การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2559

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2011 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. ดําตั้งแดงไปกู้เงินโดยมิได้มอบหมายเป็นหนังสือ แดงไปกู้เงินเขียวมา 5 แสนบาท แดงลงชื่อในสัญญากู้ไว้เรียบร้อย โดยเขียนในสัญญากู้ว่ากู้แทนดํา ต่อมาดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจะฟ้องใครระหว่างดํา กับแดงให้รับผิดชําระหนี้ เพราะเหตุใด มีเหตุอื่นที่จะฟ้องดําให้รับผิดได้อีกหรือไม่ ในทางใดบ้าง (ตอบมาโดยยกหลักมาตรามาให้ครบและเหตุผลโดยชัดแจ้ง)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืม เป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 798 “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทําเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน เพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือด้วย

กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย”

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

มาตรา 821 “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วย่อมให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือ ขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหมือขอบอํานาจ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

กรณีแรก การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น บทบัญญัติมาตรา 653 วรรคหนึ่ง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีตาม กฎหมายได้ เมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อไปทําสัญญากู้จึงต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าดํามอบอํานาจให้แดงไปกู้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นนี้แดงย่อม ไม่มีอํานาจลงชื่อในสัญญากู้เงินนั้น เพราะดําตั้งแดงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 798 วรรคสอง

การที่แดงลงชื่อในสัญญากู้เงินกับเขียวก็เท่ากับว่าแดงลงชื่อโดยปราศจากอํานาจตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง สัญญากู้ยืมเงินนั้นจึงไม่ผูกพันดําตัวการ แดงตัวแทนจึงต้องรับผิดต่อเขียวโดยลําพังตนเองตามมาตรา 823 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อต่อมาดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจึงสามารถฟ้องแดงให้รับผิดในฐานะคู่สัญญาได้โดยตรง

 

กรณีที่ 2 แม้เขียวจะไม่สามารถฟ้องดําให้รับผิดในฐานะตัวการได้ แต่การที่ดําตั้งแดงให้กู้เงิน จากเขียวและแดงได้เขียนในสัญญากู้ว่ากู้แทนดํานั้น ย่อมถือว่าดําได้เชิดแดงออกแสดงเป็นตัวแทนของดํา ดําจึงต้อง รับผิดต่อเขียวเสมือนว่าแดงเป็นตัวแทนของดําตามมาตรา 821 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น เมื่อดําผิดนัดชําระหนี้ เขียวจึงสามารถฟ้องให้ดํารับผิดในกรณีได้

สรุป

เขียวฟ้องให้แดงรับผิดในฐานะคู่สัญญาโดยตรงได้ และอีกทางหนึ่งสามารถฟ้องให้ดํา รับผิดในฐานะที่ดําเชิดแดงเป็นตัวแทนเขิดได้

ข้อ 2. กระสินมอบกระแสให้ช่วยมาเก็บค่าเช่าห้องแถวที่มีอยู่หลายคูหา กระสินมอบหมายปากเปล่า อีกทั้งยังมอบให้กระแสมีอํานาจทําสัญญาเช่าโดยมอบหมายเป็นหนังสือ ต่อมากระสินตายและเป็นช่วง ที่ต้องเก็บค่าเช่าพอดี ให้ท่านวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างกระสินกับกระแสระงับสิ้นไปแล้วหรือไม่ และระหว่างเก็บค่าเช่ากับทําสัญญาเช่าภายหลังกระสินตาย กระแสมีสิทธิจะทําอะไรได้บ้าง โดยทั้ง 2 กรณี กระแสอ้างว่า เพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ (ให้นักศึกษาแยกประเด็นตอบพร้อมยกหลักกฎหมายมาให้ชัดเจน)

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 812 “ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ เพราะความประมาทเลินเล่อของตัวแทนก็ดี เพราะไม่ทําการเป็นตัวแทนก็ดี หรือเพราะทําการโดยปราศจากอํานาจหรือนอกเหนืออํานาจก็ดี ท่านว่าตัวแทน จะต้องรับผิด”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกเหนือ ขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นด้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหนือขอบอํานาจ”

มาตรา 826 วรรคสอง “อนึ่งสัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปเมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือล้มละลาย เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับข้อสัญญาหรือสภาพแห่งกิจการนั้น”

มาตรา 828 “เมื่อสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไปเพราะตัวการตายก็ดี ตัวการตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือล้มละลายก็ดี ท่านว่าตัวแทนต้องจัดการอันสมควรทุกอย่างเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์อันเขาได้มอบหมาย แก่ตนไป จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของตัวการจะอาจเข้าปกปักรักษาประโยชน์นั้น ๆ ได้”

วินิจฉัย

ตามอุทาหรณ์ การที่กระสินตั้งกระแสเป็นตัวแทนให้ช่วยเก็บค่าเช่าห้องแถวที่มีอยู่หลายคูหา และยังมอบอํานาจให้กระแสทําสัญญาเช่าได้ด้วยนั้น ต่อมาเมื่อกระสินตาย สัญญาตัวแทนระหว่างกระสินกับกระแส ย่อมระงับสิ้นไปตามมาตรา 826 วรรคสอง และกรณีการเก็บค่าเช่าและการทําสัญญาเช่าภายหลังกระสินตาย กระแสจะมีสิทธิทําได้หรือไม่ แยกพิจารณาได้ดังนี้

กรณีการเก็บค่าเช่า แม้กระสินตัวการตายทําให้สัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป แต่ตามมาตรา 828 ได้กําหนดให้ตัวแทนต้องจัดการหรือทําหน้าที่ของตัวแทนไปพลางก่อนเท่าที่จําเป็นเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของ ตัวการ ดังนั้นกระแสจึงมีสิทธิเก็บค่าเช่าได้ เพราะถ้าหากกระแสไม่เก็บค่าเช่าก็ถือว่ากระแสไม่ทําหน้าที่ของการเป็น ตัวแทนตามมาตรา 828 และถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น กระแสตัวแทนจะต้องรับผิดชอบตามมาตรา 812

กรณีการทําสัญญาเช่า เมื่อกระสินตาย กระแสย่อมไม่มีสิทธิทําได้เพราะสัญญาตัวแทน ระงับสิ้นไปแล้ว อีกทั้งสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เป็นสิทธิส่วนบุคคล เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายย่อมทําให้สัญญาระงับ ถ้าหากกระแสฝ่าฝืนทําสัญญาเช่าถือว่าเป็นการกระทําโดยปราศจากอํานาจและย่อมไม่ผูกพันผู้เป็นตัวการตาม มาตรา 823 และไม่ถือว่าเป็นการจัดการเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการตามมาตรา 828 ซึ่งมีผลทําให้ ตัวแทนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเองตามมาตรา 823 วรรคสอง ดังนั้น กระแสจะทําสัญญาเช่า โดยอ้างว่าเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการไม่ได้

สรุป

กระแสมีสิทธิเก็บค่าเช่าได้เพราะเป็นการจัดการเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของตัวการ แต่จะอ้างเหตุผลดังกล่าวเพื่อทําสัญญาเช่าไม่ได้

 

ข้อ 3. ขาวบอกฟ้าว่าให้ช่วยขายที่ดิน โดยตกลงว่าจะให้บําเหน็จ ฟ้าไปบอกเมฆว่าให้ช่วยขายที่ดิน เมฆนําเสนอขายให้หมอกในราคา 50,000 บาท ตามที่ขาวบอก หมอกตกลงซื้อ พอนัดวันทําสัญญา ขาวกลับขึ้นราคาเป็น 70,000 บาท หมอกเลยไม่ซื้อ หลังจากนั้น 1 เดือน ดําซึ่งเป็นบุตรชายของขาว ได้นําที่ดินแปลงดังกล่าวเปเสนอขายให้หมอกใหม่ในราคา 50,000 บาท เหมือนเดิม หมอกจึงซื้อไว้

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า เมฆจะได้ค่าบําเหน็จนายหน้าหรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีหนึ่ง

อีกกรณีหนึ่ง ตามปัญหาข้างต้น ถ้าขาวกับหมอกเข้าทําสัญญากันแล้ว แต่ภายหลังการซื้อขายเลิกกัน เพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ดังนี้ ผู้ชี้ช่องยังจะได้ค่าบําเหน็จนายหน้าหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้า ทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากัน สําเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็นเงื่อนบังคับ ก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่ จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว”

วินิจฉัย

จากบทบัญญัติมาตรา 845 วรรคหนึ่ง จะเห็นได้ว่า ลักษณะของสัญญานายหน้านั้น คือ สัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงให้นายหน้าเป็นผู้ชี้ช่องทาง หรือจัดการจนเขาได้ทําสัญญากับบุคคลภายนอก และนายหน้า รับกระทําการตามนั้น และเมื่อนายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการจนเขาได้เข้าทําสัญญากันแล้ว นายหน้าย่อมจะได้รับ ค่าบําเหน็จ

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ขาวบอกฟ้าว่าให้ช่วยขายที่ดิน โดยตกลงว่าจะให้บําเหน็จ และฟ้า ไปบอกเมฆว่าให้ช่วยขายที่ดิน เมื่อเมฆนําเสนอขายให้หมอกในราคา 50,000 บาท ตามที่ขาวบอก แต่เมื่อหมอก ตกลงซื้อ ขาวกลับขึ้นราคาเป็น 70,000 บาท หมอกเลยไม่ซื้อ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากนั้น 1 เดือน ดําซึ่งเป็น บุตรชายของขาวได้นําที่ดินแปลงดังกล่าวไปเสนอขายให้หมอกใหม่ในราคา 50,000 บาท เหมือนเดิม และหมอก ตกลงซื้อไว้นั้น กรณีนี้ย่อมถือได้ว่าขาวและดําลูกชายได้ทราบอยู่แล้วว่าใครเป็นผู้จะซื้อ และเมื่อมีการทําสัญญา ซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวขึ้นระหว่างดํากับหมอก ย่อมถือว่าทั้งขาวและดําได้ถือเอาประโยชน์จากการที่เมฆ เป็นผู้ชี้ช่องคือเป็นผู้นําเสนอขายที่ดินให้แก่หมอกมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น เมฆย่อมมีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้า ตามมาตรา 845 วรรคหนึ่ง ประกอบคําพิพากษาฎีกาที่ 2610/2521

ส่วนอีกกรณีหนึ่ง ถ้าขาวกับหมอกเข้าทําสัญญาซื้อขายที่ดินกันแล้ว ย่อมถือได้ว่าเมฆได้ ทําหน้าที่ของตนในฐานะนายหน้าครบถ้วนแล้ว แม้ต่อมาภายหลังการทําสัญญาซื้อขายได้เลิกกันเพราะฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาก็ตาม เมฆผู้ชี้ช่องก็ยังมีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้าตามมาตรา 845 วรรคหนึ่ง ประกอบ คําพิพากษาฎีกาที่ 517/2494

สรุป

ทั้งสองกรณี เมฆมีสิทธิได้รับค่าบําเหน็จนายหน้าตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

Advertisement