีนาคมต้องรับผิดใช้เงินให้แก่นายเมษายน แม้ชื่อของนายกุมภาพันธ์ผู้สั่งจ่ายจะเป็นลายมือชื่อปลอมก็ตาม

Advertisement