การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2011กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทน นายหน้า

Advertisement

คําแนะนํา ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 3 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1. สีมอบแสงให้ไปกู้เงินโดยมิได้ทําเป็นหนังสือมอบหมาย แสงไปกู้เงินดําโดยทําหลักฐานการกู้เป็นหนังสือและเขียนในสัญญากู้ว่า กู้แทนสี เมื่อได้เงินมาแสงนําไปให้สี ต่อมาสีผิดนัด

ให้ท่านวินิจฉัยว่า ดําจะฟ้องใครให้รับผิดได้บ้าง ระหว่างสีกับแสง ประเด็นที่ 1 ประเด็นที่ 2 จากปัญหาข้างต้น ดําเจ้าหนี้จะฟ้องให้สีรับผิดโดยตรงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 653 วรรคหนึ่ง “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการ กู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

มาตรา 798 “กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทําเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทน เพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทําเป็นหนังสือด้วย

กิจการอันใดท่านบังคับไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องมี หลักฐานเป็นหนังสือด้วย”

มาตรา 820 “ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือ ตัวแทนช่วงได้ทําไปภายในขอบอํานาจแห่งฐานตัวแทน”

มาตรา 821 “บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี รู้แล้วย่อมให้ บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของตนก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั่นเป็นตัวแทนของตน”

มาตรา 823 “ถ้าตัวแทนกระทําการอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอํานาจก็ดี หรือทํานอกทําเหนือ ขอบอํานาจก็ดี ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันตัวการเว้นแต่ตัวการจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

ถ้าตัวการไม่ให้สัตยาบัน ท่านว่าตัวแทนย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกโดยลําพังตนเอง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทําการโดยปราศจากอํานาจ หรือทํานอกเหนือขอบอํานาจ”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น บทบัญญัติมาตรา 653 วรรคหนึ่ง บังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสําคัญ จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีตาม กฎหมายได้ เมื่อกฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อไปทําสัญญากู้จึงต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า สีมอบให้แสงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นนี้ แสงย่อมไม่มีอํานาจลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินนั้น เพราะสีตั้งแสงเป็นตัวแทนไปกู้เงินโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 798 วรรคสอง

ดังนั้น การที่แสงลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินกับดํา ก็เท่ากับว่าแสงลงลายมือชื่อโดยปราศจาก อํานาจตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง สัญญากู้ยืมเงินนั้นจึงไม่ผูกพันสีตัวการ แสงตัวแทนจึงต้องรับผิดต่อดําโดยลําพัง ตามมาตรา 823 วรรคสอง ดําจึงสามารถฟ้องแสงให้รับผิดในฐานะคู่สัญญาได้โดยตรงตามมาตรา 653 แต่ดําจะ ฟ้องสีให้รับผิดในฐานะตัวการตามมาตรา 820 หาได้ไม่

ประเด็นที่ 2 การที่แสงไปกู้เงินจากดํา แล้วนําเงินมาให้สีแล้วนั้น เมื่อสีรับเงินไว้ย่อม เท่ากับว่าเป็นการให้สัตยาบันแก่แสง สัญญากู้ยืมเงินจึงผูกพันสีตัวการตามมาตรา 823 วรรคหนึ่ง อีกทั้งกรณี ดังกล่าวถือได้ว่าสีเชิดให้แสงออกแสดงเป็นตัวแทนของสีตามมาตรา 821 สีจึงต้องรับผิดต่อดําบุคคลภายนอก เสมือนว่าแสงเป็นตัวแทนของตนตามมาตรา 821 ประกอบมาตรา 820 ดังนั้น เมื่อสีผิดนัดชําระหนี้ ดําจึงสามารถ พ้องให้สีรับผิดได้โดยตรง

สรุป

ประเด็นที่ 1 ดําจะฟ้องแสงให้รับผิดได้ แต่จะฟ้องสีให้รับผิดไม่ได้

ประเด็นที่ 2 ดําจะฟ้องให้สีรับผิดโดยตรงได้

 

ข้อ 2. ก. มอบ ข. ให้ไปซื้อเรือยอร์ชแต่ให้เงินสดไปไม่ครบขาดไป 5 แสนบาท ก. บอกให้ ข. ทดรองจ่ายไปก่อน ข. ตอบตกลงเมื่อได้เรือยอร์ชมาแล้ว ข. เรียกให้ ก. มารับและให้นําเงิน 5 แสนมาใช้คืนด้วย ก. มาถึงจะเอาแต่เรือไปก่อน แต่ยังไม่ชําระหนี้ 5 แสนให้ ข. ดังนี้ ข. สามารถจะยึดหน่วงเรือยอร์ชนั้น ไว้ก่อนได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และจะเป็นการขัดต่อข้อกฎหมายหรือไม่ เพราะเหตุใด ประเด็นที่ 1

ประเด็นที่ 2 ถ้า ข. ได้เรือมาแล้วโอนคืนให้ ก. ทันที ข. ตัวแทนจะมีทางแก้อย่างไรจึงจะได้รับ ชําระหนี้ ประเด็นที่ 3 จากโจทย์เดิม ถ้า ข. ได้เรือมาแล้วโอนให้ ก. ทันที แต่ ก. ไม่ชําระหนี้ 5 แสนบาท ข. เลยออกอุบายว่าขอยืมรถเบนซ์สปอร์ตมาขับ 3 วัน แล้วจะคืนให้ ด้วยความเกรงใจ ข. เพราะยังติดหนี้อยู่จึงให้ ข. ยืมรถสปอร์ตไปขับ พอครบ 3 วัน ข. ไม่คืนรถสปอร์ตโดยอ้างว่าขอยึดหน่วง รถสปอร์ตไว้ก่อน เมื่อไหร่ ก. นำเงิน 5 แสนบาท มาคืน ข. จะคืนรถสปอร์ตให้ ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่า ข. มีอํานาจยึดหน่วงรถสปอร์ตนั้นไว้หรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 810 วรรคหนึ่ง “เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็น ตัวแทนนั้น ท่านว่าตัวแทนต้องส่งให้แก่ตัวการจงสิ้น”

มาตรา 816 วรรคหนึ่ง “ถ้าในการจัดทํากิจการอันเขามอบหมายแก่ตนนั้น ตัวแทนได้ออก เงินทดรองหรือออกเงินค่าใช้จ่ายไป ซึ่งพิเคราะห์ตามเหตุควรนับว่าเป็นการจําเป็นได้ไซร้ ท่านว่าตัวแทนจะเรียก เอาเงินชดใช้จากตัวการ รวมทั้งดอกเบี้ยนับแต่วันที่ได้ออกเงินไปนั้นด้วยก็ได้”

มาตรา 819 “ตัวแทนชอบที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินอย่างใด ๆ ของตัวการอันตกอยู่ในความ ครอบครองของตน เพราะเป็นตัวแทนนั้นเอาไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชําระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทน”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ วินิจฉัยได้ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การที่ ก. มอบ ข. ให้ไปซื้อเรือยอร์ชแต่ให้เงินสดไปไม่ครบขาดอยู่ 5 แสนบาท น และให้ ข. ทดรองจ่ายไปก่อนนั้น เมื่อปรากฏว่า ก. มารับเรือยอร์ชจาก ข. แต่ยังไม่ชําระหนี้ 5 แสนบาท ให้ ข. ดังนี้ ข. ตัวแทน ย่อมสามารถอ้างสิทธิยึดหน่วงตามมาตรา 819 ประกอบมาตรา 816 ได้ เพราะทรัพย์นั้นเป็น ทรัพย์ที่ ข. ตัวแทนขวนขวายได้มาจากการเป็นตัวแทน อีกทั้งยังอยู่ในครอบครองของ ข. ตัวแทน ข. จึงมีสิทธิยึด ทรัพย์นั้นไว้ได้จนกว่าจะได้รับชําระหนี้ และไม่ถือเป็นการขัดมาตรา 810 เพราะ ก. ตัวการมีหนี้ที่ต้องชําระ

ประเด็นที่ 2 ถ้า ข. ได้เรือมาแล้วโอนคืนให้ ก. ทันที แต่ ก. ไม่ชําระหนี้ 5 แสนบาท ทางเลือกของ ข. มีทางเดียวคือฟ้องเรียกให้ ก. ตัวการชําระหนี้ 5 แสนบาท เท่านั้นตามมาตรา 816 วรรคหนึ่ง

ประเด็นที่ 3 ข. ไม่มีอํานาจอ้างสิทธิยึดหน่วงรถสปอร์ตนั้นไว้ได้ เพราะรถสปอร์ตกับเรือยอร์ช เป็นทรัพย์คนละอย่างกัน เรือยอร์ชเขานั้นเป็นทรัพย์ที่ ข. ตัวแทนขวนขวายได้มาจากการเป็นตัวแทนตาม มาตรา 810 จึงจะอ้างสิทธิยึดหน่วงตามมาตรา 819 ประกอบมาตรา 816 ได้ และทรัพย์ต้องอยู่ในความ ครอบครองของ ข. แต่ ข. ก็โอนเรือยอร์ชไปแล้ว ดังนั้น ข. ตัวแทนจะอ้างสิทธิยึดหน่วงรถสปอร์ตหาได้ไม่

สรุป

ประเด็นที่ 1 ข. สามารถยึดหน่วงเรือยอร์ชนั้นไว้ก่อนได้ และไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย

ประเด็นที่ 2 ทางเลือกของ ข. มีทางเดียวคือ ต้องฟ้องเรียกให้ ก. ชําระหนี้ 5 แสนบาท เท่านั้น

ประเด็นที่ 3 ข. ไม่มีอํานาจยึดหน่วงรถสปอร์ตนั้นไว้

 

ข้อ 3. เขียวมอบเหลืองให้ขายที่ดินโดยตกลงว่าจะให้บําเหน็จ เหลืองขายที่ดินได้แล้ว เขียวให้ค่าบําเหน็จร้อยละสองของยอดขาย เหลืองบอกเขียวให้น้อยไปขอมากกว่านี้ แต่เขียวปฏิเสธ เหลืองจึงนําคดี ขึ้นสู่ศาล ถ้าท่านเป็นศาลท่านจะพิจารณาให้ค่าบําเหน็จกับเหลืองอย่างไร นําหลักใดมาเป็นเกณฑ์

ธงคําตอบ

หลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 845 วรรคหนึ่ง “บุคคลผู้ใดตกลงจะให้ค่าบําเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้ เข้าทําสัญญาก็ดี จัดการให้ได้ทําสัญญากันก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าบําเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทํากันสําเร็จ เนื่องแต่ผลแห่งการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการนั้น ถ้าสัญญาที่ได้ทํากันไว้นั้นมีเงื่อนไขเป็น เงื่อนบังคับก่อนไซร้ ท่านว่าจะเรียกร้องบําเหน็จค่านายหน้ายังหาได้ไม่จนกว่าเงื่อนไขนั้นสําเร็จแล้ว”

มาตรา 846 “ถ้ากิจการอันได้มอบหมายแก่นายหน้านั้น โดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมาย ได้ว่าย่อมทําให้แต่เพื่อจะเอาค่าบําเหน็จไซร้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบําเหน็จนายหน้า

ค่าบําเหน็จนั้นถ้ามิได้กําหนดจํานวนกันไว้ ท่านให้ถือว่าได้ตกลงกันเป็นจํานวนตามธรรมเนียม”

วินิจฉัย

ตามกฎหมาย ในกรณีที่ได้มีการตกลงกันว่าจะให้บําเหน็จนายหน้า แต่มิได้กําหนดจํานวน ค่าบําเหน็จนายหน้ากันไว้ตามมาตรา 846 วรรคสอง ให้ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงกันเป็นจํานวนตามธรรมเนียม ที่เคยมีบุคคลอื่นปฏิบัติกันมา ดังนั้นค่าบําเหน็จนายหน้าที่คู่สัญญาตกลงกันจะต้องกําหนดกันไว้โดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นจะต้องถือว่าตกลงกันเป็นจํานวนตามธรรมเนียม ตามบทบัญญัติมาตรา 846 วรรคสอง

ทั้งนี้มีคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2526 วางหลักของจํานวนตามธรรมเนียมตามนัยมาตรา 846 วรรคสองว่า เมื่อไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่ามีการตกลงกําหนดค่าบําเหน็จนายหน้ากันไว้เท่าใดแน่นอน จึงต้อง ถือเอาอัตราตามธรรมเนียมการซื้อขายทรัพย์สินต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคิดกันในอัตราร้อยละ 5 ของราคาที่ซื้อ ขายกันแท้จริง

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่เขียวมอบเหลืองให้ขายที่ดินโดยตกลงว่าจะให้บําเหน็จแต่ไม่ ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกําหนดจํานวนค่าบําเหน็จนายหน้ากันไว้ว่าจะจ่ายเท่าใดนั้นจึงต้องถือว่าตกลงกันเป็น 1 จํานวนตามธรรมเนียมตามมาตรา 845 วรรคสอง ประกอบแนวคําพิพากษาศาลฎีกาที่ 3581/2526 คือ ต้อง จ่ายค่าบําเหน็จนายหน้าให้แก่เหลืองร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ซื้อขายกันจริง

ดังนั้น เมื่อไม่มีการกําหนดจํานวนบําเหน็จกันไว้โดยชัดแจ้ง การที่เหลืองต้องการบําเหน็จเพิ่ม และนําคดีขึ้นสู่ศาล ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาลจะสั่งให้เขียวจ่ายบําเหน็จให้เหลืองร้อยละ 5 ของราคาที่ดินที่ซื้อขายกัน จริงตามหลักกฎหมายและแนวคําพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น

สรุป

ถ้าข้าพเจ้าเป็นศาล ข้าพเจ้าจะพิจารณาให้ค่าบําเหน็จกับเหลืองร้อยละ 5 ของราคา ที่ดินที่ซื้อขายกันจริง ตามที่ได้อธิบายไว้ดังกล่าวข้างต้น

Advertisement