การสอบไล่ภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา 2558

ข้อสอบกระบวนวิชา LAW 2004 กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

Advertisement

คำแนะนำ ข้อสอบเป็นอัตนัยล้วน มี 4 ข้อ (คะแนนเต็มข้อละ 25 คะแนน)

ข้อ 1 ภารกิจของรัฐธรรมนูญ (Verfassungsrecht) ลายลักษณ์อักษรในระบบประมวลกฎหมายของรัฐเสรีประชาธิปไตย สรุปโดยรวมแล้วมีภารกิจอันเป็นสาระสำคัญในกรณ์ใดบ้าง

ธงคำตอบ

ภารกิจของรัฐธรรมนูญ (Verfassungsrecht) ลายลักษณ์อักษรในระบบประมวลกฎหมายของรัฐเสรีนิยมประชาธิปไตย สรุปโดยรวมแล้วมีภารกิจอันเป็นสาระสำคัญดังนี้

  1. การจัดองค์กรภายในของรัฐ และการจำแนกภารกิจของรัฐ

รัฐธรรมนูญจะต้องมีการจัดองค์กรภายในของรัฐและการจำแนกภารกิจของรัฐ ซึ่งองค์กรดังกล่าวได้แก่ องค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ องค์กรรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ

  1. กำหนดหลักเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐต่าง ๆ ภายใต้หลักการแบ่งแยกอำนาจ

รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติอำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ รวมทั้งกำหนดความสัมพันธ์ การถ่วงดุลอำนาจและการควบคุมตรวจสอบระหว่างอำนาจรัฐต่าง ๆ เหล่านั้น

  1. กำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติของรัฐเพื่อให้ทันกับระบบสังคมและการเมือง

เช่น รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดว่า ในการใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้การรับรองและคุ้มครองโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย เป็นต้น

  1. ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล

รัฐธรรมนูญจะต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลทั้งในฐานะสิทธิพลเมือง และสิทธิมนุษยชน เซ่น กำหนดให้บุคคลสามารถอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ รวมทั้งสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เป็นต้น

  1. มีระบบการคัดคนดีที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมเข้าไปบริหารประเทศ และในขณะเดียวกันก็มีระบบที่คัดคนไม่ดีออกจากผู้ทำหน้าที่บริหารประเทศ

เช่น รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะเช้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศกำหนดหลักเกณฑ์การตรวจสอบ และการถอดถอนจากตำแหน่งของบุคคลต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐ เป็นต้น

 

ข้อ 2. จงอธิบายถึงความหมายของ “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” (Verfassungsorgan) โดยการพิจารณาในทางรูปแบบ (Formelle Kriterien) และการพิจารณาในทางเนื้อหา (Substantielle Kriteien) และ“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” เป็น“องค์กรตามรัฐธรรมนูญ”หรือไม่เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

ความหมายของ “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” โดยการพิจารณาในทางรูปแบบและการพิจารณาในทางเนื้อหานั้น แยกพิจารณาได้ดังนี้

  1. การพิจารณาในทางรูปแบบ

(1)  พิจารณาจากการจัดตั้งหรือการเกิดขององค์กร

องค์กรดังกล่าวจะต้องได้รับการจัดตั้งโดยตรงจากรัฐธรรมนูญ

(2)  พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ขององค์กร

องค์กรดังกล่าวจะต้องได้รับการบัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญ

  1. การพิจารณาในทางเนื้อหา

(1)  พิจารณาจากอำนาจหน้าที่ององค์กร

องค์กรดังกลาวจะต้องเป็นองค์กรซึ่งใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ หรือเป็นองค์กรของรัฐซึ่งมีการใช้อำนาจรัฐในลักษณะหนึ่งลักษณะใด ในลักษณะของการควบคุม ตรวจสอบ หรือถ่วงดุลอำนาจอื่น

(2)  พิจารณาจากการบังคับบัญชา

องค์กรดังกล่าวจะต้องเป็น “อิสระ” คือจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา หรือการควบคุมกำกับขององค์กรหนึ่งหรือองค์กรใด

(3)  พิจารณาจากสถานะขององค์กร

องค์กรดังกล่าวจะต้องมีสถานะเทียบเท่ากับองค์กรอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญด้วย

เมื่อพิจารณาความหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” นั้นไม่เป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” เพราะมีองค์ประกอบไม่ครบทั้งในทางรูปแบบและในทางเนื้อหา กล่าวคือ

  1. เมื่อพิจารณาในทางรูปแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติต่าง ๆ และอำนาจหน้าที่ขององค์ภรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มิได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติและกฎหมายต่าง ๆ
  2. เมื่อพิจารณาในทางเนื้อหา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีใช่องค์กรซึ่งใช้อำนาจสูงสุดของรัฐ หรือเป็นองค์กรของรัฐซึ่งมีการใช้อำนาจรัฐในลักษณะหนึ่งลักษณะใดในลักษณะของการควบคุม ตรวจสอบหรือถ่วงดุลอำนาจอื่น เป็นองค์กรที่ไม่เป็นอิสระ เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็มิได้มีสถานะเทียบเท่ากับองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

 

ข้อ 3. นายมดจำเลยยื่นคำโต้แย้งต่อศาลแรงงานกลางว่า พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 (5) ที่บัญญัติว่า “…ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกหรือไม่…” ซึ่งศาลจะนำมาตัดสินกับคดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญตามมาตรา 30 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 เนื่องจากบัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกศาลพิพากษาให้รอการลงโทษต้องพ้นสภาพการเป็นพนักงาน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทอื่น ๆ จะพ้นสภาพจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต่อเมื่อได้รับโทษจำคุกจริงเท่านั้น จึงขัดต่อความเสมอภาคที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองไว้และกรณียังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลแรงงานกลางจึงส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) และ

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ต่อไปได้อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด และจะมีคำวินิจฉัยหรือคำสั่งในคดีนี้อย่างไร เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

มาตรา 45 “ภายใต้บังคับมาตรา 5 และมาตรา 44 ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีอำนาจเสนอเรืองให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้…”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ศาลแรงงานกลางได้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 (5) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ

พ.ศ. 2550 มาตรา 30 หรือไม่นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ข้อ 1. ให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 (พระมหากษัตริย์) และต่อมาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ได้มีการประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ย่อมมีผลทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปว่า ดามมาตรา 9 (5) แห่ง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าว ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 หรือไม่เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ต่อไปนั้นเป็นเพราะว่าตามมาตรา 45 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ ซึ่งคำว่า “รัฐธรรมนูญนี้” หมายถึง รัฐธรรมนูญฯ(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 เท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ๆ ด้วย และตามรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พุทธคักราช 2557 ก็มิได้มีบทบัญญัติมาตราหนึ่งมาตราใดที่ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 หรือไม่แต่อย่างใดเลย

และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ต่อไป ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้องในคดีนี้

สรุป

ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ต่อไป และต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคำร้องในคดีนี้

 

ข้อ 4. นายเอกจำเลยในคดียาเสพติดและเป็นข้าราชการได้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การที่ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกตนโดยอาศัย พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 โดยให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นข้าราขการต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น มาตรา 10 พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค เพราะแม้ตนจะเป็นข้าราชการแต่ก็มีสิทธิเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปตามที่เคยได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 30 และมาตรา 31 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ประกอบมาตรา 4 รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ดังนั้นมาตรา 10 พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวย่อมเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของตนที่รัฐธรรมนูญฯ ให้การคุ้มครอง จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าข้อกล่าวอ้างของนายเอกสามารถรับฟังได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และหากท่านเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ เพราะเหตุใด

ธงคำตอบ

หลักกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา 30 “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม”

มาตรา 31 “บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดไว้ในกฎหมายหรือกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินิจฉัย หรือจริยธรรม”

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราขอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557

มาตรา 4 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้วย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”

มาตรา 45 “ภายใต้บังคับมาตรา 5 และมาตรา 44 ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ และตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่สำหรับผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีอำนาจเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อมีกรณีที่เห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้

การพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัยที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อวรรคหนึ่งหรือรัฐธรรมนูญนี้”

และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 มาตรา 14 “ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้

(1) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย”

วินิจฉัย

กรณีตามอุทาหรณ์ มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยดังนี้ คือ

ประเด็นที่ 1 ข้อกล่าวอ้างของนายเอกสามารถรับพฟังได้หรือไม่

การที่นายเอกได้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินว่า พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ที่ให้เพิ่มโทษแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นข้าราชการโดยต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ย่อมขัดต่อหลักความเสมอภาค และเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของตนที่รัฐธรรมนูญฯ ให้การคุ้มครองนั้น เห็นว่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวไม่เป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของนายเอกตามที่รัฐธรรมนูญฯ ให้การคุ้มครองไว้แต่อย่างใด

ทั้งนี้เพราะการที่มาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวได้กำหนดอัตราโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เป็นข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไปนั้น เป็นแต่เพียงความแตกต่างในอัตราโทษสำหรับผู้กระทำความผิดเท่านั้น เพราะโทษตามกฎหมายจะต้องเหมาะสมกับความผิดและได้สัดส่วนกับสถานะความรับผิดชอบของผู้กระทำความผิดและผลกระทบต่อสังคม กรณีจึงมิใช่ความแตกต่างในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่จะทำให้ขัดต่อหลักความเสมอภาค และเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวของนายเอกจึงไม่สามารถรับฟังได้

ประเด็นที่ 2 หากข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินจะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่

ตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 มาตรา 14 (1)ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยก็ต่อเมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและตามมาตรา 45 แห่งรัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ก็บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ฯ ดังกล่าวมิได้มีปัญหาเกี่ยวด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ดังนั้น หากข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ข้าพเจ้าจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

สรุป

ข้อกล่าวอ้างของนายเอกไม่สามารถรับฟังได้ และหากข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินจะไม่ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

Advertisement