การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2556

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2012 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 นายอังคารจดทะเบียนสมรสกับนางศุกร์ นางศุกร์เอาประกันชีวิตนายอังคารไว้กับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งแบบอาศัยความมรณะ จํานวนเงินเอาประกัน 1 แสนบาท มีกําหนดระยะเวลา 30 ปี อีก 10 ปีต่อมา นายอังคารจดทะเบียนหย่าขาดจากนางศุกร์ หลังจากนั้นอีก 1 เดือน นายอังคารถึงแก่ ความตาย เพราะอุบัติเหตุทางรถยนต์ นางศุกร์ยื่นขอรับเงินประกัน 1 แสนบาท แต่บริษัทประกัน ปฏิเสธการจ่ายอ้างว่า ก. สัญญาไม่ผูกพัน เพราะส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นหมดสิ้นไป โดยเหตุที่นางศุกร์และนายอังคารไม่ได้เป็นคู่สมรสกันแล้วเนื่องจากหย่าขาดจากกัน ข. การที่นางศุกร์ได้หย่าขาดจากนายอังคารแล้ว นางศุกร์จึงเป็นผู้รับประโยชน์ไม่ได้ เพราะนางศุกร์ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของนายอังคารอีกต่อไป

ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยทั้งสองประการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้นถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

วินิจฉัย

ก. สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันคู่สัญญาหรือไม่ ต้องใช้มาตรา 863 พิวารณาในเรื่องส่วนได้เสีย ของผู้เอาประกันภัย กรณีตามอุทาหรณ์เป็นการประกันชีวิตผู้อื่น เมื่อพิจารณาตัวผู้เอาประกันภัย คือ นางศุกร์ จะเห็นได้ว่ามีความสัมพันธ์ในฐานะคู่สมรส ทั้งนี้เพราะนางศุกร์มีสิทธิและหน้าที่ความรับผิด ต่อชีวิตของนายอังคาร สามีที่ได้มาเอาประกันไว้กับบริษัทผู้รับประกัน และประการสําคัญส่วนได้เสียนั้น ผู้เอาประกันต้องมีในขณะทํา สัญญาด้วย เมื่อขณะทําสัญญา นางศุกร์มีส่วนได้เสียในชีวิตของนายอังคาร เนื่องจากขณะนั้นยังไม่ได้หย่าสัญญา จึงมีผลผูกพัน แม้ต่อมาส่วนได้เสียจะหมดสิ้นไปเพราะหย่าขาดจากกัน ก็ไม่ทําให้สัญญาที่มีผลผูกพันตั้งแต่ต้น กลายเป็นสัญญาที่ไม่ผูกพันในภายหลัง ดังนั้นข้ออ้างของบริษัทประกันที่ว่าสัญญาไม่ผูกพันจึงเป็นข้ออ้างที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย

ข. ประเด็นข้อกฎหมายคือ นางศุกร์เป็นผู้รับประโยชน์ได้หรือไม่ตามมาตรา 863 จะเห็น ได้ว่า ผู้ซึ่งต้องมีส่วนได้เสียก็แต่เฉพาะผู้เอาประกันภัยเท่านั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าผู้รับประโยชน์ ต้องมีส่วนได้เสีย แต่อย่างใด เพราะฉะนั้นผู้รับประโยชน์จะเป็นใครก็ได้ถึงแม้ไม่มีส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัยก็เป็นผู้รับประโยชน์ได้ ดังนั้นข้ออ้างที่ว่าการที่นางศุกร์ได้หย่าขาดจากนายอังคารแล้ว นางศุกร์จึงเป็นผู้รับประโยชน์ไม่ได้ เพราะนางศุกร์ ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของนายอังคารอีกต่อไป จึงเป็นข้ออ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สรุป

ข้ออ้างของบริษัทประกันภัยทั้งสองประการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

ข้อ 2 นายแดงได้ทําสัญญาประกันอัคคีภัยบ้านของตนไว้กับบริษัทประกันภัยจํานวนเงินที่เอาประกัน 1 ล้านบาท สัญญากําหนด 1 ปี ระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย นางส้มจีนมารดาของนายแดงซึ่งป่วยเป็นโรคข้ออักเสบได้มาพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ด้วย เนื่องจากที่บ้านยุงชุมมาก นางส้มจีนจึงได้จุดยากันยุงไล่และจุดทิ้งไว้ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงทําให้ไฟไหม้บ้านหมดทั้งหลัง จงวินิจฉัยว่า บริษัทผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญาประกันอัคคีภัยบ้านให้กับนายแดงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ นั้นไซร้ ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

มาตรา 877 “ผู้รับประกันภัยจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนดังจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

(1) เพื่อจํานวนวินาศภัยอันแท้จริง วรรคท้าย ท่านห้ามมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินไปกว่าจํานวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้”

มาตรา 879 วรรคแรก “ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อความวินาศภัย หรือเหตุอื่น ซึ่ง ได้ระบุไว้ในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายแดงเอาประกันอัคคีภัยบ้านของตนถือว่าเป็นผู้มีเหตุแห่งส่วนได้เสีย ตามมาตรา 863 สัญญาจึงมีผลผูกพัน และเมื่อมีภัยเกิดขึ้นตามที่ระบุไว้ในสัญญา (อัคคีภัย) บริษัทผู้รับประกันภัย ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาให้กับนายแดงตามมาตรา 877 (1) และวรรคท้าย ในฐานะที่เป็นทั้งผู้เอา ประกันภัยและเป็นผู้รับประโยชน์ เพราะวินาศภัยที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทําโดยทุจริตหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรงของนายแดง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 879 วรรคแรก

สรุป

ผู้รับประกันภัยต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายแดง

 

ข้อ 3 นายทรพาเอาประกันชีวิต 1 ล้านบาทในเหตุมรณะกับบริษัทประกันภัยในวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 สัญญามีกําหนด 10 ปี โดยระบุให้นายทรพีบุตรชายเป็นผู้รับประโยชน์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2557 นายทรพีอยากได้เงินประกันชีวิต จึงวางแผนทําร้ายร่างกายนายทรพาโดยใช้ปืนยิงนายทรพาที่ขา ได้รับอันตรายสาหัส นายทรพาน้อยใจที่นายทรพีบุตรชายทําร้ายตน จึงกินยาพิษจนถึงแก่ความตาย นายทรพีมาขอรับเงินประกันชีวิต 1 ล้านบาท ดังนี้ บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินประกันชีวิตให้แก่นายทรพีหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 895 “เมื่อใดจะต้องใช้จํานวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับ ประกันภัยจําต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่

(1) บุคคลผู้นั้นได้กระทําอัตตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทําสัญญา หรือ

(2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ในกรณีที่ 2 นี้ ท่านว่าผู้รับประกันภัยจําต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือให้แก่ทายาทของผู้นั้น”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ นายทรพีผู้รับประโยชน์วางแผนทําร้ายนายทรพาโดยใช้ปืนยิงถูกนายทรพา ที่ขาได้รับอันตรายสาหัส ถือว่าผู้รับประโยชน์มีเจตนาทําร้ายร่างกายผู้เอาประกันให้ได้รับอันตรายสาหัส แต่มิได้มีเจตนาฆ่า จึงไม่ใช่เป็นกรณีถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนาตามมาตรา 895 (2) และเมื่อนายทรพาน้อยใจจึง กินยาพิษจนถึงแก่ความตาย เป็นการฆ่าตัวตายด้วยใจสมัคร แต่เลยเวลา 1 ปีนับแต่วันทําสัญญาประกันชีวิตแล้ว จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่บริษัทประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดชอบตามมาตรา 895 (1) ดังนั้น บริษัทประกันภัยจึงต้อง จ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิต 1 ล้านบาท ให้แก่นายทรพีผู้รับประโยชน์

สรุป

บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิต 1 ล้านบาท ให้แก่นายทรพีผู้รับ ประโยชน์

Advertisement