การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2561

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

Advertisement

ช้ คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 น.ส.ใหม่เป็นดาราชื่อดัง ในระหว่างถ่ายทําละครเรื่อง “หนึ่ง” น.ส.ใหม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน น.ส.ใหม่ได้รับแจ้งจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งปอดขั้นที่สาม ทําให้ นายเทพผู้จัดการส่วนตัวออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงโรคร้ายของ น.ส.ใหม่ สื่อทุกประเภท ลงข่าวดังกล่าวเป็นเวลาหลายวัน ต่อมา น.ส.ใหม่ได้ทําประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะไว้กับ บริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 5 ล้านบาท อายุความคุ้มครองตามสัญญา 10 ปี ระบุนายเทพผู้จัดการส่วนตัวเป็นผู้รับประโยชน์ แต่ในระหว่างยื่นคําขอเอาประกันชีวิต น.ส.ใหม่ ระบุไปว่าตนไม่มีปัญหาสุขภาพ และบริษัทฯ ก็รับทําประกันชีวิตให้ หลังจากทําประกันชีวิตได้ 1 ปี น.ส.ใหม่ถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็งดังกล่าว นายเทพจึงแสดงเจตนาเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ ว่าตนเป็นผู้รับประโยชน์จะขอรับเงินตามสัญญาประกันชีวิต แต่ถูกบริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายเงิน

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า นายเทพสามารถเรียกให้บริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด ใช้เงินตามสัญญา ประกันชีวิตแก่ตนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้

คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวนเงิน ใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 865 “ถ้าในเวลาทําสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดีหรือในกรณีประกันชีวิต บุคคล อันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่ง อาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทําสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้ว แถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเป็นโมฆียะ

ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกําหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกําหนดห้า ปีนับแต่วันทําสัญญาก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป”

มาตรา 866 “ถ้าผู้รับประกันภัยได้รู้ข้อความจริงดังกล่าวในมาตรา 865 นั้นก็ดี หรือรู้ว่าข้อแถลงความ เป็นความเท็จก็ดี หรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากใช้ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชนก็ดี ท่านให้ฟังว่า สัญญานั้นเป็นอันสมบูรณ์”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ในขณะทําสัญญาประกันภัยผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย มิเช่นนั้นสัญญาประกันภัยจะไม่ผูกพันคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้รับประกันภัยให้ต้องรับผิดในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันภัย (มาตรา 863) อีกทั้งผู้เอาประกันภัยยังมีหน้าที่จะต้องแถลงข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจ ผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทําสัญญา ถ้าในขณะทําสัญญาผู้เอาประกันปกปิด ข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเป็นเท็จ สัญญาประกันภัยย่อมตกเป็นโมฆยะ (มาตรา 865) แต่ถ้าหากผู้รับ ประกันภัยได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการปกปิดข้อความจริงหรือการแถลงข้อความเท็จของผู้เอาประกันภัยหากใช้ ความระมัดระวังดังจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน สัญญาประกันภัยนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์ (มาตรา 866)

ตามอุทาหรณ์ การที่ น.ส.ใหม่ได้ทําประกันชีวิตแบบอาศัยความมรณะไว้กับบริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 5 ล้านบาท อายุความคุ้มครองตามสัญญา 10 ปีนั้น ถือว่า น.ส.ใหม่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ในเหตุที่เอาประกัน สัญญาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาตามมาตรา 863 ดังนั้น เมื่อ น.ส.ใหม่ถึงแก่ความตาย บริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด จึงต้องใช้เงินตามสัญญาให้กับนายเทพผู้รับประโยชน์ตามสัญญานั้น ตามมาตรา 862

การที่ น.ส.ใหม่ได้รับแจ้งจากแพทย์ว่าเป็นโรคมะเร็งปอดขั้นที่สามซึ่งเป็นโรคร้ายแรง แต่ในระหว่าง ยื่นคําขอเอาประกันชีวิต น.ส.ใหม่ระบุในคําขอเอาประกันชีวิตว่าตนไม่มีปัญหาสุขภาพนั้น ถือเป็นการปกปิด ข้อความจริงหรือแถลงข้อความเท็จในระหว่างทําสัญญาประกันภัยตามมาตรา 865 ซึ่งมีผลให้สัญญาประกันภัย ดังกล่าวเป็นโมฆยะ แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่ น.ส.ใหม่เป็นดาราชื่อดัง ประกอบกับนายเทพผู้จัดการส่วนตัว ได้ออกแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงโรคร้ายของ น.ส.ใหม่ และสือทุกประเภทได้ลงข่าวดังกล่าวเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งหากบริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนแล้วก็จะทราบได้ว่า น.ส.ใหม่ได้แถลง ข้อความเท็จ ดังนั้นกรณีดังกล่าวนี้ย่อมมีผลทําให้สัญญาประกันภัยมีผลสมบูรณ์ตามมาตรา 866 เมื่อ น.ส.ใหม่ ถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็งดังกล่าว และนายเทพได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ ว่าตนเป็นผู้รับประโยชน์ จะขอรับเงินตามสัญญาประกันชีวิต บริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด จึงต้องใช้เงินตามสัญญาให้แก่นายเทพ จะปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ได้

สรุป นายเทพสามารถเรียกให้ บริษัท แสนดีประกันชีวิต จํากัด ใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต แก่ตนได้

 

ข้อ 2. นายกุนทําประกันอัคคีภัยบ้านของตนเองกับบริษัท เชื่อใจประกันภัย จํากัด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ทุนเอาประกัน 2 ล้านบาท อายุความคุ้มครองตามสัญญา 2 ปี ระบุนายขาลเป็นผู้รับประโยชน์และ ส่งมอบกรมธรรม์ให้นายขาลเก็บไว้ หลังจากนั้นนายกุนได้โอนขายบ้านหลังดังกล่าวให้แก่นายชวด ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2562 บ้านหลังดังกล่าวเกิดเพลิงไหม้ เสียหายทั้งหลัง ในวันที่ 11 เมษายน 2562 เวลา 11.30 น. นายกุนติดต่อไปยังบริษัทฯ แจ้งว่า ตนได้โอนขายบ้านให้แก่นายชวดและเรียกร้องให้บริษัทฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา ประกันอัคคีภัยให้แก่นายชวด ต่อมาในเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน นายขาลได้ติดต่อไปยัง บริษัทฯ โดยแสดงเจตนาที่จะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันอัคคีภัย ซึ่งบริษัทฯ ได้รับเรื่อง ของนายกุนและนายขาลไว้ทั้งคู่ ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า บุคคลใดจะมีสิทธิได้รับเงินตามสัญญาประกันอัคคีภัยจากบริษัท เชื่อใจ ประกันภัย จํากัด เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 374 “ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทําสัญญาตกลงว่าจะชําระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร้ ท่านว่า บุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชําระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงได้

ในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น สิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนา แก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น”

มาตรา 862 “ตามข้อความในลักษณะนี้

คําว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ใช้เงินจํานวนหนึ่งให้

คําว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

คําว่า “ผู้รับประโยชน์” ชานหมายความว่า บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจํานวนเงิน ใช้ให้

อนึ่งผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้”

มาตรา 875 “ถ้าวัตถุอันได้เอาประกันภัยไว้นั้น เปลี่ยนมือไปจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมก็ดี หรือโดยบทบัญญัติกฎหมายก็ดี ทานว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยก็ยอมโอนตามไปด้วย

ถ้าในสัญญามิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อผู้เอาประกันภัยโอนวัตถุที่เอาประกันภัยและบอกกล่าว การโอนไปยังผู้รับประกันภัยไซร้ ท่านว่าสิทธิอันมีอยู่ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนตามไปด้วย อนึ่ง ถ้าในการโอน เช่นนี้ช่องแห่งภัยเปลี่ยนแปลงไปหรือเพิ่มขึ้นหนักไซร้ ท่านว่าสัญญาประกันภัยนั้นกลายเป็นโมฆะ”

วินิจฉัย

ในระหว่างเสี่ยงภัยนั้นหากผู้เอาประกันวินาศภัยได้โอนวัตถุที่เอาประกันภัยไปยังบุคคลภายนอกและ ได้บอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัยไม่ว่าในเวลาใด ๆ ในระหว่างเสียงภัยหรือหลังเสียงภัยก็ตาม สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัยนั้นย่อมโอนติดไปกับวัตถุที่เอาประกันภัยด้วยตามมาตรา 875 เว้นเสียแต่ผู้เอาประกันวินาศภัย จะเด้ระบุตัวของผู้รับประโยชน์เอาไว้แล้วและผู้รับประโยชน์ได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นแล้ว ตามมาตรา 862 ประกอบมาตรา 374 ก่อนที่ผู้เอาประกันภัยจะได้บอกกล่าวการโอนไปยังผู้รับประกันภัย สิทธิ ในการรับประโยชน์ตามสัญญาย่อมเป็นของผู้รับประโยชน์และไม่โอนติดไปกับวัตถุที่เอาประกันภัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายกันได้ทําประกันอัคคีภัยบ้านของตนเองกับบริษัท เชื่อใจประกันภัย จํากัด ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ทุน อาประกัน 2 ล้านบาท อายุความคุ้มครองตามสัญญา 2 ปี โดยระบุชื่อ นายขาลเป็นผู้รับประโยชน์และส่งมอบกรมธรรม์ให้นายขาลเก็บไว้ แต่นายขาลยังมิได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ แห่งสัญญาประกันภัยไปยังบริษัท เชื่อใจประกันภัย จํากัด ตามมาตรา 862 ประกอบมาตรา 374 นั้น เมื่อ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในระหว่างอายุความคุ้มครองของสัญญาคือในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 นายกุนได้โอนขาย บ้านหลังดังกล่าวให้แก่นายชวด และต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2562 บ้านหลังดังกล่าวได้เกิดเพลิงไหม้ทั้งหลัง และนายกุนได้ติดต่อไปยังบริษัทฯ ในวันที่ 11 เมษายน 2562 เวลา 11.30 น. ว่าตนได้โอนขายบ้านให้แก่นายชวด และเรียกร้องให้บริษัทฯ จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันอัคคีภัยให้แก่นายชวด และเป็นการบอกกล่าวก่อนที่นายขาลจะได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้น เนื่องจากนายขาลได้แสดงเจตนา ที่จะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาดังกล่าวในเวลา 11.00 น. ของวันเดียวกัน ดังนั้น สิทธิอันมีอยู่ในสัญญา ประกันอัคคีภัยรายนี้จึงโอนติดไปกับวัตถุที่เอาประกันภัยตามมาตรา 875 สิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาฯ รายนี้จึงตกได้แก่นายชวดผู้รับโอน

สรุป นายชวดเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินตามสัญญาประกันอัคคีภัยจากบริษัท เชื่อใจประกันภัย จํากัด

 

ข้อ 3 นายอ๊อดทําสัญญาประกันชีวิตแบบตลอดชีพไว้กับบริษัท อุ่นใจ จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 800,000 บาท โดยระบุนายเทพเป็นผู้รับประโยชน์และส่งมอบกรมธรรม์ให้แก่นายเทพเก็บรักษาไว้ หลังจากทําสัญญา 4 ปี นายเทพเผลอทําปืนลั่นกระสุนปืนเจาะที่กะโหลกของนายอ๊อดจนถึงแก่ ความตาย วันต่อมานายเทพได้ทําหนังสือแจ้งไปยังบริษัทฯ เพื่อขอรับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต แต่บริษัทฯ ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตแก่นายเทพ

ดังนี้ ให้ท่านวินิจฉัยว่า การปฏิเสธของบริษัท อุ่นใจ จํากัด ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย ไว้นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 889 “ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จํานวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะ ของบุคคลคนหนึ่ง”

มาตรา 891 วรรคหนึ่ง “แม้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นผู้รับประโยชน์เองก็ดี ผู้เอาประกันภัย ย่อมมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญานั้นให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งได้ เว้นแต่จะได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว และผู้รับประโยชน์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยแล้วว่าตนจํานงจะถือเอา ประโยชน์แห่งสัญญานั้น”

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จํานวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัย จําต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทําอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทําสัญญา หรือ

(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ในกรณีที่ 2 นี้ ท่านว่าผู้รับประกันภัยจําต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือ ให้แก่ทายาทของผู้นั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่นายอ๊อดทําสัญญาประกันชีวิตตนเองโดยอาศัยเหตุมรณะแบบตลอดชีพ ไว้กับบริษัท อุ่นใจ จํากัด จํานวนเงินเอาประกัน 800,000 บาท และระบุให้นายเทพเป็นผู้รับประโยชน์นั้น ย่อมสามารถทําได้ เพราะถือว่านายอ๊อดผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา ดังนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่ความตาย บริษัทฯ จะต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ ตามสัญญาประกันชีวิตนั้นตามมาตรา 889 เว้นแต่จะเข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 895 ที่บริษัทฯ ไม่ต้องใช้เงินให้แก่ผู้รับประโยชน์

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า หลังจากที่ได้ทําสัญญา 4 ปี นายเทพผู้รับประโยชน์เผลอทําปืนลั่น กระสุนปืนเจาะเข้าที่กะโหลกของนายอ๊อดจนนายอ๊อดถึงแก่ความตาย กรณีดังกล่าวถือว่าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 895 (2) กล่าวคือไม่ถือว่านายอ๊อดผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา แต่เป็นการกระทํา โดยประมาทเป็นเหตุให้นายอ๊อดถึงแก่ความตายเท่านั้น และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏอีกด้วยว่า นายอ๊อดได้ส่งมอบ กรมธรรม์ให้แก่นายเทพแล้ว และนายเทพผู้รับประโยชน์ได้บอกกลาวเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ ผู้รับประกันภัย แล้วว่าตนจํานงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นตามมาตรา 891 วรรคหนึ่งแล้ว บริษัทฯ จะอ้างเหตุการกระทํา ของนายเทพที่เป็นเหตุให้นายอ๊อดถึงแก่ความตาย เพื่อปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตแก่นายเทพไม่ได้ บริษัท อุ่นใจ จํากัด จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตให้แก่นายเทพ

สรุป

การปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตแก่นายเทพของบริษัท อุ่นใจ จํากัด ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

Advertisement